ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมมนุษย์จึงมีสภาพที่แตกต่างกัน/วิบากกรรมยุติธรรมหรือไม่  (อ่าน 1411 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทำไมมนุษย์จึงมีสภาพที่แตกต่างกัน/วิบากกรรมยุติธรรมหรือไม่

-http://www.dhammakid.com/board/acaaaxeiaeeaaa/oaaa1oeaioaoeaooeaeon1coooaaaaooaaaeaxiaae/?wap2-

http://www.dhammakid.com/board/acaaaxeiaeeaaa/oaaa1oeaioaoeaooeaeon1coooaaaaooaaaeaxiaae/?wap2

Thailoel:
เรื่อง กรรมและวิบาก จากพระไตรปิฏก
http://geocities.com/toursong1/kam/kam.htm

(๑) พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติที่ ๑๐ (๓๙๐) ว่าด้วยบุพจริยาของพระองค์เอง เล่มที่ ๓๒

[๓๙๒] พระผู้มีพระภาคผู้เป็นนายกของโลก แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมากประทับนั่งอยู่ที่พื้นหิน อันเป็นรัมณียสถานโชติช่วงด้วยแก้วต่าง ๆ ในละแวกป่าอันมีกลิ่นหอมต่าง ๆ ใกล้สระอโนดาต ตรัสชี้แจงบุรพกรรมทั้งหลายของพระองค์ ณ ที่นั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังกรรมที่เราทำแล้วของเรา

เรา เห็นภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่งแล้วได้ถวายผ้าเก่า เราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ในกาลนั้น ผลแห่งกรรม คือ การถวายผ้าเก่าย่อมอำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลก่อน

เราเป็นนาย โคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัว จึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ (แม้) เราจะกระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา

ในชาติอื่นในกาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้าย (ตอบ) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส หลายพันปีเป็นอันมาก ด้วยผลกรรมอันเหลือนั้น ในภพหลังสุดนี้ เราจึงได้คำกล่าวตู่เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา เพราะการกล่าวตู่พระเถระ นามว่านันทะ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานานถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว ได้การกล่าวตู่เป็นอันมากด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมานวิกามากับหมู่ชน ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง

เมื่อ ก่อน เราเป็นพราหมณ์ชื่อสุตวา อันชนทั้งหลายสักการะบูชา สอนมนต์ให้กับมาณพประมาณ ๕๐๐ คนในป่าใหญ่ ก็เราได้เห็นฤาษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มากมาในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤาษีผู้ไม่ประทุษร้าย โดยได้บอกกะพวกศิษย์ของเราว่า ฤาษีพวกนี้มักบริโภคกาม แม้เมื่อเราบอก (เท่านั้น) พวกมาณพก็เชื่อฟัง ครั้งนั้น มาณพทั้งปวง เที่ยวไปภิกษาในสกุล ๆ พากันบอกแก่มหาชนว่า ฤาษีพวกนี้ มักบริโภคกาม ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ได้คำกล่าวตู่ทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา

ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์ จับใส่ลงในซอกเขา และบด (ทับ) ด้วยหิน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหิน ก้อนหินกลิ้งลงมากระทบนิ้วแม่เท้าของเราจนห้อเลือด

ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ใส่ไฟเผา (ดัก) ไว้ทั่วหนทาง ด้วยวิบากกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัตจึงชักชวนนายขมังธนู ผู้ฆ่าคนตายมาก เพื่อให้ฆ่าเรา

ใน กาลก่อน เราเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างให้จับมัดพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้อุดมมุนีแม้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยวิบากกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีอันดุร้าย วิ่งแล่นเข้าไปในคอก (ท้อง) เขา (วงกต) เบื้องหน้าผู้ประเสริฐ

ในกาลก่อน เราเป็นนายทหารราบ (เป็นแม่ทัพ) ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ไฟนั้นยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราทั้งสิ้น (อีก) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป

ในกาลก่อน เราเป็นเด็ก (ลูก) ของชาวประมงอยู่ในบ้านเกวัฏฏคาม เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้ว เกิดความโสมนัส ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะ (ปวดศีรษะ) ได้มีแล้วแก่เราในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกเบียดเบียน พระเจ้าวิฏฏุภะฆ่าแล้ว

เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลายในศาสนาของพระ พุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ ว่าท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่ข้าวแดง แต่อย่ากินข้าวสาลีเลย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว อยู่ในเมืองเวรัญชา บริโภคข้าวแดงตลอด ๓ เดือน

ในกาลนั้น เมื่อนักมวยกำลังชกกัน เราได้ห้ามบุตรนักมวยปล้ำ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง) ได้มีแล้วแก่เรา

เมื่อก่อนเราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้เศรษฐีบุตร (ตาย) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา

เรา ชื่อว่าโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหน โพธิญาณท่านได้ยากอย่างยิ่ง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราได้ประพฤติกรรมที่ทำได้ยากมาก (ทุกกรกิริยา) ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้นจึงได้บรรลุโพธิญาณ แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ เราอันบุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด

(บัดนี้ ) เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน พระชินเจ้าทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว ทรงพยากรณ์โดยทรงหวังประโยชน์แก่ภิกษุสงฆ์ที่สระใหญ่อโนดาต ด้วยประการฉะนี้แล. ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธาปทานชื่อ ปุพพกรรมปิโลติ อันเป็นบุพจารีตของพระองค์ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบพุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๗๘๔๙ - ๗๙๒๔. หน้าที่ ๓๖๑ - ๓๖๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=392
--------------------------------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/009.htm

อนึ่งมนุษย์ที่มีสภาพแตกต่างกันนั้น มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย แสดงไว้ว่า

ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุสั้น

ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้ อายุยืน

เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคมาก

ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคน้อย

มักโกรธ มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ ผิวพรรณทราม

ไม่โกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณผุดผ่อง

มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพน้อย

มีใจไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานุภาพมาก

ไม่บริจาคทาน เป็นเหตุให้ ยากจน อนาถา

บริจาคทาน เป็นเหตุให้ มีโภคสมบัติมาก

กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลต่ำ

ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในสกุลสูง

ไม่อยากรู้ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญาน้อย

อยากรู้ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญามาก


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทำไมมนุษย์จึงมีสภาพที่แตกต่างกัน/วิบากกรรมยุติธรรมหรือไม่

-http://www.dhammakid.com/board/acaaaxeiaeeaaa/oaaa1oeaioaoeaooeaeon1coooaaaaooaaaeaxiaae/?wap2-

http://www.dhammakid.com/board/acaaaxeiaeeaaa/oaaa1oeaioaoeaooeaeon1coooaaaaooaaaeaxiaae/?wap2


Thailoel:
จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

http://abhidhamonline.org/aphi/p5/072.htm

ผลที่อกุสลกรรมบถ ๑๐ ส่งให้ในปวัตติกาล

ผลในปวัตติกาลของปาณาติบาต มี ๙ ประการ คือ

๑. ทุพพลภาพ ๖. ฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า

๒. รูปไม่งาม ๗. โรคภัยเบียดเบียน

๓. กำลังกายอ่อนแอ ๘. ความพินาศของบริวาร

๔. กำลังกายเฉื่อยชา กำลังปัญญาไม่ว่องไว ๙. อายุสั้น

๕. เป็นคนขลาด

ผลในปวัตติกาลของอทินนาทาน มี ๖ ประการ คือ

๑. ด้อยทรัพย์ ๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา

๒. ยากจน ๕. พินาศในการค้า

๓. อดอยาก ๖. ทรัพย์พินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัยเป็นต้น

ผลในปวัตติกาลของกาเมสุมิจฉาจาร มี ๑๑ ประการ คือ

๑. มีผู้เกลียดชังมาก ๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ

๒. มีผู้ปองร้ายมาก ๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ

๓. ขัดสนทรัพย์ ๙. ร่างกายไม่สมประกอบ

๔. ยากจนอดอยาก ๑๐. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย

๕. เป็นหญิง ๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

๖. เป็นกระเทย

ผลในปวัตติกาลของมุสาวาท มี ๘ ประการ คือ

๑. พูดไม่ชัด ๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ

๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ ๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้น และปลายปาก

๓. ปากเหม็นมาก ๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย

๔. ไอตัวร้อนจัด ๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต

ผลในปวัตติกาลของปิสุณาวาท มี ๔ ประการ คือ

๑. ตำหนิตนเอง ๓. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน

๒. มักจะถูกลือโดยไม่มีความจริง ๔. แตกมิตรสหาย

ผลในปวัตติกาลของ ผรุสวาท มี ๔ ประการ คือ

๑. พินาศในทรัพย์ ๓. มีกายและวาจาหยาบ

๒. ได้ยินเสียง เกิดไม่พอใจ ๔. ตายด้วยอาการงงงวย

ผลในปวัตติกาลของสัมผัปปลาป มี ๔ ประการ คือ

๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล ๓. ไม่มีอำนาจ

๒. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน ๔. จิตไม่เที่ยง คือ วิกลจริต

ผลในปวัตติกาลของอภิชฌา มี ๔ ประการ คือ

๑. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี ๓. มักได้รับคำติเตียน

๒. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ ๔. ขัดสนในลาภสักการะ

ผลในปวัตติกาลของพยาบาท มี ๔ ประการ คือ

๑. มีรูปทราม ๓. อายุสั้น

๒. มีโรคภัยเบียดเบียน ๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย

ผลในปวัตติกาลของมิจฉาทิฏฐิ มี ๔ ประการ คือ

๑. ห่างไกลรัศมีแห่งพระธรรม ๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร

๒. มีปัญญาทราม ๔. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน

ผลในปวัตติกาลของการเสพสุราเมรัย มี ๖ ประการ คือ

๑. ทรัพย์ถูกทำลาย ๔. เสื่อมเกียรติ

๒. เกิดวิวาทบาดหมาง ๕. หมดยางอาย

๓. เป็นบ่อเกิดของโรค ๖. ปัญญาเสื่อมถอย

-----------------------------------------------------------

จากคำสอนของ คณาจารย์แห่ง อภิธรรมมูลนิธิ

http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=11188


http://www.thaimisc.com/freewebboard/ph ... opic=11191

สภาพ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกวันนี้ เริ่มจากอากาศที่วิปริตปรวนแปรไม่เป็นไปตามฤดูกาล สภาพเศรษฐกิจที่ผันผวน อันมีผลให้รายจ่ายต้องทวีขึ้นเรื่อย ๆ ความเป็นอยู่ทางสังคมที่ประชากรมีความหนาแน่นมากมาย ทำให้เกิดการแก่งแย่งเพื่อการเอาตัวรอด สิ่งเหล่านี้ทำให้ชีวิตทุกชีวิตต้องมีแต่ความดิ้นรนตะเกียกตะกายและแสวงหา ไมตรีจิตที่เคยมีต่อกันนับวันจะนัอยลง ทุกเพศทุกวัยล้วนต้องประสบชะตากรรมเหล่านี้ด้วยกันทั้งสิ้น

สภาพ ที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน เด็กเล็ก ๆ ที่เพิ่งจะรู้ความต้องดิ้นรนช่วยเหลือตนเอง ตั้งแต่ ๒-๕ ขวบ ก็ต้องไปโรงเรียน เพื่อหาความรู้ที่จะนำมาแข่งกัน แก่งแย่งในอันที่จะต้องเข้าโรงเรียนดี ๆ บางรายพ่อแม่ต้องทุกข์ร้อนจากการกู้หนี้ยืมสิน เพื่อหาสถานศึกษาให้ลูกได้เรียน แม้วัยที่จบการศึกษาก็ต้องทุกข์ร้อนจากการหางานทำ ซึ่งนับวันจะหายากขึ้น เพราะมีจำนวนคนมากต่างกับอัตรากำลังที่จะรับเข้าทำงาน ความไม่สมหวังจากความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่มีการเล่นพรรคเล่นพวกย่อมสร้าง ความทุกข์โทมนัสให้ สภาพสังคมที่มีผู้ว่างงานมาก ผู้ขาดการศึกษามาก มีการฉกชิงวิ่งราว ปล้น ฆ่า ย่อมสร้างความทุกข์อย่างแสนเข็ญให้กับผู้ต้องประสบเหตุการณ์นั้นๆ

แม้ สภาพในครอบครัวก็ต้องประสบความทุกข์เช่นกัน พ่อ แม่ บางรายต้องใช้เวลาส่วนใหญ่กับการหารายได้เพื่อพยุงฐานะ เวลาที่จะดูแลลูกก็น้อยลง นอกจากนี้อารยธรรมทางตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อเด็กมากขึ้น เด็กสมัยนี้ส่วนใหญ่จึงดูเหมือนขาดความเคารพยำเกรงต่อผู้ใหญ่เช่นก่อน ความไม่สบอารมณ์จึงเกิดขึ้นทั้งในบ้าน นอกบ้าน ความวุ่นวายใจทั้งหลายที่ได้รับเป็นผลให้จิตใจของมนุษย์ที่ยังเป็นปุถุชน ทั้งหลายยิ่งร้อนรน และ ทุรนทุราย ไม่มีความสุข

เมื่อสุขภาพจิต เสื่อมลง ประกอบกับมลพิษทั้งหลายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ย่อมทำให้สภาพร่างกายทรุดเสื่อมลง เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา เพิ่มความทุกข์ในอันที่จะต้องแก้ไข เยียวยา และรักษาสุขภาพของตนเอง ผู้ป่วยทุกคนคงมีความหงุดหงิด จิตใจไม่ปกติ และโดยเฉพาะเมื่อต้องไปประสบกับโรงพยาบาลบางแห่งที่มีคนไข้มากมาย ความไม่สบอารมณ์ก็ยิ่งทำให้เกิดความทุกข์มากขึ้น เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนเคยประสบพบกันมา น้อยคนนักที่จะทำใจให้สงบได้

แต่ ท่ามกลางคนที่น้อยนั้น อาจมีท่านคนหนึ่ง ที่สามารถทำใจสงบนิ่งกับสิ่งเหล่านั้นได้ ถ้าได้เรียนรู้ว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร

พระพุทธองค์ท่าน ทรงพระปรีชาสามารถ ตรัสรู้สิ่งที่ไม่เคยมีใครเคยพบมาก่อน ด้วยพระเมตตา และพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงที่ทรงมีต่อเวไนยสัตว์

ท่านจึง ทรงแสดงธรรมเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นย่อมมีเหตุทั้งสิ้น ผลต่าง ๆ ที่เราได้รับ ล้วนมาจากเหตุที่เราสร้างกันมาเอง เหตุนั้นก็คือ "กรรม" ที่เราได้กระทำมาในอดีตชาติ ผลที่ได้รับก็คือ "วิบาก" ในปัจจุบันชาติ

ซึ่ง ถ้าเปรียบแล้วชีวิตเราอุปมาได้กับชาวนา ที่ต้องมีหน้าที่ทำนา ในขณะที่ปีนี้เรากำลังหว่านข้าวหอมมะลิ ปีหน้าเราก็จะได้กินข้าวหอมมะลิที่หว่านนั้น แต่ขณะที่เรากำลังหว่านนั้นยังเอามากินไม่ได้ ก็ต้องกินข้าวที่ได้หว่านมาเมื่อปีที่แล้ว ถ้าปีก่อนเราหว่านข้าว ๕ % เราก็ต้องกินข้าว ๕% นั้น ฉันใดฉันนั้น ใครที่สร้างกรรมดีย่อมต้องได้รับผลดีจากการกระทำของเขาเอง ส่วนผลชั่ว (วิบากชั่ว) ที่เราได้รับ ก็คือผลที่เราได้รับจากการกระทำชั่วของเราเองทั้งสิ้น

ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้นจึงมีเหตุเช่นเมล็ดข้าวคือเหตุ ส่วนผลคือต้นข้าวที่งอกและออกรวงเป็นเมล็ดข้าวใหม่ ต้นข้าวจะเจริญได้ก็ต้องอาศัยปัจจัย นั่นคือ ดิน น้ำ และ ปุ๋ย

เช่น เดียวกับผลของกรรม หรือวิบากที่เราได้รับก็ต้องมีเหตุและปัจจัยเป็นตัวสนับสนุน ผู้อ่านบางท่านอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวมาบ้างแล้วว่า มีบุคคลที่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน แต่เมื่อเขาได้ไปนั่งสมาธิเจริญภาวนากับพระ เขาก็หายเป็นปกติ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการนั่งสมาธินั้นเป็นกุศล อันเป็นปัจจัยเร่งกรรมที่เป็นเหตุกุศลในอดีตชาติส่งผลให้เขาได้รับวิบากกุศล ที่เขาได้กระทำมานั้น โรคภัยจึงได้บรรเทาหายลงได้

ดั่งพระอัสสชิได้บอกอุปติสสปริพาชก (พระสารีบุตร) ถึงคำสอนของพระพุทธองค์ว่า

"เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต" แปลว่า "ธรรมทั้งหลายไหลมาแต่เหตุ พระตถาคตตรัสบอกถึงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น"


บาง ครั้งเราอาจพบว่า แม้ผู้ป่วยด้วยอาการเดียวกันก็ตาม แต่ชีวิตของเขาได้รับผลแตกต่างกัน ดั่งคำที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "สัตว์โลกต่างมีกรรมเป็นของตน"

คนหนึ่งป่วย แต่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลชั้นดี อีกคนหนึ่ง ป่วยด้วยอาการเดียวกัน สามารถเข้าโรงพยาบาลชั้นดีได้ แต่หมอตรวจแล้วไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคอะไร ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับโรคนั้น อีกคนหนึ่ง ป่วยด้วยโรคเดียวกัน แต่ไม่มีเงินที่จะเข้ารับการรักษาได้ ต้องทนทุกข์และตายไปในที่สุด

วิบาก ที่เขาได้รับแตกต่างกัน เพราะเขาทั้งสามได้สร้างเหตุที่แตกต่างกัน นั่นคืออาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่ได้รับของทั้ง ๓ คน ล้วนเกิดจากเหตุเดียวกัน คือ ได้ทำบาปด้วยการฆ่าสัตว์ และทรมานสัตว์ให้ตาย แต่ที่ได้รับผลต่างกัน เพราะคนที่ ๑ และ ๒ นั้น อดีตชาติเป็นคนชอบทำบุญด้วย โดยการทำทาน จึงส่งผลให้เขาทั้ง ๒ มีเงินมีทองพร้อมที่จะเข้ารักษาในโรงพยาบาลดี ๆ ได้ แต่

คนที่ ๑ อดีตชาติยังชอบช่วยเหลือบุคคลอื่น ในปัจจุบันชาติเขาจึงได้รับการช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่อย่างดีจากหมอ ในขณะที่คนที่ ๒ แม้จะชอบทำทาน แต่อดีตได้เคยทำความชั่ว และปกปิดความชั่วที่ร้ายแรงของตนเองไม่ให้ผู้อื่นได้รับรู้ จึงทำให้ปัจจุบันชาติของเขานั้นโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ หมอจึงไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นอะไร ส่วนบุคคลที่ ๓ เป็นคนที่ไม่ชอบทำทาน จึงทำให้ปัจจุบันชาติขาดแคลนเงินที่จะใช้รักษาตนเอง ไม่อาจเข้ารับการรักษาที่ดีได้ เช่น บุคคลดังกล่าวข้างต้น

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การเจ็บไข้ได้ป่วยของคนเรานั้น ล้วนเกิดจากบาปการฆ่าสัตว์ นั่นคือ "คุณป่วย เพราะ คุณบาป" นั่นเอง

แต่ ชีวิตของคนเราที่ผ่านมาจนถึงภพนี้ เราผ่านการมีชีวิตมานับภพนับชาติไม่ถ้วน เป็นอนันตัง ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดง เราย่อมกระทำกรรมทั้งที่เป็นบุญ และเป็นบาปมาด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันนี้ เราทุกคนล้วนต่างเสวยผลของบุญ และผลของบาปอยู่ตลอดเวลา แต่ส่วนใหญ่ขณะที่เราได้รับสิ่งดี ๆ เรามักจะไม่นึกว่า นี่คือผลของกรรม แต่จะไปนึกว่า เป็นผลของกรรม

เมื่อได้รับผลไม่ดี และเกือบทุกชีวิตมักจะได้รับผลของบาปมากกว่าผลของบุญ จนดูเหมือนว่าชีวิตของคนเราเป็น "โครงสร้างของกรรม และถูกตอกย้ำด้วยผลของบาป" อยู่เกือบตลอดเวลา นั่นคือ เรามักจะได้รับแต่สิ่งที่ไม่ดี (ผลของบาปอกุศล) มากกว่าสิ่งที่ดี (ผลของกุศล) และเป็นเหตุชักพาให้เราสร้างกรรมอยู่เสมอ

ดังนั้น หนังสือ "คุณป่วย เพราะ คุณบาป" เล่มนี้ คงจะช่วยให้ท่านเข้าใจถูกเมื่อรู้ความจริงว่า สิ่งที่ท่านกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ เป็นผลที่เกิดจากท่านได้ทำเหตุอะไรไว้ ซึ่งเมื่อใดที่เรายอมรับความจริง อันเป็นสัจธรรมที่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงแสดงไว้แล้ว เมื่อนั้นความสงบของจิตใจย่อมเกิดกับทุกคนที่สามารถเข้าถึงธรรม

!
!

๑. ปาณาติบาต หมายถึง การฆ่าสัตว์ การเบียดเบียนหรือทำร้ายสัตว์ โดยมีองค์ประกอบของการตัดสินว่าได้ทำผิดในอกุศลข้อนี้ คือ

๑) สัตว์นั้นมีชีวิต
๒) รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓) มีจิต หรือความคิดที่จะฆ่า
๔) มีความเพียรพยายาม ทำร้าย ทรมานสัตว์นั้นเพื่อให้ตาย
๕) สัตว์นั้นได้ตายลง

ผล ที่จะได้รับจากการกระทำเหตุเช่นนี้มาก-น้อย แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกระทำ เช่น ผู้ที่ฆ่าสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย หมู จะบาปและรับผลรุนแรงกว่าการฆ่า มด ปลวก ยุง ทั้งนี้เพราะกรรมวิธี และระยะเวลาของการกระทำบาปนั้นมีมากกว่า ทำให้จิตเก็บอารมณ์นั้นได้มากกว่า ผลต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการฆ่าสัตว์นี้มีมากมายต่าง ๆ กัน ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะและอาการของสัตว์ที่เราได้ทำร้าย หรือทรมานเพื่อให้ตายนั้น นั่นคือ เมื่อเราเกิดมาแล้วจะเป็นไปตามลักษณะดังต่อไปนี้



(๑) ร่างกายทุพพลภาพ เช่น เกิดมาพิการ หรือได้รับอุบัติเหตุแล้วเสียอวัยวะ กลายเป็นคนพิการ

(๒) รูปไม่งาม คือ รูปร่าง หน้าตาไม่สวยงาม ไม่น่าดู เป็นไปเหมือนอาการของสัตว์ที่ถูกทำร้าย หรือกำลังบาดเจ็บ

(๓) กำลังกายอ่อนแอ เช่นเดียวกับสัตว์ที่เราได้ทำร้ายและใกล้ตาย

(๔) กำลังกายเฉื่อยชา กำลังปัญญาไม่ว่องไว เพราะสัตว์ที่กำลังจะตาย ย่อมมีแต่ความมืดบอด คิดอะไรก็ไม่ออก

(๕) เป็นคนขลาดหวาดกลัวง่าย เพราะสัตว์ทุกชนิดย่อมรักชีวิต เมื่ออยู่ในภาวะที่กำลังถูกทำร้ายเพื่อให้ตายย่อมมีความขลาดหวาดกลัว

(๖) กล้าฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่าได้ เพราะเราได้ฆ่าชีวิตอื่นไว้ ชีวิตของเราก็อาจต้องถูกฆ่าในชาติต่อ ๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสัตว์ตัวที่เราฆ่านั้นกลับมาฆ่าเรา เพียงแต่เป็นเหตุผลผลักดันให้เราถูกฆ่าจะโดยใครหรือสัตว์ใดก็ได้ และการฆ่าสัตว์บ่อย ๆ จากสัตว์เล็ก ๆ จะทำให้มีอำนาจกล้าฆ่าสัตว์ที่ใหญ่ขึ้นและในที่สุด ความกล้านี้จะมีอำนาจทำให้สามารถกล้าฆ่าตนเองซึ่งเป็นชีวิตที่เรารักที่สุด ได้

(๗) พินาศในบริวาร เพราะเหตุที่เราไม่มีเมตตาทำร้ายชีวิตผู้อื่น จึงทำให้ชีวิตของเรานั้นไม่มีใครอยากอยู่ด้วย เช่น มีคนใช้ก็อยู่ไม่ทน ต้องเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก หรือเป็นหัวหน้างานก็มีลูกน้องที่ไม่จริงใจ ไม่ซื่อตรง เป็นต้น


(๘) มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน แล้วแต่อาการที่ได้กระทำต่อสัตว์นั้น เช่น คนบางคนชอบฆ่าสัตว์โดยการใช้ไฟหรือน้ำร้อนลวกพวก มด หนู ฯลฯ คนพวกนี้มักจะได้รับผลของจากการถูกไฟครอก ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ รถบรรทุกแก๊สได้พลิกคว่ำและเกิดระเบิดขึ้นที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ทำให้ไฟลุกท่วมถนน ผู้คนบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมากหรือบางคนมีการกระทำที่ทรมานสัตว์ เช่น จับปลาไหลที่ยังมีชีวิตอยู่ เอาตะขอเกี่ยวไว้ที่ปากและแขวนไว้ จากนั้นก็นำใบไม้มารูดเอาเมือกและหนังมันออกทำให้สัตว์นั้นได้รับความทรมาน จนตาย ผลที่ได้รับในชาติต่อไปของคนพวกนี้คือ เมื่อเกิดมาอาจจะต้องเป็นพวกที่อวัยวะพิการ เช่น เพดานปากโหว่ หรือเกิดการแพ้ยาผลก็คือทำให้เกิดลักษณะและอาการที่ทำให้คล้ายกับถูกไฟ ผิวหนังถลอกปอกเปิกได้รับความทรมานปวดแสบปวดร้อน เป็นต้น หรือบางคนชอบทำร้ายสัตว์โดยการกรีดทำให้เกิดบาดแผล หรือบางกลุ่มบางคนมีความเห็นที่ผิดว่าถ้าได้กินเลือดสัตว์บางชนิดจะทำให้ แข็งแรง กระชุ่มกระชวย ก็จะมีการกรีดเพื่อเอาเลือดสัตว์ที่ยังเป็น ๆ อยู่ มาดื่มกิน ผลที่คนพวกนี้จะได้รับคือ มีโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น

(๙) อายุสั้น นั่นคืออายุขัยของคน ๗๕ ปี ถ้าผู้ใดตายก่อนอายุขัย แสดงว่าผู้นั้นได้เคยฆ่าสัตว์ แล้วแต่ความรุนแรงของกรรมที่กระทำมา



การ รับวิบาก ในการกระทำเช่นนี้ หรือทื่คนทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "ชดใช้หนี้กรรม" นั้น ไม่มีวันหมดสิ้น ตราบใดที่เรายังต้องเกิด (ไม่ว่าจะเกิดในภพภูมิใด) แต่ความรุนแรงที่ได้รับอาจเบาบางลง

เช่น ชาติที่แล้วเรามีจิตใจที่โหดร้าย ชอบฆ่าสัตว์และทรมานสัตว์เป็นประจำ มีเวลาว่างชอบออกล่าสัตว์ป่าเป็นเกมกีฬา แต่ขณะเดียวกันก็ทำบุญใส่บาตรทุกวัน เมื่อตายอารมณ์มรณาสันนกาลนั้น จิตจับอารมณ์ ของการใส่บาตรซึ่งเป็นกุศลจึงทำให้ได้เกิดเป็นคนในชาติถัดไป แต่อาจเป็นคนพิการมาแต่กำเนิด คือ รูปไม่งาม หรือในชาติต่อ ๆ ไป อาจเกิดมาเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์ แต่ว่าอายุสั้นหรือมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ต้องเทียวเข้าออกโรงพยาบาล ถูกผ่าตัดครั้งแล้วครั้งเล่า ในขณะที่ชาติต่อ ๆ ไปบางชาติอาจเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ถึงกับต้องผ่าตัด แต่อาจเป็นโรคภูมิแพ้ โดนฝนก็เป็นหวัด แดดร้อนมากก็อาจไม่สบายได้

บางคนนั้นมีลูกหลายคน แต่จะพบว่าลูกบางคนจะต้องมีเหตุหกล้มเลือดตกยางออกต้องไปเย็บแผลกันเป็น ประจำ ทั้งที่สุขภาพร่างกายก็แข็งแรง ไม่ค่อยเป็นอะไร เหตุการณ์เช่นนี้มักเกิดกับเด็กผู้ชาย เพราะมีอำนาจของอสังขาริกคือทำอะไรเด็ดเดี่ยวเด็ดขาด

ฉะนั้น บาปที่ทำมาก็กล้าที่จะทำอย่างเด็ดเดี่ยวเป็นต้น ผลเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราได้รับเช่นนี้ บางคนเรียกกันว่า "เศษกรรม" ตัวอย่างเช่น ผลที่ได้รับในข้อที่ทำให้เป็นคนขลาดหวาดกลัวง่าย ที่เราได้พบเห็นจากคนบางคน คือพอตกกลางคืนในขณะที่คนอื่น ๆ นอนกันหมด ตัวเองกลับมีความกังวลนอนไม่หลับ จะต้องลงมาเดินย่องดูประตูหน้าต่างว่าปิดสนิทหรือไม่ เพราะกลัวว่าจะมีผู้ร้ายปีนเข้าบ้าน หรือคนบางคนจะทำอะไรก็กลัวโดนดุ หรือบางคนมีลูกก็กลัวลูกจะไม่สบาย กลัวลูกสอบตก กลัวลูกสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ กลัวลูกตกงาน คือกลัวไปร้อยแปดพันประการ หรือที่เรียกกันว่าฟุ้งซ่านนั่นเอง สิ่งเหล่านี้จัดว่าเป็นเศษกรรมของปาณาติบาตก็ว่าได้

โลกในปัจจุบัน นี้ โรคภัยไข้เจ็บนับวันจะทวีความน่ากลัวมากยิ่งขึ้น เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งทุกวันนี้มีคนเป็นมะเร็งจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่สามารถติดต่อได้แพร่หลายเท่ากับโรคที่เราเพิ่งจะรู้จักใหม่นั่น คือ โรคเอดส์ ซึ่งติดต่อกันได้ และเป็นโรคที่ร้ายแรงนับวันจะเพิ่มจำนวนผู้ป่วยขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าเรายอมรับตามพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า โรคภัยไข้เจ็บนั้นเป็นผลเกิดจากเหตุที่เราได้ฆ่าสัตว์ และทรมานสัตว์มาแต่อดีตชาติแล้ว เราลองมาพิจารณาดูว่า ทำไมโรคนี้สมัยก่อนจึงไม่มี แต่สมัยนี้นับวันโรคจะมีมากอย่างแปลก ๆ และพิสดารน่ากลัวมากขึ้น

ถ้าเราลองมาศึกษาสาเหตุและเปรียบเทียบ พฤติกรรมของคนรุ่นก่อนกับรุ่นหลังแล้ว จะเห็นว่าคุณธรรมของคนโบราณนั้น มีมากกว่าคนสมัยใหม่ซึ่งต้องประสบปัญหารอบด้าน ในสมัยก่อนนั้นผู้ร้ายมีน้อย โจรจะย่องเข้าบ้านใครก็ต้องรอบดึกให้เจ้าของบ้านหลับก่อนถ้าเจ้าของบ้านตื่น มาพบก็จะหนี แต่ในปัจจุบันนี้ แม้กระทั่งกลางวันก็มีวิธีการเข้าไปหลอกล่อและทำการทารุณกรรมเจ้าทรัพย์ ซึ่งเราได้พบเห็นบ่อยครั้งจากหน้าหนังสือพิมพ์

ดังนี้ การกระทำปาณาติบาตนับวันจะแปลกและพิสดาร มีกรรมวิธีที่ซับซ้อนและน่ากลัวมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุที่ทำให้ผลที่จะเกิดขึ้นก็ต้องพิสดารและน่ากลัว ขึ้น ตามเหตุที่ได้กระทำนั่นเอง.

-------------------------------------------------------------------

ไม่ ได้คัดลอกมาทั้งหมดนะครับ ลองศึกษา ถึง วิบากกรรมต่าง ๆ ที่เราท่านทั้งหลายได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้ดูครับ ว่าเพราะเหตุมาจากอะไร เพื่อจะได้เกิด หิริ โอตตัปปะ อายชั่ว กลัวบาป ให้มากขึ้น

เมื่อก่อน ชอบให้คนอื่นแก้กรรมให้ครับ แต่เมื่อมาศึกษาเรื่องกรรมจากท่านผู้รู้แล้ว ผู้ที่จะแก้ได้คือตัวเราเองครับ ด้วยการละ อกุศลกรรม หมั่นทำ กุศลกรรม ให้มาก ๆ ด้วยศรัทธา

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัทธา_๔

สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตาม ลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
--------------------------------------------

คณาจารย์
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/index.htm
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)