ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อดี ข้อเสีย ของสมุนไพร  (อ่าน 1688 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ข้อดี ข้อเสีย ของสมุนไพร
« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2012, 11:57:03 am »


     

***ข้อดี ข้อเสีย ของสมุนไพร***
ปัจจุบันประชาชนชาวไทย ได้หันมานิยมใช้สมุนไพรกันมากขึ้น เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณในการรักษาไม่แพ้แผนปัจจุบัน ถึงแม้ว่าพืขสมุนไพรจะมีประโยชน์ แต่อาจมีโทษได้ สรุปว่าสมุนไพรมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้

*ข้อดีของสมุนไพร*
1. สมุนไพรมีผลข้างเคียง และการแพ้ยาน้อยมาก เพราะเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้กินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยาแผนปัจจุบันมีผลข้างเคียง ได้แก่ หน้ามืด คัดจมูก ไอ และที่ร้ายแรงคือ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
2. ความเป็นพิษ ที่เกิดจากสมุนไพร แต่ละชนิดมีน้อยมาก บางชนิดไม่มีเลย จากรายงานผลการทดสอบความเป็นพิษของสมุนไพร แต่ละชนิดที่กล่าวมาแล้ว
3. ไม่เสี่ยงอันตราย ต่อการใช้ยาเกินขนาด เพราะตัวยาในสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาตปริมาณยาเจือจางไม่เข้มข้น
4. สมุนไพรชิดเดียวกัน สามารถรักษาโรคได้หลายอย่าง ทำให้ไม่ต้องใช้ตัวยาหลายชนิด เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันสูง ระดับไขมันในเลือดสูง การใช้สมุนไพรขนานเดียวกันก็สามมารถรักษาโรคครอบคลุมทั้ง 3 โรคได้ เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม โสน เห็ดหลินจือ เป็นต้น

5. สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง บางชนิดได้รับความสนใจ จากอุสาหกรรมยานำมาผลิตเป็นยาแผนปัจจุบันแล้ว เช่น ระย่อม แป๊ะก๊วย เห็ดหลินจือ น้ำองุ่น เป็นต้น
6. ช่วยลดความฟุ่มเฟื่อย ในการใช้ยาต่างประเทศที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคาแพง เพราะ สมุนไพรหาง่าย ให้รสอร่อย เช่น น้ำลูกยอ น้ำทับทิบ น้ำองุ่น เป็นต้น
7. สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยสมุนไพรใช้เป็นยา เป็นกลวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ของประเทศได้ ในแผนพัฒนาการสาธารณสุขตามแผนพัศนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบัยที่ 6 กระทรวงได้กำหนดแผนการพัฒนาสมุนไพร ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐานและแผนงานยา และชีววัตถุ มีงานวิจัยและพัฒนาสมุนไพร และโครงการพัฒนาสมุนไพร เพื่อใช้เป็นยาในอุสาหกรรมผลิตยา และเศรษฐกิจโดยรวมของชาติต่อไป
8. ตอบสนองนโยบาย ของผู้บริหารกทม.(พศ.2548 ) ในการกำหนดนโยบายของสำนักอนามัยให้บริการแพทย์ทางเลือกแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข และสนับสนุนนโยบายของรัฐ ที่กำหนดให้มีการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพร ให้เป็นประโยชน์แพร่หลายตามความต้องการของท้องถิ่น

*ข้อเสียของสมุนไพร*
1. ปัจจุบันข้อมูลการวิจัยสมุนไพรในเมืองไทยมีน้อย และไม่ต่อเนื่องเพียงพอ ที่จะต่อยอดไปสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมยาได้
2. การเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านสมุนไพรในรูป หนังสือ หรือสื่ออื่นๆ ยังมีไม่มากพอที่จะทำให้ประชาชนเกิดความนิยม ความเชื่อมั่น ในการใช้สมุนไพร

3. ความไม่สะดวกในการบริโภคยาในสมุนไพรแต่ละชนิด(ในธรรมชาติ) มีตัวยาอยู่น้อยและไม่คงตัว ทำให้ผู้บริโภคต้องบริโภคพืชสมุนไพรจำนวนมาก และนำมาปรุงใหม่ๆสดๆวันต่อวัน ซึ่งไม่สะดวกต่อผู้บริโภค บางชนิดก็หายากเป็นอุปสรรคในการใช้สมุนไพร
4. สมุนไพรบางชนิดต้องเสี่ยงกับความไม่สะอาด ปนเปื้อนจากเชื้อรา เนื่องจากกรรมวิธี ในการเก็บ หรือการผลิตไม่สะอาด และมีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงได้ กรณีไม่ตรวจสอบเฝ้าระวัง วัตถุดิบที่เก็บมาให้ถูกต้อง

5. สมุนไพรบางชนิดยังโตไม่เต็มที่ เกษตรกรรีบเก็บมาขาย ทำให้ตัวยาสมุนไพรมีน้อยไม่เข้ามาตรฐานอาจทำไห้ผลในการรักษาไม่เต็มที่
6. รัฐบาลยังควบคุมมาตรฐานการผลิตสมุนไพรในโรงงานยาต่างๆไม่ทั่วถึง ทำให้ยาสมุนไพรที่วางจำหน่ายไม่ได้มาตรฐาน ขาดประสิทธิภาพในการรักษาโรค
7. ประชาชนยังไม่รู้จักต้นไม้สมุนไพรบางชนิด เพราะหายาก ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ทำให้เสี่ยงต่ออันตรายในการใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี

ณ วันนี้ แพทย์และเภสัชกรแผนปัจจุบันควรตื่นตัว และตระหนักในบทบาทวิชาชีพของตนเอง ควรให้ความสำคัญต่อการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ โดยศึกษาข้อมูลอย่างชาญฉลาด รวมทั้งมีการผสมผสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ (ผลการทดลองวิจัย) เข้ากับตำรายาไทยที่มีมาแต่บรรพบุรุษโดยพิจารณาไปถึง ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย พิษภัยของสมุนไพร เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลของสมุนไพรต่างๆ ซ้ำรอยแพทย์แผนโบราณ ทำให้พบความลับใหม่ๆ ของสมุนไพร อันจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต

ที่มา : สมุนไพรไทย