ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมวิภาค หมวดธรรมในนวโกวาท  (อ่าน 1622 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ธรรมวิภาค หมวดธรรมในนวโกวาท
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2012, 06:09:19 pm »


             

ธรรมวิภาค หมวดธรรมในนวโกวาท
ทุกะ คือ หมวด ๒


ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง
๑. สติ ความระลึกได้
๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

ธรรมเป็นโลกบาล คือ คุ้มครองโลก ๒ อย่าง
๑. หิริ ความละอายแก่ใจ
๒. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว

ธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่าง
๑. ขันติ ความอดทน
๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยม

บุคคลหาได้ยาก ๒ อย่าง
๑. บุพพการีบุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
๒. กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน

ติกะ คือ หมวด ๓
รัตนะ ๓ อย่าง
พระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์

๑. ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ที่ท่านเรียกว่า พุทธศาสนา ชื่อพระพุทธเจ้า
๒. พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของท่าน ชื่อ พระธรรม
๓. หมู่ชนที่ฟังคำสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ชื่อ พระสงฆ์

คุณของรัตนะ ๓ อย่าง
พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย

อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
๑. ทรงสั่งสอนเพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์ โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ

โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง
๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่ว ด้วยกาย วาจา ใจ
๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ
๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเรื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

ทุจริต ๓ อย่าง
๑. ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต
๒. ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต
๓. ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียกว่า มโนทุจริต

กายทุจริต ๓ อย่าง
ฆ่าสัตว์ ๑ ลักฉ้อ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑
วจีทุจริต ๔ อย่าง
พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑
มโนทุจริต ๓ อย่าง
โลภอยากได้ของเขา ๑ พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นผิดจากครองธรรม ๑
ทุจริต ๓ อย่างนี้เป็นกิจไม่ควรทำ ควรจะละเสีย

สุจริต ๓ อย่าง
๑. ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกว่ากายสุจริต
๒. ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกวจีสุจริต
๓. ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกมโนสุจริต

กายสุจริต ๓ อย่าง
เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑ เว้นจากลักฉ้อ ๑ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑

วจีสุจริต ๔ อย่าง
เว้นจากพูดเท็จ ๑ เว้นจากพูดส่อเสียด ๑ เว้นจากพูดคำหยาบ ๑ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ๑

มโนสุจริต ๓ อย่าง
ไม่โลภอยากได้ของเขา ๑ ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นชอบตามคลองธรรม ๑
สุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจควรทำ ควรประพฤติ

อกุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของอกุศล เรียกอกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ
โลภะ อยากได้ ๑ โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๑ โมหะ หลงไม่รู้จริง ๑
เมื่ออกุศลมูลเหล่านี้ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรละเสีย

กุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของกุศล เรียกกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ
อโลภะ ไม่อยากได้ ๑ อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา ๑ อโมหะ ไม่หลง ๑
เมื่อกุศลมูลเหล่านี้ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรให้เกิดมีในสันดาน

สัปปุริสบัญญัติ คือข้อที่สัตบุรุษตั้งไว้ ๓ อย่าง
๑. ทาน สละสิ่งของๆ ตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒. ปัพพัชชา ถือบวช เป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข

อปัณณกปฏิปทา คือปฏิบัติใม่ผิด ๓ อย่าง
๑. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดียินร้ายเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
๒. โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอควร ไม่มากไม่น้อย
๓. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก

บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ ย่าง
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

สามัญลักษณะ ๓ อย่าง
ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง เรียกสามัญลักษณะ ไตรลักษณะก็เรียก แจกเป็น ๓ อย่าง
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน

จตุกกะ คือ หมวด ๔
วุฑฒิ คือธรรมเป็นเครื่องเจริญ ๔ อย่าง
๑. สัปปุริสสังเสวะ คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ ที่เรียกว่าสัตบุรุษ
๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังคำสอนของท่านโดยเคารพ
๓. โยนิโสมนสิการ ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว

จักร ๔
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร
๒. สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ
๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน
ธรรม ๔ อย่างนี้ ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ

อคติ ๔
๑. ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียก ฉันทาคติ
๒. ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียก โทสาคติ
๓. ลำเอียงเพราะเขลา เรียก โมหาคติ
๔. ลำเอียงเพราะกลัว เรียก ภยาคติ
อคติ ๔ ประการนี้ ไม่ควรประพฤติ

ปธาน คือความเพียร ๔ อย่าง
๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม
ความเพียร ๔ อย่างนี้ เป็นความเพียรชอบควรประกอบให้มีในตน

อธิษฐานธรรม คือธรรมที่ความตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง
๑. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
๒. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
๔. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ

อิทธิบาท คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง
๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่วางธุระ
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
คุณ ๔ อย่างนี้ มีบริบูรณ์แล้ว อาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์ซึ่งไม่เหลือวิสัย

ควรทำความไม่ประมาทในที่ ๔ สถาน
๑. ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต
๒. ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต
๓. ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต
๔. ในการละความเห็นผิด ทำความเห็นให้ถูก

อีกอย่างหนึ่ง
๑. ระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
๒. ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
๓. ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
๔. ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

ปาริสุทธิศึล ๔
๑. ปาติโมกขสังวร สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำข้อที่พระองค์อนุญาต
๒. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
๓. อาชีวปาริสุทธิ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต
๔. ปัจจยปัจจเวกขณะ พิจารณาเสียก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา

อารักขกัมมัฏฐาน
๑. พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ที่มีในพระองค์และทรงเกื้อกูลแก้ผู้อื่น
๒. เมตตา แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
๓. อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม
๔. มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน

กัมมัฏฐาน ๔ อย่างนี้ ควรเจริญเป็นนิตย์
๑. เมตตาความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข
๒. กรุณาความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
๓. มุทิตาความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี
๔. อุเบกขาความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ
    ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ เป็นต้น

และหมวดอื่น ๆ ในนวโกวาทฉบับประชาชน และ คลังปริยัติ
ไปจนถึงธรรมสำหรับฆราวาส (คิหิปฏิบัติ)
อย่าง
กรรมกิเลส คือ กรรมเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง
๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท พูดเท็จ
กรรม ๔ อย่างนี้ นักปราชญ์ไม่สรรเสริญเลย

อบายมุข คือ เหตุเครื่องฉิบหาย ๔ อย่าง
๑. ความเป็นนักเลงหญิง
๒. ความเป็นนักเลงสุรา
๓. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน
๔. ความคบคนชั่วเป็นมิตร
โทษ ๔ ประการนี้ไม่ควรประกอบ

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง
๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่นในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี
๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตัว ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี
๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดีไม่คบคนชั่ว
๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟูมฟายนัก

สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ภายหน้า ๔ อย่าง
๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ เช่นเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วเป็นต้น
๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือรักษากายวาจาเรียบร้อยดี ไม่มีโทษ
๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น
๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา รูจัก บาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น


-http://www.oknation.net/blog/sawnoyzi/2012/06/27/entry-1