วิถีธรรม > จิตภาวนา-ปัญญาบารมี

นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน โดยครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

<< < (4/8) > >>

นิกายเซน:
“สิ่งซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าสำคัญนั้น
ไม่ใช่อยู่ที่ว่าพุทธศาสนาจะแพร่ขยาย
หรือนิกายเซนจะเจริญรุ่งเรือง
แต่อยู่ที่ว่าคนแต่ละคนมีชีวิตที่เต็มอิ่ม และเพียงพอใจ
เปี่ยมด้วยสันติภาพตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต”
เซน แห่ง ครูสอนเซน โซโก โมนาริกะ โรชิ
ไดชูอิน วัดเรียวอันจิ ประเทศญี่ปุ่น




เข้าไปอ่าน"หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน" (the core of zen)
ได้ที่

1.http://www.facebook.com/ammarintharo

2.http://www.facebook.com/profile.php?id=100004436700138

3.http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398




และเข้าไปฟัง ธรรมะใจต่อใจในการฝึกตน mp 3 ( video )
ได้ที่
1.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 1.flv
2.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 2.flv
3.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 3.flv
4.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 4.flv
5.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 5.flv
6.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 6.flv
7.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 7
8.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 8
9.นิกายเซน ใจต่อใจในการฝึกตน 9[/size]

นิกายเซน:
“เธอเข้าใจบ้างแล้วหรือยังว่า
สภาพที่แท้และดั้งเดิม
ของมนุษย์และสรรพสิ่งนั้น
ปราศจากขยะ”
เซน แห่ง ครูสอนเซน ท่านโซอิ
ไดชูอิน วัดเรียวอันจิ ประเทศญี่ปุ่น


นิกายเซน:
บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท



ดอกบัวแห่ง “ ไดชูอิน ”
         
             ผู้เขียนในฐานะเป็นครูบาอาจารย์มีลูกศิษย์ลูกหามากหน้าหลายตา                  ผู้เขียนเองได้เริ่มมีแนวทางสอนลูกศิษย์โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบทความชิ้นหนึ่งซึ่งได้อ่านจากวารสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นของคณาจารย์มหาวิทยาลัยไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น  และคณาจารย์ชุดนี้ได้ไปแวะเยี่ยมพระรูปหนึ่งที่ชื่อ พระอาจารย์โซโก โมนิรากะ โรชิ     ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดเรียวอันจิ และหนึ่งในกลุ่มอาจารย์ของมหาวิทยาเชียงใหม่เป็นรองศาสตราจารย์ผู้หญิงซึ่งผู้เขียนจำชื่อไม่ได้ก็ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่งขึ้นมาซึ่งปรากฎอยู่ในวารสารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั่นเองเป็นบทความที่ชื่อ     “ครูกับศิษย์นิกายเซน;ใจต่อใจในการฝึกตน”         โดยในบทความชิ้นนี้เป็นการเขียนบรรยายแนวทางในการฝึกลูกศิษย์ของพระอาจารย์ โซโก โรชิ         และแนวทางในการดำรงชีวิตของผู้ที่ศึกษาธรรมะนิกายเซน    ซึ่งบทความชิ้นนี้ผู้เขียนได้นำมาลงไว้แล้วในหนังสือ     “ใจต่อใจในการฝึกตน”นี้          เป็นบทความที่ชื่อว่า “ใจต่อใจในการฝึกตน” 
          ผู้เขียนชอบบทบาทของท่านโซโก     ในฐานะอาจารย์ใหญ่ผู้รับตำแหน่ง “โรชิ ” คอยฝึกสอนลูกศิษย์ใน “ ไดชูอิน”  ซึ่งเป็นชื่อของโรงเรือนไม้ญี่ปุ่นแบบโบราณ    เป็นสถานที่ฝึกเพื่อนั่งวิเคราะห์ธรรมแบบเซนซึ่งเป็นสถานที่อันสงบ          ในมุมมองของคนที่เป็นครูบาอาจารย์อย่างท่านโซโก โรชิ นั้น  ท่านมีมุมมองแบบความเป็นพุทธะ  ท่านมิได้มองในด้านเนื้อหากรรมภายนอกว่าอะไรจะต้องเป็นอะไร     แต่ท่านกลับมีมุมมองสมกับฐานะทางธรรมของท่าน     คือท่านเป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยการตระหนักชัดและซึมทราบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับธรรมชาติดั้งเดิมแท้     ท่านเพียงมุ่งหวังว่าให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาธรรมะแต่ละคนพึงมีชีวิตที่เต็มอิ่มและเพียงพอใจเปี่ยมด้วยสันติภาพตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต  โดยท่านมิได้มองว่าตัวพระพุทธศาสนาจะเผยแพร่ขยายหรือนิกายเซนจะเจริญรุ่งเรืองไปทั่วโลก        โดยท่านมองว่าขอเพียงให้ทุกคนเข้าใจเนื้อหาคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เพื่อที่ทุกคนจะได้นำไปขัดเกลาจิตใจพัฒนาตนเองเพื่อออกจากกองทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
         
          ผู้เขียนได้นำแนวคิดนี้มาสอนลูกศิษย์ทั้งหลายตามแนวทางของครูโซโก โรชิ    ซึ่งผู้เขียนเองนับถือท่านเป็นส่วนตัวในฐานะครูของผู้เขียนซึ่ง  “ท่านเป็นครูผู้วางแนวทาง” ในการสอนลูกศิษย์ของผู้เขียนให้ผู้เขียนเดินตามแนวทางนี้เรื่อยมา     ผู้เขียนพยายามสอนลูกศิษย์ให้เข้าใจเรื่องการดำรงชีวิตในเส้นทางธรรมชาติดั้งเดิมแท้ โดยพยายามสอนให้ทุกคนดำรงชีวิตบนวิถีชีวิตที่เรียบง่ายมีความพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่           มีความสุขในรสชาติแห่งเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ไปวันๆ    พอใจที่ตนเองมีข้าวกินอิ่มสามมื้อเพื่อประทังชีวิตให้อยู่รอด     และผู้เขียนมีความพยายามที่จะสอนให้ลูกศิษย์รู้จักที่จะเรียนรู้เรื่องลักษณะจิตต่างๆ เรียนรู้เรื่องระบบกรรมวิสัยที่เป็นไปในแต่ละยุคในแต่ละกลุ่ม  เรียนรู้ถึงเหตุลักษณะกรรมที่มีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้และหัดที่จะยอมรับกับมัน   โดยผู้เขียนมีจุดประสงค์จะให้ลูกศิษย์เหล่านี้เป็นครูคอยสอนคนอื่นเฉกเช่นเดียวกับตัวผู้สอนเอง ผู้เขียนเองเคยตั้งปณิธานไว้ว่าสิ่งใดๆที่ผู้เขียนจะพึงมีพึงได้ในความรู้ต่างๆในสิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่ามันดีและเลือกเฟ้นแล้ว  ผู้เขียนจักจะหยิบยื่นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของผู้เขียนให้กับลูกศิษย์เพื่อดำเนินรอยตาม

            และมีอยู่อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนพยายามศึกษาเรียนรู้และคอยนำมาสอนลูกศิษย์ข้าพเจ้าซึ่งจะเป็นครูรุ่นต่อไปในอนาคต         คือมุมมองของพระพุทธองค์ที่ท่านทรงมองภาพโดยรวมแห่งระบบกรรมวิสัยในแต่ละยุคแบบตรงๆตามเหตุและผลและแนวทางการสอนการโปรดบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายแบบไม่เลือกกลุ่มและหมู่เหล่า   พระพุทธองค์ทรงมองในมุมมองแบบผู้อยู่เหนือโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิดซึ่งเป็นมุมมองของผู้ที่เข้าใจในเหตุผลแห่งกรรมที่มีเนื้อหาเป็นไปในลักษณะ    “เพราะมีสิ่งนี้จึงเกิดสิ่งนี้”     พระพุทธองค์ทรงอยู่เหนือระบบกรรมวิสัยทั้งปวงและท่านก็ใช้ความเป็น “พุทธวิสัยศาสตร์”     คอยสอนหมู่เวไนยสัตว์ทั้งหลายตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น    สิ่งที่ข้าพเจ้ามุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งก็คือ ทั้งตัวข้าพเจ้าเองและบรรดาลูกศิษย์ทุกรุ่นจักจะต้องมีมุมมองและแนวทางสอนเหมือนกับที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนบรรดาหมู่เวไนยสัตว์ในยุคที่ผ่านมา ผู้เขียนเพียงมุ่งหวังว่าจะให้ลูกศิษย์ของข้าพเจ้าทุกรุ่นได้นำแนวคิดเหล่านี้ไปสอนลูกศิษย์ตัวเองเพื่อสร้างครูในรุ่นต่อๆไป   และครูทุกรุ่นก็ยังดำเนินปณิธานนี้อยู่ เพียงเพื่อหวังว่าครูทุกๆรุ่นจะเป็นผู้สืบทอดคำสอน “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้”     ไปในอนาคตอย่างไม่ขาดสาย
         
          ปณิธานเหล่านี้ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจมาจาก  “ไดชูอิน” สถานที่ฝึกตนแบบใจต่อใจระหว่างครูกับลูกศิษย์โดยอาศัยความไกล้ชิดและปณิธานตามมุมมองของพระพุทธองค์    ที่พระพุทธองค์มองธรรมและระบบกรรมวิสัยในจักวาลใบนี้แบบตรงไปตรงมา  ผู้เขียนจึงหวังว่า    “ดอกบัวแห่งไดชูอิน”     ในแต่ละดอกที่มันบานสะพรั่งไปด้วยธรรมธาตุแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้    ดอกบัวเหล่านี้จะทำหน้าที่ของตนในเส้นทางธรรมชาติแห่งพุทธะได้อย่างสมบูรณ์แบบ    และเอื้อประโยชน์แก่ชาวโลกทุกหมู่เหล่าตราบนานเท่านานตามพุทธะประสงค์แห่งบรมครูที่ชื่อ  "พุทธโคดม”




























นิกายเซน:
ธรรมชาติหล่อเลี้ยง
ก่อรูปสังคมอิสระ
ธรรมาธิปไตย
..
..
บทกวีไฮกุ แต่งโดย ครูสอนเซน
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

นิกายเซน:
จิตวิญญาณพุทธะ
สาดแสงส่องทั่วปฐพี
โลกสว่างไสว
..
..
บทกวีไฮกุ แต่งโดย นายเมฆ โคโมริ
ใจต่อใจในการฝึกตน

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version