แสงธรรมนำใจ > วัชรยาน

นิงมะ กาจู สักยะ เกลุค วัชรยาน 4 สายสำคัญในธิเบต

<< < (2/2)

มดเอ๊กซ:

*  ท่านสองขะปะ ปฐมาจารย์ นิกาย เกลุก ( นิกายหมวกเหลือง)






เกลุก

นิกายเกลุกพัฒนามาจากนิกายกดัมที่อาจารย์อตีษะ วางรากฐานไว้แต่เดิม และจัดเป็นนรูปแบบชัดเจนโดยอาจารย์สองขะปะ ( ๑๓๕๗ - ๑๔๑๙ ) อาจารย์สองขะปะเกิดที่เมืองสองขะ ในแคว้นอัมโด รับศีลอุบาสกตั้งแต่ อายุ ๓ ขวบ จากอาจารย์รอลเปดอร์เจกรรมะปะองค์ที่ ๔ กุงกะ นิงโป ต่อมาท่านอายุได้ ๗ ขวบ บรรพชาเป็นสามเณร รับศีลจากอุปัชฌาย์ โชเจ ทอนดุบ รินเซ็นและได้รับฉายาว่า ลอบซัง ดรักปะ แม้ในวัยเยาว์ ได้รับคำสอนและพิธีอภิเษกของเหรุกะ ยมันตกะ และเหวัชระ สามารถ สามารถท่องจำพระคัมภีร์ เช่น พระนามของพระมัญชุศรี ได้ทั้งหมด

สองขะปะ เดินทางไปกว้างไกลเพื่อแสวงหาความรู้และศึกษาเล่าเรียน อยู่กับอาจารย์ในนิกายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในขณะนั้น เริ่มต้นจากอาจารย์เซ็นงะ โชกบี เจลโป โดยได้รับคำสอนเกี่ยวกับจิตตรัสรู้และมหามุทรา เรียนการ แพทย์จากอาจารย์ คอนช็อก จับ ที่ดรีกุง ที่เนถัง เดวาจัน ได้เรียนพระ คัมภีร์เพื่อความเข้าใจที่แจ่มชัด และปัญญาบารมี มีความเชี่ยวชาญตรรก- วิภาษ( Ornament for Clear Realization )จนเป็นที่เรื่องลือในความสามารถ นอกจากนั้นยังเดินทางไปวัดสักยะเพื่อศึกษาพระวินัย ปรากฏการณ์วิทยา การรับรู้ที่ถูกต้อง มาธยมิกและคุยหสมาช กับลามะ เช่น คาซิปะโลเซล และเร็นคะวะ นอกจากนั้นยังได้รับถ่ายทอดคำสอนของนโรปะ กาลจักร มหามุทรา มรรควิถีและผล จักรสัมภวะ และถ่ายทอดคำสอนเหล่านี้ให้ สานุศิษย์ที่ต่อมากลายเป็นนิกายเกลุก

นอกจากศึกษาเล่าเรียนแล้ว สองขะปะฝึกปฏิบัติสมาธิเป็นเวลายาวนาน บางครั้งเข้าเงียบนานถึง ๔ ปี ในช่วงนั้นมีสานุศิษย์ใกล้ชิดปฏิบัติอยู่ด้วย ๘ คน เป็นที่เลื่องลือว่าสองขะปะสามารถติดต่อโดยเฉพาะกับพระมัญชุศรี โพธิสัตต์ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตต์ฝ่ายปัญญา สามารถไต่ถามความรู้ ซึ่งเป็น จุดที่ละเอียดอ่อนในคำสอนได้

สองขะปะได้เล่าเรียนกับอาจารย์ต่าง ๆ โดยไม่จำกัดนิกายกว่า ๑oo คน นอกจากศึกษาเล่าเรียนก็ยังฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย จากนั้นทำการสอน แก่สานุศิษย์อย่างแพร่หลายในธิเบตตอนกลางและภาคตะวันออก ที่ สำคัญสองขะปะ เขียนตำราและคัมภีร์ต่าง ๆ ไว้ถึง ๑๘ เล่ม กว่า ๑oo หัวข้อ เกี่ยวข้องกับคำสอนในพุทธศาสนาและอรรถกถาอธิบายขยาย ข้อธรรมะที่ยากแก่การเข้าใจ ทั้งในฝ่ายพระสูตรและตันตระ

สานุศิษย์ของสองขะปะเป็นแรงสำคัญในการวางรากฐานก่อตั้งนิกายเกลุก ในบรรดาสานุศิษย์เหล่านี้ที่สำคัญ ได้แก่ เจลซับธรรมะ รินเช่ ( ๑๓๖๔ - ๑๔๓๒ ) เคดรุป เกเล็ค เพลซัง( ๑๓๙๑ - ๑๔๗๔ ) จัมยังโชเจ ตาชิ เพลเด็น ( ๑๓๗๙ - ๑๔๔๙ ) จัมเช่น โชเจ สักยะเยชิ เจเชรับซังเซ็งเก และกุงกะทอน ดรุป ( ๑๓๔๕ - ๑๔๓๕ )

สองขะปะมีอายุถึง ๖o พรรษา จึงมรณภาพได้สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดกานเด็น ให้แก่เจลซับเจ นับเป็นการเริ่มประเพณีการสืบทอดสายของ นิกายเกลุกมาจนถึงบัดนี้

วัดเกลุกที่สำคัญในธิเบต ที่ควรกล่าวถึงในที่นี้ คือวัดกานเด็น ซึ่งก่อตั้งโดย สองขะปะเอง ใน ค.ศ. ๑๔o๙ มีวิทยาลัย ๒ แห่งคือ ชาเซ่กับจังเซ่ ดังนั้น วัดกานเด็นจึงเป็นทั้งวัดและศูนย์การศึกษาของพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุ นิกายเกลุก

ต่อมา จัมยังโชเจ ตาชิ เพลเด็น สานุศิษย์คนสำคัญของสองขะปะ ได้ก่อ ตั้งวัดดรีบุงขึ้นใน ค.ศ. ๑๔๑๖ สมัยแรกมีถึง ๗ สาขา ต่อมายุบรวมเหลือ ๔ สาขาหลัก ได้แก่ โลเซลิง โคมัง เดยัง และงักปะ ในจำนวนนี้มีเพียง ๒ วิทยาลัยที่ยังคงเหลือสืบทอดมาจนปัจจุบัน คือ ดรีบุงกับโคมัง

สานุศิษย์ที่สำคัญอีกคนหนึ่งคือ จัมเซ่นโชเจ สักยะ เยชิ สร้างวัดเซระขึ้น ใน ค.ศ. ๑๔๑๙ เดิมมี ๕ วิทยาลัย ต่อมารวมเหลือ ๒ คือ เซระเจกับเซระเม เช่นเดียวกับ กยัลวา เก็นเด็น ดรุป ทะไลลามะองค์ที่ ๑ ได้ก่อตั้งวัดตาชิ ลุนโปขึ้นในเมืองชิกัตเส ใน ค.ศ. ๑๔๔๗ ต่อมากลายเป็นวัดประจำตำ แหน่งปันเช็นลามะสืบต่อมาจนถึงศตวรรษนี้ เดิมวัดนี้มีวิทยาลัย ๔ แห่ง เหมือนกัน

กุยเม ซึ่งเป็นวิทยาลัยตันตริกขั้นต้น ก่อตั้งขึ้นโดย เจเช รับ เซ็งเก ใน ค.ศ. ๑๔๔o และกุยโต วิทยาลัยตันตริกขั้นสูง ก่อตั้งขึ้นโดย กยูเช่น กุงกะ ทอนดุป ใน ค.ศ. ๑๔๗๔ ในช่วงที่รุ่งเรือง วัดเหล่านี้มีพระภิกษุ ทั้งพระนักศึกษาและพระทั่วไปอยู่แห่งละ ๕,ooo รูป เฉพาะในวิทยา ลัยตันตระ แต่ละแห่งมีพระนักศึกษาไม่น้อยกว่าแห่งละ ๕oo รูป บรรดาชายชาวธิเบตจะเดินทางจากทั้ง ๓ แคว้นของธิเบตเพื่อที่จะเข้า มาศึกษาในมหาวิทยาลัยของวัดหลักที่เป็นศูนย์การศึกษาทั้ง ๓ แห่งคือ กานเด็น ดรีบุงและเซระ

นิกายเกลุก เป็นนิกายที่มุ่งเน้นในด้านความเคร่งครัดของการปฏิบัติพระ วินัย ถือเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการศึกษาและปฏิบัติพุทธศาสนา ผลที่ตามมาก็คือ ลามะส่วนใหญ่ของนิกายเกลุกจะเป็นพระภิกษุและ อาจารย์ที่มีชื่อเสียง ที่เป็นฆราวาสน้อยมาก นอกจากนั้นนิกายเกลุก ถือว่าการศึกษาอย่างเป็นวิชาการ เป็นพื้นฐานสำคัญของการฝึกสมาธิ ดังนั้นจึงเน้นการสอนทั้งในด้านพระสูตรและตันตระ และวิธีการสอน จะเน้นออกมาทางการวิเคราะห์ โดยผ่านการฝึกฝนตามตรรกวิภาษ

โดยทั่วไปแล้วหลักสูตรการศึกษาของนิกายเกลุกครอบคลุมหัวข้อใหญ่ ๕ แขนง คือ ปัญญาบารมี ปรัชญามาธยมิก การรับรู้ที่ถูกต้อง ปรากฏ การณ์วิทยา และพระวินัย การศึกษาทั้ง ๕ แขนงนี้ จะเป็นไปอย่างเคร่ง ครัด เป็นระบบโดยวิภาษวิธี ใช้ทั้งตำราของอินเดียและอรรถกถาของ ธิเบตประกอบ จะมีคัมภีร์อรรถกถาที่ใช้เฉพาะของนิกาย เมื่อจบการ ศึกษาและการอบรมดังกล่าวแล้ว พระภิกษุจะได้รับปริญญาเป็น ๓ ระดับ คือ เกเช่ โดรัมปะ ซอกรัมปะ และลารัมปะ ที่สูงสุดคือ เกเช่ ลารัมปะ ( เทียบเท่าปริญญาเอก )

หลังจากนั้น เกเช่อาจจะฝึกฝนต่อกับวิทยาลัยตันตระ หรืออาจจะกลับ ไปวัดต้นสังกัด เพื่อสอนพระภิกษุรุ่นใหม่ต่อไป หรือเลือกที่จะหันไป ปฏิบัติสมาธิเฉพาะตน พระภิกษุที่เรียนจบเป็นเกเช่ จะได้รับการยกย่อง สมควรแก่การเคารพ

นิกายนี้ แม้หลังจากอพยพออกมาจากธิเบตแล้ว ก็ยังมีความกระตือรือ ร้นในการพยายามสานต่องานในการให้การศึกษาพระพุทธศาสนาแก่ พระภิกษุ วัดสำคัญที่เป็นวัดหลักของนิกายนี้ คือ วัดกานเด็น เซระ และดรีบุง ตาชิลุนโป และกุยเม วิทยาลัยตันตระ ก็ได้มาจัดตั้งใหม่ใน อินเดียทั้งหมด ส่วนหนึ่งของความมั่นคงของนิกายนี้สืบเนื่องมาจาก นิกายนี้ได้ปกครองประเทศธิเบตสืบต่อกันมากว่าสองศตวรรษ องค์ ทะไลลามะซึ่งเป็นประมุขของประเทศก็เป็นพระภิกษุในนิกายนี้ แม้ พระองค์จะทรงให้การสนับสนุนนิกายอื่น ๆ โดยปราศจากอคติ แต่ การที่พระองค์เองเป็นเกลุก บรรดาวัดต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ พระตำหนัก ที่ธรัมศาลา ซึ่งเป็นศูนย์การบริหารงานของรัฐบาลธิเบตพลัดถิ่นก็ล้วน เป็นเกลุกทั้งสิ้น

ความสำคัญของตำแหน่งทะไลลามะ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญประการ หนึ่งของนิกายเกลุก ในบทนี้พยายามให้ภาพกว้าง ๆ ของนิกายสำคัญ ทั้ง ๔ นิกายในพุทธศาสนาแบบธิเบต


- จาก พระพุทธศาสนาแบบธิเบต - - โดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ -

เพิ่มเติม http://xuanfa.net/introduction-to-buddhism/sects-and-schools/

aun63:
 :45: :13:

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
 :13:อนุโมทนาครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version