ผู้เขียน หัวข้อ: วิจิตรศิลปะไทย - ร้อยเรื่องมรดกไทย  (อ่าน 1232 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

วิจิตรศิลปะไทย - ร้อยเรื่องมรดกไทย

-http://www.dailynews.co.th/article/1547/164539-



ร้อยเรื่องเล่ามรดกศิลปวัฒนธรรม สัปดาห์นี้ชวนสัมผัสศิลปะมนต์เสน่ห์เอกลักษณ์ศิลปะไทย ศิลปะประจำชาติที่ถ่ายทอดสร้างสรรค์สืบเนื่องมานับแต่วันวานจวบปัจจุบัน

ด้วยรูปแบบความงดงามของศิลปะไทยที่โดยทั่วไปรับรู้กันเกิดจากจินตนา การตามคติความเชื่อ ส่วนหนึ่งในความรู้ที่บอกเล่าในหนังสือศิลปะไทยของกรมศิลปากรซึ่งขอนำมาเผยแพร่แสดงให้เห็นถึงลักษณะความเป็นไทยที่แฝงในงานศิลปะซึ่งมี  อัตลักษณ์ที่รู้สึกและสัมผัสได้ถึงความอ่อนโยน นุ่มนวล ละเอียดประณีต วิจิตรบรรจง มีเหตุผลในการแสดงออก อีกทั้งยังมีระเบียบแบบแผนเฉพาะจึงมีความชัดเจนในการถ่ายทอดศิลปะเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการยอมรับทั้งรูปแบบ เนื้อหาและสาระคุณค่า

ศิลปะด้านจิตรกรรมไทย ตามธรรมเนียมนิยมเรียกว่า งานช่างเขียน ผลงาน ที่ช่างเขียนผลิตสู่สายตาสาธารณชนเป็นการเขียนลวดลายไทย การระบายสี รวมถึงการปิดทองภาพเขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติ ภาพชาดก ภาพจากวรรณคดีและประวัติศาสตร์ที่สืบทอดมาแต่ครั้งโบราณ

งานศิลปะลักษณะนี้มักปรากฏสร้าง สรรค์ บนผนังอาคาร ตู้พระธรรม สมุดข่อย ภาพพระบฏหรือสมุดภาพ ฯลฯ ช่างเขียนไทยนิยมใช้สีฝุ่นและปิดทอง สร้างภาพสองมิติคือใช้เส้นและสีแต่ไม่แสดงแสงเงาตามธรรมชาติ การใช้สีดูแบบเรียบสงบตัดเส้นลวดลายไปตลอดทั้งภาพและหากจะเขียนทิวทัศน์ในงานจิตรกรรมไทย ช่างเขียนมักจัดภาพในลักษณะมองเห็นภาพภายในบ้านเรือนได้โดยการเขียนภาพแบบตัดให้เห็นจากเบื้องบนซึ่งผู้ที่ได้ชมจะเห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในภาพได้อย่างทั่วถึง ไม่บังกันเหมือนภาพจิตรกรรมสากล ทั้งนี้ด้วยเพราะงานจิตรกรรมไทยมีอัตลักษณ์ของการเขียนภาพแบบเล่าเรื่องเป็นสำคัญ

ส่วนงานประติมากรรมไทย ที่สร้างขึ้นจากฝีมือของช่างเขียน ช่างปั้น ช่างหลอมและช่างแกะ ช่างสลักจนเป็นลักษณะประจำชาตินั้น งานศิลปะส่วนใหญ่มักเป็นงานที่มีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา ฯลฯ นอกจากนี้ศิลปะไทยยังปรากฏใน งานศิลปะด้านสถาปัตยกรรมไทย ซึ่ง ในสัปดาห์หน้าจะนำมาบอกเล่าพร้อมแนะนำให้สัมผัสใกล้ชิดกับเอกลักษณ์งานช่างแขนงต่าง ๆ ของไทย....สัปดาห์หน้ากลับมาพบกันใหม่.

.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)