ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

ร่วมกัน รณรงค์ขับรถ ถูก กฎจราจร กัน

<< < (5/13) > >>

sithiphong:
กล้องจับผิดจราจรรุ่นใหม่! โดนกันระนาว

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=GDATVae6_K8#t=33

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=GDATVae6_K8#t=33

-http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=GDATVae6_K8#t=33-

-------------------------------------------------

ถ้าจับจริง ออกใบสั่งจริง 

โดนกันเยอะแน่ๆ อิอิ

.

sithiphong:
รถสตาร์ตไม่ติด แก้ปัญหาอย่างไร ?

-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382075216&grpid=&catid=09&subcatid=0903-


คอลัมน์ คาร์ทิปส์




ถ้าคุณขับรถอยู่แล้วรถคุณดับสตาร์ตเท่าไหร่ก็ไม่ติด หรือสตาร์ตไม่ติดคุณจะทำอย่างไร ถ้าผู้ขับขี่ที่มีพื้นฐานความรู้ด้านช่างอยู่บ้างก็คงจะพอแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ แต่ถ้าเป็นผู้ขับขี่มือใหม่คงจะต้องโทร.ตามช่าง หรือไม่ก็สอบถามผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์เพื่อที่จะทำการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ขับต่อไปได้

เมื่อบิดกุญแจแล้วเครื่องยนต์ไม่หมุนแต่มีเสียงดังแชะๆ หรือไม่ดัง ถ้าอาการนี้เกิดขึ้นกับรถยนต์ของคุณ ให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่า แบตเตอรี่ หรือไดสตาร์ตมีปัญหา ให้ลองบีบแตรดูอาการว่าแตรดังปกติหรือไม่? แบตเตอรี่อาจจะอ่อนเกือบหมด ทำให้หมุนไดสตาร์ตไม่ไหว ได้แค่กระตุ้นโซลินอยด์เบาๆ แต่หมุนไม่ไหวจึงมีเสียงแชะๆ

ถ้าหากแบตเตอรี่มีไฟ ไดสตาร์ตอาจขัดข้อง ถ้าไดสตาร์ตขัดข้องให้ทดลองหาท่อนไม้มาเคาะไดสตาร์ต (ต้องระมัดระวังอย่าให้โดนอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย) ถ้าสตาร์ตติดแสดงว่าไดสตาร์ตสกปรก แต่หลังจากนั้นก็ต้องถอดไปทำความสะอาดด้วย แต่ถ้าเคาะแล้วยังไม่ทำงานก็ต้องถอดออกไปซ่อม

บิดกุญแจแล้วเครื่องหมุนอืดๆ ไม่ยอมทำงานเอง ถ้าคุณได้ยินเสียงไดสตาร์ต และการหมุนของเครื่องยนต์ แต่เป็นการหมุนช้าๆ หรืออืดๆ อาการนี้ มักจะมีปัญหามาจากแบตเตอรี่ไฟอ่อน แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ หรือไดชาร์จไม่ปกติ ไม่ใช่ปัญหาที่ตัวเครื่องยนต์

อาการขัดข้องแบบนี้ถ้าเป็นระบบเกียร์ธรรมดา สามารถเข็นโดยเข้าเกียร์ 2 กระตุกติดเครื่องยนต์ได้ หรือถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติก็สามารถพ่วงแบตเตอรี่จากภายนอกเพื่อสตาร์ตเครื่องยนต์ให้ติดได้

เมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้วให้ดูไฟรูปแบตเตอรี่ที่หน้าปัด ว่าสว่าง หรือเลือนราง ถ้าไฟรูปแบตเตอรี่ไม่สว่างแสดงว่าการชาร์จไฟปกติ แต่ถ้ารูปไฟแบตเตอรี่สว่างขึ้นโชว์ไม่ดับ แนะนำให้นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อทำการตรวจเช็กการชาร์จไฟของไดร์ชาร์จโดยด่วน เพราะถ้าคุณขับรถต่อไปเครื่องยนต์อาจจะดับเองได้อีก

ที่มา http://phithan-toyota.com/th

(ที่มา:มติชนรายวัน 17 ต.ค.2556)

sithiphong:
จับเจ้าของรถหัวหมอ ถูกล็อกล้อ แต่แอบถอดล้ออะไหล่มาเปลี่ยน
-http://hilight.kapook.com/view/92929-




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร - บก.02
       
            บก.02 โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีเจ้าของรถหัวหมอ ถูกล็อกล้อ แต่แอบถอดล้ออะไหล่มาเปลี่ยน โดนจับ คุก 3 เดือน ปรับ 5 พันบาท

            วันนี้ (30 ตุลาคม 2556) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่เฟซบุ๊ก ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร - บก.02 ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีที่เจ้าของรถจอดรถในที่ผิดกฎหมาย ถูกล็อกล้อ แต่หัวหมอเอาล้ออะไหล่มาเปลี่ยน โดนจับ โทษจำคุก 3 เดือน ปรับไม่เกิน 5 พันบาท โดยมีข้อความดังนี้...

            "จอดรถผิดกฎหมาย ถูกล็อกล้อ ถูกปรับ แต่ถ้าไปทำลายเครื่องบังคับหรือถอดออก จะถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 150 วรรค 2 ในข้อหา เคลื่อนย้ายรถที่เจ้าพนักงานจราจรได้ใช้เครื่องมือบังคับมิให้เคลื่อนย้ายโดยมิได้รับอนุญาต มีอัตราโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

            โดยเมื่อเช้านี้ (30 ตุลาคม 2556) เวลา 08.41 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สน.คลองตัน ได้ทำการบังคับล้อรถทะเบียน 1 กศ-7573 กทม ที่จอดผิดกฎหมายในซอยบาร์โบส ถนนพระราม 4 ปรากฏว่า ต่อมาได้มีนายไพบูลย์ อินทร์แก้ว อายุ 34 ปี ชาว จ.อุบลราชธานี เจ้าของรถได้ออกมาถอดล้อแม็กซ์ที่มีเครื่องบังคับล้อออก และเอายางอะไหล่มาใส่แทน เพื่อขับรถออกไป แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรตรวจพบ จึงถูกจับกุมดำเนินคดีส่งฟ้องศาลต่อไปครับ"




http://hilight.kapook.com/view/92929

sithiphong:
บก.จร.ขยายอีก30 เส้นทาง จับจริงปรับจริงยกจริง จอดรถบนถนน เริ่ม 1 พ.ย.56

-http://auto.sanook.com/6042/%E0%B8%9A%E0%B8%81.%E0%B8%88%E0%B8%A3.%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%8130-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1-1/-



    ภายหลังจากที่ กองบังคับการตำรวจจราจร  ได้ดำเนินการจับจริงปรับจริงยกรถจริง ตั้งแต่เมื่อวันที่  21 ตุลาคม เป็นต้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเส้นทางสำคัญ ในเขตกรุงเทพมหานคร นั้น

     เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก ผบก.จร. ระบุ ได้มีการขยายโครงการระดมแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในเส้นทางสำคัญ ระยะที่ 2  โดยยกรถที่จอดผิดกฎหมายออกจากพื้นที่ เพิ่มอีก 30 เส้นทาง

     30 เส้นทางที่เพิ่มขึ้นมา ได้แก่

1.ถนนประชาราษฎร์สาย 1 ตั้งแต่หน้าวัดสร้อยทอง ถึงแยกเกียกกาย
2.ถนนสามเสน ตั้งแต่แยกเกียกกาย ถึงแยกบางลำภู
3.ถนนรามอินทรา ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกมีนบุรี
4.ถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงสุดเขต กทม.
5.ถนนงามวงศ์วาน ตั้งแต่แยกเกษตร ถึงสุดเขต กทม.
6.ถนนประชาชื่น ตั้งแต่แยกตัดถนนประชาราษฎร์สาย 2 ถึงแยกพงษ์เพชร
7.ถนนนวมินทร์ ตลอดสาย
8.ถนนร่มเกล้า ตั้งแต่แยกเคหะร่มเกล้า ถึงแยกมอเตอร์เวย์
9.ถนนลาดกระบัง ตลอดสาย
10.ถนนประดิษฐมนูธรรม ตั้งแต่แยกพระราม 9 ถึงแยกถนนรามอินทรา
11.ถนนศรีนครินทร์ ตั้งแต่แยกลำสาลี ถึงสุดเขต กทม.
12.ถนนเสรีไทย ตั้งแต่แยกนิด้า ถึงแยกคลองครุ
13.ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่ท่าน้ำถนนตก ถึงแยกสี่พระยา
14.ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ตลอดสาย
15.ถนนจักรเพชร ตั้งแต่หน้า สน.พระราชวัง ถึงแยกเมอร์รี่คิงส์
16.ถนนบำรุงเมือง ตั้งแต่แยกแม้นศรี ถึงแยกกษัตริย์ศึก
17.ถนนกรุงเกษม ตั้งแต่แยกตัดถนนสันติภาพ ถึงแยกกษัตริย์ศึก
18.ถนนเยาวราช ตลอดสาย
19.ถนนสีลม ตลอดสาย
20.ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตลอดสาย
21.ถนนเจริญนคร ตลอดสาย
22.ถนนรัชดาภิเษก-พระราม 3 ตั้งแต่แยกรัชดา-พระราม 4 ถึงแยกใต้ทางด่วนสาธุประดิษฐ์
23.ถนนรัชดาภิเษก-ตลาดพลู ตั้งแต่แยกมไหสวรรย์ ถึงแยกท่าพระ
24.ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ตลอดสาย
25.ถนนกรุงธนบุรี ตลอดสาย
26.ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ตลอดสาย
27.ถนนเพชรเกษม ตั้งแต่วงเวียนใหญ่ ถึงสุดเขต กทม.
29.ถนนพระราม 2 ตั้งแต่แยกดาวคะนอง ถึงสุดเขต กทม.
และ 30.ถนนราชพฤกษ์ ตั้งแต่แยกบรมราชชนนี ถึงแยกถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน

     โดยจะมีการดำเนินการตั้งแต่ เวลา 06.00 น. วันที่ 1 พฤศจิกายน นี้

sithiphong:
‘แซงซ้าย‘ สรุปว่าผิดกฏหมายหรือไม่?

-http://auto.sanook.com/6082/%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88/-


  การแซงซ้ายถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรกระทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ความเร็วสูงบนทางหลวง แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังคงมีผู้ใช้รถอีกจำนวนหนึ่ง ที่มีพฤติกรรม 'แช่ขวา' คือการขับรถชิดขอบทางด้านขวา ด้วยความเร็วไม่มากนั่นเอง ซึ่งทำให้ผู้ขับขี่ที่ขับรถมาด้วยความเร็วสูงกว่า ไม่มีพื้นที่ให้แซงขึ้นไป หากเจอพฤติกรรมเช่นนี้ จะปฎิบัติอย่างไรดี?

แซงซ้าย ผิดกฏหมาย!

      พรบ.จราจรทางบก ปี 2522 หมวด 2 มาตรา 45 ระบุไว้ชัดเจนว่า 'ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ ขับรถแซงหน้ารถคันอื่นทางด้านซ้าย' ด้วยเหตุนี้แล้ว การแซงซ้ายนั้นถือว่าผิดกฏหมายเต็มๆ


อ้าว! แล้วพวก 'แช่ขวา' ล่ะ

     อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มผู้ใช้รถบางคน ที่มีพฤติกรรมการขับขี่ด้วยความเร็วต่ำในช่องเดินรถขวาสุด โดยไม่สนใจว่ามีรถคันหลังที่ใช้ความเร็วสูงกว่า ซึ่งเหตุผลที่มักพบอยู่บ่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น สภาพผิวถนนเลนซ้ายไม่ดี วิ่งเลนขวาสบายใจกว่า หรือ ผู้ขับขี่อาจคิดว่าตนใช้ความเร็วตามกฏหมายกำหนดแล้ว ไม่จำเป็นต้องชิดซ้าย

     การขับช้าขวางเส้นทางนั้น ผิดพรบ.การจราจรทางบก มาตรา 35 ระบุว่า รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่น ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบเดินรถทางซ้ายเท่าที่จะกระทำได้ โดยมิได้กล่าวถึงอัตราความเร็ว หมายความว่า ถึงแม้จะใช้ความเร็วสูงสุดตามที่กฏหมายกำหนดแล้วก็ตาม คุณจำเป็นต้องใช้เลนทางซ้ายมืออยู่ดี โดยให้รถที่เร็วกว่า สามารถแซงไปทางขวาได้

'แช่ขวา' ยังไงก็ไม่หลบ 'แซงซ้าย' ก็ผิดกฏหมาย แล้วจะให้ทำอย่างไร?

     อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัตินั้น ผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรม 'แช่ขวา' ยังคงมีให้เห็นในถนนบ้านเรา แม้จะให้สัญญาณไฟขอทาง หรือสัญญาณแตรแล้วก็ตาม กฎหมายจึงระบุข้อยกเว้นในมาตรา 45 (2) ว่าผู้ขับขี่สามารถแซงขึ้นไปทางซ้ายได้ เมื่อเห็นว่าปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อไม่ให้รถต่อแถวกันยาวเป็นหางว่าวเนื่องจากต้องต่อท้ายรถที่มีพฤติกรรมดังกล่าว

     สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาที่พบอยู่บ่อยๆ คือ เมื่อสามารถแซงขึ้นไปทางซ้ายได้แล้ว ผู้ขับขี่บางคนอาจมีความรู้สึกโกรธแค้นจนก่อให้เกิดการ 'เอาคืน' ด้วยการปาดหน้ากระชั้นชิด หรือแซงขึ้นหน้าแล้วเหยียบเบรคแรงๆ สิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุยิ่งกว่า ให้ลองคิดว่าหากรถที่ขับช้านั้น เป็นญาติพี่น้องเราเอง เราคงไม่ทำพฤติกรรมเช่นนั้น

     ทางที่ดีเมื่อแซงได้แล้ว ก็ขับต่อไปโดยไม่ต้องสนใจ ปล่อยให้กฎหมายเป็นผู้จัดการเขาเอง


พื้นผิวจราจรเลนซ้ายไม่ดี บางทีก็ต้องเห็นใจ!

     พื้นผิวทางหลวงข้ามจังหวัดบางเส้นนั้น มีสภาพค่อนข้างแย่ การขับขี่บนถนนขรุขระเช่นนั้น อาจทำให้รถเกิดความเสียหายได้ด้วยเหมือนกัน ข้อแนะนำเล็กน้อยสำหรับผู้รักรถ คือ ผู้ขับอาจใช้เลนขวาที่สภาพถนนเรียบกว่าได้ แต่ต้องหมั่นมองกระจกหลังเป็นระยะ หากพบว่ามีรถวิ่งมาด้วยความเร็วสูง ให้เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย พร้อมหลบเข้าเลนทางซ้ายไปก่อน

     แต่ต้องพึงระลึกไว้ว่า ช่องทางเดินรถขวาสุด มีไว้สำหรับรถที่วิ่งเร็วกว่า ทั้งยังเป็นการเปิดช่องให้ตำรวจทางหลวงเรียกได้เสมอ ทางที่ดีปฏิบัติตามกฎจราจรได้จะดีที่สุด



นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version