ผู้เขียน หัวข้อ: อุโบสถ ๓ อย่าง  (อ่าน 9620 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
อุโบสถ ๓ อย่าง
« เมื่อ: กันยายน 18, 2012, 12:52:02 pm »


                 
                     ภาพที่ 3 ชวนพระสวามีรักษาอุโบสถศีล
    เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงครรภ์แล้ว ก็รู้ตัวว่าจะต้องทำความดีเพื่อลูกในท้อง จึงได้ชักชวนพระเจ้าสุทโธทนะว่า เสด็จพี่ ตอนนี้น้องมีท้องแล้ว อยากจะให้ลูกในท้องนี่มีศีลธรรมโดยสายเลือด ฉะนั้น เราควรจะต้องแวดล้อมด้วยการมีคุณธรรมกัน ช่วยกันถือศีล งดเว้นประเวณี ถืออุโบสถศีล
 
   เพื่อจะได้ลูกในท้องที่มีคุณธรรมมาเกิด ว่านอนสอนง่าย พระนางได้ชวนพระสวามี พระเจ้าสุทโธทนะก็ยินดีปรีดาจะร่วมรักษาศีลอุโบสถเพื่อแวดล้อมพระราชโอรสให้ มีคุณงามความดีมาเกิด ผู้หญิงสมัยก่อนนี้ส่วนใหญ่เมื่อตั้งครรภ์ มักจะชวนสามีทำความดี อาตมาจึงขอเตือนว่า พ่อแม่นี่ควรจะทำแต่สิ่งที่ดีงาม ให้ซึมซาบเข้าไปในสายเลือด จะได้ลูกดี ๆ มาเกิด


               

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อุโปสถสูตร
      ทรงแสดงธรรมแก่นางวิสาขา เรื่องอุโบสถ ๓ อย่าง คือ

       ๑. โคปาลอุโปสถ (อุปโบสถ หรือการรักษาศีล หรือจำศีลแบบคนเลี้ยงโค) ได้แก่การรักษาอุโบสถด้วยความโลภ คิดแต่จะกินสิ่งนั้นสิ่งนี้ เหมือนคนเลี้ยงโค  คิดแต่เรื่องการหากินของโค   

       ๒. นิคคัณฐอุโบสถ (อุโบสถของนักบวชพวกนิครนถ์ ) ได้แก่อุโบสถแบบนิครนถ์ คือ เว้นชักชวนให้จากการฆ่าสัตว์เจาะจงอุทิศ เจาะจงบางประเภท ไม่นุ่งผ้าด้วยคิดว่าหมดกิเลส ชักชวนให้พูดปดในสมัยที่ควรชักจูงให้พูดจริง บริโภคของที่ไม่มีผู้อื่นให้ ( ไม่ได้ประเคน ) ในเวลารุ่งเช้า
อุโบสถทั้งสองแบบนี้ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก.

       ๓. อริยอุโบสถ (อุโบสถแบบพระอริยเจ้า) ได้แก่ เพียรชำระจิตที่เศร้าหมองด้วยความพยายาม
       และระลึกถึง(คุณของ)พระพุทธเจ้า ,ระลึกถึง(คุณของ)พระธรรม ,ระลึกถึง(คุณของ)พระสงฆ์ ,ระลึกถึงศีลของตน ,
       ระลึกคุณที่ทำให้เป็นเทวดา และพิจารณาองค์อุโบสถทีละข้อ
       ซึ่งตนตั้งใจรักษาคืนหนึ่งกับวันหนึ่งเทียบกับพระอรหันต์.
       แล้วตรัสแสดงอานิสงส์ของอริยอุโบสถว่า มากยิ่งกว่าการครองราชย์ในชนบททั้งสิบหก.

ที่มา -http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.4.html
อ่านข้อธรรมเต็มๆได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๕๔๒๑ - ๕๖๖๖. หน้าที่ ๒๓๒ - ๒๔๒.



      2. การอยู่จำรักษาองค์ ๘ ที่โดยทั่วไปเรียกกันว่า ศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกานั้น จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
           ๑. ปกติอุโบสถ อุโบสถที่รักษาตามปกติชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมรักษากันเฉพาะในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ คือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันจันทร์ดับ คือ แรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ (ปกติอุโบสถอย่างเต็ม มี ๘ วัน คือ วัน ๕ ค่ำ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำของทุกปักษ์ ถ้าเดือนขาดรักษาในวันแรม ๑๓ ค่ำเพิ่มด้วย)
           ๒. ปฏิชาครอุโบสถ อุโบสถของผู้ตื่นอยู่ (คือผู้กระตือรือร้นขวนขวายในกุศล ไม่หลับใหลด้วยความประมาท) ได้แก่ อุโบสถที่รักษาครั้งหนึ่งๆ ถึง ๓ วัน คือ รักษาในวันอุโบสถตามปกติ พร้อมทั้งวันหน้าและวันหลังของวันนั้น ซึ่งเรียกว่า วันรับและวันส่งด้วย เช่น อุโบสถที่รักษาในวัน ๘ ค่ำ มีวัน ๗ ค่ำเป็นวันรับ วัน ๙ ค่ำเป็นวันส่ง (เดือนหนึ่งๆ จะมีวันรับและวันส่งรวม ๑๑ วัน, วันที่มิใช่วันอุโบสถ ในเดือนขาดมี ๑๐ วัน เดือนเต็ม ๑๑ วัน)
           ๓. ปาฏิหาริยอุโบสถ อุโบสถที่พึงนำไปคือให้เป็นไปตรงตามกำหนดเป็นประจำในแต่ละปี หมายความว่าในแต่ละปีมีช่วงเวลาที่กำหนดไว้เฉพาะที่จะรักษาอุโบสถประเภทนี้ อย่างสามัญ ได้แก่ อุโบสถที่รักษาเป็นประจำตลอด ๓ เดือน ในพรรษา (อย่างเต็มได้แก่ รักษาตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, ถ้าไม่สามารถรักษาตลอด ๔ เดือน หรือ ๓ เดือน จะรักษาเพียง ๑ เดือน ระหว่างวันปวารณาทั้ง ๒ คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๒ ก็ได้, อย่างต่ำสุดพึงรักษากึ่งเดือนต่อจากวันปวารณาแรกไป คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑);

           อย่างไรก็ตาม มติในส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับอุโบสถ ๒ ประเภทหลังนี้ คัมภีร์ต่างๆ ยังแสดงไว้แตกต่างไม่ลงกันบ้าง ท่านว่าพอใจอย่างใด ก็พึงถือเอาอย่างนั้น เพราะแท้จริงแล้ว จะรักษาอุโบสถในวันใดๆ ก็ใช้ได้ เป็นประโยชน์ทั้งนั้น แต่ถ้ารักษาได้ในวันตามนิยมก็ย่อมควร
อุโบสถศีล ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

                 

๕. เรื่องอุโบสถกรรม [๑๑๑]
     ข้อความเบื้องต้น               
     พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภอุโบสถกรรมของอุบาสิกาทั้งหลาย มีนางวิสาขาเป็นต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถา ทณฺเฑน โคปาโล" เป็นต้น.

     หญิงรักษาอุโบสถมุ่งผลต่างๆ กัน               
     ดังได้สดับมา ในวันอุโบสถวันหนึ่ง หญิงประมาณ ๕๐๐ คน ในนครสาวัตถี เป็นผู้รักษาอุโบสถ ได้ไปสู่วิหาร.
     นางวิสาขาเข้าไปหาหญิงแก่ๆ ในจำนวนหญิง ๕๐๐ นั้นแล้ว
     ถามว่า "แน่ะแม่ทั้งหลาย พวกท่านเป็นผู้รักษาอุโบสถ เพื่ออะไร?"

     เมื่อหญิงแก่เหล่านั้นบอกว่า "พวกฉันปรารถนาทิพยสมบัติ จึงรักษาอุโบสถ"
     ถามพวกหญิงกลางคน, เมื่อพวกหญิงเหล่านั้นบอกว่า
     "พวกฉันรักษาอุโบสถ ก็เพื่อต้องการพ้นจากการอยู่กับหญิงร่วมสามี"
     ถามพวกหญิงสาวๆ, เมื่อพวกเขาบอกว่า
     "พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อต้องการได้บุตรชายในการมีครรภ์คราวแรก."
     ถามพวกหญิงสาวน้อย, เมื่อพวกเขาบอกว่า
     "พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อต้องการไปสู่สกุลผัวแต่ในวัยสาวๆ"
(นาง) ได้ฟังถ้อยคำแม้ทั้งหมดของหญิงเหล่านั้นแล้ว ก็พาพวกเขาไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูล (ความประสงค์ของหญิงเหล่านั้น) ตามลำดับ.

     สรรพสัตว์ถูกส่งไปเป็นทอดๆ               
     พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า "วิสาขา ธรรมดาสภาวธรรมทั้งหลายมีชาติเป็นต้นของสัตว์เหล่านี้ เป็นเช่นกับนายโคบาลที่มีท่อนไม้ในมือ, ชาติส่งสรรพสัตว์ไปสู่สำนักชรา ชราส่งไปสู่สำนักพยาธิ พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ มรณะย่อมตัดชีวิต ดุจบุคคลตัดต้นไม้ด้วยขวาน แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ปวงสัตว์ชื่อว่าปรารถนาวิวัฏฏะ (พระนิพพาน) ย่อมไม่มี มัวแต่ปรารถนาวัฏฏะเท่านั้น" ดังนี้แล้ว

               เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
               ๕.ยถา ทณฺเฑน โคปาโล       คาโว ปาเชติ โคจรํ
                  เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ       อายุ ํ ปาเชนฺติ ปาณินํ.

                  นายโคบาล ย่อมต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หากินด้วยท่อนไม้ ฉันใด,
                  ชราและมัจจุ ย่อมต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น.

     แก้อรรถ               
     บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเชติ ความว่า นายโคบาลผู้ฉลาดกันโคทั้งหลาย ตัวเข้าไปสู่ระหว่างคันนาด้วยท่อนไม้ ตีด้วยท่อนไม้นั้นนั่นแหละ นำไปอยู่ ชื่อว่า ย่อมต้อน (โคทั้งหลาย) ไปสู่ที่หากิน ซึ่งมีหญ้าและน้ำหาได้ง่าย.

     สองบทว่า อายุ ํ ปาเชนฺติ ความว่า ย่อมตัดอินทรีย์คือชีวิต คือย่อมยังชีวิตินทรีย์ให้สิ้นไป.
     ในพระคาถานี้ มีคำอุปมาอุปไมย ฉะนี้ว่า
     ก็ชราและมัจจุ เปรียบเหมือนนายโคบาล, อินทรีย์คือชีวิต เปรียบเหมือนฝูงโค, มรณะ เปรียบเหมือนสถานที่หากิน.
     บรรดาสภาวธรรมเหล่านั้น ชาติส่งอินทรีย์คือชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไปสู่สำนักชรา ชราส่งไปสู่สำนักพยาธิ พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ, มรณะนั้นแลตัด (ชีวิตินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย) ไป เหมือนบุคคลตัดต้นไม้ด้วยขวานฉะนั้น.
     ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผล เป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องอุโบสถกรรม จบ.               
ที่มา -http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20&p=5
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก -http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=618&Z=661
ขอบคุณภาพจาก -http://4.bp.blogspot.com/,http://3.bp.blogspot.com/

[อ้างจาก: sunee ที่ กันยายน 06, 2012, 08:24:38 AM
------------------------------------------------------------
อยู่อุโบสถ ที่วัด จำเป็นต้อง รักษาศีล 8 ด้วยหรือไม่คะ บางครั้งชวนญาติ ๆ ไป แต่ก็จะได้รับการปฏิเสธว่า ไม่อยากถือศีล 8 ไม่อยากอดมื้อเย็น ไม่อยากแต่งชุดขาว ก็เลยคิดว่าถ้าเป็นการชักชวน เด็ก ๆ เหล่านี้ไปวัดบ้างน่าจะดี แต่ไม่ต้องให้ถือศีล 8 ถือศีล 5 ก็น่าจะได้ใช่หรือไม่คะ ส่วนการแต่งกายถ้าเราให้แต่งชุดสุภาพ แต่อาจจะไม่ใช่ชุดขาวแบบเรา เพราะเขายังอายอยู่
  ที่ถามคือว่า ถ้าเราทำอย่างนี้ เราเป็นบาปหรือไม่คะ ที่ละเมิดกติกาของวัด อย่างนี้ เพื่อส่งเสริมเด็กๆ ญาติ ๆ ให้ไปเอาดีที่วัดบ้าง คะ
----------------------------

   การถือศีลเป็นเรื่องความสมัครใจ การละเมิดศีลเป็นบาปอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับกติกาของวัด
   แต่บาปที่ได้ จะมีผลต่างกัน เช่น การดูหนังดูละคร (เป็นการละเมิดศีล ๘)
   จะทำให้จิตฟุ้งซ่าน นั่งสมาธิไม่ค่อยได้ เป็นต้น
   คนทั่วไปคิดว่า การทำบาปจะต้องได้รับกรรมหนักๆ อุปสรรคเล็กๆน้อยๆไม่ใช่บาป

   ผมเคยไปอยู่วัดอินทร์ บางขุนพรหม ประมาณ ๘ วัน เค้าให้เลือกถือตามอัธยาศัย ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ได้
   ผมคิดว่า วัดเค้าไม่มีกติกาหรอกครับ แต่อาจเป็นเงื่อนไขของการปฏิบัติธรรมในแต่ละวาระ(คอร์ส)
   การเข้าปฏิบัติธรรมที่ไหนก็ตาม
ควรยอมรับเงื่อนไขของที่นั้นๆ ควรถือเป็นมารยาทและให้เกียรติสถานที่

nathaponson-http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8678.0]


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ลักษณะของการถือศีลแปด.. และอุโบสถศีล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 18, 2012, 12:56:53 pm »


               

ลักษณะของการถือศีลแปด.. และอุโบสถศีล
จาก.. 43274.เราเข้ามาพูดคุยเพื่ออะไร และได้อะไรกัน
----------------------------------------
ouie เขียน:
ศึกษาธรรม เข้าใจและวางตัวปฏิบัติตัวให้ถูก อยู่อย่างไรถึงจะไม่เข้าถึงทุกข์ และวิธีดับทุกข์ค่ะ
----------------------------------------
                              ...........................


เริ่มแรกเราตัองรู้ตัวเองว่าเรามีสถานะใด ควรปฏิบัติอย่างไหน
มันถึงจะถูกกาลเทศะ ถ้าเราฆราวาสเป็นปุถุชน มันก็ต้องเริ่มด้วย...
ทาน..ศีล...ภาวนา

ทานก็คือ การหมั่นทำบุญทำทาน ช่วยเหลือผู้อื่น ทานให้เยอะหน่อย
บุญน้อยหน่อยก็ได้ ที่พูดแบบนี้ทำทานคือการทำไม่หวังผล ทำบุญรายไหน
รายนั้นอยากได้บุญ หรือใครจะเถียง 

ศีลก็คือ การทำตัวให้อยู่เป็นปกติไม่ไปกระทำอะไรให้เดือดร้อนต่อตัวเองและผู้อื่น
เราเป็นฆราวาส มันก็คือการไม่ไปกระทำในกฎห้าข้อหรือศีลห้า
ส่วนใครยังอยู่ในสถานะผู้ครองเรือน แต่ไปเอาศีลแปดมาใช้ เขาว่าอวดอุตริ
ไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่รู้ว่า ทำแล้วผู้อื่นจะเดือดร้อนมั้ย เดือดร้อนที่ว่า ไม่กายก็ใจ

ภาวนา คือการมีสติในหน้าที่การงาน การมีสติในหน้าที่การงาน เป็นการเจริญสติ
เกิดสัมปชัญญะ รวมเรียกว่าสติสัมปชัญญะ การมีสติสัมปชัญญะเนื่องๆจะเป็นเหตุ
ให้เกิด
ปัญญาสัมมาทิฐิในภายหน้า


ความสำคัญในการปฏิบัติ มันอยู่ที่สถานะและกาลเทศะ

เป็นฆราวาสดันไปเอาพระวินัยของพระหรือเอาศีลของนักบวชมาปฏิบัติ
เป็นปุถุชนดันไปเอาอริยมรรคของเสขะบุคคลมาปฏิบัติ

ถามหน่อย....เมื่อไรมันถึงจะแจ้งธรรม
---------------------------------

กรัชกาย เขียน:
ข้อหาหนักนะ ไปว่าคนสมาทานศีลแปด หรือ อุโบสถศีลทุกวันพระ 8 ค่ำ 14-15 ค่ำ ว่าเป็นคนอุตริ แถมว่าผู้ทรงศีลเช่นนั้นว่าสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นอีก !!! บาปกรรมๆๆ!!
เข้ามาใหม่ๆก็พอฟังได้ แต่ทำไมมาๆ เกิดอาการเพี้ยนหนัก มิจฉาทิฐิกินปอดเลย เวรกรรม
บอกเหตุผลนะว่าทำไมถึงคิดเห็นไปเช่นนั้นหือออ

--------------------------------------------------
ที่นู๋กรัชกายคิดแบบนี้ก็เพราะนู๋ อ่านแค่สิ่งที่อยู่ตรงหน้า ไม่คิดพิจารณา
สิ่งรอบด้านรอบตัว คิดเพียงแต่การปฏิบัติศีล ผมไม่ได้ว่ามันผิดถ้ามันเป็นเรื่อง
ของศีลล้วนๆ แต่มันไม่ถูกต้องกับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน
พระองค์ทรงเน้นสอนเรื่องของ.....สัมมาศีล โดยเฉพาะเรื่อง สัมมาอาชีวะ
ไม่รู้นู๋กรัชกาย เข้าใจเรื่องมรรคสมังคีมั้ย พระพุทธองค์ทรงบอกให้ปฏิบัติ อริยมรรค
ทำอริยมรรคทั้งแปดให้เกิดพร้อมกัน

และมันจะเกิดพร้อมได้อย่างไร ก็ในเมื่อมีปุถุชนที่ขาดปัญญา เอาศีลมาปฏิบัติผิดที่
แบบนี้เขาเรียก ขาดสัมมาอาชีวะ การปฏิบัติที่ผิดสัมมาอาชีวะ
ย่อมทำให้ผิดสัมมากัมมันตะไปด้วย

แล้วที่บอกว่าเอามาปฏิบัติผิดที่ มันผิดอย่างไร
มันก็ต้องทำความเข้าใจกับคำว่า การถือศีลแปดซะก่อน
ลักษณะการถือศีลแปดมันมีสองลักษณะ นั้นก็คือ ...ศีลแปดและอุโบสถศีล

.....ศีลแปดมีไว้สำหรับ คฤหัสหรือชาวบ้านผู้ที่ ผู้ที่ไม่ได้ครองเรือนในขณะที่ถือศีลแปด
อย่างเช่น แม่ชีหรือพวกบวชเนกขัมมะที่ต้องอาศัยอยู่แต่ภายในวัด


.....อุโบสถศีลมีไว้สำหรับ คฤหัสหรือชาวบ้านที่ครองเรือนการถือศีลแปดในส่วน
ของอุโบสถศีลเขาถือเฉพาะวันพระ ไม่ได้ถือตลอดเวลา


ที่ผมบอกว่าอวดอุตริ หมายถึงคนที่ยังครองเรือนอยู่ แต่อวดอุตริไปถือศีลแปดของนักบวช
ผู้ไม่ได้ครองเรือน
ผมไม่ได้บอกเลยว่า.. คนถืออุโบสถศีลอวดอุตริ
--------------------------------
                            ...................
อุโบสถศีล กับ ศีล 8 มีข้อห้าม 8 ข้อเหมือนกัน
ผู้อาราธนาอุโบสถศีล เป็นฆราวาสเป็นผู้ครองเรือน
ผู้อาราธนาศีลแปด เป็นฆราวาสที่ไม่ได้ครองเรือน เช่นบุคคลที่ไปถือบวช
อยู่ที่วัด แม่ชี ชีพราหมณ์หรือพวกคนวัด

อุโบสถศีลจะอาราธนาเฉพาะวันพระ ส่วนศีลแปดเมื่ออาราธนาแล้วต้องถือ
โดยไม่มีกำหนดเวลา


                 

- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43274&p=308317#p308317

อุโบสถศีล เลิศกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ์
- http://www.tairomdham.net/index.php?topic=184.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 18, 2012, 02:12:57 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: อุโบสถ ๓ อย่าง :องค์ 5 ของศีลข้อ 1 ปาณาติบาต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 20, 2012, 02:09:19 pm »


กรัชกาย เขียน:
องค์ 5 ของศีลข้อ 1 ปาณาติบาต

   พระอรรถกถาจารย์ได้ประมวลหลักเกณฑ์บางอย่างไว้สำหรับกำหนดว่า การกระทำแค่ไหนเพียงใดจึงจะชื่อว่า เป็นการละเมิดศีลแต่ละข้อๆ เป็นการให้ความสะดวกแก่ผู้รักษาศีล โดยจัดวางเป็นองค์ประกอบของการละเมิด เรียกว่าสัมภาระ หรือเรียกกันง่ายๆว่า องค์
   บุคคลจะชื่อว่าละเมิดศีล (เรียกกันง่ายๆว่าศีลข้อนั้นจะขาด) ต่อเมื่อกระทำการครบองค์ทั้งหมด
ของการละเมิด ดังนี้

ศีลข้อ 1 ปาณาติบาต มีองค์ 5 คือ
1. สัตว์มีชีวิต
2. รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
3. จิต คิดจะฆ่า
4. มีความพยายาม
5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

   สำหรับศีลข้อที่ 1 แม้ว่าการฆ่าสัตว์ ท่านจะมุ่งเอาสัตว์ที่เรียกว่ามนุษย์เป็นหลัก ดังพุทธพจน์ที่ยกมาแสดงแล้ว แต่สัตว์จำพวกที่เรียกว่าดิรัจฉานก็รักชีวิต รักสุข เกลียดทุกข์ เป็นเพื่อนร่วมโลก เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน ไม่ควรเบียนเช่นเดียวกัน

   ศีลข้อนี้ ท่านจึงให้แผ่คลุมไปถึงสัตว์จำพวกที่เรียกว่าดิรัจฉานด้วย แต่ยอมรับว่าการฆ่าสัตว์จำพวกดิรัจฉานมีโทษน้อยกว่าการฆ่าสัตว์จำพวกมนุษย์
และพระอรรถกถาจารย์ก็ได้แสดงหลักสำหรับวินิจฉัยว่า การฆ่าสัตว์ใดมีโทษน้อยหรือโทษมาก คือ

1. คุณ สัตว์มีคุณมาก ฆ่าก็มีโทษมาก สัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณก็มีโทษน้อย เช่น ฆ่าพระอรหันต์มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น
2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์จำพวกดิรัจฉานที่ไม่มีคุณเหมือนกัน ฆ่าสัตว์ใหญ่มีโทษมาก ฆ่าสัตว์เล็กมีโทษน้อย
3. ความพยายาม มีความพยายามมากในการฆ่ามีโทษมาก มีความพยายามน้อยมีโทษน้อย
4. กิเลสหรือเจตนา กิเลสหรือเจตนาแรงมีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อนมีโทษน้อย เช่น ฆ่าสัตว์ด้วยโทสะหรือจงใจเกลียดชัง มีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ด้วยป้องกันตัว เป็นต้น
-------------------------------

กรัชกาย เขียน:
ศีลไม่ใช่ข้อห้าม (ศีลเป็นข้อห้ามเป็นศีลของศาสนาอื่น) ศีลหรือสิกขาบทเป็นการฝึกหัดขัดเกลาตนเองในระดับต้นๆคือระดับกาย เช่นศีล 8   
ส่วนศีล 5 เพื่อความสงบเรียบร้อยอยู่เป็นปกติสุขของหมู่ชน  ลองใล่ดูเป็นข้อๆ

--------------------------------------------
พูดไม่คิด เมื่อกี้เห็นพูดเรื่อง สมาทานศีลอยู่เหย่งๆ

ความหมายของศีล ถ้าจะกล่าวโดยเนื้อแท้แล้ว มันเป็นสติ
นั้นก็คือ การระลึกนึกถึงเรื่องที่เป็นกุศลเพื่อมาดับ สิ่งที่เป็นอกุศลนี่หมายถีงจิต
เนื้อแท้แล้วคือ ไม่ให้เกิดการกระทำอกุศลทางกายและวาจา

ศีลไม่จำเป็นว่าจะกี่ข้อ ขอให้มีสติระลึกรู้กุศลไม่ให้เกิดอกุศลทางกายและวาจาเขาก็เรียกว่า...ศีล

แล้วทำไมถึงเรียกศีลเป็นข้อห้าม อันที่จริงศีลหมายถึงความเป็นปกติทางกาย ทางวาจา
การไม่ทำอะไรที่เป็นอกุศลทางกายและวาจา เขาเรียกว่า...ความปกติ
การไปสมาทานศีลห้าหรือศีลแปดเข้ามาปฏิบัติเมื่อไร สิ่งที่สมาทานมาย่อมต้องเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติ
ไม่ว่าจะเป็นการกระทำหรือไม่กระทำ ศีลที่ไม่กระทำจึงเรียกว่า ศีลข้อห้าม

ศีลห้าหรือศีลแปด ถ้าไม่ได้สมาทานศีล เขาเรียกว่าความเป็นปกติ
แต่เมื่อใดไปสมาทานศีลห้าหรือศีลแปด เขาเรียกว่า....ศีลข้อห้าม

---------------------------
กรัชกาย เขียน:
ส่วนเรื่องนางกุมภาทาสีดังกล่าว มีเรื่องเล่าไว้ว่า นางกำลังหักฟืนอยู่ในป่า แล้วมีสามเณรเดินทางมาได้ฟังเสียงเพลงขับซึ่งมีเนื้อประกอบด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาตามก็บรรลุพระอรหันต์

-----------------------------------------------
ความสำคัญมันอยู่ที่ใครเป็นคนเล่า ถ้าไม่ใช่พุทธพจน์หรือพระอานนท์เป็นผู้เล่า
แบบนี้เอามาอ้างอิงไม่ได้ .... ...
-----------------------------------------------

กรัชกาย เขียน:
ผู้ฝึกศึกษาพัฒนาในศีล จะต้องเข้าใจหลักการ สาระสำคัญ และสิ่งที่สำคัญยิ่ง คือ วัตถุประสงค์ของศีลเหล่านั้น ทั้งในส่วนรายละเอียดที่ต่างกัน และส่วนรวมสูงสุด ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะมีความเข้าใจถูกต้อง ไม่งมงาย ปฏิบัติธรรมไม่ผิดพลาดและได้ผลจริง

สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำไห้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะเป็นต้น

สิกขาปทัง (สิกขาบท ) หมายถึง ข้อศึกษา หรือข้อฝึกความประพฤติ
ที่เราเรียกกันว่าศีลๆนั้น เดิมเรียก “สิกขาบท” เราสมาทานศีล (ขอศีล) แต่พระท่านให้สิกขาบท (ไม่ใช่ให้ศีล) เพื่อไปศึกษา ไปฝึกเอาเอง เมื่อฝึกสำเร็จ...เราก็เป็นผู้มีศีลตามข้อนั้นๆ

ดังนั้นศีลแต่ละข้อๆ มีคำว่า “สิกขาบท” อยู่ทุกๆข้อ ไม่ว่าเป็น ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ดู สังเกตสิกขาปทัง (สิกขาบท)

1. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ
ฯลฯ
5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ
6. วิกาลาโภชนา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ
7. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนา มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ
8. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ

   ศีล 5 (นิจศีล) (สิกขาบท 5) คลุมกว้างถึงสภาพแวดล้อมคนในสังคมทั้งสิ้น ต้องมีศีล 5 เพื่อความสงบเรียบร้อยของหมู่ชน
   และแล้วต่อมา เมื่อผู้นั้นๆ มีอุตสาหะวิริยะมีจิตสำนึกว่า เออ...ปกติเราก็มีศีล 5 อยู่พอควรแล้ว อย่ากระนั้นเลยมาฝึกหัดพัฒนาตนไปอีกขั้นหนึ่ง ก็จึงสมาทานศีล 8 (สิกขาบท 8 ) ...ปกติก็สทารสันโดษอยู่แล้ว ไหนลองงดเว้นสักระยะหนึ่งสิ มันจะเป็นอะไรไหม เราจะอยู่ได้ไหม ฯลฯ

   ปกติเคยกินข้าววันละสามมื้อ ไหนลองงดมื้อเย็นสักมื้อสิ มันจะเป็นอะไรไหม จะอยู่ได้ไหม ฯลฯ
   ปกติเคยดูละครทีวีเรื่องชิงรักหักสวาท นางร้ายกับนางเอกตบตีกันสนั่นจอ นึกสงสารนางเอก น้ำตาไหลพลอยเกลียดนางอิจฉาไปด้วย ไหนลองงดเว้นไม่ดูสิจะอยู่ได้ไหม จะเป็นอะไรไหม ฯลฯ จะหันมาดูสิ่งที่ให้แง่คิดบันเทิงธรรม...จะฟังก็ฟังเรื่องให้แง่คิดชวนบันเทิงในธรรมสิ (ไม่ใช่ห้ามฟังห้ามดู) มันจะเป็นอะไรไหม จะอยู่ได้ไหม ฯลฯ

   ปกติหลังอาบน้ำเคยผัดหน้าทาปากใส่น้ำอบน้ำปรุง ฯลฯ ไหนมาลองเว้นดูบ้างสิ มันจะเป็นอะไรไหม จะอยู่ได้ไหม ฯลฯ
   ปกติเคยนอนบนเตียงบนที่นอนอันอ่อนนุ่ม ไหนลองปูเสื่อนอนกับพื้นบ้างสิ มันจะเป็นอะไรไหม มันจะอยู่ได้ไหม ฯลฯ
   ทั้งหมดนี้คือการฝึกตนเองเพื่อความเบาสบายไม่เป็นภาระเกินจำเป็น

ศีล 5 เพ่งกว้างออกไป แต่ศีล 8 เพ่งแคบเข้ามาที่ตนเองเพื่อฝึกหัดขัดเกลายิ่งๆขึ้นอีก เพื่อเป็นฐานของสมาธิขั้นต่อไป

-------------------------------------------------

กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
------------------------------

เอาศีลพรตปรามาสมาคุยอีกแล้ว บอกกี่ครั้งแล้วว่า ให้แยกศีลข้อห้ามกับสัมมาศีล
ที่คุยกันอยู่มันเป็นเรื่องของศีลข้อห้าม
------------------------
ใครห้าม บอกหน่อยดิ
-------------------------------------

มันไม่เกี่ยวว่าใครห้าม แต่บางขณะศีลข้อห้ามกับสัมมาศีลมันไปในทางเดียวกันไม่ได้
อย่างคนที่เข้าใจเรื่องสัมมาศีล ยังกล่าวว่า พวกถือศีลอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงถึง
สถานะ ความเป็นอยู่และสภาวะแวดล้อม เขาเรียกพวกนี้ว่า ศีลพรตปรามาส

ศีลห้าศีลแปดมันเป็นก้าวแรกของการปฏิบัติ มันเป็นเรื่องของปุถุชน
ที่ยังปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
จึงจำเป็นตัองปฏิบัติในเรื่องศีล
เพื่อมิให้ประมาท จะได้ไม่ต้องตกไปในอบายภูมิ เรียกว่าถ้าจิตยังยึด
ก็ให้ยึดแต่สิ่งดีๆสิ่งที่เป็นกุศล

ส่วนอริยบุคคลเป็นผู้วางดีวางชั่วแล้ว ตายไปก็ไม่ไปอบายภูมิ
ท่านจึงไม่ได้สนใจเรื่องศีลข้อห้าม เห็นแต่เพียงเป็นความปกติของกายใจ

คือท่านไม่ล่วงศีล แต่ก็ไม่ได้เห็นศีล
เป็นสิ่งสำคัญ

---------------------------------------
กรัชกาย เขียน:
เขาเต็มใจฝึกหัดขัดเกลาตัวเขาเองตามนั้น หากวันใดเขาหมดความอดทนที่จะฝึกต่อแล้ว (เหมือนผู้ที่เข้าบวชชีพราหมณ์ เป็นระยะเวลาสั้นๆ) เขาก็กลับมาที่สิกขาบท 5 หรือ ศีล 5 ที่เป็นนิจศีล ซึ่งมนุษย์ผู้หวังความสงบเรียบร้อยของพวกตนพึงปรารถนา
-------------------------------


อยากฝึกไม่มีใครเขาว่าหรอก แต่ที่เขาพูดน่ะเพื่อให้รู้ว่ากำลังปฏิบัติผิด
เคยบอกว่าศีลเป็นก้าวแรกๆ แทนที่จะก้าวไปข้างหน้าดันเดินถอยหลัง

อย่างเรื่องศีลแปดท่านกำหนดไว้ตายตัวแล้วว่า ห้ามทำอะไร
พอมีคนมาชี้จุดบกพร่องให้ดู ยังมีหน้ามาแถโน้นนี่ ทำไม่ได้ก็ไม่ต้องทำ
ใครเขาจะไปยุ่งด้วย
---------------------------------------------------

กรัชกาย เขียน:
ดูขอบเขตจำเพาะตัวของศีล 
ในสมัยอรรถกถา ท่านนิยมแสดง สิกขา 3 ในแง่ที่เป็นระดับขั้นต่างๆ ของการละกิเลส คือ

1. ศีล เป็นวิติกกมปหาน (เป็นเครื่องละวีติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดออกมาถึงกายวาจา)
2. สมาธิ เป็นปริยุฏฐานปหาน (เป็นเครื่องละปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลาง ที่เร้ารุมอยู่ในจิตใจ ซึ่งบางท่านระบุว่าได้แก่ นิวรณ์ 5)
3. ปัญญา เป็นอนุสยปหาน (เป็นเครื่องละอนุสยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียด ที่แนบนอนคอยอยู่ในสันดาน รอแสดงตัวในเมื่อได้เหตุกระตุ้น ได้แก่ อนุสัย 7)

สิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ต่างก็เป็นฐานให้กันและกัน ลำพังตัวใดตัวหนึ่งไปไม่ถึงจุดหมาย
จึงว่า ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื้อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

                    -http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43322&start=30


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: อุโบสถ ๓ อย่าง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2012, 09:30:32 pm »


               

อรรถกถา คังคมาลชาดก
ว่าด้วย กามทั้งหลายเกิดจากความดำริ

               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภอุโบสถกรรม จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า องฺคารชาตา ดังนี้.
               ความย่อมีว่า วันหนึ่ง พระศาสดาตรัสเรียกพวกรักษาอุโบสถมาแล้ว ตรัสว่า
               ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทำอุโบสถกรรมให้สำเร็จดีแล้ว ผู้ที่รักษาอุโบสถควรให้ทาน รักษาศีล ไม่โกรธ เจริญเมตตา อยู่รักษาอุโบสถ ก็บัณฑิตครั้งก่อนได้ยศใหญ่ เพราะอาศัยอุโบสถกรรมที่รักษาครึ่งวัน ดังนี้
               พวกอุบาสกเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-


อ่านต่อค่ะ...
- http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8109.msg31877/topicseen.html#msg31877


โฮฮับ เขียน:
ศีลอุโบสถปฏิบัติได้สามลักษณะดังนี้....
๑. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ
๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน
๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำทุกวันตลอดพรรษา ๓ เดือนอย่าง หนึ่ง
ถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด ๓ เดือน ก็รักษาให้ตลอด ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว
คือรักษาใน กฐินกาล

ในพระสูตรพระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เห็นว่า การถือศีลในวันพระวันเดียว มิได้เป็นไป
เพื่อการหลุดพ้น ดังนั้นควรปฏิบัติอุโบสถศีลให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสอนนางวิสาขา เรื่องการถืออุโบสถศีลในวันพระไว้ว่า
พระองค์ไม่ได้ทรงสอนให้หลงไหลในสมบัติ และความสุขในโลกสวรรค์
พระองค์เปรียบการถืออุโบสถศีลเพียงวันเดียวว่า เหมือนคนรับเลี้ยงโค

ดังนั้นจึงควรปฏิบัติในอุโบสถศีลให้ได้อย่างพระอริยะ นั้นคืออริยอุโบสถ

อุโบสถมีสามอย่างคือ.....
๑. โคปาลกอุโบสถ อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค
๒. นิคัณฐอุโบสถ อุโบสถของพวกนักบวชนิครนถ์
๓. อริยอุโบสถ อุโบสถของพระอริยะ

ดูพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะนางวิสาขาได้ที่.......

อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=5421&Z=5666

--------------------....................
ในตัวของศีล๘ไม่ได้มีความแตกต่าง ที่ต่างกันมันอยู่ที่สถานะของผู้รักษาศีล
นั้นคือ ผู้ครองเรือน(คฤหัส)กับผู้ที่สละเรือน(นักบวช)

ศีล๘ไม่ได้แตกต่าง แต่เป็นความเหมือน ทั้งคฤหัสและนักบวช
เหมือนกันตรงที่รักษาศีลแปด

ผู้ครองเรือนหรือคฤหัส ถ้ารักษาศีลแปด เรียกการกระทำนั้นว่า...อุโบสถศีล
ผู้สละเรือนหรือนักบวช ต้องรักษาศีล๘ เรียกการกระทำนั้นว่า...พระวินัย


เจตนาวิรัติ เป็นหนื่งในวิรัติ๓ เรียกว่า สมาทานวิรัติ
ความหมายของสมาทานวิรัติคือ....เว้นด้วยการสมาทาน คือ ตนได้ตั้งเจตนาไว้ก่อน
โดยได้รับศีล คือ สมาทานสิกขาบทไว้แล้ว ก็งดเว้นตามที่ได้สมาทานนั้น

ดังนั้นเจตนาวิรัติที่คุณกล่าวถึง มันมีความหมาย ต้องผ่านการอาราธนาศีล
และสมาทานแล้ว รับศีลที่พระให้เอามาเป็นเจตนา เรียกให้ตรงตัวก็คือ....
เจตนาในสมาทานวิรัติ

ผู้ครองเรือนรักษาศีลแปดชั้วครั้งชั่วคราว เมื่อหมดระยะเวลาที่ตัวเองสมาทานศีลแปดไว้
ก็กลับไปถือศีลห้า เจตนาในสมาทานวิรัติของศีลแปดก็หมดไปด้วย เจตนานั้นกลับกลายเป็น
ศีลห้า ถ้าจะมารักษาศีลแปดใหม่ จีงต้องสมาทานศีลแปดเพื่อตั้งเจตนาใหม่

มันไม่ได้เกี่ยวกับศรัทธาอ่อนแข็งตามที่คุณบอก
ศรัทธาอ่อนแข็ง มันเกี่ยวกับการให้สมาทานแล้ว
ต้องทำในสิ่งที่สมาทานให้ได้
------------....................................

วิริยะ เขียน:
การรักษาอุโบสถศีล รักษาได้ทั้งที่วัดและที่บ้าน ดังตัวอย่าง ..

.. ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อ จะเป็นอุโบสถกรรมไปทั้งหมดไม่ได้
เพราะไม่ได้อธิษฐานแต่เช้า แต่ก็เป็นเพียงกึ่งอุโบสถกรรมเท่านั้น ..

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เพียงเท่านี้ก็ช่างเถอะ ได้สมาทานศีลในสำนักของท่านเศรษฐี
อธิษฐานอุโบสถแล้วเข้าที่อยู่ของตน นอนนึกถึงศีลอยู่ ...


ว่าด้วยผลแห่งการรักษาอุโบสถศีลครั้งเดียว
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 306&Z=4339
---------------------------------------------------------

โฮฮับ เขียน:
วัดในที่นี้หมายถึงที่สัปปายะ และอยากทราบครับ
ในสมัยพระโพธิสัตว์ จะมีวัดจะมีคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
จะยกตัวอย่างต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนครับ ศีลอุโบสถที่กำลังกล่าวถึง
เป็นศีลที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ยังไม่ตรัสรู้เป็น
พระพุทธเจ้า ดังนั้นคำบอกกล่าวของท่านยังไม่ใช่เพื่อความหลุดพ้น คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นคำสอนเพื่อ
ความหลุดพ้น


ผมจะอธิบาย พระสูตรที่คุณเอามาอ้างให้เข้าใจนะครับ
พระสูตรนั้นเป็นการบอกกล่าวเล่าเรื่องนั้น ในอดีตชาติของ ท่านพระเอกุโปสถิกาภิกษุณี
ท่านบอกว่าเคยรักษาอุโบสถศีลครั้งหนื่ง ทำให้ท่านไปเกิดบนสวรรค์ เป็นมเหสีพระอินทร์
เป็นพระจักรพรรดิ์

ที่บอกมาเป็นเรื่องของผลบุญกรรมดี มันไม่ใช่การพ้นทุกข์หรือหลุดพ้นอย่างที่พระพุทธเจ้าสอน
แต่เมื่อชาติปัจจุบัน ก่อนที่ท่านเอกุโปสถิกาภิกษุณีจะบรรลุอรหันต์ เป็นเพราะท่านได้เข้ามาบวช
เป็นบรรพชิต เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าแล้ว นับเป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
และที่สำเร็จเร็วเป็นเพราะจิตที่เป็นกุศลอันเป็นกรรมที่ทำมาของอดีตชาติ

ถ้าท่านเอกุโปสถิกาภิกษุณี ยังปฏิบัติแบบเดิมของท่าน
ก็คงไม่บรรลุอรหันต์ ท่านก็คงยังเวียนว่าย ดีหน่อยตรงไม่มีทุคติ
สรุปก็คือ ที่ท่านบรรลุอรหันต์ไม่เกี่ยวกับอุโบสถศีลครั้งเดียว
แต่ที่บรรลุอรหันต์เพราะปฏิบัติอุโบสถศีลตามแนวทางของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติอุโบสถศีลแบบ....อริยอุโบสถ
ไม่ใช่แบบ อดีตชาติของพระเอกุโปสถิกาภิกษุณื
เพราะมันเป็น...โคปาลกอุโบสถ อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค

พระพุทธเจ้าทรงแนะนำนางวิสาขาว่า อุโบสถศีลแบบคนรับจ้างเลี้ยงโค
มันไม่ได้เป็นหนทางหลุดพ้น
ต้องเป็นอุโบสถศีลแบบ ...อริยอุโบสถเท่านั้น
การถืออุโบสถเพียงครั้งเดียวก็เป็นลักษณะ ..โคปาลอุโบสถเช่นกัน
มันไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น


43813.ศีลอุโบสถ กับ ศีล 8 เหมือนกันมั้ยค่ะ
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43813

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 15, 2012, 12:50:33 pm โดย ฐิตา »