ผู้เขียน หัวข้อ: มโน หมายถึง...  (อ่าน 2033 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
มโน หมายถึง...
« เมื่อ: ตุลาคม 26, 2012, 03:00:58 pm »


มโน หมายถึง...



มโน แปลว่า ใจ, ความคิด, อยู่ในกลุ่มคำที่มีความหมายคล้ายกันคือ จิต มนัส เป็นอายตนะภายในอย่างสุดท้ายใน 6 อย่างคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
มโน ปกติใช้นำหน้าคำอื่นๆ ที่แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกับใจ เช่น

    มโนกรรม การกระทำทางใจ
    มโนทวาร ทวารคือใจ
    มโนทุจริต การประพฤติชั่วด้วยใจ
    มโนสุจริต การประพฤติชอบด้วยใจ
    มโนวิญญาณ ความรู้ทางใจ
    มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ
    มโนรม เป็นที่ชอบใจ

มโน หมายถึง สภาวะของจิตที่น้อมจิตไปกำหนดสนใจ ตามเจตสิกที่เข้ามาปรุงแต่งให้จิตเพ่งความสนใจ ในอายตนะต่างๆ โดยเฉพาะ
มโนวิญญาณคือการน้อมจิตไปในธรรมารมณ์ทั้ง 3 คือ1.การน้อมจิตเสพเวทนา 2.การน้อมจิตระลึกถึงความจำในสัญญา(การนึก) และ3.การน้อมจิตปรุงแต่งสังขาร 3 คือกายสังขาร(เคลื่อนไหวร่างกาย) วจีสังขาร(การคิด) จิตสังขาร(ปรุงแต่งอารมณ์แก่จิต)

มโนเป็นทั้งภวังคจิต เป็นทั้งวิถีจิต ตามวาระขณะจิตนั้นๆ
    ภวังคจิต หมายเอา มโนทวาร
    วิถีจิต หมายเอา มโนวิญญาณ

อ้างอิง พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต
พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
-http://www.sookjai.com/index.php?topic=46123.0


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: จิต นั้น.. อยู่ตรงส่วนไหนของร่างกาย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 14, 2013, 08:03:28 pm »




ในร่างกายของคนเรา มีทวารรับความรู้สึกอยู่หกทวาร
ทวารที่ว่าคือ หู..ตา..จมูก..ลิ้น..กายและใจ
ในทวารที่กล่าวมาจะมีปสาทรูปอยู่ในส่วนนั้น
เมื่อเกิดการกระทบขึ้นที่ใด ก็จะเกิดจิตขึ้น จิตในที่นี้ก็คือวิญญาณนั้นเอง

จิตสามารถเกิดในร่างกายของเราได้หกทวารหรือหกที่
ถ้าจิตเกิดที่หู...เรียกว่า โสตวิญญาณ
เกิดที่ตาเรียกว่า จักษุวิญาณ
เกิดที่จมูกเรียกว่า ฆาตวิญญาณ
เกิดที่ลิ้นเรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
เกิดที่กายเรียกว่า กายวิญญาณ
เกิดที่ใจเรียกว่า มโนวิญญาณ

สรุปก็คือ จิตหรือวิญญาณเกิดหรืออยู่ตรง ทวารทั้งหกครับ
----------------............................
จิตไม่มีรูปร่างสัณฐาน จิตอาศัยเกิดทางทวารทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
รูปและนามอิงอาศัยกัน จึงจะเกิดเป็นสภาวะธรรมขึ้นมาได้ เช่นการเห็นรูป เรียกว่าจิตเกิดทางตา
การได้ยินเสียง เรียกว่าจิตเกิดทางหู เป็นต้น

----------------------------.............................
ภวังคจิต เป็นจิตที่คั่นระหว่าง......วิถีจิต
วิถีจิต คือ กระบวนการของขันธ์ห้า ตั้งแต่เกิดผัสสะที่ทวารใดทวารหนื่ง จนครบขันธ์ห้า

อธิบาย ภวังคจิต ไม่ได้ทำหน้าที่คิดหรือรู้ เพราะความคิดหรือรู้เป็นวิถีจิต
ความคิดคือผัสสะเมื่อเกิดแล้วจึงเกิดวิถีจิตกระบวนการขันธ์ เมื่อจบกระบวนการขันธ์ของ
ผัสสะตัวนี้จึงจะเกิด...ภวังคจิต


ภวังคจิตเกิดที่ มโนทวาร แต่ยังไม่เกิดเป็นมโนวิญญาณ จึงไม่มีสภาพรู้อารมณ์
ภวังคจิตมีกิจแค่รักษาภพเอาไว้ เพื่อรอวิถีจิตใหม่

------------------------....................................

ภวังคจิต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภวังคจิต ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อสันตติของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ"
จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1.วิถีจิต จิตสำนึก 2.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก
ภวังคจิต คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทางจิตวิทยา

ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ
ภวังคบาท คือภวังคจิตที่ทรงอารมณ์เก่า อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพหรือจิตดวงก่อน และกำลังกระทบอารมณ์ใหม่
ภวังคจลนะ คือ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ จึงน้อมไปในอารมณ์ใหม่(สร้างและถ่ายทอดข้อมูลสู่จิตดวงใหม่)
ภวังคปัจเฉทะ คือเป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอยู่กับอารมณ์ใหม่หรือจิตดวงใหม่

ภวังคจิต เป็น วิบากจิต คือ จิตใต้สำนึกส่วนลึกที่สุดของจิตเป็นที่สั่งสมอารมณ์จนกลายเป็นอุปนิสัย
ภวังคจิต จะเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตในแต่ละวาระ ทำหน้าที่สืบต่อและดำรงภพชาติ
ภวังคจิต จะเกิดขึ้นเมื่อวิถีจิตดับ และเมื่อเกิดวิถีจิตภวังคจิตจะดับลง เมื่อวิถีจิตดับลงภวังคจิตจะเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีภวังคจิต พอขาดวิถีจิต จิตจะไม่มีการสืบต่อสันตติก็เท่ากับสิ้นชีวิต
ภวังคจิต ในขณะที่เปลี่ยนภพจุติใหม่สู่ชาติใหม่ จะใช้ชื่อว่า ปฏิสนธิจิตแทน ซึ่งเป็นขณะจิตแรกของแต่ละชาติ ภวังคจิตจึงสืบต่อภพในระดับเปลี่ยนชาติด้วย

ภวังคจิต คือมโนทวารเป็นอายตนะที่ ๖ อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพปกติ เมื่อยังไม่ขึ้นสู่วิถีจิตรับรู้อารมณ์ จะเป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ เมื่อรับอารมณ์คือเจตสิก จะกลายเป็นมโนวิญญาณ
มีพุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา" จิตที่ประภัสสรในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าหมายถึงภวังคจิต

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0% ... 4%E0%B8%95

------------------------...................................

ภวังคจิต เป็นจิตที่เกิดที่หทยวัตถุ(มโนทวาร) ถูกต้องครับ แต่มันยังไม่เกิดมโนวิญญาณครับ
ที่ว่ายังไม่เกิดมโนวิญญาณ เป็นเพราะยังไม่มีอายตนะภายนอกหรือธ้มมารมณ์มากระทบที่ มโนทวารครับ

ส่วนปฏิสนธิจิตกับจุติจิต ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จขกทเขาถามครับ
จขกทเขาถามว่า.....จิตอยู่ตรงไหนของร่างกาย

ปฏิสนธิจิต คือจิตรู้ รูปนาม ส่วนจุติจิตคือจิตที่ละรูปนามครับ
-----------------------------.................
ลักษณะสามัญตามธรรมชาติของจิตคือ....
จิตมีลักษณะสามัญตามธรรมชาติ อยู่ ๓ ประการ คือ

๑. อนิจจลักษณะ คือ มีลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลง (เกิด-ดับ) อยู่ตลอดเวลา
๒. ทุกขลักษณะ คือ มีลักษณะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป)
๓. อนัตตลักษณะ คือ มีลักษณะที่มิใช่ตัว มิใช่ตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด จะบังคับให้หยุดการเกิดดับก็ไม่ได้

การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของจิต เป็นไปอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นจะบอกว่าจิตมีที่อยู่ที่อาศัย มันจึงผิด ผู้พูดไม่รู้ถึงสามัญลักษณ์ของจิต
แม้กระทั้งภวังคจิต มโนทวารไม่ได้เป็นที่อยู่อาศัยของจิต เป็นเพียงเหตุปัจจัย
ให้จิตเกิด ตั้งอยู่และดับไป ในลักษณะมีจิตดวงใหม่มาสืบต่อ(สันตติ)

การมองไม่เห็นสันตติ เลยทำให้เข้าใจว่า.....จิตดวงเดิมยังคงอยู่ และคิดไปว่า
จิตดวงเดิมอาศัยอยู่ณ.ที่ตรงนั้นที่แท้แล้วจิตเกิดดับไปตั้งมากมาย ไม่มีจิตเดิมแล้ว
----------------------...................................

หทยรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
มโนธาตุมโนวิญฺญาณธาตูนํ นิสฺสย ลกฺขณํ มีการให้มโนธาตุ และมโน- วิญญาณธาตุได้อาศัยเกิด เป็นลักษณะ
ตาสญฺเญว ธาตูนํ อธารน รสํ มีการทรงไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นกิจ
ตทุพฺพหน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการรักษาไว้ซึ่งธาตุดังกล่าว เป็นผล
จตุมหาภูต ปทฏฺฐานํ มีมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นเหตุใกล้

หทยรูป คือ รูปที่เป็นที่ตั้งอาศัยเกิดของจิตและเจตสิก เพื่อทำกิจให้สำเร็จ เป็นกุสลหรืออกุสล สำหรับในปัญจโวการ
ภูมิแล้ว ถ้าไม่มีหทยรูปเป็นที่ตั้งอาศัยเกิด ของจิตและเจตสิกแล้ว ก็จะไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ตลอดจนการคิดนึกเรื่องราว
ต่าง ๆ ได้เลย ฉะนั้น รูปที่เป็นเหตุให้สำเร็จการงานต่าง ๆ จึงชื่อว่า หทยรูป
สัตว์ทั้งหลายย่อมทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยอาศัยรูป ดังนั้นรูปที่เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายทำสิ่ง
ที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า หทยรูป

--------------------------..........................
ทั้งสมองและหัวใจ เป็นที่อาศัยเกิดของจิตทั้งสองอย่าง
แต่สภาวะที่เกิดหรือจิตมันไม่เหมือนกัน
*************
             [๑๐๘๖] จิต ๗ เป็นไฉน
             คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญ-
*ญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
             เหล่านี้เรียกว่า จิต ๗
๑๘. ธัมมหทยวิภังค์/สัพพสังคาหิกวาร
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=13904&Z=13972&pagebreak=0

[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

อยากทราบครับ ที่ว่า จิตอาศัยเกิดที่หทยรูป อยากทราบครับ
รูปที่ว่ามันเป็นรูปอะไรในรูปปรมัตถ์ครับ

หทยรูป เป็นรูปๆหนึ่ง ในรูป 28 ซึ่งเป็นรูปปรมัตถ์ครับ
- http://dhrammada.wordpress.com/2012/03/ ... %E0%B9%8C/
-http://dhrammada.wordpress.com/2012/03/24/รูปปรมัตถ์/

แล้วที่บอกว่า ภวังคจิตเกิดดับที่หทยรูป รูปที่ว่าเป็นรูปอะไรในปรมัตถ์ครับ
ตอบ เช่นเดียวกับคำถามแรกครับ
รูปปรมัตถ์ มี 28 รูป และหนึ่งในนั้นคือ หทยรูปครับ

ที่คุณว่า รูปที่อาศัยจิตเกิดอยากทราบครับ
มันเป็นรูปอะไรในปรมัตถ์ครับ

ตอบจากอ้างอิงนี้ครับ
อ้างคำพูด:
รูปที่เกิดจากจิต หมายถึง รูป ๑๕ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓
วิญ-ญัติรูป ๒ สัททรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ ซึ่งเกิดจากจิตเป็นปัจจัย
-----------
อายุรูปเป็นอย่างไรครับ
รูปมีอายุ สั้นมาก แต่จะเอาอะไรไปวัด ในเมื่อไม่มีเครื่องมืออะไร ไปวัด
แต่ที่มีการเล่าเรียนสืบต่อๆ กันมา ก็เอาไปเทียบเคียงกับอายุจิต

อ้างคำพูด:
จิตทุกดวงจึงมีอนุขณะ ๓ ขณะ คือ
อุปาทขณะ เป็นขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ตั้งอยู่ไม่ใช่ขณะที่ดับ
ฐิติขณะ เป็นขณะที่ตั้งอยู่ ไม่ใช่ขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ดับ
ภังคขณะ เป็นขณะที่ดับ ไม่ใช่ขณะที่เกิด ไม่ใช่ขณะที่ตั้งอยู่

อ้างคำพูด:
เมื่อศึกษาต่อไปเรื่องรูปก็จะรู้ว่า รูปที่เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นเป็นกัมมชรูป เกิดทุกขณะของจิต คือ เกิดขณะอุปาทะของจิต เกิดขณะฐิติของจิต เกิดขณะภังคะของจิตทุกดวง เว้นไม่เกิดก่อนจุติจิต ๑๗ ขณะ ฉะนั้น รูปที่เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐานจึงดับหมดพร้อมกับจุติจิต ทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลในชาตินั้นทั้ง ๕ ขันธ์
รูปที่เกิดเพราะจิตเป็นสมุฏฐานเป็นจิตตชรูป เกิดพร้อมกับอุปปาทขณะของจิต (เว้นปฏิสนธิจิต ๑ ดวง ทวิปัญจวิญญานจิต ๑๐ ดวง อรูปาวจรวิบากจิต ๔ ดวง และจุติจิตของพระอรหันต์ ๑ ดวง)รูปที่เกิดเพราะอุตุ คือ ธาตุไฟที่เหมาะสมเป็นสมุฏฐานนั้นเป็นอุตุชรูป เกิดในฐิติขณะของอุตุชรูปซึ่งเป็นสมุฏฐานนั้นรูปที่เกิดเพราะอาหารเป็นสมุฏฐานเป็นอาหารชรูป เกิดในฐิติขณะของโอชารูปในอาหารที่บริโภคเข้าไป เมื่อโอชารูปในอาหารนั้นซึมซาบแล้ว

รูปมีอายุ 17 ขณะจิต
หรือพูดอีกนัยหนึ่ง รูป มีอายุ (17x3) คือ 51 อนุขณะจิต

44212.จิต นั้นอยู่ตรงส่วนไหนของร่างกาย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44212

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2013, 12:00:28 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มโน หมายถึง...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 29, 2013, 12:01:44 pm »



๒. ๒ อริยสัจ 4 : ทุกข์ : ขันธ์ 5 : จิต, เจตสิก
จิต (Consciousness)
จิต มีลักษณะเป็นนามธรรม ที่เกิด-ดับ ตลอดเวลา ทำหน้าที่รับรู้ รู้สึก คิด จำ เป็นต้น เป็นฐานของชีวิต การรู้สึกตัว การรับรู้การ
สัมผัสและการนึกคิดต่าง ๆ แต่ไม่มีลักษณะเป็นตัวตน

ลักษณะของจิต
 ลักษณะของจิต ประมวลได้ดังนี้
1. ไม่มีรูปร่าง
2. ไม่กินเนื้อที่
3. หมุนไปเร็ว
4. ไปได้ไกล
5. บริสุทธิ์ ผ่องใส
6. มีปกติรับรู้อารมณ์อยู่เสมอ
7. เป็นผู้สั่งสมวิบาก (ผล) ของกรรม
8. รักษาขันธสันดานให้เกิดขึ้นโดยติดต่อสืบและไม่ขาดสาย (ภวังคจิต)
9. ทำให้สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตวิจิตรพิศดาร

-http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m6/web/l_toom/p3.php


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: หทยวัตถุ.. หทยวัตถุธาตุ.. มโนทวาร...
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 29, 2013, 12:04:30 pm »


               

เรื่องของ...หทยวัตถุ เราให้ความหมายมันว่า ว้ตถุอันเป็นที่ตั้งของมโนทวาร
หทยวัตถุมีสองอย่างนั้นก็คือ.....สมองกับหัวใจ



สมองว่ากันตามจริงแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของมหาภูติรูปสี่ มันจึงเป็นธาตุ
แต่เนื่องด้วยสมองมีเส้นประสาทสมองอยู่ เส้นประสาทสมองเป็นอุปาทายรูป
และยังเป็นมโนทวารเป็นที่รับความคิดความจำ ซึ่งตรงนี่แหล่ะที่ทำให้เกิด ....วิญญาณ
วิญญาณตัวนี้เป็นจิตอย่างหนื่งเรียกว่า.......มโนวิญญาณ

สรุปเรื่องมโนวิญญาณเกิดขี้นได้ต้องอาศัย....สมอง จึงเรียกสมองตามเหตุ
ตามปัจจัยว่า.....สมองเป็นหทยวัตถุ และที่สำคัญอีกอย่าง จิตหรือวิญญาณเกิดจาก...
อุปทายรูป ไม่ใด้เกิดจากมหาภูตรูปหรือธาตุสี่

ที่นี้มาที่หทยวัตถุอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า.....หัวใจ มีบางคนเข้าใจว่า
หัวใจเป็นทวารที่รับธัมมารมณ์ ถ้าเข้าใจแบบนี้ ผมว่าคนๆนั้นสักแต่ว่าอ่านหนังสือ
ไม่เคยพิจารณาธรรมด้วยสติ ธ้มมารมณ์มันเป็นความนึกคิด จินตนาการต่างๆ
หัวใจคนเรามันไม่สามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้
หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่าง เพี่อให้ชีวิตหรือร่างกายคงอยู่

ถ้าจะพูดหัวใจเป็นหทยวัตถุหรือเป็นมโนทวาร หัวใจก็เป็นที่ให้จิตอาศัยเกิดเช่นกัน
แต่จิตที่เกิดจากหัวใจมีความแตกต่างจากจิตที่เกิดจากสมอง นั้นก็คือ....

จิตที่เกิดจากสมองเป็น....วิถีจิต แต่จิตที่เกิดจากหัวใจเป็น....ภวังคจิต

หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิดเพี่อไปเลี้ยงร่างกายในทุกส่วน เท่ากับว่ารักษาให้ชีวิตคงอยู่
พูดง่ายๆก็คือ รักษาชีวิตก็คือการรักษาภพในภวังคจิตนั้นแหล่ะ
ถ้าสังเกตุให้ดี ในขณะนอนหลับที่เป็นภวังคจิต ทวารทั้งหกที่เป็นอุปาทายรูปไม่ทำงาน
แต่ยังมีทวารอีกทวารหนึ่งที่ยังทำงานอยู่ นั้นก็คือหัวใจ

หัวใจไม่ใช่อุปาทายรูป แต่หัวใจเป็นมหาภูติรูป จึงเรียกจิตนั้นว่า...ภวังคจิต
คือเป็นจิตที่คอยรักษาภพอย่างเดียว ไม่มีจิตที่เรียกว่ามโนวิญญาณ
เราเรียกจิตที่เกิดจากหัวใจว่า...มโนธาตุ




คำที่ว่า....มโนทวารกับมโนทวารธาตุ
มโนทวารใช้กับปุถุชน มโนทวารธาตุใช้กับอรหันต์(ยังมีอริยบุคคลอีก แต่ไม่ขอกล่าวถึง
มันจะสับสนซะเปล่าๆ)

เรามาดูมโนทวารในส่วนที่เรียกว่า สมองของปุถุชนมันเป็น...อุปทายรูป

อธิบาย ที่เรียกว่ารูปขันธ์ มันเป็นอาการยึดมั่นถือมั่นในรูปหรือร่างกาย แท้จริงรูปหรือร่างกาย
เป็นเพียงมหาภูติรูปสี่ เป็นเพียงแค่ธาตุสี่มาประชุมกัน
ปุถุชนไปปรุงแต่งธาตุสี่ จนเกิดเป็น
อุปาทายรูปขึ้น เป็นอุปาทายรูป๒๔
สรุปก็คือ มหาภูติรูปก็คือเป็นความจริงแห่งรูปหรือร่างกาย แต่อุปาทายรูปเกิดจากการปรุงแต่ง
ดังนั้นเราจึงเรียกสมองในส่วนของปุถุชนว่า มโนทวารเฉยๆ เพราะมันเกิดจากการปรุงแต่ง
มันเป็นอุปาทายรูป


แล้วทำไมเรียกสมองของอรหันต์ว่า....มโนทวารธาตุทั้งๆที่เป็นสมองเหมือนกัน
ก็เป็นเพราะพระอรหันต์ ตัดกิเลสหมดแล้วยิ่งในส่วนของรูป ท่านรู้ว่าความยึดมั่นถือ
จนเกิดเป็น
รูปขันธ์ก็เพราะ การปรุงแต่งมหาภูติรูปหรือธาตุสี่

แท้จริงแล้วร่างกายของเราเป็นเพียงธาตุสี่ที่มาประชุมกันเท่านั้น

สรุปก็คือ รูปของพระอรหันต์จึงมีเพียงแค่ธาตุสี่ อรหันต์ไม่เกิดอุปาทายรูปแล้ว
สมองของพระอรหันต์จึงเป็นรูปธาตุไม่ใช่อุปาทายรูป
ดังนี้จึงเรียกสมองของพระอรหันต์ที่ทำให้เกิดความคิดว่า.....
มโนธาตุคือเป็นส่วนหนึ่งของมหาภูติรูปสี่นั้นเอง
------------..................
จิตที่เป็นขันธ์ห้าในปุถุชน มันจะเกิดกระบวนการเริ่มต้น ตั้งแต่ได้รับกิเลสทางทวารทั้งห้า
เมื่อได้รับกิเลสมาทางทวารใดทวารหนึ่งแล้ว ย่อมต้องต้องเกิดเป็นกระบวนการขันธ์

กระบวนการขันธ์จากผัสสะนั้นจะมาจบที่ สังขารขันธ์(อาการของจิต)
อาการของจิตที่เป็นอกุศล(โมหะ โทสะและโลภะ) มันจะเกิดการปรุงแต่งต่อ
ในรูปของ ธัมมารมณ์นั้นก็คือก็เกิดการคิดขึ้นที่สมองหรือหทัยวัตถุ
----------........................

กายสังขารเกิดจาก การที่จิตไปปรุงแต่งรูปกาย ให้กระทำกรรมไปตามเจตนาของจิต
ดังนั้นจิตมันเกิดที่ ใจกับธัมมารมณ์ เมื่อเกิดแล้ว เป็นวิถีจิต เป็นกระบวนการขันธ์
เป็นสังขารที่เรียกว่า....หลงอันมีโลภะเป็นปัจจัยร่วม
------------------.......................

โลภะเป็นอาการของจิตเป็นกระบวนการขันธ์ห้า
โลภะเป็นอกุศลที่มีเหตุปัจจัยมาจาก...ตัณหา

และโลภะไม่ใช่ตัวสร้างทุกข์ แต่มันเป็นตัวทุกข์ และที่ว่ามันเป็นตัวทุกข์ก็เพราะ
โลภะเป็นสังขารขันธ์เป็นกระบวนการขันธ์ ซึ่งลักษณะของขันธ์ห้าเป็น.....สังขาร
และเพราะการไม่เห็น....ความเป็นอนิจจังของสังขารมันจึงเป็นทุกข์
สรุปขันธ์ก็คือกองทุกข์ทั้งมวล

-----------...........................
โลภะทำลายไม่ได้ ถ้ามีเหตุให้เกิดมันก็เกิด แต่เราสามารถหยุดมันได้ด้วยการใช้..สติ
สิ่งที่จะทำให้ไม่เกิดอาการของจิตหรือโลภะ โทสะและโมหะ ต้องอาศัยการทำสติปัฏฐาน
เพื่อละกิเลสตัณหา เมื่อไม่มีกิเลสตัณหา โมหะ โทสะและโลภะก็ไม่เกิด
----------------.................................
ขันธ์ห้า มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป มันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเดียว
***
จะพ้นจากชาติมันต้องไปละตัวตัณหา ตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่
อุปาทานไม่มี ภพชาติก็ไม่มี
***
หลักอิทัปปัจจยตา(ตถตา)
มีตัณหาย่อมมี ขันธ์ห้า มีขันธ์ห้าย่อมมี....จิตสังขาร

อกุศลเหตุเป็นหนึ่ง....จิตสังขาร
อกุศลมูลจิตก็คือ....กายสังขารและวจีสังขาร

จิตและเจตสิก มีลักษณะเกิดขี้น ตั้งอยู่และดับไป
ถ้าเรารู้ลักษณะของจิตและเจตสิกเราก็ย่อมไม่หลง อกุศลมูลจิตย่อมเกิดไม่ได้

-------------....................
มันก็เหมือนกิ่งก้าน ใบ
กิ่งก้านใบตัดไปเล็มไป มันก็เกิดอีก เช่นเดียวกันกับกุศลจิตหรืออกุศลจิต
มันก็เกิดดับของมันตามเหตุ และเหตุของมันที่แท้จริงก็คือตัณหา
ดังนั้นตัวตัณหาก็คือรากเหง้า หากจะดับสังสารวัฎมันก็ต้องดับที่ตัณหา
----------------.........................
"ธรรม ๓ อย่างที่ควรละเป็นไฉน คือ ตัณหา ๓ ได้แก่กามตัณหา ๑
ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑
ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ"



44236.หทยวัตถุ งงอีกแล้วล่ะซิพี่น้อง
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44236


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สภาวะธรรมคำว่า"วิปัสสนา"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 29, 2013, 07:21:34 pm »


                 

กามคุณห้า เวลาเห็นภาพแล้วพอใจ ไม่พอใจ
เวลาได้ยินเสียง แล้วพอใจ ไม่พอใจ
เวลากินอะไรแล้ว พอใจ ไม่พอใจ
เวลาได้กลิ่นอะไรแล้วพอใจ ไม่พอใจ
เวลาสัมผัสอะไรแล้วพอใจไม่พอใจ

รูป...รส...กลิ่น...เสียง...สัมผัส นั้นน่ะเขาเรียก.....กามหรือกามคุณห้ามันเป็นตัณหา
-----------------...........................
ความรักเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในกิเลสหรือสังโยชน์เบื้องสูง
ไอ้โลภ โกรธ หลง มันไม่ใช่กิเลส แต่มันเป็นผลที่เกิดจากกิเลส
เรียกว่า....อาการของจิตหรือเจตสิก เรียกง่ายๆว่า อาการของจิตฝ่ายอกุศล

จำไว้เลยว่า กิเลสคือสิ่งที่มัดใจสัตว์ให้วนเวียนอยู่ในวัฎฎะสงสาร
นั้นก็คือสังโยชน์สิบ
*****
คนถ้าลองไม่มีอวิชา ไม่มีความยินดี ยินร้ายยึดมั่นถือมั่นซะแล้ว
มันยังต้องมาเกิดอีกหรือ
*****
44385.ถาม เรื่องความรัก
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44385

พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต
งงล่ะซิงง มันไม่มีในตำราถึงได้งง   
มันเป็นธรรมของครูบาอาจารย์ ท่านจะบอกโดยนัยว่า
จิตหรือตัวผู้รู้ก็เป็นสังขาร  มีลักษณะไตรลักษณ์
คำว่า ทำลายไม่ได้หมายถึง การเข้าไปให้พินาจหรือหายไป เพียงแต่ให้รู้ด้วยปัญญาว่า
แม้กระทั่งตัวผู้รู้หรือจิต เมื่อมันเกิด ขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไปเหมือนสังขารอื่นๆเช่นกัน
***************
ธรรมะมันต้องเริ่มด้วย ทิฐิ
มันไม่ได้ปฏิบัติถูกหรือผิด

ถ้ามีสัมมาทิฐิหรือเห็นถูก ก็ปฏิบัติถูก
ถ้ามีมิจฉาทิฐิหรือเห็นผิด ก็ปฏิบัติผิด
--------......................
พระธรรมที่ว่าด้วย อริยสัจจ์สี่ของพระพุทธเจ้า ครอบคลุมธรรมะทั้งหมดของพระพุทธเจ้า
การจะดับทุกข์ ต้องใช้การทำวิปัสนากรรมฐาน
มันก็ถูกต้องแล้ว เพียงแต่มันยังไม่ครอบคลุมในการดับทุกข์ทั้งหมด

อันที่จริงแล้วการจะดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงจะต้องอาศัย ธรรมที่เรียกว่า...
โพธิปักขิยธรรม การทำวิปัสนาหรือการทำสติปัสฐานสี่เป็นส่วนหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม
สติปัฏฐานสี่เป็นหลักในการละเหตุแห่งทุกข์ ก็คือกิเลสสังโยชน์นั้นเอง

ในวงปฏิจจ์สมุบาท เป็นกฎแห่งธรรมชาติที่บอกให้รู้ว่า...
อะไรคือทุกข์ (ทุกข์) และอะไรคือเหตุแห่งทุกข์(ทุกข์สมุทัย)
การดับทุกข์หรือวิธีดับทุกข์ก็คือ.. มรรคหรืออริยมรรคมีองค์แปด
ซึ่งต้องไปปฏิบัติกันที่รูป นามหรือกายใจของบุคคล


สรุปให้ฟังอีกครั้ง ปฏิจจสมุบาทคือ ทุกข์และเหตุแห่งทุกข์
วิปัสนากรรมฐานหรือสติปัฏฐานสี่ ก็คือหนึ่งในอริยมรรคมีองค์แปด เป็นวิธีการดับทุกข์

44412.ธรรมมะที่มีในปัจจุบันยังเพียงพอที่จะดับทุกข์ไหม
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44412&start=15

การคิดแบบสัมมาทิฐิ มันต้องมองไปข้างหน้า มองย้อนไปข้างหลัง
แล้วเอามาเปรียบเทียบกับปัจจุบัน คิดไตร่ตรองหาเหตุผลว่า
การกระทำของเรา จะส่งผลให้เดือดร้อนในภายหลังมั้ย
***
การมองธรรม ถ้าเป็นเรื่องของเรา เราก็ต้องมองที่ใจเรา
ถ้าเป็นเรื่องของคนอื่น ก็ต้องหาเหตุที่มาของการกระทำของผู้อื่น
***
มันถึงเป็นเรื่องของศีลธรรมที่เราเอง จะต้องเป็นผู้คิดเองว่า
มันสมควรมั้ย
***
แต่ไม่สามารถเถียงในเรื่องของศีลธรรมได้เลย เพราะเราก็รู้อยู่แก่ใจว่า
มันมีสาเหตุมาจากความเห็นแก่ตัว

เราต้องยอมรับว่า เรายังมีกิเลส ยังมีอาการโลภ โกรธหลง
การผิดศีลหรือไม่ ไม่ใช่หมายถึงไม่มีอาการอกุศลที่ว่า แต่มันหมายถึง
เรามีอาการอกุศลแล้วต้องมีสติมาหักห้ามใจ ไม่ให้เกิดอาการทางกายและวาจา
****
44414.เล่นเน็ท โดยใช้ wifi ของคนอื่น เป็นการขโมยหรือไม่
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44414&start=15


ถ้าเราดูในวงจรปฏิจจ์สมุบาท กิเลสจะแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนที่เป็นอวิชา
และส่วนที่เป็น ตัณหา

ในส่วนที่เป็นอวิชานั้นก็คือ สังโยชน์สิบ กิเลสในส่วนของสังโยชน์
ทำให้บุคคลเกิดความไม่รู้ในสังขาร ไม่รู้การเป็นไตรลักษณ์ของจิต
เมื่อเกิดผัสสะหรือการรับเอาสิ่งภายนอกที่มากระทบ ทำให้จิตเป็นอวิชา
ปรุงแต่งเป็นขันธ์ห้า เมื่อขันธ์ห้าเกิดอาการของจิตขึ้นจนเป็นอกุศล
แทนที่จิตจะหยุด กลับไปปรุงแต่งต่อด้วยการไปรับอายตนะภายนอก
ในลักษณะของธัมมารมณ์เข้าในใจอีก คราวนี้ตัณหาก็จะเข้ามาพร้อมกับธัมมารมณ์
จนเกิดเป็นอุปาทานขันธ์ขึ้น บทสรุปก็จะเป็นหนึ่งในกองทุกข์

ดังนั้นจิตหรืออาการของจิต มันไม่ใช่กิเลส เพียงแต่มันถือโอกาสเข้ามาในจิต
แล้วก็บ่งการให้จิตไปรับกิเลสซ้ำเข้ามาอีก

สิ่งที่พอพิสูจน์ได้ว่า กิเลสไม่ใช่จิตหรืออาการของจิต นั้นก็คือภวังคจิต
ภวังคจิตเป็นสภาวะที่เกิดจากการปิดทวารทั้งหก หรือการไม่ทำงานของ
ทวารทั้งหก ภวังคจิตมีลักษณะเหมือนกับจิตที่เรียกว่า จิตประภัสสร
นั้นคือจิตที่ยังไม่มีกิเลสมาเกาะกุม
นี่แสดงว่า กิเลสมาจากสิ่งนอกกายใจเรา มันเข้ามาแล้วทำให้ใจเราเศร้าหมอง
มันก็เหมือนกับ คนที่ปวดหัวตัวร้อน การปวดหัวตัวร้อนเรียกว่า อาการ

สิ่งที่ทำให้เกิดอาการก็คือ เชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคเราย่อมรู้ดีว่า มันมาจากภายนอก
การรักษาต้องกินยา เช่นเดียวกันจะรักษาอาการของจิตที่เป็นอกุศล ก็ต้องกินยา
ยาที่ว่านี้เรียกว่า......สติ เมื่อมีสติอาการของจิตก็จะหายไป

อย่าลืมว่า สติที่เกิดภายหลังเป็นเพียงการบรรเทาอาการ
การจะรักษาที่แท้ต้องฆ่าเชื้อโรค หรือไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาในร่างกายหรือจิตใจ
นั้นคือการทำ.....สติปัฏฐาน

44431.เจ็บแค้นเคืองโกรธโทษฉันไย? ฉันเป็นจิตใจของเธอน่ะ
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44431

แนวทางให้เข้าใจธรรม คือมองธรรมไปตามความเป็นจริงเสียก่อน
การมองธรรมไปตามความเป็นจริงแบบนี้จึงเรียกว่า ปัญญาขั้นต้น

ปัญญาขั้นต้นนี้ เอาไว้พิจารณา กาย เวทนา จิตและธรรม
***
การทำสมถภาวนา ไม่ใช่จิตนิ่งอยู่กับอารมณ์ แต่จิตไปอยู่ที่มโนทวาร
เพื่อปิดการปรุงแต่ง อันเกิดจากทวารอื่นๆ

การทำวิปัสสนาไม่ใช่การมานิ่งๆ มันต้องปล่อยกายใจไปตามปกติ
แต่เมื่อเกิดรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ ก็ให้รู้ว่านี่แหล่ะคือทุกข์ แล้วก็ให้หาเหตุแห่ง
ความไม่สบายกายใจนี่ นั้นก็คือสังขารการปรุงแต่งของใจเราเอง แล้วก็ดับมันด้วยสมถ
นั้นก็คือการปิดมโนทวารจนกว่าทุกข์นั้นจะดับไป นี่คือหลักการทำวิปัสสนาแบบสั้นๆ
สิ่งสำคัญเหนืออื่นใด บุคคลนั้นจะต้องมีปัญญามองธรรมตามความเป็นจริงเสียก่อน
เพราะการทำวิปัสสนา จะต้องอาศัยปัญญาตัวนี้นำหน้าเสมอ
***

อธิบายสภาวะธรรมคำว่า"วิปัสสนา"ก็คือ..
การใช้ความคิดหาเหตุผล หาสิ่งที่ทำให้เราทุกข์
เมื่อรู้แล้วก็จะได้ดับเหตุได้ถูก แต่การดับเหตุนั้นต้องอาศัยตัวช่วย นั้นก็คือปัญญา
ปัญญาที่ว่าก็คือ ความรู้ที่เราได้ไปรู้ถึงลักษณะของเหตุมาก่อนแล้ว

สรุปก็คือ....วิปัสสนาก็คือกระบวนการทางความคิด ที่ใช้ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่
กำลังเกิดอยู่ แล้วก็ดับเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งที่ว่านั้น


กระบวนการความคิดของทางโลกและทางธรรม มีจุดประสงค์ต่างกัน
อย่างหนึ่งเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด อีกอย่างไม่ใช่

44440.ขอคำแนะนำ การปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานครับ
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44440