คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา
วิถีแห่งเต๋า หลักธรรม มณีปัญญา ของ จวงจื๊อ จอมปราชญ์
ฐิตา:
หลินหุยทิ้งหยกแผ่น
เมื่อแคว้นเจี่ยสิ้นแผ่นดิน หลินหุยก็ทิ้งหยกแผ่นค่าควรเมืองที่เป็นสมบัติของตระกูลไปเสีย รีบพาบุตรธิดาอพยพหลบหนีไป
สิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกันด้วยผลประโยชน์ จะต้องแลกกันด้วยผลประโยชน์ การนำแผ่นหยกค่าควรเมืองติดตัวไปในยามที่บ้านเมืองกลียุค มีแต่จะทำให้มีอันตรายเพิ่มขึ้น แต่บิดากับบุตรธิดาเป็นความใกล้ชิดสนิทสนมที่มีมาแต่กำเนิด ย่อมจะละทิ้งโดยไม่นำพามิได้
–˜™—
การแสวงหาสิ่งนอกกาย มักจะมองเห็นผลประโยชน์ที่อยู่ตรงหน้า และมองข้ามอันตรายที่อยู่เบื้องหลังเราไปสิ้น
–˜™—
เหตุผลนั้นมิอยู่ที่ใหญ่หรือเล็ก แต่จะต้องพอเหมาะพอควรจึงจะดี ใหญ่แต่ไม่สมเหตุสมผล ย่อมไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง
สติปัญญาน้อย มีสิ่งที่เห็นแต่ก็มีสิ่งที่ไม่เห็น เพราะได้ถูกปิดบังสติปัญญาใหญ่ก็คือสติปัญญาที่ไม่มีอะไรรอดพ้นไปจากสายตาได้ เมื่อไม่มีอะไรที่รอดพ้นไปจากสายตาได้ การมองปัญหาก็จะรอบด้านสมบูรณ์
–˜™—
ฐิตา:
ประโยชน์ของธรรมชาติ
ฮุ่ยจื่อกล่าวแก่จวงจื๊อว่า “วาจาของท่านไร้ประโยชน์”
จวงจื๊อกล่าวว่า “ก็เพราะท่านรู้ว่าไร้ประโยชน์ จึงได้สนทนาเรื่องมีประโยชน์กับท่าน”
ฮุ่ยจื่อกล่าวว่า “ท่านหมายความว่าอย่างไร”
จวงจื๊อกล่าวว่า “ยกตัวอย่างเช่นแผ่นดินผืนนี้ ที่ท่านใช้อยู่ก็เพียงแต่ผืนเล็ก ๆ ที่ท่านยืนอยู่ใต้เท้าท่านเท่านั้น หากขุดเอาดินนอกจากที่ท่านยืนไปเสียทั้งหมด ขุดลึกลงไปถึงใต้บาดาล กระนั้นแล้วแผ่นดินผืนเล็ก ๆ ที่ท่านยืนอยู่จะมีประโยชน์หรือไม่ ? ”
ฮุ่ยจื่อกล่าวว่า “ก็ไม่มีประโยชน์แล้วนะซี”
จวงจื๊อกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ประโยชน์ของสิ่งไร้ประโยชน์ก็เป็นที่ชัดเจนแล้ว”
เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่า “มีประโยชน์ได้สร้างอยู่บนรากฐานของ “ไร้ประโยชน์” ไม่มี “ไร้-ประโยชน์” ก็จะไม่มี “มีประโยชน์”
–˜™—
ฐิตา:
ได้ปลาลืมไซ
ไซเป็นเครื่องสานที่ใช้ดักจับปลา เมื่อจับปลาได้แล้วไซก็ทิ้งได้ แร้วใช้สำหรับดักจับกระต่าย เมื่อจับกระต่ายได้แล้วแร้วก็ทิ้งได้ ภาษาและอักษรใช้สำหรับถ่ายทอดความคิด เมื่อความคิดได้ถ่ายทอดออกไปแล้ว ภาษาและอักษรก็ทิ้งได้
ภาษาและอักษรเป็นทางผ่าน มิใช่จุดหมาย การถือเคร่งต่อภาษาและอักษรจนเกินการ กระทั่ง “ไล่คัมภีร์จนผมหงอก” มันจะแตกต่างอะไรกับ “ทิ้งแก่นเอากระพี้” เล่า?
–˜™—
ฐิตา:
คนที่สวมเสื้อผ้าขาวราวหิมะ ในใจไม่แน่ว่าจะขาวสะอาดไปด้วย
ใครหากได้ลาภยศด้วยการกระทำความชั่ว มิสู้อยู่อย่างยากจนจะดีกว่า
–˜™—
“อาวุธมีคม” ในโลกนี้มีมากมาย เช่น สุรา กาเม ชื่อเสียง
ผลประโยชน์ อำนาจ เป็นต้น เพลงกระบี่ก็เป็นชนิดหนึ่ง...
......... จุลมรรคซึ่งเป็นอันตรายแก่ร่างกายนั้นมิพึงยึดถือ
–˜™—
ฐิตา:
คนเรามีโรคร้าย ๘ ประการ มีความทุกข์ ๔ ประการ จะไม่สนใจมิได้
ทำในสิ่งที่ท่านไม่ควรกระทำ เรียกว่า แส่เสือก คนอื่นเขาไม่เชื่อท่าน แต่ท่านก็พูดไม่หยุด เรียกว่า เพ้อพล่าม เดาใจคนอื่น พูดสิ่งที่เขาพอใจ เรียกว่า ประจบ ไม่รู้ดีชั่ว เออออตามเขาไป เรียกว่า สอพลอ ชอบพูดความผิดของคนอื่น เรียกว่า ใส่ไคล้ ทำลายความสนิทสนมของคนอื่น เรียกว่า ยุแยง ยกย่องคนชั่ว ขับไสคนที่ตนเกลียด เรียกว่า เจ้าเล่ห์ ไม่แยกดีชั่ว ทำดีทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เขาชอบ เรียกว่า กลิ้งกลอก
โรคร้ายทั้ง ๘ นี้ ต่อภายนอกก็ก่อกวนคนอื่น ต่อภายในก็ทำร้ายตัวเอง ซึ่งผู้มีปัญญาจะมิยอมชิดใกล้เลย
ความทุกข์ ๔ ประการคืออย่างไรเล่า ?
คิดทำแต่เรื่องใหญ่ แสวงหาชื่อเสียง เรียกว่า มักใหญ่ อวดฉลาด ทำตามใจตน เอาแต่ความคิดของตน ไม่คำนึงการล่วงเกินผู้อื่น เรียกว่า ถือดี มองเห็นความผิดตนแต่ไม่ยอมแก้ไข ได้ยินคำตักเตือนกลับโมโห เรียกว่า ยโส ความเห็นตรงกับตนก็ว่าถูก ความเห็นไม่ตรงกับตน แม้จะดีก็ว่าไม่ดี เรียกว่า ทะนง
๘ โรคร้าย ๔ ความทุกข์นี้เป็นความผิดที่มักจะพบเห็นได้มากที่สุด ในหมู่คนในโลกมนุษย์
–˜™—
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version