ผู้เขียน หัวข้อ: ทาน ศีล ภาวนา  (อ่าน 8616 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 05:47:23 am »
    02-อนาถปิณฑิกเศรษฐี
    เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
-http://www.84000.org/one/3/02.html-

เศรษฐีทำบุญจนหมดตัว
เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วย
พระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน (บางแห่ง
ว่า ๕ เดือน) ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ
พิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูป ไป
ฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาล
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ทำบุญโดยทำนองนี้ ทั้งให้ทานแก่คนยากจน และการถวายทาน
แด่พระภิกษุสงฆ์ จนกระทั่งทรัพย์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ ทรัพย์ที่
หาได้มาใหม่ก็ไม่เท่ากับจ่ายออกไป ภัตตาหารที่จัดถวายพระภิกษุสงฆ์ก็ลดลงทั้งคุณภาพและ
ปริมาณ จนที่สุดข้าวที่หุงถวายพระก็จำเป็นต้องใช้ข้าวปลายเกวียน กับข้าวก็เหลือเพียงน้ำ
ผักเสี้ยนดอง ตนเองก็พลอยอดอยากลำบากไปด้วย ถึงกระนั้นเศรษฐีก็ยังไม่ลดละการทำบุญ
ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ได้แต่กราบเรียนให้พระภิกษุสงฆ์ทราบว่า ตนเองไม่สามารถ
จะจัดถวายอาหารอันประณีตมีรสเลิศเหมือนเมื่อก่อนได้ เพราะขาดปัจจัยที่จะจัดหาพระภิกษุ
สงฆ์ที่เป็นปุถุชนก็พากันไปรับอาหารบิณฑบาตที่ตระกูลอื่นที่ถวายอาหารมีรสเลิศกว่า

เศรษฐีขับไล่เทวดา
ขณะนั้นเทวดาตนหนึ่งผู้เป็นมิจฉาทิฎฐิ ซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่เลื่อมใสพุทธศาสนา เบื่อระอาที่พระภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูเข้าออก
ทุกวัน เพราะในขณะที่ภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูนั้นตนไม่สามารถจะอยู่บนซุ้มประตูได้ เมื่อ
เห็นเศรษฐีกลับกลายมีฐานะยากจนลงเพราะทำบุญแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงปรากฎ
กายต่อหน้าท่านเศรษฐีกล่าวห้ามปรามให้เศรษฐีเลิกทำบุญเสียเถิด แล้วทรัพย์สินเงินทองก็จะ
เพิ่มพูนขึ้นเหมือนเดิม ท่านเศรษฐีจึงถามว่า
“ท่านเป็นใคร ?”
“ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน”
“ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคำพูดของท่าน ขอท่านจง
ออกไปจากซุ่มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นอีกเป็นอันขาด”
เทวดาตกใจ ไม่สามารถจะอยู่ที่ซุ่มประตูเรือนของเศรษฐีได้อีกต่อไป กลายเป็นเทวดา
ไร้ที่สิงสถิต ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เข้าไปหาเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่าตนให้ช่วยเหลือ
แต่ไม่มีเทวดาองค์ใดจะสามารถช่วยได้ เพียงแต่บอกอุบายให้ว่า “ทรัพย์เก่าของเศรษฐีจำนวน
๘๐ โกฏิ ซึ่งใส่ภาชนะฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำถูกน้ำเซาะตลิ่งพังจมหายไปในสายน้ำ ท่านจงไปนำ
ทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมามอบให้ท่านเศรษฐี แล้วท่านเศรษฐีก็จะหายโกรธยกโทษให้ และ
อนุญาตให้อยู่อาศัยที่ซุ้มประตูบ้านดังเดิมได้”
เทวดาทำตามนั้น ได้นำทรัพย์เหล่านั้นมามอบให้เศรษฐีด้วยอำนาจฤทธิ์เทวดา เมื่อ
เศรษฐียกโทษให้แล้วได้อยู่ ณ สถานที่เดิมของตนสืบไป
ต้นแบบการทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
พุทธบริษัทผู้ใฝ่บุญนั้น ย่อมปรารภเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นมาเป็นเรื่องทำบุญได้เสมอ
เช่นเรื่องของอนาถบิณฑิกเศรษฐี นี้ วันหนึ่งหลานของท่านเล่นตุ๊กตาที่ทำจากแป้งแล้วหล่นลง
แตก หลานร้องไห้ด้วยความเสียดายตุ๊กตา เพราะไม่มีตุ๊กตาจะเล่น ท่านเศรษฐีได้ปลอบโยน
หลานว่า
“ไม่เป็นไร เราช่วยกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตากันเถิด” ปรากฏว่าหลานหยุด
ร้องไห้ รุ่งเช้า ท่านจึงพาหลายช่วยกันทำบุญเลี้ยงพระแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตา
ข่าวการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาของท่านเศรษฐี แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว
ประชาชนชาวพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่ดีที่ควรกระทำ ดังนั้นเมื่อ
ญาติผู้เป็นที่รักของตนตายลงก็พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เหมือนอย่าที่ท่านเศรษฐีกระทำ
นั้น และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

มอบภารกิจของตนให้ลูกหลาย
ตามปกติทุก ๆ วัน ภิกษุทั้งหมดผู้อยู่ในกรุงสาวัตถีจะรับนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารใน
บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และในบ้านของนางวิสาขาดังนั้น บุคคลอื่น ๆ ผู้ประสงค์จะ
ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ก็ต้องมาขอโอกาสแก่ท่านทั้งสองนี้ เมื่อนิมนต์พระได้แล้วก็ต้องเชิญ
ท่านทั้งสองนี้ไปเป็นประธานที่ปรึกษาด้วย ทั้งนี้ก็เพราะท่านทั้งสองทราบดีว่าควรประกอบ
ควรปรุงอาหารอย่างไรให้ต้องกับอัธยาศัยและวินัยของพระ ควรจัดสถานที่อย่างไรจึงจะเหมาะ
สม นอกจากนี้ก็เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านเรือนที่จัดงานอีกด้วย ดังนั้นท่านทั้งสองจึงไม่
ค่อยมีเวลาอยู่ปฏิบัติเลี้ยงดูพระภิกษุที่นิมนต์มาฉันที่บ้านของตน นางวิสาขาจึงได้มอบหมาย
ภารกิจหน้าที่นี้แก่หลานสาว
ส่วนอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้มอบให้แก่ลูกสาวคนโตชื่อว่า “มหาสุภัททา” นางได้ทำ
หน้าที่นี้อยู่ระยะหนึ่ง ได้ฟังธรรมจากพระคุณเจ้าแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ต่อมาได้แต่ง
งานแล้วก็ติดตามไปอยู่ในสกุลของสามี
จากนั้นอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้มอบหมายให้ลูกสาวคนที่สองชื่อว่า “จุลสุภัททา”
นางก็ทำหน้าที่แทนบิดาด้วยดีโดยตลอด และก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ต่อจากนั้นไม่
นาน นางก็ได้แยกไปอยู่กับครอบครัวของสกุลสามี อนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงได้มอบหน้าที่ให้
ลุกสาวคนเล็กชื่อว่า “สุมนาเทวี” กระทำแทนสืบมา

ลูกสาวป่วยเรียกบิดาว่าน้องชาย
สุมนาเทวี ทำหน้าที่ด้วยความขยันเข้มแข็ง งานสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อยทุกวัน
ทั้ง ๆ ที่นางอายุยังน้อย จากการที่นางได้ทำบุญถวายภัตตาหาร พระภิกษุสงฆ์และได้ฟังธรรม
เป็นประจำ นางก็ได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี แต่ต่อมานางได้ล้มป่วยลงมีอาการหนัก ใคร่อยาก
จะพบบิดา จึงให้คนไปเชิญบิดามา
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ทราบว่าลูกสาวป่วยหนักก็รีบมาเยี่ยมโดยเร็ว พอมา
ถึงได้ถามลูกสาวว่า
“แม่สุมนา เจ้าเป็นอะไร ?”
“อะไรเล่า น้องชาย ?” ลูกสาวตอบ
“เจ้าเพ้อหรือ แม่สุมนา ?” บิดาถาม
“ไม่เพ้อหรอก น้องชาย” ลูกสาวตอบ
“แม่สุมนา ถ้าอย่างนั้น เจ้ากลัวหรือ ?” บิดาถาม
“ไม่กลัวหรอก น้องชาย”
นางสุมนาเทวี พูดโต้ตอบกับบิดาได้เพียงเท่านั้นก็ถึงแก่กรรม

พระโสดาบันร้องไห้ไปกราบทูลพระศาสดา
ท่านเศรษฐี แม้จะเป็นพระโสดาบัน ก็ไม่อาจจะกลั่นความเศร้าโศกเสียใจเพราะการ
จากไปของธิดาได้ เมื่อเสร็จงานศพและได้ร้องไห้น้ำตานองหน้าไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาพระ
พุทธองค์ได้ตรัสปลอบว่า
“อนาถบิณฑิกะ ก็ความตายเป็นสิ่งเที่ยงแท้ของสรรพสัตว์มิใช่หรือเหตุไฉนท่านจึง
ร้องไห้อย่างนี้ ?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นข้าพระองค์ทราบดี แต่นางสุมนาเทวีธิดาของข้าพระ
องค์ เมื่อใกล้เวลาจวนจะตาย นางไม่สามารถคุมสติได้เลย นางบ่นเพ้อจนกระทั่งตาย ข้าพระ
องค์โทมนัสร้องไห้เพราะเหตุนี้ พระเจ้าข้า”
พร้อมทั้งได้กราบทูลถ้อยคำที่นางสุมนาเทวีเรียนตนเองว่าน้องชาย ถวายให้พระพุทธ
องค์ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคได้สดับแล้วตรัสว่า
“ดูก่อนมหาเศรษฐี บุตรของท่านมิได้เพ้อหลงสติอย่างที่ท่านเข้าใจ แต่ที่นางเรียก
ท่านว่าน้องชายนั้น ก็เพราะท่านเป็นน้องของนางจริง ๆ นางเป็นใหญ่กว่าท่านโดยมรรคและ
ผล เพราะท่านเป็นเพียงพระโสดาบัน แต่ธิดาของท่านเป็นพระสกทาคามี เป็นอริยบุคคลสูง
กว่าท่าน และบัดนี้ นางได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว นี่แหละคฤหบดี ธรรมดา
บุคคลไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ถ้าอยู่ด้วยความไม่ประมาท ประพฤติดีปฏิบัติ
ชอบ ก็ย่อมเสวยสุขเพลินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้วหายจากความเศร้าโศกเสียใจกลับได้รับ
ความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทน เมื่อควรแก่เวลาแล้วก็กราบทูลลากลับสู่เคหสถานของตน
เพราะความที่อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้มีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหว ฝักใฝ่ในการทำ
บุญให้ทาน ไม่มีผู้ใดจะเปรียบเทียบได้ พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้
เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้เป็นทายก
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 05:52:26 am »
อานิสงส์การทำบุญ
-http://dhammatogo.org/index.php?option=com_content&view=article&id=115:dana&catid=52:2010-04-26-21-53-26&Itemid=88-

 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ทรงปรารภถึงการให้ทานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  แต่ว่าทานนั้นเป็นของเศร้าหมอง คือข้าวก็เป็นปลายข้าว เป็นข้าวที่หักสองท่อนบ้าง สามท่อนบ้าง ส่วนอาหารก็มีเพียงน้ำผักดองเป็นที่สอง คือเนื้อผักดองหมดแล้ว เหลือแต่น้ำผักดองเท่านั้น
ทานเศร้าหมองจำนวนน้อยแต่มีอานิสงส์มาก

           พระพุทธองค์ทรงตรัสปลอบเศรษฐีว่า บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น เพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพนั้น ฯ
มหาทานประณีตจำนวนมากแต่มีอานิสงส์น้อย

          ครั้นนั้น พราหมณ์ชื่อเวลามะ ได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ทองคำ เงิน สำริด อย่างละ ๘๔,๐๐๐ ชนิด ช้างมงคล พร้อมด้วยเครื่องทรงชั้นดี ๘๔,๐๐๐ เชือก หญิงสาว ซึ่งประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับด้วยเพชน นิล จินดา ราคาแพง ๘๔,๐๐๐ คน และรวมไปถึงของกินของใช้ เสื้อผ้า ที่พักอาศัย เป็นมหาทานที่ประณีตอย่างดีมีจำนวนมหาศาล ซึ่งไม่มีใครจะสามารถทำได้ แต่ว่ามหาทานนั้นก็มีอานิสงส์น้อย เพราะก็ในทานนั้น ไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล (ไม่มีพระอริยบุคคลมารับทาน มีแต่ปุถุชน)  ใครๆ ไม่ชำระทักขิณานั้นให้หมดจด
ลำดับอานิสงส์บุญประเภทต่าง ๆ

    ทานที่บุคคลถวายแก่พระโสดาบันผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่ามหาทานที่เวลามพราหมณ์ให้ทานแก่ปุถุชนจำนวนมาก
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระโสดาบันร้อยท่านบริโภคมีผลมากกว่าพระโสดาบันผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่าพระโสดาบันร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภคมีผลมากกว่าพระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระอนาคามีผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่าพระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระอนาคามีร้อยท่านบริโภคมีผลมากกว่าพระอนาคามีผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่าพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระอรหันต์ร้อยท่านบริโภคมีผลมากกว่าพระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภคมีผลมากกว่าพระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภคมีผลมากกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภคมีผลมากกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภคมีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค
    การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค
    การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะมีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากทิศทั้ง ๔
    การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท ๕ (ศีล ๕) มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
    การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอมมีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ ศีล ๕
    การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือมีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ฯ

สรูปอานิสงส์ของบุญ

    การให้ทานเจาะจง (ปาฏิปุคคิกทาน) มีอานิสงส์น้อย
        ทานที่ถวายแก่ปุถุชนมีอานิสงส์น้อยกว่า
        ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจนถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอานิสงส์มากน้อยกว่ากันตามลำดับ
        แม้แต่เศษอาหารที่เหลือนำไปเทไว้ตามโคนต้นไม้หรือชายป่าเพื่อให้มด แมลง หรือหนอนได้กิน ก็มีอานิสงส์มากเช่นเดียวกัน
    การให้ทานเป็นของกลางสงฆ์ (สังฆทาน) มีอานิสงส์มากกว่าทานเจาะจง
        สังฆทานที่มีอานิสงส์มากที่สุดคือการสร้างสถานปฏิบัติธรรม (วิหาร, เสนาสนะ) ถวายเแก่ภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔  เพราะเป็นการให้ความสะดวกในการบำเพ็ญสมณะธรรม เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สร้างความดี และถ้ามีผู้พักอาศัยอยู่ปฏิบัติ จนบรรลุธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้สร้างถวายก็จะได้รับอานิสงส์มากกว่าการถวายทานทั่วๆ ไป
    การเลื่อมใส นับถือพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ มีอานิสงส์มากกว่าการให้ทาน เพราะได้ชื่อว่ามีที่พึ่งทางใจและมีแบบอย่างในการดำเนินชีวิต คือ มีพระพุทธเจ้าทรงให้คำแนะนำ มีพระธรรมเป็นหลักปฏิบัติ และมีพระสงฆ์เป็นแบบอย่างและเป็นกัลยาณมิตร อุปมาเหมือนลูกที่ยังไม่โต เรียนหนังสือยังไม่จบ ก็ต้องพึ่งพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน  เท่ากับว่ามีพระพุทธเจ้าเป็นเหมือนพ่อ มีพระธรรมเป็นเหมือนแม่ และมีพระสงฆ์เป็นเหมือนพี่(เลี้ยง)
    การเลื่อมใส สมาทานสิกขาบททั้ง ๕ ข้อ (ศีล ๕) มีอานิสงส์มากกว่าการเลื่อมใสในพระรัตนตรัย  เพราะผู้ที่สมาทานรักษาสิกขาบทได้สมบูรณ์คือมีกายและวาจาปกติ ปราศจากบาปอกุศลทั้งหลาย เห็นทุกข์โทษที่จะเกิดตามมาถ้าละเมิดสิกขาบทเหล่านั้น เรียกว่าได้เดินตามรอยพระรัตนตรัย เป็นการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้ตนเองได้รับความผาสุก และเป็นที่พึ่งของตนได้ เปรียบเหมือนเด็กที่เรียนจบปริญญา สามารถทำงานเลี้ยงตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่ในการเลี้ยงดูอีกต่อไป ส่วนการเลื่อมใสนับถือพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง ที่เคารพ แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามหลักคำสอน เปรียบเหมือนพ่อแม่ที่ชื่นชมยินดีเมื่อลูกได้รับปริญญา ถามว่า ปริญญาของใคร? ปริญญาของลูก ดังนั้น พ่อแม่จึงมีสิทธิ์ได้แค่ชื่นชมยินดีในปริญญาของลูก แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะนำปริญญาของลูกไปประกอบอาชีพ แต่ว่าลูกนั้นทั้งดีใจที่ตนได้รับปริญญาและยังสามารถนำปริญญานั้นไปประกอบอาชีพได้อีกด้วย
    การเจริญเมตตาจิต แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ก็มีอานิสงส์มากกว่าการรักษาศีล ๕ เพราะการสมาทานสิกขาบททั้ง ๕ คือการงดเว้นจากสิ่งที่เป็นบาปอกุศล เป็นการไม่ทำความชั่ว แต่ก็ถือว่ายังไม่เป็นการประกอบกรรมดี เรียกว่ามีศีล ส่วนการเจริญเมตตาจิต คือมีความรักใคร่ ปรารถนาดี ช่วยเหลือผู้อื่นที่ควรได้รับการช่วยเหลือ เป็นการประกอบกรรมดี เรียกว่ามีธรรม ดังนั้น ผู้ที่เจริญเมตตาจิต ก็จะประพฤติธรรมควบคู่กับการรักษาศีล ๕ ด้วยเสมอ ส่วนผู้ที่เลื่อมใสสมาทานสิกขาบท อาจจะมีศีล ๕ สมบูรณ์ แต่อาจจะไม่มีธรรมก็ได้ เช่น
        ไม่ฆ่าสัตว์ ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตผู้อื่น แต่ก็ไม่เคยเมตตากรุณาต่อสัตว์ที่กำลังหิวโหย หรือกำลังเจ็บป่วยทรมาน
        ไม่ลักทรัพย์ผู้อื่น ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สมบัติผู้อื่น แต่ก็ไม่ประกอบอาชีพที่บริสุทธิ์เป็นสัมมาอาชีพ เช่น ทำอาชีพค้าแรงงานทาส หรือค้าขายสุรา เป็นต้น
        ไม่ประพฤติผิดในกาม ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตครอบครัวของตนเองและผู้อื่น แต่ก็ไม่สังวรในกาม คือยังไปเที่ยวซุกซนตามสถานเริงรมย์ที่มีการขายบริการทางเพศ
        ไม่พูดเท็จ ชื่อว่าให้ความปลอดภัย ให้ความสามัคคีแก่สังคม แม้จะพูดความจริง คำสัจจะ แต่ก็พูดไม่ไพเราะ พูดไม่รู้จักกาละเทศะ พูดสิ่งไม่มีประโยชน์ หรือพูดไม่มีจิตเมตตา พูดไม่รักษาน้ำใจ
        ไม่ดื่มของมึนเมา ชื่อว่ารักสุขภาพตนเอง และชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่น แต่ก็ไม่เคยฝึกเจริญสติสัมปชัญญะ ปล่อยกายปล่อยใจกลายเป็นคนซึมเซ่อเมอลอย ประมาทขาดสติยิ่งกว่าดื่มของมึนเมา 
    การเจริญอนิจจสัญญา แม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือเดียว ทำให้รู้แจ้งในไตรลักษณ์ มีอานิสงส์มากที่สุด ถ้าไม่เข้าใจในไตรลักษณ์ ก็จะไม่เห็นทุกข์ ถ้าไม่เห็นทุกข์ ก็จะดับทุกข์ไม่ได้ เพราะผู้ที่สามารถรู้จริงเห็นแจ้งในอนิจจสัญญา อย่างแท้จริง ไม่ไช่เป็นเพียงสุตปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอ่านหรือการฟัง และจำได้ กับจินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาหาเหตุผลอย่างนั้นอย่างนี้ เท่านั้น แต่เป็นภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดจากการอบรมสมาธิภาวนาเป็นอย่างดีแล้ว จึงทำให้เข้าใจในสรรพสิ่งทั้งหลายว่า มันเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป มันเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นทุกข์ คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ บางครั้งชอบใจ เป็นสุข บางครั้งเสียใจ เป็นทุกข์ และมันเป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตน บังคับให้เป็นอย่างที่ต้องการไม่ได้ และเมื่อรู้ว่า มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ และมันบังคับไม่ได้ ก็ไม่ควรยึดถือว่าเป็นเรา หรือเป็นของเรา จึงทำให้เข้าใจ รู้เห็นตามความเป็นจริง ยถาภูตะญาณทัสสนะ แล้วก็ทำให้เบื่อหน่ายคลายกำหนัด คายทิฏฐมานะ เมื่อเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ก็จะได้วิมุตติจิตหลุดพ้นจากการครอบงำของกิเลสได้  ดังนั้น การเจริญอนิจจาสัญญาจึงมีอานิสงส์มากมาย  เพราะจะทำให้ผู้เจริญพ้นทุกข์ได้ ฯ

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 05:56:33 am »
สุดยอดแห่งบุญที่แท้จริง ตามพระพุทธพจน์
ใน เวลามสูตร ( อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต สีหนาทวรรค)

     มีข้อความในตอนต้นสรุปได้ว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสถามท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า ขณะนี้ท่านยังให้ทานอยู่หรือหนอ ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า
ขณะนี้ยังให้ทานอยู่ แต่ทานนั้นเป็นของราคาถูก เป็นเพียงปลายข้าว กับน้ำผักดองเท่านั้น

     พระพุทธองค์จึงตรัสว่า นั่นมิใช่สิ่งสำคัญ ต่สิ่งที่สำคัญคือ การให้ทานโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่ใช่เหลือทิ้ง เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ย่อมมีอานิสงส์ที่จะได้ อาหาร เสื้อผ้า ยานพาหนะ เป็นต้น อย่างดี ผู้คนรอบข้าง ก็จะเชื่อฟังเป็นอันดี

     และพระองค์ได้ตรัสเล่าเรื่องในอดีตให้ท่านเศรษฐีฟังอีกว่า ในอดีต มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า เวลามพราหมณ์ ได้ให้มหาทานอันยิ่งใหญ่ ประกอบด้วย
๑. ถาดทองคำ เต็มด้วยเงิน
๒. ถาดเงิน เต็มด้วยทอง
๓. ถาดสัมฤทธิ์ เต็มด้วยเหรียญเงิน
๔. ช้าง ประดับด้วยเครื่องประดับอย่างดีที่สุด
๕. รถ ประดับด้วยเครื่องประดับอย่างดีที่สุด
๖. แม่โคนม พร้อมถาดสัมฤทธิ์สำหรับรองน้ำนม
๗. หญิงสาว ประดับด้วยอาภรณ์นานาพรรณ
๘. บัลลังก์ ประดับด้วยของมีค่ายิ่ง
๙. ผ้า ชนิดเนื้อดีที่สุด

ทั้ง ๙ ข้อนี้ มีจำนวนข้อละ ๘๔ , ๐๐๐

     นอกจากนั้นยังให้ ข้าว น้ำ ของหวาน ของคาว เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย อีกเป็นจำนวนมาก ราวกับการไหลของแม่น้ำ เวลามพราหมณ์ผู้ที่ได้กล่าวถึงนี้
มิใช่ใครอื่น ก็คือเรานี่เอง (คือ พระองค์นั่นเอง ที่ครั้งนั้นเกิดเป็นเวลามพราหมณ์) และพระองค์ได้ตรัสต่อไปว่า

     ก็แต่ว่า ในการให้มหาทานในคราวครั้งนั้น ไม่มีผู้ควรแก่ทักขิณาเลย ไม่มีผู้ใดที่จะทำทักขิณาให้บริสุทธิ์ได้เลย บุคคลผู้ใดให้ทานคืออาหารแก่ผู้สมบูรณ์
ด้วยความเห็น (คือพระโสดาบัน) เพียงองค์เดียว เพียงครั้งเดียว การให้ทานคืออาหารแก่พระโสดาบัน เพียงองค์เดียว เพียงครั้งเดียว ยังมีผลมากกว่า
มหาทานของเวลามพราหมณ์นั้น

     การให้ทานแก่พระโสดาบัน ๑๐๐ องค์ นั้น ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระสกทาคามีเพียงองค์เดียว

     การให้ทานแก่พระสกทาคามี ๑๐๐ องค์นั้น ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระอนาคามีเพียงองค์เดียว

     การให้ทานแก่พระอนาคามี ๑๐๐ องค์นั้น ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระอรหันต์เพียงองค์เดียว

     การให้ทานแก่พระอรหันต์ ๑๐๐ องค์นั้น ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว

     การให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ องค์นั้น ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว

     การให้ทานแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประธาน

     การให้ทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประธาน ยังมีผลน้อยกว่าการสร้างวิหาร ถวายแก่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔

     การสร้างวิหารถวายแก่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ ยังมีผลน้อยกว่าผู้มีจิตเลื่อมใส ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ

     การมีจิตเลื่อมใส และถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ เพียงอย่างเดียว ยังมีผลน้อยกว่า การมีจิตเลื่อมใสและถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะด้วย และสมาทานรักษาศีล ๕ ด้วย

     การมีจิตเลื่อมใสและถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ และสมาทานรักษาศีล ๕ ด้วย ยังมีผลน้อยกว่า การเจริญเมตตาจิต เพียงชั่วเวลาสูดดมของหอม

     การเจริญเมตตาจิต เพียงชั่วเวลาสูดดมของหอม ยังมีผลน้อยกว่า การเจริญอนิจจสัญญา ( ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง) เพียงชั่วเวลาดีดนิ้วมือ ฯ

     การเจริญเมตตาจิต เพียงชั่วเวลาสูดดมของหอม และเจริญอนิจจสัญญาเพียงชั่วเวลาดีดนิ้วมือ ที่จะให้ได้อานิสงส์อย่างสูงเช่นนี้ได้ ผู้นั้นต้องเป็นผู้มีจิตทรงฌานสมาบัติ และมุ่งดำเนินจิตไปในแนวทางแห่งวิวัฏคามินีกุศล คือมุ่งหวังความหลุดพ้นจากสังสารวัฏโดยส่วนเดียว
และด้วยกำลังแห่งฌานสมาบัตินั้น จึงทำให้ได้อานิสงส์สูงสุดนี้

     สำหรับคนธรรมดาที่ยังไม่ได้ฌาน คงจะยังไม่ได้รับอานิสงส์ขั้นสูงสุดดังในพระสูตรนี้ แต่ก็จะเป็นพลวปัจจัยให้ได้อานิสงส์ขั้นสูง คือความพ้นทุกข์ ในอนาคตอันไม่ไกล

     ตามความเข้าใจของผม ลำดับอานิสงส์ในการทำบุญมีดังนี้คือ

- ให้ทาน เพื่อให้ได้ทรัพย์สมบัติ

- รักษาศีล เพื่อให้ได้รูปสมบัติ

- เจริญภาวนา เพื่อให้ได้ธรรมสมบัติ

     อนิจจสัญญา จัดเป็นอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นภาวนามัยกุศล ผู้หมั่นเจริญอยู่เนืองนิตย์ ย่อมได้อานิสงส์คือ ธรรมสมบัติ ได้แก่ ศีล สติ สมาธิ และปัญญาญาณ ตามหลักท่านกล่าวว่า ไตรลักษณ์ มี ๓ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ในพระสูตรนี้ ให้เจริญอนิจจสัญญาเพียงอย่างเดียวเท่านั้นหรือ....
เพียงอย่างเดียวก็ได้ เพราะทั้ง ๓ นี้เป็นสภาพเนื่องถึงกันหมด ดังที่ท่านกล่าวว่า

     ยะทะนิจจัง ตัง ทุกขัง ยัง ทุกขัง ตะทะนัตตา สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็เป็นอนัตตา

     คำว่า " เจริญอนิจจสัญญา" คือ ใช้จิตน้อมนึกคิดพิจารณา ถึงสภาพที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรของทุกสิ่งอยู่ตลอดเวลา พยายามไม่เผลอไปคิดว่า "สิ่งนั้นมันเที่ยงแท้แน่นอน จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันขาด" ซึ่งจะไม่มีวันเป็นไปได้ เพราะผิดไปจากความเป็นจริง ความเป็นจริง ๆ ๆ คือ " ไม่เที่ยง"
บางครั้ง ถ้านึกคิดพิจารณาลำบาก ก็มีคาถาที่ครูอาจารย์ท่านสอนไว้ คือ

    ทุ ก สิ่ ง ไ ม่ เ ที่ ยง อ ย่ า ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ให้บริกรรมกำกับจิตไว้อยู่เสมอ ย่อมจะได้รับอานิสงส์ขั้นสูงสุด ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอนครับ

 
ที่มา : -http://www.palungjit.com-
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 06:04:16 am »
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

กฐินขันธกะ

ภิกษุปาไฐยรัฐเดินทางเข้าเฝ้า

[๙๕]  สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ พระเขตวันอาราม

ของอนาถบิณฑิกคหบดี   เขตพระนครสาวัตถี   ครั้งนั้น    ภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน

๓๐  รูป  ล้วนถืออารัญญิกธุดงค์  บิณปาติกธุดงค์   และเตจีวริกธุดงค์   เดิน

ทางไปพระนครสาวัตถุเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า    เมื่อจวนถึงวันเข้าพูดพรรษา

ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี    จึงจำพรรษา  ณ

เมืองสาเกต   ในระหว่างทาง   ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า   พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ เรา    ระยะทางห่างเพียง  ๖ โยชน์    แต่พวกเราก็

ไม่ได้เฝ้าพระองค์     ครั้นล่วงไตรมาส      ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาทำปวารณา

เสร็จแล้ว   เมื่อฝนยังตกชุก   พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ    เป็นหล่มเลน    มีจีวร

ชุ่มชื้นด้วยน้ำ   ลำบากกาย   เดินทางไปถึงพระนครสาวัตถี  พระเชตวัน  อาราม

ของอนาถบิณฑิกคหบดี   เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า   ถวายบังคมแล้วนั่ง   ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง.

การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย     ทรงปราศัยกับพระอาคันทุกะทั้ง

หลายนั่นเป็นพุทธประเพณี.

 

พุทธประเพณี

ครั้งนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า    ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย   พวกเธอยังพอทนได้หรือ   พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ  พวกเธอ

เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน    ร่วมใจกัน   ไม่วิวาทกัน   จำพรรษาเป็นผาสุก   และไม่

ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ?

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า    พวกข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้    พวกยัง

อัตภาพให้เป็นไปได้    พระพุทธเจ้าข้า    อนึ่ง   ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้

พร้อมเพรียงกัน   ร่วมใจกัน  ไม่วิวาทกัน  จำพรรษาเป็นผาสุก  และไม่ลำบาก

ด้วยบิณฑบาต   พระพุทธเจ้าข้า    พวกข้าพระพุทธเจ้าในชุมนุมนี้เป็นภิกษุ

ปาไฐยรัฐจำนวน  ๓๐  รูป    เดินทางมาพระนครสาวัตถุ    เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า   เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา   ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษา

ในพระนครสาวัตถุ    จึงจำพรรษา   ณ  เมืองสาเกต    ในระหว่างทาง    พวกข้า

พระพุทธเจ้านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ

เรา     ระยะทางห่างเพียง  ๖ โยชน์     แต่พวกเร้าก็ไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นล่วงไตรมาส    พวกข้าพระพุทธเจ้าออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้ว     เมื่อ

ฝนยังตกชุก   พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ    เป็นหล่มเลน    มีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ

ลำบากกาย   เดินทางมา   พระพุทธเจ้าข้า.

 

พระพุทธานุญาตใต้กรานกฐิน

[๙๖]  ลำดับนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงทำธรรมีกถา   ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามลนั้น    ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น    แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย  ผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน

พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้ว  จักได้อานิสงส์  ๕  ประการ  คือ:-

๑.  เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา.

๒.  ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ.

๓.   ฉันคณะโภชน์ได้.

๔.  ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา.

๕.  จีวรอันเกิดขึ้น  ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    อานิสงส์  ๕  ประการนี้     จักได้แก่เธอทั้งหลาย

ผู้ได้กรานกฐินแล้ว.

 

วิธีกรานกฐิน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็แล  สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้   คือ  ภิกษุผู้ฉลาด

ผู้สามารถ   พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา   ว่าดังนี้:-

 

กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน

ท่านเจ้าข้า    ขอสงฆ์จงฟังข้าเจ้า   ผ้ากฐินผืนนั้นเกิดแล้วแก่

สงฆ์  ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว  สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้

แก่ภิกษุมีชื่อนี้  เพื่อกรานกฐิน  นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า   ขอสงจงพึงข้าพเจ้า   ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่

สงฆ์  สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้   เพื่อกรานกฐิน   การให้

ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้  เพื่อกรานกฐิน  ชอบแก่ท่านผู้ใด  ท่าน

ผู้นั้นพึงเป็นนิ่ง  ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด  ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ผ้ากฐินผืนนี้    สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้    เพื่อกรานกฐิน

ชอบแก่สงฆ์  เหตุนั่นจึงนิ่ง   ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้  ด้วยอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล   กฐินเป็นอันกราน   อย่างนี้ไม่เป็น

อันกราน.

 

กฐินไม่เป็นอันกราน

[๙๗]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อย่างไรเล่า  กฐินไม่เป็นอันกราน  คือ:-

๑.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงขีดรอย.

๒. กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงซักผ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

๓.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงกะผ้า.

๔.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงตัดผ้า.

๕.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงเนาผ้า.

๖.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงเย็บต้น.

๗.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม.

๘.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงทำรังคุม.

๙.  กฐินไม่เป็นอันกราน  ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต.

๑๐.  กฐินไม่เป็นอันกราน  ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้าน

หน้า.

๑๑.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงดามผ้า.

๑๒.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่นเท่านั้น.

๑๓.  กฐินไม่เป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่ท่านิมิตได้มา.

๑๔.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา.

๑๕.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่ยืมเขามา.

๑๖.  กฐินไม่เป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน.

๑๗.  กฐินไม่เป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์.

๑๘.  กฐินไม่เป็นอัน กราน  ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ.

๑๙.  กฐินไม่เป็นอันกราน   เว้นจากผ้าสังฆาฏิเสีย.

๒๐.  กฐินไม่เป็นอันกราน   เว้นจากผ้าอุตราสงค์เสีย.

๒๑.  กรินไม่เป็นอันกราน   เว้นจากผ้าอันตรวาสกเสีย.

๒๒.  กฐินไม่เป็นอันกราน  เว้นจากจีวรมีขันธ์  ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่ง

ตัดดีแล้ว   ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

๒๓.   กฐินไม่เป็นอันกราน   เว้นจากการกรานแห่งบุคคล.

๒๘.   กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ   ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนา

กฐินนั้น    แม้อย่างนี้    กฐินก็ชื่อว่าไม่เป็นอันกราน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อย่างนี้แล   กฐินไม่เป็นอันกราน.

 

กฐินเป็นอันกราน

[๙๘]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อย่างไรเล่า   กฐินเป็นอันกราน   คือ:-

๑.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าใหม่.

๒.   กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าเทียมใหม่.

๓.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าเก่า.

๔.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าบังสุกุส.

๕.   กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่ตกตามร้าน.

๖.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา.

๗.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา.

๘.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา.

๙.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน.

๑๐.  กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่ไม่ได้เป็นนิสสัคคีย์.

๑๑.  กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว.

๑๒.  กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าสังฆาฏิ.

๑๓.  กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าอุตราสงค์.

๑๔.  กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าอันตรวาสก.

๑๕.  กฐินเป็นอันกราน   ด้วยจีวรมีขันธ์  ๕ หรือเกิน  ๕  ซึ่งตัดดีแล้ว

ทำให้มีมณฑลเสร็จในวัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

๑๖.  กฐินเป็นอันกราน   เพราะการแห่งบุคคล.

๑๗.  กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ     ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐิน

นั้น  แม้อย่างนี้   กฐินก็ชื่อว่าเป็นอันกราน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  กฐินเป็นอันกราน.

[๙๙]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อย่างไรเล่า   กฐินเป็นอันเดาะ ?

 

มาติกา ๘

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  มาติกาเพื่อเดาะกฐิน ๘ ข้อนี้  คือ

๑.  กำหนดด้วยหลีกไป.            ๒.  กำหนดด้วยจีวรทำเสร็จ.

๓.  กำหนดด้วยตกลงใจ.           ๔.   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๕. กำหนดด้วยได้ยินข่าว.         ๖.   กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

๗.  กำหนดด้วยล่วงเขต.            ๘.   กำหนดด้วยเคาะพร้อมกัน.

 

อาทายสัตตกะที่  ๑

[๑๐๐]   ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว      ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป

ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยหลีกไป

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไป  เธออยู่นอกสีมา   เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับมา

ละ   เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยทำจีวร

เสร็จ.

๓.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไป   เธออยู่นอกสีมา    เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า   จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    จักไม่กลับ    การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้น  กำหนดด้วยตกลงใจ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไป    เธออยู่นอกสีมา   เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า     จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ    จักไม่กลับ

แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น    จีวรของเธอ   ที่กำลังทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย   การเดาะ

กฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๕.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา   เธอ

อยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น    ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว    ได้ยินข่าวว่าในอาวาส

นั้น   กฐินเดาะเสียแล้ว   การเคาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๖.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ถือจีวรหลีกไป     ด้วยคิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น     ครั้นทำจีวรเสร็จ    คิดว่าจักกลับมา   จัก

กลับมา    แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ  ณ  ภายนอกสีมา  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยล่วงเขต.

๗.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา  เธอ

อยู่นอกสีมา   ทำให้จีวรผืนนั้น    ครั้นทำจีวรเสร็จ   คิดว่าจักกลับมา  จักกลับมา

แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย

อาทายสัตตกะที่  ๑  จบ

 

สมาทายสัตตะ   ที่  ๒

[๑๐๑]  ๑.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว      นำจีวรที่ทำเสร็จแล้ว หลีกไป

ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น     กำหนดด้วยหลีกไป

๒.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรหลีกไป    เธออยู่นอกสีมา    เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้    ณ ภายนอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ  เธอ

ให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

๓.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรหลีกไป  เธออยู่นอกสีมา  เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    จักไม่กลับ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยตกลงใจ.

๔.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรหลีกไป  เธออยู่นอกสีมา  เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า  จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ   เธอให้

ทำจีวรผืนนั้น    จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น  ได้เสียหรือหาย  การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้นกำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๕.  ภิกษุได้กรายนกฐินแล้ว   นำจีวรหลีกไป     ด้วยคิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว   ได้ยินข่าวว่า   ใน

อาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๖.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรหลีกไป  ด้วยคิดว่าจักกลับมา  เธอ

อยู่นอกสีมา  ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา    จักกลับ

มาล่วงเขต.

๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรหลีกไป  ด้วยคิดว่าจักกลับมา  เธอ

อยู่   ณ  ภายนอกสีมา  ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว   คิดว่าจักกลับมา

จักกลับมา  แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   พร้อมกับภิกษุ

ทั้งหลาย.

สมาทายสัตตกะ  ที่  ๒  จบ

 

 

อาทายฉักกะ  ที่  ๓

[๑๐๒]  ๑.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรที่ค้างไว้หลีกไป   เธออยู่

นอกสีมา  เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   เราจักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

-http://www.tripitaka91.com/91book/book07/151_200.htm-

http://www.tripitaka91.com/91book/book07/151_200.htm

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 06:09:35 am »
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

จักไม่กลับ   แล้วให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วย

ทำจีวรเสร็จ.

๒.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป  เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้   จักไม่กลับมา   การเดาะกฐินของ

ภิกษุนั้น    กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป  เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้    ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ

แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น  จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย  การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้น   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๔.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับ

มา  เธออยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว   ได้ทราบข่าวว่า

ในอาวาสนั้นกฐินเดาะแล้ว   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๕.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจัก

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา    ให้ทำจีวรผืนนั้น  ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับ

มา  จักกลับมา  แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ   ณ  ภายนอกสีมา  การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้น  กำหนดด้วยล่วงเขต.

๖.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจัก

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   ไห้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว    คิดว่าจัก

กลับมา  จักกลับมา  แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  พร้อม

กับภิกษุทั้งหลาย.

 

อาทายฉักกะ ที่  ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

สมาทายฉักกะ  ที่   ๔

[๑๐๓]  ๑.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป  เธอ

อยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   เราจักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้

แหละจักไม่กลับ   เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนด

ด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    เธออยู่นอก

สีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า  จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้   จักไม่กลับมา   การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    เธออยู่นอก

สีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ    จัก

ไม่กลับ   แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น   จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น   ได้เสียหรือหาย   การ

เดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๔.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป  ด้วยคิดว่าจัก

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น  ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่า

ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว     การเดาะกฐินของภิกษุนั้น     กำหนดด้วยได้

ยินข่าว.

๕.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจัก

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา  ให้ทำจีวรผืนนั้น  ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว  คิดว่าจักกลับ

มาจักกลับมา  แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ   ณ ภายนอกสีมา   การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้นกำหนดด้วยล่วงเขต.

๖.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจัก

กลับมา  เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

จักกลับมา  แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  พร้อมกับภิกษุ

ทั้งหลาย.

สมาทายฉักกะ  ที่  ๔  จบ

 

การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จเป็นต้น

[๑๐๔]   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ถือจีวรหลีกไป     เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ

มา  เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น     กำหนดด้วยทำจีวร

เสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไป    เธออยู่นอกลีมา    เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    จักไม่กลับ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไป   เธออยู่นอกลีมา   เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้      ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ   แล้วไห้

ทำจีวรผืนนั้น  จีวรของเธอทีทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๐๕]   ภิกษุได้กรานกินแล้ว     ถือจีวรหลีกไป    ด้วยทั้งใจว่าจักไม่

กลับมา  เธออยู่นอกสีมา    เกิดความติดอย่างนี้ว่า    จักไห้ทำจีวรผืนนี้  ณ ภาย

นอกสีมานี้แหละ  เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนด

ด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ถือจีวรหลีกไป     ด้วยตั้งใจว่าจักไม่กลับมา

เธออยู่นอกสีมา   เกิดความติดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผื่นนี้      การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยตกลงใจ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  ถือจีวรหลีกไป   ด้วยตั้งใจว่า   จักไม่กลับมา

เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า  จักให้จีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น  จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย  การเดาะกฐินของ

ภิกษุนั้น   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๐๖]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไป   ด้วยไม่ตั้งใจ   คือ

เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา  เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ  ภายนอกสีมาน แหล่ะ    จักไม่กลับ

เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไปด้วยไม่ตั้งใจ   คือ   เธอไม่ได้

คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิด

อย่างนี้ว่าจักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้  จักไม่กลับ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด

ด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไปด้วยไม่ตั้งใจ   คือ   เธอไม่ได้

คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิด

อย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับแล้วให้ทำจีวร

ผืนนั้นจีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้หรือเสียหาย  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด

ด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๐๗]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่าจักให้ทำจีวรผืนนี้    ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

จักไม่กลับ   เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วย

ทำจีวรเสร็จ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไปด้วยตั้งใจว่าจักกลับมา  เธออยู่

นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้   จักไม่กลับ   การเดาะ

กฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา    เธออยู่

นอกสีมา     เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

จักไม่กลับ   แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น   จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย  การ

เดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา    เธออยู่

นอกสีนา   ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว  ได้ยินข่าวว่า  ในอาวาสนั้น

กฐินเดาะแล้ว   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา    เธออยู่

นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น    ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา   จักกลับมา

แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ   ณ ภายนอกสีมา  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วย

ล่วงเขต.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา    เธออยู่

นอกสีมา  ให้ทำจีวรผืนนั้น  ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว   คิดจักกลับมา   จักกลับมา

แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

[๑๐๘]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไป.   (นักปราชญ์พึงให้

พิสดารอย่างนี้   ดุจอาทายวาร)

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า  จักไห้ทำจีวรผืนนี้   ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ  เธอ

ให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ     การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ

(นักปราชญ์พึงให้พิสดารอย่างนี้   ดุจสมาทายวาร)

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

[๑๐๙]   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ค้างไว้หลีกไป   เธออยู่นอก

สีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จัก

ไม่กลับ   เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วย

ทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    จักไม่กลับ   การเดาะกฐินของ

ภิกษุนั้น  กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ

แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น    จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย     การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๐๐]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิด

ว่าจักไม่กลับมา  เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ

ภายนอกสีมานี้แหละ     เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    ด้วยคิดว่าจักไม่

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ แหละ

การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    ด้วยคิดว่าจักไม่

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้  ณ ภาย

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

นอกสีมานี้แหละแล้วให้ทำจีวรผืนนั้น       จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย

การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๑๑]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยไม่ทั้งใจ

คือไม่ได้คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา  เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ     จักไม่กลับ

เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยไม่ตั้งใจ    คือ

ไม่ได้คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับ   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้     จักไม่กลับ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป  ด้วยไม่ตั้งใจ  คือ

ไม่ได้คิดว่าจักกลับมา  และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา  เธออยู่นอกสีมา  เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ   แล้วให้

ทำจีวรผืนนั้น   จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย   การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

-http://www.tripitaka91.com/91book/book07/201_250.htm-

http://www.tripitaka91.com/91book/book07/201_250.htm
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 06:10:09 am »
[๑๑๒]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยคิดว่า

จักกลับมา    เธออยู่นอกสีมา    เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ

ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับละ   เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา    เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้     จักไม่กลับ

การเคาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจักกลับ

มา   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรนี้   ณ  ภายนอกสีมา

นี้แหละ  จักไม่กลับ   เธอให้ทำจีวรนั้น   จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย

การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น  ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่า ในอาวาส

นั้นกฐินเดาะเสียแล้ว   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจักกลับ

มา   เธออยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น    ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา

จักกลับมา  แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ   ณ ภายนอกสีมา   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยล่วงเขต

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจักกลับ

มา  เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น  ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา จัก

กลับมา  แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   พร้อมกับภิกษุ

ทั้งหลาย.

 

อาทายภาณวาร  จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

ความสิ้นหวัง ๑๒ หมวด

[๑๑๓]   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร    เธออยู่

นอกสีมา    เข้าไปยิ่งที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น    ได้ไม่สมหวัง    ไม่ได้ตามหวัง

เธอคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ  เธอ

ให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร  เธออยู่นอกสีมา

เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   ได้ไม่สมหวัง   ไม่ได้ตามหวัง    เธอคิดอย่าง

นี้ว่า  จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    จักไม่กลับ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนด

ด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร   เรออยู่นอกสีมา

เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   ได้ไม่สิ้นหวัง   ไม่ได้ตามหวัง   เธอคิดอย่าง

นี้ว่า  จักให้ทำจีวรผืนนี้    ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ  เธอให้ทำจีวรผืน

นั้น  จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนด

ด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร  เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้  ณ ภายนอกสีมาน

แหละ  จักไม่กลับ  แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น  เธอสิ้นหวังว่าจะได้

จีวรนั้น  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

[๑๑๔]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร  คิดว่า

จักไม่กลับมา  เธออยู่นอกสีมา  เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   ได้ไม่สมหวัง

ไม่ได้ตามหวัง   เธอคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

เธอให้ทำจีวรผืนนี้ในเสร็จ  การเดาะกฐินขอองภิกษุนั้น   กำหนดด้วยการทำจีวร

เสร็จ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร    คิดว่าจักไม่กลับ

มา  เธออยู่นอกสีมา  เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น    ได้ไม่สมหวัง   ไม่ได้

ตามหวัง  เธอคิดอย่างนี้ว่า  จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร    คิดว่าจักไม่กลับ

มา  เธออยู่นอกสีมา  เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น  ได้ไม่สมหวัง   ไม่ได้

ตามหวัง  เธอติดอย่างนี้ว่า  จักให้ทำจีวรผืนนี้    ณ ภายนอกสีมานี้แหละ    เธอ

ให้ทำจีวรผืนนี้ในเสร็จ   จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย    การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร    คิดว่าจักไม่กลับ

มา   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวร

นี้  ณ   ภายนอกสีมานี้แหละ  แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   เธอสิ้นหวัง

ว่าจะได้จีวรนั้น  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

[๑๑๕]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวรโดยไม่ได้

ตั้งใจ คือ  เธอไม่ได้คิดว่าจะกลับ   และไม่คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา

เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น  ได้ไม่สมหวัง  ไม่ได้ตามหวัง   เธอคิดอย่าง

นี้ว่า  จักให้ทำจีวรผืนนี้    ภายนอกสีนานี้แหละ  จักไม่กลับ    เธอให้ทำจีวร

ผืนนั้นเสร็จ   การเคาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร   โดยไม่ตั้งใจ  คือ

เธอไม่ได้คิดว่าจะกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   เข้า

ไปยังทีซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น  ได้ไม่สมหวัง  ไม่ได้ตามหวัง  เธอคิดอย่างนี้ว่า

จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    จักไม่กลับ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วย

ตกลงใจ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร   โดยไม่ตั้งใจ   คือ

เธอไม่ได้คิดว่าจะกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   เข้า

ไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น  ได้ไม่สมหวัง  ไม่ได้ตามหวัง   เธอคิดอย่างนี้ว่า

จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ    เธอให้ทำจีวรผืนนั้น

เสร็จ  จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด

ด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร   โดยไม่ตั้งใจ   คือ

เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา  เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า   จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้   ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ

จักไม่กลับ   แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น    เธอสิ้นหวังว่าจะได้จีวรนั้น

การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

ความสิ้นหวัง  ๑๒  หมวด  จบ

 

ความสมหวัง   ๑๒ หนวด

[๑๑๖]   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร    คิดว่า

จักกลับมา     เธออยู่นอกสีมา    เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น    ได้สมหวัง

ไม่ได้ผิดหวัง     เธอคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

จักไม่กลับ     เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนด

ด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร   คิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา   เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   ได้สมหวัง   ไม่ได้ผิดหวัง

เธอติดอย่างนี้ว่า  จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้   จักไม่กลับ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยตกลงใจ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

ภิกษุได้กรานกรินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร   คิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา   เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น    ได้สมหวัง   ไม่ได้ผิดหวัง

เธอคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ    เธอ

ให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ    จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย    การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร    คิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา    เกิดความติดอย่างนี้ว่า    จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้   ณ

ภายนอกสีมานี้แหละ     จักไม่กลับ     แล้วเข้าไปยิ่งที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรผืนนั้น

เธอสิ้นหวังว่าจะได้จีวรผืนนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

[๑๑๗]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร    คิดว่า

จักกลับมา   เธออยู่นอกสีมา   ได้ยินข่าวว่า   ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว   จึง

คิดอย่างนี้ว่า    เพราะกฐินในอาวาสนั้นเดาะ    จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวร

นี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ    เธอเข้าไม่ยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   ได้สมหวัง

ไม่ได้ผิดหวัง    เธอคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

จักไม่กลับ     เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนด

ด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร   คิดว่าจะกลับมา

เธออยู่นอกสีมา  ได้ยินข่าวว่า  ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว   จึงคิดอย่างนี้ว่า

เพราะกฐินในอาวาสนั้นเคาะ     จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้   ณ ภายนอก

สีมานี้แหละ  เธอเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   ได้สมหวัง   ไม่ได้ผิดหวัง

เธอคิดอย่างนี้ว่า  จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้   จักไม่กลับ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยตกลงใจ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    หลีกไปด้วยหวังจะได้จีวร    คิดว่าจะกลับมา

เธออยู่นอกสีมา   ได้ยินข่าวว่า    ในอาวาสันนกฐินเดาะเสียแล้ว    จึงคิดอย่างนี้

ว่า    เพราะกฐินในอาวาสนั้นเดาะ    จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้  ณ ภาย

นอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ   แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   เธอสิ้น

หวังจะได้อย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ    จักไม่กลับ

แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น      จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น   ได้เสียหรือหาย    การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร  คิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา   ได้ทราบข่าวว่า   ในอาวาสนั้น ๆ กฐินเดาะเสียแล้ว  จึงคิดอย่างนี้

ว่า    เพราะกฐินในอาวาสนั้นเดาะ    จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้   ณ ภาย

นอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ  แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น  เธอสิ้นหวัง

จะได้จีวรผืนนั้น  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น     กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

[๑๑๘]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร  คิดว่า

จักกลับมา    เธออยู่นอกสีมา    เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น     ได้สมหวัง

ไม่ได้ผิดหวัง    เธอให้ทำจีวรผืนนั้น     ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว    ได้ยินข่าวว่า

ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยได้ยิน

ข่าว.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา  เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนี้ ณ

ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ   แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   เธอ

สิ้นหวังจะได้จีวรนั้น  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร   คิดว่าจักกลับ

มา   เธออยู่นอกสีมา   เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   ได้สมหวัง ไม่ได้ผิด

หวัง   เธอให้ทำจีวรนั้น    ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว    คิดว่าจักกลับมา    จักกลับมา

ล่วงคราวเดาะกฐินนอกสีมา   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยล่วงเขต.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร  คิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา   เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น    ได้สมหวัง   ไม่ได้ผิดหวัง

เธอให้ทำจีวรนั้น    ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า.    จักกลับมา    จักกลับมา    แล้ว

กลับมาทันกฐินเดาะ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

ความสมหวัง  ๑๒  หมวด  จบ

 

กรณียะ   ๑๒ หมวด

[๑๑๙]   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง    เธอ

อยู่นอกสีมา   มีความหวังจะได้จีวร   เธอเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น   ได้

ไม่สมหวัง  ไม่ได้ตามหวัง   จึงคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรนี้    ณ ภายนอกสีมา

นี้แหละ  จักไม่กลับ  เธอให้ทำจีวรนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด

ด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง  เธออยู่นอกสีมา

มีความหวังว่าจะได้จีวร   เธอเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น  ได้ไม่สมหวัง

ไม่ได้คามหวัง  จึงคิดอย่างนี้ว่า   จักไม่ให้ทำจีวรนี้    จักไม่กลับ   การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง  เธออยู่นอกสีมา

มีความหวังว่าจะได้จีวร    เธอเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น    ได้ไม่สมหวัง

ไม่ได้ตามหวัง   จึงคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรนี้   ณ ภายนอกสีมาน แหละ   จัก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

ไม่กลับ    จึงให้ทำจีวรนั้น    จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น ได้เสียหรือหาย   การเดาะ

กฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง  เธออยู่นอกสีมา

มีความหวังว่าจะได้จีวร   จึงคิดอย่างนี้ว่า   จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้

ณ ภายนอกสีมานี้แหละ    จักไม่กลับละ     จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้จีวรนั้น

เธอสิ้นหวังว่า  จะได้จีวรนั้น   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

[๑๒๐]   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง   คิดว่า

จักไม่กลับมา    เธออยู่นอกสีมา    มีความหวังว่าจะได้จีวร    จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมี

หวังว่าจะได้จีวรนั้น  ได้ไม่สมหวัง  ไม่ได้ตามหวัง   เธอคิดอย่างนี้ว่า   จักให้

ทำจีวรนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ    แล้วให้ทำจีวรนั้นเสร็จ    การเดาะกฐินของ

ภิกษุนั้น    กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง     คิดว่าจักไม่

กลับมา    เธออยู่นอกสีมา    มีความหวังว่าจะได้จีวร    จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่า

จะได้จีวรนั้น   ได้ไม่สนหวัง   ไม่ได้ตามหวัง   เธอติดอย่างนี้ว่า   จักไม่ให้ทำ

จีวรนี้   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง    คิดว่าจักไม่

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   มีความหวังว่าจะได้จีวร   จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่า

จะได้จีวรนั้น   ได้ไม่สมหวัง  ไม่ได้ตามหวัง   เธอคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวร

นี้    ณ ภายนอกสีมานี้แหละ    แล้วให้ทำจีวรนั้น    จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสีย

หรือหาย  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง  คิดว่าจักไม่กลับ

เธออยู่นอกสีมา   มีความหวังว่าจะได้จีวร    จึงติดอย่างนี้ว่า    จักเข้าไปยังทีซึ่ง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

มีหวังว่าจะได้จีวรนี้    ณ ภายนอกสีมานี้แหละ    แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้

จีวรนั้น    เธอสิ้นหวังว่าจะได้จีวรนั้น  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วย

สิ้นหวัง.

-http://www.tripitaka91.com/91book/book07/201_250.htm-

http://www.tripitaka91.com/91book/book07/201_250.htm
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 06:11:11 am »
[๑๒๑]   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง   โดย

ไม่ตั้งใจ  คือ   เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา    และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา    เธอ

อยู่นอกสีมา    มีความหวังว่าจะได้จีวร    จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น

ได้ไม่สมหวัง  ไม่ได้ตามหวัง   เธอติดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรนี้   ณ ภายนอก

สีมานี้แหละ    จักไม่กลับ    จึงให้ทำจีวรนั้นเสร็จ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนด  ด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง    โดยไม่ดังใจ

คือ   เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา

มีความหวังว่าจะได้จีวร   จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น   ได้ไม่สมหวัง

ไม่ได้ตามหวัง   เธอคิดอย่างนี้ว่า   จักไม่ให้ทำจีวรนี้    จักไม่กลับละ    การเดาะ

กฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง    โดยไม่ตั้งใจ

คือ   เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา    และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา

มีความหวังว่าจะได้จีวร  จึงเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น    ได้ไม่สมหวัง

ไม่ได้ตามหวัง   เธอคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จัก

ไม่กลับ   แล้วให้ทำจีวรนั้น    จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย   การเดาะ

กฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง    โดยไม่จงใจ

คือ   เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา  และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

มีความหวังว่าจะได้จีวร   จึงคิดอย่างนี้ว่า   จักเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้

ณ ภายนอกสีมานี้แหละ    จักไม่กลับละ     แล้วเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวร

นั้น   เธอสิ้นหวังที่จะได้จีวรนั้น   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยสิ้น

หวัง.

กรณียะ  ๑๒  หมวด  จบ

 

หวังได้ส่วนจีวร  ๙  วิธี

[๑๒๒]  ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ประสงค์จะไปสู่ทิศ   จึงหลีกไป

แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร    เธอไปสู่ทิศแล้ว    ภิกษุทั้งหลายถามว่า    อาวุโส    จำ

พรรษาที่ไหน  และส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน  เธอตอบอย่างนี้ว่า ผมจำพรรษา

ในอาวาสโน้น    และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น  ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้

ว่า  อาวุโส   ท่านจงนำจีวรนั้นมา  พวกผมจักทำจีวรให้  ณ ที่นี้    เธอกลับไป

สู่อาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า   อาวุโส   ส่วนจีวรของผมอยู่ที่ไหน   ภิกษุ

เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า   อาวุโส   มีส่วนจีวรของท่าน ๆ จักไปไหน  เธอตอบ

อย่างนี้ว่า    ผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น     ภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น  จักทำจีวรให้

ผม    ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า    ไม่ควร    อาวุโส   อย่าไปเลย   พวกผม

จักช่วยทำจีวรให้  ณ   ที่นี้   เธอคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้    ณ ภายนอก

สีมานี้แหละ   จักไม่กลับ    แล้วให้ทำจีวรนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว      ประสงค์จะไปสู่ทิศ       จึงหลีกไป . . .

การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยตกลงใจ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

๓.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว       ประสงค์จะไปสู่ทิศ      จึงหลีกไป. . .

การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๒๓]  ๔.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  ประสงค์จะไปสู่ทิศ   จึงหลีกไป

แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร     เธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว     ภิกษุทั้งหลายถามว่า     อาวุโส

จำพรรษาที่ไหน    และส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน    เธอตอบอย่างนี้ว่า   ผมจำ

พรรษาในอาวาสโน้น   และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น  ภิกษุเหล่านั้น กล่าว

อย่างนี้ว่า อาวุโส   ท่านจงไปนำจีวรนั้นมา  พวกผมจักทำจีวรให้   ณ ที่นี้    เธอ

กลับไปสู่อาวาสนั้นแล้ว    ถามภิกษุทั้งหลายว่า    อาวุโส    ส่วนจีวรของผมอยู่ที่

ไหน  ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า   อาวุโส  ในส่วนจีวรของท่าน  เธอถือจีวรนั้น

ไปสู่อาวาสแห่งนั้น   ภิกษุทั้งหลายในระหว่างทางถามเธอว่า  อาวุโส  จักไปไหน

เธอตอบอย่างนี้ว่า   ผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น   ภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น  จักทำ

จีวรให้ผม   ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า  ไม่ควร  อาวุโส  อย่าไปเลย   พวกผม

จักทำจีวรให้  ณ ที่นี้  เธอคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

จักไม่กลับ   แล้วให้ทำจีวรนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยทำ

จีวรเสร็จ.

๕.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ประสงค์จะไปสู่ทิศ    จึงหลีกไป    แต่ยิ่ง

หวังได้ส่วนจีวร       เธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว       ภิกษุทั้งหลายถามว่า       อาวุโส

จำพรรษาที่ไหน    และส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน    เธอตอบอย่างนี้ว่า     ผม

จำพรรษาในอาวาสโน้น    และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น   ภิกษุเหล่านั้น

กล่าวอย่างนี้ว่า    อาวุโส     จงไปนำจีวรนั้นมา     พวกผมจักทำจีวรให้   ณ  ที่

นี้    เธอกลับไปสู่อาวาสนั้นแล้ว   ถามภิกษุทั้งหลายว่า  อาวุโส  ส่วนจีวรของผม

อยู่ที่ไหน   ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า   อาวุโส    นี้ส่วนจีวรของท่าน   เธอถือ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

จีวรนั้นไปสู่อาวาสแห่งนั้น     ภิกษุทั้งหลายในระหว่างทางถามเธอว่า     อาวุโส

จักไปไหน    เธอตอบอย่างนี้ว่า    ผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น    ภิกษุทั้งหลายใน

อาวาสนั้นจักทำจีวรให้ผม ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ไม่ควร อาวุโส อย่าไป

เลย  พวกผมจักทำจีวรให้  ณ  ที่นี้  เธอคิดอย่างนี้  ว่าจักไม่ให้ทำจีวรนี้    จักไม่

กลับ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยตกลงใจ.

๖.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ประสงค์จะไปสู่ทิศ    จึงหลีกไป     แต่

ยังหวังได้ส่วนจีวร     เธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว     ภิกษุทั้งหลายถามว่า      อาวุโส

จำพรรษาที่ไหน     และส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน    เธอตอบอย่างนี้ว่า    ผม

จำพรรษาในอาวาสโน้น    และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น   ภิกษุเหล่านั้น

กล่าวอย่างนี้ว่า     อาวุโส     จงไปนำจีวรนั้นมา     พวกผมจักทำจีวรให้   ณ

ที่นี้    เธอกลับไปสู่อาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า    อาวุโส    ส่วนจีวรของ

ผมอยู่ที่ไหน   ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า   อาวุโส   นี้ส่วนจีวรของท่าน   เธอ

ถือจีวรนั้นไปสู่อาวาสแห่งนั้น  ภิกษุทั้งหลายในระหว่างทางถามเธอนั้น ว่าอาวุโส

จักไปไหน     เธอตอบอย่างนี้ว่า      ผมจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น      ภิกษุทั้งหลาย

ในอาวาสนั้นจักทำจีวรให้ผม   ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า    ไม่ควร   อาวุโส

อย่าไปเลย  พวกผมจักทำจีวรให้ ณ ที่นี้   เธอคิดอย่างนี้ว่า  จักให้ทำจีวรนี้   ณ

ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ   แล้วให้ทำจีวรนั้น   จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น

ได้เสียหรือหาย   การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๒๔]   ๗.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ประสงค์จะไปสู่ทิศจึงหลีกไป

แต่ยังหวังจะได้จีวร      เธอนั้นไปสู่ทิศแล้ว      ภิกษุทั้งหลายถามว่า      อาวุโส

จำพรรษาที่ไหน     และส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน     เธอตอบอย่างนี้ว่า    ผม

จำพรรษาในอาวาสโน้น    และส่วนจีวรของผมก็อยู่ที่อาวาสนั้น    ภิกษุเหล่านั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

กล่าวอย่างนี้ว่า    อาวุโส    จงไปนำจีวรนั้นมา    พวกผมจักทำจีวรให้  ณ  ที่

นี้   เธอกลับไปสู่อาวาสนั้นแล้ว    ถามภิกษุทั้งหลายว่า   อาวุโส   ส่วนจีวรของ

ผมอยู่ที่ไหน  ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า  นี้ส่วนจีวรของท่าน  เธอถือจีวรนั้น

มาสู่อาวาสนั้น   เมื่อเธอมาถึงอาวาสนั้นแล้ว   ได้คิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรนี้

ณ ภายนอกสีมานี้แหละ จักไม่กลับละ  เธอให้ทำจีวรนั้นเสร็จ  การเดาะกฐินของ

ภิกษุนั้น  กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๘.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ประสงค์จะไปสู่ทิศจึงหลีกไป. . . .เธอคิด

อย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้     จักไม่กลับละ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยตกลงใจ.

๙.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ประสงค์จะไปสู่ทิศจึงหลีกไป . . . เธอคิด

อย่างนี้ว่า  จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับละ   เธอให้

ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย   การเดาะกฐินของ

ภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

หวังได้ส่วนจีวร  ๙  วิธี  จบ

 

ผาสุวิหาร  คือ  อยู่ตามสบาย  ๕  ข้อ

[๑๒๕]   ๑.   ภิกษุใดกรานกฐินแล้ว    ต้องการจะอยู่ตามสบาย   จึงถือ

จีวรหลีกไปด้วยตั้งใจว่า   จักไปสู่อาวาสชื่อโน้น    ถ้าในอาวาสนั้น   ความสบาย

จักมีแก่เรา   เราจักอยู่    ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา  เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น    ถ้า

ในอาวาลนั้น   ความสบายจักมีแก่เรา  เราจักอยู่  ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา   เรา

จักไปสู่อาวาสชื่อโน้น   ถ้าในอาวาสนั้น   ความสบายจักมีแก่เรา   เราจักอยู่   ถ้า

ความสบายไม่มีแก่เรา   เราจักกลับ   เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จัก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

ให้ทำจีวรผืนนี้  ณ ที่นี้แหละ    จักไม่กลับละ  เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การ

เดาะกฐินขางภิกษุนั้น   กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒.    ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ต้องการจะอยู่ตามสบาย   จึงถือจีวรหลีก

ไปด้วยตั้งใจว่า   จักไปสู่อาวาสชื่อโน้น   ถ้าในอาวาสนั้น  ความสบายจักมีแก่เรา

เราจักอยู่   ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา  เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น    ถ้าในอาวาสนั้น

ความสบายจักมีแก่เรา   เราจักอยู่    ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา   เราจักไปสู่อาวาส

ชื่อโน้น    ถ้าในอาวาสนั้น   ความสบายจักมีแก่เรา   เราจักอยู่   ถ้าความสบายไม่

มีแก่เรา    เราจักกลับ    เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักไม่ให้ทำจีวร

ผืนนี้   จักไม่กลับละ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยตกลงใจ.

๓   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ต้องการจะอยู่ตามสบาย   จึงถือจีวรหลีก

ไป   ด้วยตั้งใจว่า   จักไปสู่อาวาลชื่อโน้น    ถ้าในอาวาสนั้น  ความสบายจักมีแก่

เรา  เราจักอยู่  ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา  เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น    ถ้าในอาวาส

นั้น    ความสบายจักมีแก่เรา   เราจักอยู่    ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา    เราจักไปสู่

อาวาสชื่อโน้น    ถ้าในอาวาสนั้น   ความสบายจักมีแก่เรา    เราจักอยู่    ถ้าความ

สบายไม่มีแก่เรา   เราจักกลับ   เธออยู่นอกสีมาเกิดความติดอย่านี้ว่า   จักให้ทำ

จีวรผืนนี้   ณ ที่นี้ แหละ  จักไม่กลับละ  เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ  จีวรของเธอ

ที่ทำอยู่นั้น  ได้เสียหรือหาย    การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยผ้าเสียหาย

๔.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ต้องการจะอยู่ตามสบาย   จึงถือจีวรหลีก

ไป   ด้วยดังใจว่า   จักไปสู่อาวาสชื่อโน้น    ถ้าในอาวาสนั้น    ความสบายจักมีแก่

เรา   เราจักอยู่     ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา     เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น      ถ้าใน

อาวาสนั้น    ความสบายจักมีแก่เรา   เราจักอยู่    ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา  เราจัก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

ไปสู่อาวาสชื่อโน้น     ถ้าในอาวาสนั้น    ความสบายจักมีแก่เรา    เราจักอยู่    ถ้า

ความสบายไม่มีแก่เรา   เราจักกลับ   เธออยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้น

ทำจีวรเสร็จแล้ว   คิดว่าจักกลับ   จักกลับ   จนล่วงคราวกฐินเดาะ   ณ  ภายนอก

สีมา  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยล่วงเขต.

๕.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ต้องการจะอยู่ตามสบาย    จึงถือจีวรหลีก

ไป  ด้วยตั้งใจว่า  จะไปสู่อาวาสชื่อโน้น   ถ้าในอาวาสนั้น  ความสบายจักมีแก่เรา

เราจักอยู่   ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา   เราจักไปสู่อาวาสชื่อโน้น   ถ้าในอาวาสนั้น

ความสบายจักมีแก่เรา   เราจักอยู่    ถ้าความสบายไม่มีแก่เรา    เราจักไปสู่อาวาส

ชื่อโน้น    ถ้าในอาวาสนั้น  ความสบายจักมีแก่เรา   เราจักอยู่   ถ้าความสบายไม่

มีแก่เรา    เราจักกลับ    เธออยู่นอกสีมา    ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำเสร็จแล้ว

คิดว่าจักกลับ     จักกลับ     กลับมาทันกฐินเดาะ     การเคาะกฐินของภิกษุนั้น

พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

ผาสุวิหาร  คือ  อยู่ตามสบาย  ๕  ข้อ  จบ

 

ปลิโพธและส้นปลิโพธ

[๑๒๖]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     กฐินมีปลิโพธ  ๒ และสิ้นปลิโพธ  ๒.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อย่างไรเล่า   กฐินมีปลิโพธ  ๒  คือ   อาวาส.

ปลิโพธ   ๑   จีวรปลิโพธ ๑

 

ปลิโพธ ๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็อาวาสปลิโพธเป็นอย่างไร ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยนี้   ยังอยู่ในอาวาสนั้น   หรือ

หลีกไปผูกใจอยู่ว่าจักกลับมา   อย่างนี้แลชื่อว่าอาวาสปลิโพธ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็จีวรปลิโพธเป็นอย่างไร ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุในธรรมวินัยนี้   ยังไม่ได้ทำจีวร   หรือทำ

ค้างไว้ก็ดี   ยังไม่สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรก็ดี   อย่างนี้แลชื่อว่าจีวรปลิโพธ.

ก่อนภิกษุทั้งหลาย  กฐินมีปลิโพธ  ๒  อย่างนี้แล.

 

สิ้นปลิโพธ  ๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    อย่างไรเล่า    กฐินสิ้นปลิโพธ  ๒  คือสิ้นอาวาส

ปลิโพธ ๑ สิ้นจีวรปลิโพธ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็สิ้นอาวาสปลิโพธอย่างไร ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  หลีกไปจากอาวาสนั้น  ด้วย

สละใจ   วางใจ   ปล่อยใจ    ทอดธุระว่าจักไม่กลับมา    อย่างนี้แล    ชื่อว่าสิ้น

อาวาสปลิโพธ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็สิ้นจีวรปลิโพธเป็นอย่างไร ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุในธรรมวินัยนี้   ทำจีวรเสร็จแล้วก็ดี   ทำ

เสียก็ดี   ทำหายเสียก็ดี   ทำไฟไหม้เสียก็ดี   สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรก็ดี   อย่าง

นี้แล  ชื่อว่าสิ้นจีวรปลิโพธ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  กฐินสิ้นปลิโพธมี  ๒  อย่างนี้แล.

กฐินขันธกะ  ที่  ๗  จบ

ในขันธกะนี้มี  ๑๒   เรื่อง   และเปยยาลมุข   ๑๑๘

 

หัวข้อประจำขันธกะ

[๑๒๗]   ๑.   ภิกษุชาวปาไฐยรัฐ  ๓๐  รูป  จำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต

รัญจวนใจ  ออกพรรษาแล้วมีจีวรเปียกปอนมาเฝ้าพระพุทธชินเจ้า  ๒.  ต่อไปนี้

เป็นเรื่องกฐิน      คือได้อานิสงส์กฐิน  ๕ คือ:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

ก    เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา   ข.  เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบ

สำรับ   ค.  ฉันคณโภชน์ได้     ง.  เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา  จ. จีวรลาภ

อันเกิดในทีนั้น    เป็นของภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว.

๓  ญัตติทุติยกรรมวาจา  ๔.  อย่างนี้กฐินเป็นอันกราน  อย่างนี้ไม่เป็นอันกราน

คือ   กฐินกรานด้วยอาการ   เพียงขีดรอย ชัก  กะ  ตัด  เนา  เย็บ  ด้น   ทำลูกดุม

ทำรังคุม  ประกอบผ้าอนุวาต  ประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า   ดามผ้า   ย้อม  ทำ

นิมิต   พูดเลียบเคียงผ้าที่ยืมเขามา   เก็บไว้ค้างคืน   เป็นนิสสัคคิยะ   ไม่ได้ทำ

กัปปะพินทุ   นอกจากไตรจีวร  นอกจากจีวรมีขันธ์  ๕  หรือเกินกว่า   ซึ่งตัดดี

แล้วทำให้เป็นจีวรมีมณฑลนอกจากบุคคลกราน    กรานโดยไม่ชอบ    ภิกษุอยู่

นอกสีมาอนุโมทนากฐินอย่างนี้      พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าไม่เป็นอันกราน

๕.  กฐินกรานด้วยผ้าใหม่    ผ้าเทียมใหม่   ผ้าเก่า   ผ้าบังสุกุล  ผ้าตกตามร้าน

ผ้าที่ไม่ได้ท่านิมิต   ผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา   ไม่ใช่ผ้าที่ยืมเขามา   ไม่ใช่

ผ้าที่ทำค้างคืน   ไม่ใช่เป็นผ้านิสสัคคิยะ   ผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว   ผ้าไตรจีวร

ผ้ามีขันธ์  ๕  หรือเกินกว่า   ซึ่งตัดดีแล้วทำให้เป็นจีวรมีมณฑลเสร็จในวันนั้น

บุคคลกราน   กรานโดยชอบ   ภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนา   อย่างนี้ชื่อว่ากราน

กฐิน   ๖. มาติกาเพื่อเดาะกฐิน  ๘   ข้อ   คือ:-

๑.   กำหนดด้วยหลีกไป   ๒. กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ  ๓. กำหนดด้วย

ตกลงใจ  ๔. กำหนดด้วยผ้าเสียหาย   ๕. กำหนดด้วยได้ยินข่าว   ๖. กำหนดด้วย

สิ้นหวัง   ๗.   กำหนดด้วยล่วงเขต   ๘.  กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน.

๗. อาทายสัตตกะ  ๗  วิธี คือ:-

๑. ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วไปคิดว่าจักไม่กลับ      การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้นกำหนดด้วยหลีกไป    ๒. ถือจีวรไปนอกสีมา    คิดว่าจักทำ  ณ ที่นี้    จักไม่

กลับละ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ   ๓. ถือจีวรไปนอก

สีมา    คิดว่าจักไม่ให้ทำ   จักไม่กลับ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยตก-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

ลงใจ ๔.   ถือจีวรไปนอกสีมา  คิดว่าจักให้ทำจีวร   ณ ที่นี้  จักไม่กลับละ  กำลัง

ทำ  จีวรเสียหาย  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนด้วยผ้าเสียหาย   ๕. ถือจีวร

ไป   คิดว่าจักกลับ    ให้ทำจีวรนอกสีมา    ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว    ได้ยินข่าวว่า

ในอาวาสนั้น    กฐินเดาะแล้ว   การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยได้ยินข่าว

๖.  ถือจีวรไปคิดว่าจักกลับ   ไห้ทำจีวรนอกสีมา   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วอยู่ นอก

สีมาจนกฐินเดาะ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยล่วงเขท  ๗.  ถือจีวรไป

คิดว่าจักกลับ    ให้ทำจีวร ณ ภายนอกสีมาครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว   คิดว่าจักกลับ

จักกลับ  กลับทันกฐินเดาะ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้นพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

๘.  สมาทายสัตตกะมี  ๗  วิธี     ๙. อาทายฉักกะและสมาทายฉักกะ คือ ถือจีวรที่ทำ

ค้างไว้ไปอย่างละ  ๖ วิธี ในมีการเดาะ  กำหนดด้วยหลีกไป  ๑๐. อาทายภาณวาร

กล่าวถึงภิกษุถือจีวรไปนอกสีมาคิดว่าจักให้ทำจีวร มี  ๓ มาติกา คือ:-

๑.  กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ    ๒. กำหนดด้วยตกลงใจ   ๓. กำหนดด้วย

ผ้าเสียหาย  กล่าวถึงภิกษุถือผ้าหลีกไป   คิดว่าจักไม่กลับไปนอกสีมาแล้วคิดว่าจัก

ทำมี ๓ มาติกา คือ:-

๑.  กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ  ๒. กำหนดด้วยตกลงใจ   ๓. กำหนดด้วย

ผ้าเสียหาย  กล่าวถึงภิกษุถือจีวรหลีกไป  ด้วยไม่ได้ตั้งใจภายหลังเธอคิดว่าจักไม่

กลับ  มี  ๓  นัย   กล่าวถึงภิกษุถือจีวรไป  คิดว่าจักกลับ  อยู่นอกสีมา  คิดว่าจัก

ทำจีวร  จักไม่กลับ   ให้ทำจีวรเสร็จ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้นกำหนดด้วยทั้ง

จีวรเสร็จ   ด้วยตกลงใจ   ด้วยผ้าเสียหาย   ด้วยได้ยินข่าว   ด้วยล่วงเขท     ด้วย

เดาะพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย   รวมเป็น  ๑๕  ภิกษุนำจีวรหลีกไปและนำจีวรทีทำ

ค้างไว้หลีกไปอีก   ๔ วาระก็เหมือนกัน    รวมทั้งหมด  ๑๕  วิธี  หลีกไปด้วยสิ้น

หวัง ด้วยหวังว่าจะได้  หลีกไปด้วยกรณียะบางอย่าง  ทั้งสามอย่างนั้น   นักปราชญ์.

พึงทราบโดยนัยอย่างละ ๑๒  วิธี.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

๑๑.  หวังได้ส่วนจีวร  ผาสุวิหาร  คือ  อยู่ตามสบาย  ๕  ข้อ   ๑๒. กฐินมีปลิโพธ

และสิ้นปลิโพธ  นักปราชญ์พึงแต่งหัวขอคามเค้าความเทอญ.

หัวข้อประจำขันกะ   จบ

 

อรรถกฐินขันธกะ

เรื่องภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ

วินิจฉัยในกฐินขันธกะ  พึงทราบดังนี้:-

บทว่า    ปาเยฺยกา    มีความว่า    เป็นชาวจังหวัดปาเฐยยะ.    มีคำ

อธิบายว่า      ทางค้านทิศตะวันตก     ในแคว้นโกศล    มีจังหวัดชื่อปาเฐยยะ,

ภิกษุเหล่านั้น   มีปกติอยู่ในจังหวัดนั้น.  คำว่า  ปาเยฺยกา  นั้น  เป็นชื่อของ

พวกพระภัททวัคคิยเถระ    ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมพระบิดาของพระเจ้าโกศล     ใน

พระเถระ  ๓๐  รูปนั้น  รูปที่เป็นใหญ่กว่าทุก ๆ  รูป  เป็นพระอนาคามี   รูปที่

ด้อยกว่าทุก  ๆ  รูปเป็นพระโสดาบัน;    ที่เป็นพระอรหันต์   หรือปุถุชน  แม้

องค์เดียวก็ไม่มี.

บทว่า  อารญฺถา   มีความว่า   มีปกติอยู่ป่า   ด้วยอำนาจสมาทาน

ธุดงค์,  ไม่ใช่สักว่าอยู่ป่า.   ถึงในข้อที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นต้น

ก็มีนัยเหมือนกัน.

อันที่จริง   คำว่า   มีปกติอยู่ป่า  นี้   ท่านกล่าวด้วยอำนาจธุดงค์ที่เป็น

ประธาน  แต่ภิกษุเหล่านี้   สมาทานธุดงค์ทั้ง  ๑๓ ทีเดียว.

-http://www.tripitaka91.com/91book/book07/201_250.htm-

http://www.tripitaka91.com/91book/book07/201_250.htm
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 09:54:23 pm »
อภัยทาน คืออย่างไร ? (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
-http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6185-

อภัยทาน คืออย่างไร ?

อภัยทาน ก็คือการยกโทษให้
คือการไม่ถือความผิดหรือการล่วงเกินกระทบกระทั่งว่าเป็นโทษ

อภัยทานนี้เป็นคุณแก่ผู้ให้ ยิ่งกว่าแก่ผู้รับ เช่นเดียวกับทานทั้งหลายเหมือนกัน คืออภัยทานหรือการให้อภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้นในใจผู้ใด จะยังจิตใจของผู้นั้นให้ผ่องใสพ้นจากการกลุ้มรุมบดบังของโทสะ

อันใจที่แจ่มใส กับใจที่มืดมัว ไม่อธิบายก็น่าจะทราบกันอยู่ทุกคนว่าใจแบบไหนที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของ ใจแบบไหนที่ยังความทุกข์ให้เกิดขึ้น และใจแบบไหนที่เป็นที่ต้องการ ใจแบบไหนที่ไม่เป็นที่ต้องการเลย

ความจริงนั้น ทุกคนที่สนใจบริหารจิต จะต้องสนใจอบรมจิตให้รู้จักอภัยในความผิดทั้งปวง ไม่ว่าผู้ใดจะทำแก่ตน แม้การให้อภัยจะเป็นการทำได้ไม่ง่ายนัก สำหรับบางคนที่ไม่เคยอบรมมาก่อน แต่ก็สามารถจะทำได้ด้วยการอบรมไปทีละเล็กละน้อย เริ่มแต่ที่ไม่ต้องฝืนใจมากนักไปก่อนในระยะแรก

ตัวอย่างเช่น เวลาขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารคอยขึ้รถอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะมีผู้เบียดแย่งขึ้นหน้า ทั้งๆ ที่ยืนอยู่ข้างหลัง ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ให้ถือเป็นโอกาสอบรมจิตใจให้รู้จักอภัยให้เขาเสีย เพราะเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ควรถือโกรธกันหนักหนา เป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกินควรจะอภัยให้กันได้ แต่บางที่ไม่ตั้งใจคิดเอาไว้ก็จะไม่ทันให้อภัยจะเป็นเพียงโกรธแล้วจะหายโกรธไปเอง

โกรธแล้วหายโกรธเอง กับโกรธแล้วหายโกรธเพราะให้อภัย ไม่เหมือนกัน โกรธแล้วหายโกรธเองเป็นเรื่องธรรมดา ทุกสิ่งเมื่อเกิดแล้วต้องดับ ไม่เป็นการบริหารจิตแต่อย่างใด แต่โกรธแล้วหายโกรธเพราะคิดให้อภัย เป็นการบริหารจิตโดยตรง จะเป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้น ดีขึ้น มีค่าขึ้น

ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของจิต จึงควรมีสติทำความเพียรอบรมจิตให้คุ้นเคยต่อการให้อภัยไว้เสมอ เมื่อเกิดโทสะขึ้นในผู้ใดเพราะการปฏิบัติล้วงล้ำก้ำเกินเพียงใดก็ตาม พยายามมีสติพิจารณาหาทางให้อภัยทานเกิดขึ้นในใจให้ได้ ก่อนที่ความโกรธจะดับไปเสียเองก่อน

ทำได้เช่นนี้จะเป็นคุณแก่ตนเองมากมายนัก ไม่เพียงแต่จะทำให้มีโทสะลดน้อยลงเท่านั้น และเมื่อปล่อยให้ความโกรธดับไปเอง ก็มักหาดับไปหมดสิ้นไม่ เถ้าถ่านคือความผูกโกรธมักจะยังเหลืออยู่ และอาจกระพือความโกรธขึ้นอีกในจิตใจได้ในโอกาสต่อไป

ผู้อบรมจิตให้คุ้นเคยอยู่เสมอกับการให้อภัย แม้จะไม่ได้รับการขอขมา ก็ย่อมอภัยให้ได้ ในทางตรงกันข้าม ผู้ไม่เคยอบรมจิตใจให้คุ้นเคยกับการให้อภัยเลย โกรธแล้วก็ให้หายเอง แม้ได้รับการขอขมาโทษ ก็อาจจะไม่อภัยให้ได้ เป็นเรื่องของการไม่ฝึกใจให้เคยชิน

อันใจนั้นฝึกได้ ไม่ใช่ฝึกไม่ได้ ฝึกอย่างไดก็จะเป็นอย่างนั้น ฝึกให้ดีก็จะดี ฝึกให้ร้ายก็จะร้าย...

:: การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่
:: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 09:59:42 pm »
อภัยทาน มีวิธีการปฏิบัติอย่างไร ?
-http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=479.0-

อภัยทาน นั้น คือการยกโทษ หรือ การไม่เอาเรื่อง ( ใช่หรือป่าวตามความคิดของดิฉัน )

=======================================================
หลาย ๆ ครั้ง ที่ดิฉัน พบปัญหา ไม่ว่าจะเกิด จากเจตนา หรือไม่เจตนา ของคนรอบข้าง หรือมีแม้ของตัวเอง
ทุกครั้ง ดิฉัีน ก็จะคุมอารมณ์ ได้บ้าง หรือ ไม่ได้บ้าง แต่สุดท้ายก็จะมานั่งนึกได้ ว่าควรจะอภัย หรือ ยกโทษ

ที่นี้การให้ อภัย หรือ ยกโทษ ให้นั้น มีวิธีขั้นตอนปฏิบัติจริง ๆ ในพระพุทธศาสนาอย่างไร ดิฉันไม่ค่อยทราบ
บางครั้งก็ นึกการแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา บ้าง หรือ กล่าวคำอโหสิกรรมบ้าง

แต่บางอย่าง เมื่อเราได้ทำลงไปอย่างนั้น ใจไม่ก็ยังไม่ยอมให้อภัย เพราะบางเรื่องเป็นเรื่องที่พิจารณาแล้วให้อภัยไม่ได้ หรือให้ อภัยไปแล้ว เราก็ยังถูกเบียดเบียน เหมือนเดิม

ดังนั้นเวลาพระท่านสอน การให้อภัย เป็นทาน นั้นทำอย่างไร ถึงจะเป็นขั้นตอนที่ถูกต้อง

เนื่องด้วย เป็นเรื่องของใจ จะใ่ส่ให้เป็นทาน ทำอย่างไร ?

ทานกุศลแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ
1. อามิสทาน
2.ธรรมทานและอภัยทาน
ดังจะได้อธิบายโดยลำดับดังต่อไปนี้

อามิสทาน คืออะไร
การบริจาคหรือการเสียสละ ทรัพย์สินเงินทองข้าวของ
ตลอดทั้งกำลังกายและสติปัญญาความรู้ความ สามารถของตนเอง
เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ด้วยคุณธรรมคือ เมตตา กรุณา มุทิตา พรหมวิหาร
การเสียสละวัตถุสิ่งของหรือสิ่งที่ เนื่องกันเช่นกำลังกาย
สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ เป็นต้น เหล่านี้เรียกว่า อามิสทาน
เมื่อเราบริจาคหรือเสียสละไปแล้ว เป็นกุศลคุณความดี มีอานิสงส์หรือมีผลอย่างไร ?
มีผลเกิดขึ้นทั้งใน ทางจิตใจของเราและมีผลที่เรียกว่าเป็นวิบาก
คือจะมีผลของกรรมนี้ให้ บังเกิดผลแก่ตน ถ้าจะว่าถึงคุณความดีคือทานหรือจาคะ
คือการเสียสละ เช่นนี้ เมื่อมีการเสียสละไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น
ประการแรก ที่เห็นชัดเจนคือ ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีจิตใจกว้างขวาง
เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา แก่สรรพสัตว์โลกอื่น
คุณธรรมนี้เกิดขึ้นแล้วในใจและมี ปกติเป็นผู้มีจิตใจที่ถูกชำระความตระหนี่ เหนียวแน่น
ความเห็นแก่ตัว จำเพาะตัว จำเพาะตน จำเพาะหมู่เหล่าให้หมดสิ้นไป
การ ให้ธรรมและการให้อภัยเป็นทาน ชื่อว่า ธรรมทานและอภัยทาน
ในพระธรรมบท พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ สพพทานํ ธมมทานํ ชินาติ ธรรมทานชนะการให้ทานอื่นทั้งปวง

อย่าง ไรจึงเรียกว่า ธรรมทาน ?
ปฏิบัติธรรมเองเพื่อชำระกิเลส ออกจากกาย วาจา ใจของตนเอง
ตั้งตนอยู่ในคุณความดี เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เรียกว่าแจกธรรมะ
ซึ่ง ตรงกันข้ามกับผู้ที่ดำเนินชีวิตประจำวันพูดแต่คำพูดไม่ดี ทำแต่กรรมที่ไม่ดี
คิดแต่ความคิดที่ไม่ดีมาตลอด ประพฤติปฏิบัติตัวอย่างที่เลวแก่ผู้อื่น
ชื่อว่าแจกอธรรม ธรรมทานต้องปฏิบัติเองเพื่อละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส
เพื่อชำระกิเลส หยาบ กลาง และละเอียดๆ ยิ่งขึ้นไปถึงวิสุทธิ
คือ ความบริสุทธิ์แห่งใจ แล้วจึงจะพบสันติสงบ
และจะถึงนิพพานคือความดับ กิเลสไม่มีเหลือ
จะถึงนิพพานต้องเป็นลำดับจนถึงที่สุดอย่างถาวรนี่ เรียกว่าธรรมทาน
เบื้องต้นเป็นปฐมคือทำความดี ละชั่ว ทำใจให้ใสเองทั้งหมด และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น
แล้วยังให้การแนะนำสั่งสอนอบรมผู้อื่น'
ให้ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามพระธรรม พระวินัย
และสนับสนุนอุปการะแก่ความประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเช่น นั้นของบุคคล
หรือคณะบุคคล ผู้ที่กำลังเพียรประพฤติปฏิบัติธรรม
เพื่อ ชำระกิเลสแห่งทุกข์นั้นให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
ตรงนี้ก็ยิ่งด้วยธรรม ทานไปอีก

อย่างไรเรียก อภัยทาน ?
ก็เมื่อบุคคลเจริญธรรมขึ้นด้วยทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล
เพื่อ ละชั่ว ทำดี ฝึกอบรมจิตใจให้ผ่องใสและอบรมปัญญาให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นเพียงใด
ความเข้าใจ ความซึ้งใจในบาปบุญคุณโทษก็เจริญมากขึ้น
และ พรหมวิหารธรรมอันมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็เจริญขึ้นเป็นบุญบารมี
เป็นเมตตาบารมี และ อุเบกขา บารมี อุปบารมี และ ปรมัตถบารมียิ่ง ขึ้นเพียงนั้น
ความเห็นอกเห็นใจเข้าใจในความ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ของสัตว์โลก
ผู้ยัง มีจักษุอันมืดบอดด้วยความหลงผิด จึงคิดผิด พูดผิด ทำผิดๆ
ในเราก็มีมากขึ้น ความรักปรารถนาให้สัตว์โลกเป็นสุข
ด้วยเมตตาพรหมวิหารธรรม และความเวทนาสงสาร
ปรารถนาให้สัตว์โลกให้พ้นจากความทุกข์ด้วยกรุณา พรหมวิหารธรรม
แม้จะถูกกร้าวร้าว ปรามาส ล่วงเกิน และถูกก่อกรรมทำเข็ญแก่ตนมาแล้วมาก
จากทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตเพียงใด ย่อมไม่ติดใจโกรธพยาบาทยิ่งขึ้น
และ สามารถอดทน อดกลั้นต่อความก้าวร้าว ปรามาส ล่วงเกิน ความเบียดเบียน
จากสัตว์โลกทั้งหลายผู้ล่วงเกิน และผู้เบียดเบียนโดยรอบทั้งหลายเหล่านั้น
ได้มากขึ้นเพียงนั้น จนถึงวางใจเป็นอุเบกขาไม่ยินดี ยินร้ายได้มั่นคง
นี้ชื่อว่า อภัยทาน จัดเป็นทานอันเยี่ยมยอดไปอีก

ขอขอบคุณ http://www.dhammakaya.org
http://lovesuck.exteen.com/20051207/entry
-----------------------------------------------------

อภัยทานคือคำสอนของ พระพุทธเจ้า


 ท่านสาธุชนทั้งหลายเมื่อเอ่ยถึง เรื่องทานคนส่วนมากมักจะเข้าใจในทำนองเดียวกันว่าก็คือการให้เงินให้ทองให้ ข้าวของสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคเท่านั้น แต่อันที่จริงทานมิได้หมายเอาเพียงเท่านี้ การให้แบบนี้ในพระพุทธศาสนาเรียกว่าอามิสทาน


       ยังมีการ ให้อย่างที่สองคือการให้ความรู้ความเข้าใจ การให้คำปรึกษา การแนะนำแนะแนวในเรื่องต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตเพราะว่าโดยปกติแล้วคนปกติเราที่จะเก่งไปเสียทุกเรื่องทำ ได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องอาศัยการชี้แนะให้คำปรึกษาจากคนอื่นนั้นคงจะมีน้อย เพราะโดยที่จริงแล้วคนเราจะถนัดบางอย่างหรือเก่งบางอย่างแต่บางอย่างก็ไม่ ได้เก่งไม่ถนัดเลยต้องอาศัยคนอื่นจะทำงานหรือเรื่องนั้น ๆ ให้เสร็จลงได้ การให้ความรู้นี้ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าธรรมทาน


      อามิสทานช่วยแก้ปัญหาเรื่องความขัดสนยากจนในด้านของกิน ของใช้ได้ ธรรมทานช่วยแก้ปัญหาได้หลายด้านยิ่งใหญ่ที่สุด ก็คือแก้ปัญหาเรื่องภพชาติการเวียนว่ายตายเกิดได้


       แต่ ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสังคมมนุษย์ปัจจุบันก็คือปัญหา การทะเลาะแก่งแย่งแบ่งพรรคแบ่งพวกขาดความสามัคคีจะเอาแพ้เอาชนะกันจนอีกฝ่าย หนึ่งสูญพันธุ์ไปจากโลกจึงจะยอมเลิกราปัญหาแบบนี้ต้องใช้อภัยทานจึงจะแก้ไขได้

จะขอยกตัวอย่างเรื่องราวใน พระพุทธศาสนาที่มีการทะเลาะแก่ง แย่งกันจนด่าทอกันและเตรียมพร้อมที่จะรบราฆ่าฟันกันในหมู่พระประยูร ญาติของพระพุทธองค์ในเรื่องการแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อทำการเกษตร


พระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสห้ามโดยสรุปก็คือทั้งสองฝ่ายคิดถึงเหตุผลแล้วรู้ว่าถ้า การเกิดฆ่ากันก็จะทำให้เกิดความเสียหายมากในที่สุดแล้วก็ยอมอภัยให้กันได้ เหตุการณ์ก็จบลงด้วยดีไม่มีใครต้องเดือดร้อนล้มหายตายจาก มีทานอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นทานที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ทานทั้งสองข้างต้น นั้นก็คืออภัยทาน หมาย ถึงการให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเคืองไม่จองเวรจองกรรมต่อใครๆบางครั้งบาง เหตุการณ์อภัยทานนี้อาจจะมีความยิ่งใหญ่และสำคัญมากกว่าทานทั้งสองเสียด้วย ซ้ำ เพราะเป็นที่มาแห่งทานทั้งสองนั้นได้


ถ้าไม่ให้ อภัยแล้วไหนเลยจะให้ข้าวของเงินทองช่วยเหลือพวกศัตรูหรือผู้ที่ตนเกลียดได้ ถ้าไม่ให้อภัยแล้วไหนเลยจะให้ความรู้ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์แก่พวกคนที่ เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับตนเองได้


      แต่ที่กล่าว อย่างนี้มิใช่จะต้องการไปขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าสพฺพทา นํ ธมฺมทานํ ชินาติ แปลว่าการให้ธรรมคือความรู้ย่อมชนะการให้สิ่งทั้งปวง  และมิใช่ว่าทานทั้งสองนั้นจะไม่มีประโยชน์

       ที่จริงแล้ว การให้อภัยเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไปสำหรับกัลยาณชนคนดีงามทั้งหลาย แต่การให้อภัยนั้นต้องมี เหมือนกันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือถ้าฝ่ายหนึ่งให้อภัยแล้วอีกฝ่ายหนึ่งยังจ้องที่จะทำลายล้างผลาญกันอยู่ การให้อภัยมันก็เกิดไม่ได้
 
มีเรื่องแปลกอยู่สำหรับ มนุษย์ปุถุชนทั่วไปที่ต้องการให้คนอื่นให้อภัยแก่ตนเองไม่ต้องมาโกรธไม่ต้อง เกลียดไม่ต้องคิดทำร้ายไม่ต้องมาเบียดเบียนตนถึงแม้ตนจะไปฆ่าเขาก่อนทำร้าย ทำลายไปด่าไปว่าเขาก่อนก็ตามหรือแม้เรื่องที่ตนทำผิดต่าง ๆ ก็ตามจะมากน้อยอย่างไรก็ต้องการให้คนอื่นอภัยให้ แต่ถึงคราวที่ตนจะต้องให้อภัยคนอื่น บ้างกลับทำไม่ได้ คือจะคิดว่าตนเองถูกหมดคนอื่นผิดหมดแล้วอภัยทานจะเกิดได้อย่างไร

แต่อีกเรื่องคือเรื่องที่พระ เจ้าวิทูฑภะฆ่าล้างเผ่าเจ้าศากยะสาเหตุมาจากการถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม จากเจ้าศากยะในเรื่องชาติกำเนิดเรื่องนี้พระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงห้ามกองทัพ พระเจ้าวิทูฑภะถึงสองครั้งสองครา แต่เมื่อถึงครั้งที่สามทรงเห็นว่า มันเป็นเรื่องของกรรมเก่าของพวกเจ้าศากยะไม่อาจจะทรงห้ามได้ จำเป็นต้องที่จะให้เป็นไปตามกรรม สุดท้ายแล้วเพราะไม่มีอภัยทานจึง เกิดการนองเลือดต้องล้มหายตายจากกันจำนวนมาก


       ผู้ที่เป็น ตัวอย่างในเรื่องอภัยทานคงไม่มีใครเกินพระพุทธเจ้า แม้อดีตชาติที่ผ่านมาจะกี่ร้อยกี่พันชาติก็ตามถึงจะถูกพระเทวทัตจองเวรทำ ร้ายขนาดไหนก็ตาม แม้ในปัจจุบันที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วพระเทวทัตก็คงตามทำร้ายทำลายพระ พุทธเจ้าเหมือนเดิมจนวาระสุดท้ายพระเทวทัตก็ถูกแผ่นดินสูบ ก็ไม่ปรากฏแม้แต่นิดเดียวว่า พระพุทธเจ้าทรงผูกเวรจองเวรกับพระเทวทัต ทรงให้อภัยได้เสมอ
ถ้าจะคิดง่าย ๆ ในเรื่องอภัยทาน เราในฐานะเป็นชาวพุทธนับถือพระพุทธเจ้าศึกษาเรียนรู้ธรรมมามาก


การ อภัยทานเป็นความประพฤติที่คนประเสริฐที่สุดในโลกคือพระพุทธเจ้าทรงประพฤติ เป็นแบบอย่างมาแล้ว

พวกเราจะให้อภัยเพราะถือว่าได้ทำตามคำสอนของ พระพุทธเจ้าเราก็จะเป็นคนประเสริฐเหมือนอย่างพระองค์ท่านได้

      หรือเราจะมาคิดถึงส่วนรวมที่จะต้องมาเสียหายเพราะการทะเลาะวิวาท กันของพวกเราก็พอจะให้อภัยหยุดทะเลาะกันได้

      หรือไม่ก็มาคิดถึงเรื่องเวร กรรม เมื่อเราทำกรรมกับเขาสักวันหนึ่งเขาก็ต้องทำกับเราคืนบ้างซึ่งมันอาจจะ แรงกว่าที่เราทำกับเขาก็ได้ หรือต้องไปตามใช้เวรกรรมกันอย่างไมมีที่สิ้นสุด

      หรือมาคิดถึงมรณะคือความตาย ซึ่งต่างคนก็ต่างจะตายอยู่แล้วทำไมต้องมาทะเลาะกันชิงกันทำเรื่องไม่ดี  ไม่ใช่การแข่งกันทำความดี ก็พอที่จะให้อภัยกันได้


       ท่าน สาธุชนอภัยทานเป็น เรื่องดีเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่กำจัดเวรภัยได้จริง ถ้าท่านไม่อยากมีเวรมีภัยต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป ท่านต้องรู้จักการให้อภัย ด้วยความคิดว่า บุญบาปมีจริง ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ทำกรรมได้กรรมทำเวรได้เวร


ขอกราบขอบพระคุณ  พระศรีรัชมงคลบัณฑิต  ผู้เขียนบทความ
อาจารย์ประจำสังกัดคณะศาสนา และปรัชญา มมร.
http://gotoknow.org/blog/dhammakaya-16/216031
----------------------------------------------------

อภัยทานเป็นการทำทานอัน ประเสริฐ

อะวัชเช วัชชะมะติโน วัชเช จะ อะวัชชะทัสสิโน
มิจฉาทิฏฐิสะมาทานา สัตตา คัจฉันติ ทุคคะติง

เมื่อหมู่ชนพวกใดใจคิดผิด
วิปริตจากธรรมคำสั่งสอน
ไม่รู้โทษรู้คุณบุญบาปจร
จึงสับสนสำส่อนเสียสัมมา
เขาจึงถึงทุกข์มหันต์ในบั้นปลาย
จะโชคร้ายแดดิ้นสิ้นยศฐา
ต้องลำบากยากเข็ญเห็นทันตา
ในโลกหน้ามีนรกไว้หมกตน

กวีโดย..พระราชกวี วัดราชาธิวาส

การอภัยทาน

      อภัยในที่นี้ก็หมายถึงทานอย่างที่สอง เรียกว่า อภัยทาน แม้สิ่งที่เรียกว่า“ อภัยทาน ”นี้ ก็ต้องมีปฏิคาหก มีผู้รับเหมือนกัน อภัยทาน หมายถึง ให้อภัย คำว่า อภัย นี้แปลว่า ไม่ต้องกลัว ให้อภัย คือเราให้ความไม่ต้องกลัวแก่บุคคลนั้น แปลว่า บุคคลนั้นไม่ต้องกลัวเรา นี่คือให้อภัย ทีนี้บางคนอาจจะคิดว่า นี้มันไม่ใช่ให้ทาน.... นี่มันไม่รู้ เขาพูดไปทั้งที่ไม่รู้การให้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทาน แต่เขาเรียกว่า “ อภัยทาน ”เป็นสิ่งที่ให้กันได้ ให้ได้ทั้งทางกาย ให้ได้ทั้งทางวาจา ให้ได้ทั้งทางจิตใจ ทางร่างกาย เขามาขอขมาขออภัยเราก็รับ ทางวาจา บอกอโหสิกรรม ทางจิตใจ เราก็สลัดความโกรธ ความอาฆาตจองเวรอย่างนี้ก็เรียกว่า“ อภัยทาน ” ทั้งนั้นมีได้ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ

     ทีนี้แยกประเภทให้เห็นชัดว่าอภัยทานนี้ อย่างน้อยก็มีอยู่สัก ๓ อย่าง อภัยทานอย่างแรกคือ การให้อภัยโทษ ให้ขมาโทษ คือยอมรับการขมาโทษ เรียกว่า ให้อภัยโทษ รับการขอขมานี่ เข้าใจกันดีแล้วไม่ต้องอธิบายก็ได้ อย่างที่สอง เราไม่เบียดเบียน ไม่ประทุษร้ายใครนั่นแหละ คือให้อภัยทานเหมือนกัน เราจงเป็นอยู่อย่างไม่เบียดเบียน อย่างไม่ประทุษร้ายใคร ที่เขาเรียกกันว่า “ศีล” ศีล นั่นแหละคือ อภัยทาน เราไม่ประทุษร้าย ไม่เบียดเบียนแก่ชีวิตแก่ร่างกาย หรือแก่น้ำใจ ไม่เบียดเบียนเนื้อตัวของเขา ไม่เบียดเบียนจิตใจของเขา ไม่ทำลายชีวิตของเขาทุกระดับ นับตั้งแต่สัตว์เดรัจฉานขึ้นมา จนถึงมนุษย์ จนกระทั่งเทวดา หรือพรหมอะไร

ถ้ามันจะมี แปลว่าสิ่งที่มีชีวิต มีความรู้สึกนึกคิดแล้ว เราไม่เบียดเบียนให้เขารู้สึกกระทบกระทั่งเป็นทุกข์นี้เรียกว่า ให้ความไม่เบียดเบียน ความไม่ประทุษร้าย อย่างที่สาม แผ่เมตตาจิตอยู่เป็นปกติ ทุกวัน ทุกคืน ทุกลมหายใจเข้าออก นี้ก็คือ อภัยทาน นึกดูแล้วก็น่ารวย ในข้อที่ว่าอภัยทานนี้ไม่ต้องลงทุนสักสตางค์หนึ่งก็ได้ ต้องเสียหลายแสนนะ แต่ว่าทำอภัยทานนี้ ไม่ต้องให้สตางค์สักสตางค์หนึ่งก็ทำได้ แล้วยังจะมีผลสูงกว่าเสียด้วย

     อนึ่ง ขอให้รู้ไว้ว่า อภัยทานนี่มันทำยากกว่าที่จะให้วัตถุ เพราะมันเป็นเรื่องจิตใจมากขึ้นไปอีก คนถือตัว ใครมาขอขมาก็ไม่ยอมให้ แถมทำผู้อื่นเดือดร้อนอยู่เรื่อย ไม่รักผู้อื่น ไม่เห็นใจผู้อื่น นี่เรียกว่า ไม่มีอภัยทาน ขอให้ตัดสินใจแน่ลงไปว่า เรานี้ตั้งแต่วันนี้ไป จะสะสางเรื่องอภัยทานนี้ให้เป็นชิ้นเป็นอัน สำหรับวัตถุทานก็ทำมามากแล้ว แต่เรื่องอภัยทานนี้ดูยังโหรงเหรง นี่ขอให้ไปชำระสะสาง คือทำให้มันมีขึ้น ให้มันครบถ้วน ให้มันถูกต้องว่า

๑. ให้อภัยโทษ ยอมรับขมา
๒. ไม่เบียดเบียน ไม่กระทบกระทั่ง ไม่ประทุษร้ายใครหมด
๓. อยู่ด้วยจิตที่แผ่เมตตา ทั้งกลางวัน กลางคืน
     ทั้งหมดนี้ ก็เป็นอภัยทาน

     เจริญในธรรมครับ /***
ที่มา http://piggyoui.multiply.com/journal/item/6
http://www.kroobannok.com/blog/16403

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ทาน ศีล ภาวนา
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 10:02:18 pm »
อภัยทาน มีวิธีการปฏิบัติอย่างไร ?
-http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=479.0-


อภัยทาน  รักบริสุทธิ์

ชีวิตคือการลงทุน
 ชีวิตคือการลงทุน  ตัวชีวิตคือต้นทุน   สิ่งที่ได้มาหลังจากชีวิตคือกำไรทั้งหมด  การเกิดมาในโลกนี้  เหมือนการมาเที่ยว  หรือไปเที่ยวต่างประเทศ  เราชื่นชมได้ทุกอย่างที่เห็น  แต่เมื่อจะเดินทางกลับจะต้องวางทุกอย่างไว้ที่เดิม  เพราะนั่นเป็นสมบัติของแผ่นดินนั้นเก็บเอาเพียงความสุข  ความเบิกบานใจ  ไปติดตัวกลับบ้านก็พอ  ชีวิตในโลกนี้มีทั้งกำไรที่เป็นสินทรัพย์และกำไรที่เป็นอริยทรัพย์  สินทรัพย์เราทิ้งไว้ให้เป็นสมบัติของโลกต่อไป  ให้คนอื่นชื่นชมด้วย  หากเรามีโอกาสกลับมาเที่ยว (เกิดใหม่) อีก  เราก็มีโอกาสได้ชื่นชมอีก  อริยทรัพย์  คือ บุญ  ความสุข  ความเบิกบานใจ  อิ่มใจ  พอใจ  เป็นสมบัติแท้ของเราตามเราไปได้ทุกแห่งหน

 การลงทุนให้ได้กำไร  คือหัดทำความพอใจในสิ่งที่เรามีความโชคร้ายของมนุษย์  คือการไม่รู้ว่าตนเองโชคดีทุกชีวิตล้วนมีภัย  ภัยของชีวิตอาจเกิดขึ้นได้ทุกเสี้ยววินาที  ภัยที่เกิดจากภายนอก  ไม่ร้ายแรงเท่ากับภัยภายในภัยที่ผู้อื่นสร้างขึ้น  กระทบเราน้อยกว่าภัยที่เราสร้างขึ้นเอง  บางคนทำผิดแล้ว  กลับมานั่งเสียใจในภายหลังก็บ่อย  ภัยทั้งหลายล้วนเป็นยาพิษ  ที่ปลิดชีวิตจิตใจเราได้ทั้งสิ้น

 มนุษย์อื่นทำลายเรา  ก็ทำได้เพียงขณะหนึ่ง  แต่จิตที่ตั้งไว้ผิดจะทำลายเราข้ามภพชาติ  ด้วยเหตุนี้  ท่านจึงสอนเรื่อง “อภัยทาน” คือการยกโทษ  แสดงอโหสิกรรมต่อกันไทยเรามีประเพณีอย่างหนึ่งคือ  เมื่อจุดธูปขอขมาศพ  ก็จะขออโหสิกรรมต่อกัน  คืออย่าได้มีเวรต่อกันในภพหน้า  ให้ทุกอย่างจบลงที่ภพชาตินี้  แม้ศัตรูคู่อาฆาตก็ต้องอโหสิกรรมต่อกัน

 บางครั้ง  พิธีสำคัญในชีวิต  เรามักจะไปขอพรผู้ใหญ่  และกล่าวว่ากรรมใดที่เราได้ล่วงเกิน  ขอให้ท่านยกโทษให้  คือให้สิ่งที่เราทำเป็นอโหสิกรรม  ทำให้ใจเราว่างเพียงพอเพื่อรองรับความดี  ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่  เช่น  พิธีบวช  เป็นต้น

 การแสดงอภัยทานเป็นการชำระใจ แม้จะดูพูดง่าย  แต่ก็ทำได้ยาก  หากไม่ฝึกทำจนเป็นปกติ  เพื่อให้เข้าใจง่ายและอยากทำให้ได้  ขอให้เรามาพิจารณาเหตุผล  ถึงความต่อเนื่องของผลกรรมที่มีผลข้ามภพข้ามชาติว่า  ให้ผลเผ็ดร้อนเพียงใด  และยังเป็นผลที่เราหนีไม่ได้อีกด้วย

 เราต้องถามตนเองก่อนว่า  เราต้องการยุติการเผล็ดผลของกรรมกับคนๆ นั้นเพียงภพนี้  หรือต้องการจะพบเขา  จะเจอเขาอีกต่อไป  เราต้องการจะยุติปัญหาเหล่านี้เพียงภพชาตินี้  หรือต้องการลากยาวไปถึงภพชาติข้างหน้า  เรามีสิทธิเสรีในตัวเรา

บางคนรักมาก  หลงมาก  เพราะเขาดีมาก  ก็ปรารถนาให้พบกันทุกภพทุกชาติ  บางคนก็อธิษฐานไม่ขอร่วมเดินทาง  แต่ก็ไม่ยกโทษ  ในที่สุดผลของการไม่ยกโทษ  คือไม่ยอมให้อภัย  ก็เหมือนการผูกสิ่งที่เราไม่ชอบไว้ที่เอวตนเองตลอดเวลา

 การให้อภัย  จะทำใหเราสามารถยุติปัญหาต่างๆ  ได้   เหมือนคนล้างแก้วน้ำสะอาด  ทำให้เหมาะสมที่จะรองรับน้ำบริสุทธิ์ที่เทลงไปใหม่  เหมือนการโยนของที่เราไม่ชอบทิ้งเสีย  โดยไม่ต้องเสียดาย
 การให้อภัย  คือการแสดงกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด   อภัยทาน  เวลาจะให้  ไม่ต้องไปขอใคร  ไม่เหมือนใครมาของเนเรา  เราต้องควักกระเป๋าให้  แต่ให้อภัย  เราไม่ต้องหาจากไหน  และไม่รู้สึกว่าเป็นการศูญเสีย

 ขอให้เราภูมิใจ  เมื่อมีใครมาขอโทษ  เมื่อมีใครให้อภัยเรา  หรือเมื่อสำนึกได้ว่า  เราได้ทำอะไรผิดพลาดไป  ก็ขอโทษกัน  การขอโทษหรือการให้อภัย  มิใช่การเสียหน้า  หรือเสียรู้  มิใช่การได้เปรียบเสียเปรียบแต่อย่างใด  หากแต่เป็นการชำระใจให้สะอาด  เหมือนภาชนะสกปรก  ก็ชำระล้างให้สะอาด
 ใครจะคิดอย่างไรมิใช่ประเด็น  แต่สำหรับเราผู้แสดงออกว่า  เราให้อภัยในเรื่องนี้ต่อบุคคลผู้นี้แล้ว  นั่นเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะสิ่งนั้นจะถูกบรรจุลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์คือจิตของเราทันที

 การผูกอาฆาต  ความพยาบาท  ความอิจฉา  โกรธ  เกลียด  ความคิดแก้แค้น  ทิฐิมานะ   เป็นต้น  เป็นเสมือนเชื้อไวรัส  อภัยทาน  คือ เครื่องมือแอนตี้ไวรัส  ส่วนจิตของเรา  เหมือนคอมพิวเตอร์
 ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้  อาจจะดูเหมือนยาว  แต่มีใครบอกได้ว่าเราจะอยู่ได้ปลอดภัยถึงวันไหน  เราต้องการความทรงจำที่เลวร้ายหรือต้องการความทรงจำที่ดีในชีวิต

 เราต้องการนั่งนอนอย่างมีความสุข  มีชีวิตอยู่ด้วยความอิ่มเอิบ  หรือต้องการมีชีวิตอยู่ด้วยการถอนหายใจ  ด้วยความทุกข์และกังวลใจ  สิ่งเหล่านี้  กำหนดได้ที่ตัวเราเอง  กำหนดวิธีคิดให้ถูกต้อง
 ความคิดเป็นสิ่งที่ทรงพลังมาก  สุขหรือทุกข์ของมนุษย์อยู่ที่วิธีคิด  คิดเป็นก็พ้นทุกข์  คิดไม่เป็น  แม้แต่เรื่องมิใช่เรื่อง  ก็อาจเกิดเรื่องได้

 ขอให้เรามาคิดดูว่า  ในชีวิตของเราคนหนึ่ง  อย่างเก่งก็อยู่ได้ ๙๐ ปี  เกินนี้ไปถือเป็นกำไรชีวิต  ทำไมเราจะเสียเวลามาครุ่นคิดเรื่องไร้สาระ  ทำไมเราจะต้องเสียเวลามาทำเรื่องที่ทำให้เกิดทุกข์

 การยอมกันเสียบ้าง  ก็เป็นความสุขได้ไม่ยาก  บางครั้ง  การยอมแพ้  อาจเป็นชัยชนะยิ่งใหญ่ข้ามภพชาติ  การยกโทษ  อาจดูเหมือนเรายอม  เราไม่ติดใจ  ไม่เอาเรื่อง  แล้วเขาจะได้กำเริบ  ส่วนเราเสียเปรียบความจริงไม่ใช่  เรากำลังบำเพ็ญบารมีขั้นสูง  คือ “อภัยทาน”  อันเป็น “ทานบารมี”  ที่สูงส่ง
 เราอาจคิดว่า  การให้อภัยบ่อยๆ  แก่คนบางคน  เขาอาจจะไม่ปรับตัว  ยังก่อเหตุอยู่เสมอๆ  งานก็ไม่สำเร็จ  ยังเหลวไหลอยู่เหมือนเดิม  นั่นอาจเป็นเหตุผลในการทำงาน  แต่สำหรับเหตุผลของใจนั่น  เมื่อให้อภัย  ในเราก็เบา  เพราะหมดห่วง  หมดทุกข์  หมดสนิมที่จะมากัดใจให้ผุกร่อน

 วิธีคิด มีความสำคัญมากสำหรับชีวิตของคน  เรามักได้ยินเสมอๆ ว่า  แพ้หรือชนะ  อยู่ที่กำลังใจ  แท้จริงแล้ว คำว่า  “กำลังใจ”  ก็คือวิธีคิดนั่นเอง  พลังที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์คือ การที่ใจมีกำลัง

 มนุษย์เราจึงต้องสร้างกำลังใจให้แก่กันและกัน  กำลังใจเป็นสิ่งที่ให้ไม่รู้จักหมด  ยิ่งเราให้คนอื่นได้มากเท่าไร  กำลังใจก็จะยิ่งเกิดขึ้นแต่เรามากเท่านั้น  เหมือนวิชาความรู้  ยิ่งให้ยิ่งพอกพูน  ยิ่งหวงไว้เฉพาะตัว  ก็ยิ่งหดหาย

 การให้อภัย  อาจพูดง่าย  แต่ทำยาก  แม้จะเป็นเรื่องยาก  เพราะในไม่อยากทำ  แต่ก็สามารถทำได้เมื่อเราฝืนใจทำ  และจะเป็นความสุขใจในภายหลังเมื่อครวญคำนึง

 มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเล่าให้ข้าพเจ้าฟัง  เป็นเรื่องที่มีอุทาหรณ์และคติน่าคิดมาก  เกี่ยวกับเรื่องของคนที่ไม่ยอมให้อภัยใคร  และเป็นคนผูกโกรธ  ผูกเกลียด  ผูกอาฆาต  พยาบาท  มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรูคู่ต่อสู้ตลอดเวลา  กระทั่งวันหนึ่งตายไปพร้อมกับจิตใจที่ขุ่นมัวและผูกอาฆาต

 ท่านเล่าว่า  เขาอธิษฐานไปเกิดเป็นลูกของศัตรู  เพื่อจะได้ทำร้ายจิตใจอย่างใกล้ชิด  แนบเนียนที่สุด  จะได้เผาผลาญคนนั้นให้ถึงที่สุดให้ทุกข์ที่สุด  ให้สาละวนอยู่กับเรื่องทุกข์ตลอดเวลา  เขาเป็นลูกเกเร  ผลาญทรัพย์  ทำลายวงศ์สกุล  นำความทุกข์เดือดร้อนเข้าบ้านทุกวัน

 พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า   ตรัสเป็นหลักใจว่า  คนที่ตายขณะจิตเศร้าหมอง  ย่อมไปสู่อบาย  แม้คนพวกนี้  จะไม่เชื่อเรื่องอยาย  เรื่องนรกที่เป็นภพภูมิ  แต่เขาก็ปฏิเสธไม่ได้ถึงนรกคือความเร่าร้อนรุนแรงที่คุกรุ่นภายในใจ  ในขณะยังมีชีวิตอยู่  ส่วนคนที่ตายขณะจิตผ่องใส  จะไปสู่สวรรค์  คือสภาพที่ใจปลอดโปร่งโล่งเบา  ก็จะมีแก่ผู้นั้น

 สิ่งที่น่าคิดก็คือ  ข้าพเจ้าทราบจากนักปราชญ์บัณฑิตโบราณ  ท่านพูดเอาไว้ว่า  การที่เราโกรธใคร  เราไม่ให้อภัยเขา  หรือเราไม่ไปขออโหสิกรรม  ความโกรธนั้นจะเป็นกรรมหนักติดตัว  คืดติดใจเราไปยาวนานข้ามภพข้ามชาติ  แปลว่า  ไม่ว่าเราจะไปเกิดภพใดชาติใดกรรมนั้นก็จะตามไปไม่สิ้นสุด
 ยิ่งไปกว่านั้น  การที่กรรมส่งผลข้ามภพข้ามชาตินั้น  เป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก  เพราะเราไม่สามารถจะรู้ได้ว่า  เราได้ทำอะไรกับใครไว้บ้างในครั้งอดีต

คนบางคนเกิดมามักถูกใส่ร้ายตลอดเวลา  ไม่ว่าจะหันไปทำอะไร  จะมีแต่คนคอยจ้องจับผิด  คิดร้าย  นินทาลับหลังให้ต้องเสียใจอยู่เสมอ  บางคน  คิดทำอะไรขึ้นมา  พอจะสมหวังก็กลับมีอันต้องเป็นไปให้ผิดหวัง  พลาดหวังอยู่บ่อยๆ  เราก็คิดว่าเป็นเรื่องของโชควาสนาไป  แต่ความจริงคือเรื่องอดีตกรรมที่เราไม่ยอมแก้ไข  ทั้งๆ  ที่แก้ไขได้

 ยิ่งไปกว่านั้น  บางคนต้องทุกข์เพราะคนใกล้ตัว  ทุกข์เพราะคนที่เรารัก  ที่เป็นตัวชีวิตของเราเอง  เช่น  มีลูกเกเร  ทำให้พ่อแม่เสียใจ  มีลูกผลาญทรัพย์  มีลูกไม่อยู่ในโอวาท  มีลูกอกตัญญู  มีลูกทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล  พ่อแม่คิดถึงลูกทีไร  ก็มีแต่เรื่องร้อนใจตลอดเวลา

 เราจะเห็นว่า  บางครอบครัว  ญาติพี่น้องต้องทะเลาะกันเหมือนเป็นข้าศึกศัตรูกันมาหลายภพหลายชาติ  บางทีต้องฆ่ากันเป็นทอดๆ  ถามว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร  ปัญญาธรรมดาของมนุษย์อย่างพวกเราพอจะทำความเข้าใจได้หรือไม่  กฎหมายที่มีอยู่สามารถคลี่คลายปมปัญหาได้ไหม  คำตอยคือยาก  เพราะนี่เป็นเรื่องของเศษกรรมที่ยังมิได้รับ “อโหสิ” ระหว่างเราและเขา

 ฉะนั้น  ถ้าไม่ต้องการเสวยวิบากกรรมอันเลวร้ายข้ามภพ  ข้ามชาติ  ท่านต้องหัดให้อภัยแก่คนทุกคน  แก่สัตว์ทุกชนิด  ให้อภัยแม้ศัตรูที่คิดจะทำร้ายหมายปองชีวิตเรา  อภัยต่อทุกอย่างที่เขาทำไม่ดีกับเรา  ให้ทุกอย่างเป็นอโหสิกรรมทั้งหมด  เพื่อเราจะได้ไม่ต้องมีปัญหาในอนาคต

 บางครั้ง  เราเห็นเรื่องจริงในชีวิตจริง  หรืแม้แต่ที่ปรากฏเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์  หากเรามองย้อนคิดให้ดีสักนิด  นิ่งคิดให้ละเอียดลึกซึ้งสักหน่อย  เราก็จะเข้าใจได้ว่า  การไม่ให้อภัยกันนั้น  มีผลร้ายข้ามภพข้ามชาติได้ถึงเพียงนั้นเชียวหรือ

 บางคนเราไม่รู้จักกันมาก่อน  แต่พอเห็นหน้าก็รู้สึกไม่ชอบทันทีเลย  จะพูด  จะคุย  จะทำอะไร  ดูจะเกะกะลูกตาของเราไปหมด  แม้แต่ความรู้สึกที่เขามีต่อเราก็เช่นกัน  นั่นเป็นเพราะอดีต  เราไม่ยอมให้อภัยกัน

 สิ่งที่มนุษย์เรารักกันมากที่สุด  คือ  สามี  ภรรยา  ลูก  แต่ทำไมบางที  เมื่อแต่งงานกันแล้ว  สามีสามารถฆ่าภรรยาได้  หรือภรรยาก็สามารถฆ่าสามีทิ้งได้อย่างง่ายดาย  นั่นเป็นเพราะอะไร  ไม่มีสิ่งใดที่จะอธิบายได้ดีเท่ากับบอกว่า  นั่นคือผลกรรมที่เกิดจากการไม่ยอมให้อภัยกันในอดีตชาติ  และส่งผลมาถึงภพนี้  จึงต้องมาแก้แค้นชำระโทษกัน

 การที่เราไม่ยอมให้อภัย  เหมือนเราไม่ยอมล้างสิ่งสกปรกออกจากร่างกายเรา  แม้ว่าเราจะไปที่ไหน  สวมใส่เสื้อผ้าชิ้นใด  งามเพียงไรร่างกายของเราก็ยังคงสกปรก  และตามไปทุกหนทุกแห่ง    ความงามของเรือนร่างที่ประดับด้วยเครื่องเพชร  ด้วยเสื้อผ้า  ก็ไม่อาจทำให้ร่างกายสะอาดได้  การให้อภัย  เปรียบเหมือนการอายน้ำชำระร่างกาย

 ข้อนี้  เปรียบเสมือนเมื่อเราไม่ให้อภัยใคร  ใจเราย่อมดิ่งอยู่กับคนนั้น  และตัวเขาก็จะถูกผูกไว้กับความรู้สึกของเรา  เหมือนความสกปรกของร่างกายที่ตามเราไปตลอดเวลา  เพราะไม่ยอมชำระล้างให้สะอาด
 ท่านทั้งหลายอาจลืมคิดไปว่า  ลูกหลานที่เกิดมาแล้วผลาญทรัพย์  ทำลายชื่อเสียง  ทำให้พ่อแม่ต้องเดือดร้อนนอนทุกข์นั้น  แท้จริงก็คือศัตรูในชาติที่แล้วที่เรามิได้อโหสิกรรมให้เขา  เราไม่ได้ยกโทษให้เขา  คือเราไม่ได้แก้ปมที่เคยผูกไว้ให้หลุดออกไป  กรรมระหว่างเรากับเขาจึงติดตามกันมาเผล็ดผลถึงวันนี้

 บางที  คนที่เขาโกรธเรา  หากเราโกรธตอบ  ก็จะเป็นการตอบรับกระแสกัน  เหมือนเราโทรศัพท์ถึงกัน  ถ้าอีกฝ่ายไม่เปิดโทรศัพท์รับ  ฝ่ายที่โทรถึงก็หมดสิทธิ์จะคุยกับเราเพราะกระแสไม่ถึงกัน
 การตอบรับซึ่งกันและกัน  ถ้าเป็นความดี  เป็นความรัก  ความอบอุ่นก็ดีไป  แต่ถ้าเป็นความเกลียด  ความโกรธ  สิ่งที่จะตามมาคือการรับรู้และเก็บอารมณ์ทั้งโกรธและเกลียดนั้นไว้ด้วยกัน ทั้ง ๒ ฝ่าย
 เมื่อรู้แล้วก็ควรสละอารมณ์นั้นด้วยตัวเราเองก่อน  เพื่อป้องกันจิตเรามิให้เป็นทุกข์เพราะคนนั้นเป็นเหตุ  เราอาจคิดเสมือนหนึ่งเขาไม่ได้มีอยู่ในโลกนี้เลยก็ได้  การให้อภัยเขา  คือคิดถึงเขาในฐานะเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย  ไม่สมควรจะไปยึดเป็นรักเป็นชัง

 ก็เมื่อแม้แต่รัก  ท่านยังสอนให้เราละทิ้ง  เพื่อมิให้ยึดติด  แล้วทำไมเราจะยังมองเห็นโกรธ  เป็นสิ่งที่จะต้องยึดมั่นอยู่ได้

 การที่เราเห็นสิ่งผิดปกติในชีวิตเราบางครั้ง  เช่น  มีแต่เรื่องให้เกิดทุกข์  มีแต่คนทำให้ใจขุ่นมัว  มีลูกไม่ดี  มีหลานไม่สมประสงค์  ทำให้เราต้องเก็บมาคิดเสมอ  ขอให้เราถือว่า  นี่คือเศษเสี้ยวแห่งผลกรรมที่ติดอยู่ในความคิดตั้งแต่อดีตชาติ  ซึ่งบัดนี้เผล็ดผล  งอกงามออกมาอยู่ใกล้ตัวเราที่สุด

 วิธีแก้คือ  ต้องอภัยให้แก่ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่วินาทีนี้ทันที  เพื่อภพชาติต่อไปเราจะได้ไม่ต้องรับรู้ความทุกข์ของใครต่อใครอีก  พึงทราบว่า  คนที่ทำให้เราทุกข์ใจที่สุด  คือคนที่เรารักที่สุด  คือผู้อยู่ใกล้เราที่สุด

 บางครั้ง  ศัตรูยอมอธิษฐานจิตแห่งความพยาบาท  ให้มาเกิดเป็นลูกของเรา  เป็นหลานของเรา  เป็นญาติของเรา  เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเราก็มี  เพื่อเขาจะได้ทำลายน้ำใจ  ชื่อเสียง  วงศ์สกุลของเราให้ถึงที่สุด  นั่นเป็นเพราะเราไม่ได้อโหสิกรรมต่อเขา  หรือไม่ได้แสดงอภัยทานต่อเขาจากชาติที่แล้วนั่นเอง
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)