แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น

@ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก

<< < (28/31) > >>

ฐิตา:

             

๙๓. กินข้าวนอนหลับ

มีนักปฏิบัติธรรมท่านหนึ่งถามพระอาจารย์ว่า “ท่านมีเคล็ดลับการปฏิบัติ
ธรรมที่ลึกล้ำหรือเปล่า?”
พระอาจารย์ : มี
นักปฏิบัติ : มีเคล็ดลับอะไรบ้าง?
พระอาจารย์ : เมื่อหิวก็กินข้าว เมื่อง่วงก็นอน
นักปฏิบัติ : คนทั่วไปก็ต้องกินข้าวนอนหลับอยู่แล้ว
แล้วจะแตกต่างจากการปฏิบัติธรรมของท่านอย่างไร

พระอาจารย์ : ไม่เหมือน
นักปฏิบัติ : ไม่เหมือนอย่างไร?
พระอาจารย์ : คนโดยทั่วไป เวลากินข้าวก็คิดไปถึงเรื่องราวต่างๆ
ร้อยแปดพันเก้า เวลานอนก็ฟุ้งซ่านจนไม่เป็นอันนอน



กินข้าวนอนหลับ ฟังไปเหมือนกับเป็นสิ่งที่ง่ายๆ
แต่จะมีสักกี่คนที่กินอย่างมีสติ จิตไม่ส่ายไปคิดถึงสิ่งอื่นๆ
หรือเวลาทำกิจกรรมอื่น สติก็ไม่ได้จ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ
จิตกลับวิ่งไปอยู่ที่อื่นตามแต่กิเลสจะพาไป
และเวลานอนก็นอนหลับได้อย่างสุขสงบไร้กังวล

.......... จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ปกติเรียบง่ายที่สุด…….
.... แต่จะปฏิบัติจนถึงสภาวธรรมที่เรียบง่ายสงบที่สุด
จำเป็นจะต้องผ่านการฝึกฝนจิตจนถึงขั้นที่ไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆ
... สามารถปล่อยวาง และเข้าใจถึงความเป็นอนิจจังได้

             

ฐิตา:


 

๙๔. อะไรคือมรรค

เณรน้อยรูปหนึ่ง เมื่อใกล้จะถึงเวลาที่จะบวชเป็นพระ
จึงเดินทางไปหาพระอาจารย์ท่านหนึ่ง ขณะเมื่อเห็นพระอาจารย์นั้น
ครั้งแรก ก็เห็นพระอาจารย์นั้นนอนพักผ่อนอยู่

พระอาจารย์เห็นเข้าจึงถามว่า “เจ้ามาจากที่ใด?”
มาจากสถานที่ปฏิบัติธรรม “รูปมงคล”
แล้วเจ้าเคยเห็นรูปมงคลหรือเปล่า? พระอาจารย์ถาม
“ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นรูปมงคลใดๆ เห็นแต่เพียงท่านยูไลที่นอนอยู่”

ได้ยินเณรนั้นตอบ พระอาจารย์รู้สึกแปลกใจมาก ถึงกับลุกขึ้นมา
แล้วถามว่า “เจ้ามีอาจารย์สอนอยู่แล้วหรือเปล่า?”
“มี” เณรตอบ
“เป็นผู้ใด?”
เณรนั้นไม่ตอบ แต่แสดงความคารวะแล้วพูดว่า
“อากาศหนาวเย็น หวังว่าท่านอาจารย์จะระวังรักษาสุขภาพ”

เณรถามต่อว่า “อะไรคือมรรค?”
“จิตที่ปกติคือมรรค” พระอาจารย์ตอบ
“มีวิธีการใดที่จะทำให้บรรลุถึงขั้นนั้นหรือเปล่า?”
“เมื่อเกิดความคิดที่ว่า “จะบรรลุให้ถึง” ก็เกิดมีการเอนเอียงไปข้างหนึ่งแล้ว”
“หากปิดกั้นความคิดที่จะเกิดทุกทางแล้ว แล้วเราจะเห็นหนทางได้อย่างไร?”
เณรถาม

พระอาจารย์ตอบว่า
“หนทางนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่า  รู้หรือไม่รู้  รู้คือ  ความคิด  แบบคาดการ
ไม่รู้  คือความตายด้าน  หากเจ้าสามารถที่จะ  ปฏิบัติ  จนถึงขั้นที่
ปราศจาก ความสงสัยใดๆ  ก็เหมือนกับจักรวาลที่กว้างใหญ่ไพศาล
ไร้ขอบเขตไร้ประมาณทำไมจะต้องถูกผัสสะทั้งหลายมาเป็นบ่วงรัดไว้
เณรนั้นเมื่อได้ฟังคำกล่าวของอาจารย์ ก็ตั้งใจว่าจะบวชอยู่กับพระอาจารย์ท่านนี้

                 

ฐิตา:


           

๙๖. รู้จักถนอมสิ่งของ

พระอาจารย์สามท่านเดินทางร่วมกันไปเทศนาโปรดญาติโยมตามที่ต่างๆ
วันหนึ่งขณะที่กำลังคิดว่าจะเดินไปบิณฑบาตที่ไหนดี ก็เห็นใบผักสดๆลอย
ผ่านธารน้ำไป

พระอาจารย์ท่านหนึ่งพูดว่า “ในน้ำมีผักลอยมา คิดว่าที่ลำน้ำด้านบน
ต้องมีคนอาศัยอยู่แน่ พวกเราเดินไปตามลำน้ำกันเถอะ”

พระอาจารย์อีกท่านหนึ่งพูดว่า “ใบผักที่งดงามและสดอย่างนี้ ปล่อยให้
ลอยน้ำทิ้งไป ช่างน่าเสียดายยิ่งนัก”

พระอาจารย์คนที่สามพูดขึ้นว่า “หมู่บ้านและผู้คนที่ไม่รู้จักถนอมสิ่งที่มีอยู่
ไม่สมควรที่จะไปเทศน์โปรดเลย พวกเราเดินทางไปบิณฑบาตที่อื่นกันเถอะ”

ขณะที่ทั้งสามกำลังจะเดินไปที่อื่น ก็เห็นคนๆหนึ่งกำลังกระหืดกระหอบวิ่ง
มาแล้วถามว่า “ท่านอาจารย์ พวกท่านเห็นใบผักลอยมาตามน้ำหรือเปล่า?
เมื่อกี้ขณะที่กำลังล้างผักอยู่ ไม่ทันระวัง ใบผักเลยลอยตามน้ำไป ตอนนี้เลย
กำลังตามหาอยู่ ไม่อย่างนั้นคงเสียดายแย่”

พระอาจารย์สามท่านได้ฟังแล้ว จึงตัดสินใจพร้อมกันว่า จะไปเทศน์โปรดที่หมู่บ้านนี้

การรู้จักถนอมสิ่งของคือการรู้จักถนอมความสุข มีแต่คนที่รู้จักถนอมความสุขถึง
จะมีความสุข ข้าวหนึ่งเม็ด ผักหนึ่งใบ ไม่ได้อยู่ที่ราคาของสิ่งของ แต่เป็นสิ่งมีค่า
ในมุมมองของชาวเซน

               

ฐิตา:


           

๙๗. วิธีการเดียวกัน

มีภิกษุรูปหนึ่งสร้างวัดแล้วตั้งตนเป็นเจ้าอาวาส รับลูกศิษย์ไว้หลายคน
ทุกๆวันก็จะให้เหล่าลูกศิษย์อ่านคัมภีร์ ปัดกวาดดูแลวัด ดูแลสวนผัก
กิจวัตรที่ท่านทำบ่อยๆคือ นั่งสมาธิทุกวันเหมือนพระอาจารย์ท่านอื่นๆ
แล้วก็นำบทโศลกต่างๆที่อ่านมาจากในหนังสือแล้วไปบรรยายให้ลูกศิษย์ฟัง

ทุกๆวันในช่วงบ่าย ภิกษุท่านนี้จะต้องไปจำวัดในกุฏิ เหล่าลูกศิษย์จึงถามว่า
“ท่านอาจารย์ ทำไมต้องจำวัดในทุกๆบ่าย?”
“ท่านขงจื้อ จะต้องงีบหลับทุกวันเพื่อไปพบกับผู้รู้คือท่านโจวกง แล้วนำคำสอน
ของผู้รู้มาถ่ายทอดให้ศิษย์อีกต่อหนึ่ง ข้าก็เช่นกัน ในความฝันข้าก็พบกับผู้รู้ได้เหมือนกัน"
อาจารย์ตอบ

บ่ายวันหนึ่งอากาศค่อนข้างอบอ้าว ขณะที่เหล่าลูกศิษย์กำลังนั่งสมาธิ
หลายคนนั่งสัปหงก บางคนก็นั่งหลับไปเลย ท่านอาจารย์เห็นจึงปลุกให้
ทุกคนตื่นแล้วเทศน์อบรมว่า “การนั่งสมาธิ ควรจะมีจิตที่นิ่งเหมือนน้ำ
พวกเจ้าทำไมถึงนั่งหลับ?”

“พวกเราหลับแล้วไปในฝัน ไปพบบัณฑิตผู้รู้โบราณ เหมือนกับที่ท่าน
ขงจื้อไปพบท่านโจวกง”

ท่านอาจารย์ตกตะลึง ที่ลูกศิษย์ใช้วิธีการของตนเองสวนกลับมา
แต่ก็ยังรักษาทีท่า แล้วถามว่า “แล้วเหล่าบัณฑิตแนะนำชี้แนะพวกเจ้าว่าอย่างไร?”

ในความฝันเมื่อพบกับผู้รู้ พวกเราถามว่า อาจารย์ของพวกข้ามาขอคำชี้แนะ
จากท่านทุกวัน จึงขอให้ท่านชี้แนะให้ความรู้กับพวกเราบ้าง แต่ท่านบัณฑิต
ตอบว่า “ข้าไม่เคยไม่เคยพบกับอาจารย์ของพวกเจ้าเลย”

                   

ฐิตา:


     

๙๘. ซื้อขายสินค้า

พระอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นพระที่เทศน์เก่งมาก ทุกครั้งที่เทศน์ ผู้คนจะมา
นั่งฟังเต็มศาลาวัด ดังนั้นบรรดาสานุศิษย์จึงคิดจะสร้างศาลาให้ใหญ่ขึ้น
เพื่อรองรับผู้คนที่มาฟังธรรม

มีผู้ศรัทธาท่านหนึ่งนำทองห้าสิบตำลึงใส่ถุงนำมาถวายให้พระอาจารย์ท่านนั้น
เพื่อที่จะได้สร้างศาลาใหม่ พระอาจารย์รับไว้แล้วก็รีบไปทำงานต่อ อุบาสกท่านนั้น
เห็นกิริยาท่าทีแล้วรู้สึกไม่พอใจยิ่งนัก เพราะว่าทองห้าสิบตำลึงไม่ใช่จำนวนน้อยๆ
ถ้านำมาให้คนทั่วไปใช้ ก็ใช้ได้หลายปี แต่พระอาจารย์รับแล้วแม้แต่คำว่าขอบคุณ
ยังไม่ได้เอ่ย คิดแล้วจึงเดินตามหลังพระอาจารย์ไป แล้วพูดว่า

“ท่านอาจารย์ ในถุงนั้นใส่ทองถึงห้าสิบตำลึง”
“เจ้าบอกแล้วนี่ ข้ารู้แล้ว” พระอาจารย์ตอบพลางเดินไปพลาง
“ท่านอาจารย์ วันนี้ข้าพเจ้าบริจาคทองห้าสิบตำลึง มูลค่าไม่ใช่น้อยๆ แต่ท่าน
แม้แต่คำว่าขอบคุณยังไม่เอ่ยสักคำ”

“เจ้าทำไมเซ้าซี้จัง เจ้าบริจาคให้กับศาสนา ทำไมต้องให้ข้าขอบคุณ?
เจ้าบริจาคก็เป็นการสั่งสมบุญกุศลของตนเอง หากเจ้าอยากจะให้
บุญกุศลเป็นเหมือนกับการค้า ข้าก็จะเป็นตัวแทนของศาสนาพูดว่า
“ขอบคุณ” แล้วเจ้าก็นำคำว่า “ขอบคุณ” พากลับไป

ตั้งแต่นี้เจ้ากับศาสนาก็เหมือนกับซื้อขายสินค้า “เงินถึงสินค้ามา”

                   

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version