คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา
เล่าให้ฟัง-มนุษย์แท้? :PULING的主頁 [1]
ฐิตา:
ให้ หยาบ ปราณีต ชิวๆ ต่างกัน อิๆ
1.จริงสมมุติ(สมมุติสัจจะ)
เป็นความจริง มนุษย์สมมุติ และยอมรับกัน
ภาษา วัฒนธรรม กฎหมาย ดี ชั่ว
ดังนั้น"ดี ชั่ว" แต่ละวัฒนธรรม สมมุติไม่เหมือนกัน
เช่น สังคมหนึ่ง ใครไปโกงชาติ สุดยอด เจ๋ง
อีกสังคม รับไม่ได้ ต้อง ทวงคืน ทวงแค้น อิๆ
2.จริง ที่เป็น กฎ เหตุปัจจัย ของธรรมชาติ(ธรรมสัจจะ)
ธรรมชาติ ก็ทำหน้าที่ไป ถึงแม้นไม่มีพวกเราแล้วอิๆ
3.จริงที่เป็นประโยชน์สุงสุดของชีวิต(ปรมัตถ์สัจจะ)
บางวัฒนธรรมก็ไปสู่สวรรค์
บางวัฒนธรรม ก็ไปรวมรวม ร่าง จิตวิญญานสากล หรือ กับพระเจ้า(ปรมันต์)
บางวัฒนธรรม ก็ เสพสุข เสพเสี่ยง เสพเสียว ตอนตัวเป็นๆนี่แหละอิๆ
จริงก็ยังเป็นสมมุติ แต่เป็นสมมุติที่เป็นอุดมคตินิยม ละเอียดอ่อน
4.จริง ที่ รู้เหตุ และเปลี่ยนแปลงชีวิตได้(อริยสัจจะ)
เหตุแห่งปัญหาชีวิต คือทาสอารมณ์ทุกข์
และวิธีออก จาก อุปาทานในตัณหา อันเป็นเหตุทุกข์
ด้วยการปลุกสัมมาสติ โพธิปัญญาตื่น
มาดูแลการปรุงจิต ที่เป็นผู้บริหารชีวิต
ไม่ทำอะไรเลอะเทอะ เซ่อซ่า จนทำให้
ตน ครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม ทุกข์มทรมาน ร่วมกัน อิๆ
และทำหน้าที่ดีๆ ที่เป็น มงคลต่อชีวิตเป็น
อิๆ
...............................
//-ความจริงทั้งสี่ เอามาประกอบการ คิด
ยามเราผัสสะข้อมูลจากโลกภายนอก
เก็บเอาของเก่ามาคิด ชงอารมณ์อุดมการณ์
เปลี่ยนพฤติกรรม ในทางดีได้ ถ้าเรา"สายตา และใจกว้างพอ" อิๆ
"ผัสสะ กระแสโลกธรรม........ด้วยสติกุมสภาพจิต
จิตย่อมเบิกบาน......................ไร้กิเลสมาปนนั่น
จิตยังมั่นคง..............................ในอารมณ์ ปัญญา มโนธรรมแจ่มแจ้งกัน
ใครทำได้ดั่งนี้นั้น.....................ชีวิตชีวา ย่อมประสบแต่โชคดี"
ถอดความจาก มงคลสูตร ครับผม
สาธุ
:http://puling-222.blogspot.com/2011/03/blog-post_27.html?view=flipcard
ฐิตา:
//-ถ้าเข้าใจ พุทธธรรม สองระดับ
-ระดับ ให้เห็นคุณค่า ละชั่ว ทำดี
ก็จะอิงความเชื่อ แบบจิตนิยมโบราณ
(สัสตทิฐิ)
-ระดับ ชำระใจให้ผ่องแผ้ว หรือ" ทำนิพพานให้แจ้ง"
ก็จะ จัดการกับ อคติ มายาคติภายใน
ตอนผัสสะโลก ด้วยอายตนะ นี่แหละ
ในการปรุงบุคลิกภาพ แต่ละครั้ง ที่ผัสสะโลกธรรม
จะทำให้ เกิดเป็น นรก สวรรค์ อยู่ที่
จุดยืน วิสัยทัศน์ วิธีคิด วิธีชงอารมณ์ของเราเอง เช่น
-ฝนตก เรามีอารมณ์เบิกบาน เป็นมิตร จิตใสๆ
เอ้อ ชาวนาจะได้มีน้ำทำนา ประชาได้มีอาหารอิ่มท้อง อิๆ
เกิดสวรรค์ ร่างกายผลิตสารแห่งความสุข ทันทีอิๆ
-ฝนตก รถติด อีกแย้ว เซ็งเป็ด อิๆ
ร่างกายก็ผลิตฮอร์โมนคอร์ติโซน
ทำให้กระวนกระวาย และเริ่มคิดหดหู่ ฟุ่งซ่าน
ประตูนรกจากผัสสะก็เปิดรับทันที
ไปสู่ความ.. ย้ำคิด ย้ำทำ ย้ำแค้น
หาเรื่องแช่งฟ้าดิน รัฐบาลต่อไป อิๆ
(ปริฬาหสูตร , สํ.ม.๑๙/๑๗๓๑-๑๗๓๓.)
“ดูก่อนภิกษุ นรกชื่อว่าผัสสายตนิก 6 เราเห็นแล้ว ในผัสสายตนิกนรกนั้น
สัตว์จะเห็นรูปอะไรด้วยจักษุ
ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าปรารถนา ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าปรารถนา
....จะฟังเสียงอะไรด้วยหู ก็ย่อมฟังแต่เสียงอันไม่น่าปรารถนา
....จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรด้วยใจ ก็ย่อม >
> รู้แจ้งแต่ ธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา
> ย่อม.. ไม่รู้แจ้ง ธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา...”
(ขณสูตร, สํ.สฬ.๑๘/๒๑๔.)
พระพุทธดำรัสนี้ เป็นการนำเสนอ นรกที่เกิดขึ้นพร้อมกับการได้เห็น ได้ฟัง ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกายและทางใจซึ่งสิ่งที่ไม่น่าพอใจ นรกชนิดนี้อาจเกิดขึ้นทั้งในขณะที่มีชีวิตเป็นมนุษย์อยู่และหลังจากตายไปเกิดในภพใหม่แล้ว เป็นการแสดง “ภาวะ” ไม่ใช่แสดงถึง “สถานที่” นอกจากนี้ ยังตรัสเปรียบเทียบความเร่าร้อนในนรกชื่อว่า “ปริฬาหะ” กับความเร่าร้อนของพวกสมณพราหมณ์ผู้ไม่รู้แจ้งทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ในโลกมนุษย์นี้
(ปริฬาหสูตร , สํ.ม.๑๙/๑๗๓๑-๑๗๓๓.)
“....นรกชื่อว่าปริฬาหะมีอยู่ ในนรกนั้นบุคคล ยังเห็นรูป อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยนัยน์ตาได้ (แต่)เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา...ดูก่อนภิกษุ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้ มีอยู่.....สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ......ย่อมยินดี ย่อมปรุงแต่งครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อน ....”
- Jun 19, 2013 /Suraphol Kruasuwan
ฐิตา:
ความหมายของคำว่า "ไกวัลยธรรม"
ร่องรอยของ สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ที่อยู่ในรูป พระพุทธภาษิต
อันขึ้นต้น ด้วยคำว่า "อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปทา วา ตถาคตานํ"
อย่างนี้ มีอยู่ ๒ ชุด ชุดหนึ่งหมายถึง
"ไตรลักษณ์" คือ
-อนิจจัง
-ทุกขัง
-อนัตตา
อีกชุดหนึ่งหมายถึง
"อิทัปปัจจยตา" คือ ปฏิจจสมุปบาท
ดังปรากฏจากพระไตรปิฎก ดังนี้ -
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม
พระตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา ว สา ธาตุ - ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
ธมฺมฎฐิตตา ธมฺมนิยามตา
- ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมดาแห่งธรรม เป็นกฏตายตัวแห่งธรรม
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ติ.
-ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง.
ดังนี้เป็นต้น นี้อย่างหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับไตรลักษณ์. (๑๔)
อีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท
มีบาลีที่ขึ้นต้นอย่างเดียวกัน คือ
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ,
อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม
พระตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม
ฐิตา ว สา ธาตุ - ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
ธมฺมฏฐิตตา - ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมดาแห่งธรรม
ธมฺมนิยามตา - เป็นกฏตายตัวแห่งธรรม
อิทปฺปจฺจยตา - ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ย่อมเกิดขึ้น
อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา ติ. - ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น.
ดังนี้เป็นต้น นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ
อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท. (๑๕)
ในความหมายนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็ได้แก่ความหมายตามคำต่างๆ เหล่านี้ คือ -
ตถตา
อวิตถตา
อนญฺญถตา
อิทปฺปจฺจยตา
- ความเป็นอย่างนั้น
- ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
- ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
- แต่จะเป็นไปตามความที่ "เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น".
เมื่อพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว ทุกท่านจะพบ ด้วยตนเองว่า
ทุกคำ มีความหมาย ระบุถึง สิ่งเดียวกัน คือ
- สิ่งที่มีสภาวะเป็นหนึ่ง
- ซึ่งตั้งอยู่อย่างถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง
สิ่งนั้นแลที่ได้นามว่า "ไกวัลยธรรม". (๑๖)
คำว่า "ตถาคต" แปลว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น"
ถ้าหมายถึง พระพุทธเจ้า ก็กล่าวได้ว่า "มาอย่างพระพุทธเจ้า ไปอย่างพระพุทธเจ้า"
ทีนี้ ในความหมายที่ พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้น หรือไม่ก็ตาม
สิ่งที่เรียก "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนั้น (ฐิตา ว สา ธาตุ)
ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นตถาคตทั้งหลาย
จะเปลี่ยนแปลง ไปอย่างใด มันก็ยัง ตั้งอยู่อย่างนั้น อย่างไม่ฟังเสียงใคร. (๑๗)
พุทธทาส ธรรม
***************
ธรรมธาตุทั้งหมด
กฎของธรรมชาติทั้งหมด
วิวัฒนาการของธรรมชาติทั้งหมด
กฎของการเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่ง จนเป็นสรรพสิ่งหลากหลาย
การมาจุติ และกลับไป ของพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็ มีอยู่อย่างนั้น มีมาก่อน และจะมีต่อไป
แม้นว่า เราจะเกิด หรือ อยู่ จากไปจากโลกนี้
แต่ถ้าเราพบทาง ที่
-พ้นเพลิงกิเลส
-พ้นเพลิงทุกข์
-ปลุกจิตมหาเมตตากรุณาตื่น มาเอื้อเฟื้อ ตน ครอบครัว ชุมชน
สังคม สิ่งแวดล้อม ให้มีสันติสุข สันติธรรม ดี ด้วยกัน ร่วมกัน
ด้วยการ ฝึกเปลี่ยนแปลง ตนเอง
ทั้งกายหยาบ ที่เกิดจากกิเลสตัณหา สร้างมา
กายละเอียด ที่เราปรุงแต่ง ด้วยจิตสำนึก
กายทิพย์ สติปัญญา ที่รอบรู้ รอบคอบ ประกอบแล้วดี
จิตแท้ จิตเดิม ที่สว่างราวอาทิตย์พันดวง
และ เคารพธรรมเที่ยงแท้ ที่ทำให้เราพ้นจาก
ความติด ความพยาบาท ความคิดเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
การเกิดมาชาตินี้ เราก็ เป็น"มนุษย์แท้" ในแนวคิดของพุทธธรรมได้
"ตถาคต เป็นเพียงผู้ชี้ทาง
การเดินทางเป็นของท่านทั้งหลาย"(พุทธพจน์)
Suraphol Kruasuwan
ศุกร์ ๑๙/๗/๒๕๕๖
Extended circles - 1:55 AM
ฐิตา:
พึ่งเข้าวงการถ่ายภาพนก วันที่4กพ.นี่เอง
พบนักถ่ายภาพนก และนักอนุรักษ์ แลกเปลี่ยน ความหลัง และแรงผลักดัน
ให้มาเป็นนักอนุรักษ์ มีท่านหนึ่งเล่าว่า ช่วงเป็นวัยรุ่น ชอบ ดัก จับนก มาขัง
มีกรงนกนานาชนิดแขวนรอบบ้าน
วันหนึ่ง เรือเทียบท่า มีคนจูงจักรยานยนต์ลงเรือ จึงไปช่วยจับ เอารถลงเรือ
เลยถุกจับข้อหา"ร่วมโจรกรรม" ถูกขัง ต้องเสียเงินทอง มากมาย
กว่าจะเป็นอิสระ ตั้งแต่นั้นมา"รู้รสชาติ ของการขาดอิสระภาพ"
"ใครอยากรู้ลองไปนอนในกรง โรงพักก็พอ สักสองวัน สายตาจะแจ่มแจ้ง"
-ยังมีอีก เล่าต่อคราหน้า
พักผ่อน กันนะครับ
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
นกเขาเขียว (Emerald Dove)
ภาพจาก..... http://lomluang.com/birdboard/b1/t3409/
ประสบการณ์ คนอนุรักษ์นก เรื่องที่2
//-เพื่อนปู่ลิง(ชื่อที่เพื่อนรู้จักของผม) ยิงปืนแม่น
และเป็นนักพิทักษ์ สัตว์เลี้ยง ในบ่อปลา มีปลาช่อน เหยี่ยวมากินลูกไก่ ใช้บริการฟรีได้
-วันหนึ่ง เพื่อน ที่เลี้ยงไก่แจ้ โทรมา ขอความช่วยเหลือ
พังพอน หนึ่งฝูงมาจับลูกไก่ไปต่อหน้าต่อตา
-เพื่อนก็มาบริการ เก็บกวาด พ่อ แม่ และลูกพังพอน ไปสี่ตัว เหลืออีกตัวรอดไปได้
แกก็มาเฝ้า ทุกวัน จนกระทั้งวันหนึ่ง เห็นเจ้าตัวที่เหลือ วิ่งเข้าไปในพงหญ้า
สักพักเห็น พงหญ้าอีกด้าน เรี่มไหวตัว จึงยิงด้วยลูกปลาย เห็นนกเขาเขียว บินขึ้นไปหนึ่งตัว
เข้าไปดู พบนกเขาเขียว ปีกหักซุกกอหญ้า ด้วยความสงสาร
จึงไปดามปีก และเอาไปพักฟื้นที่บ้าน นกเขาเขียวตัวที่รอด ก็บินตาม
มาเฝ้ากรงที่ขัง ไม่ห่าง
-จนนกเรี่มหายดี แต่ยังบินไม่ได้ และเชื่อง กล้ามากินถั่วเขียวที่มือ
-ด้วยความเผลอเรอ เจ้าเหมียวข้างบ้าน มากัดนกตัวนี้สาหัส
เกินเยียวยา ต้องช่วยให้ตายพ้นทุกข์ทรมาน
-วันนี้ เพื่อนปู่ วางปืน มาจับกล้อง และเดินสาย สอนเยาวชน อนุรักษ์ธรรมชาติ
สาธุครับ นึกถึงคาถาองคุลีมาร
"ดูก่อนน้องหญิง เพราะความไม่รู้(อวิชชา) เราจึงหลงปลงชีวิตสัตว์อื่น
บัดนี้เรารู้แล้ว และเกิดใหม่ในอริยะชาติ
การเอาชีวิต สัตว์อื่นไม่มีสำหรับเรา
ด้วยสัจจะวาจานี ขอให้น้องหญิงและบุตรในครรภ์ จงปลอดสวัสดีเทอญฯ
(องคุลีมาร เป็นโจรป่า ประหารชีวิตเอานิ้วมือ มาเป็นพวงมาลัยห้อยคอ
ต่อมาพบพุทธเจ้า และกลับใจ บวชเป็นอริยสาวกสำคัญ
คนท้องมาพบตกใจ คลอดลูกไม่ได้ ท่านจึงกล่าว สัจจะกริยานี้)
อดีตมิหวลคืน แต่เราช่วยกันฟื้นฟู โลก ด้วย กาย กร เกศ โกมล
และความเพียร ได้ครับผม สาธุ
G+ Suraphol Kruasuwan
ฐิตา:
อาสวะ สาสวะ อนาสวะ....ในพุทธธรรม
พุทธศาสนา สามมิติ
1.พุทธศาสนา เพื่อสืบทอด วัฒนธรรมของพระศาสนา
พุทธศาสนา ที่เป็นวัฒนธรรม จะประกอบด้วย
1.1-ศาสนธรรม.....คำสั่งสอน
มีทั้งคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า และ เถระ ความเห็นอาจารย์ รวมเป็น พระปิฎก ฯลฯ
ในรูปแบบ
....ธรรมาธิษฐาน
อธิบายเป็นภาษา หลักการ เหตุผล
....บุคลาธิษฐาน
เป็นภาษาวรรณคดี มีอภินิหารเหนือจริง สมมุติเป็นบุคคลตัวตน
แต่ถอดความ มี ธรรมมาธิษฐาน ซ่อนอยู่ เช่น ชาดก ทศชาติ
ก็คือ บารมี สิบ ที่ควรเจริญให้ยิ่ง
....อวจนะภาษา
ภาษาที่ไม่ใช่คำพูด เช่นภาษาท่าทาง ภาษาจิต ภาษาศิลป์
1.2 ศาสนวัตถุ เช่นวัด พุทธศิลป์
1.3ศาสนกิจกรรม
เช่นประเพณี พิธีกรรม แต่ละวัฒนธรรมแตกต่างกันไป
...................................
2.พุทธศาสนาที่เป็น"ธรรมบาล"
หลักคุ้มครองสังคม ให้มี สติ สันติ อหิงสา สามัคคี ดีด้วยกัน
มีหลักธรรมอยู่สามคู่
-ให้ มีบุพการี-กตัญญูชน มากขึ้นในสังคม
มีคนที่ยินดี ทำบุญคุณให้ผู้อื่น มีคนที่ยินดี ตอบแทนบุญคุณนั้น
-ให้ มี หิริ -โอตตัปปะ
มีคนที่ รู้จักละอาย และเกรงผลร้ายของ อกุศล และเลิกทางอบายมุข
-ให้มี มงคลชีวิต และสุขจากการแบ่งปัน หมุนเวียน
วัตถุปัจจัยดำรงชีพ ความรู้ โอกาส อภัยแก่กัน
.........................
3.พุทธศาสนา ที่"ทำนิพพานให้แจ้ง"
คือฝึก ให้พ้น เพลิงอารมณ์ทุกข์ เพลิงกิเลส
พ้น อุปาทานสี่ ด้วย การ"ทำอาสวะให้สิ้น"
พุทธศาสนา จึงมี"สัมมาทิฐิ" สองชั้น
-พุทธศาสนา ที่เป็น เพื่อสืบวัฒนธรรม เป็นธรรมบาล
ที่มุ่งให้มนุษย์ ละอกุศล เจริญกุศล
จึงมีสัมมาทิฎฐิ แบบ"สัสสตทิฐิ" หรือ"จิตนิยม"
หรือสัมมาทิฎฐิแบบ"สาสวะ"
...........................
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ
-สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
-สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
----------------................
---------------...................
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
ความเห็นดังนี้ว่า
-ทานที่ให้แล้ว มีผล
-ยัญที่บูชาแล้ว มีผล
-สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
-ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่
-โลกนี้มี
-โลกหน้ามี
-มารดามี บิดามี
-สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
-สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ
ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่
นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
------------------..................
------------------..................
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
-ปัญญา ปัญญินทรีย์ปัญญาพละ
- ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
-ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล
สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
-ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
-ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ ฯ
-ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3724&Z=3923
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version