ผู้เขียน หัวข้อ: วันสบายๆ ในเมืองสองวัฒนธรรม บนเส้นทางสายไหม "ศรีเทพ-ซับจำปา"  (อ่าน 1367 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
วันสบายๆ ในเมืองสองวัฒนธรรม บนเส้นทางสายไหม "ศรีเทพ-ซับจำปา"
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350618887&grpid=&catid=09&subcatid=0901-

โดย กัญจกร รักษ์ชาด




เวลาที่เราพูดถึงเส้นทางสายไหม หรือเส้นทางการค้าที่ขนานไปกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ถ้าเป็นเส้นทางทะเล มักพูดถึงเส้นทางข้ามคาบสมุทรตะกั่วป่า (พังงา)-อ่าวบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี)

แต่ยังมีอีกทฤษฎีที่เสนอว่า น่าจะเป็นเส้นทางที่ผ่ากลางแผนที่ประเทศไทย ผ่านอุทัยธานี ชัยนาท แล้วตัดเข้ามาทางแม่น้ำป่าสัก เข้าศรีเทพ ไปออกอ่าวตังเกี๋ย

โดยมีสิ่งที่สนับสนุนทฤษฎีดังกล่าว คือการพบเจอโบราณวัตถุ รวมทั้งลูกปัด ตลอดเส้นทางนี้ โดยเฉพาะที่เมืองโบราณศรีเทพ เมืองโบราณซับจำปา

เมื่อฝนฟ้าเริ่มจากลา ประกอบกับกลางเดือนพฤศจิกายนอากาศกำลังเย็นสบาย "มติชน

อคาเดมี" พาผู้รักการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไปทริปเบาๆ แต่แน่นไปด้วยเรื่องราว ไม่ใกล้ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ แค่ สระบุรี-ลพบุรี-ศรีเทพ ระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2555 (รายละเอียด 08-2993-9105)

นอกจากพาไปเที่ยวชมวัฒนธรรมไทยเบิ้ง

หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน รวมทั้งวัดสมุห

ประดิษฐาราม จ.สระบุรี วัดที่อาจารย์ภูธรบอกว่า มีภาพอิมเพรสชั่นนิสต์ที่งดงามที่สุด และมีขึ้นก่อนยุโรปด้วยซ้ำ

ไฮไลต์หนึ่งอยู่ที่สองเมืองโบราณ "เมืองศรีเทพ" อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และ "เมืองซับจำปา" บ้านซับจำปา กิ่งอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี

ทั้งสองเมืองนี้มีจุดทับซ้อนที่เหมือนกันคือ เป็นเมืองโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยังเป็นเมืองที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการพบธรรมจักร จารึก

คาถาเยธัมมา ประติมากรรมรูปกวางหมอบ ฯลฯ

ผศ.ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี มัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์พาชมภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ พร้อมกับอธิบายให้ฟังว่า ในเมืองศรีเทพมีการสร้างทับซ้อนเยอะมาก ตั้งแต่ทวารวดียุคต้นคือที่ "เขาคลังใน" แล้วต่อมาพอทวารวดีเริ่มเสื่อมลง เป็นช่วงที่อาณาจักรเขมรเข้มแข็งขึ้น จะเห็นได้จาก "ปรางค์ศรีเทพ" และ "ปรางค์สองพี่น้อง" มีอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 16

มาถึงศรีเทพ อีกจุดที่ต้องแวะไปชมให้ได้คือ "เขาคลังนอก" จากเนินดินที่มีต้นไม้ขึ้นคลุมไปหมด ชาวบ้านจูงวัวจูงควายขึ้นไปเลี้ยงเป็นประจำ กระทั่งกรมศิลปากรทำการขุดค้นอย่างจริงจัง สถูปศิลปะทวารวดี ขนาดกว้าง 120 เมตร ยาว 120 เมตร สูง 70 เมตร จึงปรากฏให้เห็นความยิ่งใหญ่ที่บ่งบอกถึงการเป็นเมืองสำคัญของศรีเทพอย่างชัดเจน

"เขาคลังนอกสมบูรณ์มาก ที่นี่ไม่เจอประติมา

กรรมปูนปั้นรูปคนแคระแบก อย่างเขาคลังใน แต่ก็ไม่แปลก ที่เด่นของที่นี่คือ ตัวโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่ชัดเจนมาก เราจะเห็นว่ามีรูปทรงของซุ้มอินเดีย เรียกว่า "กุฑุ" เป็นอิทธิพลของอินเดีย แต่เป็นพุทธศาสนาที่เข้ามาแล้ว

ด้านบนคือพระเจดีย์ที่ทลายลง ที่เราเห็นเป็นแค่ฐานเจดีย์ โดยความยิ่งใหญ่ของมัน ยิ่งเป็นการยืนยันว่า ศรีเทพสำคัญมาก เพราะในบรรดาภาคเหนือตอนล่างนับแต่เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ จันเสน ขุดเจอรูปเคารพพระโพธิสัตว์ คือ เป็นพระพุทธศาสนาแต่อาจจะประสานมหายานเข้ามาแล้ว

มัคคุเทศก์คนเดิมบอกพร้อมกับตั้งข้อสังเกตถึงระยะทางจากลพบุรีถึงศรีเทพ ราว 100 กิโลเมตร โดยมีแม่น้ำป่าสักผ่ากลาง ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการเป็นแอ่งอารยธรรม

จากเมืองโบราณศรีเทพ เดินทางต่อไปยัง "ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร" ที่นี่เป็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาพเอกชน ภายใต้การกำกับดูแลของ "ชมรมอนุรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร"

สำหรับเมืองโบราณซับจำปานั้น เป็นเมืองโบราณมีกำแพงคันดินสูง 2 ชั้น มีคูเมืองลึกตรงกลาง กำแพงเป็นดินอัดแน่นสูงประมาณ 10 เมตร จากพื้นคูเมือง คูเมืองกว้างประมาณ 16 เมตร ฐานเนินดินกว้างประมาณ 20 เมตร ปรากฏร่องรอยที่อยู่อาศัยของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบแล้วไม่น้อยกว่า 20 แหล่ง ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย ผ่านทางแม่น้ำป่าสัก หรือจากเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ในสมัยนั้น โดยพบโบราณวัตถุแบบทวารวดีจำนวนมาก อาทิ ธรรมจักร จารึก เศียรพระพุทธรูป กวางหมอบ ตุ๊กตาดินเผารูปคนจูงลิง ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ชุมชนนี้มีผู้คนอยู่อาศัยมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 15 จึงถูกทิ้งร้างไปด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ

เราแวะเข้าไปดูส่วนของว่าที่พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณซับจำปา ซึ่งใช้พื้นที่ของอาคารเรือนเพาะชำเดิม ผนังด้านในจัดแสดงภาพของเมืองโบราณซับจำปาช่วงที่อยู่ระหว่างการขุดค้น ภาพของโบราณวัตถุชิ้นสำคัญๆ ที่ขุดพบ หลายๆ ชิ้นเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ แต่อีกหลายๆ ชิ้นถูกขายไปอยู่ในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยนานแล้ว

กระนั้นก็ยังมีโบราณวัตถุอีกเป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งขวานหิน อาวุธทำจากสำริด แวดินเผา ตุ๊กตาดินเผารูปคนจูงลิง ฯลฯ เก็บอยู่ในกล่องพลาสติกขนาดใหญ่ซ้อนเรียงกันอยู่หลายกล่อง!!!

เหมือนจะอ่านความคิดออก เนตรนรินทร์

คำเรืองบุญ ประธานชมรมบอกว่า "ของที่นี่ไม่หายหรอกครับ ใครเอาไปก็ต้องเอากลับมาคืน เคยมีคนเอาไปหลายชิ้น แต่สุดท้ายก็ต้องเอากลับมาคืน แม้จะไว้หิ้งพระยังเอาไว้ไม่ได้เลยครับ ต้องเอากลับมาคืนทุกราย

"คนแถวนี้เขารู้กันดี เพราะเคยฝันเห็นกันหลายราย มาบอกว่าหิวข้าว เราจึงมีการทำบุญเมืองทุกปี โดยจะเอาข้าวคลุกกับเกลือ แล้วก็มีเนื้อเค็ม หว่านตามทางสามแพร่ง ทำบุญให้ "เขา" เพราะที่นี่เมื่อก่อนทางฝั่งตะวันออกเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ทั้งหมด พื้นที่ 350 ไร่ เราเจอโบราณวัตถุในพื้นที่ 280 ไร่ จนถึงเดี๋ยวนี้ก็ยังมีการทำบุญเมืองอยู่ทุกปี"

ฟังเรื่องเล่าเมืองโบราณซับจำปากันพอหอมปากหอมคอ ก่อนจะไปปิดท้ายรายการสำรวจเส้นทางด้วยการไปขอความกระจ่างกับนักประวัติศาสตร์เจ้าบ้าน

อาจารย์ ภูธร ภูมะธน อธิบายว่า เส้นทางสายไหมนั้น โดยปกติเราจะนึกถึงแค่จากมะริดข้ามมาประจวบ หรือจากคอคอดกระข้ามมาที่อ่าวบ้านดอน ที่แหลมโพธิ์ หรือเกาะแถวกระบี่มาลงตรัง ลงนครศรีธรรมราช เราจะนึกถึงแต่แหล่งลูกปัดเหล่านั้น แต่มีปริศนาหนึ่งที่ว่า ทำไมปากแม่น้ำมูลจึงเจออะไรเก่าๆ มากมาย ประเภทจารึกโบราณ ทั้งๆ ที่อยู่ลึกเข้ามาภายในแผ่นดิน นั่นเพราะมันเป็นเส้นทางข้ามคาบสมุทร

นั่นคือ จากอ่าวเมาะตะมะสู่อ่าวตังเกี๋ย โดยเดินทางผ่านอุทัยธานี ผ่านชัยนาท ข้ามแม่น้ำป่าสักมาศรีเทพ แล้วก็เข้าช่องทั้งหมดซึ่งมีหลายช่องด้วยกัน แต่ช่องที่สำคัญที่สุดคือ ช่องที่ซับจำปา เพื่อจะเข้าสู่เมืองเสมาแล้ว ทะลุไปเรื่อยๆ ไปลงแม่น้ำมูล แล้วไปเจอแม่น้ำโขง เพราะฉะนั้นจึงเจอจารึกวงศ์มหิธรปุระ หลังจากนั้นทะลุต่อไปออกที่ตังเกี๋ย

แม้กระทั่งชื่อ ทุ่งกุลาร้องไห้ คำว่า "กุลา" เป็นภาษาพม่า แปลว่า "แขกพ่อค้า" เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องของการค้าข้ามทวีป ซึ่งอาจารย์ภูธรย้ำว่า ก็คือเส้นทางสายไหม

"เส้นทางสายไหม โดยหลักการมี 2 ทาง คือ ทางบก และ ทางทะเล ทางบกนั้นที่แน่ๆ คือจากจีนผ่านไปยังเมดิเตอร์เรเนียน อันนั้นเป็นเส้นเหนือ แต่ทางทะเลมันหลบๆ หลีกๆ ไปเรื่อยๆ

เส้นทางนี้เป็นเส้นทางสายไหมเหมือนกัน แต่เดี๋ยวบกเดี๋ยวทะเล เป็นเส้นทางลัดจากอ่าวเมาะตะมะมาสู่อ่าวตังเกี๋ย เพราะฉะนั้นมันต้องผ่านช่องดงพญากลางนี่แหละ จึงได้เจอเมืองโบราณเต็มไปหมด แถวเมืองทวายก็เจอศิลปะทวารวดีเยอะ

คาถาเยธัมมาก็เจอ พระพุทธรูปก็เจอสมัยเดียวกัน ยุคเดียวกับที่เจอที่อุทัยธานี"

ล่าสุด ชาวบ้านที่บ้านซับจำปาเจอจารึกโบราณ และเส้นทางโบราณที่เป็นเส้นทางเกวียนเลียบหุบเหว ผ่านช่องเขาไปลงเมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา ยิ่งเป็นการย้ำถึงทฤษฎีที่ว่า ศรีเทพ-ซับจำปาเป็นปากทางไปสู่ภาคอีสานเมื่อ 1,500 ปีก่อน

หน้า 20,มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2555

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350618887&grpid=&catid=09&subcatid=0901

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)