แสงธรรมนำใจ > หยาดฝนแห่งธรรม

ทาน ศีล ภาวนา

<< < (8/9) > >>

sithiphong:
ศีล อุโบสถ
-http://www.sil5.net/index.asp?contentID=10000004&title=%C8%D5%C5+%CD%D8%E2%BA%CA%B6&getarticle=15&keyword=&catid=1&title=%C8%D5%C5+%CD%D8%E2%BA%CA%B6&bttcol=False-
เตสํ สมฺปนฺนสีสานํ  สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ       
อปฺปมาทวิหารฺนํ    มาโร มคฺคํ น วินฺทติ

มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์
อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้น เพราะรู้ชอบ
     


จาก . . . ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
( สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ )
 
ประณีต  ก้องสมุทร

         
         ศีล ๕ เป็นศีลของคฤหัสถ์ ที่คฤหัสถ์ทั้งชายหญิงควรรักษาเป็นปกติ เป็น ประจำตลอดชีวิต

          ถึงกระนั้น ศีลที่ยิ่งกว่า ศีล ๕ ขัดเกลากิเลสได้ยิ่งกว่าศีล ๕ ที่คฤหัสถ์ควรรักษาตามโอกาส เป็นครั้งคราว ก็มีอยู่ ศีลที่กล่าวนี้คือ อุโบสถศีล หรือศีลอุโบสถ ซึ่งคฤหัสถ์ชายหญิงบางท่านรักษาในวัน อุโบสถ สมัยก่อนท่านกำหนดวันรักษาอุโบสถศีลไว้มากกว่าวันนี้ แต่ปัจจุบันเหลือวันรักษาอุโบสถศีลเพียง เดือนละ ๔ ครั้งในวันพระคือในวันแรม ๘ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำหรือ ๑๕ ค่ำ ขึ้น ๘ ค่ำและขึ้น ๑๕ ค่ำ แต่บาง ท่านก็ประพฤติยิ่งกว่านั้น โดยอาศัยแนวที่ท่านกล่าวไว้ใน อรรถกถาราชสูตร อังคุตตรนิกายติกนิบาตว่า อุโบสถมี ๓ อย่างคือ

       ๑. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ คือวัน ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม

       ๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน คือถือเอาวันที่กำหนดไว้ในปกติอุโบสถ เป็นหลัก แล้วเพิ่มรักษาก่อนกำหนด ๑ วัน เรียกว่า วันรับ และหลังวันกำหนดอีก ๑ วัน เรียกว่า วันส่ง เช่นวัน ๘ ค่ำเป็นวันรักษาปกติอุโบสถ ผู้ที่จะรักษาปฏิชาครอุโบสถ ก็เริ่มรักษาตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ ไปสิ้นสุดเอา เมื่อสิ้นวัน ๙ ค่ำ คือรักษาในวัน ๗ ค่ำ ๘ ค่ำและ ๙ ค่ำ รวม ๓ วัน ๓ คืน
       
        ๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำทุกวันตลอดพรรษา ๓ เดือนอย่าง หนึ่ง ถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด ๓ เดือน ก็รักษาให้ตลอด ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว คือรักษาใน กฐินกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ อย่างหนึ่ง ถ้ายัง ไม่อาจรักษาได้ตลอด ๑ เดือน ก็รักษาเพียงครั้งละครึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงสิ้นเดือน ๑๑ อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ

         ศีลอุโบสถนั้นเป็น ศีลรวม หรือ ศีลพวง คือมีองค์ประกอบถึง ๘ องค์ ถ้าขาดไปองค์ใดองค์ หนึ่งก็ไม่เรียกว่า ศีลอุโบสถ ตามพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว ก็ถือว่า ขาดศีลอุโบสถ เพราะเหลือศีลไม่ครบองค์ของอุโบสถศีล พูดง่ายๆว่าขาดศีลองค์เดียว ขาดหมดทั้ง ๘ องค์ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา เป็นพิเศษ

         อุโบสถศีลที่ประกอบด้วยองค์ ๘ มีดังนี้

    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี : งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป

    ๒. อทินนาทานา เวรมณี : งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้

    ๓. อพรหมจริยา เวรมณี : งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์

    ๔. มุสาวาทา เวรมณี : งดเว้นจากการกล่าวเท็จ

    ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี : งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

    ๖. วิกาลโภชนา เวรมณี : งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

    ๗. นัจจคีตวาทิต วิสูกทัสสนมาลาคันธ วิเลปนธารณ มัณฑนวิ ภูสนัฏฐานา เวรมณี : งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ลูบทาทัด ทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะ แห่งการแต่งตัว

    ๘. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี : งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่

        อุโบสถศีลอันมีองค์ ๘ นี้ องค์ที่ ๑-๒-๔-๕ เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ ของศีล ๕ ที่แปลกกัน คือข้อ ๓

        ศีล ๕ นั้น ข้อ ๓ ให้เว้นจากการประพฤติผิดประเวณีในผู้ที่มิใช่คู่ของตน แต่ถ้าเป็นคู่ครอง ของตนแล้วไม่ห้าม แต่ศีลข้อ ๓ ของอุโบสถศีลนั้น ให้งดเว้นจากการเสพประเวณีโดยเด็ดขาด แม้ใน คู่ครองของตนเอง จึงจะชื่อว่า พรหมจริยา คือ ประพฤติอย่างพรหม ส่วนที่เพิ่มเข้ามาคือ ศีลข้อ ๖-๗-๘ อุโบสถศีลนั้นก็มีองค์ของศีลเป็นเครื่องวินิจฉัยว่า การกระทำเช่นไรจึงล่วงศีลไว้เช่นเดียวกับศีล ๕ สำหรับศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ นั้น มีองค์เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ ของศีล ๕ ที่ได้กล่าวไปแล้ว สำหรับศีล ข้อที่เหลือมีเครื่องวินิจฉัย ดังนี้

        ศีลข้อ ๓ อพรหมจริยา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ ๑. อชฺฌาจรณียวตฺถุ วัตถุที่จะพึงประพฤติล่วง ( คือมรรคทั้ง ๓ ) ๒. ตตฺถ เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพในวัตถุที่จะพึงล่วงนั้น ๓. เสวนปฺปโยโค พยายามเสพ ๔. สาทิยนํ มีความยินดี
    ศีลข้อ ๖ วิกาลโภชนา เวรมณี มีองค์ ๔ คือ ๑. วิกาโล เวลาตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนอรุณขึ้น ๒. ยาวกาลิกํ ของเคี้ยวของกินที่สงเคราะห์เข้าในอาหาร ๓. อชฺโฌหรณปฺปโยโค พยายามกลืนกิน ๔. เตน อชฺโฌหรณํ กลืนให้ล่วงลำคอเข้าไปด้วยความเพียรนั้น

        สำหรับศีลข้อนี้ ควรทราบว่า เวลาตั้งแต่อรุณขึ้นไปจนถึงเที่ยง เรียกว่า กาล คือเป็นเวลาบริโภค อาหาร ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น (ของวันใหม่) เรียกว่า วิกาล เป็นเวลาที่ต้องเว้นจากการบริโภค อาหารทุกชนิด เว้นน้ำธรรมดา และน้ำดื่ม ๘ อย่าง ที่เรียกว่า ๑ อัฏฐบาน ที่มีพุทธานุญาตไว้ น้ำดื่ม ๘ อย่าง ( อัฏฐบาน ) นั้น คือ

        น้ำที่ทำจากผลมะม่วง ๑ ผลหว้า ๑ ผลกล้วยมีเมล็ด ๑ ผลกล้วยที่ไม่มีเมล็ด ๑ ผลมะทราง ๑ ผลจันทน์ หรือผลองุ่น ๑ เง่าบัว ๑ ผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑
    ต่อมาทรงมีพุทธานุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำ ผักดอง น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง และทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด

        อรรถกถาท่านสรุปว่า ในเวลาวิกาลดื่มน้ำผลไม้ได้ทุกชนิด เว้นผลไม้ที่มีผลโตกว่าผลมะตูม ( บางแห่งว่าผลมะขวิด ) วิธีทำนั้นก็ต้องคั้นเอาแต่น้ำ และกรองให้ไม่มีกาก และไม่ผ่านการสุกด้วยไฟ น้ำปานะดังกล่าวนี้เท่านั้นที่ผู้รักษาอุโบสถศีลควรดื่มในเวลาวิกาล นอกนี้ไม่ควร พึงสังเกตว่า ไม่มีน้ำนมสดทุกชนิด คือน้ำนมของสัตว์ หรือนมที่ทำจากพืช เช่นถั่วเป็นต้น

         นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงอนุญาตให้บริโภคเภสัช ๒ ๕ อย่างคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย รวมทั้งงบน้ำอ้อย ในเวลาวิกาลได้

    ๑-๒. พระวินัยปิฎกมหาวรรค เภสัชชขันธกะ ข้อ ๘๖ และข้อ ๒๖

          ศีลข้อ ๗ แบ่งเป็น ๒ ตอน แต่ละตอนมีองค์โดยเฉพาะ ถ้ากระทำผิดศีลตอนใดตอนหนึ่ง เพียงตอนเดียว ก็ถือว่าขาดหมดทั้งสองตอน
    ศีลข้อ ๗ ตอนแรก นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนะ เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล มีองค์ ๓ คือ ๑. นจฺจาทีนิ การเล่นมีฟ้อนรำขับร้อง เป็นต้น ๒. ทสฺสนตฺถาย คมนํ ไปเพื่อจะดูหรือฟัง ๓. ทสฺสนํ ดูหรือฟัง

       ศีลตอนแรกนี้ท่านห้ามทั้งเล่นเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเล่นแล้วตนดูหรือฟัง ผู้รักษาอุโบสถศีลแล้วยัง เปิดวิทยุฟังเพลง ฟังลิเก หรือมหรสพต่างๆ หรือเปิดโทรทัศน์แล้วหลบไปนั่งในที่ๆ มองไม่เห็นภาพ อาศัย ฟังแต่เสียงการละเล่นต่างๆ มีละคร เป็นต้นจากโทรทัศน์นั้น ย่อมไม่สมควรถือว่าผิดศีลข้อนี้ เพราะมีเจตนา ชัดแจ้ง
    หากมีผู้อื่นเขาเปิดดูหรือฟังอยู่ ผู้รักษาอุโบสถศีลเพียงแต่ผ่านไป ได้เห็นหรือได้ยินเข้า แล้วก็ ผ่านเลยไปอย่างนี้ไม่ผิดแต่ไม่ใช่ว่าไม่ได้มีเจตนาจะดูหรือฟังมาก่อน แต่ผ่านไปเห็นหรือได้ยินเข้า แล้ว เลยพลอยร่วมวงดูหรือฟังกับเขาด้วย อย่างนี้ก็ผิด
    ปกติเราก็ดูก็ฟังกันอยู่ทักวันทุกคืน เราจะหยุดดูหยุดฟังกันสักวันหนึ่ง คืนหนึ่ง ตามอย่าง พระอรหันต์ ท่านมิได้เทียวหรือ ก็ในวินัยของพระอริยเจ้านั้น

        *การขับร้อง คือการร้องไห้ การฟ้อนรำ คือความเป็นบ้า การหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็ก ศีลข้อ ๗ ตอนหลัง มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี เว้นจากการลูบทา ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการ แต่งตัว มีองค์ ๓ คือ ๑. มาลาทีนํ อญฺญตรตา เครื่องประดับตกแต่ง มีดอกไม้และของหอม เป็นต้น ๒. อนุญฺญาตการณาภาโว ไม่มีเหตุเจ็บไข้ เป็นต้นที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ๓. อลงฺกตภาโว ทัดทรงประดับตกแต่ง เป็นต้นด้วยจิตคิดจะประดับให้สวยงาม

       ในข้อนี้มีข้อสังเกตคือ บางท่านก่อนไปวัดเพื่อสมาทานอุโบสถศีล ก็ตกแต่งร่างกาย ทาหน้า ทาปาก เป็นต้น อย่างสวยงามเสียก่อน เพราะคิดว่าได้กระทำก่อนสมาทานศีล จึงไม่ผิด แต่เจตนาใน การกระทำเพื่อให้สวยงามมีอยู่จึงถือว่าผิด เพราะผู้ที่จะรักษาอุโบสถศีลนั้น ต้องตั้งเจตนาที่จะรักษาไว้ ตั้งแต่รุ่งเช้าแล้วว่า จะรักษาอุโบสถศีลตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง คำว่า วันหนึ่งคืนหนึ่งนั้น ท่านกำหนดนับตั้งแต่อรุณขึ้นของวันที่รักษาไปจนถึงอรุณขึ้นของวัน ใหม่ ถ้าน้อยกว่ากำหนดนี้ก็ไม่ชื่อว่าวันหนึ่งคืนหนึ่ง ผู้รักษาอุโบสถควรระลึกถึงข้อนี้ด้วย

       ศีลข้อ ๘ อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ มีองค์ ๓ คือ ๑. อุจฺจาสยนมหาสยนํ ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ ๒. อุจฺจสยนมหาสยนสญฺญิตา รู้ว่าที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ ๓. อภิสีทนํ วา อภิปชฺชนํ วา นั่งหรือนอนลง

       คำว่า ที่นั่งและที่นอนสูงใหญ่ ในศีลข้อนี้ ท่านหมายเอาที่นั่งและที่นอนที่สูงใหญ่เกินประมาณ ที่ประดับตกแต่งด้วยเครื่องปูลาดที่วิจิตรงดงาม รวมไปถึงที่นอนที่ยัดด้วยนุ่มและสำลีด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้ ยินดีติดใจในความงามและสัมผัสที่อ่อนนุ่มสบายของที่นั่งที่นอนเหล่านั้น

      อุโบสถศีลทั้ง ๔ ข้อที่แตกต่างและเพิ่มขึ้นจากศีล ๕ นั้นถ้าไม่พิจารณาให้ละเอียดแล้ว จะไม่ เห็นว่าศีลทั้ง ๔ ข้อนี้เพิ่มความขัดเกลายิ่งขึ้น จึงไม่น่ายากแก่การรักษา แต่โดยที่แท้แล้วมิได้เป็นเช่นนั้น มิฉะนั้นแล้วก็คงจะไม่มีผู้รักษาอุโบสถศีลน้อยมากอย่างนี้ เมื่อเทียบกับจำนวนพลเมืองทั้งประเทศ

       ก็ปกติของคฤหัสถ์นั้น ยังยินดีติดใจในการการเสพประเวณี ในการบริโภคจนเกิน ประมาณ ในการตกแต่งร่างกายให้สวยงาม ในการนอนสบาย แต่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ อุโบสถศีล ๔ ข้อนี้ขึ้น เพื่อขัดเกลาความยินดี ติดใจในสิ่งเหล่านี้ของคฤหัสถ์เป็นครั้งคราว เพียงชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่งเป็นอย่างต่ำ ๓ วันเป็นอย่างกลาง ( ปฏิชาครอุโบสถ ) ๓ เดือนตลอด พรรษาเป็นอย่างสูง ( ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ ) มิได้ทรงบัญญัติให้รักษาจนตลอดชีวิตอย่าง พระอรหันต์

       เพราะฉะนั้น ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลเพียงชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่งเพราะน้อมระลึกว่า "แม้เราจะรักษา อุโบสถศีลจนตลอดชีวิตอย่างพระอรหันต์ไม่ได้ ก็ขอดำเนินรอยตามท่านด้วยการรักษาอุโบสถศีล อันมีองค์ ๘ นี้ ขั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง" เพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ยังตรัสว่า การรักษาอุโบสถศีลของผู้นั้นมี ผลมากมีอานิสงส์มาก* แม้พระราชาผู้ทรงเป็นใหญ่ใน ๑๖ แคว้น ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของอุโบสถที่ประกอบ ด้วยองค์ ๘ เพราะศีลนั้นทำให้เกิดในสวรรค์

    * อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐ วิสาขสูตร อํ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๓๓

       ก็สมบัติมหาศาลของพระราชา ในเมืองมนุษย์นั้นเป็นของเล็กน้อย เปรียบเหมือนสมบัติ ของคนจน เมื่อเทียบกับสมบัติและความสุขอันเป็นทิพย์ในเทวโลก ที่ผู้รักษาอุโบสถศีลจะพึงได้ รับเมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว

        ทั้งนี้เพราะเทวดาผู้เกิดในสวรรค์ชั้นต่ำสุดคือ จาตุมมหาราชิกานั้นยังมีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปีทิพย์ ซึ่งวันหนึ่งคืนหนึ่งของสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกานั้นเท่ากับ ๕๐ ปีมนุษย์ ลองคิดดูเองเถิดว่า ๕๐๐ ปีทิพย์ นั้นจะเท่ากับกี่ปีมนุษย์ ยิ่งถ้าได้เกิดในสวรรค์ชั้นสูงขึ้นไป อายุก็เพิ่มขึ้นจากชั้นต่ำเป็นทวีคูณ ชั้นปรนิมมิต วสวตีอันเป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด เทวดาในชั้นนี้อายุยืนถึง ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ ( เทวโลกหรือสวรรค์นั้นมี ๖ ชั้น คือ จาตุมมหาราชิกา ดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานนรตี ปรนิมมิตวสวตี )

    อุโบสถศีล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มากอย่างนี้

       ถึงกระนั้นพระพุทธองค์ก็มิได้ทรงสอนให้หลงใหลติดใจในสมบัติ และความสุขในโลกสวรรค์ เพราะมิฉะนั้นแล้วพระองค์จะไม่ตรัสกับ นางวิสาขา มหาอุบาสิกาเลยว่า

    อุโบสถ* มี ๓ อย่าง คือ

     ๑. โคปาลกอุโบสถ อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค
     ๒. นิคัณฐอุโบสถ อุโบสถของพวกนักบวชนิครนถ์
     ๓. อริยอุโบสถ อุโบสถของพระอริยะ

    * อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐

        บุคคลผู้รักษาอุโบสถเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโคนั้น เมื่อสมาทานอุโบสถศีลแล้ว ก็ปล่อยใจให้ คิดแต่เรื่องราวของความโลภความต้องการ อยากได้สิ่งโน้นสิ่งนี้มาบำรุงบำเรอตน ไม่ได้คิดจะทำความ ดีอย่างอื่นให้เกิดขึ้นเลย ไม่ผิดอะไรกับคนที่รับจ้างเลี้ยงโค ที่เมื่อถึงเวลาเช้าก็ไปรับโคมาเลี้ยง เวลา เย็นก็นำโคมาส่งเจ้าของแล้วรับเอาค่าจ้างไป กลับบ้านแล้วก็คิดแต่ว่าพรุ่งนี้จะพาโคไปกินหญ้า กินน้ำที่ ไหน คนรับจ้างนั้นไม่เคยได้รับประโยชน์อะไรจากโค มีน้ำนมเป็นต้นเลย ผู้รักษาโคปาลกอุโบสถก็เช่น กัน ไม่ได้รับประโยชน์จากอุโบสถศีลที่ตนรักษาเลย การรักษาแบบ โคปาลกอุโบสถ จึงไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์ เพราะความตรึกไม่บริสุทธิ์ส่วน นิคัณฐอุโบสถ  นั้นเป็นอุโบสถของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งแตกต่างจากการรักษา อุโบสถในพระพุทธศาสนา  กล่าวคือ ในอุโบสถ  พวกนักบวชนิครนถ์  จะแนะนำชักชวนสาวก  เป็นต้นว่า   ไม่ให้ฆ่าสัตว์ในที่ทั้ง ๔ ในที่เลยร้อยโยชน์ไป นอกจากนั้นมิได้ห้าม การแนะนำชักชวนสาวกอย่างนี้ ชื่อว่า ห้ามการฆ่าสัตว์ในที่บางแห่ง ไม่ห้ามฆ่าสัตว์ในที่บางแห่ง  เป็นการขาดความกรุณาเอ็นดูในสัตว์ บางพวก  มิได้ให้ความเอ็นดูแก่สัตว์ทุกหมู่เหล่า  อุโบสถของพวกนิครนถ์จึงไม่มีผลมากแต่ อริยอุโบสถ  นั้นเป็นอุโบสถที่มีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  เพราะผู้รักษามิได้ปล่อยใจให้ ฟุ้งซ่านไปในความยินดีต้องการ  หรือความเศร้าหมองใดๆ  ด้วยอำนาจของกิเลส  แต่มาพากเพียรระลึก ถึงพระคุณของพระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์  ตลอดจนระลึกถึงศีลที่บริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อยของตน  และ ระลึกถึงคุณธรรมของผู้ที่เกิดเป็นเทวดา  ว่าเทวดาเหล่านั้นได้เกิดเป็นเทวดา  เพราะประกอบด้วยศรัทธา   ศีล  สุตะ  จาคะ  ปัญญา  เช่นใด  แม้เราก็ประกอบด้วยศรัทธา  ศีล  สุตะ  จาคะ  ปัญญา  เช่นนั้น  เมื่อพาก เพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า  เป็นต้น  จิตย่อมผ่องใส  ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส  การรักษาอุโบสถ โดยการไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอำนาจของอกุศลแล้วมาเจริญกุศลอย่างนี้  ชื่อว่า  อริยอุโบสถ

       อุโบสถจึงมีผลมาก เพราะจิตของผู้รักษาบริสุทธิ์ ไม่มีผลมากเพราะจิตเศร้าหมอง

       บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญพุทธานุสสติ  ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ *พรหมอุโบสถ อยู่ร่วมกับพรหม และมีจิตผ่องใสเพราะ ปรารภพรหม

    * อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐

    คำว่า พรหม  ในที่นี้ แปลว่า ประเสริฐ เป็นชื่อของพระพุทธเจ้า

       บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญธัมมานุสสติ  ระลึกถึงคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ ธรรมอุโบสถ อยู่ร่วมกับธรรม และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภธรรม

       บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญสังฆานุสสติ  ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ สังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับสงฆ์ และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภสงฆ์

          บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญสีลานุสสติ  ระลึกถึงความบริสุทธิ์แห่งศีลของตน พระพุทธเจ้า ตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ ศีลอุโบสถ อยู่ร่วมกับศีล และมีจิตผ่องใสเพราะปรารภศีล

          ศีลที่บริสุทธิ์นั้น คือ ศีลที่ไม่ขาด  คือไม่ขาดศีลข้อต้นหรือข้อปลายเหมือนผ้าที่ขาดตรงชาย ๑ ไม่ทะลุ  เหมือนผ้าที่ทะลุตรงกลาง เพราะขาดศีลตอนกลางในระหว่างข้อต้นและข้อปลาย ๑ ไม่ด่าง  เหมือนแม่วัวที่มีรอยด่างสีดำหรือแดง รูปกลมหรือยาว ที่หลังหรื่อที่ท้อง เพราะขาด ศีลติดต่อกันเป็นลำดับ ๒ หรือ ๓ ข้อ ๑ ไม่พร้อย  เหมือนแม่วัวที่มีจุดตามตัว เพราะศีลขาดเป็นระหว่างๆ ๑ บุคคลที่รักษาอุโบสถแล้ว เจริญเทวตานุสสติ  ระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้ไปเกิดเป็นเทวดา พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลนั้น ชื่อว่าเข้าจำ เทวดาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา และมีจิตผ่องใสเพราะ ปรารภเทวดา

         ผู้รักษาอุโบสถ เมื่อพากเพียรระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นต้นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมผ่องใส ไม่เศร้าหมองเพราะกิเลส ครั้นเจริญอนุสสติให้จิตใจสงบอย่างนี้แล้ว ตายไปย่อมเกิดในสวรรค์ หากเจริญธรรมให้สูงยิ่ง กว่านี้ คือเจริญสมถะกรรมฐาน เป็นนิจจนได้ฌาน ฌานก็จะนำเกิดในพรหมโลกหรือหากเจริญวิปัสสนา จนสำเร็จมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาแล้ว ผู้รักษาอุโบสถศีลนั้นก็สามารถกำหนดการ เกิดของตนได้ว่า ยังมีอีกหรือไม่ คือถ้าเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ก็ยังต้องเกิดอีก แต่อย่างมากก็เกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ หากสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่เกิดอีกเลย ก็เพราะอริยอุโบสถมีผลมาก มีอานิสงส์มากอย่างนี้ คืออย่างต่ำทำให้เกิดในสวรรค์ ๖ ชั้น อย่างกลางทำให้เกิดเป็นพรหม อย่างสูงทำให้ไม่เกิดอีกเลย ทุกท่านที่รักษาอุโบสถ จึงควรรักษาอริย อุโบสถ ดำเนินรอยตามพระอริยะ ส่วนผลที่ได้รับจะสูงต่ำเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราเอง รวมทั้งปัญญาบารมีที่ได้สั่งสมอบรมมาแต่ปางก่อนด้วยใน สักกสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ข้อ ๔๖ พระพุทธองค์ตรัสเตือนอุบาสกชาว สักกชนบท ที่รักษาอุโบสถศีลเป็นบางครั้งบางคราวว่า เป็นผู้ประมาทไม่ทำตามคำพร่ำสอนของพระองค์ ในเมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้ ก็ยังไม่รักษาอุโบสถศีลให้เป็นปกติ ให้ สม่ำเสมอ สาวกของพระองค์นั้นปฏิบัติตามคำพร่ำสอนของพระองค์โดยไม่ประมาทตลอด ๑๐ ปี ย่อม ได้รับความสุขเพียงอย่างเดียวตลอด ๑๐๐ ปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี พึงเป็นพระโสดาบัน พระสกทา คามี พระอนาคามีก็มี

       อย่าว่าแต่ผู้ที่ปฏิบัติตามคำพร่ำสอนของพระองค์ตลอด ๑๐ ปีเลย แม้ปฏิบัติตามคำสอนของ พระองค์น้อยกว่านั้นลงมาตามลำดับจนถึง ๑ วัน ๑ คืน ก็พึงได้รับความสุขอย่างเดียวตลอด ๑๐๐ ปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี พึงเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีก็มี

       เมื่ออุบาสกชาวสักกชนบทได้ฟังพระพุทธองค์ตรัสเตือน พร้อมทั้งแสดงอานิสงส์ของอุโบสถศีล เช่นนั้น ก็กราบทูลรับรองว่า ต่อแต่นี้ไปจะรักษาอุโบสถศีลโดยสม่ำเสมอ มิได้ขาด
     
        ก็ชีวิตของเราทั้งหลายในปัจจุบันนี้ ล้วนมีภัยอันตรายอยู่รอบตัว ไม่มีใครทราบว่าความตายจะ มาถึงเราเมื่อไร แล้วเรายังจะประมาทไม่ทำตามคำพร่ำสอนของพระพุทธองค์ด้วยการรักษาศีล ๕ หรือ อุโบสถศีลให้สม่ำเสมอดอกหรือ ในเมื่อศีลนั้นเป็นอริยทรัพย์ประการหนึ่งในบรรดาอริยทรัพย์ ๗ ประการ ที่พร้อมจะติดตามไปให้ความสุขแก่ผู้รักษาตลอดไป ตราบเท่าที่ยังต้องเกิดอยู่

       เพราะฉะนั้น ผู้รักษาศีลดีแล้ว จึงไม่ต้องตั้งเจตนาปรารถนา ขอความไม่เดือดร้อนและ ความสุข จงเกิดแก่เรา ด้วยว่าความไม่เดือดร้อนและความสุข ย่อมเกิดแก่ผู้มีศีลเป็นธรรมดา แต่ผู้ทุศีลถึงจะตั้งเจตนาปรารถนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนและความสุขจงเกิดแก่เรา เขาก็หา ได้รับผลสมตามเจตนาไม่ เพราะความเดือดร้อน และความทุกข์ย่อมเกิดแก่ผู้ทุศีลเป็นธรรมดา ธรรมที่ปฏิบัติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้อย่างนี้

        สำหรับศีลของคฤหัสถ์อีกอย่างหนึ่ง คือ ศีล ๘ ก็มี ๘ ข้อเหมือนอุโบสถศีล เพียงแต่ไม่กำหนด วันรักษาเหมือนอุโบสถศีล จะรักษาวันใด เมื่อไรก็ได้ เป็นการสะดวกสบายสำหรับผู้ที่ไม่อาจจะรักษาอุโบสถ ศีลในวันพระ ก็สามารถรักษาศีล ๘ ในวันอื่นเป็นการทดแทนได้ บางท่านมีศรัทธารักษาศีล ๘ จนตลอดชีวิต ควรแก่การสรรเสริญ และหากว่าท่านที่รักษาศีล ๘ นั้นจะได้รักษาศีล ๘ ของท่านตามแบบอย่างของพระอริยะ แล้ว ศีลของท่านก็ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

       อนึ่งในการตั้งใจรักษาศีลนั้น อย่านึกว่าต้องไปสมาทานกับพระที่วัดเท่านั้นจึงจะเป็นศีล ความจริง แล้วจะสมาทานที่ไหนก็ได้ คือจะสมาทานที่วัด ในป่า หรือในบ้าน หากมีเจตนาคิดงดเว้นก็เป็นศีลแล้ว หรือ จะคิดงดเว้นเองโดยมิต้องสมาทานก็เป็นศีล โดยเฉพาะอุโบสถศีลนั้น ควรตั้งเจตนาในการรักษาไว้แต่รุ่งเช้า หากมีโอกาสไปวัดจะสมาทานกับพระอีกครั้งหนึ่งก็สมควร ทั้งนี้เพราะตามวัดต่างๆนั้น กว่าจะถึงเวลาที่พระ ท่านลงโบสถ์และให้ศีล ก็มักเป็นเวลาหลังจากที่ท่านฉันอาหารเช้าแล้ว ( โดยมากประมาณ ๙ น. ) ซึ่งเลย เวลาที่อรุณขึ้นมาหลายชั่วโมง ด้วยเหตุนั้นจึงควรสมาทานด้วยตนเองเสียก่อนแต่รุ่งเช้า

        ในอดีต พระพุทธเจ้าของเราในสมัยที่ยังเป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ ก็ยังได้สมาทานศีลอุโบสถด้วย ตนเอง ในขณะที่ลอยอยู่กลางทะเล แม้ในสมัยพุทธกาล คนส่วนมากก็สมาทานศีลที่บ้าน ในวันอุโบสถ แล้วจึงถือดอกไม้ของหอม ไปวัดเพื่อฟังธรรม ( อรรถกถาเล่า ) ท่านมิได้ไปรับศีลจากพระที่วัด หากการรักษาศีลจำเป็นต้องไปสมาทานกับพระเพียงอย่างเดียว ก็น่าคิดว่าผู้ที่อยู่ในถิ่นกันดาร ในที่ไม่มีวัด ไม่มีพระ แต่นับถือพระพุทธศาสนา มิหมดโอกาสที่จะรักษาศีลหรือ เพราะเหตุนี้การทำอะไร จึงต้องอาศัย ปัญญา แม้การรักษาศีลก็ต้องอาศัยปัญญาพินิจพิจารณาให้รอบคอบ อย่าเพียงแต่ทำตามๆ กันโดยขาดเหตุผลด้วยเหตุนี้พระอรหันต์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

    * ศีลเท่านั้นเป็นเลิศ แต่ผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ในโลกนี้ ความชนะในมนุษยโลกและเทวโลก ย่อมมีได้เพราะศีลและปัญญา

    * ขุททกนิกาย, ปุณณเถรคาถา, สีลวเถรคาถา

        ความชนะในที่นี้ หมายถึง ความชนะกิเลส มนุษย์ก็ตาม เทวดาก็ตาม จะชนะกิเลส ได้ก็เพราะศีลและปัญญา ศีลที่มีปัญญาเป็นพื้นฐาน จึงไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ไม่เป็นทาส ของตัณหาและทิฏฐิ กล่าวคือ ผู้รักษาศีล มิได้มุ่งรักษาเพราะต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ หรือสมบัติใดๆ มีโภคสมบัติเป็นต้น หรือมิได้รักษาเพราะเห็นผิดว่า เราจะบริสุทธิ์จากกิเลสได้เพราะศีลนี้ หมายความว่าผู้นั้น เห็นผิดว่า ลำพังศีลอย่างเดียว คือศีลเท่านั้นบรรลุนิพพานได้ ซึ่งเห็นผิดไปจากความจริง เพราะผู้จะบรรลุ นิพพานได้นั้น ต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา เบื้องต้นนั้น ศีลเป็นบาทให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นบาทให้เกิดปัญญา แต่เบื้องปลาย ศีล สมาธิ และปัญญา จะประชุมพร้อมกันเป็นมรรคสมังคี ในอริยมรรค มีองค์ ๘ เป็นอริยศีล อริยสมาธิ และอริยปัญญา อริยศีลที่ประกอบด้วยอริยสมาธิ และอริยปัญญา ในขณะนั้นเท่านั้น ที่บรรลุนิพพานได้ อริยศีลนี้ จึงชื่อว่า สีเลน นิพฺพุติ ยนฺติ โดยแท้จริง

          ด้วยเหตุนี้ ศีลที่มีปัญญาเป็นพื้นฐาน จึงเป็นเครื่องกั้นทุจริต เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอันประเสริฐ เป็นเครื่องหอมที่ฟุ้งไปทั่วทิศานุทิศ เป็นสะพานนำไปถึงนิพพาน หากยังไม่ ปรินิพพานตราบใด ย่อมเกิดเป็นมนุษย์ * และเทวดาเท่านั้น

    * อํ. ทุกนิบาต ข้อ ๒๗๕

    จริงหรือไม่ว่า ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

 
กาเยน วาจาย จ โยธ สญฺญโต
มนสา จ กิญฺจิ น กโรติ ปาปํ
น อตฺตเหตุ อลิกํ ภณาติ
ตถาวิธํ สีลวนฺติ วทนฺติ
 
      ผู้ใดสำรวมในโลกนี้ สำรวมทางกาย วาจาและใจ
ไม่ทำบาปอะไรๆ และไม่พูดพล่อย เพราะเหตุแห่งตน
ท่านย่อมเรียกคนเช่นนั้นว่า ผู้มีศีล

จาก :- สรภังคชาดก ขุททกนิกายชาดก ข้อ ๒๔๖๖

sithiphong:
กรรมวิบาก และ อานิสงส์ของศีล ๕
-http://www.sil5.net/index.asp?autherid=24&ContentID=10000024&title=%CD%D2%B9%D4%CA%A7%A4%EC%A2%CD%A7%A1%D2%C3%C3%D1%A1%C9%D2%C8%D5%C5+5&bttcol=False-

กรรมวิบากของศีล ๕

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๑ คือประพฤติปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย (แดนแห่งเปรต)
๔.ย่อมเป็นผู้มีอวัยวะพิการ
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีอายุสั้น

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๒ คือประพฤติทินนาทาน(ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย/ลักทรัพย์) ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้ยากจนเข็ญในไร้ที่พึง
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ทรัพย์ย่อมฉิบหาย

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๓ คือ ประพฤติผิดในกาม ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่

๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีร่างกายทุพลภาพ ขี้เร่ มากไปด้วยโรค
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นผู้มีศัตรูรอบด้าน

ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๔ คือประพฤติมุสาวาท พูดเท็จ ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓.ย่อมเกิดในกำเนิดเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีวาจาไม่เป็นที่เชื่อถือ มีกลิ่นปากเหม็นจัด
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ จะถูกกล่าวตู่อยู่เสมอ


ผู้ที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานนา คือผู้ดื่มสุราเมรัย ย่อมได้รับกรรมวิบาก ๕ สถาน ได้แก่.-


๑.ย่อมเกิดในนรก
๒.ย่อมเกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน
๓. ย่อมเกิดในเปตวิสัย
๔.ย่อมเป็นผู้มีสติไม่สมประกอบ
๕.โทษเบาที่สุด หากเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นบ้า


อนึ่ง โทษแห่งการดื่มสุราเมรัยและเสพสิ่งเสพติดให้โทษซึ่งผู้ประพฤติย่อมได้รับโทษในปัจจุบัน ๖ อย่าง คือ


๑.เสียทรัพย์ ๒.ก่อการทะเลาะวิวาท
๓.เกิดโรค ๔.ถูกติเตียน
๕.เป็นผู้ไม่มียางอาย ๖.ทอนกำลังสติปัญญา



อานิสงส์แห่งการรักษาศีล ๕

สิกขาบทที่ ๑ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๗ ประการ ได้แก่.-

๑.มีร่างกายสมส่วน ไม่พิการ
๒.เป็นคนแกล้วกล้าว่องไว มีกำลังมาก
๓.ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไม่เศร้าหมอง
๔.เป็นคนอ่อนโยน มีวาจาไพเราะ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งหลาย
๕.ศัตรูทำร้ายไม่ได้ ไม่ถูกฆ่าตาย
๖.มีโรคภัยเบียดเบียนน้อย
๗.ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน


สิกขาบทที่ ๒ ย่อมไดรับอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.ย่อมมีทรัพย์สมบัติมาก
๒.แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมได้โดยง่าย
๓.โภคทรัพย์ที่หามาได้แล้วย่อมมั่นคงถาวร
๔.สมบัติไม่ฉิบหายเพราะโจรภัย อัคคีภัย และอุทกภัย เป็นต้น
๕.ย่อมได้รับอริยทรัพย์
๖.ย่อมไม่ได้ยินและรู้จักคำว่า "ไม่มี"
๗.อยู่ที่ไหนก็ย่อมเป็นสุข เพราะไม่มีใครเบียดเบียน


สิกขาบทที่ ๓ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.ไม่มีศัตรูเบียดเบียน
๒.เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
๓.มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
๔.ไม่ต้องเกิดเป็นหญิงหรือเป็นกระเทยอีก
๕.เป็นผู้สง่า มีอำนาจมาก
๖.มีอินทรีย์ ๕ บริบูรณ์
๗.มีความสุข ไม่ต้องทำงานหนัก


สิกขาบทที่ ๔ คือ ย่อมมีอานิสงส์โดยย่อ ๗ ประการ ได้แก่


๑.มีอินทรีย์ ๕ ผ่องใส
๒.มีวาจาไพเราะ มีไรฟันสม่ำเสมอเป็นระเบียบดี
๓.มีร่างกายสมส่วนบริบูรณ์ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง
๔.มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกบัว
๕.มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป
๖.ไม่เป็นอ่าง ไม่เป็นใบ้
๗.มีริมฝีปากแดงระเรื่อและบาง


สิกขาบทที่ ๕ มีอานิสงส์โดยย่อ ๖ ประการ ได้แก่


๑.รู้จักอดีต อนาคต ปัจจุบันได้รวดเร็ว
๒.มีสติตั้งมั่นทุกเมื่อ
๓.มีความรู้มาก มีปัญญามาก
๔.ไม่บ้า ไม่ใบ้ ไม่มัวเมาหลงไหล
๕.มีวาจาไพเราะ มีน้ำคำเป็นที่น่าเชื่อถือ
๖.มีความซื่อสัตย์ สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ


อานิสงส์โดยย่อของการรักษาศีล


การรักษาศีลย่อมมีอานิสงส์มากมายจนสุดที่จะบรรยายให้ไหมดได้ แต่เมื่อกล่าวโดยหลักใหญ่ ๆ ซึ่งปรากฏในคำกล่าวสรุปหลังจากที่พระท่านให้ศีลว่ามี ๓ ประการ คือ


๑.ศีลเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติ (สีเลนะ สุคติง ยันติ)
๒.ศีลเป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ (สีเลนะ โภคะสัมปะทา)
๓.ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน (สีเลนะ นิพพุติง ยันติ)


และเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ศีลนั้นมี "ความไม่เดือดร้อน" เป็นอานิสงส์ที่สูงสุด


วิธีการหรือขั้นตอนการสมาทานศีล

เบื้องต้น ผู้ต้องการจะสมาทานศีล พึงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกล่างคำบูชาพระรัตนตรัย ดังต่อไปนี้

คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย, ได้ตรัสรู้ถูกถ้วนดีแล้ว,
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,พระธรรมคือศาสนา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระธรรมเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, หมู่พระสงฆ์ผู้เชื่อฟัง, ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา ซึ่งหมู่พระสงฆะเจ้านั้น, ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ (กราบ ๑ ครั้ง)

หลังจากที่ได้กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยแล้ว พึงตั้งใจให้แน่วแน่ที่จะสมาทานศีล เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดความปกติทางกาย วาจา โดยกล่าวคำอาราธนาศีล ดังต่อไปนี้

คำอาราธนาศีล ๕

มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ,ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต,วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ,ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
หมายเหตุ.- ถ้าคนเดียวทั้งอาราธนาศีลและรับศีลให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง,
เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ นอกนั้นเหมือนกันหมด

พึงนั่งให้เรียบร้อย สำรวมกาย วาจา ใจ แล้วคำคำสมาทานศีล โดยกล่าวตามพระภิกษุ สามเณร หรือผู้มีศีล ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

คำนมัสการ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

(แปลว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, >>>>>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, >>>>>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)

คำปฏิญาณตนถึงไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต
>>>>>แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต
>>>>>แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และ พระสงฆเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกในการดำเนินชีวิต)

ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าวว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า
"อามะ ภันเต"แล้วตั้งใจสมาทานศีล(รับศีล)ตามที่พระท่านนำกล่าวสมาทานต่อไปว่า.-


ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การทำร้ายร่างกายคนและสัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น)

อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ บริจาคทาน และเคารพในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น)

กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท)

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อันได้แก่ น้ำสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ เช่น ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ยาบ้า ฯลฯ)

(ต่อจากนี้พระท่านจะกล่าว ผู้รับศีลไม่ต้องว่าตาม)

อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ,
สีเลนะ สุคะติง ยันติ, สีเลนะ โภคะสัมปะทา,
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, ตัสฺมา สีลัง วิโสธะเย.


ผู้รับศีลพึงรับพร้อม ๆ กันว่า "สาธุ ภันเต" เสร็จแล้วไหว้ หรือ กราบตามสมควรแก่กรณี

sithiphong:
ธรรมะปฏิบัติ การรักษาศีล จำแนกตามประเภทบุคคล : ศีล ๓๑๑
-http://thammapedia.com/practice/patipatti_sil311.php-

“อานนท์ ! พุทธบริษัททั้งสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์เอย ! ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม”

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
อาจารย์วศิน อินทสระ

"ดูก่อนอานนท์ ธรรมหนึ่งคือ..
อานาปานสติสมาธิ ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์,
สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์,
โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและ วิมุติให้บริบูรณ์"

“..ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
   สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว... ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมดีแล้ว... ย่อมละราคะได้
   วิปัสสนา ที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมดีแล้ว.. ย่อมละอวิชชาได้"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ ชื่อว่าปัญญาวิมุติ"

หนังสือ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
รองศาสตราจารย์แสง จันทร์งาม

การรักษาศีล
จำแนกตามประเภทบุคคล
๑. ศีล ๕ สำหรับทุกคน    
๒. ศีล ๘ อุโบสถศีล    
๓. ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร    
๔. ศีล ๒๒๗ ศีลสำหรับพระภิกษุ
๕. ศีล ๓๑๑ ศีลสำหรับพระภิกษุณี
 


sithiphong:
ธรรมะปฏิบัติ การรักษาศีล จำแนกตามประเภทบุคคล : ศีล ๓๑๑
-http://thammapedia.com/practice/patipatti_sil311.php-

ศีล ๓๑๑ : สำหรับภิกษุณี

ศีล ๓๑๑ ข้อ : ศีลสำหรับพระภิกษณีุ มีในภิกขุนีปาฏิโมกข์, เป็นวินัยของภิกษุณีสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด ดังนี้

๑. ปาราชิก ............................. ๘ ข้อ    
๒. สังฆาทิเสส ....................... ๑๗ ข้อ         
๓. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ .............. ๓๐ ข้อ         
๔. ปาจิตตีย์ ........................ ๑๖๖ ข้อ         
๕. ปาฏิเทสนียะ ....................... ๘ ข้อ
๖. เสขิยะ ๗๕ ข้อ โดยแบ่งเป็น ๔ หมวด คือ    
สารูป ........................... ๒๖ ข้อ
โภชนปฏิสังยุตต์ ............. ๓๐ ข้อ
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ ...... ๑๖ ข้อ
ปกิณณกะ ....................... ๓ ข้อ
๗. อธิกรณสมถะ ...................... ๗ ข้อ

รวมทั้งหมดแล้ว ๓๑๑ ข้อ
ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิกษุณีรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา ๘
( ข้อปฏิบัติของภิกษุณี ๘ ประการ )
ครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา คือ เงื่อนไขอย่างเข้มงวด ๘ ประการ ที่ภิกษุณีจะต้องปฏิบัติตลอดชีวิต
     ๑. ต้องเคารพภิกษุแม้จะอ่อนพรรษากว่า
     ๒. ต้องไม่จำพรรษาในวัดที่ไม่มีภิกษุ
     ๓. ต้องทำอุโบสถและรับโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
     ๔. เมื่อออกพรรษาต้องปวารณาตนต่อภิกษุและภิกษุณีอื่นให้ตักเตือนตน
     ๕. เมื่อต้องอาบัติหนัก ต้องรับมานัต (รับโทษ) จากสงฆ์สองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายภิกษุและภิกษุณี ๑๕ วัน
     ๖. ต้องบวชจากสงฆ์ทั้งสองฝ่าย หลังจากเป็น *สิกขามานา เต็มแล้วสองปี
     ๗. จะด่าว่าค่อนแคะภิกษุไม่ได้
     ๘. ห้ามสอนภิกษุเด็ดขาด
*คำว่า "สิกขามานา" แปลว่า ผู้ศึกษา สตรีที่จะบวชเป็นภิกษุณีต้องเป็นนางสิกขามานา ก่อน ๒ ปี

๑. ปาราชิก มี ๘ ข้อ
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวผู้ (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)
๕. นางภิกษุณีมีความกำหนัดยินดีการลูบ, การคลำ, การจับ, การต้อง, การบีบ, ของชายผู้มีความกำหนัด เบื้องบนตั้งแต่ใต้รากขวัญ๑ลงไป เบื้องต่ำตั้งแต่เข่าขึ้นมา
๖. นางภิกษุณีรู้ว่านางภิกษุณีอื่นต้องอาบัติปาราชิก ไม่โจทด้วยตนเอง ไม่บอกแก่หมู่คณะ ต้องอาบัติปาราชิก.
๗. นางภิกษุณีประพฤติตามภิกษุที่สงฆ์สวดประกาศยกเสียจากหมู่ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ทำคืน ไม่ทำตนให้เป็นสหายกับพระธรรม พระวินัย คำสอนของพระศาสดา. นางภิกษุณีนั้น อันสงฆ์พึงตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือนชี้แจง ถ้าสวดประกาศครบ ๓ ครั้ง ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติปาราชิก.
๘. นางภิกษุณีที่เป็นคณะเดียวกัน ๖ รูป ประพฤติตนไม่สมควร มียินดีการจับมือบ้าง การจับชายสังฆาฏิบ้าง ของบุรุษ ยืนกับบุรุษบ้าง พูดจากับเขาบ้าง นัดหมายกับเขาบ้าง ยินดีการมาตามนัดหมายของเขาบ้าง เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันบ้าง ทอดกายให้เขาเพื่อเสพอสัทธรรมบ้าง พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ปรับอาบัติปาราชิกแก่นางภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น.
[กลับขึ้นด้านบน]
๒. สังฆาทิเสส มี ๑๗ ข้อ
๑. นางภิกษุณีฟ้องความกับคฤหบดี บุตรคฤหบดี ทาส กรรมกร หรือแม้โดยที่สุดกับสมณะนักบวช ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๒. นางภิกษุณีรู้อยู่ รับสตรีซึ่งเป็นโจร อันคนทั้งหลายรู้ว่ามีโทษประหาร ให้อยู่ (ให้บวช) โดยไม่บอกเล่า พระราชา, สงฆ์, คณะ, หมู่, พวก เว้นแต่ผู้ที่สมควร (คือบวชในลัทธิอื่นแล้ว หรือบวชในสำนักนางภิกษุณีอื่นอยู่แล้ว) ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๓. นางภิกษุณีแต่ลำพังผู้เดียวไปสู่ละแวกบ้านก็ตาม, ข้ามแม่น้ำก็ตาม, ค้างคืนก็ตาม, ล้าหลังแยกจากหมู่ (ในการเดินทาง) ก็ตาม ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๔. นางภิกษุณีไม่บอกกล่าวสงฆ์ผู้ทำการ ไม่รู้ฉันทะ (ไม่ได้รับความยินยอม) ของคณะ เปลื้องโทษ นางภิกษุณีที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันยกเสียจากหมู่ ตามธรรม ตามวินัย ตามสัตถุศาสนา ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๕. นางภิกษุณีมีความกำหนัด รับของเคี้ยวของฉันจากมือบุรุษผู้มีความกำหนัด ด้วยมือของตนมาเคี้ยว มาฉัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๖. นางภิกษุณีผู้พูดจูงใจให้ย่อหย่อนพระวินัยต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๗. ห้ามกล่าวาจา บอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เมื่อโกรธเคือง และเมื่อกล่าวไปแล้ว ให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๘. ห้ามติเตียนภิกษุณีว่านางภิกษุณีทั้งหลาย ลุแก่อคติ ๔ และให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
๙. ห้ามรวมกลุ่มกันประพฤติเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี เบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดความชั่วของกันและกันและให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน เมื่อไม่เชื่อฟัง จึงสวดประกาศตักเตือน ถ้าครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่เลิกละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๑๐. ห้ามนางภิกษุณี กล่าวกะนางภิกษุณีที่ถูกสงฆ์สวดประกาศตักเตือนถ้ามีใครขืนทำ ให้ภิกษุณีสงฆ์ตักเตือน ถ้าไม่ฟัง ให้สวดประกาศเตือน ครบ ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่ละเลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
๑๑. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
๑๒. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๓. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๔. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๕. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๖. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง ๓ ครั้ง
๑๗. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
[กลับขึ้นด้านบน]
๓. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ ข้อ)
๑. ห้ามสะสมบาตร    ๑๖. ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
๒. ห้ามอธิษฐานจีวรนอกกาลและแจกจ่าย    ๑๗. รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๓. ห้ามชิงจีวรคืนเมื่อแลกเปลี่ยนกันแล้ว    ๑๘. พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
๔. ห้ามขอของอย่างหนึ่งแล้วขออย่างอื่นอีก    ๑๙. พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
๕. ห้ามสั่งซื้อของกลับกลอก    ๒๐. ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
๖. ห้ามจ่ายของผิดวัตถุประสงค์เดิม    ๒๑. รับเงินทอง
๗. ห้ามขอของมาจ่ายแลกของอื่น    ๒๒. ซื้อขายด้วยเงินทอง
๘. ห้ามพูดติเตียนเมื่อถูกลงโทษโดยธรรม    ๒๓. ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๙. ห้ามขอของของคณะมาจ่ายแลกของอื่น    ๒๔. ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๑๐. ห้ามขอของบุคคลมาจ่ายแลกของอื่น    ๒๕. เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ไว้เกิน ๗ วัน
๑๑. ห้ามขอผ้าห่มหนาวเกินราคา    ๒๖. แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๑๒. ห้ามขอผ้าห่มฤดูร้อน เกินราคา    ๒๗. ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๑๓. เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน    ๒๘. ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๑๔. อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว    ๒๙. กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๑๕. เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน    ๓๐. น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน

sithiphong:
ธรรมะปฏิบัติ การรักษาศีล จำแนกตามประเภทบุคคล : ศีล ๓๑๑
-http://thammapedia.com/practice/patipatti_sil311.php-

๔. ปาจิตตีย์ มี ๑๖๖ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
๑.ห้ามฉันกระเทียม    ๘๔. ห้ามใช้ร่มใช้รองเท้า เว้นแต่จะไม่สบาย
๒.ห้ามนำขนในที่แคบออก ที่แคบได้แก่ ขนรักแร่ และช่องให้กำเนิด    ๘๕. ห้ามไปด้วยยาน เว้นแต่ไม่สบาย
(หมายเหตุ : ทั้งสองสิกขาบทนี้ เห็นได้ว่าเพื่อมิให้ถูกติว่า เลียนแบบคฤหัสถ์ เป็นการบัญญัติตามกาลเทศะ และสิ่งแวดล้อม. ตกมาถึงสมัยนี้ ความรังเกียจคงเปลี่ยนแปลงไป. สิกขาบทเหล่านี้ จึงคงอยู่ในประเภทที่ทรงอนุญาตไว้ก่อนปรินิพพานว่า ถ้าจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ถอนได้ เป็นการเปิดทางให้กาลเทศะ แต่พระสาวกสมัยสังคายนาเห็นว่า ถ้าปล่อยให้ถอนกันตามชอบใจ จะยุ่งกันใหญ่ คืออาจจะไปถอนสิกขาบทที่สำคัญเข้า แต่เห็นเป็นไม่สำคัญ ฉะนั้น ท่านจึงสวดประกาศห้ามถอน เป็นการใช้อำนาจสงฆ์สั่งการ เช่นนั้น).
๓.ห้ามใช้ฝ่ามือตบกันด้วยความกำหนัด    ๘๖.ห้ามใช้ผ้าหยักรั้ง
๔.ห้ามใช้สิ่งที่ทำด้วยยางไม้(คำว่า ยางไม้ กินความถึงไม้, แป้ง, ดินเหนียว โดยที่สุด แม้ใบบัว) ใส่ในช่องให้กำเนิด    ๘๗.ห้ามใช้เครื่องประดับกายสำหรับหญิง
๕.ห้ามชำระ(ช่องให้กำเนิด)ลึกเกิน ๒ ข้อนิ้ว    ๘๘. ห้ามอาบน้ำหอมและน้ำมีสี
๖.ห้ามเข้าไปยืนถือน้ำและพัดในขณะที่ภิกษุกำลังฉัน    ๘๙. ห้ามอาบน้ำด้วยแป้งงาอบ
๗.ห้ามทำการหลายอย่างกับข้าวเปลือกดิบ (นางภิกษุณีผู้ขอเอง, ใช้ให้ขอ, ฝัดเอง, ใช้ให้ฝัด, ตำเอง, ใช้ให้ตำ ซึ่งข้าวเปลือกดิบ. หุงต้มเอง ใช้ให้หุงต้ม ฉันข้าวนั้น หรือการฉันข้าวที่ตนทำเองต้องอาบัติ)    ๙๐. ห้ามให้นางภิกษุณีทาน้ำมันหรือนวด
๘.ห้ามทิ้งของนอกฝานอกกำแพง    ๙๑. ห้ามให้นางสิกขามานาทาน้ำมันหรือนวด
๙.ห้ามทิ้งของเช่นนั้นลงบนของเขียวสด    ๙๒. ห้ามให้สามเณรีทาน้ำมันหรือนวด
๑๐.ห้ามไปดูฟ้อนรำขับร้อง    ๙๓.ห้ามให้นางคหินีทาน้ำมันหรือนวด
๑๑.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่มืด    ๙๔.ห้ามนั่งหน้าภิกษุโดยไม่บอกก่อน
๑๒.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่ลับ    ๙๕.ห้ามถามปัญหาภิกษุโดยไม่ขอโอกาส
๑๓.ห้ามยืนหรือสนทนาสองต่อสองกับบุรุษในที่แจ้ง    ๙๖.ห้ามเข้าบ้านโดยไม่ใช้ผ้ารัดหรือผ้าโอบ
๑๔.ห้ามทำเช่นนั้นในที่อื่นอีก (ทำเช่นนั้น คือ ภิกษุณี กับบุรุษสองต่อสอง ยืนอยู่บ้าง สนทนากันบ้าง กระซิบที่หูกันบ้าง ส่งนางภิกษุณีที่เป็นเพื่อนไปเสียบ้าง ในถนนรกบ้าง ในถนนตันบ้าง (ถนนเช่นนี้ เข้าทางไหนต้องออกทางนั้น) ในทางแยกบ้าง)    ๙๗.ห้ามพูดปด
๑๕. ห้ามเข้าบ้านผู้อื่นแล้วเวลากลับไม่บอกลา    ๙๘.ห้ามด่า
๑๖. ห้ามนั่งนอนบนอาสนะโดยไม่บอกเจ้าของบ้านก่อน    ๙๙.ห้ามพูดส่อเสียด
๑๗. ห้ามปูลาดที่นอนในบ้านโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน    ๑๐๐.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
๑๘. ห้ามติเตียนผู้อื่นไม่ตรงกับที่ฟังมา    ๑๐๑.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุณี)เกิน ๓ คืน
๑๙. ห้ามสาปแช่งด้วยเรื่องนรกหรือพรหมจรรย์    ๑๐๒.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
๒๐. ห้ามทำร้ายตัวเองแล้วร้องไห้    ๑๐๓.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
๒๑. ห้ามเปลือยกายอาบน้ำ    ๑๐๔.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
๒๒. ห้ามทำผ้าอาบน้ำยาวใหญ่เกินประมาณ    ๑๐๕.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
๒๓. ห้ามพูดแล้วไม่ทำ    ๑๐๖.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
๒๔. ห้ามเว้นการใช้ผ้าซ้อนนอกเกิน ๕ วัน(หมายเหตุ : ตามธรรมดานางภิกษุณีมีผ้าสำหรับใช้ประจำ ๕ ผืน คือ ๑. สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนนอก สำหรับใช้เมื่อหนาว) ๒. อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) ๓. อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) ๔. สังกัจฉิกะ (ผ้ารัดหรือผ้าโอบ) ๕. อุทกสาฏิกา (ผ้าอาบน้ำ). พิจารณาดูตามสิกขาบทนี้ เป็นเชิงห้าม เว้นการใช้ผ้าซ้อนนอก คือสังฆาฏิอย่างเดียว แต่ในคำอธิบายท้ายสิกขาบท ขยายความเป็นว่า เว้นผืนใดผืนหนึ่งใน ๕ ผืน เกิน ๕ วันไม่ได้ คำว่า เว้น คือไม่นุ่งไม่ห่มหรือไม่ตากแดด).    ๑๐๗.ห้ามทำลายต้นไม้
๒๕. ห้ามใช้จีวรสับกับของผู้อื่น    ๑๐๘.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
๒๖. ห้ามทำอันตรายลาภจีวรของสงฆ์    ๑๐๙.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
๒๗. ห้ามยับยั้งการแบ่งจีวรอันเป็นธรรม    ๑๑๐.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
๒๘. ห้ามให้สมณจีวรแก่คฤหัสถ์หรือนักบวช    ๑๑๑.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
๒๙. ห้ามทำให้กิจการชะงักด้วยความหวังลอย ๆ    ๑๑๒.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
๓๐. ห้ามคัดค้านการเพิกถอนกฐินที่ถูกธรรม    ๑๑๓.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
๓๑. ห้ามนอนบนเตียงเดียวกันสองรูป    ๑๑๔.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
๓๒. ห้ามใช้เครื่องปูลาดและผ้าห่มร่วมกันสองรูป    ๑๑๕.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น
๓๓. ห้ามแกล้งก่อความรำคาญแก่นางภิกษุณี    ๑๑๖.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
๓๔. ห้ามเพิกเฉยเมื่อศิษย์ไม่สบาย    ๑๑๗.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ
๓๕. ห้ามฉุดคร่านางภิกษุณีออกจากที่อยู่    ๑๑๘.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
๓๖. ห้ามคลุกคลีกับคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี    ๑๑๙.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
๓๗. ห้ามเดินทางเปลี่ยวตามลำพัง    ๑๒๐.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
๓๘. ห้ามเดินทางเช่นนั้นนอกแว่นแคว้น    ๑๒๑.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
๓๙. ห้ามเดินทางภายในพรรษา    ๑๒๒.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
๔๐. ห้ามอยู่ประจำที่เมื่อจำพรรษาแล้ว    ๑๒๓.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
๔๑. ห้ามไปดูพระราชวังและอาคารอันวิจิตร เป็นต้น    ๑๒๔.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน
๔๒. ห้ามใช้อาสันทิและบัลลังก์    ๑๒๕.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
๔๓. ห้ามกรอด้าย    ๑๒๖.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
๔๔. ห้ามรับใช้คฤหัสถ์    ๑๒๗.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
๔๕. ห้ามรับปากแล้วไม่ระงับอธิกรณ์    ๑๒๘.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๖. ห้ามให้ของกินแก่คฤหัสถ์ เป็นต้น ด้วยมือ    ๑๒๙.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๗. ห้ามใช้ผ้านุ่งสำหรับผู้มีประจำเดือนเกิน ๓ วัน    ๑๓๐.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๔๘. ห้ามครอบครองที่อยู่เป็นการประจำ    ๑๓๑.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๔๙. ห้ามเรียนติรัจฉานวิชชา    ๑๓๒.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๐. ห้ามสอนติรัจฉานวิชชา    ๑๓๓.ห้ามจี้ภิกษุ
๕๑. ห้ามเข้าไปในวัดที่มีภิกษุโดยไม่บอกล่วงหน้า    ๑๓๔.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๒. ห้ามด่าหรือบริภาษภิกษุ    ๑๓๕.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๓. ห้ามบริภาษภิกษุณีสงฆ์    ๑๓๖.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๔. ห้ามฉันอีกเมื่อรับนิมนต์หรือเลิกฉันแล้ว    ๑๓๗.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๕. ห้ามพูดกีดกันภิกษุณีอื่น    ๑๓๘.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆ เว้นแต่มีเหตุ
๕๖. ห้ามจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ    ๑๓๙.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๗. ห้ามการขาดปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย    ๑๔๐.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๕๘. ห้ามการขาดรับโอวาทและการขาดการอยู่ร่วม    ๑๔๑.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๕๙. ห้ามการขาดถามอุโบสถและการไปรับโอวาท    ๑๔๒.ห้ามฆ่าสัตว์
๖๐. ห้ามให้บุรุษบีบฝี ผ่าฝี เป็นต้น    ๑๔๓.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๖๑. ห้ามให้บวชแก่หญิงมีครรภ์    ๑๔๔.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดีความ-ข้อโต้เถียง) ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๒. ห้ามให้บวชแก่หญิงที่ยังมีเด็กดื่มนม    ๑๔๕.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๓. ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาซึ่งศึกษายังไม่ครบ ๒ ปี    ๑๔๖.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๔. ห้ามให้บวชแก่นางสิกขมานาที่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ    ๑๔๗.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๖๕. ห้ามให้บวชแก่หญิงที่มีสามีแล้ว แต่อายุยังไม่ถึง ๑๒    ๑๔๘.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๖๖. ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นอายุครบ ๑๒ แล้ว (หมายความถึงตามข้อ 65) แต่ยังมิได้ศึกษา ๒ ปี    ๑๔๙.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๖๗. ห้ามให้บวชแก่หญิงเช่นนั้นที่ศึกษา ๒ ปีแล้ว(หมายความถึงตามข้อ 65) แต่สงฆ์ยังมิได้สวดสมมติ    ๑๕๐.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๖๘. ห้ามเพิกเฉยไม่อนุเคราะห์ศิษย์ที่บวชแล้ว    ๑๕๑.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๖๙. ห้ามนางภิกษุณีแยกจากอุปัชฌายะ คือไม่ติดตามครบ ๒ ปี    ๑๕๒.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๐. ห้ามเพิกเฉยไม่พาศิษย์ไปที่อื่น    ๑๕๓.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๑. ห้ามให้บวชแก่หญิงสาวที่อายุไม่ครบ ๒๐ ปี (หมายเหตุ : พึงสังเกตว่า หญิงที่มีสามีแล้ว อายุครบ ๑๒ จะบวชเป็นนางภิกษุณี ต้องเป็นนางสิกขมานาศึกษาอยู่อีก ๒ ปี จนอายุครบ ๑๔ ปีบริบูรณ์แล้ว จึงบวชเป็นนางภิกษุณีได้ แต่ถ้ายังมิได้สามี ต้องอายุครบ ๒๐ จึงบวชได้. แต่ก่อนจะบวชเป็นนางภิกษุณี จะต้องเป็นนางสิกขมานา ๒ ปี ทุกรายไป. ฉะนั้น หญิงที่ประสงค์จะบวชเป็นนางภิกษุณี เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะต้องบวชเป็นสามเณรี และเป็นนางสิกขมานาก่อนอายุครบ เพื่อไม่ต้องยึดเวลาเป็นนางสิกขมานาเมื่ออายุครบแล้ว)    ๑๕๔.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๒. ห้ามบวชหญิงที่อายุครบ แต่ยังมิได้ศึกษาครบ ๒ ปี    ๑๕๕.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๓. ห้ามบวชหญิงที่ศึกษาครบ ๒ ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ    ๑๕๖.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๔. ห้ามเป็นอุปัชฌาย์เมื่อพรรษาไม่ครบ ๑๒    ๑๕๗.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๗๕. ห้ามเป็นอุปัชฌาย์โดยที่สงฆ์มิได้สมมติ    ๑๕๘.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๗๖. ห้ามรับรู้แล้วติเตียนในภายหลัง    ๑๕๙.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๗๗. ห้ามรับปากว่าจะบวชให้ แล้วกลับไม่บวชให้    ๑๖๐.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๗๘. ห้ามรับปากแล้วไม่บวชให้ในกรณีอื่น    ๑๖๑.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๗๙. ห้ามบวชให้นางสิกขมานาที่ประพฤติไม่ดี    ๑๖๒.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๐. ห้ามบวชให้นางสิกขมานา ที่มารดาบิดาหรือสามีไม่อนุญาต    ๑๖๓.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๑. ห้ามทำกลับกลอกในการบวช    ๑๖๔.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๒. ห้ามบวชให้คนทุกปี    ๑๖๕.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๘๓. ห้ามบวชให้ปีละ ๒ คน    ๑๖๖.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version