ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็น ผู้มี ปกติ พิจารณา เห็นจิต ในจิต อยู่ นั้นเป็น อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
(๑) รู้ชัด ซึ่ง จิต อันมีราคะ ว่า “จิตมีราคะ”
(๒) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน ปราศจากราคะ ว่า “จิตปราศจากราคะ”
(๓) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน มีโทสะ ว่า “จิตมีโทสะ”
(๔) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน ปราศจากโทสะ ว่า “จิตปราศจากโทสะ”
(๕) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน มีโมหะ ว่า “จิตมีโมหะ”
(๖) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน ปราศจากโมหะ ว่า “จิตปราศจากโมหะ”
(๗) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน หดหู่ ว่า “จิตหดหู่”
(๘) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน ฟุ้งซ่าน ว่า “จิตฟุ้งซ่าน”
(๙) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน ถึง ความเป็น จิตใหญ่ ว่า
“จิตถึง แล้ว ซึ่ง ความเป็น จิตใหญ่”
(๑๐) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน ไม่ถึง ความเป็น จิตใหญ่ ว่า
“จิต ไม่ถึง แล้ว ซึ่ง ความเป็น จิตใหญ่”
(๑๑) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน ยังมี จิตอื่น ยิ่งกว่า ว่า
“จิตยัง มีจิต อื่น ยิ่งกว่า”
(๑๒) รู้ชัดซึ่งจิต อัน ไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า ว่า “จิตไม่มี จิตอื่นยิ่งกว่า”
(๑๓) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน ตั้งมั่น ว่า “จิตตั้งมั่น”
(๑๔) รู้ชัด ซึ่ง จิต อันไม่ ตั้งมั่น ว่า “จิตไม่ตั้งมั่น”
(๑๕) รู้ชัด ซึ่ง จิต อันหลุดพ้นแล้ว ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”
(๑๖) รู้ชัด ซึ่ง จิต อัน ยังไม่หลุดพ้น ว่า “จิตยังไม่หลุดพ้น”
ด้วยอาการ อย่างนี้ แล ที่ภิกษุ เป็นผู้มี ปกติ พิจารณา เห็น
จิตในจิต (จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ)
อันเป็น ภายใน อยู่บ้าง, ใน จิตอัน เป็น ภายนอก อยู่บ้าง,
ในจิต ทั้งภายใน และ ภายนอก อยู่บ้าง;
และเป็น ผู้มี ปกติ พิจารณา เห็นธรรม เป็นเหตุ เกิดขึ้นในจิตอยู่บ้าง,
เห็นธรรมเป็น เหตุเสื่อมไป ในจิต อยู่บ้าง,
เห็นธรรม เป็น เหตุ ทั้ง เกิดขึ้น และ เสื่อมไปใน จิตอยู่บ้าง;
ก็แหละ สติ (คือ ความ ระลึก) ว่า “จิตมีอยู่” ดังนี้ ของเธอนั้น
เป็นสติ ที่เธอ ดำรง ไว้เพียง เพื่อ ความรู้ เพียง เพื่อ ความอาศัยระลึก.
ที่ แท้เธอ เป็นผู้ที่ ตัณหาและ ทิฏฐิ อาศัยไม่ได้ และ เธอ ไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลกนี้.
ภิกษุ ทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่า เป็น ผู้มีปกติ ตามเห็น จิตในจิตอยู่ แม้ด้วย อาการ อย่างนี้.
- มหาสติปัฏฐานสูตร มหาวาร. สํ. ๑๐/๓๓๑/๒๘๙.
facebook.com / พระพุทธเจ้า-http://it.paperblog.com/kosmur-743689/