ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

ร่วมกัน รณรงค์ขับรถ ถูก กฎจราจร กัน

<< < (4/13) > >>

sithiphong:
'เทคนิคขับ...กลับถึงบ้าน'
'เทคนิคขับ กลับถึงบ้าน'เตือนสติ10วันอันตราย : คอลัมน์ เปิดโลกยนตกรรม โดย... ยุทธพงษ์ ภาษี

-http://www.komchadluek.net/detail/20121230/148311/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A...%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html#.UN_SY3ed6So-


          "ไม่ว่าเราจะรณรงค์กันอย่างไร ขับเร็ว ขับช้า โอกาสการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ยังเกิดขึ้นเสมอ ช่วเทศกาลเป็นหนึ่งห้วงถนนอันตราย "เปิดโลกยนตรกรรม คมชัดลึก" นำเสนอเทคนิคขับรถ ผ่านคำแนะนำจาก "วณัฐสุข สงวนศิริ" ผู้เชี่ยวชาญการขับขี่ปลอดภัยจากศูนย์อบรมขับขี่ปลอดภัยเอดีทีซี เพื่อให้ทุกท่านขับรถไปและกลับถึงบ้านด้วยความปลอดภัย
 
          อุบัติเหตุทางถนนส่วนใหญ่เกิดจากเหตุหลักๆ ไม่กี่ประการเช่น การใช้ความเร็วเกินไป การมองไม่เห็นหรือมองเห็นในระยะกระชั้นชิด ต่อไปนี้คือเครื่องมือต่างๆ ที่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญว่า สามารถป้องกันเหตุต่างๆ ได้
ไม่ชนท้ายหรือถูกชนท้าย
 
          อุบัติเหตุชนท้ายรถคันหน้ายังมีเกิดขึ้นบ่อย แต่รถยนต์สองคันจะชนกันไม่ได้ ถ้าทั้งสองคันหรือคันใดคันหนึ่งมีพื้นที่ว่างเพียงพอ เราต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าทุกครั้งก่อนที่รถจะชนกัน ผู้ขับขี่จะเหยียบเบรกเพื่อต้องการให้รถหยุด และการหยุดของรถก็ต้องมีพื้นที่ว่างรองรับ ส่วนมากเบรกแล้วถึงชน ก็หมายความว่าเบรกแต่รถไม่หยุดนั่นเอง รถแต่ละคันมีระยะเบรกหยุดไม่เท่ากันเพราะระยะของการเบรกหยุดจะแปรผันตามความเร็วในขณะนั้น การชนท้ายเกิดขึ้นเพราะเบรกไม่หยุด-เบรกไม่หยุดเพราะระยะเบรกไม่พอ-ระยะเบรกไม่พอเพราะเว้นระยะห่างน้อยเกินกว่าระยะเบรกหยุดนั่นเอง ดังนั้น ควรเว้นระยะห่างคันหน้าอย่างปลอดภัยคือควรเว้น 4 วินาที เพื่อผู้ขับขี่จะมีเวลาอย่างเพียงพอสำหรับการเบรกให้รถหยุดหรือสลับช่องทาง

000ไม่แหกโค้ง
          การขับด้วยความเร็วที่สูงมักก่อให้เกิดการแหกโค้ง เพราะว่า เข้าโค้งที่ความเร็วเกินโค้ง ดังนั้นเมื่อท่านต้องขับรถต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า สภาพแวดล้อมของถนนเอื้ออำนวยให้ขับได้เร็วมากขนาดนั้นหรือไม่มีหลากหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ความสำคัญของการขับเร็ว เช่น สภาพรวมของรถยนต์ ประสบการณ์ ในเส้นทาง และฝีมือของผู้ทำหน้าที่ขับรถการขับให้เร็วเท่าไรใครๆ ก็ขับได้ แต่คำถามที่น่าขบคิดคือ ต้องขับให้เร็วขนาดนั้นจนแหกโค้งหรือไม่

000ไม่กร้าวร้าว
          ถนนเป็นของทุกคน ต่างมีสิทธิ์ใช้เท่ากัน แต่บนถนนมีทั้งคนที่เพิ่งขับรถเป็น และคนที่มีความชำนาญ ดังนั้นเมื่อเข้าใจพื้นฐานนี้แล้ว การถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันจึงเป็นสิ่งควรปฏิบัติ และเวลาขับรถพยายามชำเลืองมองกระจกส่องหลังบ่อยๆ เพื่อจะได้มีโอกาสเห็นแต่ไกลๆ ตา คือเครื่องมือที่สำคัญมากที่สุด การจะใช้ประโยชน์จากตาให้ได้มากๆ ก็จำเป็นต้องมีวิธีการใช้ ให้มองไปยาวๆ ไกลๆ ดูวิวทิวทัศน์รอบๆ รถของเรารวมทั้งมองข้างหลังด้วย ช่วยให้เห็นหลายๆ อย่างหลายๆ มุม รวมทั้งพฤติกรรมของรถแต่ละคันด้วยว่าคันไหนขับแบบไหน เมื่อเห็นก็ประเมิน ถ้าอันตรายมากๆ บรรยากาศไม่น่าเสี่ยง ก็หลบหลีกให้พวกที่รีบเร่งแซงขึ้นหน้าเราไปเถอะ

000ขับช้าชิดซ้าย
          การขับช้าในช่องทางขวาโดยเจตนาถือว่าไม่เหมาะสม เพราะกีดขวางเส้นทางของรถคันอื่นจำไว้ว่าช่องทางด้านซ้ายคือเส้นทางสำหรับรถช้าช่องขวาสำหรับรถวิ่งเร็ว (กว่ารถในช่องซ้าย) และถ้าหากเห็นว่ามีรถคันหลังวิ่งมาด้วยความเร็วสูง รถคันหน้าจะต้องหลบไปใช้ช่องทางด้านซ้ายการขับช่องทางขวาด้วยความเร็วมากกว่ารถในช่องทางด้านซ้าย ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย ความเร็วในที่นี้หมายความว่าไม่เกินกฎหมายกำหนดหลายท่านคงกระจ่างมากขึ้นและคงจะไม่ถูกจับกรณีที่วิ่งขวา เพราะไม่ได้กีดขวางช่องทางเดินรถ และคำว่า "ใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับกระแสการจราจร" หมายความว่า ถ้ารถคันหน้าวิ่งเร็วเราก็ควรจะวิ่งเร็ว รถในช่องทางขวาวิ่งเร็วเราก็ควรจะวิ่งเร็วตามกันไปถ้าใช้ความเร็วอย่างเหมาะสมกระแสการจราจรจะไหลลื่นไม่กีดขวางรถคันอื่นๆ ทุกวันนี้เราพบว่าต้องเสียเวลามากในการเดินทาง เนื่องจากมีรถหลากหลายพฤติกรรมร่วมใช้เส้นทางซึ่ง พฤติกรรมผิดๆ เหล่านี้ ผู้ขับขี่แต่ละคนสั่งสมมาเป็นเวลานานนับสิบปี การขาดข้อมูลข่าวสาร ไม่เข้าใจกฎจราจร ทางออกที่ดีคือ ต้องช่วยกันเป็นตัวอย่างที่ถูก ปัญหาต่างๆ ก็จะค่อยๆ ลดลง

000ไม่หลับใน
          อุบัติเหตุจากการหลับในนั้นสามารถป้องกันได้ หากเข้าใจสาเหตุของการหลับใน เมื่อเรานอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอวันละ 7-8 ชั่วโมงจะไม่มีความเสี่ยงเรื่องการหลับในร่างกายของคนเรามี วงจรเปรียบเทียบเฉกเช่นกับนาฬิการอบของนาฬิกาคือ 24 ชั่วโมง คนปกติต้องทำงานกลางวันและนอนในเวลากลางคืน ความเหนื่อยล้าหรือร่างกายต้องการพักผ่อนในช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเช้าและเวลาบ่ายคือ ประมาณ 14.00-16.00 น. ระหว่าง 2 ช่วงนี้การขับรถช่วงหลังเที่ยงคืนถึงเช้าจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมากกว่าช่วงบ่ายการขับรถติดต่อกันประมาณ 5 ชั่วโมงแล้วเปลี่ยนให้คนอื่นขับต่อก็ไม่ได้หมายความว่าจะหลีกเลี่ยงการหลับในได้ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอของคนขับ ดังนั้นถ้าคนขับคนที่ 2 รับกะตอนเที่ยงคืน โดยที่ทั้งวันที่ผ่านมาไม่ได้นอนหลับพักผ่อนมาก่อน ก็ยังมีความเสี่ยงเช่นกันการเดินทางไปต่างจังหวัดในเทศกาล ซึ่งต้องขับรถไปไกลๆ ก็ขอให้ตระหนักถึงความเหนื่อยล้าของร่างกาย การเดินทางในช่วงกลางคืนก็ควรจะจอดพักทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยพักครั้งละไม่น้อยกว่า 30 นาที (โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ 22.00 น.เป็นต้นไป) หากรู้สึกง่วงนอนก็ขอให้จอดงีบหลับแล้วค่อยขับต่อ และโปรดจำไว้ว่า กาแฟ มะนาว ยากระตุ้นหรือเครื่องดื่มต่างๆ ไม่สามารถจะสู้กับความเหนื่อยล้าได้ คงมีเพียงการนอนหลับอย่างเพียงพอและการงีบหลับในบางช่วงเท่านั้น ที่จะหลีกเลี่ยงการหลับในได้

000กรณีรถเบรกแตก
          รถวิ่งด้วยความเร็วประมาณ 70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถควบคุมให้รถหยุดได้ ถ้าคนขับมีประสบการณ์และควบคุมสติ เพราะรถเบรกแตกในทางราบควบคุมง่ายกว่ารถลงทางลาดชันแม้ว่าจะเป็นทางราบ แต่ไม่สามารถจะควบคุมให้รถหยุดได้ ถ้าหากว่าคนขับ รู้ว่ารถเบรกแตกภายในระยะไม่เกิน 10 เมตร ขณะต้องการเปลี่ยนทิศทางรถ การใช้เกียร์ต่ำเพื่อลดความเร็วของรถขณะเบรกแตก หรือ  การใช้เบรกมือ ช่วยได้ อย่างไรก็ตามใช้เบรกอย่างถูกวิธี หมั่นตรวจสอบสภาพเบรกให้ใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอและขับรถที่ความเร็วไม่สูงเกินไป สามารถช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้จากอุบัติเหตุ

000จอดรถให้ถูกที่จอด
          การจอดรถ ต้องประเมินความเสี่ยง ก่อนจะกำหนดทิศทางหรือสถานที่สำหรับจอด ลักษณะการจอดที่ปลอดภัยมากที่สุด คือกำหนดทิศทางการจอด ให้ขนาน กับบริเวณหรือจุดเสี่ยงต่างๆ หากเป็นสระน้ำ ก็ควรจะให้ตำแหน่งรถ ขนานกับขอบสระ หรือถ้าเป็นถนนก็ให้ชิดขอบถนน  ซึ่งบางท่านอาจจะแย้งว่าการจอดในลักษณะนี้เสียพื้นที่มาก ตัวอย่างที่ดีๆ ที่พอมีให้เห็นคือปั๊มน้ำมันจำนวนหนึ่งออกแบบได้น่าปลอดภัย เพราะให้รถจอดขนานกับร้านสะดวกซื้อแนวทางป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ก็มีหลากหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น ขึ้นเบรกมือทุกครั้งที่จอดรถ  เอากุญแจออกทุกครั้ง เปลี่ยนทิศทางการจอดให้ปลอดภัย และรวมทั้งประเมินความเสี่ยงด้วยสิ่งที่สำคัญที่สุด ควรจอดให้ถุกที่จอดด้วยการมีมารนาทในการจอดเช่น ไม่จอดปากซอยรถเข้าออก ไม่จอดทางร่วมทางแยก หรือจอดขวางทางเข้าออก รวมทั้งไม่จอดแบบคาเกียร์ P เมื่อต้องจอดบนช่องจราจร ต้องบอกรถคันหลังให้เห็นว่าเราจอดโดยการเปิดไฟจอด กระพริบสีเหลืองสองดวงพร้อมกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ถนนปลอดภัยมากขึ้น

000ไม่ถูกชนซ้ำซ้อน
          การหยุดหรือจอด บนช่องทางจราจร ไม่ว่ากรณีใดๆ เช่นเพื่อเปลี่ยนยาง ชนท้ายคันอื่นๆ รถเสีย ควรหลีกเลี่ยงอยู่ในตำแหน่งที่มีภาวะเสี่ยง เช่นหัวโค้ง บนทางลาดลงสพาน  การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ซ้ำให้วางสัญญาณเตือนภัยรถอื่นๆ อย่างน้อย 100 เมตรขึ้นไป บางท่านทำสัญญาณเตือนภัยก็จริงแต่ระยะใกล้มาก พอเห็นสัญญาณก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะว่าระยะชะลอรถไม่พอ เมืองนอกมีกฎหมาย หากรถเสีย ต้องวาง สามเหลี่ยมสะท้อนแสง คนที่จะออกนอกรถไม่ว่า คนขับรถคนกู้ภัยจะต้องสวมเสื้อสะท้อนแสงแต่เมืองไทยไม่ต้องพูดถึงการคิดฉลาดๆ แบบนี้

          ให้พยายามคิดเสมอว่าอุบัติเหตุสามารถป้องกันได้ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นส่วนมากล้วนเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ดังนั้นมนุษย์เท่านั้นที่จะควบคุมอุบัติเหตุได้
.......................................
เข็มขัดนิรภัย
          ในการขับขี่รถยนต์ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ เข็มขัดนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเมื่อคุณเบรกอย่างรุนแรง เข็มขัดจะช่วยยึดลำตัวของผู้ขับหรือรัดให้แน่นขึ้น เพื่อให้แผ่นหลังชิดกับพนักพิงโดยไม่หลุดออกไปหน้ารถ เข็มขัดนิรภัย ยังมีส่วนช่วยให้การนั่งขับมีความมั่นคง ส่งผลถึงการควบคุมพวงมาลัยได้อิสระเมื่อรถมีแรงเหวี่ยงโดยไม่ต้องฝืนตัวต้านแรง เพราะเข็มขัดจะรั้งให้

ตำแหน่งการนั่งของคุณอยู่บนเก้าอี้อย่างมั่นคง
          1.เมื่อคาดเข็มขัด สายเข็มขัดควรจะแนบกับลำตัว (อย่าใช้อุปกรณ์เหนี่ยวรั้งอื่น ๆ)
          2.ตรวจสอบเข็มขัดโดยการดึง และระวังอย่าให้เข็มขัดบิด
          3.ควรปรับระดับเข็มขัดตรงสะโพก เพื่อให้เข็มขัด พาดอยู่ตรงกลางกระดูกเชิงกราน
          4.คาดเข็มขัดนิรภัยก่อนติดเครื่องยนต์เสมอ
.......................................
(หมายเหตุ 'เทคนิคขับ กลับถึงบ้าน'เตือนสติ10วันอันตราย : คอลัมนื เปิดดลกยนตกรรม โดย... ยุทธพงษ์ ภาษี)

-http://www.komchadluek.net/detail/20121230/148311/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A...%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html#.UN_SY3ed6So-

sithiphong:
อ่านเดี๋ยวนี้ ....เบรกแตกทำไงดี !!!

-http://auto.sanook.com/5570/%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%8B%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-....%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5/-


  รถยนต์ทุกรุ่นในปัจจุบัน ใช้น้ำมันเบรกเป็นตัวถ่ายทอดแรงดันระหว่างการกดของเท้าไปยังผ้าเบรก เสมือนเป็นระบบไฮดรอลิกส์ชนิดหนึ่ง ดังนั้น จึงอาจมีการรั่วซึมขึ้นได้จากการรั่วของลูกยางตัวใดตัวหนึ่งหรือท่อน้ำมันเบรกรั่ว การถ่ายทอดแรงดันก็จะสูญเสียลงไป

ระบบเบรกมักแบ่งการทำงานออกเป็น 2 วงจร อาจเป็นแบบล้อคู่หน้าและล้อคู่หลัง หรือเป็นแบบไขว้ล้อหน้าซ้าย-ล้อหลังขวา และล้อหน้าขวา-ล้อหลังซ้าย เผื่อว่าวงจรใดวงจรหนึ่งชำรุด เพื่อให้ระบบยังมีประสิทธิภาพการทำงานหลงเหลืออยู่บ้าง ดังนั้น เมื่อเบรกแตกหรือน้ำมันเบรกเกิดการรั่ว ส่วนใหญ่มักหลงเหลือประสิทธิภาพการทำงานอยู่หลายสิบเปอร์เซ็นต์ หรืออีกไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งในอีกวงจร

สิ่งสำคัญตั้งสติให้มั่นคง เมื่อเหยียบแป้นเบรกลงไปแล้วลึกต่ำกว่าปกติ ต้องเหยียบซ้ำแรงๆ และถี่ๆ เพื่อใช้แรงดันในวงจรที่เหลือยู่ ผ้าเบรกจะได้สร้างแรงเสียดทานขึ้นมาบ้าง พร้อมกับการลดเกียร์ต่ำครั้งละ 1 เกียร์ จนกว่าจะถึงเกียร์ต่ำสุด แล้วค่อยใช้เบรกมือช่วย โดยการกดปุ่มล็อกค้างไว้ให้สุด เพื่อไม่ให้เบรกจนล้อล็อก ดึงขึ้นแล้วปล่อยสลับกันไป เพื่อลดความเร็ว


sithiphong:
โดนใบสั่ง ไม่ไปจ่ายค่าปรับ จะเป็นอย่างไร!?!

-http://auto.sanook.com/5720/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/-


มีข้อถกเถียงสงสัยกันมานานแล้วว่าเมื่อได้รับใบสั่งให้ไปชำระค่าปรับ เวลาทำผิดกฎจราจร เช่น ขับรถฝ่าสัญญาณไฟ จอดรถในที่ห้ามจอด ตรวจจับความเร็ว ฯลฯ โดนใบสั่งแบบนี้ถ้าไม่ไปจ่ายจะเป็นไรไหม? ขยำใบสั่งทิ้งได้หรือเปล่า? วันนี้ Dealfish หาคำตอบมาให้

ถ้าไม่ไปชำระค่าปรับตามที่ระบุไว้ในใบสั่ง โดยไม่มีเหตุอันควร ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ไปชำระค่าปรับตามใบสั่ง มีความผิดอีกข้อหาหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 155 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ) นอกจากนี้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดการกับผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถตามมาตรา 141 ทวิ ดังนี้

1. พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนตามสถานที่ วัน และเวลาที่ระบุในหมายเรียกนั้น แล้วพนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย

2. ถ้าพนักงานสอบสวนใช้อำนาจออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนแล้วส่งหมายเรียกไม่ได้ พนักงานสอบสวนจะแจ้งไปยังนายทะเบียนรถหรือนายทะเบียนขนส่งทางบกให้งดรับชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้นไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าผู้ได้รับใบสั่งจะมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกและชำระค่าปรับให้เรียบร้อยเสียก่อน พนักงานสอบสวนจึงจะแจ้งไปยังนายทะเบียนให้ทราบเพื่อให้ผู้นั้นชำระภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นต่อไป

ดังนั้น เมื่อคุณทำผิดกฎจราจร หรือได้รับใบสั่ง คุณก็มีหน้าที่ต้องไปชำระค่าปรับที่สถานีตำรวจในเขตท้องที่และภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ซึ่งปกติแล้วก็มักจะไม่เกิน 7 วัน หรือถ้าใครไม่สะดวกไปจ่ายเองก็อาจจะชำระทางไปรษณีย์ก็ได้ ส่วนกรณีโดนยึดใบขับขี่ไว้ ก็ให้ใช้ใบรับแทนใบขับขี่ไปพลางก่อน เมื่อไปชำระค่าปรับแล้วตำรวจก็จะคืนใบขับขี่ให้

หลายคนคิดว่าไม่ต้องไปจ่ายหรอก ข้อมูลคงไม่ถึง อันนี้ขอแนะนำว่าอย่าเสี่ยงเลยจะดีกว่า นอกจากจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้แล้ว ยังต้องอาจต้องโทษปรับเพิ่มขึ้นด้วย สรุปให้สั้นๆ นั่นคือ ทำให้ถูกต้องดีกว่าจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง...

sithiphong:
ขับรถช้า ต้องระวัง ผิดกฏหมายเช่นกัน!

-http://auto.sanook.com/5907/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99/-

   การขับรถช้า แล้วทิ้งระยะห่างรถคันหน้ามากๆ ใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไปนะครับ วันนี้ Sanook!Auto ขอยกตัวอย่างให้ดูกันครับ

     เริ่มแรกเลย หากว่าคุณขับรถทิ้งระยะมากๆนั้น รถคันหลังจะพยายามแซงคุณขึ้นมา เพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุให้ผู้อื่นอย่างไม่รู้ตัว

     อุบัติเหตุบนท้องถนนกว่า 80% นั้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้ถนนที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งกว่า 11 % มาจากการแซงซ้าย

     เหตุผลที่กฏหมายระบุว่าห้ามแซงซ้าย เพราะหากทิ้งระยะห่างคันหน้าอย่างเหมาะสม คงไม่มีผลอะไรมาก เนื่องจากทัศนะวิสัยทั้งซ้ายและขวาเอื้ออำนวย แต่หากขับชิดคันหน้ามากขึ้นเท่าไหร่ จะทำให้การมองเห็นรถทางฝั่งซ้ายลดลงไปมากเท่านั้น หากผู้ขับขี่ขับเบียดเลนซ้ายเพื่อเร่งแซง อาจทำให้เชี่ยวชนรถที่จอดอยู่ก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้ การแซงขวาจึงมีความปลอดภัยกว่า

     การแซงซ้าย ยังมีความผิด พรบ.จราจรทางบก ปี 2522 หมวด 2 มาตรา 45 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ ขับรถแซงหน้ารถคันอื่นด้านซ้าย อีกด้วย

   

แล้วจะขับเว้นระยะมากๆกันทำไม? ตัวอย่างเช่น

    บางคนคิดว่าขับเร็วตามกฏหมายกำหนดแล้ว จึงคิดเข้าข้างตัวเองว่าทำถูกกฏ คันที่เร็วกว่าคือผิดกฏ อาจทำให้ผู้ที่ตกอยู่ในสถานการณ์เร่งด่วนจริงๆ ต้องเดือดร้อน เช่น รีบไปโรงพยาบาล หรือ ไปสนามบิน เป็นต้น

     ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ สถิติตำรวจจราจรช่วยทำคลอดบนท้องถนนสูงถึง 107 ราย/ปี ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก

    บางคนไม่มองกระจกหลังเลย เนื่องจากปรับเบาะชิดพวงมาลัยมากเกินไป ทำให้มองกระจกหลังไม่สะดวก จึงเลือกที่จะไม่มอง (ซะงั้น?) ทางแก้สำหรับผู้ขับขี่ที่มีรูปร่างเล็ก หากกลัวว่าจะมองหน้ารถไม่ถนัด ก็ให้ปรับเบาะให้สูงขึ้น และปรับระดับพวงมาลัยให้พอดี เพื่อจะได้มองเห็นการจราจรได้รอบคัน

 

ทางแก้ทำอย่างไร?

    หากคุณเป็นผู้ที่ขับช้า ทางแก้ง่ายๆเลยคือ เร่งความเร็วตามคันหน้า เว้นระยะพอดีๆ แต่หากรู้สึกว่าเร็วเกินไป ก็เปลี่ยนมาใช้เลน ที่อยู่ทางซ้ายมือ ก็แค่นั้น

    หากคุณขับตามหลังรถที่ขับช้า อาจกระพริบไฟสูงอย่างสุภาพ แต่หากไม่หลบ เราก็เปลี่ยนช่องจราจรเองเสียเลยดีกว่า ไม่เสียอารมณ์ด้วย

     การขับช้าขวางเส้นทาง ผิดพรบ.การจราจรทางบก มาตรา 35 ระบุว่า รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบเดินรถทางซ้ายเท่าที่จะกระทำได้


     หากเลนซ้ายขรุขระอย่างกับทางเกวียนล่ะจะทำอย่างไร? ฉันก็รักรถเหมือนกันนะ! เพียงใช้ความเร็วในเลนขวาอย่างพอดีๆ ไม่ขับช้าจนเกินไป หมั่นมองกระจกหลังเป็นระยะ หากรถตามหลังขับเร็วกว่า ก็หลบซ้ายสักนิด เพื่อให้เขาแซงไปก่อน ซึ่งจุดนี้ต้องดูความเหมาะสมด้วย เนื่องจากกฏหมายระบุชัดว่า ช่องทางด้านขวา ใช้ได้ต่อเมื่อขับรถด้วยความเร็วสูงกว่าด้านซ้าย หรือเมื่อต้องการแซง ฉะนั้นการขับแช่เลนขวาจึงมีความผิดตามกฏหมาย

    อย่าลืมว่า ถนนมีไว้ใช้ร่วมกันนะครับ อาจมีผู้ที่เดือดร้อนรีบเร่งจริงๆอยู่ก็ได้ครับ

 

เชิญชมคลิป "การเว้นระยะการขับขี่"

การเว้นระยะการขับขี่

การเว้นระยะการขับขี่

-http://www.youtube.com/watch?v=J4DiEQQzDow&feature=player_embedded-

ขอขอบคุณ โครงการพัฒนาสังคม โดยการส่งเสริมการสร้างความเอื้ออาทรบนท้อ­งถนน www.ueaartorn.com


sithiphong:
รู้ไว้ไม่เสียหาย “อัตราค่าปรับผิดกฏจราจร” ในยุคปัจจุบัน

-http://club.sanook.com/11138/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-


รู้ไว้ไม่เสียหาย “อัตราค่าปรับผิดกฏจราจร” ในยุคปัจจุบัน

เนื่องจากตอนนี้มีนโยบายใหม่ๆด้านการจราจรออกมาให้เราได้ยินมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจะปรับกฏจราจรหรือว่าปรับอัตราค่าปรับใหม่ ที่เค้าว่ากันว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงกัน ซึ่งตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือผลจะสรุปออกมาในแนวทางใด หรือเป็นจริงมากแค่ไหน ดังนั้นเรามาดูอัตราค่าปรับผิดกฏจราจรในยุคปัจจุบันกันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าถ้าเราทำผิดกฏข้อไหนแล้วต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนเท่าใด

ซึ่งเรื่องกฏเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป แล้วถ้าเราเรียนรู้หรือจำไว้บ้าง ก็อาจจะเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างเราๆ ที่ใช้รถใช้ถนนกันอย่างแน่นอนค่ะ


ข้อหาหรือฐานความผิดตามกฎหมายที่ควรทราบ     

1. ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2538)และการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิด นั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ (กรมตำรวจ) ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 9 ก.ค. 40 และเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ลงวันที่ 3 ธ.ค. 2540 ตามลำดับ   

ลำดับ     ข้อหาหรือฐานความผิด        อัตราโทษ               อัตราตามข้อ กำหนด 

1 นำรถที่ไม่มั่นคงแข็งแรงอาจเกิดอันตรายหรือทำให้เสื่อมเสีย สุขภาพอนามัย มาใช้ในทางเดินรถ                   >> ปรับไม่เกิน 500 บาท   ปรับ 200 บาท

2 นำรถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนมาใช้ในทางเดินรถ
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท   ปรับ 300 บาท

3 นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่นควัน ละอองเคมี เกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ในทางเดินรถ
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท  ปรับ 500 บาท

4  นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ ในทางเดินรถ
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท    ปรับ 500 บาท

5 ขับรถในทางไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างในเวลาที่มีแสง สว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวาง ในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะ 150 เมตร
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท        ปรับ 200 บาท

6 ใช้สัญญาณไฟวับวาบผิดเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 300 บาท

7 ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในทางเดิน รถไม่ติดธงสีแดง ไว้ตอนปลายสุดให้มองเห็นได้ภายใน ระยะ 150 เมตร
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท

8  ขับรถบรรทุกวัตถุระเบิด หรือ วัตถุอันตรายไม่จัดให้มีป้ายแสดงถึงวัตถุ ที่บรรทุก
>> จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000       ปรับ 300 บาท

9  ขับรถไม่จัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุก ตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจาก รถอันอาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพ อนามัยแก่ประชาชนหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท    ปรับ 200 บาท

10 ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏ ในทาง หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบ
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท         ปรับ 300 บาท

11 ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท         ปรับ 300 บาท

12 ไม่หยุดรถหลังเส้น ให้รถหยุดเมื่อมีสัญญาณไฟแดง
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท         ปรับ 300 บาท

13 ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏด้วยมือ
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท         ปรับ 300 บาท

14 ไม่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด หรือหยุดรถห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่น้อยกว่าสามเมตร
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท         ปรับ 300 บาท

15 ทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจ
>> จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ                -

16 ไม่ขับรถที่มีความเร็วช้าให้ใกล้ขอบทางด้านซ้ายในทางเดินรถที่มีสวนกันได้
>> ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท              ปรับ 200 บาท

17  ไม่ขับรถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสารรถจักรยานยนต์ ที่มีความเร็วช้าในช่องเดินรถซ้ายสุด ในทางเดินรถที่แบ่งช่องเดินรถไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป
>> ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท  -

18   เลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณ
>> ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท  ปรับ 400 บาท

19 ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
>> จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท

20 ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
>> จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 –10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ -

21 ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
>> ปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท              ปรับ 400 บาท

22 ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร (เว้นแต่รถเข็นสำหรับทารก คนป่วย หรือคนพิการ)
>> ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท

23  ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายมือโดยไม่มีเหตุอันสมควร
>> ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท

24  ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นขณะขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง ซึ่งไม่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้ >> ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท

25 ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางแยก
>> ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท

26 ขับรถออกจากที่จอดเมื่อมีรถจอดหรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้า โดยไม่ให้ สัญญาณมือหรือแขน หรือสัญญาณไฟ
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท                ปรับ 400 บาท

27   กลับรถในทางเดินรถกีดขวางการจราจร
>> ปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท   ปรับ 200 บาท

28   กลับรถในระยะ 100 เมตร จากเชิงสะพาน
>> ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท  ปรับ 400 บาท

29  กลับรถที่ทางร่วมทางแยก(เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถได้)
>> ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท ปรับ 400 บาท

30  หยุดรถหรือจอดรถในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจ
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท                ปรับ 200 บาท

31  ไม่จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

32  จอดรถไม่ขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างเกินกว่า 25 ซม.
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

33  หยุดรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุผลสมควร
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

34   หยุดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคาร หรือทางเดินรถ โดยไม่มีเหตุผลสมควร
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

35  จอดรถบนทางเท้า
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

36   จอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

37  จอดรถในทางร่วมทางแยก หรือภายในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

38  จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอด
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

39 จอดรถภายในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

40  จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

42  ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเครื่องมือบังคับ รถ มิให้เคลื่อนย้าย            จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือ
>> ปรับไม่เกิน 5,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ        -

43 จอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางโดยไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างเพียงพอ ที่จะเห็นรถที่จอดนั้นได้ชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
>> ปรับตั้งแต่ 200 – 500บาท    ปรับ 200 บาท

44  ขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด
>> ปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท   ปรับ 400 บาท

45  ไม่ยอมให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน เมื่อขับรถถึงทางร่วมทาง แยกทีหลัง
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

46  ขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วไม่หยุดช่วยเหลือแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ เคียง ทันที.
>> จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 –10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

47 ขับรถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร (เว้นแต่ กรณีจะเกิดอันตรายแก่ตนหรือแก่คนโดยสาร)
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท         ปรับ 300 บาท

48 ไม่เดินบนทางเท้าหรือไหล่ทางเมื่อทางนั้น มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ
>> ปรับไม่เกิน 200 บาท            ปรับ 100 บาท

49 เดินข้ามทางนอกทางข้าม เมื่อมีทางข้ามอยู่ภายในระยะ100 เมตร
>> ปรับไม่เกิน 200 บาท            ปรับ 100 บาท

50 ขี่ จูงไล่ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทาง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท                ปรับ 200 บาท

51 วาง ตั้ง ยื่น หรือ แขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร โดยไม่ได้รับอนุญาต
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท    ปรับ 200 บาท

52  ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศรีษะตามประเพณีนิยม
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

53 โดยสารรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศรีษะตามประเพณีนิยม
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

54 ยินยอมให้ผู้อื่นนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับคนขับเกิน 2 คน
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

55 เป็นผู้ขับรถโดยสารประจำทาง รถบรรทุกคนโดยสารรถโรงเรียน รถแท็กซี่ ยินยอมให้ผู้โดยสารขึ้นหรือลง รถยนต์ในขณะที่รถหยุดเพื่อรอสัญญาณไฟ หรือหยุดเพราะติดการจราจร
>> ปรับไม่เกิน 500 บาท            ปรับ 200 บาท

56  ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ในระยะไม่ถึง 50 เมตร
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท         ปรับ 300 บาท

57  กระทำด้วยประการใด ๆ บนทางอันเป็นการกีดขวางของการจราจร
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท         ปรับ 300 บาท

58 ฝ่าฝืนคำสั่งข้อบังคับหรือระเบียบของเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งหรือ ประกาศ ห้าม หยุดหรือ จอด
>> ปรับไม่เกิน 1,000 บาท         ปรับ 300 บาท

2. ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2537) 

ลำดับ     ข้อหาหรือฐานความผิด                                       อัตราโทษ

1  ใช้รถไม่จดทะเบียน                                           ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

2  ใช้รถไม่เสียภาษีประจำปีภายในเขตกำหนด          ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

3  ใช้รถไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษี                      ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

4  ใช้รถไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน                                 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

5  ใช้รถที่มีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ไม่ครบถ้วน     ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

6  เปลี่ยนแปลงสีของรถผิดจากที่จดทะเบียนไว้         ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

7  เปลี่ยนปลงตัวรถหรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดจากไปที่ จดทะเบียน      ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

8  ขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม (รถป้ายแดง) ระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางคืน) โดยไม่มีความจำเป็นและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน           ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

9  ขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถ        จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

10 ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถที่จะแสดงได้ทันที (เว้นแต่ผู้ฝึกหัดขับรถตาม)     ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

11  ขับรถไม่มีสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถที่จะแสดงได้ทันที  ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

12  ยินยอมให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ เข้าขับรถของตน      ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

13 รับจ้างรถบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกิน 7 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน     ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

14 ขับรถระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

15 ใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถ อีกคันหนึ่ง      ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2537)

ลำดับ     ข้อหาหรือฐานความผิด        อัตราโทษ

1 ประกอบการขนส่งประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต
>> จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2 ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต
>> จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3 ประกอบการขนส่งด้วยรถขนาดเล็กโดยไม่ได้รับอนุญาต
>> จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4  ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต
>> จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5 เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภท
>> จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6 เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดจำนวนรถที่ต้องการใช้ใน การประกอบการขนส่ง ตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบ การขนส่ง
>> ปรับตามจำนวนรถที่ขาด คันละไม่เกิน 5,000 บาท ต่อหนึ่งวัน จนกว่าปฏิบัติให้ ถูกต้อง

7 เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถ และเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏ ประจำรถทุกคัน
>> ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

8  เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่ง


http://p3.isanook.com/cl/0/up/2013/10/Traffic-Rate.jpg

Credit : trafficpolice

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version