แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น

@ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก

<< < (6/31) > >>

ฐิตา:


               

๒๕. คำสอนของปรมาจารย์ตั้กม๊อ

ท่านโพธิธรรมตั้กม๊อ เกิดในวรรณะพราหมณ์เป็นชาวอินเดีย เป็นสังฆนายกของนิกายเซนองค์ที่ 28 ของนิกายเซน
(องค์แรกคือพระมหากัสสปะ องค์ที่สองคือพระอานนท์)
 แต่ชาวจีนนับท่านเป็นองค์แรก ของนิกายเซนของจีน ท่านอยู่ที่เมืองจีนประมาณ 50 กว่าปี

    จากคัมภีร์เล่มหนึ่งท่านกล่าวว่า ผู้ที่จะปฏิบัติธรรมได้ดี จะต้องมีความศรัทธาและเชื่อมั่นก่อน ถึงจะเข้าถึงธรรมได้ดี
    ส่วนการนั่งสมาธินั่งนั้น เมื่อนั่งจนสงบนิ่งเหมือนไม่มีลมหายใจ จิตหยุดกระเพื่อม
    ความรู้สึกไม่รับผัสสะที่มาจากภายนอกทั้งหมด จิตแน่วแน่และมั่นคงดั่งหินผา จะสามารถเข้าสู่ทางเดินแห่งการรู้แจ้งได้

ส่วนการดำเนินจิตในชีวิตประจำวัน จะต้องเข้าถึงหลักดังนี้
1. กฏแห่งกรรม เมื่อพบความทุกข์ใดๆ ก็ต้องสำนึกว่า ความทุกข์และความเจ็บปวดเป็นผลกรรมจากการกระทำในชาติก่อน
เพราะเหตุนี้จึงไม่ควรหลงโกรธโทษฟ้าดิน ยอมรับผลกรรม โดยไม่โอดครวญและหลงโทษสิ่งใดๆ

2. ไปตามครรลองของธรรมชาติ แม้ว่าทุกอย่างจะเกิดจากเหตุ สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม แต่ทุกสิ่งก็เป็นอนัตตา
ทุกข์สุขความเป็นไปของชีวิต เกิดจากกรรมภายในภายนอก เป็นตัวกำหนด ยามเมื่อมีเงินทองเกียรติยศชื่อเสียง
 พึงสำเหนียกว่า เป็นผลจาการกระทำในอดีต แต่เมื่อเสวยผลบุญจนสิ้นสุด
 ก็จะกลายเป็นไม่มี ได้หรือเสียเป็นไปตามกรรม จิตไม่มีเพิ่มหรือลด ดีมาก็ไม่กระเพื่อมเป็นไปตามครรลอง

3. ไม่แสวงหาสิ่งใดๆ คนในโลกนี้ล้วนแต่มีความโลภ คนมีปัญญาถึงจะเข้าใจถึงความเป็นจริง
นึกถึงเมื่อวนเวียนอยู่ในสามโลกอันยาวนาน นึกถึงความทุกข์ของการมีกายมีการแสวงหา
เมื่อมาถึงการรู้แจ้งถึงการแสวงหาสิ่งเหล่านี้ จิตก็จะหยุดดิ้นรน ก็จะเข้าถึงมรรคที่แท้จริงได้

4. บำเพ็ญตนใน 6 สิ่งนี้คือ ทำทาน รักษาศีล อดทน ใฝ่ก้าวหน้า จิตสงบ เดินทางสายกลางและสุญตา


ฐิตา:


               

๒๖. ดอกไม้กับการปฏิบัติธรรม
มีอุบาสิกาท่านหนึ่ง ทุกๆวันจะนำดอกไม้จากที่บ้าน ไปเปลี่ยนดอกไม้ในแจกันหน้าพระประธานที่วัด
วันหนึ่งขณะที่นำดอกไม้ไปที่วัด ได้พบกับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง พระอาจารย์ได้ทักทายขึ้นว่า
“โยมนำดอกไม้มาบูชาพระทุกวัน ตามตำราเขาว่า ชาติหน้าเกิดมาต้องมีรูปโฉมที่งดงามแน่นอน”

“ดิฉันทำอย่างนั้นเพราะ ทุกๆวันที่ดิฉันนำดอกไม้มาที่วัด รู้สึกเหมือนกับจิตวิญญาณถูกชำระด้วยน้ำที่ใสสะอาด
 แต่เมื่อได้กลับไปที่บ้าน จิตกลับรู้สึกฟุ้งซ่าน ไม่สงบ เกิดมาเป็นผู้หญิงแม่บ้าน ทำอย่างไรถึงจะอยู่ในโลกที่วุ่นวายสับสน
 และก็ยังสามารถรักษาจิตให้สะอาดและสงบได้เจ้าคะ?”

พระอาจารย์ตอบว่า “การรักษาจิตให้สะอาดและสงบ ก็ใช้หลักการเดียวกับการรักษาดอกไม้ให้สดสวยเช่นกัน
โยมอยู่กับดอกไม้บ่อยๆ ย่อมจะต้องรู้จักวิธีการรักษาดอกไม้ “
อุบาสิกานั้นตอบว่า “วิธีที่จะรักษาดอกไม้ให้สดเสมอ ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการเปลี่ยนน้ำทุกวัน
และก่อนที่จะนำดอกไม้ไปใส่ ต้องตัดปลายกิ่งที่เน่าออกเสียก่อน เพราะส่วนที่เน่าไม่สามารถดูดน้ำไปเลี้ยงดอกได้ ดอกไม้จะเเหี่ยวแห้งได้ง่าย”

พระอาจารย์พูดต่อว่า “นั่นแหละถูกแล้ว สิ่งแวดล้อมรอบตัวก็เหมือนน้ำ ตัวเราก็เหมือนดอกไม้
ต้องตัดกิเลสและสิ่ง เศร้าหมองออกถึงจะสามารถดูดซับสิ่งดีๆจากธรรมชาติได้”
อุบาสิกานั้นกล่าวขอบคุณ และหวังว่าจะมีโอกาสมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดบ้าง
   เพื่อที่จะได้ฟังเสียงระฆังยามทำวัตรเช้า ได้สวดมนต์ และได้ใช้ชีวิตอย่างสงบในวัด
พระอาจารย์กล่าวต่อว่า “กายของเจ้าเปรียบได้ดั่งวัด ชีพจรดั่งเสียงระฆัง สองหูคือพุทธะ
ลมหายใจเป็นบทสวดมนต์ ทุกแห่งหนล้วนสุขสงบ ยังมีความจำเป็นใดต้องมาปฏิบัติธรรมในวัดอีก”


ฐิตา:


               

๒๗. ทางแห่งความสุข

มีอุบาสก 3 ท่านถามพระอาจารย์ว่า “นับถือศาสนาพุทธ
สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้จริงหรือ? แล้วทำไมพวกเรา นับถือพุทธมานาน ถึงยังไม่มีความสุข”
“พวกเจ้ามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร?” พระอาจารย์ถาม

คนที่หนึ่งตอบว่า “ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่เพื่อจะไม่ตาย ความตายน่ากลัวเหลือเกิน ข้าพเจ้ายังไม่อยากตายดังนั้นจึงยังอยากมีชีวิตอยู่”
คนที่สองตอบว่า “ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่เพื่อ ตอนนี้ที่ยังหนุ่มต้องขยันขันแข็ง เพื่อจะได้มั่งมีศรีสุขในตอนแก่”
คนที่สามตอบว่า “ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่เพื่อเลี้ยงดูคนทั้งครอบครัว ไม่มีข้าพเจ้า พวกเขาคงจะอยู่ไม่ได้
ข้าพเจ้าเป็นเสาหลักของครอบครัว ขาดข้าพเจ้าไป ครอบครัวนี้ต้องล่มสลายเป็นแน่”

พระอาจารย์ตอบว่า “ทั้งวันพวกเจ้าคิดถึงแต่เรื่องความตาย ความแก่ ความบากบั่น จะมีความสุขได้อย่างไร?”
 พวกเจ้าควรคิดถึง หลักการ ความเชื่อมั่น หน้าที่ คิดเรื่องเหล่านี้ถึงจะมีความสุข”
เหล่าอุบาสกเชื่อครึ่งและไม่เชื่อครึ่ง พูดว่า “เรื่องเหล่านี้ พูดแล้วดูเหมือนง่าย
แต่ความจริงสิ่งเหล่านี้กินแทนข้าวได้หรือ?” ไม่มีข้าวกินแล้วจะมีความสุขได้อย่างไร?”

“แล้วพวกเจ้าคิดว่ามีสิ่งใดถึงจะมีความสุข?”
คนที่หนึ่งตอบว่า “มีชื่อเสียงเกียรติยศก็จะมีทุกอย่าง ดังนั้นการมีชื่อเสียงจึงจะมีความสุข”
คนที่สองตอบว่า “ความรักเป็นสิ่งหอมหวานที่สุด มีความรัก ก็จะมีความสุข”
คนที่สามตอบว่า “เงินทองมีประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด มีเงินแล้ว ก็จะมีความสุข”

“ทำไมในโลกนี้ มีคนมากมายที่มีชื่อเสียง มีเงินทอง มีความรัก ถึงยังไม่มีความสุข ?” พระอาจารย์ถาม แล้วพูดต่อว่า
“เงินทองต้องนำมาทำทานบ้าง ถึงจะมีความสุข ความรักต้องรู้จักการให้ถึงจะมีความสุข
การมีชื่อเสียง ต้องรู้จักบริการและช่วยเหลือส่วนรวม ถึงจะมีความสุข
สิ่งเหล่านี้คือทางแห่งความสุขที่แท้จริง”


ฐิตา:


           

๒๘. เพชรอยู่ที่หลังบ้านของเจ้า

มีชายคนหนึ่งนอนหลับแล้วฝันไปว่า มีภิกษุชรารูปหนึ่งมาบอกว่า ถ้าหากเจ้าหาเพชรได้เม็ดหนึ่ง
 ต่อไปเจ้าจะได้เพชรทั้งเหมือง เพชรอยู่ในหินทรายในคลอง

ตั้งแต่นั้นมา ในสมองของเขาจึงมีแต่เงาของเพชร เขาได้ขายทรัพย์สินของเขาทั้งหมดเปลี่ยนเป็นเงิน
 หลังจากนั้นจึงออกเดินทางไปหาเส้นทางที่คิดว่ามีเพชร เดินทางฝ่าลมฝนอยู่ข้างนอกหลายปี ก็ยังไม่เจออะไร ที่สุดก็ท้อแท้สิ้นหวังจนฆ่าตัวตาย
คนที่ซื้อบ้านของเขา วันหนึ่งขณะที่ซักผ้าอยู่ในคลองหลังบ้าน เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมา ปรากฏว่า ผืนทรายแถวนั้นดูขาวโพลนไปหมด
       และในทรายนั้นมีบางอย่างส่องแสงสะท้อนออกมา เขาเลยขุดออกมาดู ที่แท้เป็นเพชรธรรมชาติ
เขาจึงเอาพลั่วและตะแกรง ตักทรายบริเวณนั้นมาจนหมด หลังจากที่ใช้ตะแกรงร่อนออกมา
 เพชรเม็ดเล็กเม็ดน้อยก็ปรากฏออกมา ส่องแสงแวววาววูบวาบ

เขาคิดในใจว่า “เจ้าของบ้านเดิมช่างแสนลำบากที่ต้องเดินทาง ออกไปหาเพชร ที่สุดก็ไม่ได้ ที่แท้เพชรก็อยู่ที่หลังบ้านของเขานั่นเอง
หลังจากนั้นเขาก็ได้นำเพชรเม็ดใหญ่หลายเม็ดไปถวายพระราชา พระราชาเลยแต่งตั้งให้เขาเป็นอำมาตย์ใหญ่
 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขาก็มีชีวิตอยู่อย่างสมบูรณ์พูนสุข


ฐิตา:


                 

๒๙. บินข้ามความเป็นความตาย

มีภิกษุรูปหนึ่งแม้จะขยันหมั่นบำเพ็ญภาวนาสักเพียงใด ก็ยังไม่อาจรู้แจ้งได้ ได้แต่มองดูรุ่นน้องที่เข้ามาปฏิบัติใหม่
 ก็ยังไปได้ก้าวหน้ากว่าตัวเอง ลองคิดๆดูแล้วตัวเองไม่มีคุณสมบัติของนักปฏิบัติธรรมเลย แค่จะให้จิตสงบยังทำไม่ได้
 สติปัญญาก็ไม่ว่องไว จนป่านนี้ยังหาทางเข้าประตูไม่ได้
 เลยคิดว่าจะลองไปธุดงค์เพื่อไปพบกับความลำบากดู เมื่อวางแผนจะเดินทางไกลเสร็จ ก็มาร่ำลาพระอาจารย์

“ศิษย์ช่างทำร้ายเมตตาจิตที่พระอาจารย์มีให้เหลือเกิน ตั้งแต่บวชมาอยู่ที่วัดนี้ถึง 10 ปี รู้สึกยังไม่ได้อะไรเลย
 ศิษย์ช่างไม่มีคุณสมบัติของนักบวชจริงๆ วันนี้มาลา ก็เพื่อจะแสวงหาเอาจากที่อื่น”
“ทำไมยังไม่รู้แจ้งก็จะไปหรือ? หรือว่าไปที่อื่นแล้วก็จะรู้แจ้ง”

ลูกศิษย์ตอบว่า “ศิษย์นอกจากกินข้าว และจำวัดแล้ว เวลาที่เหลือก็ตั้งใจฝึกอย่างที่สุด
แต่ก็ไม่ได้อะไร และเพื่อนนักบวชด้วยกัน ดูเหมือนจะไม่ได้คร่ำเคร่งอะไร แต่ก็ยังปฏิบัติได้ดีกว่า
ศิษย์จึงเกิดความรู้สึกท้อและเบื่อ เลยจะลองไปธุดงค์พบกับความลำบากบ้าง”

“การรู้ เป็นสิ่งที่หลั่งไหลออกมาจากจิตของตัวเอง เป็นสิ่งที่หาคำจำกัดความไม่ได้
และไม่สามารถจะให้กับผู้อื่นได้ และเมื่อไม่รู้ก็จะเร่งรีบเอาก็ไม่ได้ คนอื่นก็เป็นขอบข่ายการรู้ของผู้อื่น
 เจ้าบำเพ็ญภาวนาก็เป็นของเจ้า เป็นคนละเรื่องกัน เจ้าทำไมเอามารวมเป็นเรื่องเดียวกัน?”

“พระอาจารย์ไม่ทราบอะไร เมื่อศิษย์เปรียบตัวเองกับผู้อื่นแล้ว เหมือนกับ พญาเหยี่ยวกับนกกระจอกทันที”
“ใหญ่ยังไง และเล็กยังไง?” พระอาจารย์ถาม
“พญาเหยี่ยวกระพือปีกทีเดียว สามารถบินได้เป็นร้อยลี้ แต่ศิษย์ได้แต่บินอยู่รอบๆบริเวณนี้เท่านั้น”
พญาเหยี่ยวสามารถบินได้เป็นร้อยลี้ แต่มันบินข้ามความเป็นตายได้หรือเปล่า?”


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version