ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
ร่วมกัน รณรงค์ขับรถ ถูก กฎจราจร กัน
sithiphong:
เจ้าตูบแสนซื่อ คาบชามข้าวเข้าแถวเป็นระเบียบ มนุษย์เห็นแล้วอายไปเลย
-http://pet.kapook.com/view121335.html-
******************
เผยภาพน่ารักน่าเอ็นดู สุนัขตำรวจคาบชามเข้าไว้ในปาก ยืนเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบ ยอดเยี่ยมจริง ๆ
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 เว็บไซต์ en.rocketnews24.com เผยภาพน่ารักน่าเอ็นดู สุนัขตำรวจคาบชามเข้าไว้ในปาก ยืนเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบ ยอดเยี่ยมจริง ๆ รายงานว่า ในโลกออนไลน์ของจีน ได้มีการแชร์ภาพน่ารักของสุนัขตำรวจ โดยเราจะเห็นได้ว่า ชายที่สวมเสื้อกาวน์สีขาวนั้น กำลังเตรียมที่จะตักอาหารให้กับสุนัขที่เข้าแถว คาบชามข้าวของตัวเองไว้ในปาก นอกจากนี้ สุนัขเหล่านี้ยังเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบสุด ๆ แสดงให้เห็นถึงวินัยและความอดทน
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ภาพแรกที่แสดงให้เห็นว่า สุนัขมีระเบียบแค่ไหน เพราะก่อนหน้านี้เคยปรากฏภาพของสุนัขในฟินแลนด์ ที่คาบชามข้าวไว้ในปาก และเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบเพื่อรออาหารมาแล้ว และดูเหมือนสุนัขเหล่านี้จะเป็นสุนัขทหาร
โดยปกติแล้วกองกำลังของตำรวจและทหารทั่วโลกมักจะมีการฝึกสุนัข ไม่ใช่แค่เฉพาะการค้นหายาเสพติด ระเบิด หรือวัตถุต้องสงสัย แต่ยังรวมไปถึงภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ หรือแม้กระทั่งการกู้ระเบิด ซึ่งงานแบบนี้มักจะใช้สุนัขที่มีทักษะสูง และผ่านการฝึกมามาก และสุนัขตำรวจมักจะถูกฝึกมาอย่างเข้มงวดมากกว่าแค่การฝึกให้สุนัขฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
ภาพจาก en.rocketnews24.com
sithiphong:
จ่ายหลักร้อย คุ้มครองหลักแสน พ.ร.บ. ช่วยได้
-http://auto.sanook.com/16171/-
ผู้ใช้รถบางคนไม่เห็นความสำคัญของการทำประกันหรือต่อ พ.ร.บ. แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาความเสียหายที่คุณต้องชดใช้นั้นเทียบไม่ได้เลยกับค่าทำ พ.ร.บ. เพียง 646 บาท ซึ่งช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายกรณีบาดเจ็บ – เสียชีวิตสูงสุดถึง 200,000 บาท ส่วนความคุ้มครองอื่นๆ มีอะไรบ้างนั้น SILKSPAN มีคำตอบ
ทำ พ.ร.บ. ดีอย่างไร
คุ้มครองความเสียหายเบื้องต้นทั้งตนเองและคู่กรณี
เมื่อคู่กรณีเกิดชนแล้วหนี ยังมีค่ารักษาพยาบาล
มีสิทธิ์ต่อทะเบียนรถประจำปี
จ่ายเบี้ยถูกคุ้มครองหลักแสน
ความคุ้มครองการทำประกันภัยภาคบังคับ พ.ร.บ.
1. ความคุ้มครองเบื้องต้น
(ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด) วงเงินคุ้มครอง
1.1 กรณีบาดเจ็บเบื้องต้น (ตามจริง) 15,000 บาท/คน
1.2 เสียชีวิต / สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท/คน
2. ค่าเสียหายส่วนเกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น
(หลังตรวจสอบว่าเป็นฝ่ายถูก) วงเงินคุ้มครอง
2.1 ค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาท/คน
2.2 เสียชีวิต / สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร 200,000 บาท/คน
2.3 ค่าชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน (กรณีเป็นผู้ป่วยใน) สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท/คน
ตัวอย่าง
ถ้าคุณขับรถกระบะไปเฉี่ยวชนมอเตอร์ไซค์ล้ม คนขับหัวฟาดพื้นได้รับบาดเจ็บจนต้องนำส่งโรงพยาบาล ซึ่งถ้าคุณทำพ.ร.บ. ไว้จะช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลของผู้บาดเจ็บ และถ้าคู่กรณีเสียชีวิต พ.ร.บ. ก็จะช่วยจ่ายค่าทำศพและจ่ายเงินชดเชยให้สูงสุดถึง 200,000 บาท แต่ถ้าโชคร้ายรถไม่มี พ.ร.บ. หรือขาดต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะตกเป็นภาระของคุณเพียงคนเดียว
สรุปง่ายๆ คือรถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. เพราะไม่เพียงแค่ทำตามกฎหมายกำหนด แต่ยังเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร เพียงจ่ายเงินไม่กี่ร้อยเท่านั้น คุ้ม!
ขอบคุณบทความจาก SILKSPAN.COM
สนใจสอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2392-1006
sithiphong:
ขับรถทางไกลไม่ให้ปวดหลัง รู้ยังต้องนั่งยังไง
-http://health.kapook.com/view145732.html-
ภาพจาก The Chartered Society of Physiotherapy โดย Lee Sullivan
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน
-https://www.doctor.or.th/article/detail/1723-
The Chartered Society of Physiotherapy
Daily Mail
ขับรถทางไกลนาน ๆ ต้องแก้เมื่อย เพื่อเลี่ยงอาการปวดหลัง แต่นอกจากวิธีคลายเมื่อยแล้วยังมีวิธีนั่งขับรถที่ถูกท่า พาห่างไกลจากทุกอาการปวดด้วยนะ
แค่ขับรถไปทำงานหลายคนก็บ่นอุบแล้วว่าปวดหลังบ้าง เมื่อยตรงนั้นตรงนี้บ้าง แล้วลองคิดดูว่าหากต้องนั่งขับรถทางไกลยาว ๆ สุขภาพหลังและร่างกายจะโดนผลกระทบมากน้อยแค่ไหน แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้เรามีท่านั่งช่วยลดอาการปวดหลังเมื่อต้องขับรถทางไกลมาบอกต่อ
ขับรถทางไกลอย่างไรให้ปลอดภัยและไม่ปวดหลัง ?
เบื้องต้นต้องปรับเบาะนั่งให้พอเหมาะกับตัวของผู้ขับขี่ โดยต้องคำนึงถึงการมองเห็นของผู้ขับขี่ในขณะขับรถด้วย โดยควรจัดที่นั่งดังนี้
* ปรับพวงมาลัย ยกขึ้นให้สุด และดันไปด้านหน้าให้สุด
* ปรับที่นั่งให้ต่ำที่สุด
* ปรับที่นั่งให้ด้านหน้าเทลงไปให้สุด
* ปรับพนักพิงให้เอียงไปทางด้านหลังประมาณ 30 องศาจากแนวดิ่ง
* ปรับส่วนรองรับหลัง (Lumbar Support) ไปทางด้านหลังให้มากที่สุด
* ดันที่นั่งให้ไปด้านหลังให้สุด
เมื่อจัดที่นั่งและพวงมาลัยรถแล้ว ให้มาปรับที่นั่งให้เข้ากับตัวผู้ขับขี่ดังต่อไปนี้
1. ยกที่นั่งขึ้นจนมองเห็นได้รอบ โดยที่นั่งไม่ควรสูงเกินไปจนศีรษะชิดกับหลังคารถด้านใน และต้องแน่ใจว่ามองเห็นได้อย่างเต็มที่
2. เลื่อนเก้าอี้มาทางด้านหน้าจนเท้าสามารถควบคุมคันเร่ง เบรก และคลัทช์ ได้สะดวก อาจปรับความสูงที่นั่งได้อีกเล็กน้อยเพื่อให้ใช้เท้าบังคับ คันเร่ง เบรก และคลัทช์ ได้ดีขึ้น
3. ปรับความลาดเอียงของที่นั่งจนต้นขาสัมผัสกับที่นั่งทั้งหมด โดยต้องระวังไม่ให้มีแรงกดที่ด้านหลังของเข่ามากไป
4. ปรับพนักพิงให้พิงได้จนถึงระดับไหล่ ไม่ควรเอนเก้าอี้ไปทางด้านหลังมากเกินไป เพราะทำให้ไม่ได้พิงหลังเพราะการมองเห็นจะมีปัญหาถ้าเอนหลังไปพิงพนัก ผู้ขับขี่มักจะอยู่ในท่าก้มคอเพื่อให้มองเห็นได้ดีขึ้น
5. ปรับส่วนรองรับโค้งของหลังให้รู้สึกว่ามีแรงกดเท่ากันตลอดของหลังส่วนล่าง แต่ถ้าไม่มีส่วนนี้อาจใช้หมอนเล็กหนุนหลังส่วนล่างแทนได้
6. ปรับพวงมาลัยให้เข้ามาใกล้ตัวและดันลงให้อยู่ในระยะที่จับได้สะดวก โดยต้องมีช่องว่างให้ยกขาท่อนบนได้บ้างขณะใช้เท้าบังคับรถ และขณะลุกออกจากที่นั่ง พร้อมทั้งควรตรวจดูว่าพวงมาลัยไม่บังหน้าปัดด้วยนะคะ
7. ปรับพนักพิงศีรษะให้สูงเท่าระดับศีรษะ ในส่วนของพนักพิงศีรษะมีจุดประสงค์หลักเพื่อไม่ให้คอสะบัดอย่างรุนแรง (Whiplash Injury) ขณะเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นตำแหน่งของพนักพิงศีรษะจึงควรอยู่ในจุดที่รองรับศีรษะได้พอดี
นอกจากนี้ Sammy Margo นักกายภาพบำบัดจากลอนดอน ได้แนะนำท่านั่งขับรถที่จะช่วยลดอาการปวดหลังเมื่อต้องขับรถระยะไกลมาให้ดูง่าย ๆ ตามภาพอินโฟกราฟิกจาก The Chartered Society of Physiotherapy
รูปที่ 1 (รูปแรก)
ภาพจาก The Chartered Society of Physiotherapy โดย Lee Sullivan
- นั่งให้เต็มสะโพก เอนหลังให้พิงเบาะนั่งเต็มที่ ให้ลักษณะการนั่งเหมือนนั่งทับกระเป๋าหลังกางเกงยีนส์เต็มใบ
- ศีรษะอยู่ห่างจากพนักพิงศีรษะประมาณ 1-2 นิ้ว
- ปรับเบาะเอนไปด้านหลังโดยกะระยะให้ข้อศอกขณะจับพวงมาลัยทำมุมประมาณ 30-40 องศาจากแนวดิ่ง
- เข่าทั้งสองข้างอยู่ในลักษณะเอียงเล็กน้อย แต่สำหรับรถเกียร์กระปุก ขาซ้ายอาจเอียงมากกว่าเข่าขวาเพื่อให้เหยียบคลัชท์ได้สะดวกขึ้น
- หลังและไหล่พิงเบาะนั่งอย่างเต็มที่
และในขณะที่ติดไฟแดง พักรถ หรือจอดรถ ให้บริหารร่างกายส่วนต่าง ๆ ตามท่าดังต่อไปนี้
* ไหล่
ยกไหล่ขึ้นและลง จากนั้นหมุนไหล่วนจากข้างหน้าไปข้างหลัง คล้ายท่าบริหารหัวไหล่ปกติเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียด
* ต้นแขนและหน้าอก
ประสานมือเข้าด้วยกัน จากนั้นหมุนให้ฝ่ามือหันออกด้านหน้า เหยียดแขนให้สุด ค้างไว้สักพัก แล้วค่อย ๆ เคลื่อนมือที่ประสานกันไว้เหยียดไปด้านบน ค้างท่าไว้สักระยะ พอให้หายเมื่อยแล้วจึงค่อยคลายมือออก
* ขาและเท้า
เมื่อไม่ได้ขับรถอยู่ ให้นั่งเอาเท้าวางราบไปกับพื้นรถ จากนั้นค่อย ๆ ยกส้นเท้าขึ้น (เขย่งเท้า) ค้างท่าไว้สักพัก
* คอ
ค่อย ๆ เอียงคอไปทางไหล่ขวา ค้างไว้สักพัก จากนั้นเปลี่ยนไปเอียงคอเข้าหาไหล่ซ้าย ค้างท่าไว้สักพัก คราวนี้ลองก้มหน้าให้คางเกือบแตะหน้าอก ค้างท่าไว้สักพักแล้วจึงเงยหน้าขึ้นมามองตรง ๆ จากนั้นหันศีรษะไปทางขวาและทางซ้าย บริหารคอให้ครบทุกด้าน
อย่างไรก็ตาม ณ ขณะขับรถก็ไม่ควรเกร็งอยู่ในท่านั่งที่ถูกต้องไปตลอด โดยเฉพาะหากรู้สึกเมื่อยก็ควรปรับเปลี่ยนท่านั่งขับรถให้รู้สึกสะดวกสบาย สลับกันได้ไม่มีปัญหา ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางนะคะ
และโดยปกติแล้ว นักกายภาพบำบัดจะแนะนำผู้ขับขี่ทางไกลให้หยุดพักรถและพักคนทุก ๆ 20-30 นาที ซึ่งแม้จะดูเป็นไปได้ยาก แต่อย่างน้อยก็ควรจอดพักทั้งรถและคนทุก ๆ 2 ชั่วโมงก็ยังดี ที่สำคัญเมื่อพักรถแล้วลองยืดเหยียดร่างกายด้วยท่าบริหารด้านล่างนี้ดู
รูปที่ 2
ภาพจาก The Chartered Society of Physiotherapy โดย Lee Sullivan
* บริหารไหล่
หมุนแขนวนไปด้านหน้าและด้านหลังพร้อม ๆ กันทั้งสองแขน เมื่อแขนหมุนไปอยู่ด้านหลัง ให้เกร็งไหล่ให้อยู่ในแนวราบกับลำตัวให้มากที่สุด พร้อมกับยืดอกขึ้น
* บริหารข้างลำตัว
ยกแขนขวาขึ้นไปเหนือศีรษะ จากนั้นค่อย ๆ โค้งแขนขวาไปทางด้านซ้าย ส่วนแขนซ้ายให้ปล่อยแนบลำตัวไว้ ค้างท่าไว้สักพัก แล้วสลับทำบริหารมือซ้ายต่อไป
* บริหารเอ็นร้อยหวาย
ยืนตรง เหยียดขาข้างหนึ่งไปด้านหน้า ส้นเท้าแตะพื้น ปลายเท้าหงายขึ้นเล็กน้อย ค่อย ๆ ขยับเหยียดขาไปข้างหน้าอีกนิด ให้พอรู้สึกตึงบริเวณต้นขาด้านหลัง จากนั้นสลับทำอีกข้าง
* บริหารหลังส่วนล่าง
ยืนตรง มือทั้งสองข้างยกขึ้นมาแตะด้านหลังสะโพกไว้ จากนั้นใช้มือดันสะโพกไปด้านหน้า ไหล่และหลังเอนมาด้านหลัง (ยืนแอ่นหลัง) เป็นการยืดเหยียดความเมื่อยล้าบริเวณหลังส่วนล่างได้เป็นอย่างดี
นอกจากเคล็ดลับเหล่านี้ก็ควรนั่งแอ่นหลังเป็นระยะ หรือเมื่อรู้สึกเมื่อยขณะขับรถด้วยนะคะ ที่สำคัญหากรู้สึกง่วงควรจอดพักรถทันที และพยายามงดโทรศัพท์ขณะขับขี่ รวมทั้งขับรถก็ต้องไม่ดื่มแอลกอฮอล์ด้วยนะจ๊ะ
sithiphong:
.
ตอนนี้ กฎหมายที่เกี่ยวกับการขับรถประเภทต่างๆ และ เมาแล้วขับ
.
กฎหมายแรงมาก ครับ
.
มีโทษปรับและจำคุก
.
ไม่มีรอลงอาญา หรือ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์อีกแล้ว
.
คนขายร่ำรวย คนกินยากจน
.
.
.
#กฎหมายจราจร
#เมาแล้วขับ
.
.
.
.
.
อ่านด่วน! เพิ่มโทษ'กฎหมายจราจร'ใหม่ ดัดนิสัยพวกชอบขับรถผิดกฎ
.
โพสโดย เว็บไซด์ naewna
.
วันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 16.45 น.
.
.
"อัยการ"ชี้แก้บทลงโทษกฎหมายจราจรใหม่ ให้อำนาจตำรวจขอแพทย์ตรวจแอลกอฮอล์เมาแล้วขับ เสพยา ให้ศาลเพิ่มโทษพวกชนเเล้วหนี เพิ่มค่าปรับพวกโทรไปขับไป ขับเร็วหวาดเสียวไม่ชะลอทางม้าลาย พร้อมให้อำนาจศาลวางข้อกำหนดคดีแข่งรถ ให้พ่อแม่จ่ายเงินถ้าลูกทำผิดซ้ำ
.
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ความเห็นข้อกฎหมายผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว ความว่า ตามที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2565
.
นอกจากจะมีการแก้ไขมาตรา 123 กำหนดให้คนโดยสารที่นั่งแถวที่นั่งตอนอื่นที่ไม่ใช่แถวหน้าต้องรัดเข็มขัดนิรภัย และเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วยังได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก อีกมากในหลายๆ เรื่อง ซึ่งจะขอนำมากล่าวในที่นี้เฉพาะบางเรื่องที่เห็นว่าน่าสนใจ ดังนี้
.
.
- กรณีที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นและมีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษหรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือขับขี่รถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น และผู้ขับขี่อยู่ในภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการตรวจสอบหรือทดสอบการมีสารอยู่ในร่างกาย พนักงานสอบสวนมีอำนาจขอให้แพทย์ทำการตรวจพิสูจน์บุคคลดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด โดยแพทย์สามารถเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่นจากร่างกายของบุคคลดังกล่าวได้ด้วยวิธีทางการแพทย์ (มาตรา 40 ทวิ/1 และมาตรา 142 วรรค 6) ซึ่งตามกฎหมายเดิม การตรวจสอบหรือทดสอบดังกล่าวจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ขับขี่เสียก่อนเท่านั้น
.
- ให้ศาลมีอำนาจเพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่ชนแล้วหนี ซึ่งขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัส แล้วไม่ให้การช่วยเหลือตามสมควรหรือไม่แสดงตัวต่อตำรวจ ณ สถานที่เกิดเหตุ ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง โดยศาลมีอำนาจพิพากษาเพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นสำหรับความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัสได้อีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนด (มาตรา 160)
.
- แก้ไขอัตราโทษฐานขับรถเร็วเกินกว่ากำหนดตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง จากเดิมปรับไม่เกิน 1 พันบาท เป็น ปรับไม่เกิน 4 พันบาท (มาตรา 152)
.
- แก้ไขอัตราโทษฐานไม่ลดความเร็วของรถ เมื่อเข้าใกล้ทางข้ามหรือทางม้าลายตามมาตรา 70 จากเดิมปรับไม่เกิน 5 ร้อยบาท เป็น ปรับไม่เกิน 2 พันบาท (มาตรา 148)
.
- แก้ไขอัตราโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 154 จากเดิมปรับครั้งละไม่เกิน 1 พันบาท เป็น ปรับไม่เกิน 4 พันบาท
.
- แก้ไขอัตราโทษฐานขับขี่รถในลักษณะกีดขวางการจราจร ขับขี่รถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน ขับขี่รถคร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ ขับขี่รถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร และขับขี่รถในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามมาตรา 43 (3) (4) (6) (7) และ (9) ตามลำดับ จากเดิมปรับตั้งแต่ 4 ร้อยบาท ถึง 1 พันบาท เป็นปรับไม่เกิน 4 พันบาท (มาตรา 157)
.
- และในกรณีที่มีการกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางตามมาตรา 134 และผู้กระทำผิดมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ศาลมีอำนาจวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ต้องระวังผู้นั้นไม่ให้กระทำความผิดฐานแข่งรถในทางซ้ำอีก ตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปีและกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง จะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 5 หมื่นบาท หากผู้นั้นกระทำความผิดฐานแข่งรถในทางซ้ำอีก (มาตรา 160 เบญจ)
.
.
.-------------------------------
.
.
รู้ก่อนเมา! เปิด "กฎหมายเมาแล้วขับ 2565" เมาแค่ไหน ถ้าขับ โดนปรับกี่บาท?
.
โพสโดย Ingonn
11 เมษายน 2565 ( 12:32 )
.
.
ตั้งแต่ภาครัฐ ได้มีการ “เปิดประเทศ” และผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคโควิดมากขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอนุญาตให้ร้านอาหาร เริ่มเปิดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ส่งผลให้หลายคนเริ่มออกมาปาร์ตี้สังสรรค์ จนบางครั้งอาจลืมไปว่า เมาแล้วขับ มีโทษปรับและติดคุก ซึ่งเทศกาลสงกรานต์ 2565 เป็นอีกวันหยุดยาวที่หลายคนเตรียมตัวสังสรรค์กัน ดังนั้นจึงควรรู้ข้อกฎหมายเมาแล้วขับไว้ด้วย
.
ทางกรมการขนส่งทางบก จึงได้รวบรวม "กฎหมายเมาแล้วขับ” มีโทษอย่างไร และต้องปรับเป็นเงินเท่าไหร่บ้าง มาฝาก แต่แนวทางที่ดีที่สุดคือต้อง “ดื่มไม่ขับ” เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยต่อตนเอง และเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน
.
เช็ค "กฎหมายเมาแล้วขับ" มีอะไรบ้าง
กฎหมายเมาแล้วขับ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน สำหรับผู้ที่มี
.
ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (ใบอนุญาตแบบ 2 ปี) ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ. 2550 ออกความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็น “ผู้เมาสุรา”
.
ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน
.
.
บทลงโทษ "เมาแล้วขับ" ตามกฎหมาย
.
เมาแล้วขับ หรือ การปฏิเสธเป่า มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 - 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน
.
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บ”
.
จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ
.
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บสาหัส”
.
จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี
.
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “ถึงแก่ความตาย”
.
จำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที
.
เมาแล้วขับ ประกันรถยนต์จ่ายไหม
.
แบ่งออกเป็น 2 แนวทางเนื่องจาก ประกันรถยนต์มีทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+ และประกันชั้น 3+) แต่ละประเภทมีเงื่อนไขในการคุ้มครองที่แตกต่างกัน
.
กรณีที่ 1 พ.ร.บ.รถยนต์ คือคุ้มครองผู้เอาประกันรถยนต์และคู่กรณี โดยไม่พิสูจน์ความถูกหรือผิด ซึ่งจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของผู้เอาประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ จะไม่คุ้มครอง
.
กรณีที่ 2 ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ประกันรถยนต์จะคุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและฝ่ายเสียหาย แต่ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองผู้เอาประกัน แม้จะซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่มีเบี้ยสูงสุดก็ตาม
.
แม้บางคนคิดอาจว่า มีเงินจ่ายค่าปรับตามกฎหมายในกรณีที่เมาแล้วขับ แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ไม่คุ้มค่ากับการจ่ายเงินเลยสักนิด และร้ายแรงที่สุดอาจทำให้ผู้อื่นพิการหรือเสียชีวิตได้ ทางที่ดีที่สุดคือ ดื่มไม่ขับ ช่วยลดอุบัติเหตุและความปลอดภัยบนท้องถนน
.
ข้อมูลจาก สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก , Tidlor
.
sithiphong:
.
.
ช่วงงานสงกรานต์ในปีนี้ (ปี 2566)
การเดินทางของหลายๆท่าน มีการเดินทางกลับไปภูมิลำเนาของตนเอง
เดินทางกันด้วยความระมัดระวังกัน
เตรียมความพร้อมของร่างกาย ให้พร้อมกับการเดินทางไกล
พักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนออกเดินทาง
.
หากท่านใดขับรถยนต์ส่วนตัวไปเอง #เมาไม่ขับ ครับ
แสดงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
.
หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ท่านที่เมาแล้วขับ ไม่มีปัญญาไปรับผิดชอบใครได้เลย
ย้ำว่า ท่านที่เมาแล้วขับ ไม่มีปัญญาไปรับผิดชอบใครได้เลย
.
ลองใช้สมองคิดดูครับ ถ้าหัดใช้สมองคิด จะทราบถึงเหตุและผลที่จะเกิดขึ้นได้แน่นอน
หากเกิดเหตุมีคนเมาแล้วขับรถไปชนกับ ลูกหลาน พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ของท่าน
ลูกหลาน พ่อแม่ ญาติพี่น้องของท่าน เสียชีวิต หรือ พิการไปตลอดชีวิต ท่านจะรู้สึกอย่างไร
.
ย้ำอีกรอบ
หากเกิดเหตุมีคนเมาแล้วขับรถไปชนกับ ลูกหลาน พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ของท่าน
ลูกหลาน พ่อแม่ ญาติพี่น้องของท่าน เสียชีวิต หรือ พิการไปตลอดชีวิต ท่านจะรู้สึกอย่างไร
.
ฝากไว้ให้คิด ????????????????????????????????????????
.
.
.*******************************************.
.
.
ว่าด้วยเรื่อง เมาแล้วขับ
.
กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 415 : ระดับแอลกอฮอล์เท่าไรเจอโทษเมาแล้วขับ หากไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์จะผิดกฎหมายหรือไม่
.
.
ที่มา moj (เว็บไซด์กระทรวงยุติธรรม)
10 มี.ค. 2566 เวลา 15:24 น.
ที่มาของรูป moj
.
.
ชื่อตอน : ระดับแอลกอฮอล์เท่าไรเจอโทษเมาแล้วขับ หากไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์จะผิดกฎหมายหรือไม่
.
เป่าแอลกอฮอล์เท่าไร ถึงมีโทษเมาแล้วขับ ตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ใน 4 กรณี ดังต่อไปนี้ ถือว่าเมาแล้วขับ คือ
.
1) ผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2) ผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ เช่น มือใหม่ใบอนุญาตขับขี่ยังไม่ถึง 2 ปี
3) ผู้ขับขี่ซึ่งมีใบอนุญาตขับขี่สำหรับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้
4) ผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรืออยู่ระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในกรณีที่บุคคลที่มีใบขับขี่ตลอดชีพหรือใบขับขี่ 5 ปี และมีอายุเกิน 20 ปี ถือว่าเมาแล้วขับ
.
หากเป่าแอลกอฮอล์แล้วพบว่า ปริมาณเกินกำหนดทั้ง 2 กรณี จะถือว่าเมาแล้วขับ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 160 ตรี
.
ในกรณีที่ไม่เป่าแอลกอฮอล์ในทางกฎหมายจะถือว่าเมาแล้วขับ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ
.
สำหรับโทษของการเมาแล้วขับ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเป่าแอลกอฮอล์แล้วเกินกำหนดหรือเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 160 ตรี กำหนดให้ผู้ขับขี่ที่ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ดังนี้
.
- เมาแล้วขับ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนด ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
.
- เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
.
- เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000-120,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
.
- เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
.
- ผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับ กระทำผิดครั้งแรกจะมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากทำผิดซ้ำภายใน 2 ปี นับแต่วันที่กระทำความผิดครั้งแรก เพิ่มอัตราโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับตั้งแต่ 50,000 – 100,000 บาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 160 ตรี/1 มาตรา 160ตรี/2 และมาตรา 160 ตรี/3
.
ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43 มาตรา 160 มาตรา 160 ตรีกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2560) ข้อ 3 (1)
.
.
.
.
.
เมาแล้วขับเสียค่าปรับเท่าไหร่ตามกฎหมายจราจรใหม่ 2566
.
.
ที่มา tidlor (เว็บไซด์เงินติดล้อ)
.
.
มาแล้วขับถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนบนท้องถนนซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่ามีคดีความเมาแล้วขับเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในเทศกาล เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวันเฉลิมฉลองอื่น ๆ เพราะมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำให้ผู้ขับขี่ขาดสติ หลายคนจึงสงสัยว่า ในกรณีที่เมาแล้วขับประกันรถจะจ่ายไหม มีค่าปรับเท่าไหร่ตามกฎหมายจราจรใหม่ที่เพิ่งประกาศใช้งาน ต้องเป่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเท่าไหร่ถึงจะเป็นคนขาดสติ ซึ่งในบทความนี้มีคำตอบมาให้คุณแล้วครับ
.
เมาแล้วขับเป่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเท่าไหร่ถือว่าขาดสติ
กฎกระทรวงฉบับเก่า ระบุว่า หากผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาสุราตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 16 พ.ศ.2537 ออกความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ข้อ 3 แต่กฎกระทรวงที่ว่านี้ได้เปลี่ยนเนื้อความเป็นกฎหมายฉบับใหม่พร้อมรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย
.
กฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ.2550 ออกความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ระบุว่า ระบุว่า ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถือว่าเมาสุรา ยกเว้นผู้ขับขี่ใน 4 กรณีต่อไปนี้ ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถือว่าเมาสุรา คือ
.
ผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์
ผู้ขับขี่ที่มีใบขับขี่ชั่วคราว (ใบขับขี่อนุญาตแบบ 2 ปี)
ผู้ขับขี่ที่มีใบขับขี่ประเภทอื่น ซึ่งใช้แทนกันไม่ได้
ผู้ขับขี่ที่ถูกยกเลิกใบขับขี่ หรืออยู่ระหว่างการพักใช้งานใบขับขี่
.
ถึงแม้กฎหมายจราจรเมาแล้วขับฉบับใหม่จะระบุเอาไว้ว่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไม่ควรเกิน 50 มิลลิกรัม แต่จริง ๆ แล้วการมีสติที่ครบถ้วน ไม่ดื่มเหล้าก่อนขับนั้นปลอดภัยที่สุด หากรถทุกคันปฏิบัติตามกฎหมายจราจรใหม่ 2566 แน่นอนว่าอุบัติเหตุเรื่องเมาแล้วขับจะลดน้อยลงมาก ๆ เลยครับ
.
ค่าปรับเมาแล้วขับเสียเงินกี่บาท มีโทษตามกฎหมายอะไรบ้าง?
ถึงแม้ว่าวิจัยเรื่อง “ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขับรถโดยไม่ผิดกฎหมาย” ระบุเอาไว้ว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5 ดีกรี มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (เทียบเท่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1 กระป๋อง) ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าอยากขับขี่ให้ปลอดภัยที่สุดคือการเลือกเมาแล้วไม่ขับ
.
หากคุณไม่ทำตามกฎหมายจราจรจนสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนหรือคนอื่น ๆ ต้องมีโทษตามมา โดยเงินติดล้อจะแบ่งค่าปรับเมาแล้วขับแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ (1) เมาแล้วขับเสียค่าปรับเท่าไหร่ (2) เมาแล้วขับเสียค่าปรับเท่าไหร่หากทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
.
เมาแล้วขับเสียค่าปรับเท่าไหร่ตามกฎหมายจราจรใหม่ 2566
เมาแล้วขับครั้งที่ 1 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือยกเลิกใบอนุญาตขับขี่
เมาแล้วขับครั้งที่ 2 โดยเกิดขึ้นภายใน 2 ปี จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ ปรับ 50,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักอนุญาตใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
.
เมาแล้วขับทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ มีอัตราโทษอะไร เสียค่าปรับเท่าไหร่
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือยกเลิกใบอนุญาตขับขี่
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส จำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000-120,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือยกเลิกใบอนุญาตขับขี่
เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต จำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และยกเลิกใบอนุญาตขับขี่ทันที
.
และนี่คือ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 หรือกฎหมายจราจรฉบับใหม่ ที่เพิ่มเรื่องเมาแล้วขับทำผิดซ้ำ 2 ลงไปในกฎหมายจราจร เมื่ออ่านดูแล้วมีโทษและค่าปรับที่หนักหนาสาหัสมาก ทางที่ดีไม่เมาแล้วขับจะดีที่สุด ถึงแม้จะเสียเงินค่าปรับไหว แต่สิ่งที่เสียไปแล้วเอากลับคืนมาไม่ได้คือชีวิตเลยนะครับ
.
ถ้าเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุ ขอเคลมประกันรถยนต์ได้ไหม
.
เรื่องนี้ต้องแบ่งคำตอบออกเป็น 2 ข้อ เพราะประกันรถยนต์มีทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ และ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+ และประกันชั้น 3+) แต่ละประเภทมีเงื่อนไขในการคุ้มครองที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าถามว่าเมาแล้วขับ ประกันรถยนต์จ่ายไหม ขอเคลมประกันรถยนต์ได้หรือเปล่า ซึ่งแจกแจงได้ดังนี้
.
เมาแล้วขับ พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองไหม จ่ายค่าเสียหายให้หรือเปล่า
.
ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุอะไร หน้าที่ของ พ.ร.บ.รถยนต์ คือคุ้มครองผู้เอาประกันรถยนต์และคู่กรณี โดยไม่พิสูจน์ความถูกหรือผิด ซึ่งจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ค่าเสียที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของผู้เอาประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ จะไม่คุ้มครองครับ
.
เมาแล้วขับ ประกันรถยนต์จ่ายไหม คุ้มครองใครบ้าง?
.
ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ประกันรถยนต์จะคุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและฝ่ายเสียหาย ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองผู้เอาประกัน แม้จะซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่มีเบี้ยสูงสุดก็ตาม แต่คุ้มครองฝ่ายเสียหายตามเงื่อนไขของประกันรถยนต์ที่ซื้อไว้ ซึ่งบริษัทประกันจะไล่ค่าเสียหายทั้งหมดจากผู้ประกันเพื่อนำไปชดใช้ให้ผู้เสียหายในลำดับถัดไปอีกด้วย
.
สรุป
.
และนี่คือสิ่งที่ต้องได้รับโทษและเสียค่าปรับหากเมาแล้วขับรถ ซึ่งการจะเรียกว่าเมาแล้วขับได้คือคุณได้เป่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดแล้วมีค่าสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ได้มีการประกาศใช้กฎหมายจราจรฉบับใหม่เรื่องเมาแล้วขับทำผิดซ้ำ 2 เพิ่มมา ต้องเสียค่าปรับมากขึ้นและมีโทษจำคุกที่นานขึ้น แถมประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไม่คุ้มครองกรณีเมาแล้วขับอีกด้วย แต่ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถยนต์) จะคุ้มครองโดยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่พิสูจน์ความถูกผิด แต่ถึงอย่างนั้นการเมาไม่ขับดีที่สุดครับ!
.
.
.*******************************************.
.
.
10 จุดสำคัญของรถที่ควรเช็กก่อนเดินทางไกลง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
.
ที่มา bridgestone (เว็บไซด์ บริดจสโตน )
.
.
ผู้ขับขี่ควรเช็กสภาพรถยนต์ของตนเองก่อนออกเดินทางไกล เพื่อความปลอดภัยและความราบรื่นในการเดินทาง ไม่ต้องประสบกับปัญหารถเสียระหว่างทาง โดยเฉพาะหากต้องเดินทางไกลไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงฤดูฝนที่มักจะเจอกับเหตุการณ์ฝนตกหนัก ถนนลื่น เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้คุณสามารถเช็กรถยนต์ด้วยตัวเองเราจึงได้รวม 5 จุดสำคัญที่ควรเช็กภายในรถก่อนเดินทางไกลมาแนะนำ
.
1. แบตเตอรี่รถยนต์
.
ทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนออกเดินทางทุกครั้งควรจะดูว่า ขั้วแบตและฉนวนสายไฟมีการเชื่อมต่อดีหรือไม่ หมั่นตรวจเช็กทำความสะอาดคราบขี้เกลือบริเวณขั้วแบตเตอรี่ และเช็กระดับน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่กำหนดเสมอ
.
2. ยางรถยนต์ และช่วงล่างของรถ
.
เป็นอีกหนึ่งข้อที่ขาดไม่ได้ในการตรวจสภาพรถยนต์ คือ การตรวจสอบยางรถยนต์ หากไม่มีการเช็กยางรถยนต์ก่อนเดินทางไกล โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุก็จะยิ่งสูงขึ้น
.
โดยตรวจเช็กความลึกร่องดอกยางและตรวจดูว่ายางรถมีรอยเจาะ ยางแตกลายงา ยางบวม ดอกยางหมดหรือไม่ ซึ่งร่องดอกยางควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร หากเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งก็ควรพิจารณาเปลี่ยนยางใหม่ นอกจากนี้ ควรตรวจสอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของช่วงล่างด้วย เช่น ลูกหมาก โช้ครถ เป็นต้น
.
3. น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก และระบบเบรก
.
นับเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้ ยิ่งเวลาขับรถตอนฝนตกหนัก ถนนลื่น การควบคุมรถจะยากกว่าปกติ ควรตรวจเช็กระดับน้ำมันเบรก และน้ำมันเครื่องให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทางที่ดีควรมีน้ำมันเครื่องสำรองติดรถไว้อย่างน้อย 1 ลิตร เผื่อใช้ในยามฉุกเฉิน และอย่าลืมเช็กน้ำมันเบรก ผ้าเบรกรวมถึงระบบเบรกว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หากน้ำมันเบรกลดลงต่ำกว่าระดับ Min หรือมีการลดลงอย่างรวดเร็วผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดการรั่วในระบบเบรก ควรนำรถเข้าตรวจเช็กโดยช่างผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งเพื่อความปลอดภัย
.
4. เช็กหม้อน้ำ ท่อยาง และระบบหล่อเย็น
.
การขับรถระยะไกล ทำให้เครื่องยนต์สะสมความร้อนปริมาณมาก หากระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ไม่ดีหรือมีปัญหา อาจทำให้เครื่องยนต์น็อค
.
แนะนำว่าก่อนออกเดินทางควรเช็กระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อพัก และหม้อน้ำ รวมไปถึงการทำงานของพัดลมหม้อน้ำ มอเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เรียบร้อย หากคุณพบว่ามีบางอย่างผิดปกติและไม่แน่ใจ แนะนำให้ไปที่ศูนย์บริการค็อกพิทใกล้บ้านท่านเพื่อให้ช่างผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจสอบ
.
5. ระบบไฟส่องสว่าง
.
ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก ไฟฉุกเฉิน ควรใช้งานได้ตามปกติ ส่องสว่างได้ดี เพื่อจะได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการขับรถในเวลากลางคืนหรือ ตรวจสอบไฟรถแล้วก็อย่าลืมเช็กใบปัดน้ำฝนดูด้วยล่ะว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่
.
6. ที่ปัดน้ำฝน
.
ที่ปัดน้ำฝนเป็นอุปกรณ์ที่ถูกมองข้ามเมื่อพูดถึงการเช็กรถก่อนเดินทางไกล ในความเป็นจริงแล้วทัศนวิสัยขณะขับรถ คือหัวใจสำคัญของความปลอดภัย ที่ปัดน้ำฝนจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญ เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าในระหว่างการเดินทางฝนจะตกหรือไม่
.
ดังนั้น อย่าลืมเช็กว่าที่ปัดน้ำฝนรีดน้ำได้ดี มีอาการเปื่อย ยุ่ย หรือเสื่อมสภาพหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวควรเปลี่ยนใหม่ทันที หรือควรเปลี่ยนที่ปัดน้ำฝนทุก ๆ 6-12 เดือน
.
7. น้ำมันเกียร์และน้ำมันคลัตช์
.
สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การจอดรถบนทางราบและใส่เบรกมือ จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์แล้วเปลี่ยนเกียร์ ไล่ไปตั้งแต่ P จนถึง L เมื่อเปลี่ยนเกียร์ควรค้างไว้ที่ตำแหน่งนั้น ๆ สักครู่ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นเกียร์ถัดไป
.
เมื่อครบทุกเกียร์แล้วจึงเลื่อนมาเป็นเกียร์ P หรือ N และดึงก้านวัดระดับเกียร์ออกมาทำความสะอาด จากนั้นใส่ก้านวัดกลับเข้าไปแล้วดึงออกมาใหม่ ให้สังเกตดูว่าระดับน้ำมันที่ติดออกมาอยู่ตรงตำแหน่งไหน หากยังอยู่ตรง H แสดงว่าระดับน้ำมันเกียร์อัตโนมัติปกติ หรืออยู่ระหว่างกลาง Min กับ Max แสดงว่าระดับน้ำมันเกียร์ธรรมดาปกติ หากน้ำมันคลัตช์หายมากจนผิดปกติ แนะนำให้รีบหาสาเหตุ หรือนำรถไปเช็กและแก้ไขทันที
.
8. แผ่นกรองอากาศ
.
แผ่นกรองอากาศเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยปกป้องรถจากสิ่งไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ภายนอก โดยแผ่นกรองอากาศที่อุดตันจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักกว่าปกติ ส่งผลให้ส่วนประกอบภายในเครื่องยนต์สึกหรอได้ การตรวจสอบแผ่นกรองอากาศใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที เพียงเปิดตู้แอร์แล้วนำตัวกรองอากาศออกมาตรวจดู ทำการดูดสิ่งสกปรกออก หรือจะเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศใหม่ในกรณีที่จำเป็น
.
9. ระบบแตรรถยนต์
.
เมื่อพูดถึงจุดสำคัญของรถที่ควรเช็กก่อนเดินทางไกล คนส่วนใหญ่มักไม่คิดว่าจะต้องตรวจระบบแตรด้วย ในความเป็นจริงแล้วแตรรถมีความสำคัญอย่างมาก เพราะในขณะขับขี่เราอาจจำเป็นต้องใช้แตรเพื่อสื่อสารและส่งสัญญาณกับรถคันอื่น ดังนั้น อย่าลืมเช็กระบบแตรว่ายังเสียงดังและลมแตรยังดีอยู่หรือไม่ด้วย
.
10. แผงควบคุมและหน้าปัด
.
เป็นอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการเช็กรถก่อนเดินทางไกล ควรตรวจสอบแผงควบคุมและหน้าปัดภายในรถว่าทำงานปกติหรือไม่ แสงไฟ ตัวเลขบนหน้าปัดและปุ่มควบคุมต่าง ๆ สามารถใช้งานได้ตามปกติหรือเปล่า เพื่อจะได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ระยะไกล
.
.
นอกจาก 10 จุดสำคัญข้างต้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรหลงลืมเป็นอย่างยิ่งเมื่อต้องเดินทางไกลในฤดูฝน นั่นคืออุปกรณ์และเครื่องมือต่างที่จำเป็นต้องใช้ยามฉุกเฉิน อาทิ ยางอะไหล่ สเปรย์ปะยาง แม่แรง ชุดเครื่องมือในการถอดล้อ ที่เติมลมฉุกเฉิน สายพ่วงแบตเตอรี่ พกติดรถเอาไว้ให้อุ่นใจ ปลอดภัยตลอดเส้นทาง
.
.
.*******************************************.
.
.
ที่มาของคลิปทั้งหมด
.
.
เริ่มใช้วันนี้! 'กฎหมายจราจรฉบับใหม่' มีผลบังคับใช้ 5 ก.ย. เพิ่มโทษ ปรับหนัก
.
https://www.youtube.com/watch?v=8FdLnc9nKPQ
.
ที่มา เรื่องเล่าเช้านี้
5 ก.ย. 2022
.
.
เริ่มแล้ว! กฎหมายจราจรใหม่ เมาแล้วขับซ้ำปรับโหด 1 แสน
.
https://www.youtube.com/watch?v=8mA8RxhOIzU
.
ที่มา CH7HD News
5 ก.ย. 2022
.
.
นักดื่ม ระวัง ! กฎหมาย "เมาแล้วขับ" เพิ่มโทษ ทำผิดซ้ำซากภายใน 2 ปีเจอโทษหนัก
.
.
https://www.youtube.com/watch?v=RHRps2SBoXE
.
ที่มา CH7HD News
25 ธ.ค. 2022
.
.
.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version