ผู้เขียน หัวข้อ: สัทธานุสารี อบรมอริยมรรคโดยมีศรัทธาเป็นตัวนำ :ท่าน ว.วชิรเมธี  (อ่าน 1875 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
[wma=250,50]http://www.fungdham.com/download/sound/vorvachiramete/panyawiwat.wma[/wma]
sometime -http://www.sookjai.com/index.php?topic=1354.0


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: สัทธานุสารี เป็นไฉน ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2013, 06:30:41 pm »




สัทธานุสารีบุคคล
  บุคคลชื่อว่า สัทธานุสารี   เป็นไฉน ?
         สัทธินทรีย์ของบุคคลใด    ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล    มี
ประมาณยิ่ง   อบรมอริยมรรคมีศรัทธาเป็นเครื่องนำมา   มีศรัทธาเป็นประธาน
ให้เกิดขึ้น   บุคคลนี้เรียกว่าสัทธานุสารี.   บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดา-
ปัตติผล ชื่อว่า สัทธานุสารี.
         บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล  ชื่อว่า  สัทธาวิมุต.
     
อรรถกถาสัทธานุสารีบุคคล
         วินิจฉัยในนิเทศแห่งสัทธานุสารีบุคคล.  ผู้ใดย่อมนำมาซึ่งศรัทธา
เหตุนั้น    ผู้นั้นจึงชื่อว่า   สัทธาวาหี     แปลว่าผู้นำมาซึ่งศรัทธา.    อธิบายว่า
ศรัทธานำบุคคลนี้มา.   ท่านกล่าวว่า    "สุทธาวาหี"    ดังนี้บ้างก็มีเหมือนกัน.
บทว่า  "สทฺธาปุพฺพงคมํ"   ได้แก่    กระทำศรัทธาให้เป็นปุเรจาริก  คือ  ให้
เป็นหัวหน้า.  สองบทว่า   "อยํ  วุจฺจติ"   ความว่า   บุคคลนี้คือ   ผู้เห็นปานนี้
ท่านเรียกว่า     สัทธานุสารี.    บุคคลใดย่อมระลึก   คือ   ย่อมตามระลึกถึงด้วย
ศรัทธา  เหตุนั้น     บุคคลนั้นจึงชื่อว่า  สัทธานุสารี. คำว่า   "สทฺธานุสารี"  นี้
เป็นชื่อของพระโสดาปัตติมรรค.   แต่เมื่อท่านบรรลุผลจิตแล้ว   ชื่อว่า   สัทธา-
วิมุต
.
   ก็ชื่อว่า  ธุระ ๒ อย่าง,   ชื่อว่า  อภินิเวส  ๒ อย่าง,    และชื่อว่า   สีสะ
๒ อย่างของท่านผู้ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้นมีอยู่.
         บรรดาธุระเป็นต้นเหล่านั้น   ชื่อว่า ธุระ  มี ๒ อย่างคือ  สัทธาธุระ ๑.
ปัญญาธุระ ๑
.
         ชื่อว่า  อภินิเวส คือ  การอาศัย ๒ อย่างคือ     ภิกษุรูปหนึ่ง   ย่อม
อยู่ด้วยความสามารถแห่งการอาศัยสมถะ  (สมถาภินิเวส)  อีกรูปหนึ่ง ย่อมอยู่
ด้วยความสามารถแห่งการอาศัยวิปัสสนา  (วิปัสสนาภินิเวส).
         และชี่อว่า  สีสะ  คือ  ที่สุด   เหล่านี้ก็มี ๒ อย่าง  คือ  ภิกษุรูปหนึ่ง
บรรลุธรรมถึงที่สุดแล้ว  ชื่อว่า  อุภโตภาควิมุต  ภิกษุรูปหนึ่ง      บรรลุธรรม
ถึงที่สุดแล้วมีชื่อว่า  ปัญญาวิมุต.   อธิบายว่า    ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง   ย่อม
ยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้น  ท่านเหล่านั้นทั้งหมดย่อมกระทำธรรม ๒ อย่างนี้  คือ
ศรัทธา  และ  ปัญญา  ให้เป็นธุระ   อาศัยฐานะทั้ง  ๒ เหล่านั้นคือ   สมถาภินิเวส
และวิปัสสนาภินิเวส    และย่อมหลุดพ้นด้วยสีสะทั้ง ๒ เหล่านี้     คืออุภโตภาค-
วิมุตตสีสะ  และ ปัญญาวิมุตตสีสะ.

         บรรดาท่านเหล่านั้น  ภิกษุรูปใด  ได้สมาบัติ ๘ กระทำปัญญาให้เป็น
ธุระ   อาศัยอำนาจสมถะกระทำอรูปสมาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง  ให้เป็นปทัฏฐาน
แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต   ภิกษุรูปนั้น   ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
ชื่อว่า  ธัมมานุสารี  แต่ในฐานะ  ๖ ข้างหน้า   คือ   ตั้งแต่โสดาปัตติผล   ถึง
อรหัตมรรค  ชื่อว่า   กายสักขี.    เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้ว  ชื่อว่า   อุภโต-
ภาควิมุต.


-http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=7900235


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: อริยบุคคล 7 (บุคคลผู้ประเสริฐ — noble individuals)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2013, 08:00:19 pm »




[63] อริยบุคคล 7 (บุคคลผู้ประเสริฐ — noble individuals) เรียงจากสูงลงมา
       1. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย และสิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมบัติมาก่อนที่จะได้ปัญญาวิมุตติ — one liberated in both ways)
       2. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ ท่านที่มิได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย แต่สิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้ปัญญาวิมุตติก็สำเร็จเลยทีเดียว — one liberated by understanding)
       3. กายสักขี (ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัต ที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ — the body-witness)
       4. ทิฏฐิปปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ คือ ท่านที่เข้าใจอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัต ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ — one attained to right view)
       5. สัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา คือ ท่านที่เข้าใจอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มีศรัทธาเป็นตัวนำหน้า หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ — one liberated by faith)
       6. ธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม หรือผู้แล่นตามไปด้วยธรรม คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีปัญญาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ — the truth-devotee)
       7. สัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา หรือผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีศรัทธาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุตthe faith devotee)

       กล่าวโดยสรุป
       บุคคลที่ 1 และ 2 (อุภโตภาควิมุต และปัญญาวิมุต) ได้แก่พระอรหันต์ 2 ประเภท
       บุคคลที่ 3, 4 และ 5 (กายสักขี ทิฏฐิปปัตตะ และสัทธาวิมุต) ได้แก่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค จำแนกเป็น 3 พวกตามอินทรีย์ที่แก่กล้า เป็นตัวนำในการปฏิบัติ คือ สมาธินทรีย์ หรือปัญญินทรีย์ หรือสัทธินทรีย์
       บุคคลที่ 6 และ 7 (ธัมมานุสารีและสัทธานุสารี) ได้แก่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จำแนกตามอินทรีย์ที่เป็นตัวนำในการปฏิบัติ คือ ปัญญินทรีย์ หรือสัทธินทรีย์

       อย่างไรก็ตาม ข้อความที่อธิบายมาเกี่ยวกับบุคคลประเภทที่ 3-4-5 บางคัมภีร์กล่าวว่าเป็นการแสดงโดยนิปปริยาย คือ แสดงความหมายโดยตรงจำเพาะลงไป แต่ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ ท่านแสดงความหมายโดยปริยาย
เรียกผู้ที่ปฏิบัติโดยมีสัทธินทรีย์เป็นตัวนำ ว่าเป็น สัทธาวิมุต
ตั้งแต่บรรลุโสดาปัตติผล ไปจนบรรลุอรหัตตผล;

เรียกผู้ปฏิบัติโดยมีสมาธินทรีย์เป็นตัวนำ ว่าเป็น กายสักขี
ตั้งแต่บรรลุโสดาปัตติมรรค ไปจนบรรลุอรหัตตผล;

เรียกผู้ที่ปฏิบัติโดยมีปัญญินทรีย์เป็นตัวนำ ว่าเป็น ทิฏฐิปปัตตะ
ตั้งแต่บรรลุโสดาปัตติผล ไปจนบรรลุอรหัตตผล;
โดยนัยนี้ จึงมีคำเรียกพระอรหันต์ว่า สัทธาวิมุต หรือกายสักขี หรือทิฏฐิปปัตตะได้ด้วย
แต่ถ้าถือศัพท์เคร่งครัด ก็มีแต่ อุภโตภาควิมุต กับปัญญาวิมุต เท่านั้น
       ในฎีกาแห่งวิสุทธิมัคค์คือปรมัตถมัญชุสา มีคำอธิบายว่า ผู้ไม่ได้วิโมกข์ 8 เมื่อตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคเป็นสัทธานุสารี หรือธัมมานุสารี อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อจากนั้นเป็นสัทธาวิมุต หรือ ทิฏฐิปปัตตะ จนได้สำเร็จอรหัตตผล จึงเป็น ปัญญาวิมุต; ผู้ได้วิโมกข์ 8 เมื่อตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคเป็นสัทธานุสารี หรือ ธัมมานุสารี อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อจากนั้นเป็นกายสักขี เมื่อสำเร็จอรหัตตผล เป็น อุภโตภาควิมุต
       นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่า บุคคลประเภทกายสักขีนี่เองที่ได้ชื่อว่า สมยานิก; ส่วนคำว่า ปัญญาวิมุต บางแห่งมีคำจำกัดความแปลกออกไปจากนี้ว่า ได้แก่ผู้ที่บรรลุอรหัต โดยไม่ได้โลกียอภิญญา 5 และอรูปฌาน 4 (สํ.นิ. 16/283-289/147-150; S.II.121.)
       อริยบุคคล 7 นี้ ในพระสุตตันตปิฎก นิยมเรียกว่า ทักขิไณยบุคคล 7.

D.III. 105,254;
A.I.118;
Ps.II.52;
Pug.10.73;
Vism.659.   ที.ปา. 11/80/115; 336/266;
องฺ.ติก. 20/460/148;
ขุ.ปฏิ. 31/493-495/380-383;
อภิ.ปุ. 36/13/139;
วิสุทธิ. 3/302;
วิสุทธิ.ฏีกา 3/562-568.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
-http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=63