ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

ร่วมกัน รณรงค์ขับรถ ถูก กฎจราจร กัน

<< < (11/13) > >>

sithiphong:
เรื่องนี้ เป็นเรื่องของพฤติกรรมที่ไม่ดี


------------------------------------


5 พฤติกรรม “น่ารังเกียจ” บนรถตู้โดยสาร ที่เห็นแล้วต้อง “ยี้”

-http://auto.sanook.com/9133/5-%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%88-%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%89/-


 เชื่อว่าทุกวันนี้หลายคนที่ใช้บริการยวดยานพาหนะบนท้องถนน โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะประเภทต่างๆ อย่างรถเมล์ หรือรถตู้ คงเคยพบประสบการณ์แย่ๆ กันบ้างใช่ไหมครับ

 วันนี้ Sanook! Auto จึงหยิบ 5 พฤติกรรมน่ารังเกียจ บนรถตู้โดยสาร ที่ประสบพบเจอด้วยตัวเองและรู้สึก “ยี้” มาแบ่งปันกัน

 

     1.นกกระจอกแตกรัง

     เม้าท์มอยเรื่องชาวบ้าน ซ้ายดราม่า ขวามุ้งมิ้ง แน่นอน!! เชื่อว่าหลายคนเป็นนักพูดตัวยง แต่หากผิดที่ผิดเวลาก็ไม่ควรหรือเปล่า ? คุณอาจสนุกสนานแต่เชื่อว่าเพื่อนๆ ที่เดินทางไปพร้อมกันในรถตู้คงไม่อยากร่วมวงสนทนา หรืออยากได้ยินเรื่องที่คุณและเพื่อนกำลังพูดถึงกันอย่างแน่นอน

 

     2. ยอดนักแชท

     สำหรับประเด็นนี้ เหมือนจะไม่ได้สร้างปัญหาอะไรให้กับเพื่อนร่วมเดินทางมากนัก (หาก) ตอนที่คุณกำลังเพลิดเพลินกับการแชทนั้น คุณไม่ลืมที่จะปิดเสียงของ “แอพแชท” ที่ใช้งานอยู่

 

     3. ใช้ Small Talk แต่เพิ่ม Speed เสียงขึ้นเรื่อยๆ

     ถ้าคุณอยู่ภายในรถยนต์ส่วนตัว มันคงไม่แปลกที่คุณจะติดต่อสื่อสาร และใช้งานสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตคู่กับ Small Talk ตลอดเวลา แต่หากคุณเดินทางด้วยรถตู้โดยสารสาธารณะ การคุยผ่าน Small Talk ที่มาคู่กับเสียงบทสนทนาดัง ๆ ของคุณคือปัญหาที่สร้างความรำคาญให้เพื่อนร่วมเดินทางได้เช่นกันครับ

 

     4. อินสุดกับซีรี่ย์เรื่องโปรด

     ฉันชอบดูซีรี่ย์ฝรั่ง และซีรี่ย์เกาหลี เพราะมันสนุกและเพลิดเพลินดี แต่มันจะดีกว่าถ้าคุณนอนตีพุงดูอยู่ที่บ้าน แต่ที่ผมและเพื่อนร่วมเดินทางมักเจอกันบ่อยๆ คือการดูซีรี่ย์แบบไร้ Small Talk แต่ใส่อารมณ์ฟินสุดๆ เรื่องแบบนี้คงไม่มีใครอยากเข้าไปยุ่งกับคุณแน่นอนหากสถานที่นั้นไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ ลองหันไปสำรวจคนรอบข้างบ้างครับว่า มีใครอยากดูกับคุณหรือเปล่า ไม่ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เพื่อนร่วมเดินทาง ขอแนะนำว่าหยิบ Small Talk ขึ้นมาใช้เป็นดีที่สุด

 

     5. น้ำเอย น้ำใจ

     หลายคนอาจไม่ทราบว่าการนั่งรถโดยสารสาธารณะ เรื่องที่สำคัญที่สุดคือ “น้ำใจ” ยิ่งเป็น “รถตู้โดยสาร” ด้วยแล้วยิ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเก้าอี้แต่ละตัวมีพื้นที่ไม่กว้างมากนัก หากคุณนั่งประมาณแถวที่ 1-3 ของรถ ซึ่งมันคือบริเวณประตูเข้า-ออก น้ำใจในการเปิดประตู หรือหลีกทางให้เพื่อนร่วมเดินทางถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่เดินทางด้วยรถตู้ หากไม่ลำบากมากอย่าลืมเอื้อเฟื้อกันนะครับ



     หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องโดยสารรถบริการสาธารณะ ได้รับรู้ถึง 5 พฤติกรรมสุดยี้บนรถตู้ หรือบางครั้งอาจเผลอทำพฤติกรรมเหล่านี้ลงไปแบบไม่รู้ตัว นี่ก็น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นดีๆ ที่ทำให้คุณได้ตระหนักถึงสิ่งที่ควรกระทำเมื่อคุณเปิดประตูขึ้นไปนั่งบนรถตู้โดยสารสาธารณะ

 

sithiphong:
โดนใบสั่ง ไม่ไปจ่ายค่าปรับ จะเป็นอย่างไร!?!

-http://auto.sanook.com/11325/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A31/-


มีข้อถกเถียงสงสัยกันมานานแล้วว่าเมื่อได้รับใบสั่งให้ไปชำระค่าปรับ เวลาทำผิดกฎจราจร เช่น ขับรถฝ่าสัญญาณไฟ จอดในที่ห้ามจอด ตรวจจับความเร็ว ฯลฯ โดนใบสั่งแบบนี้ถ้าไม่ไปจ่ายจะเป็นไรไหม? ขยำใบสั่งทิ้งได้หรือเปล่า? วันนี้ OLX หาคำตอบมาให้

     ถ้าไม่ไปชำระค่าปรับตามที่ระบุไว้ในใบสั่ง โดยไม่มีเหตุอันควร ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ไปชำระค่าปรับตามใบสั่ง มีความผิดอีกข้อหาหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 155 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ) นอกจากนี้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดการกับผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถตามมาตรา 141 ทวิ ดังนี้

     1. พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนตามสถานที่ วัน และเวลาที่ระบุในหมายเรียกนั้น แล้วพนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย

     2. ถ้าพนักงานสอบสวนใช้อำนาจออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนแล้วส่งหมายเรียกไม่ได้ พนักงานสอบสวนจะแจ้งไปยังนายทะเบียนรถหรือนายทะเบียนขนส่งทางบกให้งดรับชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้นไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าผู้ได้รับใบสั่งจะมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกและชำระค่าปรับให้เรียบร้อยเสียก่อน พนักงานสอบสวนจึงจะแจ้งไปยังนายทะเบียนให้ทราบเพื่อให้ผู้นั้นชำระภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นต่อไป

 

     ดังนั้น เมื่อคุณทำผิดกฎจราจร หรือได้รับใบสั่ง คุณก็มีหน้าที่ต้องไปชำระค่าปรับที่สถานีตำรวจในเขตท้องที่และภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ซึ่งปกติแล้วก็มักจะไม่เกิน 7 วัน หรือถ้าใครไม่สะดวกไปจ่ายเองก็อาจจะชำระทางไปรษณีย์ก็ได้ ส่วนกรณีโดนยึดใบขับขี่ไว้ ก็ให้ใช้ใบรับแทนใบขับขี่ไปพลางก่อน เมื่อไปชำระค่าปรับแล้วตำรวจก็จะคืนใบขับขี่ให้

     หลายคนคิดว่าไม่ต้องไปจ่ายหรอก ข้อมูลคงไม่ถึง อันนี้ขอแนะนำว่าอย่าเสี่ยงเลยจะดีกว่า นอกจากจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้แล้ว ยังต้องอาจต้องโทษปรับเพิ่มขึ้นด้วย สรุปให้สั้นๆ นั่นคือ ทำให้ถูกต้องดีกว่าจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง…

 

     ที่มา OLX.co.th

sithiphong:

--- อ้างจาก: sithiphong ที่ ธันวาคม 14, 2014, 08:53:34 am ---โดนใบสั่ง ไม่ไปจ่ายค่าปรับ จะเป็นอย่างไร!?!

-http://auto.sanook.com/11325/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A31/-


มีข้อถกเถียงสงสัยกันมานานแล้วว่าเมื่อได้รับใบสั่งให้ไปชำระค่าปรับ เวลาทำผิดกฎจราจร เช่น ขับรถฝ่าสัญญาณไฟ จอดในที่ห้ามจอด ตรวจจับความเร็ว ฯลฯ โดนใบสั่งแบบนี้ถ้าไม่ไปจ่ายจะเป็นไรไหม? ขยำใบสั่งทิ้งได้หรือเปล่า? วันนี้ OLX หาคำตอบมาให้

     ถ้าไม่ไปชำระค่าปรับตามที่ระบุไว้ในใบสั่ง โดยไม่มีเหตุอันควร ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนไม่ไปชำระค่าปรับตามใบสั่ง มีความผิดอีกข้อหาหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 155 พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ) นอกจากนี้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจัดการกับผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถตามมาตรา 141 ทวิ ดังนี้

     1. พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนตามสถานที่ วัน และเวลาที่ระบุในหมายเรียกนั้น แล้วพนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย

     2. ถ้าพนักงานสอบสวนใช้อำนาจออกหมายเรียกผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนแล้วส่งหมายเรียกไม่ได้ พนักงานสอบสวนจะแจ้งไปยังนายทะเบียนรถหรือนายทะเบียนขนส่งทางบกให้งดรับชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้นไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าผู้ได้รับใบสั่งจะมาพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกและชำระค่าปรับให้เรียบร้อยเสียก่อน พนักงานสอบสวนจึงจะแจ้งไปยังนายทะเบียนให้ทราบเพื่อให้ผู้นั้นชำระภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นต่อไป

 

     ดังนั้น เมื่อคุณทำผิดกฎจราจร หรือได้รับใบสั่ง คุณก็มีหน้าที่ต้องไปชำระค่าปรับที่สถานีตำรวจในเขตท้องที่และภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ซึ่งปกติแล้วก็มักจะไม่เกิน 7 วัน หรือถ้าใครไม่สะดวกไปจ่ายเองก็อาจจะชำระทางไปรษณีย์ก็ได้ ส่วนกรณีโดนยึดใบขับขี่ไว้ ก็ให้ใช้ใบรับแทนใบขับขี่ไปพลางก่อน เมื่อไปชำระค่าปรับแล้วตำรวจก็จะคืนใบขับขี่ให้

     หลายคนคิดว่าไม่ต้องไปจ่ายหรอก ข้อมูลคงไม่ถึง อันนี้ขอแนะนำว่าอย่าเสี่ยงเลยจะดีกว่า นอกจากจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้แล้ว ยังต้องอาจต้องโทษปรับเพิ่มขึ้นด้วย สรุปให้สั้นๆ นั่นคือ ทำให้ถูกต้องดีกว่าจะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง…

 

     ที่มา OLX.co.th

--- End quote ---












.

sithiphong:
ออกมาแล้ว!!!
23 พ.ร.บ. จราจรใหม่ ปรับหนักมากขึ้น โปรดระวัง ฿฿฿
ค่าปรับ ตาม พ.ร.บ.จราจร มาแล้วนะ ฝากแจ้งเตือนกันด้วยโดนเข้าไปอาจมีโอกาสกินมาม่ายาวถึงสิ้นเดือนกันเลยทีเดียว........

1.ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน / วางไว้ที่กระจก = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.11,ม.60)

2.แผ่นป้ายทะเบียนตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายขาว = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

3.ติดป้ายเอียง มีวัสดุปิดทับ = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

4.แผ่นป้ายทะเบียนปลอม = ป.อาญา ฟ้องศาล

5.โหลดเตี้ย (วัดจากกึ่งกลางไฟหน้ากับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40cm) = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

6.ยกสูง (วัดจากกึ่งกลางไฟหน้ากับระดับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135cm) = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

7.ล้อยางเกินออกมานอกบังโคนข้างละหลายนิ้ว = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

8.ใส่ล้อใหญ่จนแบะล้อเพื่อหลบซุ้ม = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

9.ตีโปร่งขยายซุ้มล้อติดสปอยเลอร์ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

10.ฝาประโปรง หน้า-หลัง ดำ เกิน50%ของสีหลัก = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.13,ม.60)

11.เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดัง = ปรับไม่เกิน 1,000 บาท (ม.5(2),ม.58)

12.ไฟหน้าหลายสี เช่น เขียว แดง ฟ้า เหลือง = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

13.ไฟหยุดต้องสีแดง(ไฟเบรค)เท่านั้น = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

14.ไฟเลี้ยวต้องเป้นสีเหลืองอำพัน = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

15.ไฟส่องป้ายต้องเป็นสีขาวเห็นไม่ต่ำกว่า 20 เมตร = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

16.ไฟสปอร์ตไลน์ และโคมไฟตัดหมอกแสงพุ่งไกล = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

17.เปิดไฟตัดหมอกโดยไม่มีเหตุ = ปรับไม่เกิน 500 บาท กฏกระทรวง ข้อนี้เจอบ่อย..สุดรำคาญมั่ยรุสอบใบขับขี่ได้งัย

18.ติดไฟนีออนใต้ท้องรถ ติดไว้กับป้ายทะเบียน = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.12,ม.60)

19.ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน 4 ล้อ = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

20.เปลี่ยนดีสเบรคหลัง = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

21.ใส่หลังคาซันลูป = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

22.ถอดเบาะหลังออกแล้วติดโรลบาร์ = ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ม.14,ม.60)

23.ดัดแปลงเครื่องยนต์ วัดควันดำ = ปรับไม่เกิน 1,000 บาท (พรบ.ขนส่ง)

รู้แล้วแชร์ให้เพื่อนดูด้วยนะคะ

sithiphong:
ร่างใหม่ พ.ร.บ.จราจร “ไม่โชว์ใบขับขี่“ ระวังโดนปรับอ่วม

-http://auto.sanook.com/15641/-

เกิดกระแสข่าวในโลกออนไลน์อีกครั้ง เกี่ยวการปรับเพิ่มมาตรการใน พ.ร.บ.จราจรทางบก ซึ่งเตรียมเพิ่มบทลงโทษปรับ จำคุก และควบคุมตัว ข้อหาไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรือ ไม่ยอมแสดงใบอนุญาตขับขี่แก่เจ้าพนักงาน เมื่อมีการขอตรวจสอบ

กรณีดังกล่าวนั้น พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. ได้เปิดเผยเอาไว้ ในการประชุมพิจารณาแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้หารือถึงข้อหาจราจรที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขให้เด็ดขาดมากขึ้น

     ซึ่งในส่วนของ บช.น. จะมีการเสนอให้เพิ่มอัตราโทษ ในข้อหาไม่มีใบอนุญาตขับขี่ขณะขับรถ ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งจากเดิมมีโทษเพียงลหุโทษ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ คือ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทเท่านั้น

     ทั้งนี้ ยังจะมีการขอเพิ่มโทษในข้อหา มีและไม่แสดงใบอนุญาตขับขี่ เมื่อเจ้าพนักงานเรียกตรวจสอบได้ โดยเสนอให้เพิ่มอัตราปรับ 5,000 ถึง 10,000 บาท และจากทั้งสองกรณีนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถควบคุมตัวผู้ขับขี่ได้

     นอกจากนี้ ทาง บช.น. ยังได้เสนอมาตรการเพิ่มโทษ กรณีขับรถโดยประมาทและหวาดเสียว เช่น ขับรถย้อนศร มีโทษปรับ 1,000 ถึง 5,000 บาท รวมทั้งจะเพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่กีดขวางการจราจร อัตราปรับขั้นต่ำ 400 ถึง 1,000 บาท ด้วย

     อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวทั้งหมดอยู่ระหว่างหารือกับทีมกฎหมาย เพื่อสรุปและเสนอร่างดังกล่าวต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้การบังคับใช้เป็นข้อกฎหมายต่อไป

 

     ที่มา VoiceTV



นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version