ผู้เขียน หัวข้อ: กราบพระยามเย็นที่วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร จังหวัดนนทบุรี  (อ่าน 3292 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ที่วิหารครับ






รูปนี้ ไม่เปิดแฟลช



รูปนี้ เปิดแฟลช



ป้ายด้านหน้าวิหาร



ห้ามถ่ายวีดีโอ  ผมก็เลยถามคุณลุงท่านนึงว่า ขอถ่ายรูปได้หรือเปล่า  คุณลุงท่านนั้นบอกว่า  ท่านเจ้าอาวาสสั่งห้ามถ่ายวีดีโอ  ท่านไม่ได้สั่งห้ามถ่ายรูป  ผมก็เลยถ่ายรูปมาให้ชมครับ

.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ที่พระอุโบสถ

องค์พระประธาน







น่าจะเป็นพระบรมสารีริกธาตุฯ หรือ พระธาตุครับ



เสมาหน้าพระอุโบสถครับ



ประตูทางเข้าพระอุโบสถครับ



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ที่วิหารอีกด้าน(ของพระอุโบสถ)ครับ.















ด้านหน้า  ทางไปริมแม่น้ำ  ผมไม่ได้เดินไป  เพราะกลัวว่าฝนจะตกลงมา เห็นว่าครึ้มมากเหมือนกันครับ





วิหาร พระศิลาขาว




พระอุโบสถ







วิหารแรกที่ผมเข้าไปครับ






ตั้งใจนำมาฝากกันครับ

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
-http://www.bangsrimuang.go.th/location-detail.php?id=16-

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร                                                                                                 
ตำบลบางศรีเมือง  อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

เจ้าอาวาส
พระอารามหลวง พระธรรมกิตติมุนี(ฐานมงฺคโล  สาย ศรีมงคล)                                                           
ภูมิลำเนา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก                                                                   
วันเกิด 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 (ปีระกา)                                                                 
อุปสมบท 19 เมษายน พ.ศ. 2497                                                                                 
วิทยฐานะ ป.ธ.7,น.ธ.เอก ป.,ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์                                                           
ตำแหน่ง  เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 25828  เจ้าอาวาสพระอารามหลวง พ.ศ. 2528                           
 โทรศัพท์ 0-2881-6323,02-447-4493,08-1721-6999,02-446-3355   โทรสาร 02-447-4849

สภาพฐานะและที่ตั้งวัด                                                                                     
         วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่  3  ถนนท่าน้ำนนท์ –วัดโบสถ์ดอนพรหม ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย นนทบุรี   มีที่ดินทั้งหมด  24  ไร่ 3 งาน 22 ตารางวา  โฉนดที่ดินเลขที่ 156460 ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2390 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2390  อาณาเขตของวัดแบ่งออกเป็น 3 เขตคือ เขตพุทธาวาส  เขตสังฆาวาส    และเขตนอกกำแพงใหญ่
 
อาณาเขต                                                                                                                                                       
 ทิศเหนือ จดเขตคูวัดและที่ธรณีสงฆ์                                                                                                                           
 ทิศใต้ จดเขตคูวัดและที่ธรณีสงฆ์                                                                                                                 
 ทิศตะวันออก จดแม่น้ำเจ้าพระยา                                                                                                               
 ทิศตะวันตก จดเขตคูวัดและที่ธรณีสงฆ์

ประวัติความเป็นมา                                                                                                                                                 
        มูลเหตุแห่งการสร้างวัดเริ่มเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นั้น พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิมแห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง  เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่  พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระบรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดเฉลิมพระเกียรติ  เมื่อปี พ.ศ. 2390 วัดเฉลิมพระเกียรติเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเป็นวัดสุดท้ายในรัชกาลก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2394 การสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติน่าจะยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์ เพราะเมื่อพระองค์ใกล้จะเสด็จสรรรคต พระองค์ก็ยังตรัสถึงวัดต่างๆ ที่ยังสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ค้างไว้ว่า " ...ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็ดี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ 40,000 ชั่ง ขอสัก 1,000 ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขาขอเงินรายนี้ให้ช่วยทนุบำรุงวัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้น เสียให้แล้วด้วย..." เมื่อเป็นเช่นนี้ วัดเฉลิมพระเกียรติที่ยังสร้างค้างอยู่น่าจะเป็นวัดหนึ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยด้วย ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว พระองค์ก็ทรงรับเป็นพระราชภาระในการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติจนเสร็จเรียบร้อย โดยโปรดให้พระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) เป็นแม่กองการบูรณะจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2401   วัดเฉลิมพระเกียรติได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนา ในปี พ.ศ.2531 เป็นวัดอุทยานการศึกษากรมการศาสนา ปี พ.ศ.2538
                                           

 ทรัพย์สิน                                                                                                                                                   
         พระอุโบสถ กว้าง 26 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมไทยผสมจีน พื้นพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อน พระวิหาร กว้าง 15 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมไทยผสมจีน ภายในวิหารประดิษฐานพระศิลาขาว ศาลาการเปรียญ กว้าง 16 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3  เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมไทยผสมจีน พระไตรปิฎกภาษาไทย จำนวน 45 เล่ม ธรรมาสน์ลายทอง 1 องค์  ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาลาแดงเหนือแอละศาลาแดงใต้ จำนวน 2 หลัง สร้างด้วยไม้ทรงไทย กว้าง 8 เมตร ยาว 16.50 เมตร
         ปูชนียวัตถุ   1.พุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดง ขนาดหน้าตักกว้าง 6  ศอก สูง 8 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว พระนาม พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา ตามตำนานกล่าวว่า  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดแร่ทองแดง ที่อำเภอจันทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ทองแดงจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงเกื้อกูลพระศาสนา จึงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานประจำพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติและวัดราชนัดดาราม จำนวน 2 องค์ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวน 34 องค์  2.พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สูง 33 นิ้ว นามว่า พระศิลาขาว   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระวิหารเมื่อปี พ.ศ.2401 พร้อมพระอัครสาวก 2 องค์ สูง 13 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปศิลา 3.พระปฏิมาชัยวัฒน์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวงทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ 4.พระเจดีย์ขาว เป็นเจดย์ทรงลังกา มีฐานแปดเหลี่ยมสองชั้น ความสูงขนาด 45 เมตร ประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ภายใน

http://www.bangsrimuang.go.th/location-detail.php?id=16

.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
องค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
          หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 6 ศอก สูงจรดพระเศียร 8 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว พระประทานองค์นี้มีตำนานเล่าว่า เมื่อรัชกาลที่ 3 โปรดให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึกในแขวงนครราชสีมาได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงลงมามาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแต่พระศาสนาก่อน จึงโปรด ให้หล่อพระพุทธรูป ซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดา กับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดฯ
          เมื่อ พ.ศ. 2389 เฉพาะที่อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดราชนัดดานั้นเวลาชักเคลื่อนองค์พระไปวัดเกิดอาเพศตะเฆ่ที่ประดิษฐานพระได้ทับเอาเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับทนายอีก 2 คน ตาย
          พระประธานที่วัดเฉลิมพระเกียรตินี้ถึงรัชกาลที่ 4 ถวายพระนามว่า "พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา"
 

พระอุโบสถ
          พระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ มีความกว้าง 26 เมตร ความยาว 40 เมตร ตั้งอยู่ระหว่างศาลาการเปรียญและพระวิหารหลวง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ (รวมทั้งเจดีย์ทางด้านทิศตะวันตกด้วย) ด้านเหนือและด้านใต้ยาวด้านละ 100 เมตร ด้านตะวันออกและตะวันตกยาวด้านละ 45 เมตรด้านละ 100 เมตร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาคลังขึ้นไปเป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง กำหนดฤกษ์ก่อสร้างพระอุโบสถในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 11 ตรงกับวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2390 ปีมะแม เวลา 1 โมงเช้ากับ 4 บาท
          อุโบสถหลังนี้มีความสวยงามมากสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยปนจีน กล่าวคือ หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบจีน หน้าบันทั้งทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสดจากประเทศจีน ปั้นและประดับตกแต่งสีให้เป็นรูปใบและดอกพุดตาน (ดอกเบญจมาศ) โตโต เห็นได้ชัดเจนสวยงามมาก ส่วนกระจังฐานพระ ช่อฟ้า ลำยอง ใบระกาและหัวนาค ปั้นทำเป็นหินอ่อน พื้นรอบนอกปูด้วยกระเบื้องหน้าวัวดินเผา ผนังภายในพระอุโบสถเขียนตกแต่งรายสีชนิดดอกไม้ร่วง บานหน้าต่างและบานประตูเขียนลายทองลดน้ำซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างประดับลายปูนปั้นยกดอก เป็นดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก ส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำฐานพระอุโบสถเป็นฐานสิงห์ก่ออิฐถือปูน บันไดและขั้นบันไดปูด้วยศิลาทรายสีเขียว ชั้นทักษิณ  พระอุโบสถทำเป็นฐานปัทม์ก่ออิฐถือปูน ปูกระเบื้องซีเม็นต์ บันไดตรงพนักเชื่องกับเสาทำเป็นเสาประทีปแปดเหลี่ยมแทนเสาเม็ดมุมฐานทักษิณ และช่องกลางฐานทักษิณ ทำเป็นย่อเก็จก่อเป็นเรือนซุ้มเสมากับพนักทักษิณ บันไดชั้นทักษิณทำชั้นด้วยศิลาเขียวกับบันไดขึ้นอุโบสถ



พระวิหารหลวง
 พระวิหารหลวงวัดเฉลิมพระเกียรติ มักเรียกกันว่าวิหารพระศิลาขาว อยู่ทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ มีกำแพงแก้วล้อมรอบต่อจากพระอุโบสถอีกชั้นหนึ่ง พระวิหารหลังนี้มีความกว้าง 14 เมตร ยาว 24 เมตร รวมเนื้อที่ทั้งหมด 360 ตารางเมตร วิหารพระศิลาขาวสร้างด้วยอิฐถือปูนเป็นสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระอุโบสถ



พระเจดีย์
           พระเจดีย์วัดเฉลิมพระเกียรติเป็นแบบพระเจดีย์แบบลังกาองค์เจดีย์เป็นรูปทรงกลมมีฐานแปดเหลี่ยมสองชั้น ฐานกว้างทั้งหมด 30 เมตรสูงจากพื้นถึงยอดประมาณ 45 เมตร พระเจดีย์นี้อยู่ทางด้านหลัง (ทิศตะวันตก) ในเขตแนวกำแพงแก้วเดียวกันกับพระอุโบสถตามหลักฐานที่ปรากฎเข้าใจว่าพระเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฎในพระราชพงศวดาร รัชกาลที่ 4 ว่า "ครั้นสิ้นแผ่นดิน วัดนั้นยังค้าง อยู่บ้างเล็กน้อย จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี จ้างช่างไปเขียนผนัง พระอุโบถ วิหารการเปรียญและเขียนเพดานประตูหน้าต่าง เขียนเป็นลายรถน้ำมีปราสาทตราแผ่นดินและเขียนเป็นดวงจันทร์เต็มบริบูรณ์ คือ พระชนกชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาไลน์ท่านทรง พระนามว่า เพ็งองค์ 1 จันทร์องค์1 เบื้องต่ำเขียนเป็นเครื่องยศหญิงบาน 1ชายบาน 1 ตือ ท่านผู้ได้เป็นผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรี แล้วให้แก้ไขพระเจดีย์เสียใหม่ให้ต้องตามแบบอย่างกรุงเก่า แล้วถวยพระนามประทานว่า พระพุทธไตรรัตนโลกภินันทปฎิมาหรือพระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา"






          รอบวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร มีป้อมปราการเป็นทำนองเดียวกันกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง แต่เดิมมีป้อมไม้ชื่อ "ป้อมทับทิม" มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นสถานที่พักกองทัพ และประกอบพิธีกรรมในการยกทัพไปตีทางเหนือหลายคราว ในสมัยรัชกาลที่ 4 และการยกทัพไปปราบฮ่อในสมัยรัชกาลที่ 5 จากความสำคัญของป้อมปราการดังกล่าว เทศบาลเมืองบางศรีเมือง จึงนำมาเป็นตราสัญลักษณ์ของเทศบาล


-http://www.bangsrimuang.go.th/location-detail.php?id=16-

.
 
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
 วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
    พระอารามที่สำคัญยิ่งในสมัยรัชกาลที่ ๓
        สายสุนีย์ สิงหทัศน์...เรื่อง   อิทธิพล พุฒิโภคิน...ภาพ

-http://www.osotho.com/th/content/indexdetail.php?ContentID=1206&myGroupID=7-

      ณ ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี เป็นที่ตั้งของวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่มีลักษณะผิดแผกแตกต่างจากวัดอื่น ๆ ด้วยมีป้อมปราการและกำแพงแก้วก่ออิฐถือปืน มีใบเสมาทำนองเดียวกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง และบริเวณหน้าวัดแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเคยทรงนำเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเคนต์ พระราชอาคันตุกะที่เสด็จมาเยือนไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงลอยพระประทีปเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๔ และในวโรกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงบริจาคเงินเป็นจำนวน ๘๔,๗๖๗ บาท เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสกับท่านเจ้าอาวาสตอนหนึ่งว่า “ได้เคยผ่านมาหน้าวัดนี้ เห็นวัดร่มรื่นดี วันนี้ตั้งใจมาเยี่ยม นำแขกต่างประเทศมาด้วย วัดนี้เป็นวัดประวัติศาสตร์ สวยงามมาก ควรจะบูรณะให้รักษาแบบของเดิมไว้”

              วัดที่กล่าวถึงนี้คือ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ และทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า บริเวณป้อมเก่าริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมืองนนทบุรีแห่งนี้ เป็นนิวาสสถานเดิมแห่งพระอัยกา เจ้าเมืองนนทบุรี และพระอัยกี นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระราชชนนีพันปีหลวงด้วย ทั้งนี้ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์พระอุโบสถด้วยพระองค์เอง แต่การก่อสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จก็ทรงประชวรเสียก่อน จึงทรงมอบพระราชภารกิจในราชการแผ่นดินไว้กับพระศรีสุริยวงศ์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องวัดต่าง ๆ ไว้ว่า
     
              “ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็มี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทนุบำรุงเงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดินมีอยู่ ๔๐,๐๐๐ ชั่ง ขอสัก ๑๐,๐๐๐ ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้ว ให้ช่วยบอกแก่เขา ขอเงินรายนี้ให้ช่วยทนุบำรุงวัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้นเสียให้แล้วด้วย”
     
              เมื่อรัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติตามทุกประการ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงรับเป็นพระราชภาระในการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติฯ และวัดอื่น ๆ ที่ค้างอยู่จนสำเร็จ ต่อมาวัดนี้ยังได้รับการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖

              ด้วยเหตุที่วัดเฉลิมพระเกียรติฯ มีป้อมปราการทำนองเดียวกันกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง จึงถูกใช้เป็นสถานที่พักกองทัพและประกอบพิธีกรรมในการยกทัพไปภาคเหนือหลายครั้ง เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อกรมหลวงวงศาธิราชยกทัพไปตีเมืองเชียงตุง ได้มาพักพลรอรับการเสด็จพระราชดำเนินมาส่งของรัชกาลที่ ๔ ก่อน จึงยกทัพออกจากวัดเฉลิมพระเกียรติฯ และในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเจ้าพระยาภูธราภัยยกทัพไปปราบฮ่อ ก็เคลื่อนขบวนจากกรุงเทพฯ มาพักพลที่วัดแห่งนี้เช่นเดียวกัน
     
              สิ่งสำคัญภายในวัดเฉลิมพระเกียรติฯ ที่น่าชมมีอยู่หลายอย่าง เช่น พระอุโบสถ ซึ่งเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ตามสมัยนิยมในรัชกาลที่ ๓ หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ประดิษฐานพระประธานหล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ ปางมารวิชัย ซึ่งรัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยกเศวตฉัตรถวายเมื่อวันอังคารที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ นอกจากนี้ บานประตู บานหน้าต่างพระอุโบสถยังเขียนลายรดน้ำปิดทอง ตราพระราชลัญจกรของรัชกาลที่ ๓ และรูปกระต่ายภายในวงพระจันทร์เต็มดวง ด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์ทรงลังกาสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานไว้ภายใน

              นอกจากพระประธานในพระอุโบสถซึ่งมีความสำคัญมากและรัชกาลที่ ๓ ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราพระราชทานผ้าพระกฐินแล้ว ยังมีพระวิหารลักษณะสถาปัตยกรรมไทยผสมจีน อันเป็นสถานที่ประดิษฐานพระศิลาขาวที่รัชกาลที่ ๔ ทรงนำมาประดิษฐานไว้ และการเปรียญหลวง ลักษณะผสมระหว่างอาคารทรงไทยกับเครื่องบนหลังคาแบบจีน เป็นตึกทรงโรง มีเสาอยู่ข้างใน เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ พระชัยประจำรัชกาลที่ ๓ สำหรับทรงใช้ประกอบพิธีกรรมก่อนการศึกสงครามหลายครั้ง ภายในการเปรียญหลวงมีภาพจิตรกรรมก่อนการศึกสงครามหลายครั้ง ภายในการเปรียญหลวงมีภาพจิตรกรรมฝาผนังและโดยรอบเสาเป็นลายใบไม้ร่วง เช่นเดียวกันกับภายในพระวิหาร วัดนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ
     
              วัดเฉลิมพระเกียรติฯ นอกจากจะมีความสำคัญยิ่งดังกล่าวแล้ว ยังมีความงดงามด้วยลักษณะทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรมอันทรงคุณค่าน่าศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน้าบันพระอุโบสถ พระวิหาร และการเปรียญหลวงนั้น ได้รับการกล่าวขานกันว่างดงามที่สุดในบรรดาวัดที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓


    ข้อมูลการเขียน
    ๑. กรมศิลปากร. ประวัติวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๑.
    ๒. สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม ๔. มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดพิมพ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒.

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)