ผู้เขียน หัวข้อ: ค ติ ธ ร ร ม ๑๐๘ :ท่านพ่อลี ธมฺมธโร  (อ่าน 2096 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ค ติ ธ ร ร ม ๑๐๘
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรามธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ



เรื่องพุทธศาสนา
๑.วัดเป็นเครื่องวัดคุณธรรมของเราว่ามีมากน้อยเพียงไร
๒.พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของความจริง
ถ้าใครไม่จริงต่อพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาก็ย่อมไม่เจริญกับผู้นั้น
๓.พระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องของการอ้อนวอน ร้องขอ หรือให้กันได้
ทุกคนจะต้องทำด้วยตนของตนเอง จึงจะได้รับผล

๔.สิ่งใดที่มิได้ประกอบไปด้วยเหตุและผลแล้ว
สิ่งนั้นก็มิใช่พุทธศาสนา


๕.พระพุทธประสงค์ก็มุ่งให้ปฏิบัติทางจิตเป็นข้อใหญ่
ใครไม่ปฏิบัติตาม เรียกว่า ไม่รักไม่เคารพในพ่อของเราเลย


๖.การดำเนินทางศาสนา เท่ากับเดิน ๒ ขา
คือปริยัติ ขาหนึ่ง ปฏิบัติขาหนึ่ง
ถ้าเราเดินแต่ขาเดียวก็ต้องล้มแน่

๗.พระพุทธรูป เป็นพุทธนิมิตภายนอก สำหรับเป็นที่กราบไหว้สักการะ
ธรรมะภายนอกสำหรับให้คนได้สดับฟังศึกษาเล่าเรียน สังฆะภายนอก
สำหรับเป็นพี่เลี้ยงคอยตักเตือนว่ากล่าวสั่งสอน
ส่วนรัตนภายในนั้นคือ การทำพุทธะ ธรรมะ สังฆะ ให้มีขึ้นในจิตใจ


๘.คนที่มีศีล มีทาน แต่ไม่มีภาวนา ก็เท่ากับถือศาสนาเพียงครึ่งเดียว
๙.ถ้าเชื่อพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ต้องไปซื้อล็อตเตอรี่
ถ้าเชื่อ   ความดี   แล้ว... ไม่ต้องกลัว   จน

 เรื่องพระธรรม
๑๐. สละกายบูชาพระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์
--- เรียกว่า “ปฏิบัติบูชา” ---
๑๑. ความดี ความชั่ว สุข ทุกข์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทวบุตร เทวดา หรือใครที่ไหน
มันขึ้นอยู่ที่การกระทำอันเกิดจากการกรรมดี กรรมชั่วของตัวเรานี่เอง

๑๒. สมบัติที่เป็นของกาย เรียกว่า โลกียทรัพย์
สมบัติที่เป็นของใจเรียกว่า อริยทรัพย์
สมบัติของกายอาศัยใช้ได้เฉพาะแต่ในโลกนี้
แต่สมบัติของใจใช้ได้สำหรับโลกหน้า

๑๓.โลกียทรัพย์ เป็นของที่เราจะนำติดตัวไปโลกหน้าไม่ได้
จึงต้องแปรโลกียทรัพย์ให้เป็น อริยทรัพย์ เสียก่อน จึงจะนำติดตัวไปโลกหน้าได้
๑๔. สมบัติของผู้ดีคือ อริยสัจ หรือ อริยทรัพย์


๑๕.โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ซึ่งเป็นฝ่ายดี
กับเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ซึ่งเป็นฝ่ายชั่ว
ทั้งหมดนี้บุคคลใดติดอยู่ก็เท่ากับผู้นั้นถูกเขาจองจำไว้

๑๖.คนในโลกมี ๔ จำพวก คือ
๑. คนพาล ชอบทำชั่ว โทษของตัวมองไม่เห็น
๒. กัลยาณชน คนดีทำตนให้มีค่า ทำเวลาไม่ให้สูญ
๓. บัณฑิต ผู้ฉลาด เลือกการงานสิ่งคู่ควร คบคนรู้จักเลือก ทำความดีให้เกิดได้
๔. มหาบัณฑิต ไม่รัก ไม่เกลียด ไม่เบียดเบียนใคร ประโยชน์ใหญ่จักเกิดมี


๑๗. โลกมนุษย์มีทั้งเกิด แก่ เจ็บ ตาย
โลกของเทวดานั้นมีแต่เกิดกับตาย ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ
โลกนิพพานไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย

๑๘.บุคคลทั้งหลายไม่ควรประมาทในกาลของชีวิต คือ
๑. ในเมื่อยังมีทรัพย์สินบริบูรณ์
๒. ยังมีกำลังวังชาแข็งแรง
๓. ยังไม่เจ็บไข้ แก่ ตาย ก็ควรจะรีบเร่งทำบุญให้ทาน รักษาศีล
และเจริญเมตตาภาวนา หาความดีให้แก่ตนตามสติกำลังที่จะทำได้

๑๙. ความตายมี ๓ ประเภท
ประเภทที่ ๑ คือ ตายไปกับความชั่ว
ประเภทที่ ๒ ตายไปกับความดี
***   ประเภทที่ ๓ ไม่ตาย   ***

๒๐. ถ้าจิตของเราตั้งอยู่ในบุญกุศล เราก็จะมีสุคติเป็นที่ไป
ถ้าจิตของเราตั้งอยู่ในบาป อกุศล วิญญาณของเราก็จะต้องไปสู่ทุคติ
๒๑. บุญภายนอกทำจากร่างกายของเรา บุญภายในหาจากดวงจิต
บุญย่อมนำมาซึ่งความสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

๒๒. เขาว่าทำบุญทำทานนั้น ทำไปทำไม
คนทำบุญก็ต้องตาย ไม่ทำก็ตาย
ตายด้วยกันจริงอยู่ดอก แต่ว่าตายผิดกัน

คนทำบาปนั้นตายไปกับผีกับเปรต ตายตามป่าตามดงตามถนนหนทาง
 
แต่คนทำบุญนั้น ตายไปในกองบุญกองกุศล ตายสบาย
แล้วไปเกิดก็สบายอีก ไม่ต้องไปเกิดในที่ทุกข์ที่ยากเหมือนคนทำบาป


๒๓. วัตถุภายนอก มิใช่เป็นสิ่งที่เราจะนำติดตัวไปด้วยได้
ถ้าเราไม่ทิ้งมันไป มันก็ทิ้งเราไปวันหนึ่ง
ฉะนั้นจึงควรรีบสะสมแต่บุญภายในให้มาก เพราะเราจะได้นำติดตัวไปด้วย
๒๔. ปริยัติ เรียนรู้คัมภีร์ ปฏิบัติดี รู้ทันกิเลส ปฏิเวธ รู้แล้วและวาง

๒๕. ความตายและความเกิด เป็นกำเนิดแห่งความทุกข์
ความสุขอันประเสริฐไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย
๒๖. กุศลและอกุศล ย่อมให้ผลแก่ผู้ทำทั้ง ๓ กาล
อกุศล คิดจะทำก็เป็นทุกข์ กำลังทำก็เป็นทุกข์ ทำแล้วก็เป็นทุกข์
กุศล คิดจะทำก็เป็นสุข กำลังทำก็เป็นสุข ทำแล้วก็เป็นสุข

๒๗.เมื่อเราต้องการความบริสุทธิ์
เราต้องทำความบริสุทธิ์ให้พร้อมในกาย วาจา ใจ ทาน ศีล ภาวนา ก็ทำให้บริสุทธิ์
๒๘.ทาน สละโลภะ ศีล สละโทสะ ภาวนา สละโมหะ
๒๙.สมาธิ คือ ความมีจิตตั้งมั่น
เมื่อเราคิดว่าจะทำอะไร ก็ต้องทำให้มันจริงลงไป จึงจะเกิดผล

๓๐. ปัญญา เกิดแต่การสังเกตหาเหตุหาผล
รู้แต่ผลไม่รู้เหตุก็ใช้ไม่ได้ รู้แต่เหตุไม่รู้ผลก็ใช้ไม่ได้
ต้องรู้พร้อมทั้งเหตุทั้งผล


๓๑. สุตมยปัญญา เปรียบเหมือนคนที่ตื่นจากหลับแล้ว แต่ยังไม่ได้ลืมตา
จินตมยปัญญา เปรียบเหมือนคนที่ตื่นนอนแล้ว แต่ยังไม่ออกจากมุ้ง
ภาวนามยปัญญา เปรียบด้วยคนที่ตื่นออกจากมุ้งล้างหน้าล้างตาสว่างแจ่มใสแล้ว
สามารถมองเห็นอะไร ๆ ได้ถนัดชัดเจน

๓๒. ความดีของโลกจะวิเศษวิโสอย่างไร
ก็ไม่นานดอก แล้วมันก็ต้องแยกกันกับเรา
ไม่เหมือนสุขในทางธรรม คือ จิตสุข มันย่อมจะติดกับตัวเราไปเสมอ

๓๓.โลก เขาเอาสุขทางกายเป็นใหญ่ จิตใจจะทุกข์อย่างไรก็ช่างมัน
แต่ธรรมเอาสุขทางใจเป็นใหญ่ เพราะถือว่าใจเป็นส่วนสำคัญยิ่ง
๓๔.มติทางโลกเขาว่า จะดีหรือไม่ดีก็ช่าง ให้มีเงินมาก ๆ แล้วเป็นดี
ส่วนมติทางธรรมว่า จะมีหรือจนก็ช่างเถิด ขอให้เป็นคนดีก็แล้วกัน

๓๕.สุขในอัตภาพร่างกายเป็นความสุขทางโลก
สุขชั่วขณะหนึ่งแล้วก็จะปรวนแปรไปเหมือนข้าวสุก พอข้ามวันก็เหม็นบูด
ส่วนสุขทางธรรมนั้น สุขเหมือนดาวบนท้องฟ้า เป็นสุขที่สว่างไสวตลอดกาลนาน
๓๖.บุญมีอยู่เสมอ แต่ไม่หาให้ตัว เหมือนนามีแล้วไม่ทำ ข้าวมีแล้วไม่กิน

๓๗. การบำเพ็ญทาน เท่ากับหาทรัพย์ไว้ให้ตัวของเรา
การบำเพ็ญศีลเท่ากับสร้างร่างกายของเราไม่ให้พิการง่อยเปลี้ยบอดใบ้
การบำเพ็ญภาวนา เท่ากับสร้างจิตใจของเราให้เป็นคนสมบูรณ์


๓๘. คนที่ทำ “ทาน” มากก็จะให้ผล ให้เขาเป็นคนมีทรัพย์สินอุดมสมบูรณ์
คนมี “ศีล” จะทำให้ได้รับอัตภาพที่ดี มีรูปร่างผิวพรรณงดงาม
ถ้ามี “ภาวนา” ด้วย ก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด



(มีต่อค่ะ             

กุหลาบสีชา - http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=25776


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ค ติ ธ ร ร ม ๑๐๘ :ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2012, 12:16:39 pm »




เรื่องของพระสงฆ์

๓๙. พระสงฆ์ผู้ทรงคุณ เป็นนาบุญของญาติโยม นาดีได้บุญหลาย นาขี้ร้ายไม่มีผล
๔๐. การบวชเป็นพระนั้น จะต้องดำเนินตามข้อปฏิบัติ
ให้เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้จริง ๆ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นลูกของพระตถาคต
๔๑. ศีล สิกขาบท เปรียบเหมือนศีรษะ แขน ขา มือ เท้าของเรา
ถ้าล่วงผิดในศีล หรือสิกขาบทข้อใดข้อหนึ่ง ก็เท่ากับตัดมือ ตัดศีรษะของตัวเราเอง

๔๒. ถ้าอยู่บ้านสบาย พระพุทธเจ้าจะต้องไปบวชทำไม
ยิ่งอยู่ป่ายิ่งสบายกว่าอยู่วัดหลายเท่า พระอยู่ป่าก็เท่ากับโยมอยู่วัด
พระอยู่วัดก็เท่ากับโยมอยู่บ้านนั่นแหละ
๔๓.ไปอยู่ที่ไหนก็ต้องขยายกลิ่นหอมให้เขา อย่าไปขยายกลิ่นเหม็นไว้
ไปไหนก็ต้องให้เขารัก อยู่ไหนก็ต้องให้เขาชอบ
๔๔. กินข้าวมาก ฟืนมันสด แสงไม่เกิด กินข้าวน้อย ฟืนมันแห้ง แสงมันเกิด

๔๕. กินคนเดียวหาความสุขมิได้ นอนก็อย่านอนให้มันมากนัก
ให้พากันสละการนอนโดยนั่งเจริญเมตตา ภาวนาสะสมกำลังใจเสียบ้าง
๔๖. มีตาแล้วต้องรู้จักใช้ตา ลืมไม่หลับ หลับไม่ลืมก็แย่ ให้รู้จักการปิดเปิด
๔๗. การอันใดควรทำโง่ ควรทำฉลาด
ให้รู้จักปรับปรุงให้เหมาะ อย่าให้ผิดกาละเทศะ

๔๘. ให้พวกเราทำตัวให้เหมาะสมกับชื่อของเราไว้
ให้รักษาชื่อดีใส่กำมือไว้ อย่าให้รั่วไหล ได้ทั้งชื่อ ได้ทั้งความจริงเป็นดีแน่
อย่าดีแต่ชื่อแต่ตัวมันเซ่อ
๔๙.เรื่อง “ชื่อเสียง” ถ้าเราไม่ช่วยกันรักษา มันก็จะกลายเป็น “ชื่อเสีย”

๕๐. คนเรามีส่วนดีและส่วนชั่ว คนที่ชั่วก็มีดีอยู่บ้าง มิได้ชั่วไปเสียทั้งหมด
ต้องมองดูเขาในแง่ดีบ้าง เหมือนลูกไม้บนต้นย่อมมีผลไม่เสมอกัน
๕๑. จงทำตัวของเราให้ดีที่สุด แล้วอย่างอื่นก็จะต้องดีไปตามเรา
๕๒. ถ้าไม่สามารถในการ คิด-พูด-ทำ ก็อย่าไปแสดงเข้า
จะทำอะไรจงมองให้ทั่ว ทำตัวให้ดีสมเกียรติ

๕๓. ปาก จมูก เป็นประตู หู ตา เป็นหน้าต่าง เราต้องคอยปิดเปิดให้ถูกกาลเวลา
จึงจะได้รับประโยชน์และปลอดภัย
๕๔. เราไม่เก็บบุญเข้ามา บุญจะช่วยได้อย่างไร
๕๕. ใครไม่ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ถูก “พระหลอก ๆ” กินแหลกหมด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 07, 2012, 01:19:37 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ค ติ ธ ร ร ม ๑๐๘ :ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2012, 12:24:29 pm »




เรื่องภาวนา

๕๖. ศีล ก็เกิดแต่จิต สมาธิ ก็เกิดแต่จิต ปัญญา ก็เกิดแต่จิต
บุญก็เกิดแต่จิต บาปก็เกิดแต่จิต จิตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

๕๗.การที่บุคคลจะทำจิตให้บริสุทธิ์ได้
จะต้องคลายความยึดถือในตัวตน ในรูปนามและในอารมณ์ทั้งหลาย
ที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะ ๖ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิ ให้เป็น ๑ อยู่เสมอ
อย่าให้กลายเป็นเลข ๒-๓-๔-๕ ฯลฯไปได้

๕๘. อารมณ์ภายนอกต่าง ๆ ที่เราเก็บมายึดถือไว้
ก็เปรียบเหมือนเราเอาหาบของหนัก ๆ มาวางไว้บนบ่า
ถ้าเราปลดปล่อยเสียได้ ก็เท่ากับเราวางหาบนั้นลง

๕๙. จิตที่ได้อบรมอยู่เสมอ ย่อมจะสูงขึ้นแก่ขึ้นทุกที ๆ เป็นลำดับ
เหมือนผลไม้ที่แก่จัด เมื่อสุกงอมแล้ว ก็ย่อมจะหล่นจากขั้วของมันในที่สุด

๖๐.หน้าที่ของเราในการทำสมาธิมีอยู่ ๔ อย่างคือ
๑. รู้ลมเข้าออก
๒. รู้จักปรับปรุงลมหายใจ
๓. รู้จักเลือกว่าลมอย่างไหนสบายไม่สบาย
๔. ใช้ลมที่สบายสังหารเวทนาที่เกิดขึ้น

๖๑. นึก “พุทธ” ลมเข้าไป เอา “โธ” ไว้ลมออกมา
พวกท่านภาวนา “อานาปาน์” คือ ความตาย
๖๒. “พุทโธ” และ “ธัมโม” “สังโฆ” แหละตัวเรา
วันหนึ่งถึงอันเดียวอย่าไปเที่ยวคิดมีสาม
๖๓. การยกจิตออกไปรับสัญญาอารมณ์ภายนอก
นั่นมิใช่เป็นวิธีที่ถูกของการทำสมาธิ

๖๔. ถ้าจิตดีกายไม่ดีก็ใช้การไม่ได้ กายดีจิตไม่ดีก็ไม่ได้ผลอีก
ต้องให้ดีพร้อมกันเป็นสามัคคีธาตุ
๖๕. สติเป็นชีวิตของใจ ลมเป็นชีวิตของกาย
ถ้าลมหายใจของเรานี้อ่อนลง สติก็จะอ่อนตามด้วย

๖๖.ลมภายนอกกับลมภายในนั้นต่างกัน
ลมภายนอกนั้นแต่งไม่ได้ต้องเป็นไปตามธรรมชาติ
ลมภายในนั้นแต่งได้ ปรับปรุงแก้ไขได้
๖๗.ลมเป็นพี่ชายใหญ่ เพราะลมช่วยไฟ ไฟช่วยน้ำ น้ำช่วยดิน
มันสงเคราะห์กันเป็นสามัคคีธาตุ ดังนี้

๖๘.สติเป็นตัวเหตุ เป็นตัวอุปการี
ที่อนุเคราะห์ส่งเสริมให้สมาธิของเราเจริญขึ้น
สตินี้ท่านเรียกว่า มาติกากุสลา แปลว่า แม่ของบุญกุศล
๖๙. สติคือ เชือก จิต เหมือนลูกโค ลมเป็นหลัก
ต้องเอาสติผูกจิต ไว้กับลม จิตจึงจะไม่หนีไปได้

๗๐.ถ้าจิตใจเราตั้งตรงเป็นหลักอยู่กับที่
มีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอแล้ว
นิวรณ์และกิเลสทั้งหลายก็ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้
๗๑. ร่างกาย เป็นผู้ไม่รับทุกข์รับสุขอะไรกับเราด้วยเลย ตัวจิตผู้เดียวเป็นผู้รับ

๗๒. กายสุข ระงับเวทนา ใจสุข ระงับนิวรณ์
๗๓.กายเป็นของสูญเปื่อยเน่า จิตเป็นของไม่สูญ ไม่ตาย
๗๔.จิตที่ดับจากกาย ย่อมหายไปเหมือนกับไฟที่ดับจากเทียน
ไม่มีรูปร่างลักษณะ ให้ตาเนื้อของเราแลเห็นได้
แต่ไฟนั้นก็มิได้สูญหายไปจากโลก

๗๕. ดวงจิตนั้นต้องเลี้ยงมันด้วยบุญกุศล
ต้องให้บริโภคบุญมาก ๆ มันจึงจะอ้วนพี ถ้าบุญน้อยมันก็ผอม
๗๖. เราควรรู้ว่า ร่างกายนั้นเขาวางเรา และหนีเราไปทุกวัน ๆ
แต่เราสิไม่เคยหนีเขา ไม่ยอมวางเขาเลยสักที

๗๗. พระพุทธเจ้าทรงชนะมาร ก็ด้วยสัจจบารมีของพระองค์ คือ ความจริง
เมื่อเราตั้งใจจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี
จิตของเราจะต้องตั้งมั่นให้จริงลงไปในสิ่งนั้นไม่ถอยหลัง
๗๘.เมื่อเรามากำหนดนึกอยู่ในลมหายใจ
ด้วยความมีสติสัมปชัญญะเช่นนี้
ก็จะเป็นพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ และสังฆานุสสติ
นอกจากนี้ยังเป็นกายคตาสติ อานาปานสติ และมรณานุสสติอีกด้วย

๗๙. การที่เรามานั่งภาวนากันอยู่นี้
เปรียบเหมือนกับเรามาขัดสีข้าวเปลือกในยุ้งของเราให้เป็นข้าวสาร
๘๐. ถ้าเราปรารถนาจะได้ความสุขอันเป็นยอดของมหาสมบัติทั้งปวง
ก็ต้องกระทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในบุญกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา ให้พร้อมบริบูรณ์
๘๑. บุคคลผู้ใดหมั่นเจริญเมตตาภาวนา อยู่เป็นนิจ ก็จะได้รับผลคือความสุข

(มีต่อค่ะ)


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ค ติ ธ ร ร ม ๑๐๘ :ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2012, 12:53:37 pm »




รวมสุภาษิตต่าง ๆ

๘๒. ความดี ถ้าใช้ไม่เป็นก็เป็นโทษเป็นบาป
เหมือนกับเงินที่เป็นของดี แต่จ่ายไม่เป็น ก็ขาดทุน
หรือมีดคมถ้าใช้ไม่เป็นก็กลายเป็นโทษ
๘๓.คนพูดดี ก็เป็นน้ำเย็นรดหัวใจชื่นบาน เป็นยาบำรุงหัวใจซึ่งกันและกัน
ถ้าพูดไม่ดีก็เป็นน้ำร้อนน้ำกรดมาสังหารซึ่งกันและกัน

๘๔.คนมีปัญญา จะพูดอะไรก็เป็นบุญเป็นกุศล
เพราะรู้จักการพูดให้ถูกกาล สถานที่บุคคล และสังคม
๘๕.คนที่มีชื่อเสียง แต่ไม่มีความจริง ก็นับว่าดีไม่ได้
คนใดที่มีความจริง ถึงจะมีชื่อเสียงหรือไม่มีก็ตาม ก็นับว่าเป็นคนดี

๘๖. คนอยาก เกิดจากความอด คนอด ก็เกิดจากความอยาก
คนอยากนั้นมักจะไม่ได้กิน คนไม่อยากนั่นแหละได้กิน
๘๗.คนที่ฆ่าความดีของตัวเอง ก็ย่อมฆ่าคนอื่นได้
๘๘. ทุกคนที่เกิดมาย่อมต้องการความสุขกันทุกคน
แต่ความปฏิบัติของเราไม่ตรงต่อเจตนาของตนเอง
ความสุขที่เราต้องการจึงไม่สมปรารถนา

๘๙. ตัวเรา เปรียบเหมือนกับแผ่นเสียง ที่อัดไว้ในทั้งเสียงดีและเสียงชั่ว
เมื่อเราทำความดีก็อัดเข้าไปไว้ในตัว
เมื่อเราทำชั่ว ก็อัดเข้าไปไว้ในตัว
เราทำกรรมอันใดไว้ กรรมนั้นก็ย่อมมีอยู่ในตัวเราทุกอย่าง ไม่หายไปไหน
๙๐. การแสวงหาความดี ต้องอาศัยการศึกษาเป็นหลัก
มิฉะนั้นจะไม่รู้ว่าสิ่งใดควรเอาไว้ สิ่งใดควรทิ้งไว้

๙๑. โรคทางกาย ไม่สำคัญเท่าใด
เพราะเมื่อเราตายแล้ว ถึงจะรักษาหรือไม่รักษามันก็ตาย
ส่วนโรคทางใจนั้น เราตายแล้วมันก็ยังไม่หาย
ทำให้ต้องเวียนตายเวียนเกิดอีกหลายชาติ หลายภพ
๙๒. ยาพิษ ไม่ได้เป็นโทษที่ยา มันเป็นโทษที่ตัวเราเอง หรือผู้ที่กินเข้าไป

๙๓.จะเตะเขาต้องให้เกิดประโยชน์ เขาจะเตะเราต้องอย่าให้เสียท่า
ถ้าไม่เกิดประโยชน์อย่าไปยุ่ง อยู่เฉย ๆ ดีกว่า
๙๔. กลองปีศาจ นักปราชญ์ดี คนไม่ดี เสียงดังเอง
คือชอบพูดแต่คำที่คนอื่นเขาไม่ชอบฟัง
๙๕. บ้านเรือนที่สกปรก ก็ยังไม่ร้ายเท่ากับจิตใจที่สกปรก
๙๖. สุนัขชอบหอนเห่าไม่เอาจริง สุนัขนิ่งชอบเอาจริง ควรระวัง

๙๗. ดีชั่ว ออกจากใคร ย่อมกลับไป หาเขาเอง
๙๘.แก่นจันทน์ ถูกฟันโค่น ยังไม่พ้น กลิ่นหอมหวล
ทำธูป ลูบผิวกาย  คนทั้งหลาย ย่อมนิยม
๙๙. คบคนพาลนำไปหาผิด คบบัณฑิตนำพา ไปหาผล
คบคนชั่ว จะพาตัวยากจน วางใจคนจะจนใจตัว
๑๐๐.จริงกาย จริงวาจา แสวงหาแต่ความดี สัจจะและขันติ
สร้างความดีด้วยเมตตา

(มีต่อ)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 21, 2012, 01:12:40 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ค ติ ธ ร ร ม ๑๐๘ :ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2012, 01:07:20 pm »




๑๐๑. ความดีเป็นของตัว ความชั่วเป็นของเขา
พึ่งท่านไม่เหมือนเรา พึ่งเขาไม่เหมือนตน
ความดีที่จะพ้น ใจของตนจงทำเอา
๑๐๒. ความดีมีในตัวเท่าไข่เหา ความดีของเขาเท่าช้าง ตาเขาฟางมองไม่เห็น

๑๐๓. อบรมปัญญาให้เกิดโดยชอบ รอบคอบด้วยเหตุผล
๑๐๔. มองหลังคอยทำ มองข้างหน้าให้แลเห็น
๑๐๕. อย่าเหยียบคนต่ำ อย่าล้ำคนสูง
๑๐๖. เดินดินระวังเท้า ขึ้นเขาระวังตา

๑๐๗. ความดีและความงาม จงนั่งถามที่ตัวเอง
ความยากและความจนใครอยากพ้นจงทำใจ
๑๐๘. เวลาเขาให้เราโง่ อย่าทำโตเป็นคนฉลาด
เวลาเขาเป็นปราชญ์ เราอย่านั่งอมปาก

๑๐๙. คนที่กลัวตาย ก็จะต้องพบกับความตายอยู่ร่ำไป
ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน ๆ ทั้งนั้น
คนที่หมดความรู้สึกกลัวตาย ก็คือคนที่ไม่ตาย
๑๑๐. “ถ้าใครไม่จริงกับพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาก็ไม่จริงกับผู้นั้น
และผู้นั้นจะรู้จักพระพุทธศาสนาที่แท้จริงไม่ได้”

๑๑๑.“สรุปแล้ว ความไม่ประมาทคือ ความไม่ตายใจ ไม่นอนใจ
ไม่ไว้ใจในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น
ส่วนใดที่เป็นความดี ควรได้ควรถึง
ให้มีความพยายามสร้างสรรค์ขึ้นให้มีในตน
บุคคลผู้นั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท”

๑๑๒.“ดวงจิต ไม่เป็นดีและไม่เป็นชั่ว
แต่เป็นผู้รู้ดีและรู้ชั่ว
เป็นผู้ละดีละชั่ว”
๑๑๓.“ศีลขาด ดีกว่าไม่มีศีลเลย
เพราะคนนุ่งผ้าขาด ย่อมดีกว่าคนเปลือยกาย”

๑๑๔.“ปากเรามันกินผีแยะ เช่น หมู เป็ด ไก่ วัว ควาย ฯลฯ อาจมีผีสิง
ฉะนั้น ก่อนจะปล่อยวาทะใดด้วยเจตนาใดก็ตาม
ต้องมองซ้ายมองขวาให้ดี
เมื่อเห็นเหมาะเจาะดีแล้ว จึงค่อยพูด
ระวังอย่าให้ผิดมรรยาท”
๑๑๕.“คนก็ไม่เสมอกัน แต่ต้องทำใจของเราให้ เสมอ ไว้”

๑๑๖.“มนุษย์นั้นโง่ ชอบกลืนกินแต่อารมณ์เลว
ใช่แต่เท่านั้น เรื่องที่ไม่มีความจริงก็ยังกลืนเข้าไปอีก
ของดีก็ไม่อยากจะสนใจ
ส่วนของไม่ดีอุตส่าห์ไปกระแด่ว ๆ เอาใจไปจดไปจำ
เนื้อก็ไม่ได้กิน หนังก็ไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ”

๑๑๗.“คนโง่นั้นต่อให้นั่งเฝ้าหลุมทองอยู่ก็ไม่มีปัญญา
ทำให้เป็นอะไรได้
คนฉลาด อยู่กับดินกับหญ้า เขาก็ทำให้เป็นเงินเป็นทองได้”
๑๑๘.“สิ่งใดที่เรารักมาก ก็เป็นศัตรูแก่เรามาก
สิ่งใดที่เรารักน้อย ก็เป็นศัตรูแก่เราน้อย สิ่งใดที่เราไม่รักเลย ก็เฉย ๆ”

๑๑๙.“ลมหายใจที่เป็นไปโดยธรรมชาตินั้น มีประโยชน์เพียงกันตายเท่านั้น
ไม่ได้ทำให้เกิดคุณความดีอะไรขึ้นมาได้เลย
ส่วนลมหายใจที่เราตั้งใจให้เป็นไปตามความรู้สึกของเรานั้น
ย่อมทำให้เกิดคุณความดีได้เป็นอเนกประการ”
๑๒๐.“ลม.. ปราบเวทนา สติ.. ปราบนิวรณ์”

๑๒๑.“คนกิเลสหนา สอนง่ายกว่าคนกิเลสบาง
เพราะมันเป็นแผ่นหนา กระเทาะง่าย
ถ้าเปลือกบาง มันปอกยาก
(คือถือว่าตัวดีเสียแล้ว ก็ไม่ค่อยจะยอมละ)”

๑๒๒.“ถ้าเราไปยึดของไม่เที่ยงมาเป็นของตน
เราจะต้องเดินไม่เที่ยงด้วย”
๑๒๓.“ตัวเรา เปรียบเหมือนต้นไม้
ความยึดถือ คือเถาวัลย์
ถ้าเรายินดีในรูป มันก็มัดตา ยินดีในเสียง มันก็มัดหู ฯลฯ
ยินดีในธัมมารมณ์ มันก็มัดใจ
เมื่อเราถูกมัดทั้งหมด เราก็ต้องตาย
บางคนตายไม่ทันใจ ยังต้องมัดคอตัวเองก็มี”
๑๒๔.“ลมหยาบ เป็นยาถ่าย ลมละเอียด เป็นยารักษา ลมกลาง ๆ เป็นยาบำรุง”



ที่มา :http://www.kanlayanatam.com/sara/sara104.htm
กุหลาบสีชา  :http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=25776