ผู้เขียน หัวข้อ: คุรุกับศิษย์ ในคัมภีร์ลัมริน ( ประทีปสู่การรู้แจ้ง )  (อ่าน 3033 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
 
" ... คนธิเบตเคยกล่าวไว้ว่า แม้ในวันหนึ่งหนอนตัวเล็ก ๆ
ก็สามารถบรรลุธรรม แล้วเหตุใดมนุษย์อย่างเรา
ถึงยังคิดว่าความก้าวหน้าทางธรรมยังไกลเกินเอื้อม ... "


 
ครูและศิษย์
ลูกรัก...ครูที่ดีไม่ต้องการศิษย์
ควรจะเป็นศิษย์ที่ดีต่างหากที่ต้องการครู
ควรจะมีการทดสอบกำลังใจและความอดทน
เพียรพยายามดูกันหน่อย ก่อนจะเรียนรู้



 

ลูกรัก...เมื่อครูที่ดีมีศิษย์แล้ว
ทุกอย่างจะต้องเป็นเส้นตรง
จะคดโค้งเปรอะเปื้อนบิดเบือนไม่ได้
ควรจะขยำขยี้ทุกกรรมวิธีจนกว่าศิษย์จะได้ดี

 


ลูกรัก...ศิษย์ที่ดีจงสำนึกไว้เถอะว่า
ระเบียบปฏิบัติอันเคร่งครัด เข้มงวด
หยุมหยิม หยุกหยิก เล็กน้อยนั้น
มันสามารถปลุกเร้าให้ท่านตื่นอยู่เสมอ
หากปฏิบัติด้วยใจ


 

โอวาทของหลวงปู่พุทธอิสระ


 
บทโศลกข้างต้นของหลวงปู่พุทธอิสระได้สั่งสอนลูกหลานด้วยความเอื้อ อาทรนี้คงจะเป็นกระจกสะท้อนความสัมพันธ์ระหวางครูกับศิษย์ตามแบบ ฉบับของชาวธิเบตได้ดีทีเดียว แม้ว่าพื้นฐานการมีวิถีคิด วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ที่อาจจะแตกต่างจากเราก็ตาม แต่เราก็คงไม่ปฏิเสธว่าความสัมพันธ์ระหว่าง ครูกับศิษย์เช่นนี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำศิษย์ไปสู่สุญตาได้อย่างแท้จริง ดังนั้น จึงมิใช่ เรื่องแปลกที่มหาสิทธานโรปะจะต้องเผชิญบทเรียนบททดสอบกันก่อน ถึง ๑๒ ครั้ง กว่าที่จะพบคุรุติโลปะที่เฝ้าเพียรตามหา ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบกับ วิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันแล้ว อาจจะพากันโอดครวญว่าโหดร้ายเกินไป ตาม ๆ กัน และคงพากันล้มเลิกตั้งแต่ยังมิเริ่มออกก้าวเดินเสียด้วยซ้ำไป แต่ สำหรับชนชาวธิเบตผู้ยึดมั่นศรัทธาในพระศาสนาอย่างยิ่งยวด คงจะต้องบอก ว่าวิถีเช่นนี้ดุจดังอุปสรรคอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะต้องพากันก้าวผ่านไปให้ได้ เพราะ หากเปรียบเทียบกับความยากลำบากที่เหล่าคุรุในอดีตต้องเผชิญฟันฝ่าตาม ตำนานที่เล่าขานกันมาแล้ว อุปสรรคอย่างเราๆ ท่านๆ ในปัจจุบันที่กำลังเผชิญ คงเบากว่าท่านมากนัก ดังตัวอย่างในกรณีของมหาสิทธานโรปะที่แม้ว่าเมื่อพบ กับคุรุติโลปะแล้วท่านจะต้องเผชิญบททดสอบอีกมากมาย และหนักหนาสาหัส ถึงขั้นต้องแลกด้วยชีวิต กว่าที่จะได้รับการถ่ายทอดจากคุรุติโลปะในแต่ละวิชา ซึ่งตำนานธิเบตถึงกับกล่าวขานกันว่า " ๑๒ บทเรียนของการค้นหาคุรุของ มหาสิทธานโรปะ " นั้นเป็นบทเรียนชั้นเบาและง่ายกว่าบทเรียนตอนรับถ่าย ทอดวิชาเสียอีก

 
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างคุรุกับศิษย์ในวิถีธิเบตนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ในการพัฒนาจิตวิญญาณของชาวธิเบต เพราะแม้แต่ในคัมภีร์ลัมริม(Lam Rim) หรือ "ประทีปส่องทางสู่การรู้แจ้ง" อันเป็นคัมภีร์ที่สำคัญยิ่งคัมภีร์หนึ่งของชาวธิเบต ซึ่งเชื่อกันว่าถูกถ่ายทอดโดยตรงจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดม ผ่านมาสองสายคือ สายปัญญา(wisdom) ทางพระมัญชุศรีโพธิสัตต์และ พระศรี อารยเมตไตรยโพธิสัตต์ในสายวิธี(method) และถูกรวบรวมทั้งสองสายโดยคุรุอติษะ เป็นคัมภีร์ลัมริมขึ้นมา ยังให้ความสำคัญกับการฝึกฝนปฏิบัติภาวนาเพื่อยึดมั่นในคุรุ ที่มีความสำคัญอันดับแรกทีเดียว และได้มีการอธิบายถึงคุณสมบัติของคุรุและ ศิษย์ที่ดี ชาวธิเบตเชื่อว่ายอมเสียเวลาหาคุรุที่ดี ๑๒ ปียังไม่สาย เพราะถ้าหาก บุคคลที่พบมิใช่คุรุที่ดีที่ประเสริฐสำหรับศิษย์แต่ละคนแล้ว ย่อมนำมาซึ่งอันตราย ต่อตัวศิษย์เองและหลงผิดหลงทางกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น การสานสัมพันธ์ของคุรุ กับศิษย์จึงต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้กันและกัน และให้มั่นใจว่าเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ของคุรุผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง และตัวศิษย์เองก็มีศรัทธาเชื่อมั่นต่อคุรุอย่างแน่วแน่ เพราะคงไม่มีประโยชน์อันใดแม้ครูผู้นั้นจะมีคุณสมบัติของความเป็นคุรุผู้ประเสริฐ แต่หากผู้เป็นศิษย์ขาดความศรัทธาเชื่อมั่นที่จะปฏิบัติตาม ก็คงไม่ส่งผลดีอันใดขึ้นมา
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



คุณสมบัติแห่งคุรุ


วิถีพุทธแบบธิเบตนั้นให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของคุรุกับศิษย์เป็นอย่างยิ่ง ที่คัมภีร์ลัมริม (Lam rim) หรือประทีปส่องทางการรู้แจ้ง ยังยึดถือว่าการปฏิบัติเพื่อ ถวายตัวยึดมั่นคุรุทางจิตวิญญาณนั้น เป็นรากฐานของการฝึกฝนที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้เพราะความสำเร็จและความก้าวหน้าทางธรรมของศิษย์ต้องขึ้นกับคุรุทั้งสิ้น เปรียบง่าย ๆ ให้เราลองนึกย้อนไปตั้งแต่สมัยเราเริ่มเรียนชั้นอนุบาลจนกระทั่งกว่า จะจบมหาวิทยาลัยออกมา เราทุกคนล้วนต่างต้องการความช่วยเหลือและคำชี้แนะ จากครูบาอาจารย์ที่มีความสามารถทั้งนั้น เมื่อในระบบการศึกษาทางโลกยังต้อง การครูอาจารย์ที่มีความสามารถเพียงนี้ ดังนั้น การศึกษาในทางธรรมที่มุ่งสู่การรู้แจ้ง จึงยิ่งต้องการครูที่เปี่ยมด้วยคุณบัติและประเสริฐอย่างแท้จริงโดยในคัมภีร์(Lam rim) ได้แนะนำคุณสมบัติของคุรุทางจิตวิญญาณตามที่บัญญัติไว้ในพระสูตร The Ornament of Mahayana Sutras ดังนี้


๑.ผู้เป็นเลิศแล้วในศีล ทั้งนี้เพราะศีลเปรียบดังฐานรากของเส้นทางธรรม หาก ผู้เป็นครูไม่มีศีลแล้วย่อมเป็นการยากที่จะชี้นำศิษย์ให้ปฏิบัติตามได้ และผลที่ได้ คงไม่ต่างกับการเล่นตุ๊กตาเด็กเล่นของเด็ก ๆ แม้ว่าศิษย์คนนั้นกำลังฝึกฝนตันตระ ชั้นสูงก็ตาม ดุจดังพระราชวังน้ำแข็งที่ต้องหลอมละลายไปก่อนที่สายลมฤดูร้อน แห่งความก้าวหน้าของชีวิตจะมาเยือน


๒.ผู้เป็นเลิศแล้วในสมาธิ ซึ่งสามารถขจัดความมืดบอดในอารมณ์และจิตใจ ได้แล้ว หาไม่แล้ว คุรุผู้นั้นย่อมมิอาจเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ ที่นำไปสู่ปัญญาได้ และคำสอนของคุรุที่ยังมีมายาการอยู่นจิตย่อมมิอาจถ่าย ทอดคำสอนอันบริสุทธิ์ของธรรมะได้


๓.ผู้เป็นเลิศแล้วในปัญญา ที่จะลดละและขจัดการยึดมั่นในอัตตาตัวตนได้ เพราะคุรุที่ปราศจากปัญญาย่อมก่อโทษและอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น อีกทั้งพื้นฐานประสบการณ์ทางวิญญาณที่พานพบย่อมถูกบิดเบือนได้ง่าย และอาจนำไปสู่การแบ่งแยกลัทธิ และยึดมั่นในวัตถุนิยม ซึ่งนำอันตราย มาสู่ศิษย์ในที่สุด


๔.ผู้เป็นเลิศและรอบรู้ในคัมภีร์พระสูตร

๕.ผู้เข้าถึงจิตว่าง


นั่นคือคุณสมบัติทั้งข้อ ๔ และข้อ ๕ นั้นหมายถึงคุรุผู้เป็นเลิศทั้งทางปริยัติ และปฏิบัติจนเข้าถึงปฏิเวธ และสามารถถ่ายทอดชี้แนะศิษย์สู่การเรียนรู้ได้ อย่างสมดุลย์จากประสบการณ์ภายในจิตวิญญาณของตนเอง


๖.เป็นผู้รอบรู้และเข้าถึงสภาวธรรมมากกว่าผู้เป็นศิษย์


๗.เป็นผู้มีทักษะและความสร้างสรรค์ ในการสรรหาวิธีการที่จะอธิบาย ธรรมะ และสร้างความก้าวหน้าแก่ศิษย์ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ปราศจากความ มุ่งหวัง เพื่อชื่อเสียง เงินทอง อำนาจ หรือผลตอบแทนใด ๆ


๘.เป็นผู้ยินดีและพากเพียรในการเผยแพร่สั่งสอนธรรม โดยไม่เกียจคร้าน หรือท้อถอย


๙.เป็นผู้มีความกระตือรือร้นและมีความปีติยินดีในการสละเวลา และพลัง กายพลังใจที่จะถ่ายทอดธรรม


๑o.เป็นผู้มีเมตตาและความรักต่อศิษย์ แม้ผู้นั้นจะยังฝึกฝนปฏิบัติได้ไม่ดี


ดังนั้น หากพบคุรุแล้ว ลองตรวจสอบดูคุณสมบัติดังกล่าวอย่างถี่ถ้วนและ มีเหตุผล ก่อนที่จะมอบกายถวายชีวิตเราก้าวเดินตามรอยคุรุท่านนั้น ๆ


พุทธศาสนานั้นได้สอนเราให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้ของชีวิต ซึ่งแม้ว่าเวลา จะผันเปลี่ยนไปนานเท่าใด แต่ธรรมชาติของปัญญาที่ซ่อนเร้นอยู่เบื้องลึกของ จิตใจและความลี้ลับของชีวิตและก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นพุทธศาสนาจึง ไม่ใช่เป็นเพียงซากของวัฒนธรรมจากอดีตเท่านั้น แต่ยังคงความจริงแท้ของ ชีวิตที่ยังคงใช้ได้ในทุกยุคสมัย การพิจารณาวิเคราะห์ในคำสอนของพระพุทธองค์ ก็เป็นการพิจารณาถึงสัจจะของความจริง และช่วยเปิดประตูเร้นลับสู่ความเข้าใจ ในตัวตนของเรา ในจิตของเรา และในธรรมชาติของการดำรงชีวิตอยู่ของตัวเรา ดังนั้น การให้เวลากับตนเองในการพินิจพิจารณาด้วยเหตุผลตั้งแต่ต้น ก็คงจะ ไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องเสียเวลาลังเลถอยกลับด้วยความเคลือบแคลงและ ลังเลสับสน ดุจดังเช่นเดียวกับที่หากเราได้มีโอกาสก้าวตามรอยของคุรุที่ ประเสริฐแล้ว นั่นย่อมหมายถึงการได้รับของขวัญอันยิ่งใหญ่แห่งชีวิตเลยทีเดียว ดังนั้นคัมภีร์ได้ระบุถึงคุณสมบัติของคุรุทางจิตวิญญาณไว้ให้เราแล้ว เราควร จะทำหน้าที่นส่วนของเราให้ดีที่สุดในการพิจารณาใคร่ครวญให้ถี่ถ้วนก่อนที่ จะตกลงปลงจก้าวเดินตามใคร เพราะคงไม่มีประโยชน์อันใดหากเราฝืนก้าว ตามผู้ที่ไม่ใช่คุรุแท้ของเรา
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
 
คุณสมบัติแห่งศิษย์
 
 
แล้วคุณสมบัติของผู้เป็นศิษย์ควรมีอย่างไรบ้าง ในคัมภีร์ลัมริมได้ระบุถึง
คุณสมบัติของผู้ของผู้ที่เป็นศิษย์ที่ดีได้ดังนี้
 
 
๑.ความจริงใจในการเรียนรู้ : ผู้เป็นศิษย์ควรมีจิตใจที่สมดุล เป็นอิสระจากความ
ยึดติดในความชอบหรือไม่ชอบ หรือแบ่งเขาแบ่งเรา หากสมมุติในขณะที่กำลัง
อ่านเรื่องนี้อยู่และเกิดความคิดขึ้นมาว่า " ฉันเป็นพุทธเถรวาท แต่นี่แค่เป็นเรื่อง
ของพุทธธิเบต " นั่นแสดงว่าเรากำลังปิดกั้นตัวเราจากประโยชน์ที่พึงจะได้รับ
ในการอ่านในการศึกษาของตัวเราเอง และแม้ว่าเราจะมีโอกาสได้อ่านหรือศึกษา
คัมภีร์ชั้นเลิศเพียงใด แต่หากยังมีใจแบ่งแยกอยู่เช่นนี้ ก็คงไม่ต่างจากไก่ได้พลอย
นั่นเอง การมีจิตที่ปิดกั้นแบ่งแยกคำสอนของพุทธศาสนาว่าเป็นของนิกายอื่น
ไม่ดีเท่าหรือเหมือนกับนิกายเรา ก็คงไม่ต่างจากการเปลี่ยนยาวิเศษอย่างพระธรรม
ให้กลายเป็นยาพิษ และการเปรียบชั้นคำสอนของศาสนาว่าของเราดีกว่าของ
เขาเสมอ ก็รังแต่จะทำให้ตนเองจมปลักกับความโง่เขลาดังเดิม เราต้องไม่ลืม
ว่าการที่พระพุทธองค์เผยแพร่ธรรมะออกไปอยากหลากหลายนั้น มิใช่เพื่อ
สร้างความสับสนให้กับผู้คนว่าอะไรคือพุทธศาสนาที่แท้ที่บริสุทธิ์ อะไรที่
มิใช่คำสอนใดสูงส่งหรือต่ำต้อยกว่ากัน เพราะหากใครก็ตามสามารถเข้าถึง
ธรรมเข้าใจธรรมสู่การรู้แจ้งอย่างแท้จริงแล้วย่อมตระหนักว่าธรรมอันบริสุทธิ์
ย่อมสถิตอยู่ในทุก ๆ คำสอนของคุรุผู้ประเสริฐทุกท่าน ไม่ว่าท่านจะสืบจาก
วัฒนธรรมใดหรือนิกายใด เพราะการปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนธรรมของ
แต่ละนิกายนั้นก็เป็นไปเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยและวัฒนธรรมของแต่ละ
ท้องถิ่น ดุจเดียวกับเวลาที่เราต้องเดินทางไปที่ต่าง ๆ ก็ต้องปรับเปลี่ยนประเภท
ของเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในแต่ละท้องที่ ดังนั้น หากเราพิจารณา
ให้อย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า คำสอนทั้งหลายก็ล้วนสืบเนื่องมาจากพระพุทธองค์
ทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า เราจะต้องเอาหลักปฏิบัติของทุกนิกายมา
ผสมปนเปกันไปหมดแต่เราควรจะมีใจที่เปิดกว้างต่อคำสอนอันหลากหลาย
และรู้จักที่จะเลือกปรับนำมาใช้เป็นความรู้เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้าง
วิถีการศึกษาปฏิบัติของเรา ไม่ว่ากำลังเลือกเดินอยู่ในบนวิถีใดก็ตาม
 
 
๒.มีปัญญาในการพิจารณาพิเคราะห์เลือกสรรค์ธรรมะอันบริสุทธิ์มาปรับ
ใช้กับชีวิต หากผู้เป็นศิษย์มีปัญญาเช่นนี้แล้วย่อมจะไม่สับสนและถูกชักจูงไป
ทางที่ผิดได้ง่าย ๆ เพราะหากมีแต่ศรัทธาแต่ขาดปัญญาในการแยกแยะดี-ชั่ว
ถูกผิดแล้ว เราก็คงไม่ต่างจากลิงที่ถูกโซ่ล่ามให้วิ่งไปวิ่งมา อย่าลืมว่าเป้าหมาย
สำคัญของการเรียนรู้ธรรม ปฏิบัติธรรมก็เพื่อขจัดอกุศลกรรมความมืดบอดในจิต
เพื่อให้หน่อเนื้อแห่งพุทธะเติบโตงอกงามในจิตใจของเรา ซึ่งหากเราขาดปัญญา
ในการแยกแยะคำสอนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง และหากเรา
ต้องใช้ชีวิตทั้งชีวิตกับการศึกษาและปฏิบัติธรรม แต่ผลที่ได้ยังคงเป็นหัวใจ
ที่ยังมืดบอดก็คงไม่ต่างกับการที่เราปล่อยให้หน่อเนื้อพุทธะที่ดีงามในใจของ
เราให้กลับกลายเป็นมารร้ายไปในที่สุดนั่นเอง ดังนั้นหากเราพบว่าแม้เราจะ
อ่านศึกษาคัมภีร์มาแล้วมากมายเพียงใด แต่หัวใจของเรากลับไม่ได้ลดความ
ยึดมั่นถือมั่น หยิ่งยโสในตัวตนลงได้ ก็คงถึงเวลาที่เราจะต้องหวนกลับมา
พิจารณาทบทวนวิธีการใหม่ที่จะให้คำสอนอันทรงคุณค่าผนึกแน่นเป็นหนึ่ง
เดียวกับหัวใจของเรา และเป็นประสบการณ์ในชีวิตทุกขณะจิตของการมี
ลมหายใจ วิธีของธิเบตถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นฝึกฝน
เรียนรู้ใหม่ ๆ ที่จะต้องรักษาสมดุลระหว่างการศึกษาภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
ให้ได้ จริงอยู่ที่การศึกษาตามหลักคัมภีร์ท่องจำพระสูตรเป็นเรื่องที่สำคัญ
แต่เราต้องไม่ลืมถือหลักคัมภีร์นั้นติดตัวเรากลับบ้านไปด้วยเพื่อให้ได้นำไป
ฝึกฝนปฏิบัติจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชีวิตประจำวันของเรา เพราะเป้า
หมายของเราก็เพื่อฝึกจิตให้สว่างสะอาดขึ้น และขจัดความมืดบอดอ่อนแอ
ในจิตใจของเราให้ออกไปไม่ให้เหลือ คนธิเบตเคยกล่าวกันว่า แม้ในวันหนึ่ง
หนอนตัวเล็ก ๆ ก็สามารถบรรลุธรรมได้เช่นกัน แล้วทำไมมนุษย์อย่างเรา
ถึงยังคิดกันว่าความก้าวหน้าทางธรรมถึงยังไกลเกินเอื้อม ในเมื่อมนุษย์เรานั้น
มีสภาพร่างกายและพื้นฐานจิตใจที่เอื้อต่อการปฏิบัติมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นอีก
เรามีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์กว่าพร้อมกว่า เรามีระบบประสาท มีมันสมองที่
จะช่วยให้เราแยกแยะสิ่งต่าง ๆ ได้ ขอเพียงแต่เราตั้งใจมั่นที่จะทำเท่านั้น
 
 
๓.มีศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะเรียนรู้ ฝึกฝนปฏิบัติธรรม
 
 
๔.มีศรัทธา เชื่อฟัง และให้ความเคารพต่อคุรุทางจิตวิญญาณ และพระธรรม
ที่ได้รับการถ่ายทอดโดยไม่เสื่อมคลาย
 
 
๕.ขณะที่เรียนหรือฟังธรรมคำสอนของคุรุอยู่นั้น ศิษย์ที่ดีต้องสามารถขจัด
ความเกลียดคร้านและมีสมาธิแน่วแน่อยู่เสมอ
 
 
ดังนั้น หากเมื่อใดที่เรามีโอกาสได้พบกับคุรุที่ดีที่ประเสริฐแล้ว ยามใดที่มี
โอกาสศึกษาคำสอนของท่าน พึงระลึกและปฏิบัติตนเยี่ยงศิษย์ที่ดีอยู่เสมอและ
ถึงที่สุดแล้วธรรมใดที่เราได้เรียน ได้ฟัง ได้ปฏิบัติดีแล้วมิใช่เพื่อยังประโยชน์
ต่อพระศาสนา พระพุทธเจ้าหรือแม้แต่คุรุผู้เฝ้าเพียรอบรมสั่งสอน เพราะ
พระศาสนาของพระผู้ประเสริฐเหล่านั้นล้วนเข้าถึงซึ่งความดีเลิศทั้งปวงแล้ว
แต่ประโยชน์อันใดที่จะพึงมีพึงได้ล้วนแต่เพื่อตัวเราผู้ยังเป็นหน่ออ่อนของ
เส้นทางธรรมนี้เท่านั้นเอง
 
 
คุรุสองขะปะ *๑(Tsongkapa) ได้กล่าวไว้ว่า " รากฐานที่สำคัญของการพัฒนา
ทางจิตวิญญาณ คือ การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคุรุกับศิษย์ " นั่นคือ
เราต้องมีทัศนะคติและประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มันจะเปรียบ
ได้ดั่งรากแก้วของต้นไม้ใหญ่ที่รากแข็งแรงสมบูรณ์ดีแล้วย่อมช่วยค้ำจุนให้ ลำต้น
กิ่ง ก้าน ใบ และดอกผลของการปฏิบัติงดงามตามไปด้วย แต่นทางตรงกันข้าม
หากรากง่อนแง่น อ่อนแอ ไม่มั่นคงเสียแล้ว การปฏิบัติธรรมก็คงยากที่จะเติบ
ใหญ่เป็นต้นไม้ที่งดงาม
 
และในการสานสัมพันธ์ดังกล่าว ตามวิถีของธิเบตจะใช้วิธีการหมั่นทำสมาธิ
วิปัสนาถึงคุณสมบัติคุรุและประโยชน์อันเลิศของท่านได้นำมาสู่ชีวิตของเรา
และน้อมถวายเพื่อเป็นคุรุบูชา ๓ ประการ คือ วัตถุสิ่งของ การปวารณาตัวรับใช้
และหมั่นปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งการถวายเพื่อคุรุบูชานี้ การหมั่นฝึกฝน
ปฏิบัติตามคำสอนอย่างถูกต้องเหมาะสมนั้นสำคัญและมีความหมายที่สุดดังที่
ท่านมิลาเรปะ *๒ กล่าวไว้ว่า
 
 
" ข้า มิลาเรปะ ไม่มีทรัพย์สมบัติอันใดที่จะน้อมถวายเป็นคุรุบูชา แต่ข้า จะขอ
น้อมถวายแด่องค์คุรุท่านด้วยการหมั่นฝึกฝนปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมที่สุด "
และผลที่ได้ค่อท่านมิลาเรปะสามารถรู้แจ้งภายในชั่วชีวิตนี้ของท่าน ดังนั้น
คุรุผู้ประเสริฐย่อมไม่ปรารถนาทรัพย์สมบัติของกำนัลใด ๆ จากศิษย์มากไปกว่า
การหมั่นฝึกฝนปฎิบัติตามคำสั่งสอน และผู้เป็นศิษย์ที่ดีย่อมเพียรพยายามที่จะ
ปฏิบัติให้ได้ดังกล่าวด้วยการดำรงชีวิตอยู่บนรากฐานคำสอนของผู้เป็นคุรุ
 
แต่อะไรจะเกิดขึ้นหากวันหนึ่งพบว่าคำสั่งสอนบางอย่างของคุรุนั้นเราไม่
อยากปฏิบัติตาม และรู้สึกว่าเป็นคำสอนที่ขัดต่อหลักธรรมและเหตุผลเหลือ
เกินในเรื่องนี้องค์ทะไลลามะท่านเคยทรงแนะนำไว้ว่าหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ
ความเป็นเหตุเป็นผล นั่นคือพึงมีศรัทธาบนพื้นฐานของปัญญาและแม้แต่พระ
พุทธเจ้าองค์ยังทรงสอนให้เราอย่าเชื่อเพียงเพราะพระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้า
แต่ให้เชื่อ หากพิจารณาแล้วว่าสิ่งที่สั่งสอนออกมานั้นเป็นเรื่องจริง มีเหตุผล
หากผู้เป็นครูชี้ไปทางทิศตะวันออก แต่บอกให้เราเดินไปทิศตะวันตก สิ่งที่
ผู้เป็นศิษย์พึงทำคือไต่ถามเพื่อขจัดความสงสัยด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
อย่างที่สุด เพราะเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ความผิดพลาดที่คุรุแสดงออกมาให้
เราเห็นนั้นเพียงเพื่อที่จะให้เราได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่เราไม่ควรจะกระทำ ความผิด
พลาดในตัวคุรุไม่ควรจะมายึดถือเป็นเหตุให้เราเสื่อมความเคารพ แต่เราควร
จะใช้ความผิดพลาดนั้นเป็นดั่งเครื่องมือเรียนรู้ทางจิตวิญญาณของเรา และ
การที่คัมภีร์ลัมริมได้เน้นให้ความสำคัญกับการยึดมั่นในตัวคุรุก็เพื่อเป็นการ
เตรียมวางรากฐานสำหรับผู้ฝึกฝนต่อการเรียนรู้ตันตระขั้นสูง หาได้ใช้เป็น
เครื่องมือสำหรับผู้แอบอ้างว่าเป็นครู เพื่อหาผลประโยชน์จากศิษย์ผู้บริสุทธิ์
ดังนั้นในคัมภีร์จึงเน้นย้ำให้พิจารณาให้ดีก่อนที่จะกราบใครเป็นครู และศรัทธา
โดยไม่มีปัญญานั้นย่อมนำไปสู่ปัญหามากมาย เพราะในธิเบตเอง ( รวมทั้งอีก
หลาย ๆ ประเทศ) ก็มีผู้ที่อาศัยธรรมะเป็นเครื่องบังหน้า และซ่อนความเลว
ร้ายของตัวเองภายใต้หน้ากากของผู้ทรงศีล เพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์จากผู้ได้
ชื่อว่าเป็นศิษย์ สร้างความเสียหายและแตกแยกแก่ผู้คนและพระศาสนา ซึ่ง
บุคคลเช่นนี้องค์ทะไลลามะเองท่านยังตรัสว่าสมควรที่จะออกจากพระศาสนา
ไปทำธุรกิจเสียเลยจะดีกว่า อย่าได้มาสร้างตราบาปแก่ผู้บริสุทธิ์เปี่ยมศรัทธา
ด้วยเครื่องมือของฉากบังหน้าว่าตนเองเป็นครูอีกต่อไปเลย
 
 
*๑ คุรุสองขะปะ (AD 1357-1419) เป็นผู้จัดรูปแบบชัดเจนของนิกายเกลุก
ได้รับการยกย่องว่าเป็นเสมือนหนึ่งนิรมาณกายของพระมัญชุศรีโพธิสัตต์
ซึ่งเป็นพระโพธิสัตต์ฝ่ายปัญญา รับศีลอุบาสกตั้งแต่ ๓ ขวบ ต่อมาอายุได้ ๗ ขวบ
บรรพชาเป็นสามเณร ท่านได้เล่าเรียนและปฏิบัติกับอาจารย์ต่าง ๆ โดยไม่จำกัด
นิกายกว่า ๑oo คน ทั้งทางด้าน พระสูตร พระวินัย การแพทย์และตันตระ เป็น
ผู้เขียนตำราและคัมภีร์ต่าง ๆ ไว้ถึง ๑๘ เล่ม กว่า ๑oo หัวข้อ ซึ่งเกี่ยวข้อง
กับคำสอนในพุทธศาสนาและอรรถกถาทั้งในฝ่ายพระสูตรและตันตระ
 
 
*๒ มิลาเรปะ(๑o๔o-๑๑๒๓) เป็นศิษย์เอกของมาร์ปะ ถือกันว่ามมิราเลปะ
เป็นโยคีสายตันตระที่มีประสบการณ์สูงส่ง รู้แจ้งได้ในชีวิต เป็นผู้รับผิดชอบ
การสืบทอดคำสอนสายสมาธิของนิกายกาจู
 
 
-จาก ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม โดย อรอุมา แววศรี -
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 30, 2016, 06:08:21 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ aun63

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 73
  • พลังกัลยาณมิตร 44
    • ดูรายละเอียด

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~