แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น
@ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก
ฐิตา:
๗๔. ๗ แค่ความคิดช่วงหนึ่ง
วันหนึ่งมีชายหนุ่มที่ผิดหวังสองคนมาหาพระอาจารย์พร้อมกัน
“พระอาจารย์ครับ พวกเราถูกคนในที่ทำงานกลั่นแกล้ง อย่างแสนสาหัส
ขอท่านช่วยชี้แนะหน่อยว่า พวกเราควรจะลาออกหรือไม่?”
พระอาจารย์ปิดตานิ่งอยู่นานแล้วจึงพูดออกมาแค่ห้าคำว่า “ก็แค่ข้าวชามเดียว”
แล้วโบกมือทำท่าว่า ให้กลับไปได้แล้ว
เมื่อกลับไปแล้ว คนหนึ่งก็ไปลาออกทันที กลับไปทำไร่นาอยู่ที่บ้าน
อีกคนหนึ่งก็ยังคงทำงานต่อไป วันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว
สิบปีให้หลัง คนที่กลับไปทำไร่นา ใช้วิทยาการยุคใหม่ บวกกับความตั้งใจ
อย่างมุ่งมั่น กลายเป็นเกษตรกรมืออาชีพและมีชื่อเสียง
อีกคนที่ยังทำงานอยู่ที่บริษัท พยายามใช้ความอดทน
ตั้งหน้าตั้งตาทำงานต่อด้วยความมุ่งมั่น ก็ค่อยๆได้รับความสนใจจาก
เจ้านาย ในที่สุดก็ได้กลายเป็นผู้จัดการของบริษัท
วันหนึ่ง เมื่อทั้งสองได้พบกันแล้ว คนที่เป็นเกษตรพูดว่า
“แปลกนะ พระอาจารย์เพียงชี้แนะคำว่า ”ก็แค่ข้าวชามเดียว” ให้กับเราสองคนเหมือนกัน
คำห้าคำนี้ข้าฟังทีเดียวก็เข้าใจ ก็แค่ข้าวชามเดียว ถึงกับจะต้องอะไรนักหนา
ทำไมต้องไปนั่งทนอยู่ในบริษัทให้เขาโขกสับ ดังนั้นจึงคิดลาออก”
“ตอนนั้นทำไมเจ้าไม่ฟังคำของพระอาจารย์ล่ะ” เกษตรถาม
“ข้าฟังแล้ว คิดว่า อดทนอีกหน่อย เหนื่อยอีกหน่อย ก็เพื่อข้าวชามหนึ่ง
คนอื่นจะแกล้งอย่างไร ก็ไม่คิดโกรธ ไม่เกี่ยงงอน ก็ได้แล้ว
พระอาจารย์ไม่ได้ชี้แนะลักษณะนี้หรือ?”
ทั้งสองเก็บความสงสัยไปถามพระอาจารย์ พระอาจารย์ก็ชราภาพมากแล้ว
ท่านก็ยังคงปิดตานิ่งอยู่นาน ตอบมาอีกห้าคำเหมือนกัน
“แค่ความคิดช่วงหนึ่ง” แล้วก็โบกมือให้ออกไปได้
ฐิตา:
๗๕. สรรพสิ่งล้วนก่อเกิดขึ้นจากที่ใจ
พระอาจารย์และลูกศิษย์ขณะที่กำลังเดินทางไปในที่แห่งหนึ่ง
ลูกศิษย์ซึ่งต้องแบกสัมภาระและเครื่องใช้ต่างๆ เดินไปบ่นไป ว่า
เหนื่อยและหนัก เดินไปสักประเดี๋ยว ก็บ่นว่าเหนื่อยและจะขอ
แวะพักบ่อยๆ
เมื่อเดินผ่านเข้าไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง พอดีมีสาวนางหนึ่ง เดินออกมา
จากบ้าน พระอาจารย์จึงเดินเข้าไปจับสองมือของสาวนางนั้น
สาวนั้นตกใจร้องช่วยด้วยเสียงดังลั่น คนในบ้านและชาวบ้านออกมาดู
นึกว่าพระจะลวนลามหญิงสาว จึงพากันถืออาวุธแล้วจะวิ่งไล่ตี
พระอาจารย์จึงวิ่งหนี ส่วนลูกศิษย์ที่ถือสัมภาระอยู่ ก็วิ่งหนีตามอย่างไม่
คิดชีวิตเหมือนกัน เมื่อกะว่าชาวบ้านไม่ไล่ตามมาแล้ว
พระอาจารย์จึงหยุดพัก แล้วถามลูกศิษย์ว่า “ยังรู้สึกว่าหนักหรือเปล่า?”
ลูกศิษย์รู้สึกประหลาดใจ ที่เมื่อกี้ขณะที่เหตุการณ์ชุลมุน ทำไมถึงไม่รู้สึกว่า
เหนื่อยและรู้สึกว่าสัมภาระหนักเลย จึงได้เรียนรู้ขึ้นมาว่า
“ สรรพสิ่งล้วนก่อเกิดขึ้นมาจากที่ใจ ”
ฐิตา:
๗๖. หลักการของจักรยานทดน้ำ
พระอาจารย์ท่านหนึ่งขณะที่กำลังเดินทางไปโปรดญาติโยมตามที่ต่างๆ
ขณะที่ผ่านที่แห่งหนึ่ง รู้สึกหิวน้ำจึงเดินตามหาแหล่งน้ำ บังเอิญเห็น
ชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังปั่นจักรยานน้ำเพื่อทดน้ำเข้านา จึงขอน้ำดื่มจาก
ชายผู้นั้นเมื่อชายหนุ่มประเคนน้ำดื่มแล้ว พูดขึ้นด้วยความเลื่อมใสศรัทธาว่า
“พระอาจารย์ครับ วันหนึ่งถ้าข้าพเจ้าปลงตกแล้วจะออกบวชศึกษาธรรมะเช่น
เดียวกับท่าน แต่ว่าเมื่อข้าพเจ้าออกบวชแล้ว จะไม่ออกเทศนาโปรดญาติโยม
ไปทั่วเหมือนเช่นท่าน ข้าพเจ้าจะหาที่ที่สงบวิเวก ตั้งหน้าตั้งตั้งตานั่งสมาธิ
วิปัสสนา ไม่ออกมาวุ่นวายกับโลกภายนอก”
พระอาจารย์อมยิ้มแล้วพูดขึ้นว่า “ แล้วเมื่อไหร่เจ้าถึงจะปลงตกได้ ?”
“ในหมู่บ้านนี้ คนรุ่นเดียวกับข้าพเจ้าก็มีข้าพเจ้าเพียงคนเดียวเท่านั้นที่
เข้าใจวิธีการของจักรยานน้ำที่ทดน้ำเข้านา ซึ่งคนทั้งหมู่บ้านก็ต้องอาศัย
แหล่งน้ำจากที่นี่ หากข้าพเจ้าสามารถหาคนที่มาทำงานแทนข้าพเจ้า
และเมื่อไม่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบติดตัว ข้าพเจ้าก็สามารถหาทางออก
ให้ตัวเองได้ เมื่อนั้น...
ข้าพเจ้าก็จะ สลัด ทุกอย่างออกจากตัว แล้ว ออกบวช ” ชายหนุ่มตอบ
“ได้เจ้าเป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องจักรยานน้ำมากที่สุด หากจักยานน้ำทั้งคัน
จมอยู่ในน้ำ หรือรถทั้งคันพ้นจากน้ำ แล้วจะเป็นยังไง?”
“หลักการที่แท้จริงคือต้องให้ครึ่งหนึ่งของช่วงล่างจมอยู่ในน้ำ ครึ่งหนึ่ง
ของด้านบนทวนกระแสน้ำแล้วหมุน ถ้าให้จักรยานทั้งคันจมอยู่ในน้ำ
ไม่แต่ทำให้ไม่หมุนแล้ว ยังจะต้องถูกกระแสน้ำพัดพาไปทั้งคัน และใน
หลักการเดียวกัน ถ้าให้ทั้งหมดอยู่พ้นน้ำก็ไม่สามารถทดน้ำขึ้นมาได้”
พระอาจารย์กล่าวต่อว่า “ความเกี่ยวข้องของจักรยานน้ำกับกระแสน้ำ
ก็เหมือนกับความเกี่ยวพันของคนกับโลกของเรา หากคนๆหนึ่งอยู่ในก
โลมนุษย์ที่ยังอยู่ในเพศฆราวาส ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องถูกกระแสแห่งกิเลส
แบบโลกๆซัดพาไป และหากเข้ามาอยู่ในเพศบรรพชิต
คิดจะใช้ชีวิตสูงส่งใสสะอาด ไม่ไปคลุกคลีไปมาหาสู่กับคนในโลก ก็จะ
ทำให้ชีวิตล่องลอยไปเหมือนขาดราก หมุนวนไปอย่างเปล่าประโยชน์
เพราะเหตุนี้คนที่จะปฏิบัติธรรม จะอยู่เป็นที่หรือจะออกไปโลกภายนอกก็ได้
ตามโอกาสจะต้องไม่เป็นผู้นิ่งดูดายหรือเข้าไปทุ่มสุดตัว
ต้องให้ทั้งฆราวาสและบรรพชิตต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือจุนเจือซึ่งกันและกัน
นี่ถึงจะเป็นการกระทำที่ถูกต้อง
ทั้งต่อ เพื่อนมนุษย์ และต่อ หน้าที่ ที่ถูกต้อง ของผู้ออกบวชฝึกปฏิบัติธรรม
ฐิตา:
๗๖. ๑ ดูคัมภีร์วันละคำ
วันหนึ่ง พระอาจารย์ท่านหนึ่งถามศิษย์ว่า “วันหนึ่งเจ้าดูคัมภีร์กี่เล่ม?”
“เจ็ดแปดเล่ม บางทีก็สิบเล่ม” ลูกศิษย์ตอบ
พระอาจารย์พูดว่า “เจ้าดูคัมภีร์ไม่เป็น”
ลูกศิษย์เลยถามว่า “แล้วอาจารย์ดูวันละกี่เล่ม?”
“วันหนึ่งดูหนึ่งคำ” อาจารย์ตอบ
คำพูดของอาจารย์ที่ว่าวันหนึ่งดูหนึ่งคำ คือจิต
จิตครอบคลุมสรรพสิ่ง จิตคือธรรมะ จิตก่อให้เกิดสรรพสิ่ง
จิตคือทุกอย่าง จิตคือพุทธะ
ดูตำราแม้จะมีประโยชน์ เข้าใจผิดไปกลับมีโทษ
ตำราอาจจะเป็นยา หรืออาจเป็นยาพิษ
การให้ยากับโรค ให้ถูกโรคหาย ให้ผิดอาจถึงตาย
ดังนั้น การอ่านคัมภีร์จะไม่ระมัดระวังไม่ได้
ตำราคัมภีร์มีเป็นพันๆเล่ม ไม่รู้จะเริ่มอ่านเล่มไหนก่อน
ธรรมะแปดหมื่นสี่พันข้อ สามารถเข้าถึงธรรมได้ทุกข้อ
เราอาจไม่รู้จะเริ่มที่ข้อไหนก่อน
แต่การดูจิตสามารถดูได้ทุกที่ทุกเวลา
จนมีผู้กล่าวว่า "ตู้พระไตรปิฎกก็อยู่ในจิตของเรานั่นเอง"
ฐิตา:
๗๖. ๒ สะอาด
ครั้งหนึ่งมีการจัดการปฏิบัติธรรมเจ็ดวัน ที่วัดแห่งหนึ่ง
วันนั้นจะมีหัวข้อบรรยายธรรมเรื่อง “ สะอาด ”
ขณะที่พระอาจารย์กำลังเริ่มต้นจะบรรยายธรรม
มีเสียงคล้ายกับจะถามคำถามดังมาจากหมู่ผู้ปฏิบัติธรรม
พระอาจารย์จึงถามขึ้นว่า “ใคร ใครจะถามอะไร?”
ปรากฏว่ามีเด็กหญิงอายุประมาณ 12-13 ปี ยกมือขึ้นมาว่าจะถาม
พระอาจารย์จึงเรียกให้เด็กหญิงนั้นเดินมาข้างหน้า เด็กหญิงนั้นเดินมา
ข้างหน้าแล้วพนมมือ ไหว้พระอาจารย์ แล้วพูดว่า
“พระอาจารย์ ข้าพเจ้าอาบน้ำทุกวัน สะอาดมากพอแล้ว ทำไมยังต้องสะอาดอีก”
พระอาจารย์จึงชี้มือไปยังบริเวณด้านนอก แล้วบอกกับเด็กหญิงว่า
“แถวนั้นมีดอกกุหลาบแดงบานอยู่ สวยไม่สวย ชอบหรือไม่?”
“สวยเจ้าค่ะ ชอบค่ะ”
“งั้นไป ไปเด็ดมา”
เด็กหญิงนั้นไปเด็ดแล้วนำมาให้พระอาจารย์ พระอาจารย์หยิบมาแล้ว
ก็นำไปปักไว้ในแจกันที่ว่างใบหนึ่ง แล้วถามว่า
“แถวๆนั้นยังมีกุหลาบอีกมากมาย จะเด็ดมาให้หมดหรือเปล่า?”
“ไม่เด็ดเจ้าค่ะ” เด็กหญิงตอบ
“ทำไม” พระอาจารย์ถาม
“หากเด็ดจนหมด ดูแล้วด้วนๆ ไม่สวย ทำลายดอกไม้เยอะแยะอย่างนั้นทำไม?”
“ในแจกันปักดอกกุหลาบเพียงดอกเดียว ดูแล้วไม่ยิ่งน่าเกลียดไปกว่าหรือ?”
“ไม่เจ้าค่ะ หากเด็ดมาหมด ก็เป็นการโลภเกินไป”
“โลภ ไม่ดีหรอกหรือ” พระอาจารย์ถาม
“ไม่ดี ไม่สะอาด”
พระอาจารย์จึงตอบว่า “นั่นแหละ หากในจิตไม่โลภ ไม่หลง นั่นแหละ
คือ “สะอาด” เจ้าอยากจะมีจิตที่สะอาดไม่เปรอะเปื้อนหรือเปล่า?”
“อยากเจ้าค่ะ” เด็กหญิงตอบ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version