อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong อ่านข้อความ
นอก จากโพสนี้ที่แจ้งว่า พระกริ่งปวเรศ รุ่นเนื้อเงินสเตอร์ริง ซิลเวอร์ ที่หลวงปู่กรมพระยาปวเรศ ท่านอธิษฐานจิตเดี่ยวแล้ว ยังมีบางองค์ ที่กลุ่มหลวงปู่องค์อภิญญาใหญ่ ท่านอธิษฐานจิตกับหลวงปู่กรมพระยาปวเรศด้วย ซึ่งผมเข้าใจว่า น่าจะเป็นคนละพระราชพิธีหลวง แต่ในปีเดียวกันคือ ปี พ.ศ.2434 ครับ
.
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Natachai อ่านข้อความ
พิธี นี้เป็นพิธีใหญ่ระดับที่เรียกว่า "พระราชพิธีหลวง" มีพระเกจิฯที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นหลายองค์ที่ได้ร่วมอธิฐานจิต ภายหลังจากที่เสร็จพิธีอธิฐานจิต ผู้สร้างเก็บเข้าวังหมด สามัญชนในวัดแทบจะไม่ได้สัมผัส จึงทำให้ไม่ได้มีการบรรทึกไว้ในประวัติศาสตร์ พระกริ่งฯรุ่นนี้แจกจ่ายเฉพาะลูกหลานและคนสนิทของพระองค์ท่าน จึงทำให้รู้จักเฉพาะในวงบรมวงศานุวงศ์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sittiporn.s อ่านข้อความ
จารทั้งองค์ ,หมุดทอง ,ใต้ฐานบุทอง ,กริ่งระฆังทอง ตกสำรวจ
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sittiporn.s อ่านข้อความ
พระราชพิธีหลวง"ฉลองสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังราช "หลังจากว่างเว้นอยู่หลายปี
อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Natachai อ่านข้อความ
ส่วนผสมของโลหะที่ใช้สร้างพระเครื่อง
คง มีหลายท่านที่ชื่นชอบพระเครื่องหรือวัตถุมงคลต่างๆ ที่มีส่วนผสมของโลหะหลายชนิดและมีชื่อเรียกเฉพาะเช่น เนื้อสำริดหรือสัมฤทธิ์ เนื้อสัตตโลหะ เนื้อนวโลหะ เป็นต้น
ใน การทำ พระเครื่องและวัตถุมงคลนั้น ในสมัยโบราณได้มีการเล่นแร่แปรธาตุกัน แต่ละสำนักซึ่งส่วนใหญ่สามารถแบ่งหรือแจกแจงมวลสารโลหะที่ใช้ทำพระเครื่อง ได้ดังนี้
เนื้อนวโลหะ ประกอบไปด้วย โลหะ 9 อย่างได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง จ้าวน้ำเงิน เหล็กละลายตัว ชิน ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี
เนื้อสัตตโลหะประกอบด้วย ทองคำ ทองแดง จ้าวน้ำเงิน เหล็ก ตะกั่ว ปรอท
โลหะ สัมฤทธิ์โบราณ ประกอบไปด้วยธาตุบริสุทธิ์ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไปโดยมี แร่ทองคำและเงินเป็นหลัก ถ้าไม่มีจะไม่ถือว่าเป็นสัมฤทธิ์ และที่เป็นหลักอีกอย่างคือทองแดง ซึ่งจะใช้มากเพื่อให้ได้ปริมาณ
เนื้อ สำริดหรือสัมฤทธิ์ ประกอบด้วยตระกูลของสัมฤทธิ์ที่ถูกต้องตามสูตรโบราณมีอยู่ 5 ตระกูล คือ สัมฤทธิ์ผล สัมฤทธิ์โชค สัมฤทธิ์ศักดิ์ สัมฤทธิ์คุณ และสัมฤทธิ์เดช รวมเป็นสัมฤทธิ์ 5 ตระกูล อันมีความพิสดารดังต่อไปนี้
1. สัมฤทธิ์ผล คือสัมฤทธิ์แดง หรือตริยโลหะ มีมงคลความหมายถึง พระรัตนตรัยเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อสาม ผสมด้วยโลหะธาตุ 3 ชนิด คือ ทองแดง เป็นส่วนใหญ่และเจือด้วยเงินกับทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะแดงคล้ายนาก แต่มีผิวเจือด้วยวรรณะคล้ำๆ คล้ายสีมะขามเปียก โบราณถือว่าเป็นมงคลวัตถุ อำนวยผลนานาประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเมตตามหานิยม พระพุทธรูปสมัยอู่ทองโดยเฉพาะพระพุทธรูปอู่ทองหน้าแก่มักสร้างด้วยเนื้อนี้
2. สัมฤทธิ์โชค คือสัมฤทธิ์เหลือง หรือปัญจโลหะ เป็นโบราณนิยามหมายถึงเบญจขันธ์ (ขันธ์ 5) คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อห้า ได้แก่ ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี เงิน ทองคำ มีวรรณะเหลืองคล้ายเนื้อกลองมโหระทึก หรือขันลงหิน มีแววนกยูงภายในเนื้อ เป็นสัมฤทธิ์ที่ให้คุณหนักไปทางด้านลาภผล กับความสำเร็จ พระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยบางยุคและพระเชียงแสน พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระสังฆราชแพ บางรุ่น และพระกริ่งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้าคุณศรีสนธิ์บางรุ่นก็สร้างด้วยเนื้อนี้
3. สัมฤทธิ์ศักดิ์ คือสัมฤทธิ์ขาว หรือสัตตโลหะ เป็นมงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ 7 คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี 7 ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา สัมฤทธิ์ศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด
4. สัมฤทธิ์คุณ คือสัมฤทธิ์เขียว หรือนวโลหะ หมายถึงนัยของธรรมอันสูงสุดในพระศาสนา อันได้แก่ นวโลกุตรธรรม อันมี มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 สัมฤทธิ์คุณเป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดช ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว ชิน จ้าวน้ำเงิน เงิน และทองคำ แต่สัมฤทธิ์ตระกูลนี้แก่ส่วนผสมของเนื้อเงินมากกว่าธรรมดา ฉะนั้น เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อนหรือนากอ่อน แต่ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะถูกไอเหงื่อ จะมีวรรณะคล้ำเจือเขียวเตยหม่นแกมเหลืองอ่อนคล้ำมีแววขาวโดยตลอดเนื้อ สัมฤทธิ์ชนิดนี้อำนวยคุณวิเศษเช่นเดียวกับสัมฤทธิ์เดชทุกประการ
5. สัมฤทธิ์เดช คือสัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า เช่นเดียวกับสัมฤทธิ์คุณ แต่มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้องไอเหงื่อ จะดำสนิท ประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับ สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ พระพุฒาจารย์มา ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยะมุนี วัดจักรวรรดิฯ และสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ครั้งยังเป็นพระเทพโมลีตามลำดับ เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้
1) ชิน หนัก 1 บาท
2) จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท
3) เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4) ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท
5) ปรอท หนัก 5 บาท
6) สังกะสี หนัก 6 บาท
7) บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท
เงิน หนัก 8 บาท
9) ทองคำ หนัก 9 บาท
เนื้อ ทองสัมฤทธิ์เดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อสัมฤทธิ์เดชเพียง 45 บาทเท่านั้น ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ ตามสูตรโบราณเนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก
การ สร้างพระเครื่องและเหรียญใน ปัจจุบันนี้ได้ทำให้คนเข้าใจผิดกันมาก โดยเรียกโลหะผสมชนิดเนื้ออ่อนๆ ชนิดหนึ่งว่าเป็นเนื้อนวโลหะ และเรียกโลหะผสมชนิดเนื้อกลับว่า เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นการตรงกันข้าม เพราะคำว่านวโลหะ หมายถึงเนื้อทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้าตามแบบโบราณเท่านั้น
ครับ เรื่องของ เนื้อทองสัมฤทธิ์ก็มีเท่าที่เล่ามานี้แหละครับ ส่วนเนื้อโลหะอื่นๆ ที่นำมาสร้างพระเครื่องก็ยังมีอีกมาก เช่นเนื้อชิน เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ และเนื้ออัลปาก้าเป็นต้น
โดย Dumrong
...............................................................
จาก ข้อมูลของบทความด้านบนนำมาศึกษา เมื่อใช้ครีม wenol ขัดผิวเนื้อพระกริ่งปวเรศ (สมเด็จวังบูรพา) พ.ศ.2434 ที่มีสีผิวกลับดำ โดยการสังเกตุความเข้มของสีผิวที่แตกต่างกัน ทำให้ทราบว่าในขณะที่นำโลหะฯทั้งหมดมาใส่เบ้าหลอมโลหะการกระจายตัวของโลหะมี ความแตกต่างกัน เกิดจากคุณสมบัติความถ่วงจำเพาะของโลหะทำให้พบเนื้อของพระกริ่งฯ 2 วรรณะหลักๆ ดังนี้คือ
สัมฤทธิ์คุณ เนื้อภายในจึงมีวรรณะสีจำปาอ่อนหรือนากอ่อน พระส่วนใหญ่ที่พบจะมีเนื้อนี้มากที่สุด
สัมฤทธิ์เดช เนื้อภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ มีจำนวนไม่มากนัก(แก่ทองคำ)
---------------------------------------------------------
sithiphong
สำหรับ รุ่นพระกริ่งปวเรศ มีมากกว่าที่บอกนะครับ ทั้งพระกริ่งปวเรศเนื้อสเตอร์ริง ซิลเวอร์ หรือ ที่พี่สิทธิพรแจ้งว่า หมุดทอง ,ใต้ฐานบุทอง ,กริ่งระฆังทอง ตกสำรวจ
ยังมี บุทองคำ และ หลายพิมพ์ที่สร้างในเมืองไทยอีกครับ
และการนำเข้าพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวง พิธีเดียวกันกับ พระกริ่งปวเรศ เนื้อสเตอร์ริง ซิลเวอร์ เช่นกัน
อยู่กับผม ผมไม่ได้ให้ใครไปเลยครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์ละ 1 องค์ครับ
.