ผู้เขียน หัวข้อ: นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน โดยครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท  (อ่าน 8256 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
เซน
ให้ละทิ้ง..แม้กระทั้ง
การซึมซาบและการกลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน
แบบกลมกลืนกับ...เซน
..
..
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



พระพุทธองค์ คือ ต้นกำเนิด “เซน”

          แก่นแท้คำสอนของ เซน ( The core of Zen )   ในญี่ปุ่นที่เรียกว่า   เซนสายรินไซ หรือ รินไซเซนนั้น       ได้สืบทอดคำสอนบรรลุแบบฉับพลันมาจากประเทศจีนซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่ท่านโพธิธรรม    (ตั๊กม๊อ ซือโจ๊ว)และสังฆปรินายกองค์ที่ 6 หรือ  ครูเว่ยหล่าง   และรุ่นหลังต่อมาคือ ครูบาฮวงโป      เป็นคำสอนที่เน้นให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นได้เข้ามาศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อที่จะได้ตระหนักชัดในเนื้อหาที่เป็นความดั้งเดิมแท้แห่งธรรมอันคือธรรมชาติที่มันว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้นโดยตัวมันเองอยู่แล้ว       ซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งความหลุดพ้นหรือพระนิพพานนั่นเอง    โดยคำสอนแห่งเซนมุ่งเน้นสอนให้รู้จักทำความเข้าใจในธรรมธาตุที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฎกซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท   คือ      ธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง(สังขตธาตุ)   และ        ธรรมธาตุแห่งธรรมชาติอันไม่ปรุงแต่งแห่งธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว(อสังขตธาตุ)
          ก็ในส่วนของธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง  (สังขตธาตุ)     นั้น  ทางคำสอนแห่งเซนปฏิเสธที่จะให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นเข้าไปศึกษาและปฏิบัติตามเนื้อหาแห่งสังขตธาตุอันว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นดับไปและรวมทั้งลักษณะแห่งความดับไปเป็นธรรมดาก็ตาม        คำสอนแห่งเซนเน้นให้เข้าไปทำความเข้าใจในเนื้อหาแห่งอสังขตธาตุคือธาตุอันว่างเปล่าอยู่แล้วโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้นอันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งเป็นเนื้อหาแห่งความหลุดพ้น โดยคำสอนเซนมองว่ามันเป็นการเสียเวลาเปล่าที่จะเข้าไปปฏิบัติ เพราะการดำเนินไปในการปฏิบัติแบบระลึกรู้ตามธรรมชาติในสิ่งที่มันเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดานั้น    สิ่งที่มันปรุงแต่งให้ “เกิดขึ้น” นั้น    โดยตัวมันเองก็คือสภาพแห่งสังขตธาตุคือสภาพแห่งการปรุงแต่งอยู่แล้ว      แต่ในส่วนของธรรมอันคือวิธีการเรียนรู้และทำความเข้าใจที่จะไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นนั้น ไม่ว่าจะเป็น อริยสัจจ์ทั้ง 4 มรรคมีองค์ 8 สติปัฏฐานทั้ง 4 โพชฌงค์ทั้ง 7  ธรรมเหล่านี้ถึงแม้จะช่วยให้เราเข้าใจและตระหนักชัดถึงการแก้ไขปัญหาสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นและระลึกรู้ตามธรรมชาติแล้วก็ตาม    แต่ธรรมเหล่านี้โดยสภาพมันเองก็คือการปรุงแต่งหรือสังขตธาตุชนิดหนึ่งเช่นกัน        เป็นการปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรม เป็นการปรุงแต่งไปในเนื้อหาธรรมนั้นๆ สรุปแล้วธรรมที่คือการแสดงลักษณะเนื้อหาแห่งปัญหา   และธรรมที่คือการแสดงลักษณะเนื้อหาแห่งวิธีการเข้าไปแก้ไขปัญหา  ต่างก็เป็นสังขตธรรมคือธรรมอันปรุงแต่งทั้งสองลักษณะ  เพราะฉะนั้นในคำสอนแห่งเซนจึงมองว่าการปฏิบัติแบบระลึกรู้ตามธรรมชาติว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดานั้น มันเป็นเพียงการบรรเทาพฤติกรรมการเข้าไปปรุงแต่งซึ่งมันคือความคลายจากการกำหนัดที่ชอบเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเพียงเท่านั้น    และด้วยธรรมอันคือวิธีการเข้าไปแก้ไขปัญหาซึ่งคือการปฏิบัตินั้นก็โดยสภาพมันเองมันก็เป็นการปรุงแต่งเป็นอัตตาตัวหนึ่งที่ “เกิดขึ้น” เช่นกัน   มันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ความเป็นอัตตาการปรุงแต่งชนิดที่เรียกว่า “การปฏิบัติ”     ไปตามหาธรรมชาติแห่งการไม่ปรุงแต่งล้วนๆ     จะใช้สิ่งที่มันเป็นการปรุงแต่งด้วยชนิดหนึ่ง(การปฏิบัติ)ไปตามหาการไม่ปรุงแต่งอันคือความว่างเปล่าล้วนๆ มันจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ด้วยประการฉะนี้
        คำสอนเซนจึงมองว่าถึงจะปฏิบัติไปในลักษณะเช่นนี้ก็ยัง “ไม่เกลี้ยงเกลา”อยู่ดี  เพราะยังติดปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิตในเรื่องการปฏิบัติ    ว่าจะต้องปฏิบัติแบบนี้เพื่อให้ได้ผลแห่งการปฏิบัติแบบนั้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาในเรื่องการปฏิบัติมันก็คือการปรุงแต่งทั้งสิ้น มันจึงไม่เกลี้ยงเกลาเพราะปรุงแต่งในการเข้าไปปฏิบัตินี่เอง จึงเป็นการเสียเวลาเปล่าที่จะสอนนักศึกษาฝั่งทางโน้นให้เข้าไปปรุงแต่งสาละวนในเรื่องความไม่เกลี้ยงเกลาเหล่านี้   เป็นการ “สาละวนปรุงแต่งง่วนอยู่ในการปฏิบัติอยู่อย่างนั้น”
            และด้วยเหตุผลเหล่านี้ที่มองว่าทุกข์และวิธีการแก้ไขทุกข์ ซึ่งเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสมาเกือบทั้งหมดในพระไตรปิฎกนั้นมันก็คือสังขตธาตุหรือธาตุแห่งการปรุงแต่งล้วนๆ   คำสอนแห่งเซนจึงให้สลัดออกสลัดทิ้งเสียซึ่งสิ่งเหล่านี้      แล้วหันกลับไปทำความเข้าใจถึงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมที่มันไม่เคยมีไม่เคยเป็น       มันว่างเปล่าของมันโดยตัวมันเองตามสภาพดั้งเดิมอยู่แล้ว      มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนตามสภาพเดิมๆของมันอยู่อย่างนั้น     มันเป็นสภาพดั้งเดิมแท้ของมันอยู่แล้ว      ไม่ใช่เกิดจากการที่ต้องมีใครเข้ามาทำให้มันเกิดขึ้นมันถึงจะว่างแบบตลอดสายถ้วนทั่ว  โดยสภาพดั้งเดิมแท้นั้นมันว่างแบบตลอดสายถ้วนทั่วตามสภาพเดิมๆอยู่แล้ว    คำสอนแห่งเซนเพียงแต่ให้นักศึกษาทางฝั่งโน้นเข้ามาศึกษาและทำความเข้าใจในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ตรงนี้เพียงเท่านี้ เพื่อตกผลึกในความหมายอันแท้จริงแห่งธรรมชาติที่มันคงเนื้อหาดั้งเดิมของมันอยู่อย่างนั้น เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนตามธรรมชาติในที่สุด
          ก็ด้วยคำสอนแห่งเซนในลักษณะเช่นนี้ จึงทำให้หลายๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเทวาหรือมนุษย์   ล้วนมองกันว่าการปฏิบัติธรรมแบบคำสอนแห่งเซนด้วยวิธีการตกผลึก        ตระหนักชัดและซึมทราบเป็นเนื้อหาเดียวกันแบบกลมกลืนตามธรรมชาตินั้น      มันเป็นการบรรลุแบบรวดเร็วฉับพลัน   และมองด้วยความสงสัยว่ามันบรรลุเร็วเกินไปหรือเปล่า และก็เกิดข้อกังขาขึ้นมาว่า   การปฏิบัติธรรมตามวิถีเซนนี้เป็นแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่        โดยเฉพาะในกลุ่มปฏิบัติธรรมในสยามประเทศที่เรียกตัวเองว่า “ฝ่ายเถรวาท”  ที่หลายๆกลุ่มนิยมฝึกปฏิบัติธรรมกันในแบบที่เรียกว่า  “ค่อยๆปฏิบัติ ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป”  ค่อยๆฝึกไปแล้วนิพพานมันจักจะเกิดขึ้นเอง      ซึ่งคำสอนแห่งเซนไม่เห็นพ้องตรงนี้ด้วย    ทางวิถีเซนถือว่า    การค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ค่อยๆปฏิบัติธรรมไป  โดยตัวมันเองแห่งการ “ค่อยๆ”    โดยเนื้อหามันเองแบบ “ค่อยๆ” นี้ มันคือการปรุงแต่งชนิดหนึ่ง      ซึ่งมันขวางธรรมชาติแห่งพระนิพพาน      มันขวางโดยเนื้อหาโดยสภาพมันเองที่มันคือ  สังขตธาตุอันคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่ง
        แต่ทั้งนี้โดยความเป็นจริงพระพุทธองค์ก็ได้ทรงตรัสถึง สังขตธาตุ คือ ธรรมธาตุแห่งการเกิดขึ้น        ตั้งอยู่ได้ไม่นานและมีความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดา     พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงธรรมอันคือ “การเกิดขึ้น” นั้นว่า มันคือสภาพแห่งทุกข์ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสธรรมไว้ในหมวดต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจในวิธีการออกจากทุกข์ตรงนี้      แต่ด้วยปัญญาแห่งพุทธวิสัยพระพุทธองค์ก็ยังทรงตรัสอีกเช่นกันว่า      ธรรมต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นหนทางออกจากกองทุกข์นั้น    โดยตัวมันเองโดยสภาพมันเองแห่งธรรมเหล่านี้ก็เป็นการ “เกิดขึ้น” เป็นลักษณะแห่งสังขตธาตุเช่นกัน       พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงเรื่องการเกิดขึ้นและดับไปแห่ง “ธรรม” ไว้ในหมวด ธรรมานุปัสสนาสติ กล่าวคือ
          นักปฏิบัติทั้งหลายพึงรู้ด้วยอีกว่า        “ การพิจารณาธรรม” ทั้งหมดเหล่านี้ในสติปัฏฐานแห่งหมวดธรรม        ก็ล้วนเป็น “สังขต

ธาตุ”    คือธาตุแห่งการปรุงแต่ง     มันล้วนคือจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง   และพึงรู้ชัดว่า
        - จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้น       โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้น     ล้วนไม่เที่ยง  ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้น   โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง   ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
-จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้น       โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้น   ล้วนไม่เที่ยง     ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
          -จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้น   โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้น ล้วนไม่เที่ยง  ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
       -จิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นสัจจะบรรพะนั้น       โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมอันเป็นสัจจะบรรพะนั้น      ล้วนไม่เที่ยง   ล้วนดับไปเป็นธรรมดาโดยตัวมันเองอยู่แล้ว
      และพระพุทธองค์ยังทรงกล่าวถึงนิพพานว่า มันคือธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว ไว้ใน ตติยนิพพานสูตรว่า  เพราะมีธรรมชาติแห่งการปรุงแต่งไม่ได้ ซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยตัวมันเองอยู่แล้ว       ซึ่งมันมีมาในฐานะตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่แล้ว          เมื่อมีธรรมอันคือธรรมชาติตรงนี้ปรากฎอยู่ พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้ภิกษุทั้งหลายสลัดออกซึ่งสังขตธรรมทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นธรรมอันว่าด้วยเรื่อง “การเกิดขึ้น” คือทุกข์ และธรรมอันว่าด้วย   “การดับไป”   แห่งทุกข์      เพราะด้วยปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาซึ่งคือเนื้อหาแห่งการปฏิบัตินั้น  มันล้วนแต่คือสังขตธาตุ คือ ธาตุอันว่าด้วยการปรุงแต่ง “เกิดขึ้น” ทั้งสิ้น   พระพุทธองค์ทรงให้สลัดออกซึ่งธรรมเหล่านี้เสียสลัดทิ้งเสีย     ไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมัน  เพราะเหตุว่ามันมีธรรมอันมีเนื้อหาประณีตกว่านั้นซึ่งมันมีอยู่และเป็นที่สุดแห่งธรรมแล้ว  ไม่มีธรรมอันใดจะประณีตกว่าธรรมเหล่านี้แล้ว   และธรรมอันเป็นที่สุดและประณีตนี้ก็สามารถทำให้พ้นจากกองทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง  ธรรมที่ว่านี้คือ  ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งมันเป็นเนื้อหาแห่งธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง     เป็นเนื้อหาธรรมชาติที่ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว เป็นเนื้อหาธรรมชาติที่มันว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ตนอยู่อย่างนั้น เป็นเนื้อหาธรรมชาติที่มันไม่เกิดไม่ดับ      ซึ่งมันคือเนื้อหาแห่งพระนิพพานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ใน   ตติยนิพพานสูตรนั่นเอง
       เมื่อเนื้อหาธรรมแห่งคำสอนเซนซึ่งเป็นการมุ่งเน้นให้สลัดออกซึ่งสังขตธาตุ    และมุ่งเน้นให้ตระหนักชัดซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้นั้น  เป็นเนื้อหาธรรมที่ตรงกับธรรมที่พระพุทธองค์ได้ประกาศไว้แล้วเช่นกัน    คำสอนแห่งเซนจึงเป็นคำสอนที่ถูกต้อง            ซึ่งตรงกับแนวคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงใช้สอนแก่บรรดาหมู่เวไนยสัตว์ที่มีรอบปัญญาบารมีมากพอที่จะวิเคราะห์แยกแยะได้อย่าง   “เด็ดขาด”    ว่าธรรมลักษณะใดทั้งปวงคือ  สังขตธาตุ ธรรมลักษณะใดคือ อสังขตธาตุ         ด้วยเหตุผลนี้     “พระพุทธองค์จึงเป็นต้นกำเนิดเซน”             ด้วยประการฉะนี้แล้ว     จึงไม่เป็นที่แปลกใจเลยว่าในยุคที่พระพุทธองค์ยังทรงประกาศธรรมอยู่นั้นก็ได้มีบัณฑิตบางพวกได้บรรลุธรรมแบบฉับพลันต่อหน้าพระพุทธองค์มาแทบนับจำนวนไม่ถ้วน พระพุทธองค์ได้เผยแพร่คำสอนแบบเซนมานานตราบจนกระทั้งพระองค์ท่านได้เสด็จปรินิพพาน

                   









ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
มนุษย์แต่ละคน
มีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยม
สำหรับการดำรงชีวิต
ที่เป็นอิสระและสมบูรณ์
..
..
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
กำลังธรรมธาตุ
แห่งแสงพุทธะของพวกเธอ
จะพาระเริงเล่น
..
..
บทกวีไฮกุ แต่งโดย ครูสอนเซน
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



ธรรมชาติดั้งเดิมแท้

         พระพุทธองค์เคยตรัสเรื่อง     “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้”    ไว้ใน ตติยนิพพานสูตร ว่า
          “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว       อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว             ปรุงแต่งไม่ได้ แล้ว      มีอยู่  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว  เกิดแล้ว   ไม่เป็นแล้ว   อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว     ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว         จักไม่ได้มีแล้วไซร้            การสลัด ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว  เป็นแล้ว  อันปัจจัยกระทำแล้ว   ปรุงแต่งแล้ว    จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย”   
          “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย       ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว    ไม่เป็นแล้ว    อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้วปรุงแต่งไม่ได้แล้ว     มีอยู่             ฉะนั้น  การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว   เป็นแล้ว  อันปัจจัยกระทำแล้วปรุงแต่แล้วจึงปรากฏ ”
          พระพุทธองค์ทรงตรัสถึง ธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ว่า มันคือธรรมชาติแห่งความไม่เกิดแล้ว   คือธรรมชาติแห่งความไม่มีธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไป           คือธรรมชาติแห่งความไม่เป็น       มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนโดยเนื้อหามันเองตามสภาพธรรมชาติมันอยู่แล้ว
         และพระพุทธองค์ทรงตรัสถึงความมีแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มีมันแสดงเนื้อหามันอยู่ตามธรรมชาติ        เมื่อมีธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจึงมีการสลัดออกจากธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นการปรุงแต่งขึ้นและธรรมอันว่าด้วยความแปรปรวนดับไป ในความหมายของพระพุทธองค์นั้นหากไม่มีธรรมชาติดั้งเดิมแท้ในโลกใบนี้แล้ว  พระพุทธองค์ก็คงสั่งสอนธรรมแก่บรรดาหมู่เวไนยสัตว์แค่ธรรมที่ว่าด้วย  การมีสิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะการปรุงแต่งและสิ่งนี้ย่อมดับไปเป็นธรรมดา พระพุทธองค์คงสั่งสอนบรรดาสรรพสัตว์แค่เรื่อง  อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้ คือสอนธรรมอันเกิดขึ้นและดับไปเพียงเท่านั้น แต่โดยความเป็นจริง  ตามธรรมชาตินั้นมันมีเนื้อหาธรรมที่แท้จริงคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้อยู่แล้ว         มันเป็นธรรมชาติแห่งความไม่มีไม่เป็นอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง     ไม่มีใครผู้ใดใช้ความสามารถแสวงหาเพื่อสร้างมันขึ้นมาได้เพราะมันเป็นเรื่องฝืนและขัดต่อความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันคือเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้นโดยตัวมันเองอยู่แล้ว        เมื่อความจริงธรรมอันแท้จริงคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่มันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ     พระพุทธองค์จึงทรงให้ “สลัดทิ้ง” ซึ่งธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไปเสีย  พระพุทธองค์ให้ “สลัดทิ้ง”      ทั้งวิธีการในกระบวนการทั้งปวงแห่งการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น และกระบวนการการเรียนรู้และการตระหนักชัดถึงสิ่งที่ดับไปเป็นธรรมดา  เพราะแท้จริงตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันไม่มีธรรมอันว่าด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดาเลย  แต่แท้จริงแล้วมันคือธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่ปรากฎเนื้อหาแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแบบถ้วนทั่วทุกอนูธรรมธาตุโดนสภาพมันเองโดยตัวมันเองอยู่อย่างนั้น  ไม่มีใครสามารถสร้างมันขึ้นมาได้เพราะมันแสดงเนื้อหามันเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ   เพียงแค่ “สลัดทิ้ง”ซึ่งธรรมอันว่าด้วยเนื้อหาปรุงแต่งที่เกิดขึ้น   เพียงแค่ “สลัดทิ้ง”ซึ่งธรรมอันว่าด้วยความดับไปเป็นธรรมดา      เพียงแค่“สลัดทิ้ง”ซี่ง กระบวนการปฏิบัติธรรมอันเกี่ยวข้องกับธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไป  และเมื่อสลัดทิ้งแล้วก็ทำความเข้าใจเพื่อตระหนักชัดถึงความหมายแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ที่แสดงเนื้อหามันเองอยู่แล้วตามธรรมชาติและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกับมัน
          การที่ยังดำเนินเนื้อหาแห่งการปฏิบัติธรรมตามเหตุปัจจัยแห่งการระลึกรู้ตามธรรมชาติแห่งการเกิดขึ้นและดับไปนั้น    มันเป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรมเพื่อความคลายกำหนัดจากพฤติกรรมที่ชอบเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปรุงแต่งเป็นจิตต่างๆเกิดขึ้นเท่านั้น    แต่ถ้าเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมแบบนี้แล้วนิพพานจักจะเกิดขึ้นนั้นมันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้   เพราะมันยังไม่ใช่ “การสลัดทิ้ง” ตามที่พระพุทธองค์ตรัส
         เพราะฉะนั้น  หากนักศึกษาฝั่งทางโน้นผู้ใดมีความประสงค์ที่จะตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับนิพพานในชาตินี้             หากท่านได้อ่านบทความธรรมะที่ผู้เขียนได้เขียนไว้            ภาค 1  สังขตธาตุ      ตั้งแต่บทที่ 1 ถึงบทที่ 46    อันว่าด้วยธรรมธาตุซึ่งมีลักษณะเกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดานั้น  นักศึกษาฝั่งทางโน้นทั้งหลายต้อง “สลัดทิ้ง”  ซึ่งความรู้และ “สลัดทิ้ง”        ซึ่งการตระหนักชัดในเรื่องธรรมอันว่าด้วยการเกิดขึ้นและดับไปเหล่านี้ทิ้งเสีย และหันหน้ามาเรียนรู้ทำความเข้าใจเรื่อง “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ใน ภาค 2 อสังขตธาตุ  อันว่าด้วยธรรมธาตุซึ่งมีลักษณะไม่มีไม่เป็นมันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้น   ตั้งแต่บทที่ 47 เป็นต้นไป       เพื่อที่จะได้ตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้ได้ในที่สุด


         
 













ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
“สิ่งซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าสำคัญนั้น
ไม่ใช่อยู่ที่ว่าพุทธศาสนาจะแพร่ขยาย
หรือนิกายเซนจะเจริญรุ่งเรือง
แต่อยู่ที่ว่าคนแต่ละคนมีชีวิตที่เต็มอิ่ม และเพียงพอใจ
เปี่ยมด้วยสันติภาพตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต”
เซน แห่ง ครูสอนเซน โซโก โมนาริกะ โรชิ
ไดชูอิน วัดเรียวอันจิ ประเทศญี่ปุ่น





เข้าไปอ่าน"หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน" (the core of zen)
ได้ที่

1.http://www.facebook.com/ammarintharo

2.http://www.facebook.com/profile.php?id=100004436700138

3.http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398




และเข้าไปฟัง ธรรมะใจต่อใจในการฝึกตน mp 3 ( video )
ได้ที่

1.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 1.flv
2.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 2.flv
3.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 3.flv
4.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 4.flv
5.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 5.flv
6.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 6.flv
7.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 7
8.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 8
9.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 9
[/size]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 06:04:40 am โดย นิกายเซน »

ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
“เธอเข้าใจบ้างแล้วหรือยังว่า
สภาพที่แท้และดั้งเดิม
ของมนุษย์และสรรพสิ่งนั้น
ปราศจากขยะ”
เซน แห่ง ครูสอนเซน ท่านโซอิ
ไดชูอิน วัดเรียวอันจิ ประเทศญี่ปุ่น




ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



ดอกบัวแห่ง “ ไดชูอิน ”
         
             ผู้เขียนในฐานะเป็นครูบาอาจารย์มีลูกศิษย์ลูกหามากหน้าหลายตา                  ผู้เขียนเองได้เริ่มมีแนวทางสอนลูกศิษย์โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบทความชิ้นหนึ่งซึ่งได้อ่านจากวารสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นของคณาจารย์มหาวิทยาลัยไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น  และคณาจารย์ชุดนี้ได้ไปแวะเยี่ยมพระรูปหนึ่งที่ชื่อ พระอาจารย์โซโก โมนิรากะ โรชิ     ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดเรียวอันจิ และหนึ่งในกลุ่มอาจารย์ของมหาวิทยาเชียงใหม่เป็นรองศาสตราจารย์ผู้หญิงซึ่งผู้เขียนจำชื่อไม่ได้ก็ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งขึ้นมาซึ่งปรากฎอยู่ในวารสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั่นเองเป็นบทความที่ชื่อ     “ครูกับศิษย์นิกายเซน;ใจต่อใจในการฝึกตน”         โดยในบทความชิ้นนี้เป็นการเขียนบรรยายแนวทางในการฝึกลูกศิษย์ของพระอาจารย์ โซโก โรชิ         และแนวทางในการดำรงชีวิตของผู้ที่ศึกษาธรรมะนิกายเซน    ซึ่งบทความชิ้นนี้ผู้เขียนได้นำมาลงไว้แล้วในหนังสือ     “ใจต่อใจในการฝึกตน”นี้          เป็นบทความที่ชื่อว่า “ใจต่อใจในการฝึกตน” 
          ผู้เขียนชอบบทบาทของท่านโซโก     ในฐานะอาจารย์ใหญ่ผู้รับตำแหน่ง “โรชิ ” คอยฝึกสอนลูกศิษย์ใน “ ไดชูอิน”  ซึ่งเป็นชื่อของโรงเรือนไม้ญี่ปุ่นแบบโบราณ    เป็นสถานที่ฝึกเพื่อนั่งวิเคราะห์ธรรมแบบเซนซึ่งเป็นสถานที่อันสงบ          ในมุมมองของคนที่เป็นครูบาอาจารย์อย่างท่านโซโก โรชิ นั้น  ท่านมีมุมมองแบบความเป็นพุทธะ  ท่านมิได้มองในด้านเนื้อหากรรมภายนอกว่าอะไรจะต้องเป็นอะไร     แต่ท่านกลับมีมุมมองสมกับฐานะทางธรรมของท่าน     คือท่านเป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยการตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้     ท่านเพียงมุ่งหวังว่าให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาธรรมะแต่ละคนพึงมีชีวิตที่เต็มอิ่มและเพียงพอใจเปี่ยมด้วยสันติภาพตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต  โดยท่านมิได้มองว่าตัวพระพุทธศาสนาจะเผยแพร่ขยายหรือนิกายเซนจะเจริญรุ่งเรืองไปทั่วโลก        โดยท่านมองว่าขอเพียงให้ทุกคนเข้าใจเนื้อหาคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เพื่อที่ทุกคนจะได้นำไปขัดเกลาจิตใจพัฒนาตนเองเพื่อออกจากกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
         
          ผู้เขียนได้นำแนวคิดนี้มาสอนลูกศิษย์ทั้งหลายตามแนวทางของครูโซโก โรชิ    ซึ่งผู้เขียนเองนับถือท่านเป็นส่วนตัวในฐานะครูของผู้เขียนซึ่ง  “ท่านเป็นครูผู้วางแนวทาง” ในการสอนลูกศิษย์ของผู้เขียนให้ผู้เขียนเดินตามแนวทางนี้เรื่อยมา     ผู้เขียนพยายามสอนลูกศิษย์ให้เข้าใจเรื่องการดำรงชีวิตในเส้นทางธรรมชาติดั้งเดิมแท้ โดยพยายามสอนให้ทุกคนดำรงชีวิตบนวิถีชีวิตที่เรียบง่ายมีความพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่           มีความสุขในรสชาติแห่งเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ไปวันๆ    พอใจที่ตนเองมีข้าวกินอิ่มสามมื้อเพื่อประทังชีวิตให้อยู่รอด     และผู้เขียนมีความพยายามที่จะสอนให้ลูกศิษย์รู้จักที่จะเรียนรู้เรื่องลักษณะจิตต่างๆ เรียนรู้เรื่องระบบกรรมวิสัยที่เป็นไปในแต่ละยุคในแต่ละกลุ่ม  เรียนรู้ถึงเหตุลักษณะกรรมที่มีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้และหัดที่จะยอมรับกับมัน   โดยผู้เขียนมีจุดประสงค์จะให้ลูกศิษย์เหล่านี้เป็นครูคอยสอนคนอื่นเฉกเช่นเดียวกับตัวผู้สอนเอง ผู้เขียนเองเคยตั้งปณิธานไว้ว่าสิ่งใดๆที่ผู้เขียนจะพึงมีพึงได้ในความรู้ต่างๆในสิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่ามันดีและเลือกเฟ้นแล้ว  ผู้เขียนจักจะหยิบยื่นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของผู้เขียนให้กับลูกศิษย์เพื่อดำเนินรอยตาม

            และมีอยู่อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนพยายามศึกษาเรียนรู้และคอยนำมาสอนลูกศิษย์ข้าพเจ้าซึ่งจะเป็นครูรุ่นต่อไปในอนาคต         คือมุมมองของพระพุทธองค์ที่ท่านทรงมองภาพโดยรวมแห่งระบบกรรมวิสัยในแต่ละยุคแบบตรงๆตามเหตุและผลและแนวทางการสอนการโปรดบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายแบบไม่เลือกกลุ่มและหมู่เหล่า   พระพุทธองค์ทรงมองในมุมมองแบบผู้อยู่เหนือโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดซึ่งเป็นมุมมองของผู้ที่เข้าใจในเหตุผลแห่งกรรมที่มีเนื้อหาเป็นไปในลักษณะ    “เพราะมีสิ่งนี้จึงเกิดสิ่งนี้”     พระพุทธองค์ทรงอยู่เหนือระบบกรรมวิสัยทั้งปวงและท่านก็ใช้ความเป็น “พุทธวิสัยศาสตร์”     คอยสอนหมู่เวไนยสัตว์ทั้งหลายตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น    สิ่งที่ข้าพเจ้ามุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งก็คือ ทั้งตัวข้าพเจ้าเองและบรรดาลูกศิษย์ทุกรุ่นจักจะต้องมีมุมมองและแนวทางสอนเหมือนกับที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนบรรดาหมู่เวไนยสัตว์ในยุคที่ผ่านมา ผู้เขียนเพียงมุ่งหวังว่าจะให้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้าทุกรุ่นได้นำแนวคิดเหล่านี้ไปสอนลูกศิษย์ตัวเองเพื่อสร้างครูในรุ่นต่อๆไป   และครูทุกรุ่นก็ยังดำเนินปณิธานนี้อยู่ เพียงเพื่อหวังว่าครูทุกๆรุ่นจะเป็นผู้สืบทอดคำสอน “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้”     ไปในอนาคตอย่างไม่ขาดสาย
         
          ปณิธานเหล่านี้ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจมาจาก  “ไดชูอิน” สถานที่ฝึกตนแบบใจต่อใจระหว่างครูกับลูกศิษย์โดยอาศัยความไกล้ชิดและปณิธานตามมุมมองของพระพุทธองค์    ที่พระพุทธองค์มองธรรมและระบบกรรมวิสัยในจักวาลใบนี้แบบตรงไปตรงมา  ผู้เขียนจึงหวังว่า    “ดอกบัวแห่งไดชูอิน”     ในแต่ละดอกที่มันบานสะพรั่งไปด้วยธรรมธาตุแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้    ดอกบัวเหล่านี้จะทำหน้าที่ของตนในเส้นทางธรรมชาติแห่งพุทธะได้อย่างสมบูรณ์แบบ    และเอื้อประโยชน์แก่ชาวโลกทุกหมู่เหล่าตราบนานเท่านานตามพุทธะประสงค์แห่งบรมครูที่ชื่อ  "พุทธโคดม”





























ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
ธรรมชาติหล่อเลี้ยง
ก่อรูปสังคมอิสระ
ธรรมาธิปไตย
..
..
บทกวีไฮกุ แต่งโดย ครูสอนเซน
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
จิตวิญญาณพุทธะ
สาดแสงส่องทั่วปฐพี
โลกสว่างไสว
..
..
บทกวีไฮกุ แต่งโดย นายเมฆ โคโมริ
ใจต่อใจในการฝึกตน