อาการ เกิด ดับ แห่งเวทนา
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้
เกิดมาจาก ผัสสะ มี ผัสสะ เป็นมูล
มี ผัสสะ เป็นเหตุ มี ผัสสะ เป็นปัจจัย.
๓ อย่างเหล่าไหนเล่า ? ๓ อย่างคือ :-สุขเวทนา, ทุกขเวทนา, อทุกขมสุขเวทนา.ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เพราะ อาศัย
ผัสสะ อันเป็น
ที่ตั้ง
แห่ง สุขเวทนา สุขเวทนา
ย่อมเกิดขึ้น;
เพราะ
ความดับแห่งผัสสะ อันเป็น ที่ตั้งแห่ง สุขเวทนานั้น
สุขเวทนา อันเกิดขึ้นเป็น เพราะอาศัย ผัสสะอันเป็น ที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา นั้น ย่อมดับไป ย่อมระงับไป.
(
ในกรณีแห่ง ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา ก็ได้
ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำมีนัยยะอย่างเดียวกัน).
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เปรียบ เหมือน เมื่อไม้สีไฟ สองอัน
สีกัน ก็เกิด ความร้อน และ เกิดไฟ, เมื่อไม้สีไฟ สองอัน
แยกกัน ความร้อน ก็ดับไป สงบไป.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ฉันใดก็ ฉันนั้น :
เวทนา ทั้งสามนี้ ซึ่งเกิดจาก ผัสสะมีผัสสะ เป็นมูล มีผัสสะ เป็นเหตุ มีผัสสะ เป็นปัจจัย
อาศัยผัสสะ แล้ว ย่อมเกิดขึ้น,
ย่อมดับไป เพราะผัสสะดับ, ดังนี้แล.-
สฬา. สํ. ๑๘/๒๖๖/๓๘๙-๓๙๐..
*******************
เมื่อไม่มีมา ไม่มีไป ย่อมไม่มีเกิด และไม่มีดับพระผู้มี พระภาคเจ้า
ได้ทรง ชักชวนภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยธัมมิกถา อันเนื่อง เฉพาะด้วย นิพพาน,
ได้ทรงเห็นว่า ภิกษุทั้งหลาย สนใจฟัง อย่างยิ่ง จึงได้
ตรัส
พระพุทธ อุทานนี้ขึ้น ในเวลานั้น ว่า :-
ความ หวั่นไหว ย่อมมี แก่ บุคคลผู้อัน ตัณหา
และ ทิฏฐิ อาศัยแล้ว
(
นิสฺสิตสฺส จลิตํ)
ความ หวั่นไหว ย่อมไม่มี แก่บุคคล ผู้อันตัณหา
และ ทิฏฐิไม่ อาศัยแล้ว
(
อนิสฺสิตสฺส จลิตํ นตฺถิ)
เมื่อ ความหวั่นไหว ไม่มี,
ปัสสัทธิ (ความสงบระงับ) ย่อมมี
(
จลิเต อสติ ปสฺสทฺธิ)
เมื่อปัสสัทธิ มี,
นติ (ความน้อมไป) ย่อมไม่มี
(
ปสฺสทฺธิยา สติ นติ น โหติ)
เมื่อ นติไม่มี,
อาคติ คติ (การมา และ การไป) ย่อมไม่มี
(
นติยา อสติ อาคติคติ น โหติ)
เมื่อ
อาคติ คติไม่มี,
จุตูปปาตะ (การเคลื่อน และ การเกิดขึ้น) ย่อมไม่มี
(
อาคติคติยา อสติ จุตูปปาโต น โหติ)
เมื่อ จุตูปปาตะ ไม่มี, อะไรๆ ก็ไม่มี ในโลกนี้
ไม่มี ในโลกอื่น ไม่มีใน ระหว่าง แห่งโลกทั้งสอง(
จุตูปปาเต อสติ เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเร)
นั่นแหละ คือ ที่สุด แห่งทุกข์ละ.
(
เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส)
อุ.ขุ. ๒๕ / ๒๐๘ / ๑๖๑. facebook.com /pages/พระพุทธเจ้า