ผู้เขียน หัวข้อ: นกศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีศพดึกดำบรรพ์  (อ่าน 1155 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
นกศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีศพดึกดำบรรพ์
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351762484&grpid=03&catid=&subcatid=-



นกศักดิ์สิทธิ์ เป็นลายเส้นบนขอบวงกลมหน้ากลองทองสัมฤทธิ์(มโหระทึก) อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว ในวัฒนธรรมดงเซิน พบที่เวียดนาม

คนในอุษาคเนย์ราว 3,000 ปีมาแล้ว นับถือนกชนิดหนึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ดังมีหลักฐานสำคัญเป็นลายเส้นอยู่บนวงกลมหน้ากลองทองสัมฤทธิ์(มโหระทึก) พบในวัฒนธรรมดงเซิน ที่เวียดนาม

นักมานุษยวิทยาโบราณคดีมักอธิบายว่าลายเส้นรูปนกศักดิ์สิทธิ์ คล้ายนกกระเรียน ลำตัวใหญ่ ปากยาว คอยาว ขายาว หากินตามหนองบึงโดยใช้ปากยาวจิกจับสัตว์ในน้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ

แต่เป็นรูปนกกระเรียนจริงหรือเปล่า? ยังถือเป็นยุติไม่ได้

ที่เห็นพ้องต้องกันได้เพราะมีลายเส้นรูปนกเป็นพยานเห็นแก่ตา คือ คนดึกดำบรรพ์ยกย่องนกเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ใช้ในพิธีกรรมสำคัญ เช่น ขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์, ฯลฯ แล้วใช้ในพิธีศพด้วย แต่ใช้เพื่ออะไร? อย่างไร? ยังไม่มีใครศึกษาวิจัยจริงจัง

ผู้ดีไทยสมัยก่อนเมื่อมีงานศพต้องให้มีปี่พาทย์นางหงส์ประโคม

ปี่พาทย์นางหงส์ เป็นชื่อสมมติเพื่อเรียกวงประโคมงานศพ ตามประเพณีให้หงส์ส่งวิญญาณขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เพราะหงส์เป็นสัตว์มีปีก บินสู่สวรรค์ได้ แล้วเรียกเป็นนางตามประเพณียกย่องเพศหญิงเป็นใหญ่ในพิธีกรรม

นางหงส์ เป็นชื่อเรียกจังหวะหน้าทับกลองที่ตีกำกับทำนองเพลงประโคมตอนเผาศพ ต่อมาเลยเรียกปี่พาทย์ที่ใช้ประโคมงานศพว่า ปี่พาทย์นางหงส์

คำว่า "นางหงส์" หมายถึง (นาง)นก(ตัวเมีย) เช่น (อี)แร้ง, (อี)กา, ฯลฯ ตามประเพณีดึกดำบรรพ์ว่า "ปลงด้วยนก" หมายถึงให้แร้งกากินศพแล้วขึ้นฟ้า(สวรรค์) ดังหลักฐานลายเส้นรูปนกบนหน้ากลองทอง(มโหระทึก) ราว 3,000 ปีมาแล้ว

แต่เมื่อเปลี่ยนคติทำพิธีเผาศพตามอินเดียก็ยังรักษาร่องรอยดั้งเดิม คือให้นางนกแร้ง-กา พาขวัญและวิญญาณสู่ฟ้า กลายเป็น"ผีฟ้า" จึงเรียกนางนกแร้ง-กาอย่างยกย่องว่า "นางหงส์"

หงส์ตัวเมียให้หงส์ตัวผู้เกาะหลังเมื่อยืนบนพื้นที่จำกัด เป็นสัญลักษณ์ของเมือง หงสาวดีในพม่า จะเกี่ยวข้องอย่างไรกับชื่อปี่พาทย์นางหงส์ ยังไม่พบร่องรอยเชื่อมโยง จึงยังหาข้อยุติไม่ได้

หากใครอธิบายได้ กรุณาบอกด้วย จะเป็นพระคุณสูงยิ่ง
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)