ผู้เขียน หัวข้อ: ประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท ยุคใหม่ แบบไหน-อย่างไร..น่ารู้  (อ่าน 1280 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท ยุคใหม่ แบบไหน-อย่างไร..น่ารู้
-http://www.dailynews.co.th/article/223/156487-

“พัฒนาระบบประกันสุขภาพ ต่อยอดเป็น 30 บาทยุคใหม่เพิ่มคุณภาพ“...นี่เป็น 1 ใน 4 เรื่องที่ วิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข แถลงไว้ว่าเป็นผลงานนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ด้านสาธารณสุข โดยมีการระบุด้วยว่า... ปัจจุบันจากจำนวนคนไทยที่มีหลักประกันสุขภาพแล้วร้อยละ 99.85 หรือราว 64.3 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นส่วนที่มีหลักประกันสุขภาพโดยใช้ “30 บาท รักษาทุกโรค” ราว 48.5 ล้านคน
   
กว่าครึ่งของคนไทย...ใช้สิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค
   
กับ ’30 บาทยุคใหม่“ นั้น...จึงควรต้องเข้าใจให้ชัด
   
ทั้งนี้ กับเรื่อง 30 บาทยุคใหม่ หรือการใช้สิทธิบัตรทองรักษาโรคต่าง ๆ โดยต้องจ่าย 30 บาทเหมือนที่เคยปฏิบัติกันในยุคก่อนนั้น ทาง สปสช.-สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งกระทรวงการคลังคัดเลือกให้เป็นอันดับ 1 ด้านผลการดำเนินงานดีเด่นรางวัลทุนหมุนเวียนปี 2554 ทาง นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. แจกแจงมาว่า...ขณะนี้ได้มีการจัดทำคู่มือบัตรทองจำนวน 3 ล้านฉบับ เพื่อชี้แจงเรื่องการร่วมจ่าย 30 บาท ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นจะ มีกลุ่มประชาชนที่ ’ได้รับการยกเว้นการร่วมจ่าย 30 บาท“ ทั้งหมด 21 กลุ่ม
   
ประกอบด้วย...1. ผู้เข้ารับบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ฉุกเฉินเร่งด่วน หรือเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่ระดับต่ำกว่าโรงพยาบาลชุมชน, 2. ผู้มีรายได้น้อย, 3. ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และบุคคลในครอบครัว, 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และบุคคลในครอบครัว, 5. ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี, 6. เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี, 7. คนพิการ ทั้งที่มีบัตรและไม่มีบัตรประจำตัว, 8. พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักพรต ผู้นำศาสนาอิสลามที่มีหนังสือรับรอง และบุคคลในครอบครัวของผู้นำศาสนาอิสลาม, 9. ทหารผ่านศึกทุกระดับที่มีบัตร และบุคคลในครอบครัว รวมถึงผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและทายาท
   
10. นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, 11. นักเรียนทหารและทหารเกณฑ์, 12. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรปและบุคคลในครอบครัว, 13. อาสาสมัครมาเลเรียตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุขและบุคคลในครอบครัว, 14. ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัยและบุคคลในครอบครัว, 15. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชายแดน, 16. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, 17. สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทยที่มีหนังสือรับรองว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป, 18. หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการกระทรวงกลาโหม, 19. อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม, 20. อาสาสมัครทหารพรานในสังกัดกองทัพบก, 21. บุคคลที่แสดงความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ...ทั้ง 21 กลุ่มนี้ไม่ต้องจ่าย 30 บาท
   
’ผู้ที่เคยได้รับสิทธิยกเว้นการร่วมจ่าย 21 กลุ่ม กว่า 22.6 ล้านคน ได้รับการยกเว้นเหมือนเดิม และผู้ที่ใช้บริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกคน ไม่ว่าจะรับยาหรือไม่ ก็ไม่ต้องร่วมจ่าย 30 บาท โดยโครงการร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมบริการ 30 บาทยุคใหม่ จะดำเนินการในโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไปจนถึงโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ ทั้งที่อยู่ในภาครัฐทุกสังกัด และโรงพยาบาลเอกชนที่ร่วมโครงการฯ โดยประชาชนจะร่วมจ่ายเฉพาะกรณีที่มีการรับยาเท่านั้น และหากไม่ประสงค์จะร่วมจ่ายก็สามารถแจ้งความประสงค์และไม่ต้องร่วมจ่ายได้“...นพ.วินัย แจกแจง
   
ด้าน นพ.วีรวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการ สปสช. เสริมข้อมูลในส่วนของ ’สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า“ ว่า...ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 ได้ ’เพิ่มขึ้น 12 ข้อ“ ดังนี้...1. เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงชีวิต รับบริการที่ใดก็ได้ตามที่จำเป็น ไม่ต้องสำรองจ่าย, 2. ผู้ป่วยเอดส์ได้รับการดูแลเท่าเทียมกันทุกสิทธิ เชื่อมข้อมูลผู้ป่วยแบบออนไลน์ ย้ายสิทธิหรือย้ายที่อยู่ก็จะได้รับบริการต่อเนื่องไม่ต้องเริ่มต้นใหม่,3. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกสิทธิทุกคนใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในการขอรับบริการ ได้รับการดูแลต่อเนื่องแม้เปลี่ยนสิทธิ, 4. ผู้ป่วยทุกคนทุกสิทธิได้รับยาที่จำเป็นอย่างเท่าเทียมตามมาตรฐานการรักษา, 5. จัดระบบปรึกษาออนไลน์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบแพทย์ทางไกล ระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิใกล้บ้านกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งจะพัฒนาให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายใน 2 ปี, 6. เพิ่มคุณภาพอาหารสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล
   
7. ผู้ป่วยอายุ 70 ปีขึ้นไป ได้รับบริการช่องทางพิเศษ ไม่ต้องเข้าคิวรอในโรงพยาบาลรัฐ, 8. สามารถรับบริการที่หน่วยบริการใกล้บ้าน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายกว่า 4 เท่าตัว, 9. เปลี่ยนหน่วยบริการได้บ่อยขึ้น ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง กรณีเปลี่ยนที่อยู่ก็เลือกหน่วยบริการได้ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง, 10. ใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการลงทะเบียนสิทธิหรือเปลี่ยนหน่วยบริการ, 11. โรงพยาบาลในสังกัดตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชนขึ้นไปให้บริการผู้ป่วยนอกโดยไม่หยุดพักเที่ยง, 12. ประชาชนจะได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพ ลดความเสี่ยง เพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง
   
เหล่านี้ก็เป็นข้อมูลน่ารู้ที่รู้กันไว้น่าจะได้ประโยชน์
   
เพื่อที่จะรับบริการด้านสุขภาพได้อย่างเต็มสิทธิ!!!.

.



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)