ผู้เขียน หัวข้อ: กาแฟน่ะดื่มแต่พอดี รับนํ้าชาเพิ่มสักถ้วยดีกว่ามั้ยครับ  (อ่าน 1830 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


กาแฟน่ะดื่มแต่พอดี รับนํ้าชาเพิ่มสักถ้วยดีกว่ามั้ยครับ
โดย....คุณหมอbenzcl


1. ปัจจุบันเครื่องดื่มทั้งสองชนิดนี้เป็นที่นิยมกันไปทั่วทุกมุมของโลก
มีร้านจำหน่ายชากาแฟโดยเฉพาะ เเละยังมีให้เลือกบริโภคได้อีกหลายรูปแบบใช่ไหมครับ

ผมเองก็ดื่มชาและกาแฟ แต่จะดื่มชาเป็นประจำทุกวัน
และดื่มมานานหลายสิบปีแล้วครับ  เพราะรู้ว่ามีอะไรดีดีจากการดื่มชานั่นเองครับ


คนเรามักบริโภคกาแฟเมื่อเพลียยามเช้า หรือเมื่อตอนเครียดเป็นจำนวนมาก
ซึ่งมีผลวิจัยทางการแพทย์ที่เชื่อถึอได้ ยืนยันได้ว่า
การดื่มกาแฟในปริมาณที่พอเหมาะ จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว

แต่คอกาแฟที่ดื่มกันหนักๆ มักทำในสิ่งที่ไม่ได้เอื้อต่อการมีสุขภาพดีสักเท่าไร

จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟมากๆมักจะสูบบุหรี่ตามไปด้วย หรือไม่ก็ชอบทานของมัน และไม่ค่อยออกกำลังกาย
ในขณะที่พวกดื่มชามีแนวโน้มว่า ชอบออกกำลังกายมากกว่า และทานผักผลไม้สดมากกว่า 



2. ทุกท่านคงทราบกันดีว่า ในชาและกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (caffeine)คาเฟอีนที่บริสุทธิ์จะสกัดได้เป็นผงสีขาว และะมีรสขม ดังในรูปด้านล่าง


คาเฟอีนเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อหลายระบบ ของร่างกาย โดยเฉพาะการกระตุ้นประสาทส่วนกลาง เพิ่มการเผาผลาญเมตาบอลิซึม เพิ่มการทำงานของหัวใจและไต
และยังมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ (anti-diuretic  effect) ซึ่งทำให้ไตต้องขับของเหลวมากกว่าปกติ



ในชาจะมีคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟมาก กล่าวคือมีอยู่ราว 40 มิลลิกรัมต่อนํ้าชา 1 ถ้วยขนาดทั่วไป
ในขณะที่กาแฟคั่วบดมีคาเฟอีน 100-150 มิลลิกรัมแล้วแต่เมล็ดพันธุ์กาแฟ และชนิดผงสำเร็จรูปมี 64 มิลลิกรัม
ปกติแล้วในหนึ่งวันร่างกายไม่ควรได้รับคาเฟอีนเกินกว่า 300 มิลลิกรัม

อย่างไรก็ดี คาเฟอีนเป็นสารที่ไม่สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้
จึงไม่ต้องกังวลเรื่องผลตกค้าง จะต้องระวังก็เพียงแต่การบริโภคเกินขนาดที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน 

สตรีมีครรถ์และมารดาที่ให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เพราะคาเฟอีนถูกส่งผ่านรกเข้าสู่ทารกได้ และยังผ่านทางนํ้านมได้ด้วย


ดังนั้น ถ้าพิจารณาถึงปริมาณของคาเฟอีน เราจึงไม่ต้องเลิกกาแฟ
ขอเพียงแต่ดื่มไม่เกินวันละ 2 ถึง 3 ถ้วยเท่านั้น และเลือกใช้กาแฟสดแทนกาแฟผงสำเร็จรูป
ส่วนนํ้าชาดื่มได้ไม่เกินวันละ 7 ถึง 8 ถ้วย แต่มีประโยชน์ของชาที่ผมจะกล่าวในรีพลายต่อไป
คนที่ดื่มทั้งสองอย่างก็ต้องพิจารณาอย่างเหมาะสมนะจะบอกให้ 

การดื่มชาและกาแฟติดต่อกันนานๆ ย่อมเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายขาดนํ้าได้
ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงไม่ควรดื่มชากาแฟแทนนํ้าที่ร่างกายเสียไป


นอกจากนี้ชาและกาแฟยังรบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกายได้
ฉะนั้น  ถ้าคุณมีแนวโน้มจะมีภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กแล้วชอบดื่มชากาแฟ
ก็ควรงดดื่มในช่วง 1 ชั่วโมงก่อนเวลาอาหาร จนถึงอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังอาหาร



3. มีผลวิจัยที่ประเทศแถบทวีปยุโรปยืนยันว่า การดื่มชาวันละ 4 - 6 ถ้วยต่อวัน
จะช่วยลดความเสี่ยงต่อจากโรคบางอย่างได้ เช่นโรคหัวใจและเส้นเลือด


และมีรายงานไว้ชัดเจนว่า กลุ่มผู้ชายอายุ 50-69 ปี ที่ดื่มชาเฉลี่ยวันละประมาณ 4-5 ถ้วย
ความเสี่ยงต่อภาวะเส้นเลือดในสมองแตกลดลงได้ถึงเกือบ 70 %

ส่วนในสหรัฐอเมริกาก็มีวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มชาวันละ 1 ถ้วยขึ้นไป
จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายน้อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่มชาเลยถึง 50 %

เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าในชาไม่ว่าจะเป็นชาดำ ชาอูหลง หรือชาเขียว
ต่างก็เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ( anti-oxidant) จำพวก ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)
ซึ่งจะสลายออกมาจากใบชาในช่วงไม่กี่นาทีแรกที่เราเติมนํ้าร้อนเข้าไป
ฟลาโวนอยด์นี้เองที่จะไปช่วยให้ร่างกายต่อต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา
และเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งบางชนิด น่านล่ะครับ


การดื่มชาวันละ 3 ถ้วย เป็นเวลาสองสัปดาห์
จะช่วยเพิ่มปริมาณฟลาโวนอยด์ในเลือดได้ถึง 25 %



4.ทิ้งท้ายไว้สักนิดแต่ก็มีความสำคัญนะครับ

1. ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ชาและกาแฟลดความอ้วนจำหน่ายหลายยี่ห้อ

แต่ที่พิสูจน์ได้ชัดทางการแพทย์ พบว่าได้ผลกับการดื่มชาบางชนิด และช่วยลดนํ้าหนักได้ไม่มาก
ส่วนที่มีคนบอกว่า ดื่มกาแฟประเภทสลิมมิ่งแล้วนํ้าหนักลด

ทางองค์การอาหารและยาบ้านเราวิเคราะห์แล้วพบว่า
หลายยี่ห้อมีการเจือปนยาลดความอ้วนบางชนืดเข้าไปด้วย (sibutramine) ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะไม่ได้เป็นการพบแพทย์โดยตรง


2. การบริโภคชากาแฟมากเกินพอดีเป็นประจำจนติดและไม่ดื่มไม่ได้นั้น ถือว่าติดคาเฟอีนแล้ว
แต่การติดคาเฟอีนไม่จัดเป็นยาเสพติดตามเกณฑ์ PSM-IV ของสมาคมจิตแพทย์ศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา
และนิยมเรียกพฤติกรรมบริโภคคาเฟอีนว่า บริโภคจนเป็นนิสัยหรือติดมากกว่า

ถ้าดื่มจนติดเป็นนิสัยและไม่ได้รับคาเฟอีนจะเกิดอาการถอนคาเฟอีน (caffeine withdrawal ) โดยจะมีอาการปวดศีรษะภายใน 6 ชั่วโมง
ตามมาด้วยอาการอ่อนเพลีย น้ำมูกไหล เหงื่อออกมาก ปวดกล้ามเนื้อ วิตกกังวล กระวนกระวาย อาการเหล่านี้จะคงอยู่ไม่ต่ำกว่า 72 ชั่วโมง
ฉะนั้นหากจะเลิกดื่มชากาแฟ ก็แก้ปัญหาได้โดยการค่อยๆลดปริมาณการดื่มลง ไม่ใช่เลิกแบบปุบปับครับ


ขอขอบคุณ....คุณหมอbenzcl
http://www.baanpud.net/forum/viewtopic.php?f=47&t=2418

noway2know -http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=59.0