อิ๋ม .. สงสัยคำ ๆ นึง
อัตตา คือไรคะ
สงสัยมากเลยค่ะตอบที T-T
อัตตา คือ อะไร
บทความนี้เขียนขึ้น ด้วยเมตตาต่อท่านทั้งหลาย ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ในคำว่า อัตตา อย่างแท้จริง บางคนขาดสติ พล่ามเพ้อเจ้อในเรื่องของ อัตตา อันอาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อศาสนา
ข้าพเจ้าเอง ก็ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับคำว่า "อัตตา" เพราะข้าพเจ้าถือว่า
"สรรพ สิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ล้วนมีตัวตน" การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสรรพสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเรื่องธรรมดา อาจนำมาใช้พิจารณาเป็นครั้งคราว หรือนำมาพิจารณา ตามแต่เหตุการณ์นั้นๆ ไม่นำมาพิจารณาอยู่เนืองๆ
ดังนั้น การอธิบายคำว่า "อัตตา" จึงเป็นการขยายความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ฯ ดังต่อไปนี้.-
อัตตา คือ ตัวตน หรือในภาษา สันสกฤต ก็คือ คำว่า " อาตมัน"
คำ ว่า ตัวตน นั้น หมายถึง ตัวตนทั้งหมด ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ในที่นี้หมายเอาเฉพาะสิ่งที่มีชีวิต และหมายเอาเฉพาะมนุษย์ เพราะสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านทั้งหลาย
ตัวตน หรือ อัตตา แท้จริง ก็คือ ส่วนที่ประกอบกัน ด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง เมื่อตัวตนหรือ อัตตา ประกอบด้วยขันธ์ ๕ แล้ว ยังแจกแยกออกไปอีกว่า อันใดอันหนึ่งในขันธ์ ๕ นั้น ก็คือตัวตน หรือ อัตตาเช่นกัน
เช่น
รูป อย่างเดียว ก็เป็น อัตตา
สัญญา คือ ความจำ ก็เป็น อัตตา
เวทนา คือ ความรู้สึก ก็เป็นอัตตา
สังขาร คือ การปรุงแต่ง ก็เป็นอัตตา
วิญญาณ หรือ จิตวิญญาณ คือ ความรับรู้ในอารมณ์ ฯ เมื่อ อายตนะภายในกระทบกับอายตนะภายนอก ก็เป็น อัตตา
ใน เรื่องของอัตตานี้ ยังสามารถอธิบายในรายละเอียด ได้อีกมากมาย เพราะการที่เราได้สัมผัสกับอายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง แสง สี โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นหมายถึง การได้สัมผัสรับรู้ ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เพราะเรามีอัตตา คือ มีขันธ์ ๕
ส่วนสรรพสิ่งอื่นบางชนิด อาจจะมีเพียง รูป อย่างเดียว หรืออาจจะมี ไม่ครบ ทั้ง ๕ ขันธ์ หรือ อาจมีครบทั้ง ๕ ขันธ์ แต่ขันธ์เหล่านั้นมีการทำงานที่จำกัด ดังเช่นสัตว์บางชนิด ,ต้นไม้ ฯลฯ มันก็คงไม่รู้ว่า ตันตนของมัน หรืออัตตา ของมันมีหรือไม่
แต่เนื่องจาก มนุษย์ มีขันธ์ ๕ ครบถ้วน บริบูรณ์ เต็มพิกัด
ความมีตัวตน หรือ อัตตาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน
และ ในทางศาสนาใดใดก็ตาม อัตตา หรือตัวตน ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จักเป็นปัจจัยในอันที่จะทำให้บุคคลนั้นๆ สามารถบรรลุมรรคผล บรรลุนิพาน ได้ฉะนี้
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
เขียนเมื่อ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓