๖๑.
๕ ปัญญาที่ปล่อยวางจิตทุกครั้งที่เรามองกระจก เราหวังจะได้เห็นตัวเองเป็นคนที่...
... พิเศษมาก.. คนหนึ่ง...
และไม่อยากเห็นเป็นเช่นคนทั่วไป ที่มีแต่ความทุกข์กังวล
เราหวังว่าจะได้เห็นคนที่มีแต่ความสุข
แต่ก็ได้เห็นแต่คนที่ดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่อย่างลำบากยากเย็น
ในความคิดของเราคิดว่าตัวเองเป็นคนมีเมตตา
แต่มองไม่เห็นความเห็นแก่ตัวของตัวเอง เราอยากจะให้ตัวเองดูสง่ามีราศี
แต่ความเย่อหยิ่งของเราทำให้เรากลายเป็นคนหยาบ
เราอยากเห็นคนที่เข้มแข็งไม่ยอมแพ้
แต่ได้เห็นแต่คนที่ล่วงเลยวัยไปกับกาลเวลา
ที่ทำให้กลายเป็นคนที่เมื่อยล้าและอ่อนแอ และกลายเป็นคนแก่ ป่วย และตาย
ช่องว่างระหว่างความหวังและความจริงที่เกิดขึ้นมา ทำให้
จิตวิญญาณของเราเจ็บปวดอย่างมหันต์ ปล่อยวางไม่ได้กับมายา
ที่หลอกว่าเป็นตัวเราของเรา
การจะเห็นตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ต้องอาศัยความกล้า
เป็นอย่างมาก และนั่นคือหนทางเดินของนักภาวนา
การจะภาวนาต้องเริ่มต้นจากการพิจารณาตนเอง จิตของเรา
เหมือนภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ความคิดที่มีต่อความเป็นไปต่างนานา
และความเป็นไปของโลก ก็เป็นเพียงมายา รวมทั้งการเวียนว่ายตายเกิด
หรือนิพพานก็เพียงส่วนหนึ่งของบทภาพยนตร์
หากเราสามารถที่จะมองชีวิตตัวเองเหมือนภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง
ก็จะทำให้จิต ปล่อยวาง ได้อย่างสบายๆ
ชื่นชมกับการดำเนินเรื่องของบทบาทแต่ละตอน
และสามารถมองทะลุถึง แก่นแท้ของความเป็นจริง ให้จิตดำเนินไป
ตามครรลองของธรรมชาติ
ไก่ป่าครอบครัวหนึ่ง หนีการไล่ล่าของผู้บุกรุกทำลายป่า
และก็ต้องหนีการไล่ล่าตลอดเวลาไม่ว่าจะหนีไปอยู่ตรงไหน
เพราะจากความเชื่อของผู้คนที่ว่า
เนื้อไก่ป่าเป็นยาและเป็นของบำรุงชั้นยอด
ที่สุดก็มาอยู่ในที่รกร้างใกล้สวนของผู้อารีแห่งหนึ่งในเขตชานเมือง
แต่ยังไงก็หนีการไล่ล่าไม่พ้น ผู้คนที่ได้ยินเสียงขันในช่วงเช้าแล้ว
ต่างลือกันไปทั่วว่า มีไก่ป่ามาอยู่ในบริเวณนั้น จึงทำให้มีผู้จะมาไล่ล่าทุกวัน
แต่น้องสาวเจ้าของสวนมักจะมาคอยกีดกันไม่ให้ผ่านสวนเข้าไป
ประจวบกับความไวและสัญชาติญาณของไก่ป่าเองที่ไม่ค่อยไว้ใจใคร
จึงทำให้หนีรอดไปได้ทุกครั้ง จนผู้คนยอมแพ้ และไม่มารบกวนอีก
ไก่ป่าครอบครัวนั้น จึงอยู่อย่างสงบสุขตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทุกๆเช้าไก่ป่า จะร้องขันส่งเสียงกังวานไปทั่ว
ความไพเราะของน้ำเสียงไก่ป่าผู้เป็นลูกสาว ได้แว่วเข้าหู..
..ไก่บ้านตัวผู้ตัวหนึ่ง ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม
ทันทีที่ได้ยินเสียงขันของไก่ป่าสาวนั้น ก็รู้สึกนึกรักขึ้นมาทันที
นิยายรักของไก่ป่าและไก่บ้านจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทั้งสองส่งเสียงขับขานเป็นทำนองเพลงรักโต้ตอบกันไปมาทุกๆเช้า
ต่างเข้าใจความรักความผูกพันในกันและกัน
แต่อนิจจา ความรักที่ผิดเชื้อชาติ ผิดธรรมเนียมและประเพณี
ทั้งสองจึงเป็นได้เพียงเส้นขนาน ที่สามารถเดินเคียงคู่กันไปได้
แต่ไม่มีทางที่จะมาบรรจบเป็นเส้นเดียวกันได้
แม้จะเป็นเพียงเส้นขนาน แต่ทั้งสองก็สามารถเห็นกันได้
ส่งเสียงถ่ายทอดความรักและความรู้สึกถึงกันได้ ซึ่งก็จะคงเป็น
เช่นนี้ตลอดไป จนกว่ากาลเวลาและอนิจจังของชีวิต
มาพลัดพรากทั้งสองให้จากกันไปคนละทิศทางตามวิถีทางของตน
เรื่องนี้เขียนจากเหตุการณ์และสถานที่จริง
อาจจะดูแปลกๆไปบ้าง
ต้องขออภัยและให้โอกาสกับมือใหม่หัดเขียนด้วยค่ะข้อคิดจากนก1. เมื่อนกเริ่มกระพือปีกที่จะบิน พวกที่ต่อแถวตามมาจะมีอากัปกิริยาดัง
เหมือนมีกลองที่ดังบรรเลงขึ้นเพื่อกระตุ้นเตือนให้รู้ว่าเริ่มมีการแสดงแล้ว
เมื่อฝูงนกเรียงแถวเป็นรูปตัว V จะมีพละกำลังเพิ่มจากการบินเดี่ยวถึง
เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
ข้อคิด หากเราร่วมเดินทางกับผู้ที่มีอุดมการณ์ในแนวเดียวกัน ก็จะสามารถ
ไปได้เร็วขึ้น และถึงจุดหมายปลายทางได้ง่ายขึ้น เพราะเราสามารถช่วยเหลือ
จุนเจือซึ่งกันและกันได้
2. ไม่ว่าเวลาไหน เมื่อนกตัวใดตัวหนึ่งพลัดหลงไปจากฝูง มันจะรับรู้ได้ทันทีว่า
มีพลังต่อต้านอย่างหนึ่งไม่ให้จากฝูงไป และอาศัยแรงประคองที่ส่งมาจากนกอีกตัว
มันจะกลับมาเข้ากลุ่มได้อย่างรวดเร็ว
ข้อคิด หากเราฉลาดได้เหมือนนก เราก็จะยินดีที่จะอยู่ร่วมกับกลุ่มคนที่มี
อุดมการณ์เดียวกับตนเอง พร้อมกับยินดีรับความช่วยเหลือจากผู้อื่น
และก็ยินดีจะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเช่นกัน
3. เมื่อนกที่เป็นหัวหน้าเหนื่อยแล้ว มันจะถอยกลับไปรวมกลุ่ม
แล้วให้นกตัวอื่นนำหน้าแทน
ข้อคิด เมื่อประสบปัญหาในการทำงาน ผลัดเปลี่ยนและแบ่งปันการ
เป็นผู้นำบ้างก็เป็นสิ่งที่จะทำได้ เพราะเรายังมีความจำเป็นในการพึ่งพา
อาศัยซึ่งกันและกัน
4. นกตัวที่อยู่ด้านหลัง จะร้องส่งเสียงเป็นแรงเชียร์ให้ตัวที่อยู่ข้างหน้า
มุ่งหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ
ข้อคิด เราจำเป็นต้องคิดว่าเสียงเบื้องหลังที่ส่งเสียงมา เป็นเสียงที่เชียร์
ให้มุ่งมั่นไปข้าง และไม่คิดว่าเป็นเสียงอื่นใด
5 . เมื่อนกในกลุ่มเป็นไข้หรือได้รับบาดเจ็บ จะมีนกสองตัวมาช่วยเหลือและคุ้มครอง
นกสองตัวนี้จะอยู่เคียงข้างตลอดเวลา จนมันแข็งแรงหรือตายไป หลังจากนั้นนกสอง
ตัวนั้นจะบินพร้อมกันไปเป็นกลุ่มย่อย หรือตามไปให้ทันกับกลุ่มเดิม
ข้อคิด หากเราฉลาดเหมือนนก เราก็จะรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาแห่งความลำบากหรือช่วงที่ยังแข็งแรงอยู่
ความทุกข์ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการไม่ยอมรับความจริงที่เปลี่ยนแปลง
ความทุกข์ของมนุษย์ส่วนมาก มักเกิดจากต้องการเปลี่ยนแปลงแต่เปลี่ยนไปไม่ได้
หรือไม่ต้องการ การเปลี่ยนแปลง แต่กลับเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น
ถามว่าการให้อภัยในความผิดพลาดของคนๆหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทำยากหรือง่าย
คำตอบคือ ทำง่าย หากเราฝึกหัดทำเป็นประจำ
ขอให้เราฝึกเสมอๆว่า ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรกับเรา ขอให้เราฝึกให้อภัยทุกวัน
ทำเหมือนที่เราแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ ขอให้เราทำทุกครั้ง ทำทุกวินาที
ทำเหมือนกรวดน้ำให้หลังทำบุญ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่
เมื่อเราสร้าง ”อภัยทาน” ให้เป็นลักษณะนิสัยตลอดเวลาได้แล้ว
เราจะรู้สึกว่าการให้อภัยแก่ใครนั้น เป็นเรื่องง่ายดาย เป็นเรื่องธรรมดาๆ
คือทำได้โดยไม่ต้องฝืนใจทำ
ขอให้เราทราบไว้ว่า เมื่อเราหัดสร้าง “อภัยทาน”เป็นปกติแล้ว
เศษกรรมต่างๆแทนที่จะติดตามเราไปข้ามภพข้ามชาติ
ก็จะถูกสลัดออก คือตามไปไม่ได้ เพราะมิได้เป็นกรรมอีกต่อไป
หากแต่เป็นแต่เพียงกิริยาที่แสดงออก เพราะเราให้อภัยเสียแล้ว
เมื่อเราให้อภัยเสียแล้ว ใครๆที่ผูกอาฆาตพยาบาทเราไว้ แรงพยาบาท
ของเขา ก็จะหมดโอกาสติดตามเรา เพราะกรรมนั้นหมดแรงส่ง
เนื่องจากเราได้ “อโหสิ” เสียแล้ว
จึงขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มาฝึกปฏิบัติ “อภัยทาน” และ “อโหสิกรรม”
ตั้งแต่บัดนี้เถิด เพื่อยุติสนิมในใจ คือความอาฆาต พยาบาท เพื่อยุติแรงส่ง
ของกรรม ที่ตามไปเผล็ดผลอันเผ็ดร้อนข้ามภพข้ามชาติ
พึงหลับตาให้ใจสงบครู่หนึ่งก่อน แล้วตั้งใจกล่าวคำแผ่เมตตาเบาๆ ดังนี้
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
อเวรา โหนตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ จงเป็นผู้มีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญฯ
ที่มา หนังสือเรื่อง อภัยทาน รักบริสุทธิ์ โดย ปิยโสภณ วัดพระราม๙ กาญจนาภิเษก