amam เขียน:
จากการอ่านในหนังสือข้อความที่ว่า “เมื่อจิตหรือวิญญาณดับก็จะไปปฎิสนธิใหม่ในทันทีเป็นโอปปาติกะ ร่างกายที่เกิดใหม่จะเหมือนเดิมก็ได้ หรือผิดแผกตกต่างไปจากเดิมเลยก็ได้ ทั้งนี้สุดแท้แต่ผู้นั้นจะไปเกิดในภูมิไหน ถ้าผู้นั้นไปเกิดในภูมิมนุษย์ร่างกายก็จะเหมือนเดิม แต่ถ้าไปอยู่ในภูมิของโอปปาติกะแท้ๆซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ร่างกายที่เกิดใหม่นั้นจะไม่เหมือนเดิมจนจำไม่ได้ “
จากข้อความที่คัดลอกมาข้างบนนั้นกระผมไม่เข้าใจ ดังนี้
(1) ถ้าผู้นั้นไปเกิดในภูมิมนุษย์ร่างกายก็จะเหมือนเดิม (ข้อนี้กระผมเข้าใจว่าหลังจากคนเราตายจิตหรือวิญญาณดับก็ไปเกิดหรือไปปฎิสนธิเป็นมนุษย์ในทันทีอย่างนั้นหรือครับ)
(2) ถ้าไปอยู่ในภูมิของโอปปาติกะแท้ๆซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ร่างกายที่เกิดใหม่นั้นจะไม่เหมือนเดิมจนจำไม่ได้ (ข้อนี้ที่ว่าไม่เหมือนเดิมหมายถึงอาจไปเกิดเป็นเปรตรูปร่างสูงใหญ่ อาจไปเกิดเป็นสัตว์ต่างๆ อาจไปเกิดเป็นนกเป็นปลาหรืออื่นๆที่ไม่เหมือนเดิมสุดแล้วแต่ว่าใครทำกรรมอะไรมาใช่ไหมครับ )
ขอได้เมตตาช่วยอธิบายให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ๑)กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ เป็นหมายเป็นนิมิตบอกนะครับ ว่ากรรมดีหรือชั่วที่กระทำด้วยกาย วาจา ใจ สะสมไว้แล้วจะเป็นนิมิตภาพปรากฏในขณะจิตสุดท้าย เรียกมรณาสันนวิถี การจุติและปฏิสนธิของสัตว์ในกามาวจรภูมิ ๑๑ เหมือนหลับตาขว้างหินไม่รู้เลยว่าจะตกไปที่ใด ดังบาลีที่มาใน สังยุตตนิกาย มหาวารวรรคว่า
ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย[๑๗๕๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้ว
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มี
พระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่
พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้
ส่วนเสี้ยว.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
84000 พระธรรมขันธ์ (online 3/09/2553)
http://www.84000.org/tipitaka/read/?19/1757/578ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีมากกว่า
อนึ่ง ปากทานปริยายจตุก จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล ๔ อย่างคือ
1.
ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม
2.
พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม
3.
อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น
4.
กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว นอกจากกรรม 3 อย่างข้างต้น, ฏีกากล่าวว่า กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป (กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วา ปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม).กตัตตากรรมนี้ ในตำราทางพุทธศาสนาหลายแห่ง (เช่น หนังสือกรรรมทีปนี พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรม และหนังสือพุทธธรรมฉบับขยายความ) ได้บรรยายไว้ว่า หมายถึง กรรมสักแต่ว่าทำ กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กรรมในพุทธศาสนา วิกิพีเดีย (online 3/09/2553)http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2
ข้อ ๒) ถ้าปฏิสนธิวิญญาณใน อุเบกขาสันตีรณ อกุศลวิบาก พวกทุคติ คือล่วงอกุศลกรรมบท ๑๐ หาศึกษาเพิ่มเติมเอานะครับ ผิดศีล ๕ เมื่อกระทำกรรมทั้ง ครุกรรม กรรมหนัก อาจิณกรรม กรรมที่กระทำบ่อย ๆ อาสัณณกรรม กรรมขณะจิตสุดท้าย กฏัตตากรรม กรรมที่ไม่มีเจตนาหรือกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ สักว่ากระทำ เหล่านี้ จะเป็นตัวชี้วัด เช่น ครุกรรมที่เป็นกุศล การเจริญทานศีล สมถภาวนาวิปัสสนาาภวนา ก็ให้กรรมฝ่ายกุศลให้ผลหนักได้รับผลทันทีที่กระทำ ครุกรรมที่เป็นอกุศล ก็จำพวกอนันตริยกรรม ก็ให้ผลทันทีในภพนี้ชาตินี้
ข้างต้นถ้าปฏิสนธิวิญญาณใน อุเบกขาสันตีรณ อกุศลวิบากจิต ก็ได้แก่อบายภูมิ ๔ อกุศลจิตหนาแน่นสุด ๆ นี้ต่ำกว่ามนุษย์และมีเป็นจำนวนมากตามพระบาลีที่รับรอง พระผู้มีพระภาคทรงตรัสไว้ อย่างในเทวทูตสูตรเป็นต้นที่ียกมาเพียงสังเขป เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วตายไปเพราะไม่กระทำความดีก็ เข้าถึงทุคติอบาย เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ถ้าปฏิสนธิวิญญาณจิตใน อุเบกขาสันตีรณ กุศลวิบากจิต เป็นพวกสุขคติอเหตุกบุคคล เป็นผลของกุศล แต่เ็ป็นกุศลขั้นต่ำ ๆ คือไม่ประกอบด้วยเหตุคือกุศล แต่เป็นอกุศลวิบาก ประกอบด้วยเหตุ คือโละ โทสะ โมหะ และได้เกิดเป็นมนุษย์ก็ยังทำผิดอกุศลกรรมบท ๑๐ ผิดศีล ๕ ก็มามืด ๆ ไปมืด ๆ ก็ว่าได้ แต่ข้างกุศลวิบาก ขั้นต่ำนี้ท่านจัดไว้ว่าเป็น มนุษย์และเทวดาชั้นต่ำ คือชั้นจตุมหาราชิกา พบเห็นได้ในมนุษย์บุคคลที่พิกล พิกาล บ้า ใบ้ บอด หนวกเ็ป็นต้น ดิ้นรนอดอยากใช้ชีวิตลำบากได้รับอารมณ์ที่ไม่ดีบ่อย ๆ และมีเวทนาที่เฉย ๆ เป็นอุเบกขา กับอีกประเภทคือเป็น โสมนัสสันตีรณจิต รับอารมณ์ที่ดี และมีสุขโสมนัสใจยิ่ง ที่เห็นก็คุณ Nick Vujicic คือมีหัวใจกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ สร้างมหากุศลจิตในการให้กำลังใจ ให้สติคนท้อแท้นั่นเอง และตัวอย่างผู้พิกาลไทยอีกมากมายที่วาดรูป และทำอะไรได้อีกหลาย ๆ อีกหนึ่งคือ ภพต์ เทภาสิต “คนผู้พิการต้นแบบ”เป็นต้น
ถ้าปฏิสนธิวิญญาณจิตใน มหาวิปากญาณ วิปปยุตจิต ๔ ดวงคือไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นทวิเหตุกบุคคล เป็นสเหตุก คือประกอบด้วยเหตุ๒ คือโลภะ โทสะ ท่านจัดว่าเป็นมนุษย์และเทวดชั้นกลาง ๆ ตั้งแต่มนุษย์ภูมิ ๑ และเทวดาภูมิอีก ๖ ชั้น เป็นผลของกุศลขั้นกลาง ๆ ตัวอย่างก็มนุษย์บุคคลที่เกิดมาไม่รวยไม่จน กลาง ๆ พอมีพอใช้ ดิ้นรนบ้างบางพวก บางพวกก็ไม่ต้องดิ้นรนก็มี เพราะกรรมต่างกัันการสะสมกุศลต่างกันเ็ป็นต้น
ถ้าปฏิสนธิวิญญาณจิตใน มหาวิปากญาณ สัมปยุตจิต ๔ ดวงคือประกอบด้วยปัญญา เป็นติเหตุกบุคคล สเหตุกเหมือนกัน เป็นผลของกุศลขั้นสูง ท่านจัดว่าเป็นมนุษย์และเทวดาชั้นสูงไม่ประกอบด้วยเหตุคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ติเหตุกสามนั่นเอง มาสร้างบุญบารมีต่อไป มีอำนาจวาสนาบารมีมาก สมบูรณ์พร้อมด้วยรูปสมบัติ คุณสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และมีโอกาสที่จะบรรลุแจ้งอริยสัจธรรม ดังนั้นแล้วอย่าได้ประมาทในการเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ไม่พบพระธรรมคำสั่งสอนที่รื้นถอนความเห็นผิด ปลดปล่อยสัตว์โลกผู้เวียนว่ายตาอยเกิดในภูมิต่ำ มืดบอดมาสู่ฝั่งสู่กระแสพระนิพพาน ดังบาลีที่จัดบุคคลไว้ ๔ จำพวกที่มาในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาตว่า
ตมสูตร[๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔
จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้มืดมาแล้ว มีมืดต่อไปจำพวก ๑ ผู้มืดมาแล้ว มีสว่างต่อ
ไปจำพวก ๑ ผู้สว่างมาแล้ว มีมืดต่อไปจำพวก ๑ ผู้สว่างมาแล้ว มีสว่างต่อไป
จำพวก ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มืดมาแล้ว มีมืดต่อไปเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างเย็บหนัง หรือในตระกูลคนเทหยากเยื่อ อันเป็นตระกูล
เข็ญใจ มีข้าว น้ำและโภชนะน้อย เป็นอยู่โดยฝืดเคือง หาของบริโภคและผ้านุ่ง
ห่มได้โดยฝืดเคือง อนึ่ง เขามีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ มีโรค
มาก เป็นคนตาบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือพิการไปแถบหนึ่ง ไม่ได้
ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่
นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป ตามสมควร เขาซ้ำประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา
และด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลเป็นผู้มืดมาแล้ว มีมืดต่อไปอย่างนี้แล ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้
มืดมาแล้ว มีสว่างต่อไปเป็นอย่างไร บุคคล
บางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างเย็บหนัง หรือตระกูลคนเทหยากเยื่อ อันเป็น
ตระกูลเข็ญใจ มีข้าว น้ำและโภชนะน้อย เป็นอยู่โดยฝืดเคือง หาของบริโภค
และผ้านุ่งห่มได้โดยฝืดเคือง อนึ่ง เขามีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ
มีโรคมาก เป็นคนตาบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นคนพิการไป
แถบหนึ่ง ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป ตามสมควร แต่เขาประพฤติ
สุจริตด้วยกาย ด้วยวาจาและด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว
เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ บุคคลเป็นผู้มืดมาแล้ว มีสว่างต่อไป
อย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้สว่างมาแล้ว มีมืดต่อไปเป็นอย่างไร บุคคล
บางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลสูง คือ ตระกูลกษัตริย์มหาศาล ตระกูล
พราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันเป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มากมี
โภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์สินเหลือล้น
อนึ่ง เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม
ยิ่งนัก เป็นผู้มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้ ของ
หอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป แต่เขาประพฤติทุจริตด้วย
กาย วาจา และด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และใจแล้ว เมื่อ
ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้ว มีมืด
ต่อไปอย่างนี้แล ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บุคคลผู้สว่างมาแล้ว มีสว่างต่อไปเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลก เกิดมาในตระกูลสูง คือ ตระกูลกษัตริย์มหาศาล ตระกูล
พราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันเป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์สิน
เหลือล้น อนึ่ง เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิว
พรรณงามยิ่งนัก มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป เขาย่อมประพฤติ
สุจริตด้วยกาย วาจา และด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และใจ
แล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้ว มีสว่าง
ต่อไปอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่
ในโลก ฯจบสูตรที่ ๕
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
84000 พระธรรมขันธ์ (online 3/09/2553)http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=2290&Z=2336&pagebreak=0
ส่วนคำถามเรื่องร่างกาย ขันธ์ ๕ แ่บ่งออกเป็น ปัญจโวการภูมิ ๒๖ ดูแผนภาพข้างบน ได้แก่ (กามภูมิ ๑๑ รูปภูมิ ๑๕) ที่ว่าเป็นโอปาติกะ หรือเทวดาพรหม รูป ๒๘ ก็ลดจำนวนลง เป็นต้น
ใน
อบายภูมิ มนุษย์ เทวดา รูปเกิดได้ทั้งหมด ๒๘ รูป (๒๗ รูป ถ้าเป็นชาย ก็เว้นรูปที่เป็นหญิง ถ้าเป็นหญิงก็เว้นรูปที่เป็นชาย) หรืออาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง ในกรณีที่เป็นผู้ตาบอด หรือหูหนวกเป็นต้น
ใน
รูปภูมิ รูปเกิดได้ ๒๓ รูป ขาดไป ๕ รูป คือ ฆานปสาทรูป(ประสาทจมูก) ชิวหาปสาทรูป (ประสาทลิ้น) กายปสาทรูป (ประสาทกาย) อิตถีภาวรูป(ความเป็นหญิง) และปุริสภาวรูป(ความเป็นชาย) เพราะเห็นว่ารูปทั้ง ๕ ไม่เกื้อกูลแก่การทำฌาน
ใน
อสัญญสัตตพรหม หรือชาวบ้านเรียกกันว่า พรหมลูกฟัก มีแต่รูปเพียง ๑๗ รูปเท่านั้น ไม่มีนาม จึงเคลื่อนไหวไม่ได้ไม่มีความรู้สึก เหมือนพระพุทธรูป หรือหุ่น เมื่อหมดอายุ ๕๐๐ มหากัป นามก็จะเกิดขึ้นมาเอง แล้วนำเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ต่อไป ๑๗ รูปคือ
อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓ และลักขณรูป ๔
ใน
อรูปภูมิ มีแต่นามอย่างเดียว ไม่มีรูปเลย ตรงข้ามกับอสัญญสัตตพรหม ซึ่งมีแต่รูปอย่างเดียวไม่มีนาม ด้วยอำนาจของการเจริญปัญจมฌาน แล้วไม่ปรารถนาจะมีรูป เพราะเบื่อหน่ายในรูปขันธ์ ที่ต้องบำรุงดูแลรักษายุ่งยากมาก
--------------
-http://www.buddhism-online.org(online 3/09/2553)
http://www.buddhism-online.org/Section05B_11.htmCredit image by:
-http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkato ... 36479&st=1
-http://topicstock.pantip.com/social/top ... 29103.html