ผู้เขียน หัวข้อ: "กราบพระแก้ว แวะชมวัด เที่ยววัง"  (อ่าน 6120 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: "กราบพระแก้ว แวะชมวัด เที่ยววัง"
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2012, 09:07:03 pm »
ประวัติ พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ


ประวัติพระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ตำนานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองในไทย พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปมีประวัติที่น่าสนใจยิ่ง กล่าวได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่ถูกอัญเชิญไปอยู่ในบ้านเมืองต่างๆ เป็นระยะทางที่ยาวไกล

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในตำนานพระพุทธรูปสำคัญของไทยว่า เดิมเจ้ากรุงลังกาสร้างไว้ พระเจ้านครศรีธรรมราชไปขอมาถวายสมเด็จพระร่วง พระเจ้ากรุงสุโขทัย เพื่อสักการบูชา เวลาล่วงเลยจนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 มีอำนาจเหนือสุโขทัย พระพุทธสิหิงค์ ถูกเชิญลงมากรุงศรีอยุธยา จากนั้น พระพุทธสิหิงค์ ได้ถูกอัญเชิญต่อไปไว้เมืองกำแพงเพชร-เชียงราย-เชียงใหม่ ปีขาล พ.ศ.2205 สมเด็จพระนารายณ์ ยกทัพไปตีเชียงใหม่ เชิญพระพุทธสิหิงค์กลับกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานไว้ในวัดพระศรีสรรเพชญ เป็นเวลายาวถึง 105 ปี ครั้นเสียกรุงครั้งที่สองให้พม่า พระพุทธสิหิงค์ถูกอัญเชิญกลับไปเชียงใหม่ เป็นคำรบที่สอง

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงพระดำริว่า พระพุทธสิหิงค์เคยเป็นพระพุทธรูปสำคัญในกรุงศรีอยุธยา จึงโปรดให้เชิญมาไว้ในกรุงเทพฯ เมื่อปีเถาะ พ.ศ.2338 และพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่ ณ พระแท่นบุษบก ในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ เป็นที่สุดท้าย ไม่ได้ถูกอัญเชิญไปที่แห่งใดอีก

ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อมใสพระพระพุทธสิหิงค์มาก เมื่อทรงสร้างวัดราชประดิษฐ์เสร็จเรียบร้อย มีพระราชประสงค์ จะอัญเชิญไปตั้งเป็นพระพุทธรูปประธาน แต่ทรงพระราชดำริว่า พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่บนพระที่นั่งในพระราชวัง (หน้า) แล้ว ไม่ควรเชิญไปไว้ที่วัด จึงโปรดเกล้าฯ ให้ถ่ายแบบอย่างเท่าพระองค์ หล่อขึ้นใหม่กะไหล่ทอง มีขนาดใหญ่กว่าพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ พระราชทานพระนามว่า พระพุทธสิหังคปฏิมากร

พระพุทธสิหังคปฏิมากร  (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปประธานประจำพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีหน้าตักราว 1 ศอก 6 นิ้ว สูง 1 ศอก 8 นิ้ว พระเกตุสูง 5 นิ้ว วัสดุโลหะปิดทอง หล่อตามแบบพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ภายใต้บุษบก ทั้งนี้หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า จึงโปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิมาบรรจุที่พระพุทธอาสน์ ของพระพุทธสิหังคปฏิมากร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ภายในพระวิหารหลวงแห่งนี้ จวบจนถึงปัจจุบัน

วัดราชประดิษฐ์ เป็นพระอารามหลวงที่สำคัญยิ่งพระอารามหนึ่ง และยังถือว่าเป็นพระอารามต้นแบบของคณะธรรมยุติกนิกายที่มีอยู่ในพุทธ อาณาจักรบนแผ่นดินไทย ด้วยวัดธรรมยุติกนิกายก่อนนั้น ได้ดัดแปลงมาจากวัดมหานิกายเดิมทั้งสิ้น

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6939 ข่าวสดรายวัน
ที่มา -www.khaosod.co.th-
พระพุทธรูปปางต่างๆคอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ
วัดราชประดิษฐ์ กทม.

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: "กราบพระแก้ว แวะชมวัด เที่ยววัง"
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2012, 09:09:12 pm »
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสามัญ    วัดราชประดิษฐ์
ที่ตั้ง    ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเภท    พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
นิกาย    เถรวาท ธรรมยุต
ความพิเศษ    วัดประจำรัชกาลที่ ๔


วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1] ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐาน เช่นที่สุโขทัย สวรรคโลก พิษณุโลก และพระนครศรีอยุธยา แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดสลัก เป็นวัดนิพพานาราม และเปลี่ยนเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ แต่ต่อมามีพระราชดำริว่า ในกรุงเทพฯ ยังไม่มีวัดมหาธาตุ จึงเปลี่ยนชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดมหาธาตุ และพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1 ทรงบูรณะวัดเลียบ ต่อมา ได้นามว่า วัดราชบูรณะ ยังคงขาดแต่วัดราชประดิษฐ์เท่านั้น จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย ข้าราชการ ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก วัดราชประดิษฐ์จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้น เพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่น ๆ ของฝ่ายธรรมยุติเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย

วัดราชประดิษฐ์สร้างขึ้นในที่ดินที่เคยเป็นสวนกาแฟของหลวงโดยก่อสร้างใน พ.ศ. 2407 เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า “วัดราชประดิษฐสถิตธรรมยุติการาม” เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เปลี่ยนเป็น “วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม” เพื่อให้เหมาะสมกับเป็นที่ประดิษฐานหลักศิลา ซึ่งเป็นสีมามีจารึกคาถาบาลี และภาษาไทย ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์รวม 10 หลัก ปรากฏในประกาศเมื่อ พ.ศ. 2411 เรื่องประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐ์ให้ถูกว่า มีผู้เรียกวัดราชประดิษฐ์ว่า วัดราชบัณฑิต วัดทรงประดิษฐ์ ไม่ถูกต้องกับที่พระราชทานนามไว้ จึงทรงกำชับว่า ให้เรียกชื่อวัดว่า “วัดราชประดิษฐ์” หรือ “วัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม” หลังจากทรงสร้างเสร็จแล้ว ได้ทรงอาราธนาพระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว ป.๙) หรือสามเณรสา ผู้สอบเปรียญ ๙ ประโยคได้ขณะเป็นสามเณร เป็นสามเณรนาคหลวง สายเปรียญธรรม รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ จากวัดบวรนิเวศวิหาร มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อพ.ศ. 2408 ปีฉลู ทรงกระทำการสมโภชทั้งเจ้าอาวาสและวัดใหม่เป็นเวลา 3 วัน

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นสวนกาแฟหลวง สมัยรัชกาลที่ ๓ และเป็นโรงเรือนที่อยู่อาศัยของข้าราชการ รัชกาลที่ 4 ทรงขอซื้อที่เพื่อสร้างวัดธรรมยุติกนิกาย เมื่อ พ.ศ. 2407 เพื่อสำหรับเจ้านาย ข้าราชการ ฝ่ายหน้า-ใน ได้บำเพ็ญกุศลสะดวกขึ้น เพราะใกล้พระบรมมหาราชวัง ในพระวิหารหลวงมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธี 12 เดือน ที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้วาดไว้ มีสถาปัตยกรรมที่น่าชม เช่น ปาสาณเจดีย์, ปรางค์ขอม, ปราสาทพระบรมรูป (ปราสาทพระจอม), ปราสาทพระไตรปิฎก ฯลฯ และเพราะด้วยธรรมยุติกนิกายนั้นเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก เขตสังฆาวาสนั้นจึงห้ามสตรีผ่านเข้าออกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง

    ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔

แหล่งข้อมูลอื่น

    ภาพถ่ายทางอากาศของ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

    แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
        ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
        แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
        ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-

.



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: "กราบพระแก้ว แวะชมวัด เที่ยววัง"
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2012, 09:11:14 pm »
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (อังกฤษ - City Pillar Shrine) เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ เวลา ๖.๕๔ นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา ๒๙ เซนติเมตร สูง ๑๘๗ นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน ๑๐๘ นิ้ว ฝังลงในดินลึก ๗๙ นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕

ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง ๕ คือเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี มีการจัดละครรำ ละครชาตรี ให้ผู้ต้องการบูชา ว่าจ้างรำบูชาศาลหลักเมืองอยู่ด้านข้าง
ตำนาน อิน จัน มั่น คง

มีเรื่องสืบกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โบราณถือว่าพิธีสร้างพระนครหรือสร้างบ้าน สร้างเมือง ต้องฝังอาถรรพ์ 4 ประตูเมือง ต้องฝังเสาหลักเมือง

การฝังเสาหลักเมืองและเสามหาปราสาทต้องเอาคนที่มีชีวิตทั้งเป็น ลงฝังในหลุม เพื่อให้เป็นผู้เฝ้าทวารมหาปราสาทบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรูมิให้มีโรคภัย ไข้เจ็บเกิดแก่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ผู้ครองนครบ้านเมือง ในการทำพิธีกรรมดังกล่าว ต้องเอาคนที่ชื่อ อิน จัน มั่น คง มา ฝังลงหลุม จึงจะศักดิ์สิทธิ์และขณะที่นายนครวัฒเที่ยว เรียกชื่อ อิน จัน มั่ง คง ไปนั้น

ใครโชคร้ายขานรับขึ้นมาก็จะถูกนำตัวไปฝังในหลุม หลุมเสาหลักเมืองนั้น จะผูกเสาคานใหญ่ชักขึ้นเหนือหลุมนั้นในระดับสูงพอสมควร

โยงไว้ด้วยเส้นเชือกสองเส้นหัวท้ายให้เสาหรือซุงนั้นแขวนอยู่ตามทางนอนเหมือนอย่างลูกหีบ

ครั้นถึงวันกำหนดที่จะกระทำการอันทารุณนี้ ก็เลี้ยงดุผู้เคราะห์ร้ายให้อิ่มหนำสำราญแล้ว แห่แหนนำไปที่หลุมนั้น พระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่งให้บุคคลทั้งสามนั้นเฝ้าประตูเมืองไว้ด้วย และให้เร่งแจ้งข่าวให้รู้กันทั่ว เมื่อคนมาชุมนุนกันเขาก็ตัดเชือกปล่อยให้เสาหรือซุงหล่น ลงมาบนศีรษะผู้เคราะห์ร้ายผู้ตกเป็นเหยื่อของการถือโชคถือลางนั้น บี้แบนอยู่ในหลุม


คนไทยเชื่อว่าผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้จะกลายสภาพเป็นอารักษ์จำพวกที่เรียกว่า ผีราษฏร คนสามัญบางคนก็กระทำการฆาตกรรมแก่ทาสของตนในทำนองเดียวกันนี้เพื่อใช้ให้เป็นผีเฝ้าขุมทรัพย์ที่ตนฝังซ่อนไว้ ตัวอย่าง การสร้างราชธานีใหม่ของพม่า

เมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจึงมีกำแพงกันสี่ด้าน แต่ละด้านมีประตูเมือง 3ประตู รวมเป็น12 ประตูด้วยกัน


การฝังอาถรรพ์ก็เป็นคนเป็นล้วนๆถึง 52 คน ฝังตามประตูเมืองประตูละ 3คน 12 ประตูก็เป็นทั้งหมด 36 คน และเฉพาะใต้พระที่นั่งในท้องพระโรงต้องฝังถึง 4 คน และคนที่ถูกฝังทั้งเป็นเพื่อเป็นผีคอยรักษาเมืองและพระราชวังนั้นต้องเลือกให้ได้ลักษณะตามที่โหรพราหมณ์กำหนด ไม่ใช้นักโทษที่ต้องโทษประหาร

แต่จะเป็นคนที่อยู่ในวัยต่างๆกันมีตั้งแต่คนมีอายุจนถึงเด็กทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ทุกคนต้องมีฐานะดีเป็นที่ยกย่องในกลุ่มชน และต้องเกิดตามที่โหรกำหนด

ถ้าเป็นชายต้องไม่มีรอยสัก ผู้หญิงต้องไม่เจาะหู เมื่อสั่งเสียร่ำลาญาติพี่น้องแล้วก็จะถูกนำตัวไปลงหลุมญาติพี่น้องก็จะได้รับ พระทานรางวัล
อ้างอิง

    ไหว้หลักเมือง เสริมหลักชัยให้กับชีวิต โดย ผู้จัดการ

ดูเพิ่ม
Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

    ภาพถ่ายทางอากาศของ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

    ศาลหลักเมือง โดย -devalai.com-
    แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
        ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
        แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
        ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′09″N 100°29′39″E / 13.752537°N 100.494084°E

    ศาลหลักเมืองโดย -www.thaiveterans.mod.go.th-


-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3-
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: "กราบพระแก้ว แวะชมวัด เที่ยววัง"
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2012, 01:07:26 am »
รูปปั้นที่อุทธยาน ร.2







จิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดพระแก้ว






-------------------------------

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8085.0.html-

-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8088.0.html

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)