ประชาสัมพันธ์ > ประชาสัมพันธ์ทางโลก
การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
sithiphong:
เรื่องควรรู้ก่อน...บริจาคโลหิต
เลือด...ยังเป็นที่ต้องการเสมอ เพราะว่ามักมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่คาดฝัน หรือมีความจำเป็นในการให้เลือดผู้ที่กำลังเจ็บป่วยอยู่เสมอ
การบริจาคโลหิตนอกจากจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแล้ว ยังช่วยให้เราตรวจเช็กสภาพร่างกายของตัวเราเป็นระยะ ๆ เช่นกัน
แต่ก่อนจะไปบริจาคเลือดก็ต้องเตรียมตัว เช่นกัน
โดยโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียลได้ให้คำแนะนำว่า
คุณต้องนอนหลับให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และมีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคโลหิต
คุณ ต้องดูว่าในช่วง 3 วันก่อนการบริจาคเลือดได้รับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อหรือไม่ เพราะอาจทำให้มีเกล็ดเลือดผิดปกติได้ เลือดแข็งตัวช้า บวมช้ำง่าย เลือดที่บริจาคไปก็ไม่มีคุณภาพ หรือไปถอนฟันเหงือกอาจอักเสบมีบาดแผลในช่องปาก เป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดก็ไม่ควรบริจาคเลือด
ต้องดูว่ามีอาการท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วันก่อนบริจาคเลือดหรือไม่ ผู้รับเลือดอาจได้รับเชื้อที่มากับเลือดได้
มีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ เครียด วิตกกังวล ก็ไม่ควรบริจาคเลือด
มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือคนในครอบครัวเป็นก็ต้องมีผลตรวจแน่นอนแล้วว่าปลอดเชื้อ
สำหรับ ผู้ที่ควรงดบริจาคเลือด อาทิ เป็นโรคหัวใจทุกชนิด โรคไทรอยด์ชนิดเป็นพิษ โรคมะเร็งทุกชนิด โรคเรื้อรังอื่น ๆ โรคโลหิตออกง่าย-หยุดยาก เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ โรคไตชนิดเรื้อรัง วัณโรค โรคผิวหนังบางชนิด โรคติดต่ออย่างวัณโรค ไอเรื้อรังก็ไม่ควรบริจาคเลือด มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูง โรคบางชนิดมีระยะฟักตัวนาน อาจตรวจไม่พบเชื้อ เช่น HIV
รวมทั้งได้ รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือน หรือผ่าตัดเล็กภายใน 1 เดือน เนื่องจากการผ่าตัดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม ควรงดบริจาคชั่วคราว ส่วนผ่าตัดเล็กที่เสียเลือดไม่มาก ควรรอให้แผลหายก่อนค่อยบริจาคเลือด
ฉะนั้น ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่สภากาชาดก่อนบริจาคเลือดเพื่อดูช่วงเวลาที่เหมาะสมใน การบริจาค อาทิ ผู้ที่เคยได้รับเลือดจากผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา เข้าพื้นที่มีเชื้อมาลาเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือป่วยเป็นมาลาเรียในระยะ 3 ปี คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา อยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ เจาะหู สัก ฝังเข็ม ผู้ที่อยู่ระหว่างมีรอบเดือนไม่ควรบริจาคเลือด
การบริจาคเลือดนั้นดีแน่...แต่ก็ต้องเตรียมสภาพร่างกายของเราให้พร้อมเหมือนกัน
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:45: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
sithiphong:
กาชาดวิกฤต ไม่มีเลือดหมู่หายาก (Rh-)
-http://hilight.kapook.com/view/114689-
กาชาดวิกฤต ไม่มีเลือดหมู่หายาก (Rh-) จ่ายให้ผู้ป่วยโคม่าผ่าตัดด่วน! (สภากาชาด)
กาชาดวิกฤต ไม่มีเลือดหมู่หายาก (Rh-) พบในคนไทย 3 ใน 1,000 คนเท่านั้น
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2558 มีรายงานว่า ในตอนนี้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เกิดวิกฤตหนัก ต้องขอรับบริจาคหมู่โลหิตหายาก หรือหมู่โลหิตพิเศษ (Rh-negative) จำนวนมากถึง 177 ยูนิต เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอาการโคม่าต้องผ่าตัดด่วนในโรงพยาบาลทั่วประเทศ เนื่องจากหมู่โลหิตหายาก (Rh-negative) หรืออาร์เอช ลบ ในคนไทยมีน้อยมาก 1,000 คนพบเพียง 3 คน เท่านั้น ดังนั้นจึงขอเชิญชวนประชาชนที่มีหมู่เลือดโลหิตหายาก ช่วยกันบริจาคเลือด เนื่องจากผู้ป่วยมีมากขึ้นทุกวัน
.
sithiphong:
บุญ จาก การบริจาคโลหิต
-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,10099.0.html-
ใต้ร่มธรรม »
แสงธรรมนำใจ »
หยาดฝนแห่งธรรม »
บุญ จาก การบริจาคโลหิต
บุญที่ได้จากการบริจาคโลหิต ติดตามอ่านได้ในกระทู้"บุญ จาก การบริจาคโลหิต"
โมทนา
sithiphong:
พินัยกรรมอวัยวะ จากพ่อถึงลูก ในวันที่สมองตาย อย่าลังเลที่จะมอบร่างกายพ่อให้กับผู้อื่น
-http://hilight.kapook.com/view/135985-
ข้อความเรียกน้ำตา พินัยกรรมอวัยวะ จากพ่อส่งถึงลูก ในวันที่พ่อสมองตาย อย่าลังเลที่จะมอบร่างกายของพ่อให้กับผู้อื่น เพื่อไม่ให้ความตั้งใจของผู้ประสงค์บริจาคร่างกายต้องเสียเปล่า
การบริจาคอวัยวะ ถือเป็นการให้ที่มีค่ามาก เป็นการต่อชีวิตจากคนที่กำลังจะหมดลมหายใจส่งต่อถึงคนที่กำลังรอความหวัง ซึ่งเชื่อว่าหลายคนที่ได้อ่านข้อความนี้ก็ร่วมบริจาคอวัยวะเช่นกัน แต่การบริจาคอวัยวะนั้น กว่าจะส่งต่อถึงผู้ที่ต้องการไม่ใช่เรื่องง่าย เรื่องที่ยากที่สุดไม่ใช่ขั้นตอนการรักษา แต่เป็นขั้นตอนในการ "ขออนุญาต" ให้ญาติและครอบครัวอนุมัติร่างกายของเราให้กับผู้อื่นต่างหาก
ทั้งนี้ทางสภากาชาดไทย ได้ผุดแคมเปญ #พินัยกรรมอวัยวะ เพื่อให้ทุกคนได้เขียนพินัยกรรม บอกไปยังลูกหลาน ญาติ หรือพ่อแม่ ให้ทำตามประสงค์ของผู้ที่บริจาคร่างกาย และมีหนังสั้นกำกับโดยเต๋อ นวพล เพื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ของลูกคนหนึ่งที่ "สมองตาย" แต่ยัง "หายใจ" ซึ่งทางการแพทย์ถือว่า "เสียชีวิต" แต่แม่ไม่ยอมให้เดินเรื่องบริจาคร่างกายตามประสงค์ของลูก และยังรอปาฏิหาริย์ทั้ง ๆ ที่ลูกเหลือแค่ลมหายใจเท่านั้น [ชมคลิปด้านล่าง]
อย่างไรก็ดี คุณ Pom Chaiyaporn หนึ่งในผู้ที่ร่วมทำแคมเปญดังกล่าว ได้เขียนพินัยกรรมอวัยวะถึงลูกชาย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559 ถึงเหตุผลที่เขาบริจาคร่างกายในครั้งนี้ โดยระบุว่า เป็นสิ่งที่พ่ออยากทำมานานแล้ว และหวังว่าเมื่อลูกอ่านออก และเมื่อวันที่พ่อหมดลมหายใจ ลูกจะทำตามคำที่พ่อขอเอาไว้...
โดยแต่ละตัวอักษรนั้น เรียกน้ำตาคนอ่านได้อย่างมากเลยทีเดียว เพราะได้เห็นถึงความตั้งใจในการแบ่งปันร่างกายให้กับผู้อื่นแล้ว ยังเห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูก การเขียนพินัยกรรมเช่นนี้เรียกได้ว่าต้องกล้าหาญและกลั่นความรู้สึกออกมาจากหัวใจจริง ๆ
ขณะที่ผมเขียน Status อยู่นี้
ผมมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการ
ปัน...
พ่อเขียนไว้เผื่อวันที่ลูกโตและอ่านหนังสือออกนะ
พ่อมาช่วยงานสภากาชาดได้สักพักละ
เพื่อชวนให้คนมาบริจาคอวัยวะ
เกือบ 4 เดือน ที่พ่อตระเวนคุยกับเจ้าหน้าที่ที่เขาทำงานตรงนี้
ได้คุยกับคนไข้ที่เขาทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย รอปลูกถ่ายอวัยวะ
พ่อก็เลยคิดว่า ก่อนที่พ่อจะไปโน้มน้าวคนอื่นให้เขายอมบริจาคอวัยวะ
พ่อในฐานะคนคิด พ่อควรต้องเริ่มก่อน
แต่การบริจาคอวัยวะ มันไม่เหมือนการบริจาคอื่น ๆ นะ
ไม่เหมือนยังไง ปันคงสงสัย
คืออย่างนี้ เวลาพ่อบริจาคเลือด พ่อก็เดินไปบอกเขาว่าอยากบริจาคเลือด
เขาก็เอาเลือดของพ่อไปช่วยคนได้เลย
หรือเวลาพ่อเอาเงินหรือของไปบริจาค
พ่อก็แค่เอาของไปให้ ควักเงินใส่ตู้ได้ทันที
แต่สำหรับการบริจาคอวัยวะ คนที่ตัดสินใจคือ ญาติ
พ่อกับอาเม้งเลยได้ไอเดียว่าจริง ๆ แล้ว
การบริจาคอวัยวะที่ดีที่สุด ได้ผลที่สุด ทำง่ายที่สุด ก็คือ การบอกญาติ
ไม่ต้องไปทำบัตรที่กาชาดหรอก
พ่อเลยต้องทำพินัยกรรมนี้ไว้เพื่อบอกลูก
ว่าถ้าวันนึงพ่อเกิดเป็นอะไรไป แล้วหมอเขาบอกลูกว่าพ่อสมองตาย
จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ตอนนั้นพ่อคงลุกขึ้นมาบอกปันไม่ได้แล้ว
ว่าพ่ออยากบริจาคอวัยวะ
ยังไง ปันก็คุยกับแม่ แล้วช่วยทำตามความต้องการของพ่อด้วยนะลูก
งานนี้เป็นงานที่พ่ออยากทำมานานแล้ว
ขณะเดียวกันมันก็เป็นงานที่ยากมาก ๆ ด้วย
เพราะมันมีความละเอียดอ่อน และประเด็นซับซ้อน
ต้องระวังความรู้สึกของหลายคนหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงมีหลายเรื่องที่ต้องสื่อสาร
พ่อจึงพยายามทำหนังให้เข้าใจความรู้สึกของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ให้ได้มากที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นญาติที่เพิ่งสูญเสียคนรักที่กำลังนอนรอความตายอยู่ตรงหน้า
คนที่ทุกข์ทรมานจากการรอการปลูกถ่ายอวัยวะมาเป็นระยะเวลานาน
และเจ้าหน้าที่ที่ต้องเดินเข้าไปอธิบายญาติ เพื่อให้ญาติยินยอมบริจาค
แต่ก็ต้องจบลงด้วยคำปฏิเสธเกือบทุกครั้ง
ต้องขอบคุณ น้าเต๋อ นวพล ผู้กำกับที่พ่อรอเวลาที่จะทำงานด้วยมาตลอด
น้าเต๋อโคตรเก่ง พ่อเรียนรู้หลายอย่างจากการทำงานกับคนเก่ง ๆ คนนี้
ที่สำคัญสุภาพและใจดี รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น แต่ก็เข้มแข็งและชัดเจนในจุดยืนของตัวเอง
จริง ๆ แล้ว เป็นไอเดียของน้าเต๋อที่อยากถ่ายทอด ความรู้สึกของคนทั้ง 3 ฝ่าย
ให้คนดูได้เข้าใจถึงความรู้สึกและเหตุผลของแต่ละคนโดยทิ้งท้ายให้คนดูเป็นคนตัดสินใจเอง
จุดเริ่มของงานนี้จริง ๆ แล้วเกิดจากน้ากุ๊ก (ภรรยาน้าเม้ง) คนที่ชวนพ่อไปรู้จักกับ True ที่เขากำลังหาคนมาช่วยทำโครงการนี้อยู่พอดี
อีกคนที่พ่อจะไม่พูดถึงไม่ได้คือ น้าเจน โปรดิวเซอร์ คนสวย (คนที่ซื้อรองเท้าไดโนเสาร์มาฝากปันจากอเมริกาไง)
ที่มาช่วยพ่ออย่างเต็มที่ ช่วยจนป่วยเลย
น้าเม้งที่นั่งคิดงานนี้มาด้วยกันกับพ่อ
น้าชลิตที่แวะมาช่วยออกความเห็นดี ๆ หลายเรื่อง
น้าบอม ที่มาช่วยตัดงานที่บ้านเราจนดึกดื่น
น้าไลลาที่ช่วยประสานงานและทำทุกอย่างเพื่องานนี้
ข้อความในเว็บไซต์น้าไลลาก็เขียนเอง เขียนจนขาเจ็บเลย
น้าจอย และน้าอีกหลายน้าที่พ่อไม่ได้พูดถึงที่มาช่วยงานนี้
พ่อฝากปันไว้เท่านี้นะลูก
และหวังว่าผลบุญจากการทำประโยชน์ของพ่อครั้งนี้จะส่งถึงปันและแม่
รักลูกเสมอ
#พินัยกรรมอวัยวะ
ส่วนใครอยากจะทำพินัยกรรมอวัยวะ ขอเชิญชวนร่วมอัดคลิป ผ่านเว็บไซต์ www.บริจาคอวัยวะด้วยการบอกญาติ.com เชื่อว่าพินัยกรรมฉบับนี้เป็นพินัยกรรมที่มีค่าและมอบชีวิตใหม่ให้กับใครอีกหลายคน
ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Pom Chaiyaporn,
-www.บริจาคอวัยวะด้วยการบอกญาติ.com-
-https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1738179343089463&id=100006922427998-
-https://www.บริจาคอวัยวะด้วยการบอกญาติ.com/home-
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version