ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วยการยึดถือ,ความเชื่อ,การพินิจด้วยปัญญาเพื่อละสีลัพพตปรามาส  (อ่าน 1171 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ว่าด้วยการยึดถือ,ความเชื่อ,
การพินิจด้วยปัญญาเพื่อละสีลัพพตปรามาส


------------------ ------------------ ------------------

ว่าด้วยการยึดถือลางวัตถุ
ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว
ผู้นั้นชื่อว่าล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว
ครอบงํากิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในภพ อันประดุจคูกั้นเสียได้ ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก
(ขุทฺทกนิกาย ชาตก ๒๗/๘๗/๒๘)

ว่าด้วยการทึกทักเชื่อพิธีกรรม
ถ้าแม้นบุคคลจะพ้นจากบาปกรรมได้ เพราะการอาบนํ้า(ชําระบาป)
กบ เต่า นาค จรเข้ และสัตว์เหล่าอื่นที่เที่ยวไปในแม่นํ้า ก็จะพากันไปสู่สวรรค์แน่นอน...
(และกล่าวในมุมมองอีกมุมหนึ่งว่า)ถ้าแม่นํ้าเหล่านี้พึงนําบาป
ที่ท่านทําไว้แล้วในกาลก่อนไปได้ไซร้ แม่นํ้าเหล่านี้ก็พึงนําบุญของท่านไปได้ด้วย
(ขุทฺทกนิกาย เถรีคาถา ๒๖/๔๖๖/๔๗๓)
เป็นคำกล่าวของพระปุณณิกาเถรี

ว่าด้วยการนับฤกษ์งามยามดี
ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลา ผู้คอยนับฤกษ์อยู่
ประโยชน์เป็นตัวฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทําอะไรได้
(ขุทฺทกนิกาย ชาตก ๒๗/๔๙/๑๖)

ว่าด้วยการพินิจด้วยปัญญาเพื่อละสีลัพพตปรามาส
บุคคลประพฤติชอบเวลาใด เวลานั้นได้ชื่อว่า เป็นฤกษ์ดี เป็นมงคลดี
เป็นเช้าดี อรุณดี เป็นขณะดี ยามดี และ(นับได้ว่า)เป็นอันได้ทําบูชาดีแล้ว
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย
แม้กายกรรมของเขา(นั้น)ก็เป็นสิทธิโชค วจีกรรมก็เป็นสิทธิโชค มโนกรรมก็เป็นสิทธิโชค
ประณิธานของเขาก็(ย่อมต้อง)เป็นสิทธิโชค
ครั้นกระทํากรรม(การกระทําใดๆ)ทั้งหลายที่เป็นสิทธิโชคแล้ว
เขาย่อมได้ประสบแต่ผลที่มุ่งหมายอันเป็นสิทธิโชค
(สุปุพพัณหสูตร, องฺคุตฺตรนิกาย ติกนิปาต ๒๐/๕๙๕/๓๗๙)

------------------ ------------------ ------------------



พุทธปรัชญาที่ผมหยิบยกมาบางส่วนนี้ แสดงถึงความเชื่อต่างๆล้วนเป็นอวิชชา
เหล่านี้มีมานานนับพันปีจนปัจจุบันก็ไม่ได้แตกต่าง มนุษย์ทั่วโลกเชื่อถือ ยึดมั่นในสิ่งเหล่านี้
ประเทศไทยมีพฤติกรรมประเภทนี้มากมาย….

•   การขูดต้นไม้ทายเลข ขอหวย
•   กราบไหว้วัตถุที่ตนไม่รู้จัก แม้ภายหลังนักวิทยาศาตร์จะบอกว่าเป็นแค่ก้อนอิฐก้อนดินเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ชาวบ้านก็ไม่ยอมละออกจากความเชื่อเดิม
•   การกราบไหว้บูชาดาวตกหรือหินที่มาจากนอกโลก
•   การยึดมั่นจนวิตกกังวลกับฝันและฤกษ์ยามที่ถูกทักมาจนไม่เป็นทำกิจอะไร
•   การยึดมั่นใน หมอดู หมอทรง ไสยศาสตร์ เครื่องราง ฯลฯ
•   การเชื่อว่า ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ที่นั่นที่นี่ จะเจริญ ร่ำรวย โชคดี อย่างไร้แก่นสารรับรอง

ผมเคยลองดูหมอ และได้รับการทำนานทายทักว่าชีวิตผมนั้นอยู่ในช่วงขาลง (ที่เขาทักถูกเพราะเขาทักตามสภาวะความลำบากที่ผมเล่าให้เขาฟังนั้นเอง) เขาบอกวิธีแก้ดวงว่าให้นำน้ำล้างเท้าของผู้มีพระคุณมาอาบน้ำชำระกายเสียแล้วจะเจริญ ....

สิ่งที่ผมรู้แก่ใจคือ สรรพสิ่งล้วนมีวัฏจักรของมันอันหลีกเลี่ยงบังคับไม่ได้ พุทธปรัชญาว่า อนิจจตา ทุกขา อนัตตตา ปรัชญาจีนว่า สูงสุดสู่สามัญ ปรัชญาตะวันตกว่าทำนองคล้ายๆกัน --- ความรู้นี้ทำให้ผมไม่วิตกกังวลกับทำนายและเคล็ด ไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ไร้เหตุไร้ผล ผมจึงไม่ได้ทำอย่างที่หมอดูสั่ง แต่ผมก็ดูแลผู้มีพระคุณไปตามกำลัง ไม่นานวัฏจักรชีวิตก็กลับมาดี

ถามว่าคนบางคนทำไมเป็นไปตามหมอดูว่า หรือเพราะหมอดูนั้นแม่น ผมแจงว่าเพราะกำลังจิตที่อ่อนแอของผู้ถูกดู กรรมและวิบากจึงซัดพาไปได้ง่าย บอกว่าจะซวยจิตก็หลงว่าซวยสติสัมปัญชัญญะก็เสือมบกพร่อง เกิดเป็นความหลง ก็เกิดเรื่อยซวยๆไปตามจิตที่ชอบนั้น พอถูกทักบอกว่าจะดี จะรุ่งเรือง จิตก็เบิกบานอาจหาญ สติก็เบิกบานสว่างไสว กระทำการไปตามความเชื่อนั้น ผลก็ออกมาดีไปตามจิตที่ชอบนั้น เหตุการณ์นี้เป็นธรรมชาติ เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ไสยศาสตร์

พระตถาคตกล่าวอุปมาเทียบเคียงกับเรื่อง ชายตาบอดที่ต้องการเป็นเจ้าของผ้าขาว วันหนึ่งมีคนเอาผ้าสกปรกมาหลอกขาย ชายตาบอดซื้อไว้และเชื่อมาตลอดว่านั่นคือผ้าขาว จนกระทั่งเมื่อชายตาบอดรักษาตาจนหายแล้ว ลืมตามาเห็นเป็นผ้าสกปรกก็โกรธแค้นคนที่มาหลอกขายตน และตนก็หลงเชื่อว่าผ้าสกปรกคือผ้าขาวมาโดยตลอด

เหตุการณ์นี้ก็ไม่ต่างจากคนที่งมงายใน อวิชชา ไสยศาสตร์ และ พิธีกรรม ต่างๆที่คนปั้นแต่งขึ้นเพื่อดึงดูดลาภสักการบูชามาสู่ตนหรือสำนักตน ความยึดมั่นเชื่อถือของประชาชนชนิดนี้ย่อมเป็นความเชื่อแบบเห็นผิด แบบหลง แบบมองไม่เห็นจริง นี่แหละคือสีลัพพตปรามาส

ครั้งสุดท้ายที่เพื่อนพาผมไปดูหมอกับอาจารย์ที่เพื่อนนั้นเลื่อมใสเคารพรักอย่างขัดเสียไม่ได้ หมอดูกลับปฏิเสธที่จะดูให้แก่ผม พินิจจากแววตาของหมอดูแล้ว สันนิฐานได้ว่าหมอดูที่มากประสบการณ์จะมีความเป็นนักจิตวิทยาสูง นิยมพิเคราะห์สภาพจิตใจของผู้มาขอดูได้ เมื่อผู้มาดูมีสภาพจิตใจที่ตกต่ำเป็นทุกข์ สภาวะกายใจเป็นรองกว่า การดูหมอย่อมมีความศักดิ์สิทธิ์น่าเชื่อถือ พูดสั่งอะไรก็เชื่อหมด แต่เมื่อผู้มาขอดูนั้นเป็นผู้ครององค์มรรค๘บริบูรณ์ จิตใจองอาจเหนือหมอดูที่ค่อนจะมาดูให้ รังแต่จะทำลายความน่าศรัทธาของหมอดูนั้นเสื่อมสิ้นไป

อิทธิพลของนักทำนายทายทักก็พ่ายต่อสัมมาทิฏฐิแห่ง ความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน
และสีลัพพตปรามาสก็ถูกทำลายสิ้นด้วยประการฉะนี้..

               
-http://www.jobbkk.com/th/relax/webboard/viewtopic.php?id=5528