ผู้เขียน หัวข้อ: เส้นเลือดสมองแตกทำไงดี?!  (อ่าน 1340 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เส้นเลือดสมองแตกทำไงดี?!
« เมื่อ: กันยายน 16, 2012, 06:02:47 am »

เส้นเลือดสมองแตกทำไงดี?!
-http://www.dailynews.co.th/article/1490/155305-
- X-Ray สุขภาพ
วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2555 เวลา 01:00 น.


มีหลายคนเกิดอาการแขนขาอ่อนแรง เซ หกล้ม หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เมื่อถูกนำส่งโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัยว่า เส้นเลือดสมองตีบ หรือ แตก



มีหลายคนเกิดอาการแขนขาอ่อนแรง เซ หกล้ม หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เมื่อถูกนำส่งโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัยว่า เส้นเลือดสมองตีบ หรือ แตก ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติหรือไม่?
   
นพ.เกรียง อัศวรุ่งนิรันดร์ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา อธิบายว่า คนไข้ที่มีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ส่วนใหญ่มาโรงพยาบาลด้วยปัญหาเส้นเลือดสมองตีบ ส่วนน้อยจะมาด้วยเส้นเลือดแตก ดังนั้นแพทย์จะเป็นคนวินิจฉัยว่าตีบหรือแตก
   
ไม่ว่าเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก ผลที่แสดงออกเหมือนกัน คือ เนื้อสมองเกิดการขาดเลือด จึงมีลักษณะอาการคล้ายกัน ต่างกันนิดเดียว คือ คนไข้เส้นเลือดสมองแตกอาจมีอาการปวดหัวร่วมด้วย ถ้าเป็นตำแหน่งที่ควบคุมแขนขาคนไข้จะมีอาการแขนขาอ่อนแรง อัมพาต แต่ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวกับพฤติกรรมจะแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติออกมา ขึ้นอยู่กับว่าเซลล์สมองสูญเสียตรงตำแหน่งไหน
   
กรณีเส้นเลือดสมองตีบ ถ้ามาโรงพยาบาลภายใน 3 ชั่วโมง แพทย์จะให้ยาละลายลิ่มเลือดทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น แต่ถ้าเลยจากนั้นอาจไม่ได้ผลหรือเกิดอันตราย แต่ผลการวิจัยพบว่า ยาดังกล่าวสามารถให้ได้ภายใน 4 ชั่วโมงครึ่ง ดังนั้นโอกาสที่คนไข้มาถึงโรงพยาบาลทันเวลาและได้รับการรักษาก็มีมากขึ้น
   
ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเส้นเลือดสมองแตก การพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของเลือดที่ออกในสมอง ถ้าขนาดเล็กอาการของโรคอาจหายไปได้เอง เพราะเลือดดูดซึมกลับได้เอง แพทย์อาจไม่ทำอะไร ให้พักผ่อนและรักษาโรคที่คนไข้เป็นอยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แต่คนไข้เส้นเลือดสมองแตกอีกกลุ่มหนึ่งก้อนเลือดใหญ่มาก ไม่สามารถรอให้ดูดกลับเองได้ ต้องผ่าตัดเอาเลือดออก การรักษาอาจต้องทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูความพิการ หรือสิ่งที่สูญเสียไปให้กลับคืนมา
   
หลายกรณีคนไข้ล้มก่อนมาโรงพยาบาล? นพ.เกรียง กล่าวว่า เนื่องจากเส้นเลือดสมองตีบ หรือแตก ทำให้คนไข้แขนขาอ่อนแรงหกล้ม ญาติไปพบก็แยกไม่ออกว่าคนไข้ล้มลงไปแล้วอ่อนแรง หรืออ่อนแรงแล้วล้มลงไป แต่คนที่จะบอกได้ คือ แพทย์ผู้รักษาเพราะสามารถดูรอยโรคจากการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หาสาเหตุได้ว่าอาการแขนขาอ่อนแรงเกิดจากอุบัติเหตุหรือโรคทางสมอง เส้นเลือดสมองผิดปกติ ตรงนี้มีส่วนสำคัญมากเพราะในปัจจุบันมีการทำประกันชีวิต การเจ็บป่วยที่เกิดจากอุบัติเหตุสามารถเคลมประกันได้เงินสูงกว่า ดังนั้นแพทย์ต้องวินิจฉัยให้ชัดเจน
   
ควรพาคนไข้ไปโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีแพทย์เฉพาะทาง? นพ.เกรียง กล่าวว่า สิ่งที่ควรทำ คือ ไปโรงพยาบาลใกล้ที่สุด ณ เวลานั้น เพราะการรักษายิ่งเร็วยิ่งเป็นผลดี ปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป มีอยู่ทุกจังหวัดสามารถดูแลคนไข้ที่มีปัญหานี้ได้ ส่วนโรงพยาบาลชุมชนมีเพียงบางแห่งเท่านั้น ที่ผ่านมาพบว่าคนไข้ที่มีอาการแล้วไปรักษาโรงพยาบาลใกล้บ้านอาการดีกว่าที่พยายามเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพราะระยะเวลาที่สูญเสียไป มีผลกระทบต่อสุขภาพคนไข้เป็นอย่างมาก ส่วนโอกาสฟื้นกลับคืนมาเป็นปกติคงเป็นไปไม่ได้ อย่างน้อยที่สุด มีเซลล์สมองส่วนหนึ่งสูญเสียแน่ ไม่ว่าตีบหรือแตก สมองต้องขาดเลือด โอกาสสูญเสียเซลล์สมองมีไม่มากก็น้อย ดังนั้นถ้าไปพบแพทย์เร็วโอกาสสูญเสียเซลล์สมองก็น้อย โอกาสกลับมาใกล้เคียงปกติก็มีมากกว่า
   
ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่เส้นเลือดสมองตีบหรือแตก คือ อายุ ยิ่งอายุมากโอกาสเกิดก็สูง การสูบบุหรี่จะไปทำลายเส้นเลือดต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อรู้ปัจจัยเสี่ยง มีโรคประจำตัว ต้องรักษาและควบคุมให้ดี ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ถ้าหลีกเลี่ยงได้ความเสี่ยงก็ลดลง

มีตัวอย่างคนไข้ชายคนหนึ่งเป็นอัมพาตเมื่ออายุ 34 ปี ตรวจร่างกายไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ซักประวัติพบว่า สูบบุหรี่วันละ 2 ซองมา 10 กว่าปี หลังจากได้รับการรักษาจนหายแล้ว ช่วยเหลือตัวเองได้ เดินได้ พอคนไข้หยุดสูบบุหรี่อาการดีขึ้นเรื่อย ๆ
20 กว่าปีที่ผ่านมาไม่เป็นอะไรอีกเลย ดังนั้นสาเหตุของคนไข้รายนี้มีอย่างเดียว คือ การสูบบุหรี่เพราะไม่ได้เป็นโรคอื่นเลย

นอกจากปัจจัยเสี่ยงข้างต้นแล้ว คนไข้หัวใจเต้นผิดจังหวะก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะจังหวะที่หัวใจเต้นช้า เลือดที่อยู่ในเส้นเลือดมีโอกาสแข็งตัวเป็นก้อน ลอยไปตามเส้นเลือด ไปอุดตันเส้นเลือดต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะเส้นเลือดสมอง ตรงนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไข้เป็นอัมพาต กรณีนี้คนไข้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โรคหัวใจในการดูแลรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างเคร่งครัด

อีกตัวอย่างเป็นคนไข้ ด.ญ.อายุ 12 ขวบมาด้วยอาการอัมพาต ปรากฏว่าเด็กคนนี้มีเนื้องอกภายในห้องสูบฉีดโลหิตของหัวใจ พอเศษเนื้องอกหลุดออกมาสู่เส้นเลือดก็ไปอุดตันเส้นเลือดสมอง วิธีการรักษาคือผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก
   
ท้ายนี้แนะนำว่า ถ้าพบคนไข้ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที อย่ารีรอ เพราะที่ผ่านมามักเจอปัญหารอให้ญาติมารับ บางคนอยู่บ้านกัน 2 คนตายาย กว่าญาติจะมารับแล้วนำส่งโรงพยาบาลก็สายเกินไปแล้ว.

นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน

.

http://www.dailynews.co.th/article/1490/155305
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)