๗๔.
๖ ฟ้าดินก็คือวัดหลังจากที่พระอาจารย์มรณภาพแล้ว เณรน้อยนั้นก็ได้กลายเป็นเจ้าอาวาส
ท่านมักจะครองจีวรอย่างเรียบร้อย ถือหีบยาแล้วไปในที่ๆสกปรกและยากจนที่สุด
เพื่อช่วยคนไข้เช็ดแผลเปลี่ยนยา แล้วกลับวัดด้วยจีวรที่เปรอะเปื้อนไปหมด
ท่านมักจะออกไปบิณฑบาตด้วยตนเอง แต่เมื่อมือขวารับเงินบริจาคมา
มือซ้ายท่านก็ส่งมอบไปช่วยเหลือคนยากไร้ ท่านมักจะไม่ค่อยอยู่ที่วัด
แล้วก็ไม่เคยก่อสร้างวัดเพิ่มเติม แต่มีศาสนิกชนศรัทธาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ท่านกล่าวว่า “ขณะที่พระอาจารย์มีชีวิตอยู่ ท่านสอนว่า อะไรคือสมบูรณ์แบบ
สมบูรณ์แบบคือขอให้โลกนี้ดีพร้อม
อะไรคือ รักสะอาด รักสะอาดคือช่วยเหลือคนที่ไม่สะอาด ให้สะอาดขึ้นมา
ท่านยังชี้แนะเรื่องการบิณฑบาต คือการช่วยให้คนจับมือกัน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างบุญสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
อะไรคือวัด วัดไม่จำเป็นต้องอยู่บนเขา แต่ควรอยู่ในหมู่มนุษย์
ทิศเหนือใต้ออกตก ก็เป็นที่ๆจะแสดงธรรมได้
ที่ไหนๆก็เป็นวัดของข้า”
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชาวนาคนหนึ่งมีธุระจะต้องเดินทางไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง
ขณะที่เดินทางรอนแรมอยู่กลางป่าพบว่า การจะไปอีกหมู่บ้านหนึ่งนั้น
จะต้องข้ามแม่น้ำ หรือไม่ก็ปีนข้ามเขาสูงไป
ขณะที่กำลังคิดว่าจะข้ามแม่น้ำไปดีหรือจะปีนเขาดี
พลันก็เห็นต้นไม้ใหญต้นหนึ่ง จึงใช้ขวานที่นำติดตัวมาโค่นต้นไม้นั้นลงมา
แล้วก็ทำเป็นเรือชาวนาคนนั้นรู้สึกดีใจมาก
และนึกชมเชยถึงความสามารถของตัวเองอยู่ในใจ
แล้วก็นั่งเรือนั้นข้ามฟากไป
เมื่อข้ามฝั่งไปได้ ชาวนานั้นรู้สึกว่าเรือนี้มีประโยชน์มาก ถ้าหากทิ้งไว้ที่นี่ คงจะ
น่าเสียดาย และหากข้างหน้ามีแม่น้ำอีก ก็คงจะต้องตัดต้นไม้ทำเรืออีก กว่า
จะต่อเรือเสร็จ ต้องเสียแรงและเวลาอีกไม่น้อย ชาวนานั้นจึงตัดสินใจแบก
เรือนั้นติดตัวไปด้วย เผื่อจะได้ใช้ยามต้องการ
ชาวนาแบกเรือนั้นด้วยความเหน็ดเหนื่อยและมีเหงื่อท่วมตัว
ทำให้ยิ่งเดินยิ่งช้าลงเรื่อยๆ เพราะเรือนั้นหนักเหลือเกิน
และกดทับทับเขาจนแทบจะหายใจไม่ออก
ชาวนานั้นเดินไปพักไป บางทีก็คิดจะทิ้งเรือนั้นไป แต่อีกใจหนึ่งก็รู้สึกเสียดาย
คิดในใจว่า “แบกมาตั้งไกลแล้ว แบกต่อไปเถิด บางทีถ้าเจอแม่น้ำอีก ก็จะได้ใช้
และแล้ว ขณะที่แบกจนเหงื่อท่วมตัว จนถึงใกล้จะมืดค่ำ เพิ่งจะรู้สึกว่า หนทางที่
เดินผ่านมาเป็นทางที่ราบเรียบ จนถึงอีกหมู่บ้านก็ไม่เห็นมีแม่น้ำอีก การแบกเรือ
มาด้วย ทำให้เขาต้องเสียเวลาเดินทางเพิ่มขึ้นอีกเป็นสามเท่า
มนุษย์เราไม่มีใครจะรู้ล่วงหน้าได้ว่า เส้นทางเดินของชีวิตตัวเองจะเป็นทางที่
ราบเรียบ หรือขรุขระ หรือจะพบกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราด หรือว่าจะต้อง
ปีนขึ้นไปบนภูเขา แต่ไม่ว่าทางเดินชีวิตจะเป็นเช่นใด เราก็จำเป็นจะต้องเลือกวิธีที่
ทำตัวตามสบาย เดินไปอย่างมีความสุข หรือจะแบกเรืออันหนักอึ้งไปด้วย
บางครั้งสภาวะจิตของเราที่พบกับเหตุการณ์ต่างๆ ก็เหมือนกับการแบกเรือ
ลำหนึ่งไว้ การแบกอย่างนั้นก็เหมือนกับการผูกมัด เราจำเป็นต้องวางลงเสียบ้าง
เพื่อให้จิตได้พบกับความเบิกบาน ความสบาย ความปลดปล่อย เดินไป
บนทางเดินชีวิตอย่างสบายใจและมีความสุข