แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น
“ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
ฐิตา:
“ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
คำอนุญาต
หนังสือธรรมะ “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
ถูกพิมพ์ขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์ เผยแพร่ธรรมะ เพื่อให้ธรรมเป็นทาน
หากผู้ใดมีเจตนา จะเอาธรรมะในหนังสือเล่มนี้ไปพิมพ์ต่อ เพื่อมีเจตนาจะเผยแพร่ธรรม
และพิมพิ์แจกฟรี ผู้เขียนอนุญาตในทุกกรณี
แต่ห้ามดัดแปลง แก้ไข เพิ่มเติม เนื้อหาธรรมะ ในทุกส่วนของหนังสือเล่มนี้
ขออนุโมทนาบุญ สำหรับผู้ที่สนใจ จะนำ หนังสือธรรมะ
“ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
ไปพิมพ์แจกจ่ายฟรี เพื่อให้ธรรมเป็นทาน สมดังเจตนาของผู้เขียน
ผู้เขียน พระราเชนทร์ อานนฺโท
คำนำ
ธรรมะในหนังสือ “ใจต่อใจในการฝึกตน” นี้... เป็นเนื้อหาธรรมที่ตรงตามแบบแผนแห่งคำสอนนิกายเซนในประเทศจีนและญี่ปุ่น ซึ่งทางครูสอนเซนทั้งหลายในรุ่นก่อนๆได้สืบทอดคำสอนเหล่านี้มาโดยตรงจากองค์พระศาสดา เพื่อนำไปชี้ทางหลุดพ้นให้แก่บรรดาลูกศิษย์ของตนเองมาหลายต่อหลายรุ่นแล้ว เป็นการสอนโดยมุ่งเน้นที่จะคุ้ยเขี่ยธรรมะให้ลูกศิษย์ได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งคือ ตถตา ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันเป็นธรรมชาติแห่งธรรมที่อยู่นอกเหนือภาวะความหลุดพ้นและความไม่หลุดพ้น ธรรมะในหนังสือเล่มนี้จึงถูกเขียนขึ้นตามแบบแผนแห่งคำสอนเซนอย่าง-แท้จริง โดยแบ่งเป็น 2 ภาคใหญ่ คือ ภาค 1 สังขตธาตุ และ ภาค 2 อสังขตธาตุ
ในส่วนของ ภาค 1 สังขตธาตุนั้น บรรดาครูสอนเซนทั้งหลายได้หยิบยกเรื่องธรรม คือ สังขตธาตุ อันคือคุณลักษณะแห่งการที่ยังเข้าใจผิดโดยยังเห็นว่า มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้ไม่นาน ย่อมมีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดานั้น มาสอนลูกศิษย์ของตนเพื่อชี้ให้เห็นว่า ธรรมอันคือคุณลักษณะแห่งสังขตธาตุนั้นยังไม่ใช่ธรรมะอันแท้จริง ซึ่งคือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ หากใครได้หลงผิดหยิบยกธรรมเหล่านี้ขึ้นมาพิจารณาและปฏิบัติก็จะมีแต่ทำให้เข้าไปติดในการปรุงแต่งในวิธีปฏิบัติและติดปรุงแต่งในการหวังผลแห่งการปฏิบัติอยู่เนืองๆ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ผู้เขียนจึงได้เขียนธรรมะในส่วนของสังขตธาตุขึ้น เพื่อให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นทุกท่านได้อ่านและพิจารณาในรายละเอียดแห่งสังขตธรรมนั้นอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้สลัดออกซึ่งธรรมเหล่านี้ทิ้งไปเสีย
ผู้เขียนจึงขอเตือนนักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายว่า หากได้หยิบหนังสือใจต่อใจในการฝึกตนขึ้นมาอ่านเพื่อศึกษาธรรมะในหนังสือเล่มนี้แล้ว ก็ขอให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายพึงเฝ้าระวังเตือนตนเองให้มากๆว่า การอ่านเพื่อศึกษาธรรมอันคือ สังขตธาตุ ในภาค 1 นั้น เป็นการอ่านเพียงเพื่อทำความเข้าใจว่าธรรมในลักษณะนี้ยังไม่ใช่ธรรมอันแท้จริงที่จะทำให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ จึงเป็นเพียงการอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อที่จะได้สลัดออกซึ่งธรรมเหล่านี้อันว่าด้วย การปฏิบัติและการรอคอยผลแห่งการปฏิบัติทิ้งไปสีย มิใช่เป็นการอ่าน.. เพื่อน้อมนำมาปฏิบัติแต่อย่างใด
ในส่วนของภาค 2 อสังขตธาตุนั้น บรรดาครูสอนเซนทั้งหลาย ได้หยิบยกเรื่องธรรมคือ อสังขตธาตุ อันคือคุณลักษณะแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ซึ่งคือ ตถตา ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มาสอนลูกศิษย์ของตนเพื่อชี้ให้เห็นว่า ธรรมอันคือคุณลักษณะแห่งอสังขตธาตุนั้น เป็นธรรมะอันแท้จริง คือ ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งเป็นธรรมะที่จะต้องใช้ความตั้งใจเข้าไปเพื่อศึกษาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมนั้นได้ ผู้เขียนจึงได้พยายามเขียนธรรมะในส่วนของอสังตธาตุขึ้นให้ครบทุกประเด็นเท่าที่ผู้เขียนจะรำลึกได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่ตั้งใจศึกษา
และท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนก็มีความมุ่งหวังอย่างมากที่ต้องการให้นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลาย ได้ตระหนักชัดถึงความหมายที่แท้จริงในเนื้อหาแห่งธรรมอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ และสามารถซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้นได้ ทั้งนี้ เป็นความมุ่งหวังเพื่อให้นักศึกษาทุกคน มีชีวิตที่เต็มอิ่มและเพียงพอใจ เปี่ยมไปด้วยสันติภาพตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
23 พฤษภาคม 2555
ครูสอนเซน
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
"คนของเรา"
ย่อมขึ้นฝั่งพระนิพพานทุกดวงจิต
ภายใต้ความโอบอุ้มปีกพุทธะ
แห่ง "ธรรมชาติดั้งเดิมแท้"
ที่เราจักหยิบยื่นให้ตามวาระและโอกาส
ด้วยมิตรไมตรีที่เคยมีให้กันเสมอมา
ครูสอนเซน
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
อ่านเนื้อหาหนังสือธรรมะ.. "ใจต่อใจในการฝึกตน" นิกายเซน...ธรรมะสำหรับผู้เริ่มต้น
-http://board.palungjit.com/f14/ใจต่อใจในการฝึกตน-นิกายเซน-ธรรมะสำหรับผู้เริ่มต้น-355568.html
คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
: http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398
ฐิตา:
เธอชอบเข้าไปดูในสิ่งที่มัน ไม่มี
เธอชอบเข้าไปดู "จิต"
เมื่อเข้าใจผิดว่ามันมี.. เธอก็ต้อง ตามรู้ความมี
ที่เธอเข้าใจผิด
ว่ามันดับไปเป็นธรรมดา
ตามหลักเกณฑ์อะไรของเธอ
และก็มานั่งภูมิใจว่านี่คือ.. ตัวรู้ นี่คือ.. สัมมาสติ
อะไรทำนองนี้...
ทั้งๆที่ความจริง.. มันไม่เคยมี มันจึงไม่เกิดไม่ดับ..
มัน ไร้ วิถีเกิดดับ
มันจึงเป็นการที่เธอ หลอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า.. มี
และต้องเหนื่อยกับ มัน..
ในการเข้าไป ตามรู้ตามดู มัน ที่เกิดๆดับๆ
มันเหนื่อยเปล่า.. ที่ชีวิตนี้ทิ้งไปกับ การปฏิบัติ แบบนี้
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
ฐิตา:
มนุษย์แต่ละคน
มีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยม
สำหรับการดำรงชีวิต
ที่เป็นอิสระและสมบูรณ์
..
..
เซน แห่ง " อาคิระ หัวใจที่โลกไม่เคยรู้ "
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
**************
ในหัวใจของเด็กๆ ทุกคน
มีเมล็ดพันธุ์ของความรัก
และความปรารถนาอันบริสุทธิ์
********
ธรรมชาติดั้งเดิมแท้
มันไม่ถูกนับรวมอยู่
ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่
และไม่มีการตั้งอยู่
****************
ก็เพราะว่าพุทธะในวิถีแห่งการปฏิบัติของพวกเธอ
บนหนทางบริสุทธิ์ที่พวกเธอกำลังจ้ำเดินอยู่นั้น
มันเป็นพุทธะที่กลายเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาทุกๆขณะ
ที่เธอกำลังทำความเพียรและมุ่งหวังให้พุทธะชนิดนี้
ในมโนภาพที่อยู่ในหัวพวกเธอมันเกิดขึ้น
มันจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เธอตั้งใจภาวนา
และมันจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เธอมุ่งหวังผลแห่งการภาวนา
มันเป็นเพียงจิตที่แสวงหาจิต
****************
ฐิตา:
โดยธรรมชาติที่แท้จริง อันคือความดั้งเดิม
มันคือความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนของมันอยู่อย่างนั้น
มันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่า
ที่มันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ ภาวะทุกข์
ภาวะเหตุแห่งทุกข์ ภาวะความดับไปแห่งทุกข์
ภาวะธรรม อันคือหนทางอันออกจากทุกข์
อันคือธรรมแห่ง สัมมาทิฏฐิ ทั้งหลายทั้งปวง
****************
เซน คือ
วิถีแห่งสัจธรรม ความเป็นจริง
ตามธรรมชาติ
เซนจึงมิใช่การเรียนรู้ เผื่อฝึกฝน
ให้ภาวะมันเกิด
**************
การที่พวกเธอจะดิ้นรน
พยายามทำให้มันปรากฎขึ้น
มันจึงเป็นการเข้าใจผิด
ต่อสภาพธรรมชาติแห่ง พุทธะ ของพวกเธอเอง
***************
เมื่อทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นหนึ่งเดียวอันคือ..
ธรรมชาติแห่งพุทธะ
จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะก่อให้ เกิด ใครสักคน
แล้วบังอาจกระทำตัวแปลกแยก
ออกมาจาก ความกลมกลืนแห่งธรรมชาตินั้น
แล้วมายืนตะโกนร้องบอกว่านี่คือ “ฉัน”
และนี่ก็คือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ที่มันปรากฎขึ้น
ซึ่ง “ฉัน” ได้ค้นพบมัน
ด้วยการแสวงหาอย่างเหน็ดเหนื่อย
ซึ่งเกิดจากการ ปฏิบัติธรรม ด้วยน้ำพักน้ำแรงของฉันเอง
****************
ฐิตา:
ในฐานะของความเป็นมนุษย์นั่นเองแหละ
ก็คือความเป็นหน้าตาของธรรมชาติแห่งพุทธะ
ที่ปรากฎอยู่ในความเป็นสิ่งเดียวแบบกลมกลืนของทุกสรรพสิ่ง
มันจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าคนเราย่อมมีหนทาง
ไปสู่สัจธรรมได้เลยแม้แต่เพียงนิดเดียว
เพราะ “ความมีหนทางไปสู่” นั้น
เท่ากับว่าคนเราเอง
ย่อมยังมีระยะห่างจากธรรมชาติที่แท้จริงอยู่
****************
หมายถึงสภาพความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น
เป็นธรรมชาติที่มีความเป็นอิสระแบบเด็ดขาดโดยตัวมันเอง
มันจึงมิใช่ภาวะธรรมที่ซึ่งเกิดจาก
การเข้าไปจัดแจงภาวะธรรมใดภาวะธรรมหนึ่ง
แล้วการเข้าไปจัดแจงนั้นมันเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้ธรรมชาตินี้ปรากฎขึ้น
**********************
ในความเป็นจริงของธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น
มันคือความว่างเปล่าอันไร้ตัวตนมาแต่แรกเริ่มเดิมที
อันคือความดั้งเดิมแท้ของมัน
เพราะฉะนั้นเมื่อมันเป็นโดยสภาพมันเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว
มันจึงมิได้เกิดขึ้นจากฝีมือในการภาวนาปฏิบัติของใคร
มันจึงมิได้เกิดขึ้นจากการที่ได้ทำลายอะไรลงไป
มันจึงมิได้เกิดขึ้นเพราะใครไปสลายอัตตาอะไรให้หมดไป
แล้วอนัตตาคือความไม่มีตัวตนเช่นมันจึงจะปรากฎขึ้นมา
*********************
เมื่อพวกเธอเข้าใจซึมทราบด้วยใจของพวกเธอเอง
ถึงความที่มันเป็นอิสระโดยคุณลักษณะของมันเอง
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้ใครมาลุถึง
เธอก็เป็นอิสระไปแล้วทันที
************************
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version