ผู้เขียน หัวข้อ: ไหว้พระ ไหว้เจ้า เทศกาลตรุษจีน  (อ่าน 3404 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ไหว้พระ ไหว้เจ้า    
โดย : พระจันทร์

ช่วงเทศกาลตรุษจีน เป็นช่วงเวลาทองของคนไทยเชื้อสายจีน
มักเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการแสดง
ความเคารพนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีน และการแสดงออก
ถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนคนรุ่นก่อนผู้เป็นรากฐาน
สานสร้างคนรุ่นใหม่ นับเป็นเทศกาลที่ดีมีคุณค่าสาระ ถ้าทำตามเจตนารมณ์



เจตนารมณ์แห่งความกตัญญูกตเวทีของเทศกาลตรุษจีนมีส่วนสำคัญ
ในการสร้างจิตสำนึกดีของคนจีนทั้งหลายให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้มีพระคุณ
อย่างเห็นได้ชัด แม้หลายคนจะมีความเชื่อว่าต้องมีความกตัญญู
ต่อผู้ใหญ่เพื่อเสริมสร้างสิริมงคลของผู้น้อย ก็นับว่าเป็นความเชื่อที่ดีมีประโยชน์
ในการควบคุมสังคมมนุษย์ มิให้เป็นแบบเดียวกับสังคมสัตว์เดรัจฉาน
ด้วยว่าความกตัญญูกตเวทีนั้นเป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นคนดีประการสำคัญ


คลิ๊กอ่าน : ประวัติวันตรุษจีน
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=gemoparty&group=8&page=2

การหยุดพักจากการทำงานอย่างจริงจังของเทศกาลตรุษจีนนั้น
สอนสัจจะแห่งธรรมว่า “เพียรให้หนัก พักให้พอ”
กล่าวคือคนจีนโดยมากจะเป็นคนขยันและประหยัด การหยุดพักงาน
เป็นการทบทวนตนเองในรอบปีเพื่อให้เกิดปัญญาในการเริ่มต้นงานใหม่ของปีต่อไป



ถ้าทำงานโดยไม่มีช่วงเวลาหยุดเลยก็จะทำให้เครื่องร้อน
และขาดความละเอียดรอบคอบแยบคาย กลายเป็นความขยันที่นำไปสู่
ความโลภโดยไม่รู้จักหยุดยอพอพัก อีกทั้งการแจกจ่ายเจือจานเงินทองแก่ลูกหลาน
ในตระกูลของคนจีนนั้นก็เป็นการรักษานิสัยประหยัดมิให้เลยเถิดไปเป็น
ความตระหนี่ถี่เหนียว ดังที่บางคนเคยเรียกคนจีนว่าเป็น “ยิวแห่งบุรพทิศ” นั่นเทียว



ช่วงตรุษจีน เป็นช่วงเวลาแห่งการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจำนวนมหาศาล
ไม่ว่าจะเป็นเป็ด ไก่ หมู และสัตว์อื่นๆ ที่คนไหว้เจ้า
จะนำมาเป็นเครื่องเซ่นไหว้อย่างสำคัญ พิจารณาตามหลักพุทธแล้ว
ก็เห็นว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการทำบาปอย่างหนักหนาสากรรจ์
เลยทีเดียว ถ้าจะให้ดีในช่วงเทศกาลตรุษจีนควรเป็นช่วงเทศกาลตรุษเจ
คือควรให้มีการ “ไหว้เจ้า ไหว้เจ” แทนการไหว้เจ้าด้วยเนื้อสัตว์ มีพระผู้รู้รูปหนึ่ง
สอนว่า
เซียนที่กินเนื้อสัตว์เป็นเซียนชั้นต่ำ เซียนที่กินผลไม้เป็นเซียนชั้นสูง
ดังนั้นการไหว้เจ้าด้วยผลไม้จึงเป็นข้อเสนอแนะที่น่าพิจารณาเป็นยิ่งนัก



การไหว้พระ ควบคู่กับการไหว้เจ้า
แม้จะเป็นเรื่อง “อเทวนิยม ผสมผสาน เทวนิยม”
ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน แต่ถ้าทำด้วยปัญญาในเชิงพุทธได้แล้ว
เราก็จะสามารถทำให้เป็น “คนละเรื่องเดียวกัน






http://www.prajan.com/webboard/view.php?id=16845
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 10, 2013, 04:48:33 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 28, 2011, 10:37:04 pm »
 :13: อนุโมทนาสาธุครับพี่แป๋ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 04:55:27 pm »


                                                 

ประวัติตรุษจีน
ข้อมูลจากหนังสือ "ตึ่งหนั่งเกี้ย" โดย จิตรา ก่อนันทเกียรติ
นำมาแบ่งปันโดย : ธุลีดิน
http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2689.0

เทศกาลตรุษจีนมีประวัติยาวนานกว่าสี่พันปีแล้ว  เดิมทีไม่ได้เรียกว่าตรุษจีน และก็ไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนด้วย เมื่อ  2100 ปีก่อนคริสตกาล  คนในสมัยนั้นถือการโคจรรอบหนึ่งของดาวจูปีเตอร์เป็นหนึ่ง”ซุ่ย”  จึงเรียกตรุษจีนว่า”ซุ่ย” เมื่อ 1000 กว่าปีก่อนคริสต์กาล  ผู้คนเรียกตรุษจีนว่า“เหนียน”ซึ่งมีความหมายว่าการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์ตามประเพณีพื้นบ้าน  เทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12  ตามปฏิทินจันทรคติของจีนไปจนถึงวันขึ้น 15  ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน ในช่วงนี้ คืนวันที่ 30 เดือน 12  ซึ่งเป็นวันส่งท้ายปีเก่า และวันที่ 1 เดือนอ้ายหรือวันชิวอิก  จะเป็นวาระสำคัญที่สุดในช่วงเทศกาลตรุษจีนซึ่งกินเวลาทั้งหมดประมาณ 3  อาทิตย์เพื่อเตรียมต้อนรับเทศกาลตรุษจีน  ประชาชนในเมืองหรือชนบทต่างตระเตรียมกันตั้งแต่เนิ่น ๆ

 โดยเฉพาะในชนบท  พอย่างเข้าเดือนธันวาคมก็เริ่มเตรียมที่จะต้อนรับตรุษจีนแล้ว เช่น  ทำความสะอาดบ้าน ซักเสื้อผ้าและผ้าห่ม  ซึ่งถือเป็นการขับไล่สิ่งที่สกปรกออกจากบ้าน เพื่อให้บ้านมีโฉมหน้าใหม่  นอกจากนี้ ยังต้องซื้อของกินของใช้มากมาย เช่น ลูกอม ขนม หมูเห็ดเป็ดไก่  และผลไม้นานาชนิด เพื่อเตรียมไว้กินหรือต้อนรับแขกในช่วงเทศกาลตรุษจีน  ในเมืองใหญ่ การเตรียมการต่างๆก็เริ่มตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่นกัน เช่น  หน่วยงานวัฒนธรรมและคณะนาฏศิลป์จะเตรียมรายการมากมายสำหรับแสดงในช่วงตรุษจีน  สถานีโทรทัศน์ต่างๆจะเตรียมจัดงานบันเทิง  สวนสาธารณะจะเตรียมจัดงานวัดตามประเพณีฉลองตรุษจีนที่สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ

  เพื่อให้ประชาชนได้รับความสนุกสนานมากกว่าวันธรรมดา  ส่วนร้านค้าและห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ  จะจัดเตรียมสินค้าให้เพียงพอเพื่อตอบสนองการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีน  มีสถิติแสดงให้เห็นว่า เงินที่ชาวจีนใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นจะเป็น  1 ใน 3 ของเงินใช้จ่ายตลอดปีหรืออาจมากกว่าเสียด้วยซ้ำในพื้นที่ต่าง  ๆ ทั่วประเทศจีน มีประเพณีฉลองตรุษจีนที่แตกต่างกัน  แต่มีประเพณีอยู่อย่างหนึ่งไม่ว่าภาคใต้หรือภาคเหนือล้วนปฏิบัติเหมือนกัน  นั่นก็คือ การรับประทานอาหารด้วยกันทั้งครอบครัวในคืนส่งท้ายปีเก่า  ที่ภาคใต้ อาหารมื้อนี้มักจะมีกับข้าวกว่าสิบอย่าง ต้องมีเต้าหู้และปลา  เพราะว่าการออกเสียง”เต้าหู้”และ“ปลา”นั้นพ้องเสียงกับคำว่า“ฟู่อวี้”ซึ่งมีความหมายว่ามั่งคั่งร่ำรวย

ส่วนทางภาคเหนือ ในคืนส่งท้ายปีเก่า ทุกคนในครอบครัวจะช่วยกันห่อเกี๊ยว  แล้วรับประทานด้วยกันในคืนส่งท้ายปีเก่ายังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า”โส่วซุ่ย”คือ  อยู่โต้รุ่งเพื่อต้อนรับวันปีใหม่ เมื่อก่อนนี้ ก่อนปีใหม่จะมาถึง  ผู้คนจะจุดประทัดต้อนรับปีใหม่  ประเพณีการจุดประทัดในอดีตก็เพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจ  แต่เนื่องจากการจุดประทัดทำให้เกิดมลพิษและไม่ปลอดภัย ดังนั้น  ในเขตตัวเมืองของเมืองใหญ่ต่าง ๆ เช่นปักกิ่งเป็นต้นจึงห้ามจุดประทัด  พอถึงวันชิวอิก ไม่ว่าเด็กเล็กหรือผู้เฒ่าผู้แก่มักจะใส่เสื้อผ้าใหม่  เพื่อต้อนรับแขกหรือไปเยี่ยมญาติและเพื่อน ๆ เวลาพบหน้ากัน  มักจะทักทายด้วยคำว่า“สวัสดีปีใหม่”หรือ“สวัสดีตรุษจีน”แล้วจะเชิญเข้าบ้าน  กินขนมจิบน้ำชาไป คุยไปด้วย

  ถ้าระหว่างญาติพี่น้องเคยเกิดการทะเลาะกันหรือความไม่พอใจกันในรอบปีเก่า  ก็จะให้อภัยและคืนดีกันหลังจากการเยี่ยมเยือนกันในช่วงเทศกาลตรุษจีนกิจกรรมในช่วงเทศกาลตรุษจีนมีมากมายหลายอย่าง  เช่น การแสดงละครพื้นบ้าน การฉายหนัง การเชิดสิงโต การเต้นระบำพื้นบ้าน  การรำไม้ต่อขา และงานวัด ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยบรรยากาศคึกคักสนุกสนาน  แต่กิจกรรมที่ผู้คนส่วนใหญ่นิยมทำกันก็คือ การชมรายการโทรทัศน์ที่บ้าน  สถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ จะจัดรายการมากมายที่เหมาะสมกับผู้ชมแต่ละวัย

การปิดคำกลอนคู่และภาพมงคล การจุดโคมไฟ ก็เป็นประเพณีฉลองตรุษจีนที่สำคัญ ในช่วงเทศกาล ตลาดจะจำหน่ายกระดาษคำกลอนคู่และภาพมงคลสีสันหลากหลายที่เป็นรูปดอกไม้บ้าง สัตว์บ้างและตัวบุคคลบ้าง ที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตผาสุกของประชาชน  ให้ลูกค้าเลือกซื้อตามใจชอบ นอกจากนี้ งานโคมไฟก็เป็นกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีน โคมไฟที่ทำเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ เป็นศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้านของจีน บนโคมไฟจะพิมพ์หรือวาดลวดลายต่าง ๆ มีสัตว์ ทิวทัศน์ ตัวบุคคลเป็นต้น และทำเป็นรูปต่าง ๆวันตรุษจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของจีนนั้น เป็นวันที่ 1 เดือน 1 ของจีนตามวันทาง จันท-คติ ถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ของปี และเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 04:56:59 pm »



ซึ่งจีนจะแบ่งเวลา 1 ปี เป็น 4 ฤดูคือ ชุง แห่ ชิว ตัง วันตรุษจีนจะเป็นวันแรกของฤดูชุง หรือฤดูใบไม้ผลิ ตรงกับเดือนที่ 1,2,3 ของปีเป็นช่วงเวลาที่อากาศดีที่สุด คือ ไม่ร้อน ไม่หนาว และไม่มีฝน วันตรุษจีนจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า " วันชุงเจ๋" เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศเกษตรกรรมมาแต่ โบราณ เมื่อหมดหน้าหนาวที่ทำการเพาะปลูกไม่ได้ มาเข้าฤดูใบไม้ผลิที่อากาศดี จะได้เริ่มต้นทำนา ทำสวน จึงมีการบวงสรวงต่อเทพยดา เซ่นไหว้บรรพบุรุษ อธิษฐานให้ได้พืชผลอุดมสมบูรณ์ ให้กิจการงานก้าวหน้า ตรงนี้น่าจะเป็นที่มาของตำนานการไหว้เจ้าในวันตรุษจีน ที่เรียกว่า "ง่วงตั้งโจ่ย"

 การไหว้วันตรุษจีนจะต่อเนื่องกันมาจากวันไหว้สิ้นปี และมีธรรมเนียม การทำความสะอาดบ้านก่อนหน้าอีกด้วย การดูวันทางจีนจะเป็นแบบจันทรคติ บางเดือนมี 29 วัน เรียกว่าเดือนสั้น หรือบางเดือนมี 30 วัน เรียกว่าเดือนยาว ทำให้ เดือน 12 ของแต่ละปี บางครั้งก็มี 29 วัน บางปีก็มี 30 วัน แต่คนไทยจะติดเป็นความเคยชินว่า วันสิ้นปีจะเป็น วันที่ 31 แต่ของวันจีนจะไม่ใช่ ตรงนี้ต้องระวัง พอใกล้ ๆ จะถึงสิ้นปี ชาวจีนจะนิยมทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ เรียกว่า ล้างบ้านพานหยากไย่กันแทบทุกซอกมุมช่วงเทศกาล จะมีการหยุดงาน หยุดกิจการค้า เพื่อทำพิธีไหว้เจ้าที่ ต้องไหว้ 2 วันซ้อน

ซึ่งมีไหว้กลางดึกด้วยนอกจากนี้ก็จะได้ใช้เวลาในช่วงนี้ไปเยี่ยมคารวะผู้ใหญ่ญาติมิตรที่เคารพนับถือและเที่ยว พักผ่อน จึงมีสำนวน "วันจ่าย วันไหว้ วันถือ" ให้ลูกไทยแท้สงสัยว่า วันไหนคือวันไหน วันจ่าย คือ วันก่อนสิ้นปี 1 วัน ใครจะต้องซื้อหาเตรียมของอะไรแล้วยังไม่เรียบร้อย ก็ให้ทำ ให้เสร็จในวันจ่ายก่อนที่ร้านค้าจะหยุดยาว วันไหว้ คือ การไหว้ในวันสิ้นปี จะเป็นการไหว้เจ้าที่ในตอนเช้า ตามด้วยการไหว้บรรพบุรุษ ในตอนสาย แล้วไหว้ผีไม่มีญาติในตอนบ่าย ซึ่งการไหว้ผีไม่มีญาตินี้ บางบ้านก็ไม่นิยมไหว้ส่วนการไหว้วันตรุษจีน เรียกว่า การไหว้วันชิวอิด

  สำหรับผู้ที่เคร่งธรรมเนียมมาก ๆ จะไหว้ ตามฤกษ์ยามที่ต้องคอยอ่านจาก "แหล่ยิกเท้า" ว่าจะต้องไหว้ "ไช้ซิ้งเอี๊ย" หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภในเวลาอะไร และตั้งโต๊ะไหว้อย่างไร เช่นในปี 2537 ที่ผ่านมา ให้ตั้งโต๊ะไหว้ "ไช้ซิ้งเอี๊ย" ที่หน้าบ้าน ถ้าบ้านมีบริเวณก็ให้ไหว้ที่กลางแจ้ง แล้วหันโต๊ะไหว้ในทางทิศตะวันตก ทำพิธีจุดธูปไหว้ระหว่างเวลา 01.00-03.00 น. การไหว้ไช้ซิ้งเอี๊ยนี้ เพื่อขอพรท่านให้ครอบครัวของเราโชคดีตลอดปี เมื่อตื่นขึ้นมาในเช้าวันตรุษจีน จึงไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งบางบ้านนิยมไหว้อาหารเจ ส้ม และขนมอี๊ และบางบ้านที่เคร่งธรรมเนียม ผู้ใหญ่จะกินเจ 1 มื้อหรืออาจกินเจทั้งวัน การจุดเทียนก็เพื่ออวยพรให้ชีวิตรุ่งเรืองวันถือ คือ วันตรุษจีน

 โดยถือกันว่าในวันนี้ทุกคนจะพูดและทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล เช่น ไม่มีการพูดว่ากัน แต่จะกล่าวคำอวย พร"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้" แปลเป็นไทยคือ ขอให้โชคดีปีใหม่นั่นเอง การถืออื่น ๆ ที่นิยมว่าถือกัน เช่น ห้ามจับไม้กวาดกวาดบ้าน เพราะอาจเป็นการกวาดสิ่งดีๆ ในบ้านออกไปแล้วกวาดสิ่งไม่ดี เข้ามา  วันถือนี้ บางคนก็เรียกวันเที่ยว ซึ่งคงมาจากธรรมเนียมการแต๊ะเอีย ที่พอลูกหลานและลูกจ้างได้เงินแต๊ะเอีย ที่เปรียบได้กับ โบนัสพิเศษ ก็ไปเที่ยวกัน อย่างไรก็ตามในวันตรุษจีนถือเป็นธรรมเนียมที่จะต้องไปไหว้ญาติผู้ใหญ่ เรียกว่า "ไป๊เจีย"และมีการหิ้วส้มไปแลกเปลี่ยนกัน เพราะส้มนี้มีคำจีนเรียกว่า "ไต้กิก" แปลว่า โชคดี การแลกส้ม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 07, 2013, 12:17:22 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 05:20:20 pm »

จึงมีความนัยว่าเอาความโชคดีมามอบให้แก่กัน พร้อมคำอวยพร โดยนิยมกันว่า เอาส้ม 4 ผล ใส่ผ้า เช็ดหน้าผืนใหญ่มาส่งให้เจ้าบ้าน เจ้าบ้านจะรับไว้แล้วนำส้ม 2 ผล ของแขกขึ้นมาเปลี่ยนเอาส้ม 2 ผล ของที่บ้านผลัดให้แทน บางบ้านที่ใช้ขนมอี๊ไหว้เจ้า ก็อาจมีการเตรียมขนมอี๊ไว้เลี้ยงแขกด้วย อี๊ คือ ขนมบัวลอยจีน ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดจนได้ที่ ผสมสีแดง ซึ่งเป็นสีแห่งมงคล แต่ใส่นิดเดียวพอให้เป็นสีชมพูดูน่ากิน ต้มใส่น้ำเชื่อม ความกลมนุ่มที่เคี้ยวง่ายของขนม มีความหมายว่าให้โชคดี คิดทำสิ่งใดก็ให้ง่ายและราบรื่น ส่วนธรรมเนียมการแต๊ะเอียนั้น จะมีเฉพาะบ้านที่มีฐานะดี การให้นี้ คือ นายจ้างให้ลูกจ้าง กับให้กันเองในครอบครัวว่าพ่อแม่ให้ลูกหลาน แต่ถ้าลูกได้ทำงานแล้ว หรือออกเรือนแล้ว ก็จะเป็นฝ่ายให้พ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่ที่ฐานะดี ก็มักจะแต๊ะเอีย กลับคืนมาในจำนวนที่เท่ากัน หรือเพิ่มให้มากขึ้น ได้แต่จะให้เป็นเงินของพ่อแม่เอง

 ไม่ใช่เอาเงินที่ลูกให้มานั้นให้กลับคืนมา
ส่วนเขย สะใภ้ ตามธรรมเนียมก็ควรให้น้องสามีและน้องภรรยา ส่วนคน ที่มีศักดิ์เป็นลุง ป้า น้า อา ก็ควรมีแต๊ะเอียให้หลาน ๆ เช่นกัน ธรรมเนียมการแต๊ะเอียนี้ ผู้ใหญ่ที่พิถีพิถันจะเอาเงินใส่ซองแดงอย่างมีเคล็ด คือให้เป็น เลขที่ดีที่สุด เรียกว่า "ซี่ลี่" เพราะถือว่าเป็นเลขสิริมงคล ซี่ กับ สี่ คือเลข 4 ซี่สี่ ก็คือ คู่สี่ นั่นเอง  ตัวอย่างการให้แต๊ะเอียเป็นเลข "ซี่สี่" คือ 400 จะเป็นตัวเลข 4 กับแบงก์ร้อย 4 ใบ หรือจะให้เป็น 2 เท่า 3 เท่าของซี่สี่ เช่น 800 , 1200 ก็ได้ อีกเกร็ดหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับเทศกาลตรุษจีน คือ การเล่นไพ่ โดยเฉพาะการเล่นยี่อิด จะนิยมกันมากผู้ใหญ่หลายท่านถือเอาการเล่นไพ่ ในวันตรุษเป็นเรื่องเสี่ยงทาย

ถ้าเล่นได้ก็ถือเป็นเคล็ดว่าตลอดปีใหม่นี้จะเฮงหรือโชคดี และที่พลาดไม่ได้ คือ การติดยันต์แผ่นใหม่ที่หน้าประตูบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลและคุ้มครองภัยวันตรุษจีน  เป็นวันขึ้นปีใหม่ของจีนนั้น เป็นวันที่ 1 เดือน 1 ของจีนตามวันทาง  จันท-คติ ถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ของปี และเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ  ซึ่งจีนจะแบ่งเวลา 1 ปี เป็น 4 ฤดูคือ ชุง แห่ ชิว ตัง
วันตรุษจีนจะเป็นวันแรกของฤดูชุง  หรือฤดูใบไม้ผลิ ตรงกับเดือนที่ 1,2,3 ของปีเป็นช่วงเวลาที่อากาศดีที่สุด  คือ ไม่ร้อน ไม่หนาว และไม่มีฝน  วันตรุษจีนจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า"วันชุงเจ๋"เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศเกษตรกรรมมาแต่  โบราณ เมื่อหมดหน้าหนาวที่ทำการเพาะปลูกไม่ได้  มาเข้าฤดูใบไม้ผลิที่อากาศดี จะได้เริ่มต้นทำนา  ทำสวนจึงมีการบวงสรวงต่อเทพยดา เซ่นไหว้บรรพบุรุษ  อธิษฐานให้ได้พืชผลอุดมสมบูรณ์ ให้กิจการงานก้าวหน้า

 ตรงนี้น่าจะเป็นที่มาของตำนานการไหว้เจ้าในวันตรุษจีน  ที่เรียกว่า"ง่วงตั้งโจ่ย"การไหว้วันตรุษจีนจะต่อเนื่องกันมาจากวันไหว้สิ้นปี  และมีธรรมเนียม  การทำความสะอาดบ้านก่อนหน้าอีกด้วยการดูวันทางจีนจะเป็นแบบจันทรคติ  บางเดือนมี 29 วัน เรียกว่าเดือนสั้น หรือบางเดือนมี 30 วัน  เรียกว่าเดือนยาว ทำให้ เดือน 12 ของแต่ละปี บางครั้งก็มี 29 วัน  บางปีก็มี 30 วันแต่คนไทยจะติดเป็นความเคยชินว่า วันสิ้นปีจะเป็น วันที่  31 แต่ของวันจีนจะไม่ใช่ ตรงนี้ต้องระวัง พอใกล้ ๆ จะถึงสิ้นปี  ชาวจีนจะนิยมทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ เรียกว่า  ล้างบ้านพานหยากไย่กันแทบทุกซอกมุม ช่วงเทศกาล จะมีการหยุดงาน  หยุดกิจการค้า เพื่อทำพิธีไหว้เจ้าที่ ต้องไหว้ 2 วันซ้อน 

ซึ่งมีไหว้กลางดึกด้วยนอกจากนี้ก็จะได้ใช้เวลาในช่วงนี้ไปเยี่ยมคารวะผู้ใหญ่ญาติมิตรที่เคารพนับถือและเที่ยว  พักผ่อน จึงมีสำนวน "วันจ่าย วันไหว้ วันถือ" ให้ลูกไทยแท้สงสัยว่า  วันไหนคือวันไหน วันจ่าย คือ วันก่อนสิ้นปี 1 วัน  ใครจะต้องซื้อหาเตรียมของอะไรแล้วยังไม่เรียบร้อย ก็ให้ทำ  ให้เสร็จในวันจ่ายก่อนที่ร้านค้าจะหยุดยาววันไหว้ คือ การไหว้ในวันสิ้นปี  จะเป็นการไหว้เจ้าที่ในตอนเช้า ตามด้วยการไหว้บรรพบุรุษ ในตอนสาย  แล้วไหว้ผีไม่มีญาติในตอนบ่าย



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


2012 The Year of the Dragon 2012 The Year of the Dragon

ซึ่งการไหว้ผีไม่มีญาตินี้  บางบ้านก็ไม่นิยมไหว้ส่วนการไหว้วันตรุษจีน เรียกว่า การไหว้วันชิวอิด  สำหรับผู้ที่เคร่งธรรมเนียมมาก ๆ จะไหว้ ตามฤกษ์ยามที่ต้องคอยอ่านจาก  "แหล่ยิกเท้า" ว่าจะต้องไหว้ "ไช้ซิ้งเอี๊ย"  หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภในเวลาอะไร และตั้งโต๊ะไหว้อย่างไร เช่นในปี 2537  ที่ผ่านมา ให้ตั้งโต๊ะไหว้ "ไช้ซิ้งเอี๊ย" ที่หน้าบ้าน  ถ้าบ้านมีบริเวณก็ให้ไหว้ที่กลางแจ้ง แล้วหันโต๊ะไหว้ในทางทิศตะวันตก  ทำพิธีจุดธูปไหว้ระหว่างเวลา 01.00-03.00 น.การไหว้ไช้ซิ้งเอี๊ยนี้  เพื่อขอพรท่านให้ครอบครัวของเราโชคดีตลอดปี  เมื่อตื่นขึ้นมาในเช้าวันตรุษจีน จึงไหว้บรรพบุรุษ  ซึ่งบางบ้านนิยมไหว้อาหารเจ ส้ม และขนมอี๊ และบางบ้านที่เคร่งธรรมเนียม  ผู้ใหญ่จะกินเจ 1 มื้อหรืออาจกินเจทั้งวัน

การจุดเทียนก็เพื่ออวยพรให้ชีวิตรุ่งเรือง
วันถือ  คือ วันตรุษจีน โดยถือกันว่าในวันนี้ทุกคนจะพูดและทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล  เช่น ไม่มีการพูดว่ากัน แต่จะกล่าวคำอวย พร"ซินเจียยู่อี่  ซินนี้ฮวดใช้"แปลเป็นไทยคือ ขอให้โชคดีปีใหม่นั่นเอง การถืออื่น ๆ  ที่นิยมว่าถือกัน เช่น ห้ามจับไม้กวาดกวาดบ้าน เพราะอาจเป็นการกวาดสิ่งดีๆ  ในบ้านออกไปแล้วกวาดสิ่งไม่ดี เข้ามา วันถือนี้ บางคนก็เรียกวันเที่ยว  ซึ่งคงมาจากธรรมเนียมการแต๊ะเอีย ที่พอลูกหลานและลูกจ้างได้เงินแต๊ะเอีย  ที่เปรียบได้กับ โบนัสพิเศษ  ก็ไปเที่ยวกันอย่างไรก็ตามในวันตรุษจีนถือเป็นธรรมเนียมที่จะต้องไปไหว้ญาติผู้ใหญ่  เรียกว่า "ไป๊เจีย"

และมีการหิ้วส้มไปแลกเปลี่ยนกัน  เพราะส้มนี้มีคำจีนเรียกว่า "ไต้กิก"แปลว่า โชคดี การแลกส้ม  จึงมีความนัยว่าเอาความโชคดีมามอบให้แก่กัน พร้อมคำอวยพร โดยนิยมกันว่า  เอาส้ม 4 ผล ใส่ผ้า เช็ดหน้าผืนใหญ่มาส่งให้เจ้าบ้าน  เจ้าบ้านจะรับไว้แล้วนำส้ม 2 ผล ของแขกขึ้นมาเปลี่ยนเอาส้ม2 ผล  ของที่บ้านผลัดให้แทน บางบ้านที่ใช้ขนมอี๊ไหว้เจ้า  ก็อาจมีการเตรียมขนมอี๊ไว้เลี้ยงแขกด้วยอี๊ คือ ขนมบัวลอยจีน  ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดจนได้ที่ ผสมสีแดง ซึ่งเป็นสีแห่งมงคล  แต่ใส่นิดเดียวพอให้เป็นสีชมพูดูน่ากิน ต้มใส่น้ำเชื่อม  ความกลมนุ่มที่เคี้ยวง่ายของขนม มีความหมายว่าให้โชคดี  คิดทำสิ่งใดก็ให้ง่ายและราบรื่น

ส่วนธรรมเนียมการแต๊ะเอียนั้น  จะมีเฉพาะบ้านที่มีฐานะดี การให้นี้ คือ นายจ้างให้ลูกจ้าง  กับให้กันเองในครอบครัวว่าพ่อแม่ให้ลูกหลาน แต่ถ้าลูกได้ทำงานแล้ว  หรือออกเรือนแล้ว ก็จะเป็นฝ่ายให้พ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่ที่ฐานะดี  ก็มักจะแต๊ะเอีย กลับคืนมาในจำนวนที่เท่ากัน หรือเพิ่มให้มากขึ้น  ได้แต่จะให้เป็นเงินของพ่อแม่เอง  ไม่ใช่เอาเงินที่ลูกให้มานั้นให้กลับคืนมา ส่วนเขย สะใภ้  ตามธรรมเนียมก็ควรให้น้องสามีและน้องภรรยา ส่วนคน ที่มีศักดิ์เป็นลุง ป้า  น้า อา ก็ควรมีแต๊ะเอียให้หลาน ๆ เช่นกัน ธรรมเนียมการแต๊ะเอียนี้  ผู้ใหญ่ที่พิถีพิถันจะเอาเงินใส่ซองแดงอย่างมีเคล็ด คือให้เป็น  เลขที่ดีที่สุด เรียกว่า "ซี่ลี่" เพราะถือว่าเป็นเลขสิริมงคล ซี่ กับ สี่  คือเลข 4 ซี่สี่ ก็คือ คู่สี่ นั่นเอง

ตัวอย่างการให้แต๊ะเอียเป็นเลข  "ซี่สี่" คือ 400 จะเป็นตัวเลข 4 กับแบงก์ร้อย 4 ใบ หรือจะให้เป็น 2 เท่า  3 เท่าของซี่สี่ เช่น 800 , 1200 ก็ได้  อีกเกร็ดหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับเทศกาลตรุษจีน คือ การเล่นไพ่  โดยเฉพาะการเล่นยี่อิด จะนิยมกันมากผู้ใหญ่หลายท่านถือเอาการเล่นไพ่  ในวันตรุษเป็นเรื่องเสี่ยงทาย  ถ้าเล่นได้ก็ถือเป็นเคล็ดว่าตลอดปีใหม่นี้จะเฮงหรือโชคดี และที่พลาดไม่ได้  คือ การติดยันต์แผ่นใหม่ที่หน้าประตูบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลและคุ้มครองภัย 


ข้อมูลจากหนังสือ "ตึ่งหนั่งเกี้ย" โดย จิตรา ก่อนันทเกียรติ
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 02, 2012, 11:54:38 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า เทศกาลตรุษจีน :อั่งเปา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2013, 03:10:51 pm »



อั่งเปา
      โดยคำว่า "อั่งเปา" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หมายถึง ซองสีแดง คำว่า อั่ง แปลว่า แดง ส่วนเปา แปลว่า ซอง หรือ กระเป๋า (ภาษาจีนกลางจะเรียกซองแดงว่า "หงเปา") ซึ่งสีแดงถือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นมงคล ความมีชีวิตชีวา และความโชคดีของชาวจีนอยู่แล้ว ดังนั้น ชาวจีนมักจะใส่เงิน หรือธนบัตรลงในซองแดง เพื่อนำมามอบให้คนรู้จัก หรืออาจจะแลกเปลี่ยนกันเองในหมู่ญาติพี่น้องก็ได้ โดยปกติแล้ว ชาวจีนจะนิยมมอบ "อั่งเปา" ให้ในวันตรุษจีน วันแต่งงาน หรือในโอกาสเปิดกิจการใหม่ เพื่อเป็นการอวยพร

      มาดู "แต๊ะเอีย" กันบ้าง เป็นภาษาจีนแต้จิ๋วเช่นกัน โดย "แต๊ะ" แปลว่า ทับ หรือ กด ส่วน "เอีย" แปลว่า เอว เมื่อรวมกัน "แต๊ะเอีย" ก็หมายถึง "ของที่มากดหรือทับเอว" หรือ "ผูกไว้ที่เอว" คำนี้มีที่มาจากคนจีนสมัยก่อนจะใช้เงินเหรียญที่มีรูอยู่ตรงกลาง หากจะพกไปไหนก็ต้องร้อยเหรียญเป็นพวงมาผูกไว้ที่เอว และในเทศกาลตรุษจีน ผู้ให้ก็จะนำเชือกสีแดงมาร้อยเหรียญไว้ แล้วมอบให้ผู้รับ ทีนี้ผู้รับก็จะนำพวงเหรียญนี้มาผูกไว้ที่เอว เรียกว่า "แต๊ะเอีย" นั่นเอง ส่วนในปัจจุบันไม่มีการใช้เงินเหรียญที่มีรูตรงกลางแล้ว "แต๊ะเอีย" จึงมีความหมายถึง "สิ่งของ" หรือ "เงิน" ที่ใส่ไว้ในซองสีแดง (ส่วนตัวซองจะเรียกว่า "อั่งเปา")


อั่งเปา
      เข้าใจเรื่อง "แต๊ะเอีย" กับ "อั่งเปา" แล้วใช่มั้ยคะ แล้วรู้ไหมว่า จริง ๆ แล้ว "แต๊ะเอีย" ก็มีวันหมดอายุนะ เพราะเมื่อเด็ก ๆ เติบโตขึ้น มีงานทำ มีเงินเดือนเป็นของตัวเองแล้ว ทีนี้จะไม่ได้รับ "แต๊ะเอีย" แล้วล่ะค่ะ แต่จะต้องเป็นคนให้เงิน "แต๊ะเอีย" กับเด็ก ๆ ในบ้านที่มีอายุน้อยกว่าต่อไป

      นอกจากนั้นแล้ว ไม่ใช่เฉพาะผู้ใหญ่ หรือเจ้านายที่จะให้ "แต๊ะเอีย" หรือ "อั่งเปา" กับเด็ก ๆ หรือลูกน้องได้เท่านั้น แต่ผู้น้อยก็ยังสามารถมอบอั่งเปาให้ผู้อาวุโสกว่าได้เช่นกัน โดยการมอบอั่งเปาให้ผู้อาวุโสกว่า หมายถึง การอวยพรให้ผู้ใหญ่มีสุขภาพดี แข็งแรง อายุยืนยาว

        ส่วนการมอบอั่งเปาให้เด็ก ๆ หมายถึง การอวยพรให้เด็ก ๆ โชคดี มีโชคลาภ เจริญเติบโตแข็งแรง หรือหากผู้ใหญ่มอบอั่งเปาให้ลูกหลานที่ทำงานแล้ว ก็เป็นการอวยพรให้หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า มีสุขภาพแข็งแรง และหากลูก ๆ ที่ทำงานแล้ว หรือแต่งงานไปแล้วมอบอั่งเปาให้พ่อแม่ ก็เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที อวยพรให้พ่อแม่มีอายุยืนยาว ซึ่งการที่ลูก ๆ ให้อั่งเปาพ่อแม่ และพ่อแม่ก็ให้อั่งเปาลูก ๆ ด้วย จะต้องเป็นเงินของใครของมันเท่านั้น หากลูกให้พ่อแม่แล้ว พ่อแม่นำกลับมาให้ลูกต่ออีกที แบบนี้ไม่ได้ค่ะ



อั่งเปา
      ทีนี้ หลายบ้านอาจจะสงสัยกันว่า ควรจะให้อั่งเปาเป็นเงินเท่าไหร่ดีนะ ถึงจะเป็นสิริมงคล ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ให้อั่งเปามักจะนิยมใส่จำนวนเงินเป็นเลขคู่ค่ะ เพราะคนจีนถือว่าเลขคู่เป็นเลขมงคล อีกทั้งหมายถึงทวีคูณ โชคสองต่อ โชคสองชั้น แต่จะให้จำนวนเงินเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับรายได้ด้วยเหมือนกันนะ ถ้ารายได้ไม่มาก หรือให้เด็กเล็ก ๆ ก็อาจใส่ซองสัก 200 400 800 ถ้ารายได้มาก ให้ผู้ใหญ่ ก็อาจใส่จำนวนมากขึ้นตามแต่กำลังค่ะ

        แต่ถ้าพูดถึงจำนวนที่คนจีนนิยมให้ "แต๊ะเอีย" เลข 8 ดูน่าจะเป็นจำนวนยอดนิยมที่สุด เพราะในภาษาจีนเลข 8 อ่านออกเสียงคล้ายกับคำที่มีความหมายว่า ความร่ำรวย ความรุ่งโรจน์ ความรุ่งเรือง หรืออาจจะให้เป็นจำนวนเลข 2 ซึ่งหมายถึงคู่ก็ได้ ขณะที่บางบ้านก็เลือกให้จำนวนเลข 4 ซึ่งเรียกว่า "ซี่สี่" หมายถึง คู่สี่ เพราะถือเป็นสิริมงคล อย่างเช่นให้แต๊ะเอีย 400 ก็จะให้เป็นธนบัตร 100 บาท จำนวน 4 ใบ หรือจะให้เป็นสองเท่า หรือสามเท่าของ "ซี่สี่" ก็ได้ เช่น ให้ 800 หรือ 1,200 บาท ก็เป็นสิริมงคลเหมือนกันค่ะ

        อย่างไรก็ตาม สำหรับบางคนจะเหลือเงินแต๊ะเอียที่ได้รับมาบางส่วนเก็บไว้ในซอง เพราะถือว่า เงินแต๊ะเอียคือความเป็นสิริมงคล และเป็นเงินขวัญถุง เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในวันปีใหม่นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล - เวบกระปุก
noway2know *http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=7865.0