แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น

นิทานปู่ลิง :โลกมีสอง....ธรรมมีหนึ่ง?

<< < (2/5) > >>

ฐิตา:




//-อดทนพันครั้ง
เถ้าแก่ ร้านขายสมุนไพร มีสหาย เป็นนักพรตเต๋า
หลังจาก ท่านสิ้น ลูกชาย สืบทอด

นักพรตเต๋าแวะมา “ร้านนี้ชื่ออะไรนะ”
“อดทน พันครั้ง”....สักพัก นักพรตก็แวะเวียนมาถาม อีก
สักสิบรอบ เถ้าแก่ใหม่ก็ระเบิด ”อดทนพันครั้งๆๆๆ”

นักพรตก็ตอบว่า ข้าถามท่าน ยังไม่ถึงพัน เลย
เออ สงสารเตี่ยเอง นะ
คืนนั้น เถ้าแก่ใหม่ ก็มีโอกาส ทบทวนเรื่องราว จึงจำได้ว่า
นักพรต นั้นคือ สหาย ของ พ่อนั่นเอง

สำนึกในน้ำใจของพ่อ และน้ำใจสหายท่าน
ที่มาเตือนสติตน
จึงก้มกราบ......หลังจากนั้น ร้านอดทนพันครั้ง
ก็ทำการค้ารุ่งเรือง มาอีก หลายชั่วคน..ฯ

PULING



ฐิตา:




//-“นิทานเซน”
.....ศิษย์ สองสำนักมาเจอกัน
-อาจารย์เราแน่ ท่านอยู่ฝั่งน้ำ ด้านนี้ สามารถ วาดภาพ อีกฝั่งได้
อาจารย์ ท่านละ เก่งอะไรบ้าง
-อาจารย์เราเหรอ ท่านหิวท่านก็กิน ท่านง่วง ท่านก็นอน อิๆ

PULING



ปรัชญา นิทานเซน
PULING 的主頁
- http://www.appreciative-community.com/appreciative-community/home/space.php?uid=21&do=blog&view=me

ฐิตา:

                 

 //-การค้นพบอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าคือ ค้นพบ
"คุณลักษณะ ธรรมชาติ สิบมิติ"
"วิธีคิด สิบมิติ"
"วิธี ทำอาสวะให้สิ้น"
"วิธีอนุเคราะห์ สามโลก ให้อยู่ด้วยกันอย่างมี สันติธรรม ด้วยการ ทำหน้าที่ ที่ให้โชคดี(มงคล)"
................



//-ธรรมชาติ สิบมิติ
ท่านอาจารย์พุทธทาส เรียบเรียงมา "เก้า ตา" ปู่ลิงเพิ่มอีกหนึ่ง เป็นสิบ
-อนิจจตา.....สิ่งปรุงแต่ง หรือสังขาร ย่อมเปลี่ยนแปลง
-ทุกขตา.....สิ่งปรุงแต่ง ย่อมทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
-อนัตตา.....ธรรมชาติทั้งหมด ย่อมเป็นไปตาม กฎ เหตุปัจจัย มิได้เป็นดั่งใจปราถนา
(ยุคนั้น มีความเชื่อเรื่องอัตตา"จิตเป็นใหญ่" นิรัตตา"กาย หรือวัตถุเป็นใหญ่")
-ธรรมฐิติตา...กฎของธรรมชาติ ซ่อนอยู่ในทุกสิ่ง
-ธรรมนิยาม...ธรรมชาติวิวัฒนาการ จากสิ่งไม่ซับซ้อน เป็นสิ่งซับซ้อน
-อีทัปปจยตา..ความเป็นเหตุผล ปรุงแต่งต่อเนื่อง ของสิ่งต่างๆ จะปรุงเป็นสุข ทุกข์ อยุ่ที่ใครใช้อะไรมาปรุงฯ
-ตถาตา......ธรรมชาติอยู่ใน"กระแสเดียวกัน" เป้นธรรมดาเช่นนั้นเอง
-สุญญตา.....เมื่อจิตว่างจาก อุปทาน ตัณหา กิเลส จึงเห็นธรรมชาติตามจริง
-อตัมมยตา....ธรรมชาติล้วนเป็น ของปลอมที่ มายา ธรรมชาติสังเคราะห์ขึ้น
"เองเป็นของปลอมโว้ย"
"ตูไม่เอากับเองแล้วโว้ย"อิๆ

-อพยากตาธรรม...เมื่อจิตไม่ลำเอียงในของคู่(นันทวันธรรม)
เช่น ดี...ชั่ว
ชอบ....ชัง
ผิด.....ถูก
ได้.....เสีย
ย่อมหลุดจาก อุปทวะ อาสวะกิเลสทั้งปวง เพราะ

"ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในธรรมที่มาปรุงแต่งนั้น"
”สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ”
พุทธทาส ความว่างคือยารักษาสรรพโรค"




//-พุทธเจ้าค้นพบ วิธีคิด สิบมิติ
เสียดาย ไม่มีใครฉุกใจคิดและเอามาใช้
1.คิดจากเหตุ.....ไปหาผล
2.คิดจากผล......กลับไปหาเหตุ
3.คิดเห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่อง แบบสายโซ่
4.คิดเห็น เหตุจุดประกายให้ เกิด
5.คิดเห็น เหตุส่งเสริมให้เจริญ
6.คิดเห็น เหตุตัดรอน ให้เสื่อม
7.คิดเห็น เหตุตัดขาด ให้ดับ
8.คิดเห็น เป็นองค์ประกอบ แบบแยกส่วน
9.คิดเห็น เป็นภาพรวม
10.คิดเห็น ว่าอะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้
..................



//-เอาความรู้จัก
-ธรรมชาติ กฎธรรมดาของธรรมชาติ
-วิธีคิด
-การล้างขยะปรุงแต่งจิต(ทำอาสวะให้สิ้น)
ไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน
หายใจอย่างมีสัมมาสติ
มีแสงส่องโลก....เราเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น
มีแสงส่องใจ......เราเห็นพฤติจิตของเราเอง

จึงได้ชื่อว่า เป็นปราชญ์
-รู้โลก
-รู้ธรรม
-รู้ภาษา
-มีปฏิภาณ ไหวพริบดี

เป็นพุทธะ เพราะมีตาปัญญาห้า
-พุทธะจักษุ
-ธรรมะจักษุ
-สมันตะจักษุ(ความรู้รอบตัว)
-ญาณ ฌานจักษุ(ความรอบรู้ยิ่งจาก สมาธิ)
-ทิพย์จักษุ(เข้าใจในสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง เกินปัญญาธรรมดา)
...................................
สาธุ




1.บางคนเกิดมา เป็นได้แค่ไข่หนอน
น่าสงสาร
ไม่รู้ คิดไม่เป็น มีคนสอนไม่เชื่อ หลงตัวเอง ใกล้สิ้นลม
2.บางคน เป็นหนอนซอนใบไม้
หลงกระแสโลก ลาภ ยศ สรรเสริญ กุญแจไขความสุขตามสมมุติโลก
3.บางคน เป็นดักแด้
จากวัยเรียน วัยล่า สู่วัยละ สงบ เอาอดีต มาตกผลึกความคิด
เปลี่ยนแปลง จุดยืน วิสัยทัศน์ภายใน
4.บางคนเป็นผี้เสื้อ
มีชีวิตเสรี เก็บแต่ความทรงจำดีๆ ให้แต่สิ่งดีๆ ต่อ ตน ครอบครัว ชุมชน โลก



G+  Suraphol Kruasuwan

ฐิตา:




Zen มาจากคำว่า "เซี้ยง" หรือ ฌาน
เซน จึงหมายถึง "มีฌานทุกขณจิต"
ฌาน แปลว่า หนักแน่น
-หนักแน่นในอารมณ์ มี สติ ปิติ สุข อุเบกขา เอกจิต
-หนักแน่นในปัญญา เห็น
สมุติ ธรรม ปรมัตถ์ อริยะ พร้อมกัน ในชั่วขณะเดียว
เซน จึงเหมาะสำหรับคนที่"มีธาตุเด็ดเดี่ยว"




//-ใครชอบใช้ เซน เป็นเรือข้าม กาม ภพ ทิฐิ อวิชชา
ถ้าชอบบทบู้ ย่อมรุ็จัก"ตักม้อ"
ถ้าชอบ ปฏิภาณ เฉียบๆ จิตไวดุจสายฟ้า
ปรับตัวอยู่กับโลก ทุกสถานะการณ์
ย่อมสนใจศึกษา สูตรเว่ยหลาง




"ไม่มีกาย
ไม่มีกระจก
ไม่มีโพธิ
แล้วฝุ่นจะจับอะไร?"




ซึ่งดช.ปู่ลิงเคยรวมไว้ใน คาถา ดับอหังการในอัตตา
"ไม่มี ไม่ใช่ ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ดังใจ
เป็นดังกฎ เหตุ ปรุงแต่ง ของธรรมชาติเป็น"
"โกอาน(ปริศนาธรรม)
ซาเซน(ทำสมาธิลืมตาแบบเซน)
โต้ตอบ แบบฉับพลัน(ปฏิภาณ และพลิกจิตไวดุจสายฟ้า)
คือวิธีฝึกของเซน




....ทางสู่เซน มีโศลกธรรม สี่บรรทัด"
"ไม่เกี่ยวกับอักษร(ในตำรา)
ตรงเข้าสู่จิต(สติกุมสภาพจิตเสมอ)
บรรลุโดยฉับพลัน(ปฏิภาณตื่นตัว พลิกจิตว่องไวยามกระทบโลก ธรรม )
เพราะทุกคนมีธาตุพุทธะ อยู่แล้ว(จิตเอื้อเฟื้อ ใช้สติปัญญาว่องไว ความมั่นคงในอารมณ์ มโนธรรม)




จริงหนอ เวไนยสัตว์ทั้งปวงต่างมีอนุตตรสัมมาสัมโพธิ
เหมือนกันหมดทุกคน
ต่างกันแต่เพียงมี ผู้รู้ กับไม่รู้เท่านั้น"
เว่ยหล่าง





Suraphol Kruasuwan Jun 10, 20131
มีอีกหลายนิกาย อ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ
: http://puling-222.blogspot.com/2012/11/blog-post_6464.html?view=flipcard




ฐิตา:

                   

ZEN มีฌานทุกขณะจิต
ฌาณ คือ ความหนักแน่นของจิต
1.-หนักแน่นทาง อารมณ์ รูปฌานสี่ ปิติ สุข อุเบกขา เอกจิต
2.-หนักแน่น ทางวิสัยทัศน์
ยอมรับหน้าที่ของธรรมชาติ สี่ประการ
(จักรวาล ไม่สิ้นสุด ความรู้จักรวาล ไม่สิ้ินสุด
จักรวาล ขับเคลื่อนด้วยของคู่ตรงข้ามกัน
จักรวาล มีบทที่เขียน ให้เล่น และเปลี่ยนแปลงได้)
3.-หนักแน่น ในความคิด หน้าที่สูงสุดของตน พ้นเพลิงทุกข์เพลิงกิเลส มีวิชชาจรณะ ในตน
ด้วยการล้างขยะปรุงแต่จิต(ทำอาสวะให้สิ้น)วิปัสสนา มรรค ผล วิมุติ
4.หนักแน่น ในการตัดสินใจ มีสติปัญญากุมสภาพจิต ให้อยู่ในทางกุศล วิมุติ
ความหนักแน่นใน อารมณ์ วิสัยทัศน์ ความคิด การตัดสินใจ
จนไม่เป็นทาสเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส
จึงเป็น จุดสูงสุด ของการฝึกตน
เป็นหน้าที่สูงสุด ของ มนุษย์
.................................



ฌานแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4
ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค ผล
วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพาน อันมีลักษณะเป็น
สุญญตะ (ว่าง เพราะเห็นเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ขับเคลื่อน สังขาร และธรรม จนจิตว่าง จากกิเลส ตัณหา อุปาทาน)
อนิมิตตะ(ว่างเพราะเห็น สิ่งปรุงแต่งย่อมเปลี่ยนแปลง)
และอัปปณิหิตะ(ว่างเพราะเห็น ความตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ไม่ได้)
หรือมีปัญญาเห็นใน อนัตตา อนิจจัง ทุกขขัง นั่นเอง
อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
ฌาน 2 ประเภท [แก้]



แต่โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงประเภทของฌาน มักแบ่งฌานออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
รูปฌาน 4 ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
จตุตฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา ( อัปปนาสมาธิ )
อรูปฌาน 4 ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่
อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ
อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
เมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า " ฌาน 4" จะหมายถึง รูปฌาน 4 และเมื่อกล่าวสั้นๆ ว่า "ฌาน 8" จะหมายถึง รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4
สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งจนได้ฌาน ได้มีการรวบรวมไว้เป็น กรรมฐาน 40 สิ่งที่ขวางกั้นจิต ไม่ให้เกิดฌาน คือ นิวรณ์ 5
ฌานสมาบัติ [แก้]

                 

สมาบัติ เป็นภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ เป็นต้น
สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ 8 อันได้แก่ ฌาน 8 (รูปฌาน 4 กับ อรูปฌาน 4)
ในบางกรณี รูปฌาน 4 อาจถูกจำแนกใหม่ในรูปแบบของ ปัญจมฌาน เป็นการจำแนกตามแบบพระอภิธรรม เรียกว่า ปัญจกนัย การจำแนกตามแบบพระสูตร เรียกว่า จตุกนัย ที่ต้องจำแนกเป็นปัญจมฌาน เนื่องจากฌานลาภี(ผู้ได้ฌาน)มี 2 ประเภท คือ ติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) และ มันทบุคคล (ผู้รู้ช้า)
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 หมายถึง สมาบัติ 8 กับ นิโรธสมาบัติ
อ้างอิง [แก้]

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
(วิกิพีเดีย)




พลิกจิต ว่องไวดุจสายฟ้า มีฌานทุกขณะจิต
ฝึก......
-พลิกอารมณ์
-พลิกวิสัยทัศน์
-พลิกความคิด
-พลิกการตัดสินใจเลือกทางกุศล และเย็นต่อชีวิต
ใครทำได้ การเกิดมาพบพุทธรรมไม่สุญเปล่า สาธุครับ

Suraphol Kruasuwan originally shared to ชาวพุทธ (สนทนาธรรมตามกาล):


                 

//-พุทธทาส เอาหลักของ"เซน" มีฌานทุกขณะจิต
(รูปฌาน อรูปฌาน โลกุตตระฌาน)
และจิตว่าง ว่างจากสิ่งที่ไม่ควรมีในจิตที่มีคุณภาพ
คือ ว่างจาก กิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่ท่านใช้คำว่า"ว่างจากตัวกูของกู"
มาเป็นแก่นแท้ ของทางชีวิตที่มีชีวา   อาจไม่ถูกใจ บางคน

//-ที่สุด ถ้าเรายัง ไม่มี สัมมาสติโพธิปัญญาตื่น
มาล้างขยะปรุงแต่งจิต สถาปนาจิตใหม่ ให้มีชีวาในชีวิต มีสติกุมสภาพจิต ตลอดเวลา
ความปิติ สุข เป็นกลาง เย็น ให้คุณค่าแก่
ตนเอง ครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม เป็นสมาชิกที่ดีของจักรวาล
ประมาทใน เวลา กรรม มัจจุราช สังขารธรรม

เราก็คงเป็น
-คนนับโค(จำพระไตรปิฎก คำสั่งสอนได้)
-คนเลี้ยงโค(พร่ำสั่งสอนผู้อื่น)
-ไม่เคยรู้จักรสชาตินมโค
ชีวิตไม่เคย เย็นกาย เย็นใจ เย็นวาจา เย็นจากเมตตากรุณา อภัย
เย็นจากศีล สมาธิ ปัญญา ทักษะพลิกจิตที่ฝึกดีแล้ว
จากจิตแผลเก่า เป็นจิตที่พลิกสู่กุศล วิมุติ ดุจสายฟ้า เป็นจิตที่เป็นเพชร อยู่เหนือดอกบัว
(ทุกข์คือนรก สุขคือสวรรค์ นิพพานคือเย็น ไม่เป็นทาส จากไฟราคะ โทสะโมหะ อิจฉา)แน่แท้
สาธุ


                 Wisdom'bird

นกฮูกเป็นนกที่เห็นในที่มืด จึงเป็นตัวแทนแห่งปรีชาญาณ
เช่นเดียวกับ สติปัญญาให้แสงส่วาง แก่ชีวิตได้ตลอดเวลา
Suraphol Kruasuwan

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version