แสงธรรมนำใจ > หยาดฝนแห่งธรรม

ทาน ศีล ภาวนา

<< < (3/9) > >>

sithiphong:
    02-อนาถปิณฑิกเศรษฐี
    เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก
-http://www.84000.org/one/3/02.html-

เศรษฐีทำบุญจนหมดตัว
เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วย
พระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน (บางแห่ง
ว่า ๕ เดือน) ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ
พิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูป ไป
ฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาล
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ทำบุญโดยทำนองนี้ ทั้งให้ทานแก่คนยากจน และการถวายทาน
แด่พระภิกษุสงฆ์ จนกระทั่งทรัพย์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ ทรัพย์ที่
หาได้มาใหม่ก็ไม่เท่ากับจ่ายออกไป ภัตตาหารที่จัดถวายพระภิกษุสงฆ์ก็ลดลงทั้งคุณภาพและ
ปริมาณ จนที่สุดข้าวที่หุงถวายพระก็จำเป็นต้องใช้ข้าวปลายเกวียน กับข้าวก็เหลือเพียงน้ำ
ผักเสี้ยนดอง ตนเองก็พลอยอดอยากลำบากไปด้วย ถึงกระนั้นเศรษฐีก็ยังไม่ลดละการทำบุญ
ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ได้แต่กราบเรียนให้พระภิกษุสงฆ์ทราบว่า ตนเองไม่สามารถ
จะจัดถวายอาหารอันประณีตมีรสเลิศเหมือนเมื่อก่อนได้ เพราะขาดปัจจัยที่จะจัดหาพระภิกษุ
สงฆ์ที่เป็นปุถุชนก็พากันไปรับอาหารบิณฑบาตที่ตระกูลอื่นที่ถวายอาหารมีรสเลิศกว่า

เศรษฐีขับไล่เทวดา
ขณะนั้นเทวดาตนหนึ่งผู้เป็นมิจฉาทิฎฐิ ซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่เลื่อมใสพุทธศาสนา เบื่อระอาที่พระภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูเข้าออก
ทุกวัน เพราะในขณะที่ภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูนั้นตนไม่สามารถจะอยู่บนซุ้มประตูได้ เมื่อ
เห็นเศรษฐีกลับกลายมีฐานะยากจนลงเพราะทำบุญแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงปรากฎ
กายต่อหน้าท่านเศรษฐีกล่าวห้ามปรามให้เศรษฐีเลิกทำบุญเสียเถิด แล้วทรัพย์สินเงินทองก็จะ
เพิ่มพูนขึ้นเหมือนเดิม ท่านเศรษฐีจึงถามว่า
“ท่านเป็นใคร ?”
“ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน”
“ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคำพูดของท่าน ขอท่านจง
ออกไปจากซุ่มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นอีกเป็นอันขาด”
เทวดาตกใจ ไม่สามารถจะอยู่ที่ซุ่มประตูเรือนของเศรษฐีได้อีกต่อไป กลายเป็นเทวดา
ไร้ที่สิงสถิต ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เข้าไปหาเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่าตนให้ช่วยเหลือ
แต่ไม่มีเทวดาองค์ใดจะสามารถช่วยได้ เพียงแต่บอกอุบายให้ว่า “ทรัพย์เก่าของเศรษฐีจำนวน
๘๐ โกฏิ ซึ่งใส่ภาชนะฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำถูกน้ำเซาะตลิ่งพังจมหายไปในสายน้ำ ท่านจงไปนำ
ทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมามอบให้ท่านเศรษฐี แล้วท่านเศรษฐีก็จะหายโกรธยกโทษให้ และ
อนุญาตให้อยู่อาศัยที่ซุ้มประตูบ้านดังเดิมได้”
เทวดาทำตามนั้น ได้นำทรัพย์เหล่านั้นมามอบให้เศรษฐีด้วยอำนาจฤทธิ์เทวดา เมื่อ
เศรษฐียกโทษให้แล้วได้อยู่ ณ สถานที่เดิมของตนสืบไป
ต้นแบบการทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
พุทธบริษัทผู้ใฝ่บุญนั้น ย่อมปรารภเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นมาเป็นเรื่องทำบุญได้เสมอ
เช่นเรื่องของอนาถบิณฑิกเศรษฐี นี้ วันหนึ่งหลานของท่านเล่นตุ๊กตาที่ทำจากแป้งแล้วหล่นลง
แตก หลานร้องไห้ด้วยความเสียดายตุ๊กตา เพราะไม่มีตุ๊กตาจะเล่น ท่านเศรษฐีได้ปลอบโยน
หลานว่า
“ไม่เป็นไร เราช่วยกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตากันเถิด” ปรากฏว่าหลานหยุด
ร้องไห้ รุ่งเช้า ท่านจึงพาหลายช่วยกันทำบุญเลี้ยงพระแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตา
ข่าวการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาของท่านเศรษฐี แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว
ประชาชนชาวพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่ดีที่ควรกระทำ ดังนั้นเมื่อ
ญาติผู้เป็นที่รักของตนตายลงก็พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เหมือนอย่าที่ท่านเศรษฐีกระทำ
นั้น และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

มอบภารกิจของตนให้ลูกหลาย
ตามปกติทุก ๆ วัน ภิกษุทั้งหมดผู้อยู่ในกรุงสาวัตถีจะรับนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารใน
บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และในบ้านของนางวิสาขาดังนั้น บุคคลอื่น ๆ ผู้ประสงค์จะ
ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ก็ต้องมาขอโอกาสแก่ท่านทั้งสองนี้ เมื่อนิมนต์พระได้แล้วก็ต้องเชิญ
ท่านทั้งสองนี้ไปเป็นประธานที่ปรึกษาด้วย ทั้งนี้ก็เพราะท่านทั้งสองทราบดีว่าควรประกอบ
ควรปรุงอาหารอย่างไรให้ต้องกับอัธยาศัยและวินัยของพระ ควรจัดสถานที่อย่างไรจึงจะเหมาะ
สม นอกจากนี้ก็เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านเรือนที่จัดงานอีกด้วย ดังนั้นท่านทั้งสองจึงไม่
ค่อยมีเวลาอยู่ปฏิบัติเลี้ยงดูพระภิกษุที่นิมนต์มาฉันที่บ้านของตน นางวิสาขาจึงได้มอบหมาย
ภารกิจหน้าที่นี้แก่หลานสาว
ส่วนอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้มอบให้แก่ลูกสาวคนโตชื่อว่า “มหาสุภัททา” นางได้ทำ
หน้าที่นี้อยู่ระยะหนึ่ง ได้ฟังธรรมจากพระคุณเจ้าแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ต่อมาได้แต่ง
งานแล้วก็ติดตามไปอยู่ในสกุลของสามี
จากนั้นอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้มอบหมายให้ลูกสาวคนที่สองชื่อว่า “จุลสุภัททา”
นางก็ทำหน้าที่แทนบิดาด้วยดีโดยตลอด และก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ต่อจากนั้นไม่
นาน นางก็ได้แยกไปอยู่กับครอบครัวของสกุลสามี อนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงได้มอบหน้าที่ให้
ลุกสาวคนเล็กชื่อว่า “สุมนาเทวี” กระทำแทนสืบมา

ลูกสาวป่วยเรียกบิดาว่าน้องชาย
สุมนาเทวี ทำหน้าที่ด้วยความขยันเข้มแข็ง งานสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อยทุกวัน
ทั้ง ๆ ที่นางอายุยังน้อย จากการที่นางได้ทำบุญถวายภัตตาหาร พระภิกษุสงฆ์และได้ฟังธรรม
เป็นประจำ นางก็ได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี แต่ต่อมานางได้ล้มป่วยลงมีอาการหนัก ใคร่อยาก
จะพบบิดา จึงให้คนไปเชิญบิดามา
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ทราบว่าลูกสาวป่วยหนักก็รีบมาเยี่ยมโดยเร็ว พอมา
ถึงได้ถามลูกสาวว่า
“แม่สุมนา เจ้าเป็นอะไร ?”
“อะไรเล่า น้องชาย ?” ลูกสาวตอบ
“เจ้าเพ้อหรือ แม่สุมนา ?” บิดาถาม
“ไม่เพ้อหรอก น้องชาย” ลูกสาวตอบ
“แม่สุมนา ถ้าอย่างนั้น เจ้ากลัวหรือ ?” บิดาถาม
“ไม่กลัวหรอก น้องชาย”
นางสุมนาเทวี พูดโต้ตอบกับบิดาได้เพียงเท่านั้นก็ถึงแก่กรรม

พระโสดาบันร้องไห้ไปกราบทูลพระศาสดา
ท่านเศรษฐี แม้จะเป็นพระโสดาบัน ก็ไม่อาจจะกลั่นความเศร้าโศกเสียใจเพราะการ
จากไปของธิดาได้ เมื่อเสร็จงานศพและได้ร้องไห้น้ำตานองหน้าไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาพระ
พุทธองค์ได้ตรัสปลอบว่า
“อนาถบิณฑิกะ ก็ความตายเป็นสิ่งเที่ยงแท้ของสรรพสัตว์มิใช่หรือเหตุไฉนท่านจึง
ร้องไห้อย่างนี้ ?”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นข้าพระองค์ทราบดี แต่นางสุมนาเทวีธิดาของข้าพระ
องค์ เมื่อใกล้เวลาจวนจะตาย นางไม่สามารถคุมสติได้เลย นางบ่นเพ้อจนกระทั่งตาย ข้าพระ
องค์โทมนัสร้องไห้เพราะเหตุนี้ พระเจ้าข้า”
พร้อมทั้งได้กราบทูลถ้อยคำที่นางสุมนาเทวีเรียนตนเองว่าน้องชาย ถวายให้พระพุทธ
องค์ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคได้สดับแล้วตรัสว่า
“ดูก่อนมหาเศรษฐี บุตรของท่านมิได้เพ้อหลงสติอย่างที่ท่านเข้าใจ แต่ที่นางเรียก
ท่านว่าน้องชายนั้น ก็เพราะท่านเป็นน้องของนางจริง ๆ นางเป็นใหญ่กว่าท่านโดยมรรคและ
ผล เพราะท่านเป็นเพียงพระโสดาบัน แต่ธิดาของท่านเป็นพระสกทาคามี เป็นอริยบุคคลสูง
กว่าท่าน และบัดนี้ นางได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว นี่แหละคฤหบดี ธรรมดา
บุคคลไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ถ้าอยู่ด้วยความไม่ประมาท ประพฤติดีปฏิบัติ
ชอบ ก็ย่อมเสวยสุขเพลินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้วหายจากความเศร้าโศกเสียใจกลับได้รับ
ความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทน เมื่อควรแก่เวลาแล้วก็กราบทูลลากลับสู่เคหสถานของตน
เพราะความที่อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้มีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหว ฝักใฝ่ในการทำ
บุญให้ทาน ไม่มีผู้ใดจะเปรียบเทียบได้ พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้
เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้เป็นทายก

sithiphong:
อานิสงส์การทำบุญ
-http://dhammatogo.org/index.php?option=com_content&view=article&id=115:dana&catid=52:2010-04-26-21-53-26&Itemid=88-

 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ทรงปรารภถึงการให้ทานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  แต่ว่าทานนั้นเป็นของเศร้าหมอง คือข้าวก็เป็นปลายข้าว เป็นข้าวที่หักสองท่อนบ้าง สามท่อนบ้าง ส่วนอาหารก็มีเพียงน้ำผักดองเป็นที่สอง คือเนื้อผักดองหมดแล้ว เหลือแต่น้ำผักดองเท่านั้น
ทานเศร้าหมองจำนวนน้อยแต่มีอานิสงส์มาก

           พระพุทธองค์ทรงตรัสปลอบเศรษฐีว่า บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม แต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น เพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพนั้น ฯ
มหาทานประณีตจำนวนมากแต่มีอานิสงส์น้อย

          ครั้นนั้น พราหมณ์ชื่อเวลามะ ได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ทองคำ เงิน สำริด อย่างละ ๘๔,๐๐๐ ชนิด ช้างมงคล พร้อมด้วยเครื่องทรงชั้นดี ๘๔,๐๐๐ เชือก หญิงสาว ซึ่งประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับด้วยเพชน นิล จินดา ราคาแพง ๘๔,๐๐๐ คน และรวมไปถึงของกินของใช้ เสื้อผ้า ที่พักอาศัย เป็นมหาทานที่ประณีตอย่างดีมีจำนวนมหาศาล ซึ่งไม่มีใครจะสามารถทำได้ แต่ว่ามหาทานนั้นก็มีอานิสงส์น้อย เพราะก็ในทานนั้น ไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล (ไม่มีพระอริยบุคคลมารับทาน มีแต่ปุถุชน)  ใครๆ ไม่ชำระทักขิณานั้นให้หมดจด
ลำดับอานิสงส์บุญประเภทต่าง ๆ

    ทานที่บุคคลถวายแก่พระโสดาบันผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่ามหาทานที่เวลามพราหมณ์ให้ทานแก่ปุถุชนจำนวนมาก
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระโสดาบันร้อยท่านบริโภคมีผลมากกว่าพระโสดาบันผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่าพระโสดาบันร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภคมีผลมากกว่าพระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระอนาคามีผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่าพระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระอนาคามีร้อยท่านบริโภคมีผลมากกว่าพระอนาคามีผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภคมีผลมากกว่าพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระอรหันต์ร้อยท่านบริโภคมีผลมากกว่าพระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภคมีผลมากกว่าพระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภคมีผลมากกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภคมีผลมากกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค
    ทานที่บุคคลถวายแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภคมีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค
    การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค
    การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะมีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากทิศทั้ง ๔
    การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท ๕ (ศีล ๕) มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
    การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอมมีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ ศีล ๕
    การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือมีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ฯ

สรูปอานิสงส์ของบุญ

    การให้ทานเจาะจง (ปาฏิปุคคิกทาน) มีอานิสงส์น้อย
        ทานที่ถวายแก่ปุถุชนมีอานิสงส์น้อยกว่า
        ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจนถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอานิสงส์มากน้อยกว่ากันตามลำดับ
        แม้แต่เศษอาหารที่เหลือนำไปเทไว้ตามโคนต้นไม้หรือชายป่าเพื่อให้มด แมลง หรือหนอนได้กิน ก็มีอานิสงส์มากเช่นเดียวกัน
    การให้ทานเป็นของกลางสงฆ์ (สังฆทาน) มีอานิสงส์มากกว่าทานเจาะจง
        สังฆทานที่มีอานิสงส์มากที่สุดคือการสร้างสถานปฏิบัติธรรม (วิหาร, เสนาสนะ) ถวายเแก่ภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔  เพราะเป็นการให้ความสะดวกในการบำเพ็ญสมณะธรรม เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สร้างความดี และถ้ามีผู้พักอาศัยอยู่ปฏิบัติ จนบรรลุธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้สร้างถวายก็จะได้รับอานิสงส์มากกว่าการถวายทานทั่วๆ ไป
    การเลื่อมใส นับถือพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ มีอานิสงส์มากกว่าการให้ทาน เพราะได้ชื่อว่ามีที่พึ่งทางใจและมีแบบอย่างในการดำเนินชีวิต คือ มีพระพุทธเจ้าทรงให้คำแนะนำ มีพระธรรมเป็นหลักปฏิบัติ และมีพระสงฆ์เป็นแบบอย่างและเป็นกัลยาณมิตร อุปมาเหมือนลูกที่ยังไม่โต เรียนหนังสือยังไม่จบ ก็ต้องพึ่งพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน  เท่ากับว่ามีพระพุทธเจ้าเป็นเหมือนพ่อ มีพระธรรมเป็นเหมือนแม่ และมีพระสงฆ์เป็นเหมือนพี่(เลี้ยง)
    การเลื่อมใส สมาทานสิกขาบททั้ง ๕ ข้อ (ศีล ๕) มีอานิสงส์มากกว่าการเลื่อมใสในพระรัตนตรัย  เพราะผู้ที่สมาทานรักษาสิกขาบทได้สมบูรณ์คือมีกายและวาจาปกติ ปราศจากบาปอกุศลทั้งหลาย เห็นทุกข์โทษที่จะเกิดตามมาถ้าละเมิดสิกขาบทเหล่านั้น เรียกว่าได้เดินตามรอยพระรัตนตรัย เป็นการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้ตนเองได้รับความผาสุก และเป็นที่พึ่งของตนได้ เปรียบเหมือนเด็กที่เรียนจบปริญญา สามารถทำงานเลี้ยงตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่ในการเลี้ยงดูอีกต่อไป ส่วนการเลื่อมใสนับถือพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง ที่เคารพ แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติตามหลักคำสอน เปรียบเหมือนพ่อแม่ที่ชื่นชมยินดีเมื่อลูกได้รับปริญญา ถามว่า ปริญญาของใคร? ปริญญาของลูก ดังนั้น พ่อแม่จึงมีสิทธิ์ได้แค่ชื่นชมยินดีในปริญญาของลูก แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะนำปริญญาของลูกไปประกอบอาชีพ แต่ว่าลูกนั้นทั้งดีใจที่ตนได้รับปริญญาและยังสามารถนำปริญญานั้นไปประกอบอาชีพได้อีกด้วย
    การเจริญเมตตาจิต แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ก็มีอานิสงส์มากกว่าการรักษาศีล ๕ เพราะการสมาทานสิกขาบททั้ง ๕ คือการงดเว้นจากสิ่งที่เป็นบาปอกุศล เป็นการไม่ทำความชั่ว แต่ก็ถือว่ายังไม่เป็นการประกอบกรรมดี เรียกว่ามีศีล ส่วนการเจริญเมตตาจิต คือมีความรักใคร่ ปรารถนาดี ช่วยเหลือผู้อื่นที่ควรได้รับการช่วยเหลือ เป็นการประกอบกรรมดี เรียกว่ามีธรรม ดังนั้น ผู้ที่เจริญเมตตาจิต ก็จะประพฤติธรรมควบคู่กับการรักษาศีล ๕ ด้วยเสมอ ส่วนผู้ที่เลื่อมใสสมาทานสิกขาบท อาจจะมีศีล ๕ สมบูรณ์ แต่อาจจะไม่มีธรรมก็ได้ เช่น
        ไม่ฆ่าสัตว์ ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตผู้อื่น แต่ก็ไม่เคยเมตตากรุณาต่อสัตว์ที่กำลังหิวโหย หรือกำลังเจ็บป่วยทรมาน
        ไม่ลักทรัพย์ผู้อื่น ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สมบัติผู้อื่น แต่ก็ไม่ประกอบอาชีพที่บริสุทธิ์เป็นสัมมาอาชีพ เช่น ทำอาชีพค้าแรงงานทาส หรือค้าขายสุรา เป็นต้น
        ไม่ประพฤติผิดในกาม ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตครอบครัวของตนเองและผู้อื่น แต่ก็ไม่สังวรในกาม คือยังไปเที่ยวซุกซนตามสถานเริงรมย์ที่มีการขายบริการทางเพศ
        ไม่พูดเท็จ ชื่อว่าให้ความปลอดภัย ให้ความสามัคคีแก่สังคม แม้จะพูดความจริง คำสัจจะ แต่ก็พูดไม่ไพเราะ พูดไม่รู้จักกาละเทศะ พูดสิ่งไม่มีประโยชน์ หรือพูดไม่มีจิตเมตตา พูดไม่รักษาน้ำใจ
        ไม่ดื่มของมึนเมา ชื่อว่ารักสุขภาพตนเอง และชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่น แต่ก็ไม่เคยฝึกเจริญสติสัมปชัญญะ ปล่อยกายปล่อยใจกลายเป็นคนซึมเซ่อเมอลอย ประมาทขาดสติยิ่งกว่าดื่มของมึนเมา 
    การเจริญอนิจจสัญญา แม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือเดียว ทำให้รู้แจ้งในไตรลักษณ์ มีอานิสงส์มากที่สุด ถ้าไม่เข้าใจในไตรลักษณ์ ก็จะไม่เห็นทุกข์ ถ้าไม่เห็นทุกข์ ก็จะดับทุกข์ไม่ได้ เพราะผู้ที่สามารถรู้จริงเห็นแจ้งในอนิจจสัญญา อย่างแท้จริง ไม่ไช่เป็นเพียงสุตปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอ่านหรือการฟัง และจำได้ กับจินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาหาเหตุผลอย่างนั้นอย่างนี้ เท่านั้น แต่เป็นภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดจากการอบรมสมาธิภาวนาเป็นอย่างดีแล้ว จึงทำให้เข้าใจในสรรพสิ่งทั้งหลายว่า มันเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป มันเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นทุกข์ คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ บางครั้งชอบใจ เป็นสุข บางครั้งเสียใจ เป็นทุกข์ และมันเป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตน บังคับให้เป็นอย่างที่ต้องการไม่ได้ และเมื่อรู้ว่า มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ และมันบังคับไม่ได้ ก็ไม่ควรยึดถือว่าเป็นเรา หรือเป็นของเรา จึงทำให้เข้าใจ รู้เห็นตามความเป็นจริง ยถาภูตะญาณทัสสนะ แล้วก็ทำให้เบื่อหน่ายคลายกำหนัด คายทิฏฐมานะ เมื่อเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ก็จะได้วิมุตติจิตหลุดพ้นจากการครอบงำของกิเลสได้  ดังนั้น การเจริญอนิจจาสัญญาจึงมีอานิสงส์มากมาย  เพราะจะทำให้ผู้เจริญพ้นทุกข์ได้ ฯ

sithiphong:
สุดยอดแห่งบุญที่แท้จริง ตามพระพุทธพจน์
ใน เวลามสูตร ( อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต สีหนาทวรรค)

     มีข้อความในตอนต้นสรุปได้ว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสถามท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า ขณะนี้ท่านยังให้ทานอยู่หรือหนอ ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า
ขณะนี้ยังให้ทานอยู่ แต่ทานนั้นเป็นของราคาถูก เป็นเพียงปลายข้าว กับน้ำผักดองเท่านั้น

     พระพุทธองค์จึงตรัสว่า นั่นมิใช่สิ่งสำคัญ ต่สิ่งที่สำคัญคือ การให้ทานโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่ใช่เหลือทิ้ง เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ย่อมมีอานิสงส์ที่จะได้ อาหาร เสื้อผ้า ยานพาหนะ เป็นต้น อย่างดี ผู้คนรอบข้าง ก็จะเชื่อฟังเป็นอันดี

     และพระองค์ได้ตรัสเล่าเรื่องในอดีตให้ท่านเศรษฐีฟังอีกว่า ในอดีต มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า เวลามพราหมณ์ ได้ให้มหาทานอันยิ่งใหญ่ ประกอบด้วย
๑. ถาดทองคำ เต็มด้วยเงิน
๒. ถาดเงิน เต็มด้วยทอง
๓. ถาดสัมฤทธิ์ เต็มด้วยเหรียญเงิน
๔. ช้าง ประดับด้วยเครื่องประดับอย่างดีที่สุด
๕. รถ ประดับด้วยเครื่องประดับอย่างดีที่สุด
๖. แม่โคนม พร้อมถาดสัมฤทธิ์สำหรับรองน้ำนม
๗. หญิงสาว ประดับด้วยอาภรณ์นานาพรรณ
๘. บัลลังก์ ประดับด้วยของมีค่ายิ่ง
๙. ผ้า ชนิดเนื้อดีที่สุด

ทั้ง ๙ ข้อนี้ มีจำนวนข้อละ ๘๔ , ๐๐๐

     นอกจากนั้นยังให้ ข้าว น้ำ ของหวาน ของคาว เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย อีกเป็นจำนวนมาก ราวกับการไหลของแม่น้ำ เวลามพราหมณ์ผู้ที่ได้กล่าวถึงนี้
มิใช่ใครอื่น ก็คือเรานี่เอง (คือ พระองค์นั่นเอง ที่ครั้งนั้นเกิดเป็นเวลามพราหมณ์) และพระองค์ได้ตรัสต่อไปว่า

     ก็แต่ว่า ในการให้มหาทานในคราวครั้งนั้น ไม่มีผู้ควรแก่ทักขิณาเลย ไม่มีผู้ใดที่จะทำทักขิณาให้บริสุทธิ์ได้เลย บุคคลผู้ใดให้ทานคืออาหารแก่ผู้สมบูรณ์
ด้วยความเห็น (คือพระโสดาบัน) เพียงองค์เดียว เพียงครั้งเดียว การให้ทานคืออาหารแก่พระโสดาบัน เพียงองค์เดียว เพียงครั้งเดียว ยังมีผลมากกว่า
มหาทานของเวลามพราหมณ์นั้น

     การให้ทานแก่พระโสดาบัน ๑๐๐ องค์ นั้น ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระสกทาคามีเพียงองค์เดียว

     การให้ทานแก่พระสกทาคามี ๑๐๐ องค์นั้น ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระอนาคามีเพียงองค์เดียว

     การให้ทานแก่พระอนาคามี ๑๐๐ องค์นั้น ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระอรหันต์เพียงองค์เดียว

     การให้ทานแก่พระอรหันต์ ๑๐๐ องค์นั้น ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว

     การให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ องค์นั้น ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว

     การให้ทานแก่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีผลน้อยกว่าการให้ทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประธาน

     การให้ทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประธาน ยังมีผลน้อยกว่าการสร้างวิหาร ถวายแก่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔

     การสร้างวิหารถวายแก่สงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ ยังมีผลน้อยกว่าผู้มีจิตเลื่อมใส ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ

     การมีจิตเลื่อมใส และถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ เพียงอย่างเดียว ยังมีผลน้อยกว่า การมีจิตเลื่อมใสและถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะด้วย และสมาทานรักษาศีล ๕ ด้วย

     การมีจิตเลื่อมใสและถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ และสมาทานรักษาศีล ๕ ด้วย ยังมีผลน้อยกว่า การเจริญเมตตาจิต เพียงชั่วเวลาสูดดมของหอม

     การเจริญเมตตาจิต เพียงชั่วเวลาสูดดมของหอม ยังมีผลน้อยกว่า การเจริญอนิจจสัญญา ( ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง) เพียงชั่วเวลาดีดนิ้วมือ ฯ

     การเจริญเมตตาจิต เพียงชั่วเวลาสูดดมของหอม และเจริญอนิจจสัญญาเพียงชั่วเวลาดีดนิ้วมือ ที่จะให้ได้อานิสงส์อย่างสูงเช่นนี้ได้ ผู้นั้นต้องเป็นผู้มีจิตทรงฌานสมาบัติ และมุ่งดำเนินจิตไปในแนวทางแห่งวิวัฏคามินีกุศล คือมุ่งหวังความหลุดพ้นจากสังสารวัฏโดยส่วนเดียว
และด้วยกำลังแห่งฌานสมาบัตินั้น จึงทำให้ได้อานิสงส์สูงสุดนี้

     สำหรับคนธรรมดาที่ยังไม่ได้ฌาน คงจะยังไม่ได้รับอานิสงส์ขั้นสูงสุดดังในพระสูตรนี้ แต่ก็จะเป็นพลวปัจจัยให้ได้อานิสงส์ขั้นสูง คือความพ้นทุกข์ ในอนาคตอันไม่ไกล

     ตามความเข้าใจของผม ลำดับอานิสงส์ในการทำบุญมีดังนี้คือ

- ให้ทาน เพื่อให้ได้ทรัพย์สมบัติ

- รักษาศีล เพื่อให้ได้รูปสมบัติ

- เจริญภาวนา เพื่อให้ได้ธรรมสมบัติ

     อนิจจสัญญา จัดเป็นอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นภาวนามัยกุศล ผู้หมั่นเจริญอยู่เนืองนิตย์ ย่อมได้อานิสงส์คือ ธรรมสมบัติ ได้แก่ ศีล สติ สมาธิ และปัญญาญาณ ตามหลักท่านกล่าวว่า ไตรลักษณ์ มี ๓ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ในพระสูตรนี้ ให้เจริญอนิจจสัญญาเพียงอย่างเดียวเท่านั้นหรือ....
เพียงอย่างเดียวก็ได้ เพราะทั้ง ๓ นี้เป็นสภาพเนื่องถึงกันหมด ดังที่ท่านกล่าวว่า

     ยะทะนิจจัง ตัง ทุกขัง ยัง ทุกขัง ตะทะนัตตา สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็เป็นอนัตตา

     คำว่า " เจริญอนิจจสัญญา" คือ ใช้จิตน้อมนึกคิดพิจารณา ถึงสภาพที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรของทุกสิ่งอยู่ตลอดเวลา พยายามไม่เผลอไปคิดว่า "สิ่งนั้นมันเที่ยงแท้แน่นอน จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันขาด" ซึ่งจะไม่มีวันเป็นไปได้ เพราะผิดไปจากความเป็นจริง ความเป็นจริง ๆ ๆ คือ " ไม่เที่ยง"
บางครั้ง ถ้านึกคิดพิจารณาลำบาก ก็มีคาถาที่ครูอาจารย์ท่านสอนไว้ คือ

    ทุ ก สิ่ ง ไ ม่ เ ที่ ยง อ ย่ า ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ให้บริกรรมกำกับจิตไว้อยู่เสมอ ย่อมจะได้รับอานิสงส์ขั้นสูงสุด ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอนครับ

 
ที่มา : -http://www.palungjit.com-

sithiphong:
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

กฐินขันธกะ

ภิกษุปาไฐยรัฐเดินทางเข้าเฝ้า

[๙๕]  สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ พระเขตวันอาราม

ของอนาถบิณฑิกคหบดี   เขตพระนครสาวัตถี   ครั้งนั้น    ภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน

๓๐  รูป  ล้วนถืออารัญญิกธุดงค์  บิณปาติกธุดงค์   และเตจีวริกธุดงค์   เดิน

ทางไปพระนครสาวัตถุเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า    เมื่อจวนถึงวันเข้าพูดพรรษา

ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี    จึงจำพรรษา  ณ

เมืองสาเกต   ในระหว่างทาง   ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า   พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ เรา    ระยะทางห่างเพียง  ๖ โยชน์    แต่พวกเราก็

ไม่ได้เฝ้าพระองค์     ครั้นล่วงไตรมาส      ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาทำปวารณา

เสร็จแล้ว   เมื่อฝนยังตกชุก   พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ    เป็นหล่มเลน    มีจีวร

ชุ่มชื้นด้วยน้ำ   ลำบากกาย   เดินทางไปถึงพระนครสาวัตถี  พระเชตวัน  อาราม

ของอนาถบิณฑิกคหบดี   เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า   ถวายบังคมแล้วนั่ง   ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง.

การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย     ทรงปราศัยกับพระอาคันทุกะทั้ง

หลายนั่นเป็นพุทธประเพณี.

 

พุทธประเพณี

ครั้งนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า    ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย   พวกเธอยังพอทนได้หรือ   พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ  พวกเธอ

เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน    ร่วมใจกัน   ไม่วิวาทกัน   จำพรรษาเป็นผาสุก   และไม่

ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ?

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า    พวกข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้    พวกยัง

อัตภาพให้เป็นไปได้    พระพุทธเจ้าข้า    อนึ่ง   ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้

พร้อมเพรียงกัน   ร่วมใจกัน  ไม่วิวาทกัน  จำพรรษาเป็นผาสุก  และไม่ลำบาก

ด้วยบิณฑบาต   พระพุทธเจ้าข้า    พวกข้าพระพุทธเจ้าในชุมนุมนี้เป็นภิกษุ

ปาไฐยรัฐจำนวน  ๓๐  รูป    เดินทางมาพระนครสาวัตถุ    เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า   เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา   ไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษา

ในพระนครสาวัตถุ    จึงจำพรรษา   ณ  เมืองสาเกต    ในระหว่างทาง    พวกข้า

พระพุทธเจ้านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ

เรา     ระยะทางห่างเพียง  ๖ โยชน์     แต่พวกเร้าก็ไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นล่วงไตรมาส    พวกข้าพระพุทธเจ้าออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้ว     เมื่อ

ฝนยังตกชุก   พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ    เป็นหล่มเลน    มีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ

ลำบากกาย   เดินทางมา   พระพุทธเจ้าข้า.

 

พระพุทธานุญาตใต้กรานกฐิน

[๙๖]  ลำดับนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้า   ทรงทำธรรมีกถา   ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามลนั้น    ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น    แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย  ผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน

พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้ว  จักได้อานิสงส์  ๕  ประการ  คือ:-

๑.  เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา.

๒.  ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ.

๓.   ฉันคณะโภชน์ได้.

๔.  ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา.

๕.  จีวรอันเกิดขึ้น  ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    อานิสงส์  ๕  ประการนี้     จักได้แก่เธอทั้งหลาย

ผู้ได้กรานกฐินแล้ว.

 

วิธีกรานกฐิน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็แล  สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้   คือ  ภิกษุผู้ฉลาด

ผู้สามารถ   พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา   ว่าดังนี้:-

 

กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน

ท่านเจ้าข้า    ขอสงฆ์จงฟังข้าเจ้า   ผ้ากฐินผืนนั้นเกิดแล้วแก่

สงฆ์  ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว  สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้

แก่ภิกษุมีชื่อนี้  เพื่อกรานกฐิน  นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า   ขอสงจงพึงข้าพเจ้า   ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่

สงฆ์  สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้   เพื่อกรานกฐิน   การให้

ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้  เพื่อกรานกฐิน  ชอบแก่ท่านผู้ใด  ท่าน

ผู้นั้นพึงเป็นนิ่ง  ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด  ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ผ้ากฐินผืนนี้    สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้    เพื่อกรานกฐิน

ชอบแก่สงฆ์  เหตุนั่นจึงนิ่ง   ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้  ด้วยอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล   กฐินเป็นอันกราน   อย่างนี้ไม่เป็น

อันกราน.

 

กฐินไม่เป็นอันกราน

[๙๗]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อย่างไรเล่า  กฐินไม่เป็นอันกราน  คือ:-

๑.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงขีดรอย.

๒. กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงซักผ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

๓.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงกะผ้า.

๔.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงตัดผ้า.

๕.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงเนาผ้า.

๖.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงเย็บต้น.

๗.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม.

๘.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงทำรังคุม.

๙.  กฐินไม่เป็นอันกราน  ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต.

๑๐.  กฐินไม่เป็นอันกราน  ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้าน

หน้า.

๑๑.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงดามผ้า.

๑๒.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่นเท่านั้น.

๑๓.  กฐินไม่เป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่ท่านิมิตได้มา.

๑๔.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา.

๑๕.  กฐินไม่เป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่ยืมเขามา.

๑๖.  กฐินไม่เป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน.

๑๗.  กฐินไม่เป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์.

๑๘.  กฐินไม่เป็นอัน กราน  ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ.

๑๙.  กฐินไม่เป็นอันกราน   เว้นจากผ้าสังฆาฏิเสีย.

๒๐.  กฐินไม่เป็นอันกราน   เว้นจากผ้าอุตราสงค์เสีย.

๒๑.  กรินไม่เป็นอันกราน   เว้นจากผ้าอันตรวาสกเสีย.

๒๒.  กฐินไม่เป็นอันกราน  เว้นจากจีวรมีขันธ์  ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่ง

ตัดดีแล้ว   ทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

๒๓.   กฐินไม่เป็นอันกราน   เว้นจากการกรานแห่งบุคคล.

๒๘.   กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ   ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนา

กฐินนั้น    แม้อย่างนี้    กฐินก็ชื่อว่าไม่เป็นอันกราน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อย่างนี้แล   กฐินไม่เป็นอันกราน.

 

กฐินเป็นอันกราน

[๙๘]   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อย่างไรเล่า   กฐินเป็นอันกราน   คือ:-

๑.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าใหม่.

๒.   กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าเทียมใหม่.

๓.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าเก่า.

๔.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าบังสุกุส.

๕.   กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่ตกตามร้าน.

๖.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา.

๗.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา.

๘.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา.

๙.   กฐินเป็นอันกราน   ด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน.

๑๐.  กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่ไม่ได้เป็นนิสสัคคีย์.

๑๑.  กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว.

๑๒.  กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าสังฆาฏิ.

๑๓.  กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าอุตราสงค์.

๑๔.  กฐินเป็นอันกราน  ด้วยผ้าอันตรวาสก.

๑๕.  กฐินเป็นอันกราน   ด้วยจีวรมีขันธ์  ๕ หรือเกิน  ๕  ซึ่งตัดดีแล้ว

ทำให้มีมณฑลเสร็จในวัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

๑๖.  กฐินเป็นอันกราน   เพราะการแห่งบุคคล.

๑๗.  กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ     ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐิน

นั้น  แม้อย่างนี้   กฐินก็ชื่อว่าเป็นอันกราน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อย่างนี้แล  กฐินเป็นอันกราน.

[๙๙]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อย่างไรเล่า   กฐินเป็นอันเดาะ ?

 

มาติกา ๘

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  มาติกาเพื่อเดาะกฐิน ๘ ข้อนี้  คือ

๑.  กำหนดด้วยหลีกไป.            ๒.  กำหนดด้วยจีวรทำเสร็จ.

๓.  กำหนดด้วยตกลงใจ.           ๔.   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๕. กำหนดด้วยได้ยินข่าว.         ๖.   กำหนดด้วยสิ้นหวัง.

๗.  กำหนดด้วยล่วงเขต.            ๘.   กำหนดด้วยเคาะพร้อมกัน.

 

อาทายสัตตกะที่  ๑

[๑๐๐]   ๑. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว      ถือจีวรที่ทำเสร็จแล้วหลีกไป

ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยหลีกไป

๒. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไป  เธออยู่นอกสีมา   เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับมา

ละ   เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยทำจีวร

เสร็จ.

๓.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไป   เธออยู่นอกสีมา    เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า   จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    จักไม่กลับ    การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้น  กำหนดด้วยตกลงใจ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

๔. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไป    เธออยู่นอกสีมา   เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า     จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ    จักไม่กลับ

แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น    จีวรของเธอ   ที่กำลังทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย   การเดาะ

กฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๕.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา   เธอ

อยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น    ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว    ได้ยินข่าวว่าในอาวาส

นั้น   กฐินเดาะเสียแล้ว   การเคาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๖.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ถือจีวรหลีกไป     ด้วยคิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น     ครั้นทำจีวรเสร็จ    คิดว่าจักกลับมา   จัก

กลับมา    แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ  ณ  ภายนอกสีมา  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยล่วงเขต.

๗.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา  เธอ

อยู่นอกสีมา   ทำให้จีวรผืนนั้น    ครั้นทำจีวรเสร็จ   คิดว่าจักกลับมา  จักกลับมา

แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย

อาทายสัตตกะที่  ๑  จบ

 

สมาทายสัตตะ   ที่  ๒

[๑๐๑]  ๑.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว      นำจีวรที่ทำเสร็จแล้ว หลีกไป

ด้วยคิดว่าจักไม่กลับมา   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น     กำหนดด้วยหลีกไป

๒.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรหลีกไป    เธออยู่นอกสีมา    เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้    ณ ภายนอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ  เธอ

ให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

๓.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรหลีกไป  เธออยู่นอกสีมา  เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    จักไม่กลับ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยตกลงใจ.

๔.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรหลีกไป  เธออยู่นอกสีมา  เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า  จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ   เธอให้

ทำจีวรผืนนั้น    จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น  ได้เสียหรือหาย  การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้นกำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๕.  ภิกษุได้กรายนกฐินแล้ว   นำจีวรหลีกไป     ด้วยคิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว   ได้ยินข่าวว่า   ใน

อาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๖.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรหลีกไป  ด้วยคิดว่าจักกลับมา  เธอ

อยู่นอกสีมา  ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา    จักกลับ

มาล่วงเขต.

๗. ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรหลีกไป  ด้วยคิดว่าจักกลับมา  เธอ

อยู่   ณ  ภายนอกสีมา  ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว   คิดว่าจักกลับมา

จักกลับมา  แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   พร้อมกับภิกษุ

ทั้งหลาย.

สมาทายสัตตกะ  ที่  ๒  จบ

 

 

อาทายฉักกะ  ที่  ๓

[๑๐๒]  ๑.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรที่ค้างไว้หลีกไป   เธออยู่

นอกสีมา  เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   เราจักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

-http://www.tripitaka91.com/91book/book07/151_200.htm-

http://www.tripitaka91.com/91book/book07/151_200.htm

.

sithiphong:
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

จักไม่กลับ   แล้วให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วย

ทำจีวรเสร็จ.

๒.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป  เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้   จักไม่กลับมา   การเดาะกฐินของ

ภิกษุนั้น    กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป  เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้    ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ

แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น  จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหาย  การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้น   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๔.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับ

มา  เธออยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว   ได้ทราบข่าวว่า

ในอาวาสนั้นกฐินเดาะแล้ว   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

๕.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจัก

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา    ให้ทำจีวรผืนนั้น  ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับ

มา  จักกลับมา  แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ   ณ  ภายนอกสีมา  การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้น  กำหนดด้วยล่วงเขต.

๖.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจัก

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   ไห้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว    คิดว่าจัก

กลับมา  จักกลับมา  แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  พร้อม

กับภิกษุทั้งหลาย.

 

อาทายฉักกะ ที่  ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

สมาทายฉักกะ  ที่   ๔

[๑๐๓]  ๑.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป  เธอ

อยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   เราจักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้

แหละจักไม่กลับ   เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนด

ด้วยทำจีวรเสร็จ.

๒.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    เธออยู่นอก

สีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า  จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้   จักไม่กลับมา   การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยตกลงใจ.

๓.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    เธออยู่นอก

สีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ    จัก

ไม่กลับ   แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น   จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้น   ได้เสียหรือหาย   การ

เดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

๔.  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป  ด้วยคิดว่าจัก

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น  ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ยินข่าวว่า

ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว     การเดาะกฐินของภิกษุนั้น     กำหนดด้วยได้

ยินข่าว.

๕.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจัก

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา  ให้ทำจีวรผืนนั้น  ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว  คิดว่าจักกลับ

มาจักกลับมา  แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ   ณ ภายนอกสีมา   การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้นกำหนดด้วยล่วงเขต.

๖.   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิดว่าจัก

กลับมา  เธออยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

จักกลับมา  แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  พร้อมกับภิกษุ

ทั้งหลาย.

สมาทายฉักกะ  ที่  ๔  จบ

 

การเดาะกฐินกำหนดด้วยทำจีวรเสร็จเป็นต้น

[๑๐๔]   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ถือจีวรหลีกไป     เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ

มา  เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น     กำหนดด้วยทำจีวร

เสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไป    เธออยู่นอกลีมา    เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    จักไม่กลับ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไป   เธออยู่นอกลีมา   เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้      ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ   แล้วไห้

ทำจีวรผืนนั้น  จีวรของเธอทีทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๐๕]   ภิกษุได้กรานกินแล้ว     ถือจีวรหลีกไป    ด้วยทั้งใจว่าจักไม่

กลับมา  เธออยู่นอกสีมา    เกิดความติดอย่างนี้ว่า    จักไห้ทำจีวรผืนนี้  ณ ภาย

นอกสีมานี้แหละ  เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนด

ด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ถือจีวรหลีกไป     ด้วยตั้งใจว่าจักไม่กลับมา

เธออยู่นอกสีมา   เกิดความติดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผื่นนี้      การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยตกลงใจ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  ถือจีวรหลีกไป   ด้วยตั้งใจว่า   จักไม่กลับมา

เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า  จักให้จีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น  จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย  การเดาะกฐินของ

ภิกษุนั้น   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๐๖]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไป   ด้วยไม่ตั้งใจ   คือ

เธอไม่ได้คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา  เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ  ภายนอกสีมาน แหล่ะ    จักไม่กลับ

เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไปด้วยไม่ตั้งใจ   คือ   เธอไม่ได้

คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิด

อย่างนี้ว่าจักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้  จักไม่กลับ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด

ด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไปด้วยไม่ตั้งใจ   คือ   เธอไม่ได้

คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิด

อย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับแล้วให้ทำจีวร

ผืนนั้นจีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้หรือเสียหาย  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น กำหนด

ด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๐๗]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา

เธออยู่นอกสีมาเกิดความคิดอย่างนี้ว่าจักให้ทำจีวรผืนนี้    ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

จักไม่กลับ   เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วย

ทำจีวรเสร็จ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไปด้วยตั้งใจว่าจักกลับมา  เธออยู่

นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้   จักไม่กลับ   การเดาะ

กฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา    เธออยู่

นอกสีมา     เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ

จักไม่กลับ   แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น   จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย  การ

เดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา    เธออยู่

นอกสีนา   ให้ทำจีวรผืนนั้น   ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว  ได้ยินข่าวว่า  ในอาวาสนั้น

กฐินเดาะแล้ว   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยได้ยินข่าว.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา    เธออยู่

นอกสีมา   ให้ทำจีวรผืนนั้น    ครั้นทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่าจักกลับมา   จักกลับมา

แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ   ณ ภายนอกสีมา  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วย

ล่วงเขต.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    ถือจีวรหลีกไปด้วยคิดว่าจักกลับมา    เธออยู่

นอกสีมา  ให้ทำจีวรผืนนั้น  ครั้นทำจีวรเสร็จแล้ว   คิดจักกลับมา   จักกลับมา

แล้วกลับมาทันกฐินเดาะ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย.

[๑๐๘]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรหลีกไป.   (นักปราชญ์พึงให้

พิสดารอย่างนี้   ดุจอาทายวาร)

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป เธออยู่นอกสีมาเกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า  จักไห้ทำจีวรผืนนี้   ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ  จักไม่กลับ  เธอ

ให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ     การเดาะกฐินของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ

(นักปราชญ์พึงให้พิสดารอย่างนี้   ดุจสมาทายวาร)

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

[๑๐๙]   ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ค้างไว้หลีกไป   เธออยู่นอก

สีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จัก

ไม่กลับ   เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ   การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วย

ทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้    จักไม่กลับ   การเดาะกฐินของ

ภิกษุนั้น  กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว     นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    เธออยู่นอกสีมา

เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ

แล้วให้ทำจีวรผืนนั้น    จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย     การเดาะกฐิน

ของภิกษุนั้น    กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๐๐]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป   ด้วยคิด

ว่าจักไม่กลับมา  เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ

ภายนอกสีมานี้แหละ     เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    ด้วยคิดว่าจักไม่

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้ แหละ

การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป    ด้วยคิดว่าจักไม่

กลับมา   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้  ณ ภาย

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

นอกสีมานี้แหละแล้วให้ทำจีวรผืนนั้น       จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย

การเดาะกฐินของภิกษุนั้น   กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

[๑๑๑]  ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว  นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยไม่ทั้งใจ

คือไม่ได้คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา   เธออยู่นอกสีมา  เกิด

ความคิดอย่างนี้ว่า    จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ  ภายนอกสีมานี้แหละ     จักไม่กลับ

เธอให้ทำจีวรผืนนั้นเสร็จ  การเดาะกฐินของภิกษุนั้น  กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว    นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปด้วยไม่ตั้งใจ    คือ

ไม่ได้คิดว่าจักกลับมา   และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับ   เธออยู่นอกสีมา   เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า    จักไม่ให้ทำจีวรผืนนี้     จักไม่กลับ    การเดาะกฐินของภิกษุนั้น

กำหนดด้วยตกลงใจ.

ภิกษุได้กรานกฐินแล้ว   นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป  ด้วยไม่ตั้งใจ  คือ

ไม่ได้คิดว่าจักกลับมา  และไม่ได้คิดว่าจักไม่กลับมา  เธออยู่นอกสีมา  เกิดความ

คิดอย่างนี้ว่า   จักให้ทำจีวรผืนนี้   ณ ภายนอกสีมานี้แหละ   จักไม่กลับ   แล้วให้

ทำจีวรผืนนั้น   จีวรของเธอที่ทำอยู่นั้นได้เสียหรือหาย   การเดาะกฐินของภิกษุ

นั้น  กำหนดด้วยผ้าเสียหาย.

-http://www.tripitaka91.com/91book/book07/201_250.htm-

http://www.tripitaka91.com/91book/book07/201_250.htm

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version