ริมระเบียงรับลมโชย > ล้างรูป
กราบ หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน และไหว้หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ครับ
sithiphong:
ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
Posted by , ผู้อ่าน : 28443 , 16:00:53 น.
หมวด : ศิลปะ/วัฒนธรรม
-http://www.oknation.net/blog/khonklongdan/2009/07/20/entry-5-
ความคิดเห็นที่ 1 (0)
เด็กคลองด่าน วันที่ : 12/09/2010 เวลา : 08.20 น.
คลองด่าน หรือ บางเหี้ย มีประวัติยาวนานมาก เรื่องบางเรื่อง ยาวนานกว่า 50 ปีแล้ว จนบัดนี้เหลือคนที่ทันเหตุการณ์ เพียงไม่กี่คน เพราะล้มหายตายจากไปมากแล้ว บทความนี้ได้บันทึกจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่
คนคลองด่าน ร้านค้าพระเครื่อง ออนไลน์ - คนคลองด่าน - 1 : เว็บ-พระ.คอม
ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (พระครูพิพัฒน์นโรธกิจ วัดมงคลโคธาวาส)
จากหนังสือวัดมงคลโคธาวาส พิมพ์เป็นอนุสนรณ์ในงานณาปรกิจศพ นายเจ่ม สวัสดี 30 มีนาคม 2502
วัด มงคลโคธาวาสสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 (ตามคำบอกเล่าของ หลวงพ่อสาย ศิษย์หลวงพ่อปาน) โดยตระกูลหลวงพ่อปานริเริ่มสร้างพร้อมด้วยชาวบ้านประชาชนที่มีจิตศรัทธา เนื่องด้วย การทำบุญสมัยก่อนต้องไปวัดอื่นที่ไกลจากหมูบ้าน เช่น วัดสร่างโศก หรือวัดโคธาราม จึงดำริสร้างวัดที่ในละแวกบ้านตน สมัยก่อนประตูน้ำยังไม่สร้าง ถนนก็ยังไม่พัฒนา มีบ้านคนเพียงกลุ่มๆ บริเวณนี้เป็นที่ลุ่ม เวลาน้ำทะเลขึ้น จะท่วมเต็มลานวัดไปหมด บางครั้งต้องทำสะพานยาวๆ เดินไปวัด
วัดสร้างปีใด ใครเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ไม่มีใครทราบ มาสืบได้อีกทีสมัยหลวงพ่อถันเป็นเจ้าอาวาส สมัยนี้มีพระเถระที่ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
1.หลวงพ่อปาน ( ต่อมาเป็นพระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ)
2.หลวงพ่อเรือน (เคยเป็นอุชณาย์ที่วัดนี้)
3.หลวงพ่อล่า (เป็นหมอผี หมอน้ำมนต์)
4.พระอาจารย์อิ่ม (อาจารย์สอนวิปัสสนาและอาจารย์ธุดงค์ เป็นผู้สร้างพระผงหลวงพ่อปานถวาย)
5.หลวงพ่อทอง (ต่อมาเป็นพระครูสุทธิรัตน์ เจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อถัน)
6.หลวงพ่อลาว (มรณะแล้วไม่เน่าเปื่อย)
7.พระอาจารย์บัว
8.สมุห์นิ่ม สมัยเป็นสมาเณร
การปกครอง
ใน สมัยหลวงพ่อถันเป็นเจ้าอาวาส ได้แยกปกครองพระสงฆ์เป็นคณะ คณะหนึ่งมีหัวหน้าปกครอง และรองคณะอีกรูปหนึ่ง มีเหตุการณ์ใดให้ตัดสินใจและรายงานให้เจ้าอาวาสทราบ ดังนี้
1.หลวงพ่อปานและพระอาจารย์อิ่ม เป็นหัวหน้าคณะปกครองสอนเรื่องกัมมัฏฐาน เมื่อออกพรรษาแล้วออกธุดงค์เป็นคณะใหญ่
2.หลวงพ่อเรือน เป็นหัวหน้าคณะ สอนชีและอุบาสกอุบาสิกาทั่วไป
3.หลวงพ่อล่า เป็นหัวหน้าคณะว่าด้วยหมอผี หมอน้ำมนต์
4.หลวงพ่ถัน เป็นเจ้าอาวาสและหัวหน้าคณะปกครองทั่วไป ตลอดจนดูแลเด็ก
หลวง พ่อถันปกครองวัดมานาน จนหลวงพ่อปานสร้างมณฑปเพื่อจะเอาไว้รอยพระพุทธบาท (หน้า รรงวสัดมงคลโคธาวาส) พอการก่อสร้างใกล้เสร็จ ยกยอดเสร็จเรียนร้อย ท่านก็ล้มป่วยและมรณภาพ บรรดาพระเณร อุบาสกอุบาสิกาประชุมกัน ด้วยการสนับสนุนจากหลวงพ่อปาน ให้ หลวงพ่อทองเป็นเจ้าอาวาส
สมัยนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ผู้วางระเบียบการปกครองสงฆ์ และผู้แต่งหนังสือนวโกวาท) ออกตรวจการปกครองสงฆ์มณฑลบูรพา เห็นพระเณรวัดมงคลโคธวาส มีความประพฤติเรียบร้อยดี จึงทรงกรุณาแต่งตั้งหลวงพ่อทอง เป็น พระครูสุทธิรัต เป็นพระอุปัชณาย์และเจ้าคณะแขวงบางบ่อ มีพระฐานานุกรม คือ พระปลัดแวว และพระสมุห์นิ่ม
สมัยหลวงพ่อทอง พระผู้ทรงคุณวุฒิ มรณภาพไปหลายรูป คือ
หลวงพ่อปาน
หลวงพ่อเรือน
หลวงพ่อล่า
หลวงพ่อลาว
พระอาจารย์อิ่ม (ไปมรณะที่เมืองหงสาวดี)
พระอาจารย์บัว
ทำให้วัดเงียบเหงาไปมาก เมือท่านอุปสมบทบุตรทนายซัว เป็นคนสุดท้ายและมรณภาพในปีนั้นเอง
ประวัติหลวงพ่อปาน
หลวงพ่อปานเป็นชาวคลองด่านแต่กำเนิด เกิดประมาณปี 2468 รัชสมัย รัชกาลที่ 3
ใน วัยเยาว์ ได้เข้าศึกษากับเจ้าคุณศรีศากยสุนทร สำนักวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และได้บรรพชาที่วัดแจ้ง ภายหลังได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อแตง วัดอ่างศิลานอก ศึกษาสรรพวิชาจนเชียวชาญ
หลวงพ่อปานท่านเป็นคนพูดน้อย เป็นที่เคารพยำเกรงและเลื่อมใสแก่ผู้พลเห็น ท่านออกธุดงค์ทุกปี ทีใดที่เหมาะแก่การพระศาสนา ก็จะทำสัญลักษณ์ไว้ ต่อมาก็กลายเป็นวัด เช่น วัดปานประสิทธาราม วัดไตรสรณาคม วัดหงส์ทอง เป็นต้น
พระราชนิพนธ์ ประพาสมณฑลปราจีนบุรี ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รศ.127 (พ.ศ.2451) ดังนี้
...... วันที่ 24 โปรแกรมวันนีอยู่ข้างเลอะเทอะ เปลี่ยนแปลงมาก เดิมกำหนดอยู่ในราว 4 โมง (อยู่บางเหี้ยถึง 4 โมง )ออกจากบางเหี้ย เข้ามาทำกับข้าวกินที่พระสมุทรเจดีย์ จากจะไปเที่ยวคลองบางปลากดเวลา 5 โมง จึงขึ้นโมเตอรเตรียมกลับ .......เวลา บ่าย 2 โมง เลยเวลากิน เต่เคราะห์ดีอยางวานนี้ที่หาปิ่นโตไว้
เวลาเช้าที่ว่างนั้น พวกราษฎรพากันอยากจะเห็น จึงออกไปให้เห็นแลแจกเสมา พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานนี้นิยมกันในทางวิปัสนาแลธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ได้เดินธุดงค์ด้วย 200-300 แรกลงไปประชุมอยู๋ที่วัดบงเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดและออกเดิน ทางที่เดินนั้นลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นมาปราจีน นครนายก ไปพระบาท (สระบุรี) แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ว่ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นไว้แต่พระที่เลื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู๋ในเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเปนอาจิณวัตรเช่นนี้มา 40 ปีแล้ว .......สังเกตุดูอัชาไศรยก็เป็นคนแก่ใจดี กิริยาเรียบร้อย อายุ 70 แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย คนอื่นมาช่วยพูด......
หลวง พ่อปาน มรณะด้วยโรคชรา เมื่อวันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน9 ปีจอ โทศก 1272 รศ.129 ตรงกับวันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 5 ทุ่ม 45 นาที
พระราชทานเพลิงศพ ณวัดมงคลโคธาวาส วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 9 เมษายน 2454
sithiphong:
สมุทรปราการ ชวนร่วมอิ่มบุญใน “ประเพณีรับบัว หนึ่งเดียวในโลก”
-http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000127425-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
17 ตุลาคม 2555 18:50 น.
ประเพณีรับบัว ที่ จ.สมุทรปราการ (ภาพ:www.ktc.co.th)
จังหวัดสมุทรปราการ จับมือ ททท. อบจ.สมุทรปราการ จัดงานใหญ่ ประเพณีรับบัว แห่งเดียวในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี วัดบางพลีใหญ่ใน และตลอดเส้นทางลำคลองสำโรงระหว่างที่ว่าการอำเภอบางพลี จนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน โดยปีนี้ชู 9 ไฮไลท์ยิ่งใหญ่กว่าทุกปี คาด 4 วัน เงินสะพัดกว่า 100 ล้านบาท
นายคณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นางปานจิตร สันทัดกลการ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานกรุงเทพมหานคร และนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมเป็นประธานจัดงานสืบสาน ประเพณีรับบัว ด้วยแนวคิด หนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเพณีที่ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพียงแห่งเดียว ณ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกด้วยวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่น ที่ผสมผสานระหว่างขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม
สำหรับประเพณีรับบัวปีนี้ กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี วัดบางพลีใหญ่ใน และตลอดเส้นทางลำคลองสำโรงระหว่างที่ว่าการอำเภอบางพลี จนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน ตั้งแต่ 06.00 - 24.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันสุดท้ายที่สิ้นสุดเวลา 13.00 น. โดยทางผู้จัดได้เตรียมการแสดง การประกวด การแข่งขัน กิจกรรมต่างๆ ไว้ 9 รายการ ที่ไม่ควรพลาดชม พร้อมกับคาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก น่าจะมีเงินสะพัดในระบบมากกว่า 100 ล้านบาท ทั้งจากการจับจ่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ การบริการ โรงแรม และกิจกรรมต่างๆ ด้านการสันทนาการและการท่องเที่ยว ตลอดระยะเวลาการจัดงาน
นายคณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในระดับต้นๆ ในฐานะเมืองอุตสาหกรรมสำคัญ ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการวางแผนพัฒนาจังหวัดให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้มีความก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยว และด้านสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดสากลในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
สำหรับ “ประเพณีรับบัว” ณ อำเภอบางพลี นี้ ถือได้ว่า เป็นสินค้าสำคัญทางด้านวัฒนธรรมที่ประเทศไทย สามารถสร้างเป็นจุดขายสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณีที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี ด้วยแนวคิดที่ว่า “หนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทย” โดยประเพณีรับบัว จะจัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม เป็นประเพณีดีงามของท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนาน และเป็นกิจกรรมสำคัญทางพุทธศาสนา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนนำดอกบัวมานมัสการหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน อันเป็นที่เคารพสักการะและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย
คณะผู้จัดงาน
นางปานจิตร สันทัดกลการ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานกรุงเทพมหานคร กล่าวเสริมว่า “ประเพณีรับบัวนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่นักท่องเที่ยวจะได้เดินทางมาพักผ่อน ทำบุญ ไหว้พระ และได้สัมผัสกับวิถีชีวิตงานประเพณีที่งดงามที่บอกเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทย ชาวลาว และชาวรามัญ ที่มีต่อกันด้วยไมตรีจิตมาอย่างยาวนาน รวมทั้ง อิ่มบุญและอิ่มใจไปกับกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน เช่น ตักบาตรพระทางเรือ การแสดงหมากรุกคน การแสดงวิถีชีวิตชาวไทย ชาวลาว ชาวมอญ และการละเล่นพื้นบ้าน ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ย้อนรอยตลาดโบราณบางพลี ซึ่งมีอายุยาวนานกว่า 155 ปี ซึ่งอยู่ติดกับวัดบางพลีใหญ่ใน สำหรับการจัดงานประเพณีครั้งนี้ คาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก น่าจะมีเงินสะพัดรวมกว่า 100 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาการจัดงาน 4 วัน จากการจับจ่ายซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการต่างๆ ทั้งจากร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของท้องถิ่นและประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายก อบจ.จังหวัดสมุทรปราการ กล่าวถึงไฮไลท์การจัดงานครั้งนี้ว่า “องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ มีความตั้งใจและทุ่มเทในการสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดยได้วางแผนจัดงานให้ยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยได้สร้างสรรค์กิจกรรม การแสดง การประกวด การแข่งขันที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวที่สนใจห้ามพลาดชมรวม 9 รายการเด่น ได้แก่
1. เชิญเข้าร่วมพิธีเปิดงานประเพณีรับบัว จุดเริ่มต้นตำนานแห่งสายน้ำและพุทธศรัทธา โดยนายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงานในวันที่ 26 ตุลาคม 2555 เวลาตามราชาแห่งฤกษ์ 10.39 น. และโยนบัวดอกแรก เพื่อเปิดงานอย่างเป็นทางการ ณ ปะรำพิธี วัดบางพลีใหญ่ใน
2. เชิญพุทธศาสนิกชนเข้าร่วม โยนบัว ในงานประเพณีรับบัว ซึ่งปีนี้ 14 ค่ำเดือน 11 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 07.00 - 09.00 น. โดยขบวนจะเคลื่อนจากวัดบางพลีใหญ่ใน ถึงที่ว่าการอำเภอบางพลี
หนึ่งในไฮไลท์การแสดง
3. ชวนชมการแสดงแสง สี เสียง ริมสองฝั่งน้ำคลองสำโรง ชื่อชุด “สายน้ำ ศรัทธา ประเพณี เชื่อมวิถีชุมชน” เชิญนักท่องเที่ยวมาร่วมล่องเรือชมการแสดง 5 ชุด ท่ามกลางสายน้ำยามค่ำคืน ผสมผสานด้วยเทคนิคการนำเสนอสุดทันสมัย มัลติมีเดีย 4 มิติสมจริง หมอกควัน และม่านน้ำพุเต้นระบำหลากสีสัน จัดแสดงระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 09.30-21.30 น. โดยจะมีเรือนำชมตั้งแต่ มีทั้งหมด 6 รอบ รอบละ 60 คน สามารถรับชมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสามารถติดต่อขอขึ้นเรือรับชมได้ที่ ที่ว่าการอำเภอบางพลี และปลายทางขึ้นที่ท่าเรือ วัดบางพลีใหญ่ใน
4. จับจ่ายใช้สอยตลาดน้ำโบราณบางพลี อายุ 155 ปี ตลาดสินค้าพื้นบ้าน และสินค้าท้องถิ่นยอดนิยม (OTOP) ในราคาพิเศษ ตลอดการจัดงาน 4 วัน ตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป ทั่วทุกพื้นที่จัดงาน ได้แก่ ที่ว่าการอำเภอบางพลี วัดบางพลีใหญ่ใน และบริเวณสองฝั่งคลองตลอดเส้นทางการจัดงานระหว่างที่ว่าการอำเภอบางพลีและวัดบางพลีใหญ่ใน
5. สนุกสนานกับการแสดง ณ ลานวัฒนธรรมชาวบางพลี เต็มอิ่มกับการแสดงหลากหลายตลอด 4 วัน การประกวดหนุ่มสาวรับบัว ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง คอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง The Star, AF, RSและนักแสดงจากช่อง 7 การละเล่นต่างๆของเด็ก ชกมวยทะเล การแสดงโขนนักเรียน, การบรรเลงดนตรีไทย การแสดงหมากรุกคน การแสดงวิถีชีวิตชาวมอญ การแสดงโปงลาง ตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี
6. ลุ้นสุดตัวกับการแข่งขันเรือมาด เรือประจำถิ่นอันเก่าแก่ ชิงถ้วยพระราชทานจากพระเจ้าวงวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โดยจะแข่งขันในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดบางพลีใหญ่ใน
7. ตระการตากับการประกวดเรือประเภทต่างๆ ได้แก่ เรือประเภทสวยงาม เรือประเภทความคิดสร้างสรรค์ และเรือประเภทตลกขบขัน นักท่องเที่ยวสามารถมาชมได้ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 10.30-11.30 น. ณ วัดบางพลีใหญ่ใน
8. ชวนชมการแข่งขันมัดข้าวต้มมัดและการแข่งขันกินข้าวต้มมัด ตามประเพณีดั้งเดิม จะทราบกันดีว่าจะมีการทำข้าวต้มมัด เพื่อนำไปใส่บาตรในช่วงออกพรรษา และที่สำคัญ ข้าวต้มมัด ยังใช้เป็นอาหารทานระหว่างเดินทางเพื่อย่นระยะเวลาที่จะต้องเสียไปในการนั่งรับประทานอาหารด้วย โดยการแข่งขันมัดข้าวต้มมัด วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 10.00-12.00 น. และแข่งขันกินข้าวต้มมัดวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 11.00-12.30 น. ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี
9. มาเที่ยวแล้วอย่าลืมถ่าย ส่งภาพเข้าประกวดในโครงการ ประกวดภาพถ่ายประเพณีรับบัว ชิงเงินรางวัลรวม 50,000 บาท กติกาง่ายๆ เพียงถ่ายภาพภายในงานประเพณีรับบัว ประจำปี พ.ศ. 2555 แล้วส่งผลงานเป็นภาพอัดขยาย และภาพถ่าย มายัง บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด 118, 120 ถนนสุขาภิบาล 2 ประเวศ กรุงเทพ 10250 รับผลงานวันสุดท้ายจนถึง 5 พ.ย. 2555 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิทวัธร์ สุขยามผล 08 2490 0222.
สำหรับผู้ที่สนใจเที่ยวชมงานประเพณีรับบัว ประจำปี พ.ศ. 2555 ในครั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02-250-5500 ต่อ 2994-6 หรือ สำนักงานการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอบางพลี โทรศัพท์ 0 2337 4059, 0 2337 3489-90
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000127425
.
sithiphong:
.
-http://www.prapayneethai.com/th/tradition/center/view.asp?id=041-
ประเพณีท้องถิ่น > ภาคเหนือ > ภาคกลาง > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > ภาคใต้ I
ชื่อ ประเพณีรับบัว
ภาค ภาคกลาง
จังหวัด สมุทรปราการ
ช่วงเวลา เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา
ความสำคัญ
ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่น ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด
ประเพณีรับบัวนี้มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาได้ ๓ ประการ
ประการแรก
ในสมัยก่อนในแถบอำเภอบางพลี มีประชากรอาศัยอยู่ ๓ พวกคือ คนไทย รามัญ และลาว แต่ละพวกจะมีหัวหน้าคอยควบคุมดูแลและทำมาหากินในอาชีพต่างๆกัน ซึ่งชาวรามัญในสมัยนั้นจะขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นอาชีพต่อมาทั้งคนไทย รามัญและลาว ทั้ง ๓ พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขมและไม้นานาชนิดขึ้นเต็มไปหมด ฝั่งทางตอนใต้ของลำคลองสำโรงก็เต็มไปด้วยป่าแสม น้ำก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิดทางฝั่งตอนเหนือก็เต็มไปด้วยบึง ขนาดใหญ่ ภายในบึงแต่ละบึงก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบัวหลวงมากมาย พวกคนไทย รามัญและลาว ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนถึงทางแยก ๓ ทางคือ ทาง
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง คนทั้ง ๓ พวกก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันทำมาหากินคนละทางจะดีกว่าเพื่อที่จะได้รู้ ภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องดีกว่ากัน เมื่อตกลงดังนั้นแล้วจึงแยกทางกันไปทำมาหากิน โดยพวกลาวไปทางคลองสลุด ไทยไปทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง พวกรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ ๒-๓ ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆจนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผลพวกรามัญก็ปรึกษาเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมที่ปากลัด (พระประแดง) เริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ก่อนไปก็ได้ไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนี้มากมาย คนไทยที่คุ้นเคยกับ
พวกรามัญก็ไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้พวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไป บูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทสนมชิดชอบว่าในปีต่อมาเมื่อถึงเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วยพวกตนจะมารับ ด้วยนิสัยคนไทยนั้นชอบโอบอ้อมอารีรักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกชาวรามัญก็นมัสการหลวงพ่อโตพร้อมทั้งขอน้ำมนต์หลวงพ่อโตไปเพื่อ เป็นศิริมงคลและลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัดและนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพัน
ปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ คนไทยบางพลีก็รวบรวมดอกบัวไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี การมาจะมาในเวลากลางคืน มาโดยเรือขนาดจุ ๕๐-๖๐ คน จะมาถึงวัดประมาณตี ๑-๔ ของทุกครั้งที่มาและมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่างๆเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหาร กันเมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็นำดอกบัวไปมนัสการหลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด
ประการที่สอง
ชาวรามัญที่ปากลัด (พระประแดง) มาทำนาอยู่ที่อำเภอบางพลี (ตำบลบางแก้ว) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นชาวรามัญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนีย์) ในสมัยกรุงธนบุรี การอพยพของชาวรามัญครั้งนี้เนื่องจากพระเจ้ามังระ คิดจะมาตีกรุงธนบุรี จึงเกณฑ์พวกรามัญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาช่วยรบ ชาวรามัญนั้นได้รับการกดขี่ข่มเหงจิตใจถูกฆ่าลูกเมีย ชาวรามัญจึงกบฏต่อพม่าโดยรวมตัวกันไปตีพม่าแต่สู้พม่าไม่ได้ ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบารมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชและได้นำเอาปี่พาทย์ มอญเข้ามาด้วยเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พวกรามัญไปตั้งภูมิลำเนาที่ปากเกล็ด แขวงนนทบุรี และปากโคก แขวงปทุมธานี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราชทรงโปรดเกล้าฯให้ย้ายครอบครัวชาวรามัญและพระยาเจ่ง มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ และต่อมาชาวรามัญได้ทำความดีความชอบได้รับพระราชทานที่นาที่บางพลี จึงเป็นเหตุให้ชาวรามัญมาทำนาที่บางพลี ชาวรามัญนั้นจะมาเฉพาะฤดูทำนา เมื่อเสร็จสิ้นการทำนาก็จะกลับที่ปากลัด เมื่อออกพรรษาชาวปากลัดที่มีเชื้อสายรามัญส่วนใหญ่เป็นผู้เคร่งครัดในพระ พุทธศาสนาก็จะกลับไปทำบุญที่วัดบ้านของตน เมื่อกลับก็จะไปเก็บดอกบัวที่ตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งมีมากมายในสมัยนั้นไปประกอบ เป็น "ดอกไม้ธูปเทียน" ในการทำบุญที่มีการเทศน์คาถาพันส่งท้ายพรรษา ครั้งแรกก็เก็บกันเองต่อมาชาวอำเภอบางพลีเห็นว่าชาวรามัญมาเก็บดอกบัวทุกปี ในปีต่อๆมาจึงเก็บดอกบัวเตรียมไว้ให้ตามนิสัยคนไทยที่ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ระยะแรกก็ส่งให้กับมือมีการไหว้ขอบคุณ ต่อมาเกิดความคุ้นเคยถ้าใกล้ก็ส่งมือต่อมือ ถ้าไกลก็โยนให้จึง
เรียกว่า "รับบัว โยนบัว"
ประการที่สาม
เดิมทีเดียวที่ตำบลบางพลีใหญ่ในเป็นตำบลที่มีดอกบัวมาก อำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงเช่น อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อถึงวาระต้องบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษาก็มาเก็บดอกบัวที่นี่ เพราะถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเวลาประทับนั่งยืน เดิน จะมีดอกบัวรองรับเสมอ อีกประการหนึ่งในเรื่องพระมาลัยได้กล่าวว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่งได้ถวายดอกบัว แก่พระมาลัย ยังไปเกิดเป็นเทพบุตรได้ ดังนั้นในสมัยโบราณคนจึงนิยมถวายดอกบัวแก่พระในวันออกพรรษาถือว่าได้บุญกุศล แรงมาก ถึงกับลงทุนนอนค้างอ้างแรมยังตำบลนี้เพื่อเก็บดอกบัว ในสมัยแรกๆ คงเที่ยวหาเก็บกันเองแต่ในสมัยต่อมาชาวบางพลีก็จะเตรียมเก็บไว้เพื่อเป็นการ ทำกุศลร่วมกันเท่านั้น
พิธีกรรม
พอถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ตั้งแต่ตอนเย็นชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการ ชาวพระประแดง และชาวต่างถิ่นจะชักชวนพวกพ้องเพื่อนฝูงลงเรือพร้อมด้วยเครื่องดนตรีนานา ชนิดเช่น ซอ ปี่ กระจับ โทน รำมะนาโหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น พายกันไปร้องรำทำเพลงกันไปตลอดทาง ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำน้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆเข้าคลองสำโรงและมุ่งหน้ามายังหมู่บ้านบางพลี ใหญ่
สำหรับชาวบางพลีนั้นจะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็จะต้องเตรียมหาดอกบัวหลวง สำหรับมอบให้แก่ชาวบ้านที่ต้องการและมิตรต่างถิ่นมาเยือนในโอกาสเช่นนี้ ก็คงแสดงมิตรจิตออกต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ส่วนพวกที่มารับบัวคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพาขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ และต่างก็สนุกสนานร้องรำทำเพลงและร่วมรับประทานอาหารสุรากันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวบ้านต่างก็นำเรือของตนออกไปตามลำคลองสำโรงเพื่อไปขอรับบัวจากชาวบ้านบาง พลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และการรับดอกบัวก็จะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับกันมือต่อมือ หรือก่อนให้จะยกมือพนมอธิษฐาน
เสียก่อนระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวต่างถิ่นที่สนิทสนมคุ้นเคยกันป็นพิเศษ บางทีชาวบางพลีก็จะโยนดอกบัวลงไปให้กันโดยไม่มีพิธีรีตอง เหตุที่มีการโยนบัวให้กัน แบบมือต่อมือจึงเลือนไปจนมีการนำไปพูดกันตอนหลังว่า รับบัว โยนบัว
การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น. หรือ ๐๙.๐๐ น. และชาวบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับจะมีการแข่งเรือกันไปด้วยแต่เป็นการแข่งขันโดยมีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภทหรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใครเมื่อไหร่ที่ใดก็แข่งกันไปหรือจะเปลี่ยนคู่เปลี่ยนคู่ แข่งกันไปเรื่อยๆ ตามแต่จะตกลงกัน
ดอกบัวที่ชาวต่างถิ่นรับจากชาวบางพลีไปนั้นจะนำไปบูชาในเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน
ประเพณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นนานมาชาวต่างถิ่นที่นำเรือมารับดอกบัวจากชาวบางพลีมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เสียงกระจับ ปี่ สีซอ กลองรำมะนา เสียงเพลงเสียงเฮฮาที่เคยเซ็งแซ่ตามลำคลองสำโรงในคืนวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็ค่อยๆเงียบหายไป
ต่อมาสมัยนายชื้น วรศิริ (เพชรบูรณะ วรศิริ) เป็นนายอำเภอบางพลี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๘๑ ประเพณีรับบัวมีทีท่าว่าจะเสื่อมสูญไปนั้น ได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เมื่อได้หารือกับพ่อค้าคหบดีตลอดจนข้าราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางอำเภอบางพลีจึงได้ตกลงกันดำเนินการจัดงานประเพณีรับบัวขึ้นคือ เริ่มงานวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ และรุ่งขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันรับบัวอันเป็นครั้งแรกที่ทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีรับบัว ของชาวบางพลี
ในการจัดงานประเพณีรับบัวของทางราชการอำเภอบางพลี มีการแต่งเรือประกวด เริ่มมีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ (แต่ก่อนชาวต่างถิ่นจะตกแต่งเรือมาเพียงเพื่อความสวยงามแต่ไม่มีการประกวด) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ช่วยกันหาดอกบัวแจกข้าวต้มมัดแก่แขกต่างบ้านและผู้จัดเรือประกวดในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ประชาชนต่างถิ่นและชาวอำเภอบางพลีจะลงเรือล่องไปตามลำคลองสำโรง ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานร่วมกัน ชาวบางพลีจะจัดสุราอาหารไว้ต้อนรับแขกต่างบ้าน ชาวต่างถิ่นคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวอำเภอบางพลีคนใดบ้านใดก็จะพากันไปเยี่ยม เยือน สนุกสนานกับชาวบางพลีบ้านนั้นจนรุ่งเช้า วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ต่างก็จะพากันไปดูการประกวดที่คลองสำโรงหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี
ในการจัดงานประเพณีรับบัวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มีการแห่หลวงพ่อโต ซึ่งแต่เดิมยังมิได้มีการแห่ดังเช่นสมัยนี้ ในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๗ นางจั่นกับพวกได้พร้อมใจกันสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้น ในวัดบางพลีใหญ่ใน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็จัดให้มีการฉลองโดยแห่องค์พระปฐมเจดีย์นี้ตามลำคลอง แล้วกลับมาห่มองค์พระปฐมเจดีย์กลางคืนก็จัดให้มีมหรสพสมโภช แห่ไปได้ ๒-๓ ปี ก็หยุดไปด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ซึ่งเชื่อว่าการแห่ผ้าห่อองค์พระปฐมเจดีย์นี้ได้รับแบบอย่างมาจากการแห่ผ้า ห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ของอำเภอเมืองสมุทรปราการ
ต่อมาก็มีการแห่รูปหลวงพ่อโตแทน โดยความเห็นชอบของท่านสมภารกุ่ย และนายฉลวย งามขำ แห่รูปภาพของหลวงพ่อโตมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ก็มีการทำหุ่นจำลองหลวงพ่อโต สานด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาสีทอง แล้วนำแห่แทนรูปภาพของหลวงพ่อโต ซึ่งสร้างโดยนายไสว โตเจริญ ตกกลางคืนก็มีงานมหรสพฉลองกันอย่างครึกครื้นจนถึงสมัยพระครูพิศาลสมณวัตต์ เป็นเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ในก็ได้จัดให้ทำการหล่อรูปหลวงพ่อจำลองขึ้น สำหรับแห่ตามลำคลองด้วยอลูมิเนียมใน พ.ศ. ๒๔๙๗ และปัจจุบันแห่โดยรูปหล่อจำลองหลวงพ่อโต (รูปปั้น) โดยจัดเป็นขบวนแห่ไปตามลำคลองสำโรงในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นการประกาศข่าวงานรับบัวให้ประชาชนทราบและวิธีนี้กลายเป็นประเพณีแห่หลวง พ่อโตก่อนวันงานรับบัว คือ วัน ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลอดจนถึงปัจจุบัน การแห่หลวงพ่อโตจึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีรับบัว ประชาชนที่อยู่สองฝั่งคลองสำโรงที่ขบวนแห่หลวงพ่อโตผ่านจัดประดับธงทิว ตกแต่งบ้านเรือนและตั้งโต๊ะหมู่บูชา พอเช้าวันรุ่งขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ มีการประกวดเรือประเภทต่างๆของตำบลใกล้เคียงและโรงเรียนส่งเข้าประกวด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการจัดประกวด ปัจจุบันการประกวดเรือมี ๓ ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และประเภทขบขันหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น.และงานจะสิ้นสุดลงเวลา ๑๑.๐๐ น. ของวันเดียวกัน ในบางปีจัดให้มีการประกวดเทพีการแข่งเรือ หรืออย่างอื่นแล้วแต่คณะกรรมการ
จัดงานรับบัวแต่ละปีจะพิจารณาเห็นสมควร ส่วนการร้องรำทำเพลงไปตามลำน้ำดูหายๆไปจนปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเที่ยวสนุกสนานกันตามบริเวณที่จัดให้มีมหรสพเท่านั้น
สาระ
"การเป็นผู้มีน้ำใจไมตรี" เป็นลักษณะเด่นของคนไทยประการหนึ่ง เราคงไม่ปฏิเสธกันว่าคนไทยเป็นผู้ที่ร่ำรวยน้ำใจ ยากที่จะหาประชากรในประเทศใดในโลกเทียมได้ แม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยอมรับในความมีน้ำใจไมตรีของคนไทยเช่นกัน จนได้ให้สมญาประเทศไทยว่า "สยามเมืองยิ้ม" ดังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วนั่นเอง และชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการมีสิ่งหนึ่งที่ช่วยยืนยันถึงความเป็นผู้มีน้ำใจไมตรีของ คนไทยเช่นกัน สิ่งนั้นคือมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของชาวบางพลีได้มอบไว้ให้ลูกหลานของ ตน นั่นคือ "ประเพณีรับบัว"
ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีเก่าแก่ที่เกิดและจัดขึ้นในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มาช้านานแต่เพิ่งปรากฏหลักฐานในราว พ.ศ. ๒๔๖๗ ว่าเดิมจัดในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี และจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอำเภอบางพลี ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับประเพณีรับบัวว่า
"ในสมัยก่อนโน้น อำเภอบางพลี มีดอกบัวมากมายตามลำคลอง หนองบึงต่างๆเป็นที่ต้องการของพุทธศาสนิกชน ในอันที่จะนำไปบูชาพระ เหตุที่เกิดประเพณีรับบัว เกิดจากชาวอำเภอพระประแดง และชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการ ที่เป็นชาวมอญ ต้องการนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันและบูชาพระในเทศกาลออกพรรษา ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ประชาชนทั้งสองอำเภอนี้ ได้ชักชวนกันพายเรือมาตามลำคลองสำโรงเพื่อมาเก็บดอกบัว เมื่อเก็บได้เพียงพอแล้วก็จะเดินทางกลับบ้านของตนในวันรุ่งขึ้น (ขึ้น ๑๔ ค่ำ) ต่อมาชาวอำเภอบางพลี มีน้ำใจที่จะอำนวยความสะดวกให้ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของบ้าน เมื่อถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ก็จะร่วมแรงร่วมใจกันเก็บดอกบัวและเตรียมอาหารคาวหวานไว้เพื่อรอรับชาวอำเภอ พระประแดงและชาวอำเภอเมืองฯ เช้าตรู่ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ขบวนเรือพายของชาวอำเภอพระประแดงและชาวอำเภอเมืองฯก็จะมาถึงหมู่บ้านบางพลี ใหญ่ เมื่อรับประทานอาหารที่ชาวอำเภอบางพลีเตรียมไว้ต้อนรับจนอิ่มหนำสำราญดีแล้ว ก็จะพายเรือไปตามลำคลองสำโรง เพื่อขอรับดอกบัวจากชาวอำเภอบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การส่งมอบดอกบัวจะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับบัวกันมือต่อมือ โดยผู้ให้และผู้รับพนมมือตั้งจิตอธิษฐานอนุโมทนาผลบุญร่วมกัน การกระทำเช่นนี้เองจึงได้ชื่อว่าการ "รับบัว" เมื่อปฏิบัติติดต่อกันหลายๆปี จึงได้กลายเป็น "ประเพณีรับบัว" ไปในที่สุด"
นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๘ ถึงปัจจุบัน ชาวอำเภอบางพลีต่างยังไม่แน่ใจว่าตนโชคดีหรือโชคร้ายกันแน่ที่พื้นที่ที่ตน เองอาศัยอยู่ได้กลายเป็นจุดที่นักลงทุน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจที่จะมาลงทุนทำกิจการต่างๆ เนื่องจากพวกเขาเห็นว่า อำเภอบางพลี อยู่ใกล้กับกรุงเทพฯการคมนาคมสะดวกและเป็นแหล่งที่สามารถรองรับความเจริญ จากกรุงเทพฯ ได้โดยตรง จึงได้พากันมาลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันอำเภอบางพลีมีโรงงานอุตสาหกรรมเกือบ ๘๐๐ แห่ง นอกจากนี้หมู่บ้านจัดสรรก็ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด สนามกอล์ฟ ขนาดใหญ่หลายแห่ง มีไว้เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้มีอันจะกินเพียงระยะเวลาไม่ถึง ๑๐ ปี สภาพของอำเภอบางพลี เปลี่ยนไปราวกับหน้ามือเป็นหลังมือ จากสังคมชนบทที่ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความสุขตามอัตภาพ กลายเป็นสังคมเมืองอุตสาหกรรม ชาวบ้านหลายครอบครัวได้กลายเป็น "เศรษฐีใหม่"ภายในพริบตา โดยการขายที่ดินให้กับนักลงทุนในราคาสูงลิ่ว ปัจจุบันสภาพสังคมในอำเภอบางพลี ไม่แตกต่างไปจากสังคมกรุงเทพฯเท่าใดนัก ทั้งด้านค่าครองชีพ การจราจร การแข่งขันประกอบธุรกิจ ฯลฯ ในสภาวะเช่นนี้แม้แต่ชาวบางพลีที่เป็นคนเก่าแก่เองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีส่วน ทำให้ประเพณีรับบัวเปลี่ยนรูปโฉมจากเดิม กล่าวกันว่า "ประเพณีรับบัวก็เปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆในอำเภอบางพลีที่ต้องมีการ ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อมิให้ตนต้องสูญหายไปจากโลกนี้"
::
.
sithiphong:
.
ย้อนตำนานประเพณีรับบัวโยนบัว วิถีท้องถิ่นชาวบางพลี สมุทรปราการ
-http://www.thaipost.net/tabloid/020912/61814-
ประเพณีรับบัวโยนบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาจากผู้เฒ่าผู้แก่บางพลีว่า เกิดขึ้นประมาณ 80 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นการนมัสการหลวงพ่อโต เล่ากันว่าเป็นพี่น้องกับหลวงพ่อโสธรแปดริ้ว และหลวงพ่อวัดบ้านแหลมสมุทรสงคราม
ตำนานกล่าวว่า หลวงพ่อโตลอยตามน้ำเจ้าพระยา มาหยุดที่ปากคลองสำโรงลอยอยู่แถวๆ นั้น เป็นการแสดงเจตจำนงอันแน่วแน่ว่าจะจำพรรษาอยู่ละแวกนั้นอย่างแน่นอน ชาวบ้านจึงช่วยกันชักรั้งนิมนต์เข้ามาจนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปัจจุบัน แล้วอัญเชิญขึ้นไว้ในโบสถ์ หลวงพ่อโตจึงเป็นหลวงพ่อของชาวบางพลีตั้งแต่นั้นมา
หลังจากนั้นทุกๆ ปี ชาวบางพลีจะนิมนต์หลวงพ่อขึ้นเรือ แล่นไปให้ชาวบ้านได้นมัสการ โดยครั้งแรกทำเป็นรูปจำลองโดยเอาไม้ไผ่มาสานเป็นโครงรูปองค์พระพุทธรูป ปิดหุ้มด้วยกระดาษทอง ชาวบ้านจะพากันคอยนมัสการหลวงพ่ออยู่ริมคลอง ต่างก็จะเด็ดดอกบัวริมน้ำ แล้วโยนเบาๆ ขึ้นไปบนเรือหลวงพ่อ
การรับบัวโยนนี้แต่เดิมคงเล่นกันมาก่อนที่จะกลายเป็นประเพณีนมัสการหลวงพ่อ โต เพราะตามคำเล่าต่อๆ กันมาเล่าว่า ในสมัยก่อนท้องที่อำเภอบางพลี เป็นแหล่งที่มีดอกบัวหลวงชุกชุมและมีมากในฤดูฝน ดังนั้น การบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษา ประชาชาชนต่างท้องที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับอำเภอเมืองบางพลี โดยเฉพาะชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการกับชาวอำเภอพระประแดง จึงพากันไปหาดอกบัวหลวงในท้องที่อำเภอบางพลี
ในสมัยแรกๆ คงจะไปเที่ยวเก็บกันเองตามลำคลองหนองบึงต่างๆ แต่ในสมัยต่อมา ชาวบางพลีได้เก็บหรือจัดเตรียมดอกบัวหลวงไว้สำหรับแจกชาวต่างบ้านที่ต้องการ โดยไม่คิดมูลค่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่กันหรือเพื่อหวังบุญกุศลร่วมกัน อันกลายมาเป็นประเพณีที่เรียกว่า "รับบัว"
แต่ปัจจุบันนี้ชาวต่างท้องที่ดูจะไม่สนใจที่จะไปหาดอกบัวหลวงที่ท้องอำเภอ บางพลีเหมือนสมัยก่อน ทางราชการอำเภอบางพลีก็คงจัดให้มีการรับบัวขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริม ประเพณีดั้งเดิมให้คงอยู่ต่อไป
ในสมัยก่อนนั้นในแถบอำเภอบางพลี มีประชาชนอยู่อาศัยเป็น 3 พวก คือ คนไทย รามัญ และคนลาว แต่ละพวกก็มีหัวหน้าควบคุมดูแล และทำมาหากินต่างกัน ต่อมาทั้ง 3 กลุ่มได้ปรึกษาที่จะร่วมแรงร่วมใจกันหักร้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อ ทำไร่และทำสวนต่อ และเมื่อถางป่ามาถึงทาง 3 แยก ซึ่งตกลงกันจะแยกทำมาหากินไปคนละทาง
พวกรามัญที่แยกกันไปทำมาหากินทางคลองลาดกระบังทำอยู่ได้ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผล เพราะนกและหนูชุกชุมรบกวน จนพืชผลเสียหายมาก เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผล พวกรามัญก็ปรึกษากันเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมคือปากลัด และเริ่มอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปได้เก็บดอกบัวในบึงบริเวณนั้นไปมากมาย คนไทยที่คุ้นกับพวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด และชักชวนคนไทยที่รักและสนิทชิดชอบกันว่าในปีต่อไป พอถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้คนไทยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตด้วย แล้วพวกตนจะมารับ
ในปีต่อมา พอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยก็ช่วยกันเก็บดอกบัว รวบรวมไว้ที่บางพลีใหญ่ในตามคำขอร้องของพวกรามัญ พวกรามัญก็มารับดอกบัวไปทุกปี
พวกรามัญที่มารับดอกบัวนั้นมาโดยเรือขนาดใหญ่จุคน 50-60 คน โดยจะมาถึงตี 3-4 และเมื่อมาถึงวัดก็ตีฆ้องร้องรำทำเพลงและการละเล่นต่างๆ อย่างสนุกสนาน พวกที่มาคอยรับพลอยเล่นกันสนุกสนานไปด้วย และคนไทยจึงได้เตรียมอาหารคาวหวานไปเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยง อาหารกัน เมื่ออิ่มหนำสำราญดีแล้วพวกรามัญนำดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโต และนำน้ำมนต์ของหลวงพ่อกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนดอกบัวที่เหลือพวกรามัญก็นำกลับไปบูชาพระคาถาพัน ที่วัดของตนต่อไป นี่เป็นที่มาของประเพณีรับบัวที่รับรู้และปฏิบัติสืบต่อกันมา
สำหรับประชาชนทั่วไป ทั้งชาวต่างบ้านและชาวบางพลีเองก็จะไปเที่ยวดูงานโยนบัวและรับบัว และเที่ยวดูการละเล่น หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ทางอำเภอจัดขึ้น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินเท่านั้น พอถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการและชาวอำเภอพระประแดงจะชักชวนพวกพ้อง เพื่อนฝูงพากันลงเรือเป็นเรือพายบ้าง เรือแจวบ้าง ลำเล็กบ้าง ลำใหญ่บ้าง และต่างก็นำเครื่องดนตรีต่างๆ ไปด้วย เช่น ซอ ปี่กระจับ โทน รำมะนา โหม่ง กรับ ฉิ่งฉาบ เป็นต้น แล้วแต่ใครจะถนัด หรือมีเครื่องดนตรีชนิดไหน พายกันไป แจวกันไป ร้องรำทำเพลงกันไป เป็นที่สนุกสนาน ตลอดระยะทาง และเป็นเช่นนี้ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำแม่น้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆ เข้าคลองสำโรงและมุ่งไปยังหมู่บ้านบางพลีใหญ่
สำหรับชาวบางพลีก็จะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องหาดอกบัวหลวง สำหรับไว้มอบให้แก่ชาวต่างบ้านที่ต้องการมิตรต่างบ้านมาเยือนในโอกาสเช่น นั้นก็แสดงมิตรจิตต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกัน ตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัว คนใดที่รู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพากันขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้
ต่างก็จะสนุกสนานร้องรำทำเพลงและรับประทานสุรา อาหาร ร่วมกันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวต่างบ้านก็จะนำเรือของตนไปตามลำคลองสำโรง และไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และรับดอกบัวก็จะกระทำอย่างสุภาพคือส่งและรับกันมือต่อมือหรือก่อนจะ ให้กันยกมือพนมอธิษฐานเสียก่อน ระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวบ้านต่างที่สนิทสนมคุ้นเคยกันนี้เอง เมื่อนานเข้าก็ค่อยกลายเป็นความนิยมกันเป็นการทั่วไปการให้และรับกันแบบมือ ต่อมือจึงเปลี่ยนไปจนมีการนำมาพูดในตอนหลังว่า "โยนบัว" แทนคำว่า "รับบัว"
การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวต่างบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับนี้จะมีการแข่งเรือกันไปด้วย แต่เป็นการแข่งกันโดยไม่มีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภท หรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใคร เมื่อไร ที่ใด ก็แข่งขันกันไป หรือเปลี่ยนคู่แข่งขันไปเรื่อยๆ ตามแต่จะสะดวกหรือตกลงกัน
ดอกบัวที่ชาวต่างบ้านได้รับจากชาวบางพลีนั้นก็จะนำไปบูชาพระในวันเทศกาลออก พรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน ส่วนใหญ่จะนำไปบูชาพระสมุทรเจดีย์ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองสมุทรปราการ.
.
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
ครับพี่หนุ่ม สิ่งที่เรามีเหนือชนชาติอื่นๆก็คือ ความนุ่มละไมในจิตใจ ในประเพณี ในศาสนา ในวัฒนธรรม
อยากไปดูของจริงจังเลยครับ ประเพณีรับบัวโยนบัว ผมก็พวกติดบ้านซะด้วยสิ 55+
อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version