ผู้เขียน หัวข้อ: ปวดท้อง คลำเจอก้อนเนื้อพึงระวัง! “มะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์”  (อ่าน 1508 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ปวดท้อง คลำเจอก้อนเนื้อพึงระวัง! “มะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์”
-http://www.dailynews.co.th/article/224/172527-







เมื่อเอ่ยถึงโรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้แทบทุกอวัยวะของร่างกาย หากเกิดขึ้นที่ระบบทางเดินอาหาร จะเรียกว่า มะเร็งของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหาร หรือ มะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ ที่มักเรียกสั้น ๆ กันว่า มะเร็งจีสต์ (GIST)
   
พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ว่า มะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นโรคที่เพิ่งรู้จักกัน เมื่อประมาณ 20 -30 ปีที่ผ่านมา โดยมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์เป็นมะเร็งที่แตกต่างจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ เพราะเกิดจากเซลล์ที่เป็นต้นกำเนิด คือ เซลล์ที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ จึง สามารถพบมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ได้ตามส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินอาหาร แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ กระเพาะอาหาร ประมาณ 40-60% รองลงมา ได้แก่ ลำไส้ เล็ก ประมาณ 20-40%  ซึ่งพบในเพศชายและหญิงอัตราส่วนเท่าๆ กัน และพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
   
มะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ เป็นมะเร็งที่พบได้น้อย ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ 4,000–5,000 รายต่อปี ในส่วนของประเทศไทยพบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์  ปีละ 250 ราย ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งของระบบทางเดินอาหารชนิดอื่น แต่มีอัตราการเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี
     
“มะเร็งชนิดจีสต์ จัดเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่ยากต่อการวินิจฉัยและการรักษา เนื่องจากในช่วงแรกจะตรวจพบเนื้องอกอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งในช่องท้อง และมักจะไม่แสดงอาการให้เห็น เช่น ที่กระเพาะอาหาร ซึ่งมะเร็งชนิดจีสต์ที่ยังคงอยู่บริเวณเดิมนั้น  ซึ่งเรียกว่า การเกิดเนื้องอกเฉพาะที่
     
เมื่อเนื้องอกจีสต์ เกิดการลุกลามขึ้น จะเกิดการแพร่กระจายของโรคไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย จนกลายเป็นเนื้องอกจีสต์ในระยะแพร่กระจาย ซึ่งบ่อยครั้งที่เนื้องอกจีสต์เจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่ ก่อนที่จะถูกตรวจพบและเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ และเยื่อบุช่องท้อง”
   
พญ.สุดสวาท กล่าวต่อ ว่า หนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งจีสต์ คือ เกิดจากความผิดปกติของโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า คิท (KIT) ที่อยู่บนผิวของเซลล์ปกติ ซึ่งทำหน้าที่ส่งสัญญาณภายในเซลล์เพื่อแจ้งให้เซลล์ขยายตัวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เมื่อโปรตีนคิทผิดปกติ สัญญาณจะยังคงถูกส่งต่อไปเรื่อย ๆ จนทำให้เซลล์ปกติเกิดการเปลี่ยน แปลงจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
     
เซลล์มะเร็งจีสต์นี้จะมีชีวิตอยู่รอดได้ดี และเจริญเติบโตได้เร็วกว่า โดยมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าเซลล์ปกติที่อยู่ล้อมรอบ ซึ่งหากเซลล์มะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวเท่าไร ก็จะยิ่งมีอันตรายมากขึ้นเท่านั้น และยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายของโรค โดยที่ผู้ป่วยบางรายอาจไม่พบอาการแสดงใด ๆ แต่มาพบโดยบังเอิญ หรือในกลุ่มที่มีอาการแสดงนั้น มีอาการที่พบบ่อย 3 ประการ คือ ปวดท้องในระดับรุนแรงมาก การคลำได้ก้อนเนื้อบริเวณท้อง หรือมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดก้อนเนื้อ เช่น ในตำแหน่งของกระเพาะอาหาร อาจจะมีอาการแสดง คือ อาการอาเจียนเป็นเลือด และตัวซีด
   
ผศ.นพ.วิเชียร ศรีมุนินทร์ นิมิต ที่ปรึกษาและอดีตนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศ ไทย กล่าวถึงการรักษาว่า ด้านการรักษามีหลายวิธีด้วยกัน บางรายใช้ วิธีการผ่าตัดชิ้นเนื้อในช่องท้องออกไป แต่โอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำก็มีค่อนข้างสูง หรือจะใช้วิธีแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมานาน คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัด และการฉายรังสี แต่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ กลับพบว่ามีการดื้อต่อการฉายรังสีและเคมีบำบัด และโรคมักกลับเป็นซ้ำอีกหรือมีการแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้
     
ปัจจุบันการรักษามะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์มีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยสามารถให้การรักษาเสริมด้วยยากลุ่มออกฤทธิ์ต่อเป้าหมาย หรือที่เรียกว่า “Targeted Therapy” ซึ่งได้แก่ ยาอิมมาตินิบ ให้กับผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดก้อนมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ออกได้อย่างสมบูรณ์และไม่มีการแพร่กระจายของโรค  ซึ่งผลการวิจัยล่าสุดพบว่า การรักษาเสริมด้วยยากลุ่มออกฤทธิ์ต่อเป้าหมายดังกล่าว สามารถลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ได้
     
’ยากลุ่มนี้สามารถควบ คุมโรคได้ดีกว่ายาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งจีสต์มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาต่อเนื่อง จะช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยได้มากกว่า 5 ปี และในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่แรกจะช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของโรคได้“
     
นายริชาร์ด อาเบลา ประธานบริหาร บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัท โนวาร์ตีส ประเทศไทย มุ่งหวังในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาและการรักษา จึงได้ริเริ่มโครงการที่หลากหลาย เพื่อสนับสนุนผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงยาและการรักษาทั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้ก่อตั้ง โครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติจีแพป โดยมอบยาอิมมาตินิบให้กับผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ (GIST) และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (CML) ทั่วโลกที่มีปัญหาด้านการเงินโดยไม่คิดมูลค่า
     
“มีผู้ป่วยเข้าร่วมโครง การกว่า 50,000 รายในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยโครงการจีแพปได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่ 9 แล้ว ซึ่งให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยไปแล้วกว่า 3,000 ราย  ปัจจุบันมีโรงพยาบาล และศูนย์แพทย์ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 52 แห่ง มีแพทย์เข้าร่วมโครงการ 147 ท่าน ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการและยังคงได้รับยาทั้งสิ้นกว่า 1,600 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ 524 คน และผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ 1,112 คน”   
   
สำราญ สมใจ  ผู้หนึ่งที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์มากว่า 7 ปี เล่าประสบการณ์ของตนเองให้ฟังว่า  อาการเบื้องต้นที่เป็น คือ คลำเจอก้อนที่ท้อง ซึ่งตอนแรกไม่ทราบว่าเป็นอะไรคิดว่าอาจจะเป็นเพราะอ้วนขึ้น แต่อยู่มาวันหนึ่ง ผมมีอาการปวดท้องมาก จึงรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล โดยผลการตรวจทางการแพทย์ระบุว่า ผมเป็นโรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ต้องรีบรักษา ผมตกใจและคิดมากในช่วงแรก ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายสำหรับผม
   
“ในขณะนั้น ผมเกษียณจากการทำงานได้ 2 ปี  จากที่ผมเป็นคนดูแลแม่ แต่แม่กลับต้องมาดูแลผมแทน โดยคุณแม่ได้อยู่เคียงข้างและให้กำลังใจผมมาโดยตลอด  อีกทั้งแพทย์ยังได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการรักษาพร้อมทั้งส่งต่อผู้ป่วย ทำให้ผมสามารถผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายนั้นมาได้
   
ทุกวันนี้ผมดูแลสุขภาพตัวเองอย่างดี ทั้งการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ทานยาให้ตรงเวลา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ผมคิดว่าผมโชคดีที่ได้รับการรักษาที่ดี ได้รับยาที่มีประสิทธิ ภาพ เพื่อให้ผมสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ และทำให้ผมได้มีโอกาสดูแลคุณแม่อีกครั้ง”.

..................................

เคล็ดลับสุขภาพดี - แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุให้เยาวชน

การเกิดอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ฉะนั้นการเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เยาวชน” ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็สามารถเรียนรู้ไว้เพื่อช่วยปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บได้
   
นพ.สมโภช นิปกานนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลพญาไท 3 ให้ความรู้ใน “โครงการกรีนเฮลธ์ยุวทูตพญาไท” ซึ่งเป็นกิจกรรมอบรมความรู้การปฐมพยาบาลในภาวะฉุกเฉินให้กับนักเรียนจากโรงเรียนย่านฝั่งธนบุรีว่า การประสบอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยปัจจัยหลักที่ต้องระวังคือ 1.การเคลื่อนย้ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ถ้าไม่ทราบวิธีเคลื่อนย้ายที่ถูกต้องอาจส่งผลถึงการบาดเจ็บรวมถึงทุพพลภาพได้
   
การเคลื่อนย้ายที่ไม่มีเครื่องมือใด ๆ ต้องมีการฝึกอบรมก่อนที่จะเข้าไปเคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งมีการประเมินเบื้องต้นด้วยว่า ส่วนไหนที่มีความสำคัญที่จะต้องดูแลก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้าย เช่น เกิดอุบัติเหตุระหว่างเล่นฟุตบอลในสนาม สามารถเกิดได้หลายกรณี ได้แก่ ข้อเท้าแพลง กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ไปจนถึง การหมดสติ ซึ่งในแต่ละเหตุการณ์จะต้องมีการเคลื่อนย้ายที่ไม่เหมือนกัน หลังจากการอบรมแล้วนักเรียนจะสามารถประเมินได้ว่าเพื่อนที่ประสบอุบัติเหตุต้องดูแลแบบไหน เช่น ถ้าพูดจาถามตอบได้ ไม่หมดสติ วิธีการปฐมพยาบาล คือ การเคลื่อนย้ายโดยใช้เพื่อน ๆ อย่างน้อย 4 คน ในการที่จะนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไปยังหน่วยพยาบาล ที่ใกล้ที่สุด ส่วนที่สำคัญที่สุดที่ต้องระวังคือ คอ หรือถ้ากรณีรู้สึกตัวดีแต่หายใจติดขัดแสดงว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องทางเดินหายใจ
   
2. กลุ่มที่ถูกสารพิษหรือถูกของร้อนลวก ถ้าปล่อยไว้นาน เช่น รอส่งห้องพยาบาลโดยที่ไม่มีการล้างสารพิษหรือจัดการกับแผลที่โดนน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ก่อนจะเป็นผลเสียต่อเนื่องจากการกัดกร่อนของสารที่มีการระคายเคืองต่อผิวหนัง โดยจะทำให้การรักษาพยาบาลยุ่งยากมากขึ้น หรือกรณีสารพิษ เช่น ถ้าเด็กไปรับประทานอาหารแล้วไปถูกพริกน้ำส้ม เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการแสบร้อน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ตัวสารเคมีที่อยู่บนผิวหนังจะกัดกร่อนทำให้เกิดการระคายเคืองผิว ยิ่งทิ้งไว้นานจะเป็นแผลเหมือนแผลน้ำร้อนลวก ฉะนั้นกระบวนการที่ถูกต้องควรรีบไปล้างออกด้วยน้ำสะอาด
   
และ 3. เรื่องของแมลงสัตว์กัดต่อย เด็กที่ได้รับการอบรมต้องมีความรู้และความเข้าใจในการแยกสัตว์มีพิษ ในระดับอันตรายได้ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ถ้าเป็นสัตว์ที่มีพิษกัดจะมีวิธีดูแล เช่น การขันชะเนาะ การเร่งรีบที่จะต้องนำส่งโรงพยาบาล และการเฝ้าดูว่างูแต่ละชนิดมีผลต่อระบบเลือดหรือระบบประสาทหรือไม่ และสังเกตจากรอยเขี้ยว ถ้าเกิดเป็นรอยเขี้ยวงูพิษจะต้องมี 2 รู แต่ถ้าเป็นรูเดียวโอกาสจะเป็นงูพิษและทำอันตรายต่อร่างกายก็มีน้อย ซึ่งการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นเรื่องสำคัญที่หลาย ๆ คนอาจจะมองข้าม แต่ถ้าทุกคนต่างเรียนรู้วิธีในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก็จะสามารถช่วยชีวิตผู้อื่นและช่วยปฐมพยาบาลตนเองขณะเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้นได้
   
ในเรื่องของการสอนวิธีปฐม พยาบาลเบื้องต้นเป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว แต่ถ้าได้เรียนกับหมอจริง ๆ ก็จะเป็นการได้เรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ นอกเหนือจากในตำรา ถือว่าเป็นการอัพเดทข้อมูล เปรียบได้กับตำราอาหารต่อให้อ่านและจำสูตรต่าง ๆ ได้แต่ไม่ได้มีการปฏิบัติจริงก็ไม่สามารถทำอาหารออกมาได้ ในทำนองเดียวกันการจัดการที่เกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย อาจเป็นสิ่งที่ไม่มีโอกาสทราบมากนัก เราทำอาหารใส่เค็มเกิน หวานเกินก็ยังไม่เป็นอะไร แต่ว่าเรื่องการดูแลปฐมพยาบาล การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหากผิดแม้แต่จุดเดียว อาจเกิดผลเสียระยะยาวได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ.

ทีมวาไรตี้

http://www.dailynews.co.th/article/224/172527
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)