ผู้เขียน หัวข้อ: นำพระพุทธลักษณะมาพิจารณา ในการดับทุกข์  (อ่าน 1445 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


นำพระพุทธลักษณะมาพิจารณา ในการดับทุกข์

พระพุทธรูปเป็นตัวแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนไทยนิยมสร้างไว้สักการบูชา รำลึกถึงพระพุทธคุณของพระองค์ ผู้สร้างมีเจตนาที่จะให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงนำพระพุทธลักษณะมาพิจารณาเพื่อใช้ในการดับทุกข์ดังนี้

๑. พระเศียรเป็นก้นหอย คือ นิมิตหมายถึงปัญญา เราเป็นผู้ขมวดปมปัญหา(เป็นก้นหอย) ขึ้นด้วยความคิดของเราเอง ถ้าเราไม่ขมวดปม ความทุกข์ก็ไม่มี

๒. เปลวไฟบนพระเศียร คือนิมิตหมายว่า เราขมวดปมปัญหาขึ้นแล้วเราจะต้องร้อนใจ (ดังไฟสุมหัว) จึงควรเตือนใจตนว่า ถ้าสร้างปัญหาจะต้องร้อนใจ

๓. ยอดแหลมของพระเศียร คือนิมิตหมายว่า เมื่อเราเป็นทุกข์ จะต้องใช้ปัญญาเป็นอาวุธ ดังยอดแหลมคมดุจปลายหอก ของยอดพระเศียร แทงทะลุปมปัญหา และดับความร้อนลุ่มดุจเปลวไฟนั้นไปให้ได้ จึงจะมีความสงบเป็นปกติ



๔. พระเนตรที่หลบต่ำ คือ นิมิตหมายเตือนใจว่า ให้หลบตาลงต่ำมองตนเองเสียบ้าง อย่ามัวเพ่งโทษผู้อื่น อย่าคิดแต่จับผิดผู้อื่น

๕. พระนาสิก (จมูก) โด่ง คือนิมิตหมายเตือนใจว่า ต้องเข้มแข็งอดทน (ดุจสันจมูกที่โด่ง) อย่าเบื่อหน่ายท้อแท้ในชีวิต พระพุทธองค์ทรงมีพุทธลักษณะความเอาจริงเด็ดเดี่ยว อดทนเป็นเลิศจึงได้พบทางอันวิเศษที่จะดับทุกข์ได้

๖. พระโอษฐ์ยิ้มละมัย หมายถึง น้ำพระทัยอันบริสุทธิ์ มีความรักและเมตตาเพื่อนมนุษย์และสัตว์ เปี่ยมล้นจนปรากฏออกมาเป็นรอยยิ้ม เป็นเครื่องเตือนใจเราให้พยายามชำระจิตใจให้บริสุทธ์ เห็นเพื่อนมนุษย์และสัตว์ว่าเป็นเพื่อน ทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน เราจะมีเตตาและรอยยิ้มได้ดุจพระองค์



๗. พระกรรณ (หู) ยาว หูยิ่งยาวก็ยิ่งหนัก จึงเป็นนิมิตเตือนใจให้เป็นคนหูหนัก อย่าหูเบาเชื่ออะไรง่ายๆ

๘. พระหัตถ์ (มือ) แบ พระพุทธรูปเกือบทุกปางจะแบพระหัตถ์ ไม่ว่าปางสมาธิ ปางห้ามญาติ ปางห้ามสมุทธ ปางประทานพร ปางรำพึง ปางรำพึง หรือปางสะดุ้งมาร พระหัตถ์จะแบ ไม่กำพระหัตถ์ เป็นนิมิตรหมายเตือนใจเราให้ปล่อยสละว่างเสียบ้าง เพราะยิ่งกำเข้ามาหาตัวมากก็ยิ่งทุกข์มาก ถ้าปล่อยวางได้ทุกข์ก็จะน้อยลง

๙. นิ้วพระบาทเสมอกัน เราใช้เท้าในการก้าวเดิน เท้าจะเป็นผู้พาตัวเราไป เปรียบเสมือนการก้าวเดินของจิต จะต้องค่อยประคองจิตให้สม่ำเสมอดุจนิ้วพระบาทที่เสมอกัน อย่าหวั่นไหวด้วยรักด้วยชัง ใช้จิตนำกายให้ก้าวไปสู่แต่สิ่งที่ดีงาม

   
พระพุทธรูปปางโปรดสัตว์ (preaching หรือ preach creature)
-http://www.facebook.com/ben2495
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2015, 11:10:15 am โดย ฐิตา »