พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ คือจิตและเจตสิก อาศัยกันและกันรูปปรมัตถ์บทเรียนพระอภิธรรม ชุดที่๕ ตอนที่๑ปรมัตถธรรมมี 4 คือ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ และนิพพานปรมัตถ์ นักศึกษาได้ศึกษาจิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ผ่านไปแล้ว เรื่อง
รูปปรมัตถ์นี้จะต่างจากจิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ เพราะจิตและเจตสิกนั้นเป็น
นามธรรม เป็นธรรมที่รู้อารมณ์ ส่วน
รูปปรมัตถ์เป็น
ธรรมที่ไม่รู้อารมณ์รูปปรมัตถ์มี 28 อย่าง โดยจำแนกเป็นรูปภายในและรูปภายนอก รูปที่ต้องอาศัย และรูปที่ไม่ต้องอาศัยเป็นต้น ในรูปปรมัตถ์นี้ได้แสดงไว้ 5 นัย คือ1. สมุทเทสนัย 2. รูปวิภาคนัย 3. รูปสมุฏฐานนัย 4.รูปกลาปนัย 5. รูปปวัตติกมนัยการศึกษาพระอภิธรรมเป็นการเจริญกุศลและอบรมปัญญาไปในตัว และยังได้ช่วยรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมหายไปจากโลกอีกด้วย บุคคลใดได้รักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมหายไปจากโลก บุคคลนั้นย่อมได้ประโยชน์ 3 ประการ คือ
ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือเห็นแจ้งพระนิพพานบุคคลใดได้ศึกษารูปปรมัตถ์โดยนัยทั้ง 5 นี้แล้ว
พึงพิจารณาเห็นจิตที่รู้รูปปรมัตถ์นั้นว่า เป็นเพียงรูป ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ดังนี้
การรู้จักนามรู้จักรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเริ่มต้นเจริญวิปัสสนา อย่างถูกต้อง บุคคลผู้สามารถเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้องตามหลักปริยัติอย่างนี้จึง จะเห็นแจ้งพระนิพพานบรรลุเป็นพระอรหันต์ในภายหลังได้ ฉะนั้นนักศึกษาควรศึกษาเรื่องรูปนี้อย่างเข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง
คำว่า รูป มีความหมาย 2 นัย
นัยที่ 1 กล่าวไว้ว่า รูป หมายถึง
ธรรมชาติที่แตกดับหรือเสื่อมสลายไป ประการหนึ่ง นัยที่ 2 รูป หมายถึง
ธรรมชาติที่แตกสลายไปด้วยอำนาจของความร้อนและความเย็น ซึ่งทั้งสองนัยนี้
สรุปได้ว่า รูป มีธรรมชาติที่ต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป นั่นเองลักษณะเฉพาะของรูป ลักขณาทิจตุกของรูปมี 4 ประการ คือ...1. รูป เป็นธรรมชาติที่ มีการแปรปรวนแตกดับ
2. รูป แยกออกจากจิต นาม ได้
3. รูป เป็นอัพยากตธรรม คือ ไม่ใช่ธรรมชาติที่เป็นกุศลหรืออกุศล
4. รูป มีวิญญาณ จิต เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
รูปปรมัตถ์นี้มีการสงเคราะห์ ไว้ 5 นัย คือ...1. รูปสมุทเทสนัย แสดงรูปโดยย่อเป็น 11 หมวด (อ่านว่า รูป - สะ - หมุด - เท - สะ - นัย)
2. รูปวิภาคนัย แสดงการจำแนกโดยมาติกามี เอกมาติกา เป็นต้น (อ่านว่า รูป - วิ - ภา - คะ - นัย)
3. รูปสมุฏฐานนัย แสดงเหตุเกิดแห่งรูป มีกรรม เป็นต้น (อ่านว่า รูป - สะ - หมุด - ถาน - นัย)
4. รูปกลาปนัย แสดงหมวดหมู่แห่งรูปที่เกิดแต่กรรม เป็นต้น (อ่านว่า รูป - กะ - หลาบ - นัย)
5. รูปปวัตติกมนัย แสดงโดยการเกิดตามลาดับแห่งรูป (อ่านว่า รูป - ปะ - วัด - ติ - กะ - มะ - นัย)
การศึกษาใน
ชุดที่ 5 ตอนที่ 2 จะศึกษาเฉพาะ
รูปปรมัตถ์โดยนัยที่ 1 และ 2
นัยที่ 1 รูปสมุทเทสนัยแสดงรูปโดยย่อเป็น 11 หมวดรูปขันธ์คือ ร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลายเมื่อนับโดยความเป็นรูปธรรมแล้วมี 28 รูปด้วยกัน
เมื่อจัดเป็นประเภทแล้ว
ประเภทใหญ่มี 2 คือ
นิปผันนรูป มี 18 และ
อนิปผันนรูป มี 10 เมื่อนับเป็น
ประเภทเล็กได้ 11 ประเภท ที่เรียกว่า
รูปสมุทเทสนัยมีรายละเอียดดังนี้ คือ
1. มหาภูตรูป มี 4 คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย
2. ปสาทรูป 5 คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป
3. วิสยรูป 4 คือ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป
4. ภาวรูป ” ๒ คือ อิตถีภาวรูป ปุริสภาวรูป
5. หทยรูป 1 คือ หทยรูป
6. ชีวิตรูป 1 คือ ชีวิตรูป
7. อาหารรูป 1 คือ อาหารรูป อันได้แก่ โอชาในอาหารต่าง ๆ
8. ปริจเฉทรูป 1 คือ อากาสธาตุ
9. วิญญัติรูป 2 คือ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ
10. วิการรูป 3 คือ ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา
11. ลักขณรูป ๔ คือ อุปจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตามหาภูตรูป 4 คือ ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ซึ่งเป็นรูปใหญ่ที่ปรากฏชัด ส่วนรูปที่เหลืออีก 24 ต้องอาศัยมหาภูตรูป 4 นี้เกิดขึ้น เรียกว่าอุปาทายรูป รูปทั้ง 28 มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มหาภูตรูป 4 ได้ชื่อว่าเป็น
ต้นธาตุ ซึ่งเป็นประธานของรูปทั้งหลาย รูปอื่น ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแม่ธาตุทั้ง 4 นี้ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสิ่งทั้งปวง ดังนั้น ธาตุทั้ง 4 นี้จะอยู่รวมกันเสมอไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้
แม้ในธาตุทั้ง 4 เองก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกันด้วย เช่น ธาตุดินจะมีอยู่ได้ก็ต้องอาศัยธาตุอีก 3 ธาตุ คือ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม มหาภูตรูป 4 มีรายละเอียดดังนี้ คือ
ธาตุดิน จัดเป็นธาตุที่เป็นประธานของธาตุ 3 ที่เหลือ ธาตุดินมีธรรมชาติที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน รูปใดถ้ามีธาตุดินมากก็จะแข็งมาก เช่น เหล็ก หิน รูปใดมีธาตุดินอยู่น้อยก็จะอ่อน เช่น ยาง ฟองน้ำ เป็นต้น ภายในร่างกายของคนและสัตว์ส่วนใดที่แข็งก็จัดเป็นธาตุดิน
ธาตุดินในร่างกายของคนเราก็มี 20 อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง หรือจะพิจารณาสิ่งมีลักษณะแข็ง เป็นของหยาบ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เหล่านี้เป็นธาตุดินทั้งสิ้น
ธาตุทั้งหลายถ้าเรามีกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น ก็จะทำให้ยึดมั่นถือมั่น ฉะนั้นเพื่อการไถ่ถอนจากความเป็นตัวตน ก็ควรพิจารณาว่านั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเหล่านั้นเป็นเพียงปฐวีธาตุ ไม่ใช่สัตว์บุคคล จะทำให้
คลายความยึด ความกำหนัดในร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่น หรือยึดมั่นในทรัพย์สมบัติใด ๆ
แม้นธาตุอื่นก็พิจารณาได้ในทำนองเดียวกัน ธาตุดินมี 4 อย่าง1. ดินแท้ (ปรมัตถปฐวี หรือ ลักขณปฐวี) หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน ของวัตถุต่าง ๆ ที่เราสามารถสัมผัสถูกต้องได้ด้วยกาย เช่น เหล็ก หรือ ยาง เป็นต้น
2. ดินสมมุติ (สมมุติปฐวี หรือ ปกติปฐวี) หมายถึง ดินที่เรียกกันทั่วไป เช่น แผ่นดิน พื้นดิน ดินเหนียว ดินที่ใช้ในการทำไร่ไถนา เป็นต้น
3. ดินที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารปฐวี หมายถึง ส่วนที่แข็งที่มีอยู่ภายในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น รวมทั้งของแข็งที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น เหล็ก ทองแดง ศิลา ดิน เป็นต้น
4. ดินที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสินปฐวี) หมายถึง ดินที่นำมาทำเป็นแผ่นวงกลมเท่าฝาบาตร เพื่อนำมาเพ่งให้เกิดสมาธิใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
อาโปคือ ธาตุน้ำ เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะเอิบอาบ หรือมีความไหลได้ ธาตุน้ำนี้ เป็นธาตุที่ช่วยเพิ่มพูนธาตุอื่น ๆ ได้ เช่นผงแป้งทำขนมเมื่อผสมน้ำลงไปก็ทำให้แป้งขนมนั้นเพิ่มพูนขึ้นได้ อาโปธาตุยังเป็นธาตุที่ทำให้ธาตุอื่นเกาะกุมกันไว้ด้วย เช่นแป้งขนมนี้จัดเป็นปฐวีธาตุถ้าถูกลมพัดจะทำให้ฟุ้งกระจายได้ แต่เมื่อมีน้ำผสมไว้ก็ช่วยเกาะกุมแป้งขนมให้เป็นก้อนเดียวกันไว้ ความยึดเกาะกุมนี้เป็นลักษณะของอาโปธาตุ หรือเส้นผมนั้นเมื่อจัดเป็นธาตุ คือ ธาตุดิน แต่ก็มีอาโปธาตุที่ช่วยเกาะกุมให้เส้นผมเป็นเส้นอยู่ได้ ในร่างกายของเรามีอาโปธาตุมากมาย เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้าตา เปลวมัน น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ถ้ารู้จัก
โดยความเป็นลักษณะของ
อาโปธาตุ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอาโปธาตุ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์บุคคล
ก็จะทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใด ๆธาตุน้ำมี 4 อย่าง1. น้ำแท้ (ปรมัตถอาโป หรือ ลักขณอาโป) หมายถึง
ลักษณะที่ไหลเอิบอาบ หรือ เกาะกุม วัตถุ ต่าง ๆ
ลักษณะของน้ำจะรู้ได้ด้วยทางใจเท่านั้น ไม่ใช่รู้ได้โดยการเห็นด้วยตา หรือ สัมผัสด้วยกาย 2. น้ำสมมุติ (สมมุติอาโป หรือ ปกติอาโป) หมายถึง น้ำที่เรียกกันทั่วไป เช่น น้ำที่ดื่ม น้ำในแม่น้าลำคลอง น้ำในทะเล น้ำในมหาสมุทร เป็นต้น
3. น้ำที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารอาโป) หมายถึง ส่วนที่เป็นของเหลวที่อยู่ในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น เป็นต้น รวมทั้งของเหลวที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น น้ำจากรากต้นไม้ น้ำจากใบไม้ น้ำจากดอกไม้ น้ำจากผลไม้ เป็นต้น
4. น้ำที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณอาโป) หมายถึง น้ำที่นำมาใส่ในขัน อ่าง หรือ น้ำในบ่อ ใช้เพ่งดูเพื่อให้เกิดสมาธิ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
เตโชธาตุคือ ธาตุไฟ เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะร้อน ธาตุไฟนี้ยังทำให้สิ่งทั้งหลายย่อยสลายได้ ทำให้ธาตุที่ประกอบร่วมกันกับตนนั้นมีความอ่อน เช่น คนตายร่างกายจะแข็งเปรียบเหมือนท่อนไม้ ไม่มีความอ่อนละมุนเหมือนคนที่มีชีวิตอยู่ ก็เพราะไม่มีเตโชธาตุ
ที่เกิดจากกรรมมาหล่อเลี้ยง ร่างกายที่อบอุ่นอยู่นี้ก็เพราะเตโชธาตุ บางครั้งเวลาจิตใจมีความกระวนกระวายหรือเวลาร่างกายเจ็บป่วยลมหายใจก็มีความร้อนเช่นกัน ถ้าพิจารณาถึงความร้อนหรือเย็น(ความเย็นก็คือความร้อนน้อยนั่นเอง) ว่านั่นเป็นเพียงธาตุไฟ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
ก็จะทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใดๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงธาตุ ธาตุไฟ มี 4 อย่าง1. ไฟแท้ (ปรมัตถเตโช หรือ ลักขณเตโช) หมายถึง
ลักษณะที่ร้อน หรือ เย็น ที่มากระทบทางกาย สิ่งต่าง ๆ จะสุกงอม ละเอียด นุ่มนวลได้ก็เพราะเตโชธาตุ เช่น ผลไม้ อาหารที่เรารับประทาน เป็นต้น
2. ไฟสมมุติ(สมมุติเตโช หรือ ปกติเตโช)หมายถึง ลักษณะของไฟที่เรียกกันทั่วไป เช่น ไฟฟ้า ไฟถ่าน ไฟฟืน หรือไฟจากแก๊สหุงต้ม เป็นต้น
3.ไฟที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารเตโช) หมายถึง ไฟที่มีอยู่ในตัวคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ คือ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ทำให้ร่างกายแก่ชรา ทำให้เป็นไข้ รวมทั้งไฟธาตุที่ย่อยอาหารด้วย ส่วนไฟที่อยู่ภายนอกตัวเราก็มี เช่น ไฟที่เราเห็นโดยทั่ว ๆ ไป
4. ไฟที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณเตโช) หมายถึง ไฟที่ทำขึ้นเพื่อใช้เพ่ง ทำให้เกิดสมาธิหรือใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
วาโยธาตุคือ ธาตุลม ลักษณะของธาตุลม คือ มีความเคร่งตึง หรือ มีความพยุงไว้ ร่างกายของคนและสัตว์ก็มีความตึงเช่น ตึงที่ต้นคอ ตึงที่อวัยวะต่าง ๆ การที่เรานั่งอยู่ได้ก็เพราะวาโยธาตุในร่างกายพยุงร่างกายนี้ไว้ ถ้าเอาซากศพมานั่งไม่สามารถนั่งได้ต้องล้มไปเพราะซากศพ
ไม่มีวาโยธาตุที่เกิด จากกรรม (และไม่มี
รูปที่เกิด จากกรรม ทั้งหมด) คอยทำหน้าที่พยุงไว้ ธาตุลมทำให้สิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหว ตลอดจนทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวเดินได้พูดได้ก็เพราะธาตุลมที่อยู่ในร่างกายนี้ ธาตุลมนี้ยังทำให้เกิดการแสดงท่าทางต่าง ๆ ได้ เช่นการเดิน ยืน นั่ง นอน พูด ร้องเพลง หัวเราะ ร้องไห้ เหล่านี้เป็นการแสดงท่าทางต่าง ๆ อันเกิดจากวาโยธาตุที่อยู่ในกายเรา
ถ้าพิจารณาสิ่งต่าง ๆ โดยสภาวะจริงๆ ของวาโยธาตุได้ ว่านั่นเป็นเพียงธาตุลม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
ก็จะทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใดๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงธาตุ ซึ่งต้องมีการผันแปรเปลี่ยนแปลงไม่สามารถตั้งอยู่ได้วาโยธาตุ มี 4 อย่าง1.
ลมแท้ (ปรมัตถวาโย หรือ ลักขณวาโย) หมายถึง
ลักษณะที่ ไหว หรือ เคร่งตึง เช่น การไหวของใบไม้ ความไหวของใบไม้นั้นคือวาโย ซึ่งต้องสังเกตและพิจารณาให้รู้จัก การไหวร่างกาย การกระพริบตา ความตึงของลมในยางรถยนต์ หรือลมในท้องที่จะทาให้ท้องตึงจุกเสียด ความตึงของสิ่งต่าง ๆ หรือของร่างกายนั้นก็เพราะวาโยธาตุ 2.
ลมสมมุติ (สมมุติวาโย หรือ ปกติวาโย) หมายถึง ลมที่เรียกกันทั่ว ๆ ไป เช่น ลมบก ลมทะเล ลมพายุ ลมที่พัดไปมาตามปกติ
3.
ลมที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารวาโย) หมายถึง ลมต่างๆ ที่พัดอยู่ในร่างกาย คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การหาว เรอ ลมที่พัดลงเบื้องต่า เช่น การผายลม ลมที่อยู่ในช่องท้องทาให้ปวดเสียดท้อง ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกายทาให้ไหวกายไปมาได้ และลมหายใจเข้า - ออก นอกจากนี้ยังหมายถึงลมภายนอกทั่ว ๆ ไป คือ ลมพัดอยู่ตามทิศต่าง ๆ ด้วย
4.
ลมที่ใช้เพ่งทาให้เกิดสมาธิ (กสิณวาโย หรือ อารัมมณวาโย) หมายถึง ลมที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณเพื่อให้เกิดสมาธิหรือเกิดฌานโดยการ กาหนดเพ่งเอาธาตุลมที่ทาให้เกิดการไหวของใบไม้ ยอดหญ้า เป็นต้น หมายเหตุ ในธาตุทั้ง 4 นี้ จะต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น จะมีธาตุใดธาตุหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ การจะจัดว่าสิ่งใดเป็นธาตุอะไรก็ให้พิจารณาว่าสิ่งนั้นมีธาตุใดมาก...
สรุป
ปฐวีธาตุ เป็นธาตุที่รองรับธาตุอื่นทั้งหลาย เป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัยของรูปที่เกิดร่วมกับตน เหมือนแผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของต้นไม้และภูเขา เป็นที่ตั้งของบ้านเรือน
อาโปธาตุ เป็นธาตุที่เอิบอาบ คือ ซึมซาบอยู่ใน
รูปที่เกิดร่วมกันกับตน เป็นธาตุที่ทำให้เพิ่มพูน
เตโชธาตุ เป็นธาตุที่ทำให้ร้อน คือทำให้ธาตุ ๓ ที่เหลือนั้นอบอุ่น
วาโยธาตุ เป็นธาตุที่ทำให้เคลื่อนไหว คือทำให้รูปร่างกายนี้และสิ่งอื่นเคลื่อนที่
ธาตุทั้งหลายมีลักษณะของตนๆ โดยเฉพาะ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นตัวตนเราเขา ฉะนั้นจึงควรพิจารณาลักษณะที่แท้จริงโดยความเป็นธาตุไว้ เพื่อจะได้ไม่ทุกข์กังวลกับการเสื่อมสิ้นสลายไป ทั้งยังเป็นการเจริญวิปัสสนาที่ถูกต้องอีกด้วยรูปประเภทที่สอง ปสาทรูป 5ปสาทรูป คือ
รูปที่มีความใส ความใสของปสาทรูปนี้ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา แต่ความใสนี้สามารถรับกระทบอารมณ์ได้ เช่น ความใสของจักขุปสาทรูปทาให้สามารถรับกระทบรูป (หรือรูปารมณ์) ได้ คาว่า ปสาท (อ่านว่า ปะ - สา - ทะ) แปลว่า ความใส ปสาทรูปมี 5 รูป คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป1.จักขุปสาทรูปคือ ปสาทตา เป็นรูปที่มีความใสตั้งอยู่กลางตาดำ มีขนาดเท่าหัวเหา ความใสนี้จะซึมซาบอยู่ในเยื่อตาบางๆ ทั้งเจ็ดชั้น
สามารถรับภาพ(หรือรูปารมณ์)ได้ โดยปกติที่เรารู้จักตา เราก็จะรู้จักลูกตาทั้งลูกว่านั้นคือตา แต่การรู้จักตาหรือจักขุปสาทรูปในทางพระอภิธรรมมิได้มุ่งหมายให้รู้จักลูกตา ทั้งลูก เพราะจักขุปสาทรูปนั้นไม่ใช่ลูกตาทั้งลูก แต่จักขุปสาทรูปจะมีสภาพความใสที่ซึมซาบอยู่ในเยื่อตา 7 ชั้นที่อยู่ตรงกลางตาดำ ความใสนี้จะทำหน้าที่รับกระทบภาพที่อยู่ตรงหน้า
จักขุปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ฉะนั้นการได้รับกระทบรูปที่ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างก็เนื่องมาจากกรรมดีและกรรมไม่ดีที่ได้กระทำแล้วในอดีต วิบากของกรรมนั้นส่งผลในปัจจุบันให้ได้เห็นรูปที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ถ้าพิจารณาความจริงอันนี้ได้ก็จะทำให้ไม่หลงดีใจได้ปลื้มกับรูปที่ดี เพราะการที่ได้เห็นรูปที่ดีที่พอใจก็เพราะกรรมดีในอดีตที่เราได้สั่งสมมาแล้ว และจะได้ไม่เสียใจไม่โกรธ เมื่อเห็นรูปที่ไม่ดีก็เพราะว่ากรรมไม่ดีในอดีตที่เราได้สั่งสมไว้แล้ว