แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น
@ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก
ฐิตา:
รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก
---------------------------------------------------------
นิทานเซน จาก คุณแสงดาว แปลมา น่าอ่าน ดี
**********************
สวัสดีค่ะเพื่อนสมาชิกและผู้อ่านทุกท่าน
ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า นิทานเซนที่แปลและนำมาให้อ่านต่อไปนี้
ไม่ได้ระบุที่มา เพราะนิทานเซนเป็นเพียงเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา ในยุคแรกๆ
พระอาจารย์ไม่นิยมให้บันทึกเป็นหนังสือ ( สังเกตได้จากนิทานเรื่องแรกที่
จะนำมาให้อ่าน )ยุคหลังๆพระอาจารย์และฆราวาสถึงได้รวบรวมไว้อีกที
หนังสือเซนในท้องตลาดปัจจุบัน แต่ละเล่มมักจะมีเนื้อเรื่องซ้ำๆกัน
สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัว จัดรูปเล่มให้แตกต่างกันออกไป แล้วพิมพ์ขาย
แม้แต่ตัวเอกในนิทานเรื่องเดียวกัน ยังชื่อไม่เหมือนกัน จึงมักไม่ได้ใส่ชื่อไว้
เพราะไม่ทราบว่าจะอ้างอิงเล่มไหนดี ยิ่งในอินเตอร์เน็ตเดี๋ยวนี้ อ้างเนื้อเรื่องเพียง
นิดเดียว แล้วเสริมเติมแต่งด้วยสำนวนนักประพันธ์จนสวยหรู โดยส่วนตัว
แล้วชอบอ่านเหมือนกัน ให้ความรู้สึกคนละแบบกับของเดิมๆ
ดังที่ได้กล่าวแล้ว นิทานเซนเป็นเพียงเรื่องเล่า ซึ่งเล่าผ่านมาเป็นพันปี ความถูก
ต้องตามหลักธรรม อาจจะไม่ใช่แล้ว ก็ขอให้ผู้อ่านอย่าได้คิดจริงจังว่า ตรงนั้น
ตรงนี้ไม่ถูกต้อง
และเนื่องจากผู้แปลไม่ได้เป็นผู้แปลมืออาชีพ และก็ยังปฏิบัติธรรมไปไม่ถึงไหน
และเพิ่งจะแปลหนังสือครั้งนี้เป็นครั้งแรก ศัพท์ทางศาสนาอาจจะใช้ผิดไปบ้าง
สำนวนอาจจะขรุขระไปบ้าง ก็ขออภัยด้วย และยินดีรับฟังคำท้วงติง
เพื่อนำมาพิจารณาและแก้ไขต่อไป นิทานเซนมีเป็นร้อยเรื่อง จะค่อยๆทยอย
แปลมาให้อ่านเรื่อยๆ
จุดมุ่งหมายสูงสุดของการแปลครั้งนี้เพื่อ รวบรวมสิ่งที่ได้อ่านมา
ให้เป็นที่เป็นทาง และอยากให้เพื่อนนักปฏิบัติธรรมด้วยกัน
ได้มีอะไรอ่านเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆมักจะสนใจอ่าน
เรื่องราวเกี่ยวกับนิกายเซนมาก เพราะอาจจะคิดว่า อ่านแล้วอาจจะได้ข้อคิด
ดีๆเพิ่มพูนการปฏิบัติให้ดียิ่งๆขึ้นไป ซึ่งผู้แปลก็เคยได้ผ่านจุดนั้นมาแล้วเหมือนกัน
ในงานสัปดาห์หนังสือเคยกว้านซื้อมาเป็นลัง ไม่เข้าใจตัวเอง
เหมือนกัน ไม่เคยอ่านหนังสือธรรมมะมาก่อน แต่อ่านแล้วเข้าใจ มองเห็น
เป็นภาพพจน์ หลายๆอย่างเราเคยผ่านจุดนั้นมาแล้ว หรืออาจจะเป็นเพราะ
ปฏิบัติในแนวเถรวาทควบคู่ไปด้วยก็เป็นได้
แสงดาว
ที่มา : http://www.thummada.com/
ฐิตา:
๑. ไม่พึ่งพิงตัวอักษร
มีอำมาตย์ท่านหนึ่งในราชวงศ์ถัง นอกจากเป็นผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังปฏิบัติธรรมในแนวนิกายเซน
ท่านสนใจและชอบค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับนิกายเซน และยังชอบจดบันทึกเรื่องราวการปฏิบัติธรรมของตัวเองไว้ แล้วรวบรวมทำเป็นเล่ม
วันหนึ่ง ท่านนำหนังสือที่รวบรวมไว้ไปให้ท่านฮวงโป อย่างนอบน้อม เพื่อขอคำชี้แนะจากท่านฮวงโป
ไม่นึกว่าท่านฮวงโปเมื่อรับไปแล้วโยนไปไว้บนโต๊ะอย่างไม่ไยดี ท่านอำมาตย์รู้สึกกระอักกระอ่วนใจอย่างบอกไม่ถูก พลางนึกว่า
ท่าน ฮวงโปคงจะตำหนิที่ไม่ได้นำอะไรติดมือมาด้วย
ขณะที่กำลังเอ่ยปากจะพูด ท่านฮวงโปก็บอกว่า “เจ้าเข้าใจความหมายที่ทำหรือเปล่า” “ไม่เข้าใจ”
ท่านอำมาตย์ตอบ ท่านฮวงโปพูดต่อว่า “เซนเป็นการสืบทอดนอกขอบข่ายของศาสนา ไม่พึ่งพิงตัวอักษร แล้วเจ้าทำไมถึง
นำหลักธรรม มาทำเป็นตัวอักษร เป็นหนังสือ นี่ไม่ใช่เป็นการทำลายหลักธรรมอันแท้จริงหรอกหรือ”
ท่านฮวงโปเป็นคนเปิดเผย พูดจาตรงไปตรงมา ท่านสูง 7 ฟุต มีเม็ดเนื้อเป็นก้อนกลมๆเหมือนไข่มุกงอกติดอยู่ที่หน้าผาก
ฐิตา:
๒. ตัวรู้
ครั้งหนึ่ง ท่านเว่ยหล่างไปพักค้างแรมที่บ้านหลังหนึ่ง ขณะที่กำลังจะนอนพักผ่อนในช่วงบ่าย
ได้ยินเสียงคนกำลังสวดมนต์ เลยลุกขึ้นไปถามผู้นั้นว่า “เจ้าเข้าใจความหมายของบทที่สวดหรือเปล่า ”
“บางตอนเข้าใจยากจริงๆ” ท่านเว่ยหล่างเลยอธิบายให้ฟังบางตอนของบทสวดว่า
“เมื่อเราอยู่ในโลกแห่งมายาจอมปลอมนี้จนผมหงอกขาวหมดไปทั้งหัวแล้ว พวกเราต้องการอะไร?
และเมื่อไฟแห่งชีวิตกำลังจะมอดลง ใจเต้นอ่อนลง และลมหายใจกำลังจะขาดรอนๆ อะไรคือสิ่งสุดท้ายที่เราหวัง?
และเมื่อกายของเรากำลังเน่าเปื่อยอยู่ในสุสาน ธาตุกลับคืนสู่ธาตุ ธาตุดินสู่ดิน
ชีวิตกลายเป็นสิ่งไร้ความรู้สึกในความว่างเปล่าแล้ว
เราอยู่ที่ไหน?”
คนที่สวดมนต์นั้นได้ชี้คำหลายคำในคัมภีร์ที่ไม่เข้าใจความหมายแล้วถาม ท่านเว่ยหล่างยิ้มๆแล้วตอบว่า
“ข้าพเจ้าไม่รู้หนังสือ ท่านถามมาเลยดีกว่า" คนๆนั้นรู้สึกแปลกใจแล้วพูดขึ้นว่า “ท่านอ่านหนังสือไม่ออก
ท่านจะเข้าใจความหมาย เข้าใจหลักธรรมได้อย่างไร?”
ท่านเว่ยหล่างตอบว่า “หลักธรรมของพุทธะ กับตัวหนังสือไม่เกี่ยวกัน ตัวหนังสือเป็นเพียงเครื่องมือที่จะเรียนรู้
สิ่งที่จะเข้าใจหลักธรรมคือจิต คือตัวรู้ ไม่ใช่ตัวหนังสือ
ท่านเว่ยหล่างรับตำแหน่งพระสังฆนายกโดยที่ยังไม่ได้บวช หลังรับตำแหน่งต้องหนีภัยจากพระที่เป็นศิษย์พี่
ไปอยู่ในป่ากับพรานป่า 15 ปี ถึงจะกลับมาในเมืองแล้วบวช
ฐิตา:
๓. อยู่กับปัจจุบัน
พระชิงหลวนแห่งญี่ปุ่น เมื่อตอนที่อายุ 9 ขวบ ก็คิดที่จะออกบวช จึงไปขอบวชกับพระอาจารย์ฉือเจิ้น
พระอาจารย์บอกว่า “เจ้าอายุยังน้อย คิดจะบวชทำไม ?”
ชิงหลวนตอบว่า “แม้ข้าพเจ้าจะอายุยังน้อย แต่พ่อแม่เสียชีวิตหมดแล้ว และเพราะเหตุว่าข้าพเจ้าไม่รู้ว่า
คนเราทำไมต้องตาย ทำไมต้องแยกจากพ่อแม่เพื่อที่จะสืบค้นหาต้นตอของสิ่งเหล่านี้ ข้าพเจ้าจึงต้องบวช”
พระอาจารย์รู้สึกชมชอบอุดมการณ์อันดีนั้น จึงพูดว่า ”ดีแล้ว อาจารย์จะรับเจ้าเป็นศิษย์ แต่คืนนี้ก็ค่ำแล้ว
ไว้พรุ่งนี้จะทำการบวชให้เจ้า” แต่ชิงหลวนพูดว่า “ข้าพเจ้าอายุยังน้อย ไม่ทราบว่าจะรักษาความคิดที่จะบวชจนถึงพรุ่งนี้ได้หรือเปล่า
และท่านอาจารย์ก็อายุมากแล้ว ก็ไม่สามารถจะรับรองได้ว่า
พรุ่งนี้เช้าอาจารย์จะยังมีชีวิตอยู่อีกหรือเปล่า” พระอาจารย์ฟังแล้วรู้สึกปลื้มปีติยิ่งนัก บอกว่า
“ถูกต้อง เจ้าพูดไม่ผิดเลย ตอนนี้จะบวชให้เจ้าทันที”
ที่เมืองจีนสมัยราชวงศ์ถัง ผู้ที่จะบวช จะต้องผ่านการสอบคัดเลือกก่อน พระถังซำจั๋งตอนนั้นอายุเพียง 12 ปี
สอบไม่ผ่าน รู้สึกเสียใจจนร้องไห้ผู้คุมสอบ เจิ้งซ่านกว่อ ถามว่า “ร้องไห้ทำไม” ซำจั๋งตอบว่า “อยากสืบทอดศาสนาของพระพุทธองค์
และให้เมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะเป็นที่เลื่องลือไปทั่วปฐพี”
ผู้คุมเห็นอุดมการณ์อันสูงส่งนั้น จึงอนุญาตให้บวช ซึ่งต่อมาทั้งสองท่านก็มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และทำคุณประโยชน์ให้กับศาสนามากจริงๆ
ฐิตา:
๔. ปฏิบัติธรรมอย่างไร
พระอาจารย์ว้อหลุนหลังจากบำเพ็ญเพียรอยู่หลายปี ก็นึกว่า ตนเองรู้แจ้งแล้ว
จึงไปหาท่านเว่ยหล่างเพื่อทดสอบภูมิธรรม พร้อมกับเขียนโศลกว่า
ว้อหลุนมีเทคนิคและวิธี ที่จะสามารถดับร้อยความคิดได้
สิ่งที่มากระทบจิตไม่เกิด ต้นโพธิ์เติบโตขึ้นทุกวัน
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
(โศลกบทนี้ต้องกำกับภาษาจีนด้วยเพราะแตกต่างจากที่ท่านพุทธทาสแปลไว้เล็กน้อย)
ท่านเว่ยหล่างเมื่ออ่านแล้วได้พูดกับลูกศิษย์ว่า ว้อหลุนยังไม่ได้เข้าถึงหลักธรรมอย่างแท้จริง
หากปฏิบัติธรรมลักษณะนี้ต้องตายแน่ คิดว่าสิ่งที่มากระทบจิตไม่เกิดเป็นความสามารถอย่างสูง เป็นความเข้าใจที่ผิด
เราปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพุทธะที่มีชีวิต
ไม่ใช่เป็นพุทธะที่ตายแล้ว กลายเป็น ทอง ไม้ ดิน หรือหิน
แล้วจะเป็นพุทธะอย่างไร ไม่สามารถฉุดช่วยผู้คน แล้วจะมีประโยชน์อะไร
ท่านเว่ยหล่างจึงแต่งโศลกตอบไปว่า
เว่ยหล่างไม่มีเทคนิคและวิธี ร้อยความคิดก่อเกิดไม่มีหยุด
สิ่งที่มากระทบจิตย่อมเกิด แล้วต้นโพธิ์จะเติบโตได้อย่างไร
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
เหล่าลูกศิษย์ไม่เข้าใจ ท่านเว่ยหล่างจึงอธิบายให้ฟังว่า
ทุกสิ่งที่ต้องใช้เทคนิคและวิธีล้วนแต่ต้องใช้ความสามารถ
จิตย่อมจดจ่ออยู่กับความสามารถในการกระทำนั้น ยังเป็นการยึดติดอยู่กับการกระทำ ยังใช้ไม่ได้
ไม่จำเป็นต้องไปดับความคิด ไม่มีความคิดแล้วจะไปทำอะไรได้
หากไม่มีความคิดก็เหมือนกับก้อนหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เหมือนกับเวลาที่เราแสดงธรรมหรือฟังธรรมต้องใช้ความคิดร่วมด้วย
แม้มีความคิดแต่ไม่ยึดติดกับรูปลักษณ์นั้น ก็เหมือนกับไม่มีความคิด
ส่วนต้นโพธิ์นั้นแสดงถึงจิตเดิมแท้ของพุทธะ ไม่เพิ่มไม่ลด ไม่เกิดไม่ดับ แม้จะปฏิบัติธรรมจนเป็นพุทธะแล้ว
ก็ไม่ได้เพิ่มอะไรแม้แต่นิดเดียว แล้วจะมีอะไรเติบโตได้อย่างไร
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version