แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น
@ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก
ฐิตา:
๓๕. ก้าวพ้น
ทุกๆคืนพระอาจารย์ท่านหนึ่งจะไปที่เกาะร้างแห่งหนึ่ง เพื่อไปนั่งสมาธิวิปัสสนา
มีวัยรุ่นเกเรกลุ่มหนึ่งแอบปีนขึ้นไปบนต้นไม้ตามทางที่พระอาจารย์จะต้องผ่าน
เมื่อพระอาจารย์เดินผ่านจึงยื่นมือลงมา แล้วจับหัวของพระอาจารย์ไว้
วัยรุ่นนั้นนึกว่าพระอาจารย์ท่านนั้นจะต้องตกใจกลัวจนวิ่งหนีกระเจิดกระเจิง
แต่พระอาจารย์กลับอยู่นิ่งๆไม่ขยับตัว ปล่อยให้วัยรุ่นนั้นจับตามสบาย
แต่วัยรุ่นนั้นกลับตกใจเสียเอง นึกว่าเป็นผี เพราะเห็นไม่เคลื่อนไหว
รีบหดมือกลับไป พระอาจารย์ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แล้วเดินจากไป
รุ่งเช้าวัยรุ่นกลุ่มนั้นได้ไปหาพระอาจารย์ท่านนั้นที่วัด แล้วพูดกับพระอาจารย์ว่า
“ได้ข่าวว่า เมื่อคืนนี้มีผีอาละวาดอยู่แถวๆละแวกนี้ ไม่ทราบว่ามีเรื่องเช่นนี้
เกิดขึ้นจริงหรือเปล่าครับ?” “ไม่เห็นมีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นเลย”พระอาจารย์ตอบ
“ใช่หรือ? แต่พวกเราได้ข่าวว่า มีคนเดินผ่านแถวนี้แล้วโดนผีจับหัวไว้”
“นั่นไม่ใช่ผี แต่เป็นวัยรุ่นในหมู่บ้านนี่เอง”
“ทำไมท่านพูดอย่างนั้นล่ะ”
“เพราะว่า ผีไม่มีมือที่หนาและอุ่นอย่างนั้น”พระอาจารย์พูดต่ออีกว่า
“เมื่อจวนจะออกสนามรบแล้วไม่กลัวตาย เป็นความกล้าหาญของท่านนายพล
เมื่อจะเข้าป่าแล้วไม่กลัวเสือ เป็นความกล้าของนายพราน
เมื่อจะลงน้ำไม่กลัวมังกร เป็นความกล้าของชาวประมง”
แล้วความกล้าของพระภิกษุคืออะไร? กลุ่มวัยรุ่นนั้นถาม
"คือ “รู้” คำเดียวเท่านั้น
แม้แต่ความเกิดตายยังก้าวพ้นไปได้ แล้วยังจะมีความกลัวอยู่อีกหรือ?”
ฐิตา:
๓๖. ความหมายของชีวิต
มีชายหนุ่มคนหนึ่งไปเยี่ยมคารวะพระอาจารย์ท่านหนึ่ง หลังจากไต่ถามทุกข์
สุขแล้ว ชายหนุ่มก็ถามขึ้นว่า “จิตเดิมแท้คืออะไร?”
ปัญหานี้แท้จริงแล้วตอบได้ยาก พระอาจารย์เลยนึกถึงเรื่องๆหนึ่งขึ้นมาได้ว่า
ช่วงเย็นๆของวันหนึ่ง ท่านได้เห็นสตรีที่กำลังมีครรภ์คนหนึ่ง กำลังแบกตระกร้า
ใบหนึ่งเดินผ่านไป สวมใส่เสื้อผ้าที่เก่าๆขาดๆ ที่ขาเปรอะเปื้อนไปด้วยดินโคลน
ตระกร้านั้นคงจะหนักจนทำให้หลังของหญิงคนนั้นต้องงอลงไป มือซ้ายของหล่อน
จูงเด็กหญิงเล็กๆคนหนึ่ง มือขวาอุ้มทารกไว้ในห่อผ้า กำลังเร่งรีบเดินทางอยู่
พระอาจารย์นึกว่าชีวิตที่ลำบากลำเค็ญของหญิงคนนั้น คงจะทำให้หล่อนไม่สามารถ
แบกรับได้ไหว แต่ว่าที่ใบหน้าของหล่อนกลับผ่องใสดั่งแสงจันทร์ที่แฝงไว้ด้วย
รอยยิ้มอันอบอุ่น
หล่อนเป็นเพียงหญิงธรรมดาสามัญ ต้องลำบากดิ้นรนเพื่อชีวิตและความเป็นอยู่
แต่หล่อนรู้ถึงชีวิตของตัวเองต้องการแสวงหาอะไร? ดังนั้นหล่อนจึงไม่รู้สึกว่าตัว
เองลำบากอะไร และยังรู้สึกว่าตัวเองมีความสุข
คิดมาถึงตรงนี้ ทำให้พระอาจารย์เข้าใจถึงคำว่า อะไรคือจิตเดิมแท้ ท่านจึงเรียก
ชื่อชายหนุ่ม “ครับ” ชายหนุ่มนั้นรับคำพร้อมยกสองมือขึ้นมาคำนับ“คนที่ตอบ
รับข้าเป็นเพียงเปลือกของร่างกาย แต่ไม่ใช่ชีวิตที่สว่างใส”พระอาจารย์ตอบ
ชายหนุ่มคนนั้นก้มหน้าแล้วคิดในใจว่า “มีแต่กายนี้ที่มีปากมีลิ้นถึงจะตอบรับ
คำพระอาจารย์ได้ ชีวิตที่สว่างใสไหนเลยจะมีปากและลิ้น”
“จะตอบหรือไม่ตอบก็ไม่เป็นไร แต่สำคัญที่ตัวเองต้องรู้สึกตัว ต้องเข้าใจถึงจุดมุ่ง
หมาย อย่าทำให้ความหมายของชีวิตต้องผิดพลาด จนทำให้ลักษณะทิศทางของ
การดำเนินชีวิตต้องผิดพลาด จนทำให้ตัวเองต้องกลายเป็นทาสของชีวิต”
พระอาจารย์กล่าวต่อ
ฐิตา:
๓๗. รสชาติของมะระ
ลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งกำลังจะไปแสวงบุญตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
พระอาจารย์นำมะระมาลูกหนึ่ง แล้วพูดกับลูกศิษย์ว่า
“พวกเจ้านำมะระนี้ติดตัวไป และจำไว้ ทุกครั้งเมื่อผ่านแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์
ให้นำมะระนี้ลงไปแช่ด้วย และเมื่อทำการบูชาถวายเครื่องสักการะ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้นำมะระนี้รวมลงไปเซ่นไหว้ด้วย”
ทุกครั้งที่ผ่านแม่น้ำหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เหล่าลูกศิษย์ก็ทำตามที่พระ
อาจารย์สั่ง เมื่อกลับมาถึงวัด พระอาจารย์จึงสั่งให้นำมะระนั้นไปปรุงเป็นอาหาร
เมื่อถึงเวลาฉัน พระอาจารย์ฉันมะระลงไปหนึ่งคำ แล้วพูดขึ้นว่า
“แปลกจริงๆ มะระลูกนี้ผ่านพิธีกรรมจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตั้งหลายแห่ง
ทำไมถึงยังไม่ได้กลายเป็นรสหวาน”
๓๘. “เซน”เหมือนอะไร
พระอาจารย์ท่านหนึ่งเล่านิทานให้เหล่าลูกศิษย์ฟังว่า
ชายผู้หนึ่งเป็นขโมยอาชีพ ลูกของเขาพูดกับเขาว่า “ พ่อ พ่อก็อายุมากแล้ว
ถึงเวลาที่ควรจะถ่ายทอดวิชาขโมยให้ลูกได้แล้ว เพราะถ้าขโมยไม่เป็น
ต่อไปลูกจะดำรงชีวิตอย่างไร”
พ่อไม่ปฏิเสธ และรับปากจะสอนให้ คืนนั้นพ่อเลยพาไปขโมยของที่บ้านเศรษฐี
ท่านหนึ่ง เมื่อเข้าไปในบ้านได้แล้ว จึงใช้กุญแจผีเปิดตู้เสื้อผ้า แล้วเรียกลูกเข้า
ไปในตู้นั้น เมื่อลูกเข้าไปในตู้แล้ว ผู้เป็นพ่อก็ปิดล็อกตู้ แล้วตะโกนว่า
“มีขโมย มีขโมย” ตะโกนแล้ววิ่งหนีออกจากบ้านไป
เมื่อคนในบ้านได้ยินว่ามีขโมยจึงเที่ยวหาจนทั่วว่าขโมยอยู่ไหน และสำรวจดู
ทรัพย์สินก็ไม่เห็นมีอะไรสูญหาย จึงพากันจะเข้านอน ร้อนถึงขโมยที่อยู่ในตู้
ไม่รู้ว่าทำยังไงถึงจะออกไปได้ แล้วเขาก็คิดอะไรออกมาได้ จึงทำเสียงร้อง
เหมือนหนูที่กำลังกัดเสื้อผ้า สักประเดี๋ยวคุณผู้หญิงของบ้านก็สั่งให้คนรับใช้
นำตะเกียงมา เมื่อคนรับใช้เปิดประตูตู้ออกมา ขโมยรีบออกจากตู้แล้วผลัก
คนรับใช้ล้มลง พร้อมเป่าตะเกียงจนดับ แล้ววิ่งหนีออกไป
เศรษฐีเจ้าของบ้านรีบสั่งให้บ่าวไพร่ ไล่ตามจับขโมย เมื่อตามมาถึงริมแม่น้ำ
ถึงเวลาวิกฤติ ขโมยนั้นนึกอะไรขึ้นมาได้ จึงโยนก้อนหินก้อนใหญ่ลงไปในน้ำ
ส่วนตัวเองก็แอบหลบไว้ แล้วก็ได้ยินเสียงคนพูดว่า “น่าสงสาร ขโมยหมด
หนทางต้องกระโดดลงน้ำไปแล้ว”
เมื่อขโมยผู้เป็นลูกกลับมาถึงบ้าน เห็นพ่อกำลังดื่มเหล้าอยู่ จึงต่อว่าพ่อไม่น่าจะ
ขังลูกไว้ในตู้ ผู้เป็นพ่อจึงถามถึงเหตุการณ์ที่พาตัวรอดกลับมาได้ ผู้เป็นพ่อดีใจมาก
แล้วพูดว่า “ต่อไปเจ้าไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีข้าวกินแล้ว”
เมื่อเล่านิทานจบ พระอาจารย์พูดกับเหล่าลูกศิษย์ว่า “เซน”ก็เหมือนขโมย
ผู้เป็นลูก สามารถที่จะหาทางออกได้ เมื่อหมดหนทาง นั่นแหละคือ”เซน”
ฐิตา:
๓๙. หอมกลิ่นเบญจมาศทั้งหมู่บ้าน
พระอาจารย์ท่านหนึ่งปลูกต้นเบญจมาศไว้หนึ่งกอภายในวัด
เมื่อผ่านไปสามปีภายในบริเวณวัดก็มีต้นเบญจมาศบานสะพรั่งทั่วไปหมด
และกลิ่นหอมของดอกเหล่านี้หอมอบอวลไปจนถึงหมู่บ้านใกล้ๆ
ผู้คนที่มาวัดต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “เป็นดอกไม้ที่สวยจริงๆ”
วันหนึ่งมีผู้มาขอพระอาจารย์เพื่อนำไปปลูกที่บ้าน พระอาจารย์อนุญาตพร้อมกับ
แยกหน่อที่สมบูรณ์ให้ด้วยตัวเอง เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดออกไป ก็มีผู้มาขอไปไม่
ขาดสาย พระอาจารย์รู้สึกว่าผู้ที่มาขอ ล้วนแต่มาขอด้วยใจรักต้นไม้และชมชอบ
ดอกไม้ทั้งนั้น ไม่นานดอกในบริเวณวัดก็ถูกขอไปจนหมดสิ้น
เมื่อไม่มีดอกไม้บริเวณวัดก็เงียบเหงาดั่งขาดแสงอาทิตย์ เหล่าลูกศิษย์ต่างพูดว่า
“เสียดายจริงๆ ปกติบริเวณนี้จะมีกลิ่นหอมอบอวลไปทั่ว”
พระอาจารย์บอกว่า “พวกเจ้าลองคิดดูซิ เมื่อสามปีผ่านไปทั้งหมู่บ้านใกล้ๆนี้จะ
มีกลิ่นหอมของดอกเบญจมาศอบอวลไปทั้งหมู่บ้านมิเป็นการดีหรอกหรือ?”
“หอมอบอวลไปทั้งหมู่บ้าน” เหล่าลูกศิษย์อุทาน พร้อมกับเกิดความรู้สึกอบอุ่น
ขึ้นมาในจิต และเห็นรอยยิ้มของพระอาจารย์ที่ดูสว่างไสวยิ่งกว่าดอกเบญจมาศ
ทั้งปวง
พระอาจารย์พูดต่อว่า “พวกเราควรแบ่งปันสิ่งดีๆให้ผู้อื่นได้มีได้ใช้เหมือนๆกับเรา
ให้ทุกคนได้มีความสุขเหมือนๆกับเรา แม้ว่าตัวเองจะไม่เหลืออะไรอีกเลย
แต่ในจิตของเราก็มีความสุขได้เหมือนกัน นี่คือความสุขที่เราควรจะมีอย่างแท้จริง
ฐิตา:
๔๐. งอกงามกับแห้งเหี่ยว
พระอาจารย์ท่านหนึ่งมีลูกศิษย์สองคน วันหนึ่งขณะที่ศิษย์และอาจารย์
เดินขึ้นเขาเพื่อไปนั่งสมาธิวิปัสสนา พระอาจารย์เหลือบไปเห็นต้นไม้
ต้นหนึ่งเจริญเติบโตงอกงามเป็นต้นใหญ่โตมีใบดกเป็นพุ่มหนา
ส่วนอีกต้นหนึ่ง กลับยืนแห้งตายซากอยู่ข้างๆ พระอาจารย์จึงถามว่า
“ต้นที่งอกงามดี ? หรือว่า ต้นที่แห้งตายซากดี?”
“ต้นที่ใบดกหนาเป็นพุ่มดีกว่า” ศิษย์คนหนึ่งตอบ
“ต้นที่แห้งตายซากดีกว่า” ศิษย์อีกคนตอบ
บังเอิญขณะนั้น เณรน้อยเดินขึ้นมาสมทบพอดี พระอาจารย์จึงถามว่า
“เจ้าว่าต้นที่ใบดกหนาดี หรือว่า ต้นที่ตายซากดี”
“ต้นที่มีใบดกหนาก็ปล่อยให้ดกหนาไป ต้นที่ตายซากก็ปล่อยให้มันตายซากไป”
พระอาจารย์กล่าวต่อว่า “ต้นที่มีใบดกหนาก็ย่อมจะมีที่มาและเหตุปัจจัยของมัน
ต้นที่ตายซากก็ย่อมจะมีเหตุปัจจัยเช่นกัน
ปกติสิ่งที่พวกเราเห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกนี้เช่น ถูกหรือผิด บุญกุศลอกุศล
และอะไรอีกต่างๆนานาก็เป็นการเรียนรู้จากสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการหยุดอยู่แค่ในขอบเขตของการแบ่งแยก
แต่เณรน้อยสามารถจะมองเห็นสิ่งที่แปลกแยกกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีการแบ่งแยก
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version