โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังAtopic dermatitis
เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังผู้ป่วยมักจะมีภูมิแพ้ร่วมด้วยเช่น หอบหืด แพ้อากาศ สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากกรรมพันธุ์เข้าไปเกี่ยวข้อง โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้น สาเหตุที่ทำให้โรคกำเริบได้แก่ การเปลี่ยนของอากาศ ถูกสารระคายผิว มีการติดเชื้อของร่างกายมักจะพบในเด็กโดยพบได้ประมาณร้อยละ9-17 โรคนี้จะดีขึ้นเมื่อายุมากขึ้น
อาการ
ที่สำคัญคือคันๆๆๆ ผื่นแดง แห้งเป็นขุย มักไม่มีตุ่มน้ำ มักติดเชื้อได้งายกลายเป็นตุ่มหนองอาจมีน้ำเหลืองไหล มักเป็นบริเวณหน้า แก้ม คอ ข้อพับ ผื่นของเด็กมักเกิดที่ศีรษะ หน้า ผื่นผู้ใหญ่มักเกิดที่ข้อศอก ข้อเข่า คอ มือ และเท้า
ตำแหน่งของผื่นที่พบได้บ่อยเช่นบริเวณแก้ม คอ ข้อพับ ข้อมือ เข่า ข้อเท้า ลักษณะสำคัญของโรคนี้อ่านที่นี่
การรักษา
คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ป่วยและครอบครัวเพราะการดูแลตัวเองได้ดีจะป้องกันการกำเริบของโรค
ให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคือง เช่นอาบน้ำวันละครั้ง ไม่ควรใช้น้ำร้อน ใช้น้ำให้น้อยที่สุด ใช้สบู่อ่อนฟอกเฉพาะรักแร้ ขาหนีบ และคอ
หลังอาบน้ำปล่อยให้แห้งหรือใช้ผ้าซับไม่ขัดหรือถู
ควรจะตัดเล็บให้สั้น
ไม่ควรใช้ผ้าขนสัตว์หรือผ้าเนื้อหยาบ
อุณหภูมิรอบตัวให้พอเหมาะ ไม่ควรร้อนหรือหนาวไป
เวลานอนควรเปิดแอร์เพราะเหงื่อจะระคายเคืองต่อผิวหนัง
ลดการกระทบกระเทือนทางอารมณ์
หลีกเลี่ยงการแพ้อาหาร เช่น นม ขนมปัง อาหารทะเล
หลีกยา penicillin,sulfonamides
ไม่ควรปลุกฝีขณะมีผื่น และไม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นไข้สุกใส
บริเวณที่ผิวแห้งให้ทาครีมหลังอาบน้ำ
การใช้สารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง เนื่องผู้ป่วยผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีผิวแห้งการใช้ยาทาที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังจะช่วยลดการกำเริบของโรค ครีมหรือยาทาจะต้องไม่มีส่วนประกอบของสารกันเสียและน้ำหอมเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ การเลือกใช้ครีมบำรุงผิวชนิดใดขึ้นกับความชอบแต่ไม่ควรใช้หนาเกิดไปเพราะอาจจะเกิดความเหนอะหนะ และอาจจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย วิธีการทาให้ทาหลังอาบน้ำภายใน 3 นาทีและสามารถทาร่วมกับยาชนิดอื่นได้
ยาทา steroid ช่วยลดการอักเสบได้เร็ว และป้องกันการกำเริบของผื่น แต่ข้อเสียคือหากใช้ไปนานๆจะทำให้ผิวบาง เส้นเลือดฝอยแตกและติดเชื้อได้ง่าย โดยใช้ steroid อ่อนๆ เช่น betamethasone 0.02% ทาวันละ 3 ครั้ง ห้ามใช้ยา steroid ที่แรงๆ
ควรใช้ยาที่เป็น ointment โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่แห้ง
แม้ว่าจะใช้ยา steroid ก็อาจจะเกิดอาการแพ้ได้ การเลือกยาครั้งแรกอาจจะใช้ hydrocortisone 1% powder in an ointment ทาผื่นที่หน้าวันละ 3 ครั้ง
สำหรับยาที่มีความเข้มเพิ่มขึ้นเช่น desonideหรือ triamcinolone หรือ betamethasone valerate ทาบริเวณลำตัววันละครั้งจนผื่นดีขึ้น
Immunomodulators เป็นยากลุ่มใหม่ที่ใช้รักษาโรคผื่นภูมิแพ้ซึ่งมีประสืทธิภาพเหมือนยาทา steroid แต่ผลข้างเคียงในระยะยาวน้อยกว่ายาทา steroid ยาในกลุ่มนี้มีสองชนิด คือ Tacrolimus และ Pimecrolimus แต่มีคำเตือนว่าอาจจะเกิดมะเร็งได้ดังนั้นการใช้ยาควารจะมีการใช้ตามข้อบ่งชี้
การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และตัวกระตุ้น เป็นหลักการสำคัญหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยเพราะทำให้ผื่นดีขึ้นและสามารถควบคุมอาการ สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยคือ นมวัว ไข่ขาว ถั่ว ไรฝุ่น ขนสัตว์ ความเครียด
ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียให้ยาปฏิชีวนะเช่น erythromycin,dicloxacillin
ยาแก้แพ้ได้แก่ chlorphenilamine,hydroxyzine cetirizine loratadine
โรคผื่นแพ้ nummer ผื่นแพ้ที่มือ สะเก็ดเงิน ผื่นแพ้ atopic ผื่นแพ้จากการสัมผัส ผื่นแพ้ lichen seborrheic dermatitis
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
420/7 ถนน พญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0-2354-8037-40 โทรสาร 0-2354-8042
:http://inderm.go.th/nuke_802/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=228โรคภูมิแพ้ผิวหนัง นายแพทย์ สุทัศน์ ดวงดีเด่น
-----------.............
-----------.............
ปัจจุบันมียาชนิดใหม่ที่ไม่ใช่ยาทาสเตียรอยด์ ได้แก่ยาโปรโทปิก Protopic และยาอิริเดล Elidel
อ่านต่อ >>>
http://inderm.go.th/nuke_802/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=496